The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

งานบี อาจารย์แวน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Duangchan Sangkhasopha, 2023-02-09 08:49:34

งานบี อาจารย์แวน

งานบี อาจารย์แวน

ข แนวคิดและทฤษฎีทางเศรษฐกิจ


ก คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-B00K)เล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อใช้เป็นตำราประกอบการเรียนรายวิชา PC256202 ปรัชญาการศึกษา ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้า และเรียบเรียงจากตำรา บทความ เอกสารและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับปรัชญาการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนประยุกต์ใช้ ความรู้ทั้งทางทฤษฎี และวิธีปฏิบัติ พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น เนื้อหาของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-B00K)เล่มนี้มีขอบเขต โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 11 เรื่อง ความหมายแนวคิดของเศรษฐกิจความหมายของทฤษฎีความหมายของทฤษฎีทางเศรษฐกิจทฤษฎีที่ใช้ ในการพัฒนาประเทศทฤษฎีและแนวคิดในการพัฒนาประเทศทฤษฎีและทางเลือกในการพัฒนา เศรษฐกิจการเมืองความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแผนการพัฒนาเศรษฐกิจทางสังคมวิวัฒนาการของ ระบบเศรษฐกิจนโยบายรัฐบาลเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมชนบทนโยบายการเงินกับการพัฒนา เศรษฐกิจ 29 มกราคม 2566


ข สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข สารบัญภาพ ค บทที่4แนวทางทฤษฎีทางเศรษฐกิจ ความหมายแนวคิดของเศรษฐกิจ 1 ความหมายของทฤษฎี 3 ความหมายของทฤษฎีทางเศรษฐกิจ 4 ทฤษฎีที่ใช้ในการพัฒนาประเทศ 5 ทฤษฎีและแนวคิดในการพัฒนาประเทศ 13 ทฤษฎีและทางเลือกในการพัฒนาเศรษฐกิจการเมือง 14 ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 16 แผนการพัฒนาเศรษฐกิจทางสังคม 18 วิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจ 19 นโยบายการเงินกับการพัฒนาเศรษฐกิจ 21


ค บทสรุป 24 คำถามทบทวน 2 บรรณานุกรม ง สารบัญภาพ ภาพประกอบที่ หน้า 1 ความหมายของทฤษฎี 11 2 ทฤษฎีละแนวคิดในการพัฒนาประเทศ 13 3 ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 16 4 แผนการพัฒนาเศรษฐกิจทางสังคม 18 5 วิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจ 19 6 นโยการเงินกับการพัฒนาเศรษฐกิจ 22


1 บทที่ 4 ความหมายแนวคิดและทฤษฎีทางเศรษฐกิจ ความหมายแนวคิดของเศรษฐกิจ เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาว ไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนว ทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึง ระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่ จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการ วางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบ รู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อ การรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลก ภายนอกได้เป็นอย่างดี ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณา จากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ


2 ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึง ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ ดังนี้ เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำ ความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความ อดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต ประเทศไทยกับเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้ผู้ผลิต หรือผู้บริโภค พยายามเริ่มต้นผลิต หรือ บริโภคภายใต้ขอบเขต ข้อจำกัดของรายได้ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ไปก่อน ซึ่งก็คือ หลักในการลดการพึ่งพา เพิ่มขีด ความสามารถในการควบคุมการผลิตได้ด้วยตนเอง และลดภาวะการเสี่ยงจากการไม่ สามารถควบคุมระบบตลาด ได้อย่างมีประสิทธิภาพเศรษฐกิจพอเพียงมิใช่หมายความถึงการกระเบียดกระเสียนจนเกินสมควร หากแต่อาจ ฟุ่มเฟือยได้เป็นครั้งคราวตามอัตภาพ แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศมักใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะ ที่หามาได้ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปสู่เป้าหมายของการสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจได้เช่น โดยพื้นฐานแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม เศรษฐกิจของประเทศจึงควรเน้นที่เศรษฐกิจการเกษตร เน้นความมั่นคงทาง อาหาร เป็นการสร้างความมั่นคงให้เป็นระบบเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง จึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดความเสี่ยง หรือความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ทุกสาขา ทุก ภาคของเศรษฐกิจ ไม่จำเป็นจะต้องจำกัดเฉพาะแต่ภาคการเกษตร หรือภาคชนบท แม้แต่ภาคการเงิน ภาค อสังหาริมทรัพย์ และการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ โดยมีหลักการที่คล้ายคลึงกันคือ เน้นการเลือกปฏิบัติอย่าง พอประมาณ มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเองและสังคม พระราชดำรัสที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาของเศรษฐกิจ การที่ต้องใช้รถไถต้องไปซื้อ เราต้องใช้ต้องหาเงินมาสำหรับซื้อน้ำมันสำหรับ รถไถ เวลารถไถเก่าเราต้องยิ่งซ่อมแซม แต่เวลาใช้นั้นเราก็ต้องป้อนน้ำมันให้เป็นอาหาร เสร็จแล้วมันคายควัน ควัน เราสูดเข้าไปแล้วก็ปวดหัว ส่วนควายเวลาเราใช้เราก็ต้องป้อนอาหาร ต้องให้หญ้าให้อาหารมันกิน แต่ว่ามันคาย ออกมา ที่มันคายออกมาก็เป็นปุ๋ย แล้วก็ใช้ได้สำหรับให้ที่ดินของเราไม่เสีย...


3 การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าใจถึงสภาพสังคมไทย ดังนั้น เมื่อได้พระราชทานแนวพระราชดำริ หรือพระ บรมราโชวาทในด้านต่าง ๆ จะทรงคำนึงถึงวิถีชีวิต สภาพสังคมของประชาชนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทาง ความคิด ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในทางปฏิบัติได้ แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง -ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต -ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต -ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง -ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ ให้มีรายได้เพิ่มพูขึ้นจนถึง ขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ -ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา ความหมายของทฤษฎีทฤษฎี คือ กลุ่มความสัมพันธ์ของแนวคิดคำนิยาม และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายลักษณะของ ปรากฏการณ์หนึ่ง และชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายหรือคาดเดา ปรากฏการณ์นั้น จากคำจำกัดความข้างต้น สามารถแยกแยะความหมายของทฤษฎีได้ 3 ประเด็น คือทฤษฎี คือ กลุ่มของข้อความที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของสิ่งต่าง ๆทฤษฎีช่วยสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่มตัวแปรต่าง ๆ และเมื่อได้ปฏิบัติตามทฤษฎีแล้ว จะแสดงให้เห็นถึงลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง ทฤษฎีอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ โดยเจาะจงไปว่าตัวแปรใดสัมพันธ์กับตัวแปรใด และมีความสัมพันธ์กัน อย่างไร - คำอธิบายในทฤษฎีจะสะท้อนให้เห็นแนวคิด ซึ่งทฤษฎีแต่ละทฤษฎีจะมีความแตกต่างกันไป เนื่องจาก คำอธิบายนั้นตั้งอยู่บนหลักปรัชญาที่ต่างกัน ดังนั้นจึงมีการแบ่งประเภทของทฤษฎีตามรูปคำอธิบายของหลัก ปรัชญาต่างๆ


4 -ทฤษฎีทางนิเทศศาสตร์ จะมุ่งอธิบายถึงพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ทุกรูปแบบ ซึ่งแต่ละทฤษฎีจะ อธิบายถึงพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ในลักษณะใดนั้น ขึ้นอยู่กับความเชื่อหรือหลักปรัชญาของผู้สร้างทฤษฎี ว่า ตัวแปรอะไรที่สามารถนำมาอธิบายพฤติกรรมนั้นได้ องค์ประกอบของทฤษฎี 1. แนวความคิด 2. ข้อเสนอหรือข้อสมมติฐาน 3. เหตุการณ์ ที่มีกระบวนการพิสูจน์จากข้อเสนอหรือข้อสมมติฐาน หน้าที่ของทฤษฎี 1. จัดและสรุปข้อเท็จจริงต่าง ๆ 2. เน้นความสำคัญของตัวแปร 3. ขยายความหรือตีความเหตุการณ์ 4. ช่วยในการสังเกตเหตุการณ์ต่าง ๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นและเกิดขึ้นได้อย่างไร 5. ทำนาย หรือคาดเดาเกี่ยวกับผลลัพธ์ของ เหตุการณ์ต่าง ๆ 6. ถ่ายทอดความรู้ 7. ให้คุณค่าแก่การศึกษา ก่อให้เกิดการวิจัย โดยสามารถระบุตัวแปรที่เกี่ยวข้องได้ และนำไปสู่การพัฒนาทฤษฎี ใหม่ 8. กำหนดปทัสถานหรือคุณสมบัติของพฤติกรรม ความหมายของทฤษฎีทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจ ตามความหมายในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายไว้ ว่า "เศรษฐกิจ" หมายถึง งานอัน เกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่ง ต่างๆของชุมชน ส่วนคาว่า ระบบเศรษฐกิจนั้น ได้มีนักวิชาการทางด้านเศรษฐศาสตร์บางท่านได้ ให้ความหมายของคำว่า ระบบเศรษฐกิจ


5 ทฤษฎีที่ใช้ในการพัฒนาประเทศ ทฤษฎีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามลําดับขั้น เป็นทฤษฎีที่เน้นหนักไปในทางการพัฒนาระบบ การผลิต การ ขยายตัวด้านการผลิต การกระจายผลผลิตว่าจะทําให้ระบบเศรษฐกิจเจริญก้าวหน้า โดยที่ใช้ระบบเศรษฐกิจของ ยุโรปตะวันตกหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นตัวแบบในการศึกษา เขาสรุปว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น จะเป็นลําดับขั้น และมี 5 ขั้นตอนคือ 1. ระบบเศรษฐกิจสังคมแบบดั้งเดิม เป็นเศรษฐกิจของมนุษย์ สังคมดั้งเดิมที่ผูกพันอยู่กับจารีตประเพณีอย่างมาก การขยายตัวทางเศรษฐกิจมีน้อยมาก เพราะอาชีพหลักคือการเกษตรนั้นยังไม่มีเทคโนโลยีเกิดขึ้นมากนัก ผลผลิตจึง มีน้อย ครอบครัว เป็นหน่วยงานสังคมที่สําคัญที่สุด ทําหน้าที่ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค 2. ขั้นเตรียมการพัฒนาเป็นระบบที่สังคมได้มีการติดต่อ ค้าขายกับสังคมภายนอกมากขึ้น เพราะการคมนาคม ติดต่อกันสะดวกสบายขึ้น สถาบันทางสังคม เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจําวันอย่างชัดเจน การประกอบอาชีพเริ่ม พัฒนามากขึ้นทั้งปริมาณและ คุณภาพ มีการขยายตัวเพื่อเพิ่มคุณภาพการผลิต ผลผลิตกลายเป็นการผลิตเพื่อส่ง ขายมากขึ้น ขั้นนี้มีการนําเทคโนโลยีวิธีการใหม่ๆ มาใช้มากขึ้น มีการสร้างทุนพื้นฐานอย่างกว้างขวาง 3. ขั้นเข้าสู่กระบวนการพัฒนา (Take ñ off Stage) เป็นระยะที่มีการตื่นตัวด้านการลงทุน ทุกสาขา ทั้งด้าน การเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การศึกษา โดยภาคอุตสาหกรรม ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ อัตราการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นรวดเร็วมาก มีโครงสร้างทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สังคมเมืองได้เกิดขึ้น และขยายตัวอย่างรวดเร็วมาก 4. ขั้นทะยานเข้าสู่ภาวะของความอุดมสมบูรณ์ ขั้นนี้เป็นผลจากขั้นที่ 3 เมื่อเศรษฐกิจในสังคมขยายตัว ทําให้ความ เป็นอยู่ของสมาชิกในสังคม 5. ขั้นอุดมสมบูรณ์ เป็นขั้นที่สมาชิกในสังคม มีมาตรฐานการครองชีพสูงมาก มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีคุณภาพสูง คอยอํานวยความสะดวก 128 วิถีชีวิตส่วนใหญ่มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่กับเทคโนโลยีสมัยใหม่มาก ประชาชนมีการ บริโภคที่สมบูรณ์ โดยทั่วหน้ากัน มีการจ้างงานเต็มที่ ประชาชนจะมีความรู้สึกมั่นคง ดํารงอยู่ในสังคม อย่างมี ความสุขทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับกันมากในระยะแรก แต่ต่อมาถูกโต้แย้งว่าไม่สามารถใช้อธิบาย กับสังคมอื่นๆที่อยู่ นอกเหนือทวีปยุโรปได้ และในความเป็นจริงแล้วการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ของสังคมต่างๆ ในโลกก็ไม่อาจดําเนินไป ตามทฤษฎีนี้ได้ทั้งหมด ดังนั้น ในปัจจุบัน นักเศรษฐศาสตร์ จึงไม่ยอมรับมากนัก แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีนี้สามารถ นํามาใช้ในการพัฒนา ชุมชนได้ เพราะการพัฒนาชุมชนนั้นมีลักษณะเป็นกระบวนการ คือมีการดําเนินงานเป็น ขั้นตอน ที่สัมพันธ์กันและต้ องใช้เวลาในการที่จะปรากฏผลออกมา ดังนั้นในการพัฒนาชุมชน จึงต้องดําเนินงาน


6 เป็นขั้นตอน มีการแก้ไขปรับปรุงกิจกรรมต่างๆ ให้เหมาะสม และนําไปสู่ขั้นตอน สูงขึ้นเสมอจนกระทั่งบรรลุ จุดหมายปลายทาง 2. ทฤษฎีฝนหล่นจากฟ้า ทฤษฎีนี้มีแนวความคิดว่าคนในสังคมนั้นมีหลายระดับชั้น แต่ละระดับมีความสามารถ ในการรับการพัฒนาได้ไม่ เท่ากัน ในขณะที่ทรัพยากรสําหรับใช้ในการพัฒนามีอยู่อย่างจํากัด หากนําเอาทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมดแบ่งเฉลี่ย ให้กับทุกคนในสังคมในจํานวนที่เท่าๆ กัน หรือมาจัดสรรให้เกิดผลประโยชน์ต่อทุกคนในปริมาณที่เท่ากันแล้ว ประโยชน์ที่เกิดขึ้นในสังคม ก็จะมีไม่มากเท่าที่ควร เพราะการเร่งรัดพัฒนาจะมีข้อจํากัดหลายประการ เช่น งบประมาณ ทรัพยากร เทคโนโลยีและคุณภาพของประชากร ดังนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจจึงต้องให้เกิดขึ้น กับกลุ่ม คนที่มีความพร้อมหรือได้เปรียบในสังคมก่อน เมื่อคนกลุ่มนี้สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่ แล้ว ผลของการพัฒนาก็ จะค่อยๆ กระจายลงมายังกลุ่มคนชั้นกลาง และคนยากจนในสังคม ตามลําดับ ในปัจจุบันนักวิชาการได้โต้แย้ง ทฤษฎีนี้ว่ามีจุดอ่อนมาก เพราะโดยธรรมชาติแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่คนรวยหรือคนที่ได้เปรียบในสังคมจะเป็นผู้ช่วย พัฒนากลุ่มคนอื่นๆ ในสังคม แต่ยิ่งพัฒนาคนรวยอยู่แล้วก็จะรวยยิ่งขึ้น ส่วนคนจนก็จะยากจนยิ่งขึ้นเช่นกัน ดัง ตัวอย่างที่เกิดขึ้น ในประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกําลังพัฒนาทั้งหลาย แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีนี้สามารถ นํามาใช้ในการพัฒนาชุมชนได้โดยในขั้นตอนขอการดําเนินงานนั้น ต้องมีการเตรียมการ หลายด้าน ประการสําคัญ คือ การเตรียมคนต้องคํานึงกลุ่มคนที่พร้อมที่สุดในชุมชนก่อน ซึ่งได้แก่ ผู้มีฐานะอันจะกิน และกลุ่มผู้นําในชุมชน แล้วจึงไปสู่กลุ่มคนอื่นๆ แต่สิ่งที่นักพัฒนาชุมชน129 จะต้องระวังให้มากก็คือ อย่าให้เกิดการผูกขาดการพัฒนาเฉพาะกลุ่มคนเหล่านี้ขึ้นเป็นอันขาด ต้องพยายามให้เกิด การกระจายของกระบวนการการพัฒนาไปสู่คนทุกกลุ่มในสังคมให้ได้เร็วที่สุด 3. ทฤษฎีการกระจายรายได้ และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทฤษฎีนี้ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีฝนหล่นจากฟ้า เพราะเห็นว่าการสนับสนุนการพัฒนา ในกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นคน ชั้นสูงนั้น สามารถบรรลุผลได้อย่างรวดเร็วมั่นคง แน่นอนกว่าการลงทุน ให้เสมอภาคกันทุกคนในสังคม อันทำให้ ประเทศชาติมีรายได้เป็นกลุ่มก้อนที่ชัดเจน แต่เกิดปัญหา การกระจายรายได้ ทําให้คนจํานวนมากเดือดร้อน จึง ต้องแก้โดยเพิ่มการกระจายรายได้ เข้าควบคู่กับการระดมทุน โดยมีมาตรการต่างๆ ดังนี้ 1. การให้ความสําคัญต่อสาขาต่างๆ ในการพัฒนาที่สําคัญคือการเกษตร ผู้ที่ไม่มีที่ดิน ทํากินของตนเอง ตลอดจนผู้ ที่ขายแรงงานรับจ้างทางการเกษตรในรูปแบบต่างๆด้วย


7 2. การให้ความสําคัญต่อการพัฒนาชนบท เพื่อยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ ของชาวชนบท โดยส่งเสริมให้มี ความสามารถในการเพิ่มผลผลิต การให้บริการของรัฐในเรื่องต่างๆ เช่น การส่งเสริมการเกษตรแผนใหม่ การ ชลประทาน การหาตลาดสินค้า นํ้าดื่มนํ้าใช้ การคมนาคม การสื่อสาร การกระจายอํานาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับ กิจกรรมต่างๆ การวางแผน ในการพัฒนาท้องถิ่น การปฏิรูปที่ดิน เป็นต้น 3. การให้ความสําคัญเป็นพิเศษต่อเทคนิคการผลิตที่ใช้แรงงานมากกว่าการใช้ทุน การใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ เช่น การระดมการสร้างงานฝีมือในรูปแบบต่างๆ การประหยัด การใช้ทุนและเงินตราจากต่างประเทศ การใช้เทคโนโลยี พื้นบ้านที่เหมาะสม เป็นต้น 4. การควบคุมประชากรให้มีจํานวนที่สามารถเพิ่มคุณภาพได้อย่างเต็มที่ เพราะคุณภาพ ความยากจน การว่างงาน และจํานวนประชากรจะมีความสัมพันธ์ต่อกันโดยตรง 5. การกําหนดกลุ่มประชากรที่ยากจน เพื่อหาแนวทางในการกระจายรายได้ และการพัฒนาได้ตรงจุด 6. การปรับปรุงเรื่องโอกาสให้กลุ่มคนยากจน เพื่อให้เข้าถึงการบริการจากรัฐบาล โดยเฉพาะการศึกษา การบริการ ด้านสาธารณสุข นํ้าดื่มนํ้าใช้ที่ถูกสุขลักษณะ ที่อยู่อาศัย การคมนาคม การชลประทาน และการใช้อํานาจในฐานะ ที่เป็นประชาชนของประเทศ ทฤษฎีนี้นํ ามาใช้งานพัฒนาชุมชนได้ เป็ นอย่างดีเพราะเป็นการมุ่งการกระจาย ผล ของการพัฒนาไปสู่กลุ่มคนที่พึ่งตนเองไม่ได้130 4. ทฤษฎีความทันสมัย เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่คล้ายกับทฤษฎีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม ซึ่งได้กล่าว มาแล้ว นักเศรษฐศาสตร์ ให้ความสําคัญของความทันสมัยในเชิงการผลิต การลงทุนโดยกรรมวิธี ที่มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น เครื่องจักรกลขนาดใหญ่ โรงงานใหญ่ๆ จํานวนมากๆ อัตราการขยายตัวของตึกหรืออาคารทันสมัยเพิ่มปริมาณใน อัตราสูง ประชาชนมีเครื่องมือ อํานวยความสะดวกมากมายในชีวิตประจําวันจะมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง มากมาย การพัฒนาที่นําไปสู่ความทันสมัยนั้น จะต้องอาศัยกระบวนการอันก่อให้เกิดอุตสาหกรรม การขยายความ เป็นเมือง การยกระดับความมีเหตุผลของประชาชน โดยเน้นการพัฒนาทางวัตถุ เป็นสําคัญ มีการกําหนดเป้าหมาย หลักไว้ล่วงหน้าในเชิงปริมาณที่ชัดเจน เช่นในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีถนนเพิ่มขึ้นกี่สาย มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาด ใหญ่เพิ่มขึ้นอีกกี่โรง มีอาคารศูนย์การค้า พาณิชย์กี่แห่ง เป็นต้น รูปแบบการพัฒนาแบบทันสมัยนี้ ประชาชนส่วน ใหญ่สามารถเห็นผลอย่างชัดเจน ทั้งนี้เพราะโดยสภาพทางจิตวิทยาสังคมแล้ว ความหรูหรา ความสะดวกสบายเป็น แรงจูงใจ ที่สําคัญและทําให้เกิดการเคลื่อนไหวใน 3 รูปแบบ คือ


8 1. การเคลื่อนไหวทางกายภาพ หมายถึงการนําเอาสิ่งใหม่ๆ หรือของใช้ทันสมัยเข้ามาใช้ ในชีวิตประจําวัน เช่น ใช้ เครื่องใช้ไฟฟ้าในการประกอบอาหาร ใช้อํานวยความสะดวก ในการทํางาน หากวันใดไม่มีเครื่องอํานวยความ สะดวกเหล่านี้ ก็จะรู้สึกเดือดร้อนมาก เพราะให้ความสําคัญกับสิ่งเหล่านี้มากเป็นพิเศษนั่นเอง 2. การเคลื่อนไหวทางจิต เป็นการเคลื่อนไหวทางค่านิยม รสนิยม ความรู้สึกนึกคิด ที่ก้าวไกลออกไปจากสภาพของ ความเป็นจริงในขณะนั้น เช่น คนยากจนที่จะใช้ชีวิตแบบหรูหรา ฟุ่มเฟือย เมื่อมีเงินนิดหน่อยก็ไปนั่งร้านอาหาร ราคาแพง เพื่อสนองความรู้สึกว่าตนเองเป็นคนมั่งมี ทั้งนี้เพราะจิตใจได้เคลื่อนไหวออกไปแล้ว การเคลื่อนไหวที่ รวดเร็วมาก โดยเฉพาะในประเทศ ด้อยพัฒนา 3. การเคลื่อนไหวทางสังคม หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางสังคม หรือทางเศรษฐกิจ เช่น บุคคลที่มี การศึกษาสูงขึ้น ประสบผลสําเร็จในหน้าที่การงานมากขึ้น มีความรู้ความสามารถมากขึ้นก็จะได้รับการยอมรับจาก สังคมมากขึ้น จึงมีการเคลื่อนไหว ทางสถานภาพทางสังคม หรือเมื่อมีรายได้มากขึ้น ฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้นก็เกิด การเคลื่อนไหว ทางเศรษฐกิจขึ้น เป็นต้น131 ความทันสมัยที่สมบูรณ์นั้นก็คือคนในสังคมนั้นๆ มีการเคลื่อนไหวทั้ง 3 ประการไปพร้อมๆ กันอย่างสอดคล้องเหมาะสม หากการเคลื่อนไหวตัวใดตัวหนึ่งเคลื่อนไหวไปเร็วมาก ในขณะที่ ตัวอื่นๆ เคลื่อนไหวตามช้า จะทําให้เกิดปัญหาสังคมมากมาย เช่น ปัญหาที่กําลังเกิดขึ้น ในกลุ่มประเทศพัฒนา ทั้งหลายในปัจจุบัน การพัฒนาตามแนวทางนี้ จึงหมายถึงการพัฒนา เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวใน 3 ประการ ข้างต้นของสมาชิกในสังคม และควบคุมให้การเคลื่อนไหว นั้น ดําเนินไปอย่างสอดคล้องสมดุลทั้ง 3 ประการนั่นเอง ทฤษฎีความทันสมัยนี้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนหลายประการ ที่สําคัญคือ ทําให้เกิดความเข้าใจในการที่ จะยอมรับสิ่งใหม่ๆ เข้ามาในชุมชน จะต้องคํานึงถึงให้รอบคอบ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วชุมชนหรือสังคมนั้นจะมี ลักษณะดังคํากล่าวที่ว่า ìทันสมัยแต่ไม่พัฒนานั่นเอง 5. ทฤษฎีการด้อยพัฒนาและการพึ่งพา ทฤษฎีการด้อยพัฒนาและการพึ่งพาเป็นทฤษฎี 2 แนวความคิดที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยมีความเชื่อพื้นฐานว่า การด้อยพัฒนาเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการพัฒนาและการพัฒนาประเทศ แบบนิยมของประเทศตะวันตก คือสาเหตุ ของการด้อยพัฒนาในประเทศโลกที่สาม ช่องว่าง ของการพัฒนาดังกล่าวนี้เนื่องจากลัทธิล่าอาณานิคม และการ ถือเอาประโยชน์ของประเทศพัฒนา แล้วจากประเทศในโลกที่สามนั่นเอง ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ทําให้ประเทศ โลกที่สาม อยู่ในลักษณะประเทศบริวาร อยู่ภายใต้ขอบข่ายของอํานาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ เป็นแหล่ง วัตถุดิบตลาดสินค้าอุตสาหกรรมแหล่งขยายตัวของการลงทุน ผลประโยชน์และรายได้ และจุดสําคัญทาง ยุทธศาสตร์ให้กับประเทศทุนนิยมตะวันตก ซึ่งเรียกว่า ìการพึ่งพาî (Dependence) ทั้งในด้านวัฒนธรรม สังคม


9 เศรษฐกิจและการเมือง ไม่ได้มีแนวทางการพัฒนา ประเทศที่เป็นอิสระของตนเอง ต้องพึ่งพาประเทศทุนนิยม ตะวันตกทั้งด้านเทคโนโลยี ทุนและสินค้าประเภททุน ความเชี่ยวชาญและตลาดการค้าและอื่นๆ นอกจากนี้ ลักษณะของความสัมพันธ์ก็ยังเป็นไปในเชิงเอารัดเอาเปรียบประเทศโลกที่สามอีกด้วย เช่น การซื้อ วัตถุดิบในราคา ถูกแต่ ต้องซื้อสินค้าอุตสาหกรรมในราคาแพง และการถ่ายโอนรายได้ ในรูปของบริษัทข้ามชาติ เป็นต้น ด้วย เหตุผลดังกล่าวแล้ว ประเทศในโลกที่สามจึงมีลักษณะ ด้อยพัฒนาและต้องพึ่งพาประเทศทุนนิยมตะวันตกอย่างไม่ มีวันสิ้นสุด ทฤษฎีการด้อยพัฒนาและการพึ่งพานี้ เป็นทฤษฎีหนึ่งที่สามารถนําไปใช้ในการดําเนินงาน พัฒนาชุมชน ได้ นั่นคือในการพัฒนาประชาชน ต้องปราศจากการครอบงําทางความคิด 132 และรัฐบาลจะต้องไม่กระทําการ ใดๆ ก็ตาม ที่ทําให้ประชาชนต้องพึ่งพารัฐบาลอยู่ตลอดเวลา ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีอิสระเสรีใ นการ ดําเนินงานตามหลักประชาธิปไตย และหลักการ พัฒนาชุมชน เพราะไม่เช่นนั้นแล้วการพัฒนาชุมชนที่แท้จริงไม่ สามารถจะเกิดขึ้นได้เลย 6. แนวความคิดของการพัฒนาอีกรูปแบบหนึ่ง แนวความคิดนี้ยังไม่ได้เป็นทฤษฎี แต่เป็นแนวความคิดที่นักทฤษฎีประเทศสวีเดน กลุ่ม ได้รวบรวมจากทฤษฎีอื่นๆ แล้วนํามาปรับปรุง เป็นแนวความคิดของตนเอง และเผยแพร่เป็นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 1975 โดย แนวความคิด ได้เปลี่ยนจากการพัฒนาที่ยึดถือการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลักสําคัญ มาเป็นการยึดถือ คนเป็นหลัก โดยถือว่าคนเป็นทรัพยากรที่สําคัญที่สุด การที่สามารถนําเอาศักยภาพและความคิด สร้างสรรค์ของ คนออกมาใช้ในการพัฒนา ได้ถือว่าเป็นทั้งวิถีทาง (Means) และเป้าหมาย (End) แนวความคิดนี้มีหลักการพื้นฐาน 5 ประการ คือ 1. การพัฒนาเป็นเรื่องของประชาชน และประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในสิ่งที่มีผลกระทบต่อ ตนเอง 2. การพัฒนาเป็นเรื่องของทั้งประเทศยากจนและประเทศรํ่ารวย จึงต้องให้ความสําคัญ ทั้งสองส่วนนี้ร่วมกัน 3. ถ้ามีการจัดสรรหรือใช้อย่างถูกแล้ว ทรัพยากรของโลกก็จะมีปริมาณเพียงพอ ที่จะตอบสนองความต้องการ พื้นฐานของมนุษย์ได้ทั้งโลก 4. การพัฒนาเป็นกระบวนการที่ต้องพัฒนาจากภายใน ต้องให้ สอดคล้องกับค่านิยม ระบบการเมืองและพื้นฐาน ทรัพยากรของแต่ละประเทศ ไม่ใช่การลอกเลียนแบบหรือการหยิบยืมตัวแบบสําเร็จรูปมาใช้เพียงอย่างเดียว


10 5. ระบบและวิธีการต่างๆ ในระดับโลก สามารถพัฒนาให้เอื้ออํานวยต่อการพัฒนา ของโลกที่สามได้ ถ้าหากมีการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการพัฒนาระดับโลกที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แนวความคิดในการพัฒนาที่นักทฤษฎีกลุ่มนี้ใช้ยึดถือเป็นแนวทางในการพัฒนา มี 5 ประการ คือ 1. เน้นการพัฒนาในเรื่องความต้องการขั้นพื้นฐานของคน 2. เป็นการพัฒนาจากการริเริ่มและดําเนินการจากภายใน 3. เป็นการพัฒนาที่ยึดหลักการพึ่งตนเอง133 4. เป็นการพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม 5. เป็นการพัฒนาที่มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างให้มีการกระจายผลของการพัฒนา ให้ทั่วถึงทั้งระดับระหว่าง ประเทศ ระดับประเทศ ระดับท้องถิ่น และในสาขาการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง แนวความคิดนี้เป็นแนวความคิดที่ใกล้เคียงกับแนวความคิดหลักของการพัฒนาชุมชน เป็นอย่างมาก ดังนั้น นักพัฒนาชุมชนจึงสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนได้เป็นอย่างดี ในการศึกษาทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ที่ กล่าวมาแล้วนั้น เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ไม่มีทฤษฎีใด ที่สามารถนําไปใช้ได้อย่างสมบูรณ์ในทุกสังคม ดังนั้น ในการนําทฤษฎีไปใช้ ในการดําเนินงานพัฒนาชุมชน นักพัฒนาชุมชนจึงต้องมีการเลือกเฟ้นหรือประยุกต์ทฤษฎี ต่างๆ ให้เหมาะสมกับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของชุมชนนั้นๆ เสมอ ประการสําคัญคือ ถ้าสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทฤษฎีหรือสร้างทฤษฎีขึ้นใหม่ด้วย ก็จะเป็นการพัฒนาทฤษฎีให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป อีกขั้นหนึ่ง 7. ทฤษฎีความจําเป็นพื้นฐาน ทฤษฎีนี้ได้พัฒนามาจาก 2 แนวคิด คือ 1. การพัฒนาเพื่อการจ้างงานขององค์การแรงงาน ระหว่างประเทศ ซึ่งได้จัดการประชุมสมัชชา ว่าด้วยการจ้าน งานโลกขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1976เน้นการใช้แรงงานเข้มข้นแทนการใช้ทุน โดยมี การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 2. การกระจายรายได้ควบคู่กับการเจริญเติบโต และธนาคารโลกรองประธานธนาคารโลกได้เสนอแนวคิดนี้ ใน หนังสือชื่อ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยการกระจายรายได้ไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่ยากจน


11 3. การพัฒนาอีกวิธีหนึ่ง ได้นําเสนอในที่ประชุมมูลนิธิ อดีตประธานองค์การสหประชาติชาวสวีเดนที่เสียชีวิต ขณะปฏิบัติหน้าที่โดยเครื่องบินตก ในปี ค.ศ. 1975 ได้เรียกร้องให้ใช้ความจําเป็นพื้นฐาน เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนา นักคิดสําคัญของทฤษฎีนี้ ได้แก่ (นักเศรษฐศาสตร์ อเมริกันและเป็นบรรณาธิการวารสารซึ่งเน้นข้อเขียนแนวการ พัฒนา134 ที่ยังตีพิมพ์ในปัจจุบัน) แบ่งความจําเป็นพื้นฐานของมนุษย์ไว้ 4 ด้าน คือ ความมั่นคง ปลอดภัย สวัสดิ ภาพของชีวิต เอกลักษณ์ และเสรีภาพ โดยเฉพาะเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ส่วน แบ่งความจําเป็นออกเป็น 2 ส่วน คือทางกายภาย (วัตถุ) และทางจิตภาพ (ไม่ใช่วัตถุ) กลยุทธ์ที่สําคัญในการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน ของประชาชน ได้แก่ การลด อัตราการว่างงาน การเพิ่มผลผลิตให้ ถึงระดับความต้องการพื้นฐาน การกระจาย บริการสาธารณูปโภคด้านสาธารณสุข การศึกษา แหล่งนํ้า บ้านเรือน สุขาภิบาลที่เพียงพอ แก่ประเทศด้อยพัฒนา แนวคิดความจําเป็นขั้นพื้นฐานยังไม่มีตัววัดแบบสากล เพราะสภาพความแตกต่างกัน ของแต่ละสังคม รวมทั้ง ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่แตกต่างกัน ดังนั้นแต่ละประเทศ จึงกําหนดเป้าหมายความจําเป็นขั้นพื้นฐาน ของตนเอง อย่างไรก็ตามกยุทธ์ที่ใช้ในการวางแผน จากระดับล่างหรือที่เรียกว่าล่างขึ้นบน สําหรับประเทศไทย โครงการพัฒนาสังคม สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ได้นําแนวคิดนี้มาปรับใช้ โดยกําหนดเครื่องชี้วัดความจําเป็นพื้นฐาน และมีการเก็บข้อมูลครัวเรือน ทั่วประเทศ โดยนํามาใช้ในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 เป็นต้นมา 8. ทฤษฎีความสมดุลและนิเวศวิทยา นักคิดทฤษฎีนี้ที่สําคัญ ได้แก่ Eugene P. Odum, Amos Hawley, Robert E. Park R.D. Odum ได้เสนอแนว การพัฒนาแบบสมดุล (Equilibrium) ว่าหมายถึงความจําเป็น ในการดํารงรักษาระบบนิเวศวิทยาที่เหมาะสม ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติของคน กับสภาพแวดล้อมต้องได้ สมดุลย์ การพัฒนาของสังคมจะต้ องอยู่ใขอบเขต จํากัด ที่สภาพแวดล้อมสามารถคงอยู่ได้ ความสนใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้ อมและนิเวศวิทยา ควรจะเป็นค่านิยมที่ ขาดไม่ได้ สรุปทฤษฎีความสมดุลของ Odum (Odums Equilibrium Theory) และข้อเสนอ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการพัฒนา ดังนี้ 1. มีโครงการที่บังคับเข้มงวดในเรื่องของการวางแผนครอบครัว การควบคุมการผลิต การทําแท้ง 2. ปฏิรูปการเก็บภาษีที่ทําลายหรือลดสิ่งกระตุ้นการเจริญเติบโต 3. ควบคุมขนาดและการกระจายของประชากรโดยการวางแผนและการกําหนดขอบเขต ของการใช้ที่ดิน 4. เน้นความสําคัญของกฏหมายและยาที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการควบคุมการบริโภค


12 5. หามติชนในเรื่องที่ประชากรที่พอเหมาะว่าควรอยู่ในระดับใด 6. ในการเพิ่มผลผลิตการเกษตร ควรเน้นคุณภาพความหลากหลายและความทนทานโรค มากกว่าการเน้นการเพิ่ม ผลผลิต 7. เน้นเรื่องคุณภาพการเก็บรักษาและคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ มากกว่า เรื่องอัตราการผลิตและการบริโภค 8. การหมุนเวียนและการอนุรักษ์อย่างเข้มงวดในเรื่องของนํ้าและแร่ธาตุทั้งหมด และทรัพยากรทางชีวภาพ 9. มีการใช้ระบบการจัดการกับสิ่งเหลือใช้โสโครก 10. เปลี่ยนระบบการเผชิญหน้าทางการเมืองระหว่างประชาชนชนบทและประชาชน ในเมือง โดยพิจารณาระบบ การเมืองทั้งหมดสําหรับชนบทและเมืองให้เป็นระบบเดียวกัน 11. เปลี่ยนการเน้นในเรื่องการแก้ปัญหาระยะสั้นๆ หรือแก้เพียงปัญหาเดียว ไปสู่รูปแบบ การแก้ปัญหาในระยะ ยาวและเป็นปัญหาใหญ่137 12. เน้นความสําคัญของการศึกษาในเรื่องหลักการทั้งหมดของคนและสิ่งแวดล้อม ข้อเสนอของ Odum ต่อ ประเทศโลกที่สามนั้นอาจจะพบกับปัญหา ต่างๆ แต่เขาได้แนะให้คํานึงถึงความแตกต่างระหว่างธรรมชาติและชนิด ของปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเผชิญหน้าต่อประเทศด้อยพัฒนา และได้บอกแนวทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ตลอดจน ปัญหาของสิ่งแวดล้อมในประเทศที่พัฒนาแล้ว ผู้เขียนเห็นว่า มนุษย์นิเวศวิทยา หมายถึง แนวทางที่ ประชากรดําเนินงาน เพื่อการมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อม โดยเน้นการวิเคราะห์ว่าทําไมการเปลี่ยนแปลงในชุมชน จึงเกิดขึ้นและเกิดอย่างไร และศึกษาว่าการเปลี่ยนแปลงใดที่ไม่สามารถทดแทนและไม่สามารถ หมุนกลับมาได้ อีก โดยพิจารณาคุณสมบัติของโครงสร้างด้านประชากรและลักษณะ สภาพแวดล้อมที่สัมพันธ์และกระทําต่อกัน ตัวอย่างเช่น ปัญหาที่เกิดจากความเจริญก้าวหน้า


13 ภาพประกอบที่ 1 ความหมายของทฤษฎีทฤษฎี ทฤษฎีและแนวคิดในการพัฒนาประเทศ หากมองย้อนถึงอดีตตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 จะเห็นได้ว่าประเทศในแถบตะวันตกได้มีการเคลื่อนไหวทางสังคมใน รูปแบบใหม่ๆ ซึ่งจะแตกต่างจากรูปแบบการเคลื่อนไหวแบบเดิม ซึ่งการเคลื่อนไหวเหล่านี้ได้เกิดการพัฒนาทั้งด้าน แนวความคิดในการดํารงชีพ ตลอดจนความรู้สึก รับผิดชอบต่อสังคมที่คนเหล่านั้นอาศัยอยู่ เช่น การเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพให้สตรีมีความเสมอภาค กับสุภาพบุรุษ การต่อต้านนิวเคลียร์การอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ฯลฯ จากการ เคลื่อนไหวทางสังคมในรูปแบบใหม่ ล้วนแล้วมาจากแนวความคิดของผู้คน ซึ่งมีความคิดหลากหลายมาแลกเปลี่ยน ความคิด เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ของกลุ่มคนของสังคม และจัดบรรทัดฐานของสังคม ทําให้แนวความคิดเหล่านั้นถูก พัฒนาขึ้นจนกลายมาเป็นทฤษฎีต่างๆ ทางสังคม เพื่อการพัฒนากลุ่มคนเล็กๆกลุ่มคนระดับกลางจนถึง ระดับประเทศ แนวความคิดในการพัฒนานั้นมีมากมาย ซึ่งแต่ละกลุ่มและแต่ละทฤษฎีก็จะมอง จุดของการพัฒนา ไปในแง่มุมที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมจะเกิดเสมอ ในทุกสังคม ซึ่งอาจจะมีการ เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายๆ สิ่ง ในความเห็น ของผู้เขียนคิดว่า ทุกสังคมต้องมี การเปลี่ยนแปลง เพียงแต่จะมากหรือน้อย ช้าหรือเร็วเท่านั้น ขึ้นอยู่กับตัวการ ใหญ่คือมนุษย์ นั่นเอง ปรากฏการณ์ทางสังคมช่วงเวลาหนึ่งๆ จะไม่เหมือนอีกช่วงเวลาหนึ่งไปทุกอย่าง การศึกษา ปรากฏการณ์ทางสังคม จึงเป็นสิ่งที่ทําให้เกิดทฤษฎีต่างๆ มากมาย และทฤษฎีเหล่านี้ ก็อธิบายสังคมเป็นระบบได้ ในช่วงเวลาหนึ่ง Muhi (1986) กล่าวว่า การใช้ทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งอธิบายกระบวนการที่ซับซ้อน ของการพัฒนา ทําให้ยาก ทฤษฎีต่างๆอาจใช้อธิบาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ทฤษฎี (Theory) หมายถึง ข้อความที่เป็นนามธรรม ซึ่งเป็นเหตุเป็นผลในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ต่างๆ FAO (1984) ได้ กล่าวถึงการพัฒนาทางสังคมว่า จะต้องขจัดความยากจนลดการว่างงาน และสร้างความกลมกลืนทางสังคม โดย ลดการมีช่องว่าง ของชนชั้น ซึ่งจะเน้นในการพัฒนาผู้ด้อยโอกาสทางสังคม โดยเฉพาะคนยากจน สตรี เด็ก เยาวชน 126 คนพิการไร้ความสามารถ ผู้สูงอายุ และชนกลุ่มน้อย ซึ่งจะต้องมุ่งเน้นที่การขจัดความยากจน การกระจาย ความเป็นธรรม และการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้เขาเหล่านั้นสามารถช่วยเหลือ ตัวเองได้ ทฤษฎี เป็นสิ่งที่ มีประโยชน์ สําหรับนักวิชาการในสาขาวิชาต่างๆ ที่จะทําการศึกษาวิจัยเพื่อพิสูจน์ความคิดและสร้างทฤษฎีใหม่ ทั้ง เป็นประโยชน์ต่อนักปฏิบัติหรือนักพัฒนา ที่จะนําแนวคิด ทฤษฎีไปใช้ในการพัฒนา เพราะทฤษฎีโดยทั่วไปไม่ใช่สัจ ธรรม (Truth) ดังคําสอนของศาสดา แต่เป็นความจริงอยู่ชั่วเวลาที่ยังไม่มีการนําหลักฐานเชิงประจักษ์ (Empirical Data) มาพิสูจน์หักล้าง ดังนั้นการศึกษาทฤษฎีสังคมวิทยามานุษยวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา จึงมีประโยชน์ต่อ การประยุกต์ไปใช้ในการพัฒนาสังคม (สัญญา สัญญาวิวัฒน์, 2526)


14 ประโยชน์ของทฤษฎีคือ 1. ช่วยชี้แนวทางในการพัฒนาสังคม มุ่งคิดถึงปัจจัยที่จะช่วยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคม 2. ช่วยชี้แนะแนวทางไปสู่ทิศทางที่เหมาะสม ก็คือขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลง จากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่งซึ่ง สามารถวางแผนพัฒนาล่วงหน้าได้ 3. ช่วยแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการดําเนินการพัฒนา ซึ่งสามารถ เตรียมพร้อมเพื่อแก้ไขปัญหาที อาจจะเกิดขึ้นในขณะที่ดําเนินงาน หรือเมื่อเสร็จสิ้นการดําเนินการ พัฒนาทฤษฎีและแนวความคิดในการพัฒนา ประเทศนั้น มีหลายทฤษฎี แต่จะมีทฤษฎีหลักที่ใช้ในการพัฒนาซึ่งอาจสรุปแนวความคิดอุดมการณ์การพัฒนาได้ 3 แนวคิดคือ 1. อุดมการณ์ที่เน้นหนักความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความทันสมัย 2. อุดมการณ์ที่เน้นหนักความเท่าเทียมกันและความเป็นธรรมในสังคม 3. อุดมการณ์ที่เน้นหนักความสมดุลของระบบนิเวศ (มนตรีกรรพุมมาลย์, 2537)127 ภาพประกอบที่ 2 ทฤษฎีและแนวคิดในการพัฒนาประเทศ ทฤษฎีและทางเลือกในการพัฒนาเศรษฐกิจการเมือง


15 ทฤษฎีและทางเลือกในการพัฒนาเศรษฐกิจการเมือง เมื่อกล่าวถึงการพัฒนาประเทศก็มักจะหมายถึงการพัฒนา เศรษฐกิจเป็นสำคัญ และเมื่อกล่าวถึงการพัฒนาเศรษฐกิจตลอดระยะที่ผ่านมาก็จะถูกครอบงำด้วยทฤษฎีความ เติบโตทางเศรษฐกิจเช่น ทฤษฎีความเติบโตทางเศรษฐกิจของ โดมาร์-ฮาร์รอด แนวคิดและทฤษฎีด้วยความเติบโตทางเศรษฐกิจก็คือการที่จะพัฒนาให้เศรษฐกิจโตขึ้นเรื่อยเรื่อยนั้นจะ สำเร็จได้ด้วยการระดมปัจจัยการผลิต ได้แก่ ที่ดิน ทุน แรงงานเเละเทคโนโลยีไปเพิ่มผลผลิตของประเทศ ยิ่งอัตรา การเพิ่มผลผลิตของประเทศสูงเท่าไหร่ก็แสดงว่าการพัฒนายิ่งบรรลุเป้าหมายสูงเท่านั้นลและผลผลิตของประเทศ วัดเจ้าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) การพัฒนาที่เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมนี้ไม่คำนึงว่า การเติบโตจะต้องเกิดขึ้นทุกส่วนหรือทุก สาขาการผลิต เป็นส่วนตัวได้มาก บางส่วนโตได้น้อย หรือไม่โตเลย แต่เมื่อรวมรวมกันแล้วเติบโตเพิ่มขึ้น ก็ถือว่า บรรลุเป้าหมายการพัฒนา ยิ่งกว่านั้น นักทฤษฎีบางคน เช่น เฮิร์ชแมน ก็เสนอให้มีการทุ่มเทพัฒนา ในบางส่วนขึ้นมาก่อน โดยหวังว่าให้ส่วนที่พัฒนาแล้วนั้นไปดึงให้สวนอื่นอื่นพัฒนาตามในภายหลัง เช่น ให้ลงทุน พัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอโดยหวังว่าจะทำให้การผลิตฝ้ายเจริญเติบโตตามไปด้วยซึ่งไม่จริงเสมอไป ตัวอย่างกรณี ประเทศไทยอุตสาหกรรมสิ่งทอเจริญเติบโตมากแล้ว แต่การผลิตฝ้ายไม่ได้เติบโตตามไปด้วยเพราะโรงงานสิ่งทอซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นบริษัทร่วมทุนกับ ต่างประเทศได้นำฝ้ายเข้ามาจากต่างประเทศ การพัฒนาแนวนี้ในที่สุดแล้วนำไปสู่ความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจ เกิดช่องว่างทางรายได้ของประชาชน มี บางกลุ่มได้ประโยชน์จากการพัฒนามาก บางกลุ่มก็ได้น้อย ดังนั้นจึงตรงกันข้ามกับแนวคิดที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ เติบโตอย่างสมดุล โดยเห็นว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจควรจะเป็นไปพร้อมพร้อมกันในทุกสาขาการผลิต การพัฒนาประเทศของไทยที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1-3 เป็นการพัฒนาที่เน้น ความเติบโตโดยรวมและเน้นการพัฒนาไม่สมดุล ต่อมาในแผนพัฒนฯฉบับที่ 4 และ 5 หันมาแนะแนวพัฒนาสมดุล ความคิดอีกแนวหนึ่งในการพัฒนาประเทศ เห็นว่า การพัฒนาประเทศนั้นไม่อาจบรรลุเป้าหมายเพียงแต่พัฒนา เศรษฐกิจ เพิ่มผลผลิตภายในประเทศ แต่จะต้องพัฒนาพร้อมๆกันทุกๆด้านทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ความคิดในแนวนี้ยังแต่ออกไปได้เป็นสองแนวใหญ่ใหญ่คือการพัฒนาประเทศเป็นการพัฒนาๆพร้อมกันทั้ง สองด้าน แต่ภายใต้กรอบของประเพณีในวัฒนธรรมเดิม และอีกแนวหนึ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจการเมืองและ สังคมยังทั่วด้านตั้งแต่ระดับโครงสร้างใหญ่ไปถึงส่วนย่อยของโครงสร้าง เป็นการพัฒนาเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการ ผลิต การถือครองปัจจัยการผลิตฐานะทางชนชั้น ความคิดและจิตสำนึกของประชาชนในสังคม ซึ่งในทางทฤษฎีมี


16 รูปจำลองของสังคมหลายประเภท เช่น คอมมิวนิสต์สังคมนิยม สังคมนิยมเสรีเป็นต้น ล้วนแต่เป็นลักษณะของ สังคมที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างทั่วด้าน ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์นักเศรษฐศาสตร์และนักบริหารผู้มีชื่อเสียงคงไทย ก็ได้ให้ความเห็นว่า การพัฒนา ประเทศจะต้องพัฒนาสามส่วน เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เพราะทั้งสามส่วนย่อมเกี่ยวข้องกัน ความสัมพันธ์กัน อย่างใกล้ชิด ถ้าหากเศรษฐกิจไม่ดีกิจการทางสังคมตลอดจนกระทั่งการของชีพของแต่ละครอบครัวย่อมจะดีขึ้น ไม่ได้การปกครองบ้านเมืองก็ย่อมเป็นไปด้วยความยากลำบากยิ่ง กลับการถ้าการเมืองไม่ดีไม่มีเสรีภาพ ไม่เปิด กว้างทางความคิดก็ย่อมไม่มีโอกาสที่จะใช้สมองอันประเสริฐของมนุษย์เรานี้เพื่อจะค้นหาวิธีการที่จะทำให้ บ้านเมืองเจริญยิ่งขึ้นได้ด้วยหลายๆวิธีหากมัวแต่จำอยู่ในเฉพาะเรื่องที่จะพัฒนาแบบเดียวกันอยู่เรื่อยๆ ความคิด ความอ่านในการประกอบการสิ่งใดก็ถูกจำกัดไว้ให้แคบๆ แล้วเศรษฐกิจก็ย่อมประสบปัญหาและเกิดความหายนะ ในไม่ช้า กล่าวโดยสรุป ตามแนวความคิดเก่าทางเลือกในการพัฒนาประเทศก็คือ มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความ เติบโตทางเศรษฐกิจ โดยการเพิ่มผลผลิตรวมเป็นหลัก แต่ตามแนวความคิดใหม่ ทางเลือกในการพัฒนาประเทศ ควรเลือกแนวทางพัฒนาที่ต้องพัฒนาพร้อมๆกัน ทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม และในการพัฒนาทั้งสามด้านจะต้องสร้างความเป็นธรรมทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ให้ทุกคนอยู่ดีกินดีมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต มีเสรีภาพ เสมอภาพและภราดรภาพ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กล่าวในแง่ของความเติบโตโดยรวม เศรษฐกิจไทยภายใต้แผนพัฒนาฯ เติบโตขึ้นตามเป้าหมาย การวัดความเติบโตโดยรวมวัดจากมูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไทย (GDP) ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีการดูตัวเลขความเติบโตโดยรวมนี้พิจารณาจากยอดรวมของผลิตภัณฑ์จากภาคการผลิตต่างๆ โดยไม่ได้จำแนกว่าส่วนไหนผลผลิตเพิ่มขึ้นมากน้อยเท่าไหร่ ตัวอย่างเช่น ในภาคการผลิตหัตถอุสาหกรรมที่มีอัตรา ความเติบโตถึงร้อยละ 9- 10 ต่อปีนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการเติบโตในบริเวณกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง ส่วนใน จังหวัดหัวเมืองเติบโตน้อยมาก แต่เมื่อกล่าวโดยรวมก็หมายความว่า เอาอัตราความเติบโตของที่กรุงเทพฯ และหัว เมืองมารวมกันจึงทำให้ได้ภาพว่า ความเติบโตของการผลิตภาพนี้สูงมากถึงร้อยละ 9-10 ต่อปียุทธวิธีการพัฒนา แบบนี้เรียกว่าการใช้ความเติบโตอย่างไม่สมดุล


17 การที่ภาคการผลิตหัตถสหกรรมและการผลิตนอกภาคเกษตรเจริญเติบโตได้ในอัตราที่สูงมีผลให้มูลค่าของ ผลิตภัณฑ์ขั้นปฐม ในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีสัดส่วนลดลง ขณะเดียวกันมูลค่าของผลิตภัณฑ์แปรรูปมี สัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พิจารณาได้จากตาราง 4-5 ต่อไปนี้ คุณค่าของผลิตภัณฑ์ขั้นปฐม ขั้นแปรรูปและขั้นสำเร็จรูปคิดเป็นร้อยละของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (GDP) คิดเทียบกับราคาของปีพ.ศ.2505 และเมื่อมีการคำนวณโดยใช้ราคาปีพ.ศ. 2515 เป็นตัว วัดก็พบว่า ผลิตภัณฑ์ขั้นปฐมมีสัดส่วนลดลงไปอีกเรื่อยๆ ในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 4 กล่าวคือเมื่อสิ้นปีพ.ศ. 2524 หรือสิ้นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 มูลค่าของผลิตภัณฑ์ขั้นปฐม เป็นร้อยละ 25.76 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ จึงกล่าวได้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจไทยภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินั้น ด้าน หลักแล้วก็คือความเติบโตของการผลิตนอกภาคเกษตร ภาคการผลิตนอกภาคเกษตรที่มีอัตราเติบโตสูงสุด คือการไฟฟ้าและประปา รองลงมาก็คือ การเงินการ ธนาคารและประกันภัย อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ตามเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ และอัตราเติบโตที่เป็นจริง คิดตามราคาของ ปีพ.ศ. 2505 กล่าวโดยสรุปคือให้ผลการพัฒนาเศรษฐกิจโดยพิจารณาจากความเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม ก็จะเห็นได้ว่า ความเติบโตของเศรษฐกิจไทยเป็นไปตามเป้าหมาย แม้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2525 เป็นต้น มา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจโลกประสบภาวะตกต่ำ ประเทศต่างๆประสบภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจหดตัว แต่เศรษฐกิจไทยก็ยังขยายตัวในอัตราที่น่าพอใจ กล่าวคือปีพ.ศ. 2525 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 4.1 และปี พ.ศ. 2526 ขยายตัวร้อยละ 4.8


18 ภาพประกอบที่ 3 ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แผนการพัฒนาเศรษฐกิจทางสังคม ต้นกำเนิดของแนวคิดในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจเริ่มขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2500 หรือปีสุดท้ายของรัฐบาลจอม พลป. พิบูลสงคราม ขนาดน้านธนาคารโลกได้เข้ามาทำรายงานเศรษฐกิจของประเทศไทยเพื่อเสนอโครงการพัฒนา ประเทศรายงานที่ทำนี้ชื่อว่าการพัฒนาที่เป็นไปได้ในประเทศไทยจอมพลได้ยึดเอารายงานฉบับนี้เป็นแนวทางใน การกำหนดแผนพัฒนาและแนวคิดทั่วไปของรายงานฉบับนี้ก็คือการส่งเสริมธุรกิจเอกชนโดยรัฐบาลทำหน้าที่เป็น เพียงผู้คอยดูแลและให้ความสะดวกจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อธุรกิจต่างๆเพื่อให้การ พัฒนาเศรษฐกิจเป็นไปอย่างมีแผนจึงได้สั่งให้มีการจัดตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้นมาเมื่อวันที่สี่กรกฎาพ.ศ. 2502 ให้หน่วยงานนี้ทำหน้าที่ศึกษาภาวะเศรษฐกิจและร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจมาตามแนวรายงานของ ธนาคารโลกที่เสนอไว้แล้วเมื่อปีพ.ศ. 2500 เพื่อให้การวางแผนเป็นไปอย่างรวดเร็วจึงได้นำเอารายงานฉบับนี้มาให้ รัฐมนตรีทุกพระะทวงศึกษาอะไรละเอียด และสั่งการให้ทุกกระทรวงจัดทำงบประมาณของหน่วยงานต่างๆใน กระทรวง จัดทำงบประมาณของหน่วยงานต่างๆเพื่อให้สภาพัฒนารวบรวมตัวเลขงบประมาณศึกษาความเป็นไปได้ ของโครงการพัฒนาในความรับผิดชอบของกระทรวงต่างๆจากนั้นจึงกำหนดเป็นเป้าหมายของการพัฒนาตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติอาทิเช่นกำหนดเป้าหมายของอุตสาหกรรมเกษตรกรรมการคงส่งคมนาคมการค้า ระหว่างประเทศเป็นต้น การเพิ่มผลผลิตในประเทศไทยจะทำได้อย่างมีผลดีก็ด้วยความพยายามของฝ่ายเอกชน ทั้งนี้โดยทางฝ่ายรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนและส่งเสริมแทนที่ฝ่ายรัฐบาลจะเป็นฝ่ายเข้าทำการผลิตเองดังนั้นแนวทาง สำคัญที่สุดของแผนการรัฐบาลจึงได้แก่การส่งเสริมให้มีความเจริญเติบโต นายภาคเอกชนโดยรัฐบาลจะทุ่มเท ทรัพยากรของรัฐบาลเข้าไปในโครงการซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังกล่าวทั้งทางเกษตรและไม่ใช่เกษตรคำประกาศนี้เป็นคำ ประกาศแห่งแนวทางพัฒนาธุรกิจเอกชนหรืออีกในหนึ่งคือการพัฒนาทุนนิยมโดยทุน เอกชนนั่นเองดังนั้นแนวทาง พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามแผนพัฒนาฉบับที่1-2 ตั้งแต่พ.ศ. 2504-2514 รัฐบาลจึงได้กำหนดแนวทางการ


19 ลงทุนภาครัฐบาลเน้นการบูรณะและส่งเสริม สร้างบริการขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็น ส่วนรวมเป็นอันดับแรกเพื่อสร้างอัพนาดความสะดวกต่างๆบริการและจูงใจให้ภาคเอกชนลงทุนทำการผลิตและ เพื่อขยายความเติบโตทางเศรษฐกิจในแขนงต่างๆการที่ได้มีการสร้างบริการพื้นฐานโดยเฉพาะทางหลวงและเขื่อน พลังงานน้ำเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าและการชลประธานตลอดจนให้บริการสื่อสารคมนาคมและบริการพื้นฐานอื่นๆ จึงทำให้มีการลงทุนของไพ่ก็ชนในแผนกต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อมุ่งแก้ปัญหาดังกล่าวแผนพัฒนาฉบับที่สี่จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์หลักไว้5ประการคือ 1. เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ 2.เพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมในหมู่ประชาชนให้ลดน้อยลง 3. เพื่อลดอัตราเพิ่มและปรับปรุงคุณภาพของประชากรตลอดทั้งการเพิ่มการจ้างงานในประเทศ 4. เพื่อเร่งบูรณะและปรับปรุงการบริการทรัพยากรหลักต่อตลอดทั้งสิ่งแวดล้อมของชาติ 5. เพื่อสนับสนุนขีดความสามารถในการป้องกันประเทศและแก้ไขปัญหาในบางพื้นที่ที่เพื่อความมั่งคงแม้ได้มีการ ปรับปรุง ภาพประกอบที่ 4 แผนการพัฒนาเศรษฐกิจทางสังคม


20 วิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจ บราวน์และวอร์เนอร์ได้สรุปให้เห็นว่าระบบเศรษฐกิจมีการพัฒนามาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานจากเดิมทีอยู่ใน ระบบจารีตนิยมมีการปฏิบัติตามอุปนิสัยประเพณีความเชื่อและสิ่งที่เคยทำมาได้แก่การเก็บกินพืชผักหรือล่าสัตว์ ตามธรรมชาติของคนเผ่าต่างๆก็เปลี่ยนมาเป็นยุคธรรมการเกษตรเองมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งผลิตงานศิลป์หัตถกรรม ซึ่งเป็นรอยต่อของยุคระบบเศรษฐกิจแบบจารีตนิยมกับยุคระบบเศรษฐกิจแบบควบคุมเริ่มต้นจากการมีเจ้านครอง นครเช่นฟาโรห์ของอียิปต์หรือจักรพรดินของโรมันเป็นต้นส่วนในยุคโรปเรียกว่าฟิวดัลซึ่งขุนนางเจ้าของที่ดินมี อำนาจเหนือชาวนาที่ทำกินในที่ดินของตนเมื่อเมืองมีขนาดใหญ่ขึ้นมีการค้ามากขึ้นในระหว่างศตวรรษที่ 15-18 ก็มี การพัฒนาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบพาณิชย์นิยมเพื่อแสวงหาอำนาจและความมั่นคั่งจากการค้าที่เอารัฐเอาเปรียบ ชาติอื่นโดยการส่งออกมากกว่าน้ำเข้าซึ่งมีลักษณะเป็นระบบเศรษฐกิจแบบควบคุมอย่างหนึ่งเพราะรัฐบ าลเป็นผู้ ควบคุมการค้าว่าจะให้ใครเป็นผู้ค้าค้าอะไรและค้ากับใครอย่างไรก็ดีในกลางปี1700 เริ่มมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าหัก ปล่อยให้มีการค้าอย่างเสรีโดยรัฐไม่เข้ามาแทรกแซงยอมจะทำให้เกิดผลดีมากกว่าจึงได้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการค้า แบบเสรีดังนั้นในศตวรรษที่ 19 จึงมีหลายชาติและในยุคโรปซึ่งนำโดยอังกฤษได้เปลี่ยนมาเป็นระบบการค้าแบบเสรี หรือวิสากิจเสรีหมายถึงการปล่อยให้เอกชนเป็นเจ้าของกิจการต่างๆเองโดยรัฐเป็นเพียงผู้กำกับดูแลเท่านั้น สหรัฐอเมริกาก็จัดอยู่ในระบบนี้เมื่อสงครามกลางเมืองสิ้นสุดลงในปี1865 ต่อมามีบางฝ่ายเห็นว่าการปล่อยเสรี อย่างเต็มที่จะก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรมจึงเรียกร้องให้รัฐเข้ามาคุ้มครองดูแลการดำเนินธุรกิจทำให้เกิดระบบ วิสาหกิจเสรีแบบผสมและมีบางชาติได้พัฒนาจากระบบเศรษฐกิจแบบควบคุมไปเป็นรูปแบบใหม่คือให้มีการวาง แผนการดำเนินงานโดยทรัพย์สินของประชาชน


21 ภาพประกอบที่ 5 วิวัฒนาการของระบบเศรษฐกิจ นโยบายรัฐบาลเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมชนบท วิกฤตการณ์เศรษฐกิจที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะที่ส่งผลกระทบสู่ทุกชนชั้นในสังคมมีความ ยากลำบากในการครองชีพมีปัญหาอาชญากรรมและปัญหาสังคมอื่นๆตามมาได้ซ้ำเติมต่อชนบทที่อ่อนแออยู่เดิมให้ เลวร้ายยิ่งขึ้นสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงได้ดำเนินการปรับแผนพัฒนาฉบับที่ 8 เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้คณะกรรมการนโยบาย กระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น(กนภ.)รับผิดชอบดำเนินการวางแผนเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านคนและ สังคมโดยกำหนดให้มีการจัดทำแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมชนบทเพื่อเป็นกรอบดำเนินงานรวมกันของหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน การแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมต้องเริ่มจากจุดแข็งในสังคมไทยโดยต้องใช้ทุนทางสังคมมีอยู่ใน ภูมิภาคส่วนระดมทุกองค์ประกอบในสังคมโดยเฉพาะทุกอย่างยิ่งชุมชนหรือการรวมกลุ่มซึ่งเป็นทุนท างสังคมที่ สำคัญรวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการจัดการปัญหาต่างๆได้ด้วยตนเองซึ่งในระยะสั้น จำเป็นต้องคัดเลือกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงและหนาแน่นกว่ารวมทั้งมีศักยภาพและ ต้นทุนทางสังคมดีพอสมควรซึ่งคณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น(กนภ.)ได้มีมติใน การประชุมครั้งที่ 1/2541 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2541เห็นชอบกรอบโครงสร้างแผ่นฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมชนบท การบริหารแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมชนบท แบ่งออกเป็น2ระยะ ระยะสั้น(ปี2541-2542)เพื่อการแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้าโดยเฉพาะด้านว่างงานและภัยแล้งที่กำลังทวีความรุนแรงได้ทันท่วงทีภายใต้ทรัพยากรที่จำกัดนายภาวะ เศรษฐกิจปัจจุบันจึงเห็นควรกำหนดขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้ (1)กำหนดพื้นที่เป้าหมาย เป็นอำเภอที่มีจำนวนคนว่างงานมากและมีปัญหาภัยแล้งรวมทั้งมีต้นทุนและ ศักยภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในระดับดีพอใช้จำนวน 252 อำเภอ (2)สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยคิดวางแผนเสนอและทำโครงการด้วยตนเอง (3)ระดมทรัพย์ยากรจากทุกฝ่ายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนได้แก่ งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลงบโครงการพัฒนาตำบลกองทุนพัฒนาชนบทของ 8 กระทรวงหลักองทุน ไทยช่วยถ่ายเงินกู้จากธนาคารโลกเพื่อการลงทุนทางสังคม


22 (4)การติดตามประเมินผลให้มีการวางระบบติดตามประเมินผลโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายเพื่อสร้าง กระบวนการบริหารจัดการที่โปร่งใสและสามารถติดตามได้ ระยะยาว(ปี2542-2544)เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจชนบทโดยใช้แนวทางการบริหารและการดำเนินการ ตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมชนบทในพื้นที่เป้าหมายระยะสั้นมาขยายผลการดำเนินงานในพื้นที่อื่นๆต่อไป เป็นต้น นโยบายการเงินกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายการเงินของแต่ละประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจของตนนั้นจะไม่ เหมือนกันเพราะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและนโยบายของรรัฐบาลที่ได้กำหนดเป้าหมายของการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศไว้ล่วงหน้าดังนั้นผู้รับผิดชอบนโยบายการเงินจึงต้องดำเนินการให้บังเกิดผลดีที่สุดสำหรับ เป้าหมายของนโยบายการเงินพอจะสรุปได้5 ประการคือ 1. เสถียรภาพของราคา หมายถึงการควบคุมให้ราคาเปลี่ยนแปลงไม่เกิดร้อยละ 3 ต่อปีโดยมีเครื่องมือที่ใช้วัดคือ ดัชนีราคาผู้บริโภค 2.การมีงานทำเต็มที่ หมายถึงการทำให้มีอัตราการว่างงานอยู่ระหว่างร้อยละ 3-5 ปีจึงจะถือว่ามีการจ้างงาน เต็มที่สำหรับอัตราการว่างงานใช้วิธีวัดจากจำนวนผู้ไม่มีงานทำคิดเป็นร้อยละของผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานทั้งหมดซึ่ง ผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานของไทยคือบุคคลที่มีอายุ13 ปีขึ้นไปโดยไม่รวมบุคคลบางจำพวกเช่นคนชรามาก(อายุเกิน 60 ปี)คนทำงานบ้านหรือผู้ที่ยังเรียนหนังสือเป็นต้น 3.ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สำหรับอัตราความเจริญเติบโตที่ดีที่สุดที่นโยบายการเงินควบบรรลุให้ถึงคือ อัตราที่ทำให้ประโยชน์ส่วนเพิ่มเท่ากับต้นทุนส่วนเพิ่มของความเจริญเติบโตหมายถึงการที่จะได้มาซึ่งการลงทุนเพื่อ เพิ่มกำลังผลิตในอนาคตก็จำเป็นต้องเสียสละการบริโภคในปัจจุบันลงแต่ในทางปฏิบัติกระทำได้ยากเพราะไม่ทราบ ว่าจะวัดประโยชน์และต้นทุนได้อย่างไร 4. ดุลยภาพภายนอก หมายถึงเสถียรภาพของเงินในประเทศเทียบกับต่างประเทศวัดได้จากอุปสงค์และอุปทาน ของเงินตราต่างประเทศโดยดูจากดุลการชำระเงินถ้าขาดดุลละติดต่อกันมากๆค่าภายนอกที่แท้จริงของเงินใน ประเทศจะลดลง 5. การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม เป็นเป้าหมายของประเทศกำลังพัฒนาที่เพิ่มเข้ามาเพราะประเทศกำลังพัฒนา จะมีช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนมากซึ่งสามารถลดวัดความแตกต่างได้จากสมประสิทธิ์จินี่ที่ได้มาจากการ


23 เปรียบเทียบสลับส่วนสะสมของรายได้ของครัวเรือน(เรียงจากผู้มีรายได้น้อยที่สุดจนถึงสูงสุด)กับสัดส่วนของการมี ส่วนร่วมในรายได้ของครัวเรือนเหล่านี้ถ้าค่าของสมประสิทธิ์จินี่ใกล้ 0 แสดงว่ามีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม มากแต่ถ้าใกล้1 แสดงว่ายังไม่เป็นธรรมอย่างไรก็ดีเนื่องจากวิธีนี้วัดได้ยากจึงอาจใช้วิธีหาระดับรายได้ขั้นต่ำระดับ 1 เรียกว่า cut-off level of income แทน กล่าวคือถ้าครัวเรือนใดมีรายได้เหนือระดับนี้จะถือว่าเป็นครัวเรือนที่ ไม่ยากจนแต่มิได้หมายความว่าครัวเรือนนั้นจะถึงกับร่ำรวย ดังนั้นแนวคิดของการดำเนินนโยบายการเงินคือการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินเพื่อให้ส่งผลต่อราคาผลผลิต และการจ้างงานทั้งนี้เพราะปริมาณเงินจะมีความสัมพันธ์กับราคาสินค้าและบริการในทิศทางเดียวกันกล่าวคือเมื่อ เพิ่มปริมาณเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจจะทำให้มีเงินอยู่ในมือประชาชนมากเกิดการจับจ่ายใช้สอยมากส่งผลให้ ราคาสินค้าสูงขึ้นและการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าจะจูงใจให้ผู้ประกอบการผลิตสินค้าและจะจูงใจให้ผู้ประกอบการ ผลิตสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้นเป็นต้นไปขนาดที่การผลิตเพิ่มต่ำไม่ทันอาจทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อได้เพราะมีอุป สงค์มากกว่าอุปทานนั้นเอง อย่างไรก็ดีเพื่อให้การดำเนินนโยบายการเงินได้ผลตามเป้าหมายคือมีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมี เสถียรภาพจึงต้องมีการพัฒนาทางการเงินควบคู่กันไปด้วยการพัฒนาทางการเงินหมายถึงการที่ปริมาณเงินมีอัตรา การขยายตัวสูงกว่าอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งในประเทศกำลังพัฒนาปริมาณเงินมักจะมีสัดส่วนใน รายได้ประชชาชาติต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้วการพัฒนาทางการเงินมีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจดังนี้(ธนาคารแห่ง ประเทศไทย2535: 140-141) 1.เมื่อระบบการเงินพัฒนาสอดคล้องกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีสถาบันการเงินแพร่หลายอย่าง ทั่วถึงทำให้สามารถระดมเงินออมได้ปริมาณมากและปล่อยกู้แก่การลงทุนนายภาคเศรษฐกิจต่างๆโครงการพัฒนา เศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศก็สามารถพึ่งพาจากเงินกู้ภายในประเทศและลดการพึ่งพาเงินทุนต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อดุลการชำระเงินของประเทศ 2.ช่วยลดภาวะเงินเฟ้อเพราะการจูงใจให้คนมาออมเพิ่มขึ้นช่วยลดอุปสงค์ในการบริโภคลงและการมี เสถียรภาพทางด้านละราคามีส่วนช่วยให้คนออมในรูปสินทรัพย์ทางการเงินมากขึ้นทั้งนี้เพราะถ้ามีการคาดหมายว่า ราคาจะสูงขึ้นประชาชนจะหันไปลงทุนซื้อที่ดินบ้านหรือสินทรัพย์อื่นกักตุนไว้แทนที่จะฝากธนาคารแม้จะได้อัตรา ดอกเบี้ยสูงก็ตามเนื่องจากการที่ราคาสูงขึ้นจะทำให้ค่าของเงินลดลงอัตราดอกเบี้ยอย่างเดียวจึงไม่อาจจูงใจให้ ประชาชนมาออมจึงต้องทำให้ราคามีเสถียรภาพด้วย


24 ภาพประกอบที่ 6 นโยบายการเงินกับการพัฒนาเศรษฐกิจ บทสรุป ตามแนวความคิดเก่าทางเลือกในการพัฒนาประเทศก็คือ มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความเติบโตทาง เศรษฐกิจ โดยการเพิ่มผลผลิตรวมเป็นหลัก แต่ตามแนวความคิดใหม่ ทางเลือกในการพัฒนาประเทศควรเลือก แนวทางพัฒนาที่ต้องพัฒนาพร้อมๆกันทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม และในการพัฒนาทั้งสามด้านจะต้อง สร้างความเป็นธรรมทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ให้ทุกคนอยู่ดีกินดีมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต มี เสรีภาพ เสมอภาพและภราดรภาพ คำถามทบทวน 1. ความหมายของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกล่าวในแง่อะไรบ้าง 2. ความหมายของทฤษฎีทางเศรษฐกิจในพจนานุกรมรชาบัณฑิตสถานมีความหมายอย่างไร 3. องค์ประกอบของทฤษฎีคือ 4. แนวความคิดในการพัฒนามี5ประการคือ 5. แผนพัฒนาฉบับที่ 4 จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์หลักไว้5ประการคือ


ง บรรณนานุกรม กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.(2541).แนวความคิดและยุทธศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรมการปกครอง ถนน พหลโยธิน : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น มนตรีกรรพุมมาลย์. (2537.) การพัฒนาชุมชน แนวคิดและการปฏิบัติ. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สนธยา พลศรี. (2533). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. สัญญา สัญญาวิวัฒน์.( 2526). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.



Click to View FlipBook Version