การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การเรียนรู้รูปแบบโมเดลชิปปา STUDY OF ACADEMIC ACHIEVEMENT IN MATHEMATICS : PROBLEMS ON PERCENT OF PATOMSUKSA 5 STUDENTS BY USING COLLABORATIVE LEARNING CIPPA MODEL มนธิรา บัวเหลือง สาขาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีประเทศไทย ผู้รับผิดชอบบทความ Monthira Bualueang Department of Mathematics, Faculty of Education, Udon Thani Rajabhat University, Thailand Corresponding author : [email protected] บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหา ร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การเรียนรู้รูปแบบโมเดลชิปปากับเกณฑ์ร้อยละ 702) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การเรียนรู้รูปแบบ โมเดลชิปปาก่อนเรียนและหลังเรียน 3)เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละต่อ การจัดการเรียนรู้รูปแบบโมเดลชิปปา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 29 คน โรงเรียน เทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ สังกัดเทศบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ปีการศึกษา 2566 ได้มาโดยสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนการสอนแบบซิปปา เรื่อง ร้อยละ จำนวน 15 แผน 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ร้อยละ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ การศึกษาครั้งนี้มีแบบแผนการทดลอง กลุ่มเดียวทดสอบ ก่อนเรียนและการทดสอบหลังเรียน สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบทีแบบกลุ่ม เดียวและการทดสอบทีแบบไม่อิสระ
ผลวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ การเรียนรู้รูปแบบโมเดลชิปปากับเกณฑ์ร้อยละ 70 มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 6.93 คิดเป็นร้อยละ 34.65 และหลัง เรียนมีคะแนนเฉลี่ย 16.10 คิดเป็นร้อยละ 80.52คะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเพิ่มขึ้น 9.10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 45.52 นั่นคือนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 โดยใช้การเรียนรู้รูปแบบโมเดลชิปปากับเกณฑ์ร้อยละ 70 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การ เรียนรู้รูปแบบโมเดลชิปปาก่อนเรียนและหลังเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.93 คะแนน และ 16.10 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 คำสำคัญ: รูปแบบโมเดลชิปปา (CIPPA Model) Abstract The objectives of this research were 1 ) to compare the learning achievement in mathematics on the subject of percentage problems of students in Grade 5 using the CHIPA model learning format with the 70% criteria 2) to compare the results. Mathematics learning: Percentage problems for Grade 5 students using the Chippa model learning before and after class. 3) To study the attitude of 5th grade students regarding percentage problems regarding learning management using the Chippa model. The sample group consisted of 29 students in Grade 5/2 of Thetsaban 7 Roti Songkhro School. Under the jurisdiction of Udon Thani Municipality Udon Thani Province, academic year 2023, obtained by random sampling. The tools used in this research were 1) learning management plans using CIPPA teaching plans on percentages, 15 plans. 2) learning achievement measures on percentages that the researcher created as a multiple choice test. Answer type: 4 options, total of 20 questions. This study has an experimental design. One group tested Before study and post test Statistics used in data analysis include percentage, mean (X), standard deviation (S.D.). Statistics used in hypothesis testing include clustered t-test. univariate and independent t-tests
The research results found that: 1. Mathematics learning achievement on the subject of percentage problems of Grade 5students using the CHIPA model learning format with a criterion of 70 percent. The average score before learning was 6.93, accounting for 34.65 percent, and after Students had an average score of 16.10, calculated as a percentage. 80. 52 The average progress score after studying was 9. 10 points higher than before studying, accounting for 45.52 percent. That is, students have academic achievement in mathematics on the subject of percentage problems for Grade 5 students using the Chippa model learning format with the 70 percent criterion. 2. Mathematics learning achievement on the topic of percentage problems of Grade 5 students using the Chippa model learning before and after studying at a school in Udon Thani province. had an average score of 6.93 points and 16.10 points, respectively, and when comparing the scores before and after studying It was found that students' learning achievement in mathematics after studying was higher than before studying at a statistical significance at the .05 level. Keyword: LEARNING CIPPA MODEL บทนำ หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตาม มาตรฐานที่กำหนดในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีการกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญ ของการใช้คุณภาพผู้เรียน และตัวชี้วัด ซึ่งจะระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้ และปฏิบัติได้ รวมทั้งได้ระบุคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่มุ่งให้ผู้เรียน สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก โดยกำหนด สมรรถนะที่สำคัญ 5 ประการ เพื่อให้เกิดกับผู้เรียน คือ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิดความสามารถ ในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี การจัดการเรียนรู้พื้นฐานยึด หลักว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และสามารถพัฒนาตนเองได้ ยึดประโยชน์ที่เกิดกับ ผู้เรียนกระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ คำนึงถึงความ แตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง ให้ความสำคัญทั้งความรู้ และคุณธรรม โดยจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 20) ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อแสวงหาวิธีที่ เหมาะสม ที่จะนำไปใช้แก้ปัญหาในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพพบว่า การจัด
กิจกรรมการเรียนรู้แบบชิปปา (CIPPA) เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบหนึ่งที่ส่งเสริมการคิดของ นักเรียน โดย ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้ผู้เรียน ได้คิด ได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการที่สำคัญคือ ผู้เรียนได้ทบทวน ความรู้เดิม ผู้เรียนได้รับ/แสวงหา/รวบรวม/ข้อมูลประสบการณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเอง ผู้เรียนได้ศึกษาคิดวิเคราะห์ และ สร้าง ความหมายข้อมูล/ประสบการณ์ด้วยตนเองโดยใช้ทักษะกระบวนการต่าง ๆอย่างหลากหลายการจัดการเรียนรู้โดยใช้ รูปแบบชิปปาเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายของการจัดการเรียนการสอน คณิตศาสตร์ โดยมีกระบวนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้มีการฝึกคิดแก้โจทย์ปัญหา และสามารถ พัฒนาผู้เรียนให้สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีหลักการในการจัดการเรียนการสอนแบบชิปป่าไว้ว่ากิจกรรมการเรียน การสอน (ทิศนา แขมมณี, 2555) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น ครูจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้ความรู้ มา เป็นผู้อำนวยความสะดวกหรือสนับสนุนให้กำลังใจผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ขึ้นด้วยตนเอง จากการให้เขาได้ลงมือ ปฏิบัติจริง ทุกขั้นตอน ตามความถนัดและความสนใจของแต่ละบุคคล โดยที่การเรียนรู้ไม่ได้อยู่ที่ตัวเนื้อหาเพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่ กระบวนการเรียนรู้ (Process) เป็นการเรียนรู้ วิธีที่จะเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ อกจากนี้ยังเป็นการศึกษาเพื่อ ชีวิตที่มีได้มุ่งให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในชีวิตอนาคตเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการดำเนินชีวิตจริงไปพร้อมกับการเรียนด้วย โดยที่ผู้เรียน ได้เรียนรู้และรู้จักกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน มีบทบาทและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด และนำความรู้ไป ใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ (ศิริพัฒน์ กันทะวงค์ ,2551) ผลจากการสอบถามข้อมูลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ เกี่ยวกับ ความรู้สึกต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พบว่า นักเรียนส่วนมากไม่อยากเรียนคณิตศาสตร์ เพราะเนื้อหาวิชามีความซับซ้อน และยาก ไม่อยากทำกิจกรรมการเรียนการสอนเพราะไม่สนุก ฟังครูอธิบายไม่เข้าใจ ไม่อยากทำการบ้านวิชาคณิตศาสตร์ แบบฝึกหัดยากและมีจำนวนมากเกินไป จากพฤติกรรมดังกล่าวแสดงว่านักเรียนมีเจตคติไม่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ดังที่ ปรีชา ขุนบุญจันทร์ (2541: 21 - 22) กล่าวว่า เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ คือ ความคิด ดวามรู้สึก และ แนวโน้มที่จะ แสดงพฤติกรรมต่อวิชาคณิตศาสตร์ เช่น ความชอบ การตั้งใจเรียน ความสนุกในการ เรียนวิชาคณิตศาสตร์ ดังนั้น นักเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์มีลักษณะ เจตคติที่ไม่ดีในการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ การพัฒนาเจตคติในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การทำกิจกรรม กลุ่ม กลุ่มสัมพันธ์ การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม เป็นต้น สำหรับการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีความ สนใจที่จะนำกิจกรรมกลุ่มมาใช้ในการ พัฒนาเจตคติในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน เนื่องจากกิจกรรมกลุ่มเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วน ร่วมในการแสดงความคิดเห็น เป็นการเรียนรู้ที่เป็นไปอย่างตื่นตัว มีชีวิตชีวา การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากแหล่งการเรียนรู้ที่ หลากหลาย ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา ตลอดทั้งยังช่วยส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้า กลุ่มอีกด้วย (ทิศนา แขมมณี. 2545: 151 )
การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบชิปปา (CIPPA Model) เป็นรูปแบบหนึ่งที่สามารถพัฒนาผู้เรียน ให้มีผลการเรียน ที่สูงขึ้น โดยการประสานแนวคิด 5 แนวคิด ที่ใช้เป็นหลักในการจัด กิจกรรม การเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ 1. แนวคิด การสร้างความรู้ 2.แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3.แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมใน การเรียนรู้ 4. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้กระบวนการและ 5.แนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายโอนการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนสร้างองค์ ความรู้ได้ด้วยตัวเองโดยอาศัยการปฏิสัมพันธ์และ ความร่วมมือจากกลุ่ม การลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้นักเรียนมี ความพร้อมในการเรียนรู้เป็นการช่วยพัฒนาทักษะกระบนการต่าง ๆ เช่น กระบวนการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม กระบวนการ กลุ่ม กระบวนการแสวงหาความรู้ และส่งเสริมการนำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน (ทิศนา แขมมณี, 2552 ) ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะนำการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบโมเดลชิปปา (cippa model) มาใช้จัด กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งวิธีการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว จะเป็น แนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน วิชาคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป ผู้วิจัยจึงต้องการ ศึกษาว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบชิปปา (CIPPA Mode) จะทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เจตคติในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หรือไม่ อย่างไรเพื่อนำผลการวิจัยที่ได้มา เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียนต่อไป วัตถุประสงค์งานวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การเรียนรู้รูปแบบโมเดลชิปปากับเกณฑ์ร้อยละ 70 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โดยใช้การเรียนรู้รูปแบบโมเดลชิปปาก่อนเรียนและหลังเรียน 3. เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบ โมเดลชิปปา สมมุติฐานของการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้มีสมมติฐานของการวิจัย ดังนี้ 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้รูปแบบโมเดล ชิปปา เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้รูปแบบโมเดล ชิปปา เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ขอบเขตของการวิจัย 1. ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์อำเภอเมือง อุดรธานี จังหวัดอุดรธานีทั้งหมด 1 ห้อง จำนวน 28 คน 2. ตัวแปรในการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้มีตัวแปร ดังนี้ 2.1 ตัวแปรต้น คือ 2.1.1 การจัดการเรียนรู้รูปแบบโมเดลชิปปา 2.2 ตัวแปรตาม คือ 2.2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 2.2.2 เจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบ โมเดลชิปปา 3. เนื้อหาสาระที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่องโจทย์ปัญหาร้อยละ ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบโมเดล ชิปปา (CIPPA Model) จำนวน 17 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวมเวลา 17 ชั่วโมงซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 4. ระยะเวลาการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 17 ชั่วโมง ใช้ในการทดสอบก่อน เรียนและหลังเรียน 2 ชั่วโมง รวมใช้เวลาในการวิจัยทั้งหมด 15 ชั่วโมง คิดเป็นสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 4 สัปดาห์ โดยทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1.1 แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบชิปปาโมเดล เรื่อง ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 15 ชุด 1.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 2. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ดังนี้ 2.1 แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบโมเดลชิปปา เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้ศึกษาได้ดำเนินการสร้าง ดังนี้ 2.1.1 ศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบโมเดล ชิปปา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ 2.1.2 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ คู่มือครู หนังสือเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดทำโดย สถาบันสงเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ 2.1.3 ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2.1.4 สร้างตารางวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา บทที่ 5 ร้อยละ 2.1.5 เขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โดยใช้รูปแบบชิปปาโมเดล จำนวน 15 แผน รวม 15 ชั่วโมง 2.1.6 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน เป็นผู้เชี่ยวชาญ ด้านการสอน วิชาคณิตศาสตร์ ด้านหลักสูตรและการสอน การวิจัย และการวัดผลประเมินผลตรวจสอบความ ถูกต้องเหมาะสม ความสอดคล้องและความเป็นไปได้ระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กิจกรรมการ เรียนรู้และการวัดผลประเมินผล โดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา ตรวจสอบ ให้คะแนนดังนี้ - ให้คะแนนเป็น +1 เมื่อแน่ใจว่าองค์ประกอบนั้นเหมาะสมและสอดคล้อง - ให้คะแนนเป็น 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าองค์ประกอบเหมาะสมและสอดคล้อง - ให้คะแนนเป็น –1 เมื่อแน่ใจว่าองค์ประกอบนั้นไม่เหมาะสมและสอดคล้อง แล้วนำคะแนนที่ได้มาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item – Objective Congruence : IOC) ระหว่าง องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ จะต้องได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของทุกองค์ประกอบตั้งแต่ 0.67 ขึ้นไป 2.1.7 ปรับปรุง และแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ 2.1.8 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้กับนักเรียนที่กำลังเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ ปีการศึกษา 2566 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย และได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 4 คน (ทดลองเดี่ยว) ซึ่งประกอบด้วยนักเรียนที่มีความสามารถอยู่ใน ระดับ สูง 1 คน ปานกลาง 2 คน และต่ำ 1 คน เพื่อตรวจสอบข้อบกพร่องและปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับการใช้ สำนวนภาษา
2.1.9 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้กับนักเรียนที่กำลังเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ ปีการศึกษา 2566 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยและ ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 12 คน (ทดลองกลุ่มเล็ก) ประกอบด้วยนักเรียนที่มีความสามารถอยู่ในระดับสูง 3 คน ปานกลาง 6 คน และต่ำ 3 คน เพื่อหาข้อบกพร่องเกี่ยวกับเวลาสื่อการสอน ปริมาณเนื้อหาและกิจกรรมใน แต่ละแผนการจัดการเรียนรู้แล้วปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ 2.1.10 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วเสนอผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไขเป็นฉบับสมบูรณ์ที่ใช้ในการทดลองภาคสนาม 2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบมี 4 ตัวเลือก มีขั้นตอนในการสร้างและหาประสิทธิภาพดังนี้ 2.2.1 ศึกษาทฤษฎี วิธีสร้าง เทคนิคการเขียนข้อสอบแบบเลือกตอบคู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่ม สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ร้อยละ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2554 2.2.2 สร้างตารางวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา 2.2.3 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบมี 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระและผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 2.2.4 นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการ สอนวิชาคณิตศาสตร์การวิจัยและด้านการวัดผลและประเมินผล เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยใช้ค่าดัชนี ความสอดคล้อง (IOC) ซึ่งให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา ตรวจสอบ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ ให้คะแนน +1 เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดได้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้คะแนน 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดได้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้คะแนน -1 เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดไม่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 2.2.5 นำผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถาม ของแบบทดสอบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยหาค่า IOC ซึ่งมีค่าได้เท่ากับ 0.70 2.2.6 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปทดลองใช้กับนักเรียนที่กำลังเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ ปีการศึกษา 2566 ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ ผ่านมาแล้วและไม่ใช่ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย จำนวน 100 คน แล้วนำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความยากง่าย (P) และหาค่าอำนาจ จำแนก (r) เป็นรายข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.44 ถึง 0.58 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 ถึง 0.62
2.2.7 นำข้อสอบที่คัดเลือกแล้วจำนวน 20 ข้อ ไปทดสอบเพื่อหาค่าความเชื่อมั่นของ แบบทดสอบทั้งฉบับ โดยใช้สูตรของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (KR-20) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.70 2.2.8 นำแบบทดสอบที่ได้ไปวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ ปีการศึกษา 2566 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการทดลองภาคสนามต่อไป การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างตามลำดับดังนี้ 1. ทำการทดสอบก่อนเรียน (Pre - test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2. ผู้วิจัยดำเนินการสอนกลุ่มตัวอย่างด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นจำนวน 15 แผน โดยให้นักเรียนเรียน และปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบชิปปาโมเดล 3. เมื่อสิ้นสุดการทดลองสอนแล้ว ให้นักเรียนทำการทดสอบหลังเรียน (Post - test) โดยใช้แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชุดเดิมกับการทำการทดสอบก่อนเรียนไป ทดสอบนักเรียนอีกครั้ง จากนั้นนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติต่อไป การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบโมเดลชิปปา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับข้อมูลทางสังคมศาสตร์ (PSPP for window) ตามขั้นตอนดังนี้ 1. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการคำนวณหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และร้อยละ(Percentage) 2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างคะแนนหลังเรียนกับ เกณฑ์ร้อยละ 70 ด้วยการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว (T-test for One sample) 3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการทดสอบทีแบบไม่อิสระ (T-test for Dependent) 4.การศึกษาเจตคติต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้รูปแบบโมเดลชิปา เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ แปลผลค่าเฉลี่ยดังนี้ 4.50 – 5.00 เจตคติต่อคณิตศาสตร์ ระดับมากที่สุด 3.50 – 4.49 เจตคติต่อคณิตศาสตร์ ระดับมาก
2.50 – 3.49 เจตคติต่อคณิตศาสตร์ ระดับปานกลาง 1.50 – 2.49 เจตคติต่อคณิตศาสตร์ ระดับน้อย 1.00 – 1.49 เจตคติต่อคณิตศาสตร์ ระดับน้อยที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยเลือกใช้สถิติ ดังนี้ 1. สถิติพื้นฐาน ใช้ค่าเฉลี่ย ( X ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับ ข้อมูลทางสังคมศาสตร์(PSPP for Windows) 2. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Test Analysis Program (TAP) 2.1 ค่าความยากง่าย (P) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.2 ค่าอำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.3 การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการใช้สูตรของ Kuder – Richardson (KR-20) (สมนึก ภัททิยธนี. 2553 : 103)ดังนี้ rtt = k k − 1 [1 − ∑ pq S 2 ] เมื่อ rtt แทน ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ แทน จำนวนข้อสอบ p แทน สัดส่วนของผู้ตอบถูกในข้อหนึ่งๆ = R N เมื่อ R แทนจำนวนผู้ตอบถูก ในข้อนั้น และ N แทนจำนวนผู้สอบ q แทน สัดส่วนของผู้ตอบผิดในข้อหนึ่งๆ = 1- p S 2 แทน ความแปรปรวนของคะแนนทั้งฉบับ 2.4 หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)
N R IOC = เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้อง R แทน ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญ 3. สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติ t - test for dependent sample t = ∑ D √ N ∑ D2−(∑ D) 2 N−1 เมื่อ t แทน ค่าสถิติที่ใช้เปรียบเทียบค่าวิกฤต เพื่อทราบความมีนัยสำคัญ D แทน ความแตกต่างระหว่างคะแนนแต่ละคู่ ∑ D แทน ผลรวมค่าผลต่างระหว่างคู่คะแนน N แทน จำนวนคู่ของคะแนน ซึ่งในการคำนวณเปรียบเทียบหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ คะแนนก่อน เรียนและหลังเรียน คำนวณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับข้อมูลทางสังคมศาสตร์ (PSPP for Windows) ด้วย การทดสอบทีแบบไม่อิสระ (t – test for Dependent Sample) ผลการวิจัย จากการการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โดยใช้การเรียนรู้รูปแบบโมเดลชิปปา มีรายละเอียดผลการศึกษาดังนี้ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ การเรียนรู้รูปแบบโมเดลชิปปากับเกณฑ์ร้อยละ 70 มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 6.93 คิดเป็นร้อยละ 34.65 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 16.10 คิดเป็นร้อยละ 80.52คะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเพิ่มขึ้น 9.10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 45.52 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การเรียนรู้รูปแบบโมเดลชิปปากับเกณฑ์ร้อยละ 70
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การ เรียนรู้รูปแบบโมเดลชิปปาก่อนเรียนและหลังเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.93 คะแนน และ 16.10 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การเรียนรู้รูปแบบโมเดลชิปปาก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มทดลอง N S.D. MD t Sig ก่อนเรียน 29 6.93 2.26 9.10 24.53 0.00 หลังเรียน 29 16.10 2.49 * มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3)เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบ โมเดลชิปปา ตารางที่ 2 ผลการศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบ โมเดลชิปปา (n = 29) ข้อที่ ข้อคำถาม x̅ S.D. ความหมาย 1 2 3 4 5 6 7 นักเรียนชอบแก้โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ นักเรียนชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เพราะเป็นวิชาที่เข้าใจ ง่าย นักเรียนชอบเรียนวิชาอื่นมากกว่าเรียนวิชาคณิตศาสตร์ นักเรียนคิดว่าคณิตศาสตร์สามารถเชื่อมโยงความรู้กับวิชา อื่นได้ คณิตศาสตร์ทำให้นักเรียนมีความคิดที่เป็นระบบ เป็น ขั้นตอน วิชาคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานสำคัญในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน นักเรียนกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับคณิตศาสตร์อยู่เสมอ 3.48 3.41 3.88 4.62 4.24 4.10 3.85 0.51 1.15 0.83 0.62 0.78 1.15 1.08 ปานกลาง ปานกลาง มาก มากที่สุด มาก มาก มาก
8 9 10 ถ้านักเรียนไม่เข้าใจในระหว่างที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์ นักเรียนจะถามครูผู้สอนทันที นักเรียนทบทวนเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ก่อนที่จะเรียนใน คาบเรียนต่อไปอยู่เสมอ คณิตศาสตร์มีส่วนทำให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 4.41 3.97 4.54 0.95 1.10 0.71 มาก มาก มากที่สุด ภาพรวม 4.05 0.88 มาก จากตารางที่ 2 พบว่า เจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 5 ที่มีต่อการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบโมเดลชิปปา มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.05 ซึ่งอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อ พบว่ามีเจตคติที่อยู่ในระดับมากทั้งหมด 6 ข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.85 - 4.46 ส่วนข้อ คำถามข้อที่ 1 และข้อที่ 2 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง คือ 3.48 และ 3.41 ตามลำดับ ข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อที่ 4 และข้อที่ 10 ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ 4.64 และ 4.54 ตามลำดับ อภิปรายผลการวิจัย การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การเรียนรู้รูปแบบโมเดลชิปปา มีประเด็นในการนำมาอภิปรายผลตามลำดับ ดังนี้ 1. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 โดยใช้การเรียนรู้รูปแบบโมเดลชิปปา มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 6.93 คิดเป็นร้อยละ 34.65และหลังเรียนมี คะแนนเฉลี่ย 16.10 คิดเป็นร้อยละ 80.52 คะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเพิ่มขึ้น 9.10 คะแนน คิด เป็นร้อยละ 45.52 นั่นคือนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การเรียนรู้รูปแบบโมเดลชิปปากับเกณฑ์ร้อยละ 70 ซึ่งสอดคล้องกับวิจัยของ ไพลิน หนูเปีย (2563) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังที่ได้รับ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปาโมเดล (CIPPA MODEL) กับเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ย คะแนน 21.24 คิดเป็นร้อยละ 70.80 2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การเรียนรู้รูปแบบโมเดลชิปปาก่อนเรียนและหลังเรียน โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานีมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.93 คะแนน และ 16.10 คะแนน ตามลำดับและเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่านักเรียนมี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับ วิจัยของ เสฎฐวุฒิ ไกรศรีและสมจิตรา เรืองศรี(2563) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวก่อนเรียน และหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้ 1.1 ครูควรมีการเตรียมตัวอย่างมากในการสอนเพราะการจัดการเรียนการสอนแบบอุปนัยเป็นการให้นักเรียนคิด วิเคราะห์ สรุปประเด็น และดึงแนวคิด หลักการจากที่ครูสอนไปใช้และครูควรมีตัวอย่างที่หลากหลายในการสอน เพื่อให้ นักเรียนได้สังเกตและสรุปแนวคิดหลักการได้ง่ายขึ้น 1.2 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรคำนึงถึงความสอดคล้องของเนื้อหา และเน้นความเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน จนเกินไป รวมถึงการบริหารเวลาในการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม 2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบอุปนัยวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ลบ คูณ หาร จำนวนนับ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในเนื้อหาอื่น ๆ และระดับชั้น อื่น ๆ ต่อไป 2.2 ควรมีการนำการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบอุปนัยไปใช้กับเนื้อหาอื่นในวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นต่าง ๆ เพื่อศึกษาว่าวิธีการสอนนี้เหมาะสมกับเนื้อหาใดระดับชั้นใดหรือไม่เหมาะกับเนื้อหาใดระดับชั้นใด
บรรณานุกรม กนกวลี อุษณกรกุล, ปาจรีย์ วัชชวัลคุ และสุเทพ บุญซ้อน. (2551). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ป.5 เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ไทยร่มเกล้า กรมวิชาการ.(2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลาง กลางศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2560). กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด ________. แนวทางการประเมินผลด้วยทางเลือกใหม่. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, 2544. กระทรวงศึกษาธิการ.(2544). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : คุรุสภา ลาดพร้าว ________. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2560). กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2551. . การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2560). กรุงเทพฯ :ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2552. ชวลิต ชูกำแพง. การวิจัยหลักสูตรและการสอน. มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2553. ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน.กรุงเทพฯ : หาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทิศนา แขมมณี . (2552). การจัดการเรียนโดยใช้รูปแบบชิปปา (Cippa Model).กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาห วิชาการ (พว.). ธนพล โพธิ์งามและคณะ.(2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติต่อคณิตศาสตร์ และความมุ่งมั่นในการ ทำงาน ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://edu.kpru.ac.th/math//contents/research/7.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 14 กันยายน 2566) ปรีชา ขุนบุญจันทร์. ( 2541 ). ผลของการใช้ชุดการแนะแนวเพื่อเปลี่ยนทัศนคติต่อวิชา คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดโคกพิกุล อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการแนะแนว). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.ถ่ายเอกสาร. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. การประเมินหลักสูตรและการเรียนการสอนหน่วยที่1 - 5. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยฯ, 2545ก. ยุทธ ไกยวรรณ์. พื้นฐานการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2545.
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2554. รัชนีวรรณ สุขเสนา. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัด การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับ การเรียนรู้ตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2550. สิริพร ทิพย์คง. การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 16(3), 2543. สุคนธ์ สิธพานนท์. การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2551. สุจิตตา นุ่มสุวรรณ. การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการใช้ชุดสื่อประสมกับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ, 2547. โสภณ บุญไชย. การใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เงิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547. สุภาภรณ์ มั่นเกตุวิทย์. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : เบ็นภาษาและศิลปะ, 2550. สุวัฒน์ บุญธรรม. (2554). ผลของการใช้โปรแกรมการพัฒนาเจตคติในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเพลินพัฒนา.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://edu.kpru.ac.th/math//contents/research/7.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 15 กันยายน 2566) สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2560). กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2551. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คู่มือครูสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับ ปรับปรุงพ.ศ.2560). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ, 2555 ก. อรนุช ศรีสะอาดและคณะ. (2550).การวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์ อาภรณ์รัตน์ สารผล. การใช้ชุดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. หลักสูตรและการสอน : มหาวิทยาลัยราชภัฎ สกลนคร, 2553.
อุสา รินลา. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความคิดสร้างสรรค์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนแบบสตอรีไลน์กับแบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2551. Good, Carter. (1973). Dictionary of Education. Edited by Carter V. Good. New York: McGraw-Hill book Company,Inc Johanning, I Debra. (2000). An analysis of Writing and Post writing Group Collaboration In middle School Pre-Algebra : School Science and Mathematics. 100 (3) :151 - 160. Rodeheaver,L.R. (2000). A Case Study of Communication between Secondary Mathematics Student teacher and the Cooperative Teacher. Dissertation Abstracts Online. 61 - 03A. Rojas, M.E. (1992). Enhancing the Learning of Probability Though Developing Student Skill in reading and Writing. Dissertation Abstracts Online. 53-05A. Thurlow, Deborah Lee. (1999). The Effects of Journal Writing on Fifth-Grade subjects Mathematics Attitudes and Achievement. Dissertation Abstracts international - A. (CD-ROM). 57(1): 2620.