ขัตติยพันธกรณี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ วิชาภาษาไทย
ความหมายของขัตติยพันธกรณี
ขัตติย หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน ลักษณะคำประพันธ์
พันธกรณี หมายถึง ข้อผูกมัด ข้อ
ผูกพันต่าง ๆ ดังนั้น เมื่อรวมทั้ง
สองคำเข้าด้วยกันเป็น ขัตติย แต่งด้วยคำประพั นธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพ
พันธกรณี จึงแปลว่า เหตุอันเป็น และอินทรวิเชียรฉันท์ โดยเพื่อน ๆ สามารถ
ข้อผูกพันหรือข้อผูกมัดของกษัตริย์ เข้าไปดูวิธีการแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ได้ที่บท
เรียนเรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์
ผู้แต่งเรื่องขัตติยพันธกรณี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรง
ราชานุภาพ
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
ถ้าเป็นส่วนของบทพระราชนิพนธ์ในพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีจุดมุ่ง
หมายในการแต่งเพื่ออำลาเจ้านายพี่น้อง แต่
ถ้าเป็นส่วนของพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้า
บรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จะ
แต่งเพื่ อปลอบประโลมให้คลายทุกข์และ
ปลุกใจให้ลุกขึ้นสู้กับอุปสรรค
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง
ขัตติยพันธกรณี ด้วยโคลงสี่สุภาพจำนวน ๗ บทด้วยกัน โดย
บรรยายความกังวลใจ ที่ทรงประชวรอย่างหนักเป็นเวลานาน ด้วยโรค
ฝีสามยอด และไข้ส่า ทำให้เป็นที่หนักใจของผู้ที่ดูแลรักษา อีกทั้งยัง
บรรยายถึงความเจ็บปวดพระวรกายจากพระอาการประชวร จึงมีพระ
ราชประสงค์ที่จะเสด็จสวรรคต แต่พระองค์ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้
เนื่องจากเป็นกษัตริย์ที่มีภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่ คือการปกป้องรักษา
บ้านเมืองจากประเทศฝรั่งเศสนั่นเอง
เรื่องย่อและสรุปขัตติยพันธกรณี
หลังจากนั้น รัชกาลที่๕ ทรงบรรยายความรู้สึกด้วยอินทรวิเชียรฉันท์
โดยบรรยายถึงความรู้สึกเบื่อหน่าย หมดกำลังพระทัย เนื่องจากพระ
อาการประชวรที่ยาวนาน และยังมีความเจ็บทางใจที่เกิดจากการต้อง
ป้องกันรักษาบ้านเมืองเอาไว้ อีกทั้งยังมีความกังวลใหญ่หลวงใน
พระทัย และทรงหวั่นเกรงว่าจะทรงกลายเป็นพระมหากษัตริย์ที่ราษฎร
จะกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุทำให้เสียบ้านเสียเมืองแก่ต่างชาติเช่นเดียว
กับสมเด็จพระมหินทราธิราช และสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ (คำประพันธ์ใช่
ว่า “ทวิราช” แปลว่า กษัตริย์สองพระองค์) ในช่วงที่เสียกรุง
ศรีอยุธยาทั้ง ๒ ครั้ง รัชกาลที่๕ ไม่ต้องการจะเป็นกษัตริย์อีก
พระองค์หนึ่งที่ทำให้เราต้องสูญเสียเอกราชไป
เรื่องย่อและสรุปขัตติยพันธกรณี
ในส่วนของพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา
ดำรงราชานุภาพ แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทอินทรวิเชียรฉันท์ โดย
แต่งเพื่อถวายกำลังพระทัยรัชกาลที่๕ และถวายข้อคิดให้ตระหนักถึง
สัจธรรม โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เปรียบประเทศไทยเป็นเรือลำใหญ่ลำหนึ่ง อันมี รัชกาลที่๕ เป็นกัปตัน
ซึ่งเป็นผู้ที่เป็นใหญ่ในเรือ มีอำนาจสั่งลูกเรือ ซึ่งหมายถึงชาวสยาม
โดยรัชกาลที่๕ ในฐานกัปตันมีหน้าที่นำพาลูกเรือให้รอดพ้นจากพายุ
คลื่นลมมรสุมต่าง ๆ
เรื่องย่อและสรุปขัตติยพันธกรณี
ส่วนสัจธรรมที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรง
ราชานุภาพทรงกล่าวถึงคือเรื่องของการทำงานทุกอย่าง
ย่อมมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นทั้งนั้น อีกทั้งยังทรงอาสาที่
จะถวายชีวิตรับใช้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตรงกับสุภาษิตโบราณที่ว่า “อาสาเจ้าจนตัวตาย” นอกจาก
นั้น ยังได้ถวายพระพรให้รัชกาลที่๕ ทรงฟื้ นจากอาการ
ประชวรโดยเร็ว
เรื่องย่อและสรุปขัตติยพันธกรณี
ส่วนที่๑
เป็นพระราชนิพนธ์ของร.๕
เจ็บนานหนักอกผู้ บริรักษ์ ปวงเฮย
คิดใครลาลลาญหัก ปลดเปลื้อง
ความเหนื่อยแห่งสูจัก พลันสร่าง
ตูจักสู่พบเบื้อง หน้านั้นพลันเกษม
ด้วยความที่ร.๕ ทรงประชวรหนักมาเป็นเวลานาน จึงมีความคิดจะเสด็จสวรรคต (อยากลาตาย) ให้พ้นจากความ
เหน็ดเหนื่อย ไปสู่โลกหน้าที่มีแต่ความสบายกายสบายใจ มีความสุขมากยิ่งกว่า
เป็นฝีสามยอดแล้ว ยังราย ส่านอ
ปวดเจ็บใครจักหมาย ช่วยได้
ใช่เป็นแต่ส่วนกลาย เศียรกลัด กลุ้มแฮ
ใครต่อเป็นจึ่งผู้ นั่นนั้นเห็นจริง
นอกจากร.๕ จะทรงประชวรด้วยโรคฝีสามยอดแล้ว ยังมีไข้ส่าเป็นระยะ
ส่งผลให้พระองค์ทรงเจ็บปวดทรมานมากอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะทั้งปวดทั้งกายและศีรษะ ผู้ที่ไม่เคยมีอาการแบบนี้
ย่อมไม่รู้ว่าความเจ็บปวดทรมานนั้นมันมากขนาดไหน
ตะปูดอกใหญ่ตรึ้ง บาทา อยู่เฮย
จึง บ อาจลีลา คล่องได้
เชิญผู้ที่เมตตา แก้สัตว์ ปวงแฮ
ชักตะปูนี้ให้ ส่งข้าอัญขยม
ร.๕ ทรงอธิบายว่า รู้สึกเหมือนมี “ตะปูดอกใหญ่” ตรึงเท้าทั้ง ๒ ข้างเอาไว้ ทำให้เดินไม่สะดวก หรือเดินไม่ได้
ใครที่สามารถดึงตะปูดอกใหญ่นี้ออกได้ ร.๕ จะทรงยินดีให้ดึงออกเป็นอย่างยิ่ง
ชีวิตมนุษย์นี้ เปลี่ยนแปลง จริงนอ
ทุกข์และสุขพลิกแพลง มากครั้ง
โบราณท่านจึงแสดง เป็นเยี่ยง อย่างนา
ชั่วนับเจ็ดทีทั้ง เจ็ดข้างฝ่ายดี
ชีวิตของมนุษย์นั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด มีทั้งทุกข์และสุข ไม่มีใครที่สุขและทุกข์ได้อย่างถาวร สอดคล้องกับสำนวน
“ชั่วเจ็ดที ดีเจ็ดหน”
เป็นเด็กมีสุขคล้าย ดีรฉาน
รู้สุกรู้ทุกข์หาญ ขลาดด้วย
ละอย่างละอย่างพาล หย่อนเพราะ เผลอแฮ
คล้ายกับผู้จวนม้วย ชีพสิ้นสติสูญ
ชีวิตของเด็กนั้นเหมือนกับสัตว์เดรัจฉานสุขและทุกข์ไปวันๆอย่างไม่มีสติไม่ต่างกับคนที่ใกล้จะตายโดยร.๕ทรงพระ
ราชนิพนธ์บทนี้เพราะหวังจะกลับไปเป็นเด็กที่ไม่ต้องมานั่งกังวลถึงปัญหาไม่ต้องแก้ไขหรือมีความรับผิดชอบอัน
ใหญ่หลวงต่อประเทศชาติ
ฉันไปปะเด็กห้า หกคน
โกนเกศนุ่งขาวยล เคลิบเคลิ้ม
ถามเขาว่าเป็นคน เชิญเครื่อง
ไปที่หอศพเริ้ม ริกเร้าเหงาใจ
ร.๕ ทรงพบเจอเด็กจำนวน ๕-๖ คน ซึ่งทุกคนโกนผมและใส่เสื้อผ้าสีขาว ทำหน้าที่เชิญเครื่องที่หอศพ
การพบปะเด็กในครั้งนี้ ทำให้ ร.๕ ทรงรู้สึกเศร้าใจเป็นอย่างมาก
กล้วยเผาเหลืองแก่ก้ำ เกินพระลักษณ์นา
แรกก็ออกอร่อยจะ ใคร่กล้ำ
นานวันยิ่งเครอะคระ กลืนยาก
ทนจ่อซ่อมจิ้มจ้ำ แดกสิ้นสุดใบ
กล้วยเผานั้นมีสีเหลืองแก่ยิ่งกว่าสีผิวของพระลักษณ์ (ตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์) ทำให้ในช่วงแรก ๆ ใคร ๆ ก็
อยากกิน แต่หากทิ้งไว้นาน ๆ กลับแข็งและกลืนยาก ไม่ว่าจะใช้ส้อมจิ้มกี่ครั้ง ก็ยังไม่สามารถจิ้มเข้าไปในเนื้อกล้วย
เผาได้
เจ็บนานนึกหน่ายนิตย์ มะนะเรื่องบำรุงกาย
ส่วนจิต บ มีสบาย ศิระกลุ้มอุราตรึง
แม้หายก็พลันยาก จะลำบากฤทัยพึง
ตริแต่จะถูกรึง อุระรัดและอัตรา
นอกจากความเจ็บป่วยทางกายจะยังคงดำเนินอยู่เรื่อย ๆ แล้ว ร.๕ ยังทรงรู้สึกไม่สบายใจอีกด้วย พระองค์ทรงคิดไม่
ตกกับปัญหาต่าง ๆ ทำให้เกิดความกังวลใจและอัดอั้นตันใจอยู่เป็นประจำ ดูแล้วคงไม่หายไปโดยง่าย
กลัวเป็นทวิราช บ ตริป้องอยุธยา
เสียเมืองจึงนินทา บ ละเว้น ฤ วางวาย
คิดใดจะเกี่ยงแก้ ก็ บ พบซึ่งเงื่อนสาย
สบหน้ามนุษย์อาย จึงจะอุดแลเลยสูญฯ
ร.๕ ทรงกลัวว่าตัวพระองค์เองจะกลายเป็นเช่นเดียวกับสมเด็จพระมหินทราธิราช และสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ (ทวิราช) ซึ่ง
ประเทศไทยเราสูญเสียเอกราชในช่วงที่พระมหากษัตริย์ ๒ พระองค์นี้ขึ้นครองราชย์ ไม่ว่าพระองค์จะทรงครุ่นคิดแก้ไข
ปัญหานี้เพียงใด ก็ไม่พบทางออก ทำให้ทรงกลัวว่าจะเป็นที่น่าอับอายในสายตาของประชาชนทั่วไป
ขอเดชะเบื้องบาท วรราชะปกศี-
โรตม์ข้าผู้มั่นมี มะนะตั้งกตัญญู
ได้รับพระราชทาน อ่านราชนิพันธ์ดู
ทั้งโคลงและฉันท์ตู ข้าจึงตริดำริตาม
อันพระประชวรครั้ง นี้แท้ทั้งไผทสยาม
เหล่าข้าพระบาทความ วิตกพ้นจะอุปมา
ประสาแต่อยู่ใกล้ ทั้งรู้ใช่ว่าหนักหนา
เลือดเนื้อผิเจือยา ให้หายได้ชิงถวาย
กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงกล่าวขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม ตัวพระองค์เองเป็นผู้มีใจกตัญญู ได้อ่าน
บทพระราชนิพนธ์ของร.๕ แล้วจึงคิดได้ว่า หลังจากที่ร.๕ ทรงประชวรหนักนั้น ประชาชนชาวไทยทุกคนก็วิตกกังวลเป็นอย่างมากจนเกิน
กว่าที่จะกล่าวออกมาเป็นคำพูดได้ หากตัวกรมพระยาดำรงราชานุภาพเองประทับอยู่ใกล้ ๆ ก็พร้อมที่จะยอมถวายเลือดและเนื้อของตัวเอง
มาทำเป็นพระโอสถให้ ขอเพียงแต่ช่วยให้ร.๕ มีพระอาการดีขึ้นได้
ทุกหน้าทุกตาตู บ พบผู้จะพึงสบาย
ปรับทุกข์ทุรนทุราย กันมิเว้นทิวาวัน
ดุจเหว่าพละนา- วะเหว่ว้ากะปิตัน
นายท้ายฉงนงัน ทิศทางก็คลางแคลง
ไม่มีประชาชนคนใดมีความสุขเลย เวลาเจอหน้ากันก็มักปรับทุกข์เรื่องพระอาการประชวรของ ร.๕ ว่ารู้สึก
เหมือนกับเป็นลูกเรือ และนายท้ายเรือที่สับสนงงงัน ไม่รู้จะแล่นเรือไปในทิศทางใด เพราะขาดกัปตันเรืออย่าง
พระมหากษัตริย์ที่คอยควบคุมดูแลลูกเรือและนายท้ายเรืออยู่เสมอ
นายกลประจำจักร จะใช้หนักก็นึกแหนง
จะรอก็ระแวง จะไม่ทันธุรการ
อึดอัดทุกหน้าที่ ทุกข์ทวีทุกวันวาร
เหตุห่างบ่ดียาน อันเคยไว้น้ำใจชน
นอกจากนายท้ายเรือแล้ว ช่างกลประจำเรือเองก็ไม่รู้จะทำเช่นไรดี เพราะไม่มีกัปตันเรือคอยช่วยชี้แนะ จะฃมัว
แต่มารอก็ย่อมไม่ทันการณ์ เรียกได้ว่าทุกคนทุกหน้าที่ต่างก็อึดอัดและมีความทุกข์ เพราะขาดผู้นำเรืออย่าง
ร.๕
ถ้าจะว่าบรรดารกิจ ก็ไม่ผิด ณ นิยม
เรือแล่นทะเลลม จะเปรียบต่อก็พอกัน
ธรรมดามหาสมุทร มีคราวหยุดพายุผัน
มีคราวสลาตัน ตั้งระลอกกระฉอกฉาน
การทำงานต่าง ๆ ก็เหมือนกับการเดินเรือ โดยตามธรรมชาติแล้ว มหาสมุทรย่อมมีทั้งคราวที่สงบเงียบ และ
คราวที่มีพายุและคลื่นสูง เปรียบได้กับปัญหาในการทำงานนั่นเอง
ผิวพอกำลังเรือ ก็แล่นรอดไม่ร้าวฉาน
หากกรรมจะบันดาล ก็คงล่มทุกลำไป
ชาวเรือก็ย่อมรู้ ฉะนี้อยู่ทุกจิตใจ
แต่ลอยอยู่ตราบใด ต้องจำแก้ด้วยแรงระดม
โดยปกติ หากเรือมีพละกำลังมากพอ ก็ย่อมแล่นได้อย่างไม่มีปัญหา แต่หากมีพายุพัดผ่านมา ก็อาจทำให้เรือ
ใหญ่นั้นล่มได้ ดังนั้น ในขณะที่เรือยังคงลอยอยู่ได้ ชาวเรือทุกคนต้องร่วมแรงร่วมใจกันแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่
ถาโถมเข้ามา
คุณค่าด้านเนื้อหา
1.ข้อคิดที่ได้รับ 2.ความรู้ที่ได้รับ
1.ประเทศชาติที่มีพระมหากษัตริย์เข้ม 1.ได้ทราบความเป็นมาของปัญหา
แข็งย่อมเป็นประเทศที่เจริญรุ่งเรื่อง ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในอดีต
2.เมื่อประสบปัญหาในชีวิตหากเรารู้จัก 2.ได้ทราบลักษณะคำประพั นธ์ของ
ใช้สติในการแก้ปัญหาก็จะทำให้ปัญหา เรื่อง ขัตติยพันธกรณี
คลี่คลายลงได้
3.คำว่า ให้กำลังใจ เป็นสิ่งที่สำคัญ
3.การมีกำลังใจ คือ สิ่งที่จะทำให้ผู้ที่ มาก เพื่อให้มีกำลังใจในการทำงานอีก
ท้อแท้หรือหมดหวัง กลับมาลุกขึ้นผู้ ครั้ง
ได้อีกครั้งครั้งหนึ่ง
๑.แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของคนไทยนอดีต
ชีวิตมนุษย์นี้ เปลี่ยนแปลง จริงนอ
ทุกข์และสุขพลิกแพลง มากครั้ง
โบราณท่านจึงแสดง เป็นเยี่ยง อย่างนา
ชั่วนับเจ็ดทีทั้ง เจ็ดข้างฝ่ายดี
คุณค่าด้านสังคม หมายถึง
ชีวิตของคนเรานั้นเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เดี๋ยวทุกข์
เดี๋ยวสุขสลับกันไป อย่างที่คนโบราณว่า ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน
แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของคนไทยนอดีต
๒.ปลุกจิตสำนึกให้คนในชาติหวงแหนรักษาผืนแผ่นดินไทยไว้ให้ดำรง
อยู่สืบไปและตระหนักถึงความเหนื่อยยากของบรรพบุรุษที่ต้องยอม
แลกด้วยชีวิตเพื่ อรักษาฝืนแผ่นดินนี้ไว้
โวหารภาพพจน์ที่ปรากฏ
1
อุปมาโวหาร เช่น
เปรียบตัวเหมือนอย่างม้า ที่เป็นพาหนยาน
ผูกเครื่องบังเหียนอาน ประจำหน้าพลับพลาชัย
คอยพระประทับอาสน์ กระหยับบาทจะพาไคล
ตามแต่พระทัยไท ธ จะชักไปซ้ายขวา
ไกลใกล้ บ ได้เลือก จะกระเดือกเต็มประดา
ตราบเท่าจะถึงวา- ระชีวิตมลายปราน
หมายถึง สมเด็จกรมพระยาดำรงฯทรงเปรียบตัว
พระองค์เป็นเหมือนม้าที่เป็นพาหนะที่พร้อมรับใช้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทุกเมื่อ
2
อุปลักษณ์ เช่น
ตะปูดอกใหญ่ตรึ้ง บาทา อยู่เฮย
จึง บ อาจลีลา คล่องได้
เชิญผู้ที่เมตตา แก่สัตว์ ปวงแฮ
ชักตะปูนี้ให้ ส่งข้าอัญขยม
หมายถึง เปรียบพันธกรณีที่มีต่อชาติบ้านเมืองเป็นตะปู
ท่านจึง เปรียบพันธกรณีเหล่านั้นเป็นตะปูดอกใหญ่ที่
ตรึงพระบาทของ อติพจน์ เช่น
พระองค์ไว้ไม่ให้ก้าวย่างไปได้และขอให้ผู้ที่มีเมตตาชัก
ตะปูดอกนี้ออกให้ด้วย
3
อติพจน์ เช่น
ประสาแต่อยู่ใกล้ ทั้งรู้ใช่ว่าหนักหนา
เลือดเนื้อผิเจือยา ให้หายได้จะชิงถวาย
หมายถึง ตามประสาของผู้ที่อยู่ใกล้ชิดรู้ว่าคงไม่หนัก
หนาอะไรถ้าเลือดเนื้อสามารถทำให้ท่านหายประชวรได้ก็
จะทูลเกล้าฯ
ถวาย
แหล่งอ้างอิง
สรุปเรื่องขัตติยพันธกรณี. https://prezi.com/p/hei197mov6uw/presentation/
ขัตติยพันธกรณี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาภาษาไทย.
https://blog.startdee.com/%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%
B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93
%E0%B8%B5-%E0%B8%A1-6-
%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
รายชื่อสมาชิก น.ส. จิตภาพร ผลทิพย์ น.ส. ณัชชาภัค ศรีชมพู
เลขที่ ๖ เลขที่ ๗
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๔
น.สจุติกานต์ กลิ่นจันทร์
น.ส.ลลิตา สอนไข่ เลขที่ ๒๗
เลขที่ ๑๕
น.ส.ฑิฆัมพร ศรีประเทศ น.ส.นริศสรา ฮัยกูล
เลขที่ ๓๑ เลขที่ ๓๕
น.ส.บุรินทร์ พฤกษาศิลป์
เลขที่ ๓๖
ขอบคุณค่ะ!