The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แนวข้อสอบอัตนัย ภาษาไทย ม.3 02

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by somrudee.phut, 2024-02-06 04:19:07

แนวข้อสอบอัตนัย ภาษาไทย ม.3 02

แนวข้อสอบอัตนัย ภาษาไทย ม.3 02

แนวข้อสอบอัตนัย O-NET วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โซเดียมในขนมขบเคี้ยว อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม โซเดียม คือ เกลือแร่ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการควบคุมสมดุลน้ำและของเหลวในร่างกาย สามารถควบคุมระบบความดันโลหิต การทำงานของเซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อ ตลอดจนถึงการดูด ซึมสารอาหารและเกลือแร่ในไตและลำไส้เล็ก จึงไม่แปลกอะไรที่โซเดียมจะมีความเกี่ยวข้องกับโรค ความดันโลหิตและโรคไต เพราะเป็นสารอาหารที่มีผลกระทบกับทั้งสองโรคนี้โดยตรง เราสามารถพบโซเดียมได้ในอาหารทั่ว ๆ ไป เช่น พวกเนื้อสัตว์ และอาหารที่มาจากธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ดี มนุษย์เรานอกจากจะรับโซเดียมจากวัตถุดิบโดยตรงแล้ว เรายังบริโภคโซเดียมใน รูปแบบของเกลือแกง อาหารสำเร็จรูป วัตถุปรุงรส ตลอดจนถึงขนมกรุบกรอบหลากหลายชนิดอีกด้วย จากรายงานของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่ได้ทำงานร่วมกับ สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย และเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ภายใต้โครงการติดตามปริมาณโซเดียมในอาหารพร้อมบริโภคและกึ่ง สำเร็จรูปเพื่อการรณรงค์ ลดเค็ม ลดโรค ได้มีการสุ่มสำรวจอ่านค่าฉลากโซเดียมกลุ่มขนมขบเคี้ยว จำนวน 400 ตัวอย่าง บนซองผลิตภัณฑ์ โดยสามารถสรุปออกมาเป็น 9 กลุ่มประเภทซึ่งได้ผลการ สำรวจดังนี้ 1. ประเภทมันฝรั่ง จำนวน 69 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 80-1,080 มิลลิกรัมต่อหนึ่ง หน่วยบริโภค 2. ประเภทข้าวโพด จำนวน 20 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 25 – 390 มิลลิกรัมต่อ หนึ่งหน่วยบริโภค 3. ประเภทข้าวเกรียบและขนมอบกรอบ จำนวน 104 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 45 – 560 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 4. ประเภทสาหร่าย จำนวน 19 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 0 – 510 มิลลิกรัมต่อหนึ่ง หน่วยบริโภค 5. ประเภทถั่วและนัต จำนวน 72 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 5 – 380 มิลลิกรัมต่อ หนึ่งหน่วยบริโภค 6. ประเภทปลาเส้น จำนวน 36 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 180 – 810 มิลลิกรัมต่อ หนึ่งหน่วยบริโภค


แนวข้อสอบอัตนัย O-NET วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 7. ประเภทแครกเกอร์และบิสกิต จำนวน 38 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 45 – 230 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 8. ประเภทเวเฟอร์ จำนวน 27 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 25 – 150 มิลลิกรัมต่อหนึ่ง หน่วยบริโภค 9. ประเภทคุกกี้ จำนวน 15 ตัวอย่าง มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 65 – 220 มิลลิกรัมต่อหนึ่ง หน่วยบริโภค โดยทั่วไปจะสามารถบริโภคโซเดียมสูงสุดโดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ได้อยู่ที่ 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน และเมื่อเทียบเป็นเกลือป่นจะอยู่ที่ประมาณ 1 ช้อนชาหรือ 6 มิลลิกรัม ซึ่งตามปกติ แล้วอาหารที่ได้จากธรรมชาติที่พวกเราบริโภคกันอยู่ทุกวันก็มีปริมาณโซเดียมที่เพียงพอต่อความ ต้องการของร่างกายในแต่ละวันแล้ว การรับประทานอาหาร โดยเฉพาะจำพวกขนมขบเคี้ยวเป็น ประจำและในปริมาณมาก ๆ จะก่อให้เกิดภาวะโซเดียมกินกว่ามาตรฐาน และส่งผลต่อการเสื่อมของ ไต ซึ่งมีหน้าที่หลักในการขับโซเดียมได้ และจะส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตและโรคหลอดเลือด ตามมา วิธีอย่างหนึ่งที่น่าจะช่วยได้ในการป้องกันภาวะโซเดียมเกินความต้องการของร่างกาย คือ ก่อนที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารนั้นควรสังเกตฉลากข้อมูลโภชนาการทั้งแบบเต็มและแบบย่อ หรือ ฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (GDA : Guideline Daily Amount) ซึ่งจะระบุปริมาณสารอาหาร 4 ชนิด คือ พลังงาน (กิโลแคลอรี่) น้ำตาล (กรัม) ไขมัน (กรัม) และโซเดียม (มิลลิกรัม) บนหีบห่อผลิตภัณฑ์ ให้ดี ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้เราทราบปริมาณสารอาหารสำคัญในอาหารเหล่านี้ และสามารถคำนวณได้ว่า ควรรับประทานเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมกับร่างกาย นอกจากนื้ อีกสิ่งหนึ่งที่ควรสังเกตให้ดีคือ ปริมาณต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ซึ่งหมายถึง ปริมาณที่ เหมาะสมสำหรับการบริโภค 1 ครั้ง โดยขนมบางชนิดอาจระบุให้แบ่งรับประทานหลายวัน เพื่อให้ได้ ปริมาณโซเดียมตามที่ระบุ จึงควรสังเกตให้ดีและรับประทานอย่างเหมาะสม (ดัดแปลงจาก “บทความเรื่อง ฝึกสื่อสารออนไลน์อย่างสร้างสรรค์” จาก https://www.trueplookpanya.com/education)


แนวข้อสอบอัตนัย O-NET วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3


Click to View FlipBook Version