บรรยายสรุปจังหวัดสุราษฎร์ธานี 43 ประเด็นการพัฒนา วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และตัวชี้วัด แนวทาง การพัฒนา 4.1.5ขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรม อย่างยั่งยืน (พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา) 4.1.6 ส่งเสริมและสนับสนุน การเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยี สู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) 5. บริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นฐาน การพัฒนาอย่างยั่งยืน 5.1 ฐาน ทรัพยากรธรรมชาติที่ มั่นคงและมีสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสม 1) ร้อยละของปริมาณขยะมูล ฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้อง (ร้อยละ 6.5/ปี) 5.1.1 ส่งเสริม การมีส่วนร่วมในการจัดการ สิ่งแวดล้อมอย่างถูกวิธี 2) ร้อยละของคุณภาพน้ำผิวดิน ที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและ เป็นไปตามประกาศกรมควบคุม มลพิษ (ร้อยละ 80/ปี) 3) ร้อยละของคุณภาพน้ำทะเล บริเวณชายหาดท่องเที่ยวที่อยู่ ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำ ทะเลประเภทที่ 4 เพื่อการ นันทนาการ (ร้อยละ 80/ปี) 4) ร้อยละของพื้นที่ป่าไม้ที่ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับพื้นที่ป่าไม้ ของจังหวัด (ร้อยละ 0.8/ปี) 5.1.2 เสริมสร้างการมีส่วน ร่วมในการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติให้มี ประสิทธิภาพ
บรรยายสรุปจังหวัดสุราษฎร์ธานี 44 ประเด็นการพัฒนา วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และตัวชี้วัด แนวทาง การพัฒนา 5) จำนวนพื้นที่ป่าไม้ที่เสื่อม โทรมหรือถูกทำลายได้รับการ อนุรักษ์ฟื้นฟู (1,000 ไร่/ปี) 6) จำนวนที่เพิ่มขึ้นของชุมชน พื้นที่เสี่ยงภัยที่ได้รับการเตรียม ความพร้อมในการร่วมมือภัย พิบัติทางธรรมชาติ (สะสม) (5ชุมชน/ปี) 5.1.3 เสริมสร้างความเข้มแข็ง ของชุมชนในการจัดการภัย พิบัติและสาธารณภัย 7) ระดับความสำเร็จของการ พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเข้าสู่เมือง อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (ตามหลักเกณฑ์ ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด) 5.1.4 ยกระดับการเป็นเมือง อุตสาหกรรม เชิงนิเวศ
บรรยายสรุปจังหวัดสุราษฎร์ธานี 45 บทที่ 4 การดำเนินการภายใต้แผนงาน/โครงการจังหวัดสุราษฎร์ธานี นโยบายด้านการพัฒนาเชิงพื้นที่ • การพัฒนาพื้นที่ตามแนวทาง การพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs และการพัฒนาพื้นที่ตามแผนแม่บทเฉพาะกิจ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (ภายหลังโควิด-19) พ.ศ. 2564-2565 1. ยึดกรอบแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ 1) มิติการพัฒนาคน 2) มิติเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง 3) มิติสิ่งแวดล้อม 4) มิติสันติภาพและยุติธรรม และ 5) มิติความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา • 2. ยึดกรอบการพัฒนาพื้นที่ตามแผนแม่บทเฉพาะกิจ ภายหลังโควิด-19 ตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ และประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563 โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือ 1) คนสามารถยังชีพอยู่ได้ มีงานทำ 2) กลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง 3) สร้างอาชีพและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น 4) เศรษฐกิจประเทศฟื้นตัวเข้าสู่สภาวะปกติ และมีการวางรากฐานเพื่อรองรับการปรับ โครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ ผลการดำเนินงานของจังหวัด 1. จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์ (Statement of Commitment to Sustainable Thailand) ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับสหประชาชาติประจำประเทศไทย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการขับเคลื่อน การพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติต่าง ๆ ในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 2. เข้าร่วมกิจกรรม Workshop เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติเพื่อรับทราบแนว ทางการขับเคลื่อน SDGs และจะได้นำไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงสอดคล้องตามเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
บรรยายสรุปจังหวัดสุราษฎร์ธานี 46 3. จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินการจัดทำแผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ตาม องค์ประกอบของแผนฯ ที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดและจัดส่งกระทรวงมหาดไทยเรียบร้อยแล้ว โดยแผนฯ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) จังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นประธาน ผู้แทนภาคราชการ/ ภาคเอกชน/ภาควิชาการ/ภาคผู้นำศาสนา/ภาคประชาสังคม/ภาคประชาชน/ภาคสื่อสารมวลชน ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้กรอบความร่วมมือตามประกาศเจตนารมณ์ฯ และวาระการพัฒนา SDGs ของสหประชาชาติใน 5 มิติ (การพัฒนาคน (People), สิ่งแวดล้อม (Planet), เศรษฐกิจและความมั่งคั่ง (Prosperity), สันติภาพและความ ยุติธรรม (Peace), และหุ้นส่วนความร่วมมือ (Partnership)) เป็นกรรมการ และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดสุราษฎร์ ธานี เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนด แนวทางการดำเนินงาน ประสานงาน และ บูรณาการเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เสนอแผนงาน/โครงการ โดย มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไปเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และกำกับดูแล ติดตามและประเมินผล การดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ 2. กรอบการขับเคลื่อน SDGs (SDGs Frameworks) จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้กำหนดกรอบการ ขับเคลื่อน SDGs ตามกรอบความร่วมมือตามประกาศเจตนารมณ์ฯ และวาระการพัฒนา SDGs ของ สหประชาชาติใน 5 มิติ โดยได้พิจารณาถึงความเชื่อมโยงสอดคล้องของประเด็นตามประกาศเจตนารมณ์ฯ และ ประเด็นการพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามแผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2566 – 2570 พบว่ามีความ สอดคล้องกัน ดังนั้น โครงการตามประเด็นการพัฒนาจังหวัดจึงมีโอกาสในการขับเคลื่อนประเด็นตามประกาศ เจตนารมณ์เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน โดยการขับเคลื่อน SDGs แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ การขับเคลื่อน SDGs ร่วมกับหน่วยงานส่วนกลาง การขับเคลื่อน SDGs ระดับจังหวัด และการขับเคลื่อน SDGs เชิงพื้นที่ 3. แผนปฏิบัติการขับเคลื่อน SDGs ประจำปี 2566 (SDGs Action Plan) 4. โครงการตามแผนการขับเคลื่อน SDGs ประจำปี 2566 4. จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้แจ้งรายชื่อเจ้าหน้าที่ประสานงาน (Focal Point)ของจังหวัดให้กระทรวง มหาดไทยทราบ แล้ว ได้แก่ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่ง เจ้าหน้าที่ของ UNDP ได้ลงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน 2566 โดยจะมีการดำเนินการ “โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติในเชิงพื้นที่ (SDGs Localzation)” ใน ๑๕ จังหวัดนำร่อง โดยโครงการมีระยะเวลาดำเนินการ 18 เดือน (มกราคม 2566 – มิถุนายน 2567) มีเป้าหมาย จะให้มีการนำ SDGs ไปปฏิบัติตั้งแต่ระดับท้องถิ่น คือเน้นให้เกิดผลการปฏิบัติเชิงพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อ สนับสนุนการขับเคลื่อน SDGs ต่อไปยังระดับจังหวัด และประเทศ
บรรยายสรุปจังหวัดสุราษฎร์ธานี 47 5. การดำเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติในเชิงพื้นที่ (SDGs Localization) โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(UNDP) ชี้แจงภาพรวมการดำเนินโครงการฯ ใน ๑๕ จังหวัดนำร่อง ซึ่ง ประกอบด้วย ๓ ส่วน ดังนี้ ๑. Profile : การจัดทำฐานข้อมูล SDGs ของจังหวัด - UNDP จัดทำสารตั้งต้นจากข้อมูลสาธารณะที่มีอยู่และทำข้อมูลคำอธิบายเกี่ยวกับตัวชี้วัดเพื่อให้แต่ละ จังหวัดได้นำไปศึกษา - นำข้อมูลสารตั้งต้นไปหารือกับจังหวัดโดยจัดทำเป็นลักษณะกลุ่มอภิปรายรวมของกลุ่มจังหวัด - นักวิชาการประจำกลุ่มจังหวัดหารือกับจังหวัดต่าง ๆเพื่อรวบรวมข้อมูลและนำกลับมาวิเคราะห์ - นำเสนอข้อมูลกับประชาชนแต่ละภาคส่วนในจังหวัด - นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงรายงานและนำเสนอข้อมูลฉบับสุดท้ายให้จังหวัดเพื่อนำไปเป็นต้นแบบใน การทำข้อมูลสำหรับปีต่อ ๆ ไป หรือนำเอาข้อมูลไปปรับใช้ในการทำแผนพัฒนาจังหวัดฉบับต่อไป ๒. Survey : การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ผลิตคำถามเกี่ยวข้องกับ SDGs โดยไม่เจาะจงไปที่ เป้าหมายใด ๆ เป็นหลัก แต่จะเป็นแนวการตั้งคำถามเพื่อบรรลุ 3. Consultation : การให้ข้อเสนอแนะ ในการพัฒนา - จัดประชุมหารือ ภาคีการพัฒนาเพื่อหาแนวทางปรับปรุง พัฒนาการขับเคลื่อน SDGs ในเชิงพื้นที่ ของจังหวัดให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)จังหวัดสุราษฎร์ธานีครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ เลือกวาระการพัฒนาจังหวัด 5 วาระ ดังนี้ 1. การท่องเที่ยว (Tourism) เป็นประเด็นการพัฒนาจังหวัด และสร้างรายได้ให้กับจังหวัด มีศักยภาพการ พัฒนาเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวให้สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดให้เติบโตขึ้นต่อไป 2. การจัดการน้ำ (Water management) เป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการ อุปโภค บริโภค การเกษตร และการพัฒนายกระดับด้านเศรษฐกิจหลักของจังหวัด เช่น ด้านเกษตร ด้านท่องเที่ยว และ ด้านอุตสาหกรรมแปรรูป ซึ่งมีการขับเคลื่อนการดำเนินการบริหารจัดการน้ำ ภายใต้โครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่าง 3. การเข้าถึงสุขภาพ (Access to health) เป็นประเด็นสำคัญของจังหวัดที่ต้องมีศักยภาพ มีระบบ สาธารณสุขของจังหวัดที่เข้มแข็ง เช่น การดำเนินการด้านเมืองสมุนไพร การพัฒนาเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ เป็นต้น
บรรยายสรุปจังหวัดสุราษฎร์ธานี 48 4. การลดความยากจน (Poverty reduction) เป็นนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย โดย จังหวัดได้ขับเคลื่อนการดำเนินการผ่านศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคน ทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัด (ศจพ.จ.) เพื่อแก้ไขความยากจนในมิติด้านต่าง ๆ แก่ครัวเรือนที่ประสบปัญหาความ เดือดร้อน 5. การศึกษาที่มีคุณภาพ (Quality education) เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ ชาติ และเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดในทุกมิติ กระทรวงมหาดไทย และ UNDP กำหนดพิธีเปิดตัว (Kick-Off) “โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งการนำ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติในเชิงพื้นที่ (SDGs Localzation)”โดยเชิญผู้ว่าราชการจังหวัด 15 จังหวัดนำร่อง และเจ้าหน้าที่จังหวัดที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธีดังกล่าว • การพัฒนาพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเป็นการตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติที่กำหนดให้ประเทศไทย “มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศ ที่พัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” จึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาจังหวัด สุราษฎร์ธานีดังนี้ Suratthani Smart City : SSC เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากร โดยเน้นการ มีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมืองภายใต้แนวคิดการพัฒนา เมืองน่าอยู่ ทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองอยู่ดี มีสุข อย่างยั่งยืน โดยจะมีเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีและเทศบาลนครเกาะสมุยเป็น พื้นที่นำร่องก่อน ซึ่งขณ ะนี้ทั้ง 2 แห่งได้เสนอตัวไปยัง สนง.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) แล้ว ในอนาคตจะขยายผลไปยังเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลที่มีศักยภาพและมีความพร้อมต่อไป Suratthani Oil Palm City : SOPC ตามที่คณะรัฐมนตรีมติเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561 ที่จังหวัดชุมพร เห็นชอบให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็น Oil Palm City นั้น จังหวัดได้ขับเคลื่อนมาโดยตลอด มีผลการดำเนินงาน ดังนี้ - วางกลไกขับเคลื่อน โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ อนุกรรมการขับเคลื่อน ฯลฯ - จัดทำประกาศจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้มีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพเน้นคุณภาพของผลผลิต ตลอด value chain โดยให้มีการประชาสัมพันธ์ ตรวจเยี่ยม ติดตามเกษตรกร ลานเท โรงงาน อย่างต่อเนื่อง ให้ปฏิบัติเป็นไปตามประกาศฯ
บรรยายสรุปจังหวัดสุราษฎร์ธานี 49 Suratthani MICE City : SMC MICE ประกอบด้วย - M : Meeting ธุรกิจการจัดประชุม - I : Incentive การจัดนำเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล - C: Conventions การประชุมนานาชาติของกลุ่มบุคคลต่างองค์กรในสายอาชีพหรือใกล้เคียงกัน - E : Exhibitions การจัดงานแสดงสินค้าหรือบริการเพื่อขายให้แก่อุตสาหกรรม ร้านค้า และผู้ซื้อ เนื่องจากธุรกิจ MICE เป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ต่อเศรษฐกิจ ซึ่งจังหวัดได้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริม อุตสาหกรรม MICE ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อเก็บรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลและเสนอเข้ารับการพิจารณาต่อ สนง.ส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. (TCEP) เมื่อปี 2563 โดย คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาผลและประกาศให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็น MICE City เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563 ซึ่งหน่วยงานทั้งภาครัฐภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชนจะต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนเพื่อดึงดูดและ จูงใจนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจให้มาจัดกิจกรรมในพื้นที่เพิ่มขึ้น โดยจะจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อน Mice City ทั้งระบบในวันที่ 18 มีนาคม 2564 ซึ่งจะใช้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เป็นศูนย์ประสานงาน Mice City Suratthani Herbal City : SHC โครงการเมืองสมุนไพร (Herbal City) เป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญภายใต้แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการ พัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564 ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้มีการจัดตั้งเมืองสมุนไพรขึ้นใน 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย สกลนคร ปราจีนบุรี และ สุราษฎร์ธานี โดยมีหลักการสำคัญคือ การมุ่งเน้นพัฒนา สมุนไพรและผลิตภัณฑ์แบบครบวงจรในระดับจังหวัดโยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนตามแนวนโยบาย ประชารัฐ และยึดนโยบายสำคัญของรัฐบาล ประเทศไทย 4.0 สอดคล้องกับการพัฒนาเมืองสมุนไพรจังหวัด สุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างมูลค่าเพิ่มในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคุณภาพชีวิต (Health, Wellness & Bio-Med) จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้มีการดำเนินงานพัฒนาเมืองสมุนไพรมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการดำเนินงาน ร่วมกันของหน่วยงานบูรณาการทุกภาคส่วน ทำให้เกิดผลการดำเนินงานแบบครบวงจร ตั้งแต่ ต้นทาง กระบวนการปลูกพืชสมุนไพรที่เน้นการเป็นเกษตรอินทรีย์ โดยมีเป้าหมายเพื่อใช้ในการพัฒนาวัตถุดิบที่มี คุณภาพของพืชสมุนไพร การจัดเก็บข้อมูลสมุนไพร ภายในจังหวัด ฯลฯ กลางทาง มีการวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ส่งเสริมให้วิสาหกิจชุมชนมีการนำสมุนไพรมาแปรรูปเพื่อธุรกิจการค้า โรงแปรรูปสมุนไพรที่ มีมาตรฐาน ฯลฯ ปลายทาง การนำผลิตภัณฑ์สมุนไพรมาสร้างอัตลักษณ์ประจำถิ่นนำไปสู่การส่งเสริมการ
บรรยายสรุปจังหวัดสุราษฎร์ธานี 50 พัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จากผลการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้วนั้น ทำให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีมี ความก้าวหน้า และมีความพร้อม ที่จะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานเมืองสมุนไพรของจังหวัด สุราษฎร์ธานี ให้ประชาชนได้รับรู้ให้มากขึ้นในระดับหนึ่ง โดยปัจจุบันแผนปฏิบัติราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จังหวัด สุราษฎร์ธานีดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้โครงการพัฒนาเมืองสมุนไพรสุราษฎร์ธานี (Suratthani Herbal City) ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนกำลังดำเนินการ และบางกิจกรรมอยู่ในระหว่างรอดำเนินการ เนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งคาดว่าหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลาย จังหวัดสุราษฎร์ธานีสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนฯ ได้อย่างสำเร็จลุล่วง ซึ่งจะส่งผลให้เกิด ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ ประชาชน กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพร กลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปสมุนไพรใน จังหวัดสุราษฎร์ธานีต่อไป เมืองแห่งผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์รับรอง (GI) มากที่สุดในประเทศ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) รัฐบาลได้ปกป้องเครื่องหมายการค้าสำหรับอาหารไว้สำหรับบุคคลในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งเท่านั้น เริ่มต้น อย่างช้าที่สุดตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยการใช้กฎหมายต่อต้านการแลกเปลี่ยนสินค้าที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งหมายความว่าสินค้าที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้องเหล่านั้นผลิตจากตำแหน่งที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายหรือมีคุณภาพที่ต่ำ กว่าหรือไม่ผ่านมาตรฐานต่างๆ เป็นต้น บางกรณี ความต้องการของผลิตภัณฑ์มีมากเกินข้อจำกัดในการผลิตทาง กฎหมาย สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความเชื่อมโยง (Links) ระหว่างปัจจัยสำคัญสองประการ คือ ธรรมชาติและมนุษย์ กล่าวคือ ชุมชนได้อาศัยลักษณะเฉพาะที่มีอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ตามธรรมชาติ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ หรือ วัตถุดิบเฉพาะในพื้นที่ มาใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าในท้องถิ่นของตนขึ้นมา ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มี คุณลักษณะพิเศษที่มาจากพื้นที่ดังกล่าว คุณลักษณะพิเศษนี้อาจหมายถึง คุณภาพ ชื่อเสียงหรือคุณ ลักษณะเฉพาะอื่นๆ ที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นๆ ดังนั้น GI จึงเปรียบเสมือนเป็นแบรนด์ของท้องถิ่นที่บ่งบอก ถึงคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า
บรรยายสรุปจังหวัดสุราษฎร์ธานี 51 จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีสินค้าที่ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ประกอบด้วย ที่ วันที่ขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ วันที่ยื่น 1 28 มิถุนาน 2549 หอยนางรมสุราษฎร์ธานี 13 มกราคม 2549 2 29 ตุลาคม 2550 ไข่เค็มไชยา 1 พฤศจิกายน 2549 3 9 เมษายน 2556 มะพร้าวเกาะพะงัน 1 กันยายน 2551 4 27 มิถุนายน 2561 เงาะโรงเรียนนาสาร 30 ตุลาคม 2557 5 15 ธันวาคม 2565 ขมิ้นชันสุราษฎร์ธานี 16 กันยายน 2562 6 15 ธันวาคม 2565 ปลาเม็งสุราษฎร์ธานี 24 มิถุนายน 2565 ที่มา : เว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา ณ ธันวาคม 2565 ประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าชุมชนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI 1. คุ้มครองชื่อสินค้าให้เป็นสิทธิ์เฉพาะของชุมชนที่ขึ้นทะเบียน 2. เพิ่มมูลค่าของสินค้าและเป็นเครื่องมือการตลาด 3. ดูแลรักษามาตรฐานของสินค้าและรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น 4. สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนเพิ่มความสามัคคีเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 5. สนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชน ผู้ผลิตอย่างยั่งยืน 6. สร้างความเชื่อมั่นในแหล่งที่มาและคุณภาพของตัวสินค้าให้กับผู้ซื้อ ปัจจุบันจังหวัดอยู่ระหว่างขอขึ้นทะเบียน GI ได้แก่ มะพร้าวในบาง คำขอเลขที่ 62100220 ผู้ยื่นคำขอ นายศุภชาติ ศรีเทพ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการแก้ไขคำขอจดทะเบียนการขอยื่นของผู้ประกอบการ สินค้าที่มีแผนส่งเสริมให้เป็นสินค้า GI ได้แก่ กระท้อนคลองน้อย ลางสาดเกาะสมุย ทุเรียนคลองแสง ซึ่ง สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ประสานกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์แล้วสินค้าที่มีความ ต้องการขอขึ้นทะเบียน GI ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพิ่มเติม ได้แก่ แตงโมทุ่งอ่าว มะพร้าวเกาะสมุย ทุเรียนหมอนทอง@ ถ่านหิน เคียนซา ข้าวไชยา ปลาหมอบ้านนาเดิม
บรรยายสรุปจังหวัดสุราษฎร์ธานี 52 การจัดทำโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ประกอบด้วย ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนา 5 ด้าน ดังนี้ ประเด็นการพัฒนาที่ 1 : พัฒนาการผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าสูง จำนวน 2 โครงการ งบประมาณรวม 2,982,000 บาท (สองล้านเก้าแสนแปดหมื่นสองพันบาทถ้วน) ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน และส่งเสริมศักยภาพการตลาดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์เด่นที่มีเอกลักษณ์ของจังหวัด ประเด็นการพัฒนาที่ 2 : พัฒนาการท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐานเพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืน จำนวน 3 โครงการ งบประมาณรวม 38,614,600 บาท (สามสิบแปดล้านหกแสนหนึ่งหมื่นสี่พันหกร้อยบาทถ้วน) เพื่อพัฒนาโครงข่ายขนส่ง รองรับการพัฒนาเมืองสุราษฎร์ธานี เพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยว ประเด็นการพัฒนาที่ 3 : พัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์จำนวน 4 โครงการ งบประมาณรวม 156,000,000 บาท (หนึ่งร้อยห้าสิบหกล้านบาทถ้วน) เพื่อพัฒนาโครงข่ายขนส่งรองรับการพัฒนา เมืองสุราษฎร์ธานี และเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยทางถนน ประเด็นการพัฒนาที่ 4 : เสริมสร้างพลังทางสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี จำนวน 2 โครงการ งบประมาณรวม 6,401,700 บาท (หกล้านสี่แสนหนึ่งพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน) เพื่อการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนเสริมเกราะ เปราะบาง สร้างภูมิคุ้มกันในครัวเรือน ประเด็นการพัฒนาที่ 5 : บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน จำนวน 2 โครงการ งบประมาณ รวม 10,702,800 บาท (สิบล้านเจ็ดแสนสองพันแปดร้อยบาทถ้วน) เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการภัยพิบัติและสาธารณภัยจังหวัด สุราษฎร์ธานี ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ จำนวน 10,000,000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน)
บรรยายสรุปจังหวัดสุราษฎร์ธานี 53 โครงการสำคัญที่เสนอขอรับการพิจารณางบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ประกอบด้วย ประเด็นการพัฒนาที่ 1 : พัฒนาการผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าสูง 1. โครงการส่งเสริมมาตรฐานปาล์มน้ำมันสู่ BCG Model งบประมาณ 5,183,600 บาท 2. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนด้วยการจัดการธาตุอาหาร งบประมาณ 1,782,000 บาท 3. โครงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทน งบประมาณ 1,581,000 บาท 4. โครงการส่งเสริมตลาดสินค้าเด่นที่มีเอกลักษณ์ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีงบประมาณ 2,318,000 บาท ประเด็นการพัฒนาที่ 2 : พัฒนาการท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐานเพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืน 1. โครงการสืบสานมรดกภูมิปัญญาประเพณีชักพระทอดผ้าป่า แข่งเรือยาว และยกระดับการท่องเที่ยว เชิง วัฒนธรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานีงบประมาณ 6,890,000 บาท 2. โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการบริการและการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน งบประมาณ 2,900,000 บาท 3. โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวมูลค่าสูง งบประมาณ 1,723,300 บาท 4. โครงการยกระดับงานเทศกาลส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวงาน กิจกรรมงานเทศกาลเงาะโรงเรียนนาสาร (GI) จังหวัดสุราษฎร์ธานีงบประมาณ 13,000,000 บาท ประเด็นการพัฒนาที่ 3 : พัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ 1. โครงการปรับปรุงถนนเขาวง – หน้าเขา งบประมาณ 50,000,000 บาท 2. โครงการก่อสร้างถนนลาดยาง สาย ถ้ำเสือขบ - เขานาใน ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัด สุราษฎร์ธานีงบประมาณ 11,012,000 บาท 3. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยทางถนน งบประมาณ 9,000,000 บาท 4. โครงการเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งระบบโลจิสติกส์ เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่าย คมนาคม เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ทาง งบประมาณ 20,000,000 บาท 5. โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าแสงสว่างบนทางหลวงสาย หนองขรี – เทศบาลเมืองท่าข้าม งบประมาณ 36,000,000 บาท 6. โครงการปรับปรุงทางหลวง ทางหลวง สาย ห้วยพุน – พุมเรียง งบประมาณ 50,000,000 บาท
บรรยายสรุปจังหวัดสุราษฎร์ธานี 54 7. โครงการก่อสร้างถนน คสล. สาย ซอยอนามัยเลียบคลองบางหมาก หมู่ที่ 3, 8 ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานีงบประมาณ 18,910,000 บาท ประเด็นการพัฒนาที่ 4 : เสริมสร้างพลังทางสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี 1. โครงการเยาวชนเมืองคนดีเป็นที่หนึ่ง TO BE NUMBER ONE งบประมาณ 5,440,000 บาท 2. โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย งบประมาณ 4,896,800 บาท 3. โครงการพัฒนาเมืองสมุนไพรจังหวัดสุราษฎร์ธานี(Suratthani Herbal City) งบประมาณ 2,500,000 บาท ประเด็นการพัฒนาที่ 5 : บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน 1. โครงการพัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานีงบประมาณ 9,612,000 บาท 2. โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชนจัดการภัยพิบัติและสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานีงบประมาณ 827,800 บาท