The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สัญญาซื้อขาย 439

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2021-09-30 01:08:59

สัญญาซื้อขาย 439

สัญญาซื้อขาย 439

สัญญาซื้อขาย

จัดทำโดย
นางสาวกิติยา สันติเพชร

รหัสนิสิต 631081439



เสนอ
อาจารย์วีณา สุวรรณโณ

รายงานวิชาเอกเทศสัญญา 0801211
ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2564 คณะนิติศาสตร์



คำนำ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา
เอกเทศสัญญา 0801213 เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายเป็น
ส่วนใหญ่ มีลักษณะประเภทของสัญญาซื้อขายและข้อมูล
เบื้องต้น อาจเป็นผลดีต่อผู้ที่จะศึกษาเรื่องสัญญาซื้อ
ขายและผู้ศึกษาจะได้รับความรู้เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายไป
ไม่มากก็น้อยจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้ ผู้จัดทำ
หวังว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้
ศึกษา หากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้




นางสาวกิติยา สันติเพชร
ผู้จัดทำ



สารบัญ

หน้า

คำนำ ก

สารบัญ ข

สารบัญ ค

บทนำ ง
สัญญาซื้อขาย 1
- ความหมายสัญญาซื้อขาย 2
- สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด 3
- การโอนกรรมสิทธิ์ 4-8
- หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ซื้อและผู้ขาย 9
- หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขาย 9-10
- หน้าที่ผู้ซื้อ 11
สัญญาจะซื้อจะขาย 11
- สัญญาซื้อขายเฉพาะบางอย่าง 12
- สัญญาขายฝาก 12



สารบัญ

- แบบของสัญญาขายฝาก หน้า
- สินไถ่ 13
- ผู้มีสิทธิรับสินไถ่คืน 14
- ผู้มีหน้าที่รับสินไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝาก 15
คำมั่นจะซื้อจะขาย 16
อายุความ 17-18
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา453 19-20
- ฎีกาที่เกี่ยวข้องฎีกาที่ 17923/2557 21
- ฎีกาที่ 1834/2554 22
- ฎีกาที่9603/2553 23
สรุป 24
25



บทนำ

เอกเทศสัญญา คือ สัญญาอันเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่
กฎหมายได้มีการกำหนดชื่อ หรือลักษณะต่างๆเอาไว้เป็น
เอกเทศแล้วเนื่องจากเป็นสัญญาที่คนทั่วไปนิยมใช้และมี
ความสำคัญเป็นอันมาก ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดชื่อ ความ
หมาย องค์ประกอบของสัญญา สิทธิ หน้าที่และความรับ
ผิดของคู่สัญญา ความระงับแห่งสัญญา อายุความ
เป็นต้น ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้มีการ
บัญญัติถึงกฎหมายเอกเทศสัญญาเอาไว้ในบรรพ 3 ถึง
22 ลักษณะ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาจ้างแรงงาน
สัญญายืม สัญญาจำนอง สัญญาจำนำ สัญญาหุ้นส่วน
บริษัท สัญญาประกันภัย การพนันขันต่อ เป็นต้น แต่
สำหรับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้จะอธิบายเฉพาะ
สัญญาซื้อขาย โดยมีรายละเอียดดังนี้

1

สัญญาซื้อขาย
การซื้อขายเกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวันของบุคคล
ทั่วไปมากที่สุด กฎหมายจึงกําหนด
สาระสําคัญ ไว้หลายประการ โดยให้นําเอาหลักเกณฑ์
ทั่วไปของการทํานิติกรรม โดยเฉพาะ
เรื่องของการแสดงเจตนา วัตถุประสงค์ของคู่สัญญา
และแบบแห่งนิติกรรมมาใช้ จึงถือได้ว่าสัญญาซื้อขาย
เป็นเอกเทศสัญญาแบบหนึ่ง

2

สัญญาซื้อขาย
สัญญาซื้อขาย หมายถึง สัญญาที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้
ขาย ตกลงโอนกรรมสิทธิ์ แห่งทรัพย์สิน ให้แก่บุคคลอีกคน
หนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินให้แก่
ผู้ขาย หรือกล่าวโดยสรุป คือ เมื่อผู้ขายตกลงโอนกรรมสิทธิ์ใน
ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันนั้นให้แก่
ผู้ซื้อ สัญญาซื้อขายย่อมเกิดขึ้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดัง
กล่าวตกเป็นของผู้ซื้อทันที
แม้ว่าผู้ซื้อยังไม่ชําระราคาก็ไม่ใช่สาระสําคัญของ สัญญาซื้อ
ขาย อย่างไรก็ตามสัญญาซื้อขายแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

3

1.1 สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
หมายถึง สัญญาซื้อขายที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อ
ขายกัน ตกเป็นของผู้ซื้อทันทีที่สัญญา ซื้อขายเกิดขึ้น
อย่างสมบูรณ์ โดยไม่ต้องคํานึงว่าผู้ซื้อชําระราคาแล้วหรือ
ไม่
เช่น แดงตกลงขายชุดสากล สําเร็จรูปให้ดําในราคา 3,000
บาท โดยพับใส่ถุงยื่นให้ ดังนี้ถือว่าการซื้อขายชุดสากล
ระหว่างแดงกับดํา สมบูรณ์แล้ว กรรมสิทธิ์ในชุดสากลชุด
นั้นตกเป็นของดําทันที ไม่ต้องคํานึงว่า ดําชําระเงินให้แดง
แล้ว หรือไม่

4

1.1.1 การโอนกรรมสิทธิ์
1) ถ้าทรัพย์ที่ซื้อขายกันนั้น ยังจะต้องหมาย
นับ ชั่ง ตวง วัด คัดเลือก หรือทําด้วยวิธี อื่นใด
ให้ระบุตัวทรัพย์นั้นได้แล้ว กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไป
จนกว่าจะได้กระทําการเช่นว่านั้นเสียก่อน เช่น
แมวขายเสื้อให้หนูราคา 3 ตัว 500 บาท โดยให้หนู
เลือกเอาตามใจชอบ ดังนี้ กรรมสิทธิ์ยังไม่ตก
เป็นของหนู จนกว่าหนูจะเลือกเสื้อได้ครบ 3 ตัว
เสียก่อน

5

2) ถ้าทรัพย์สินที่ซื้อขายกันนั้น ยังจะต้อง นับ ชั่ง ตวง
วัด คัดเลือก เพื่อให้ทราบราคา กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไป
จนกว่าจะได้กระทําการเช่นว่านั้นแล้ว เช่น เสือขายไข่ 1
กระจาดให้ช้างคิดราคา ฟองละ 3 บาท ดังนี้ กรรมสิทธิ์
ยังไม่ตกเป็นของช้าง จนกว่าจะได้นับ จํานวนไข่ทั้งกระ
จาดและคํานวณ จนทราบราคาแท้จริงเสียก่อนการที่ต้อง
พิจารณาว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปเป็นของผู้ซื้อ
แล้วหรือไม่นั้นเป็น สาระสําคัญ เพราะถ้ากรรมสิทธิ์ยังไม่
โอนไปเป็นของผู้ซื้อ หากเกิดการเสียหายขึ้น แก่
ทรัพย์สินนั้นโดยมิใช่ ความผิดของผู้ซื้อ ผู้ซื้อก็ไม่ต้องใช้
ราคาให้แก่ผู้ขาย แต่ถ้ากรรมสิทธิ์โอนไปเป็นของผู้ซื้อ
แล้ว แม้ ความเสียหายเช่นว่านั้นจะเกิดขึ้นจากบุคคลอื่น

6

ผู้ซื้อก็ต้องชําระราคาให้แก่ผู้ขาย สัญญาซื้อขาย
เสร็จเด็ดขาดนี้ หากเป็นการซื้อขายทรัพย์สินบาง
ประเภทกฎหมายกําหนด ให้ต้องทําตามแบบและจด
ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น การซื้อขายที่ดิน
มีโฉนด หรือที่ดินที่มีใบไต่สวน หรือที่ดินและสิ่งปลูก
สร้างบนที่ดินนั้น ต้องทําเป็นหนังสือตามแบบของ
กรมที่ดิน และจดทะเบียน ณ สํานักงานที่ดินจังหวัด
หรือสํานักงานที่ดินสาขาในท้องที่ๆ ที่ดินนั้นตั้งอยู่
แต่ถ้าเป็นที่ดินไม่มีโฉนด หรือไม่มีใบไต่สวน ไม่ว่าจะ
มีสิ่งปลูกสร้างอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตามให้จดทะเบียน ณ
ที่ทําการเขต (อําเภอ) ท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ หรือ
การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีราคากว่า 20,000 บาท
ขึ้นไป จะต้องมีหลักฐาน เป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
ฝ่ายที่ต้องรับผิดไว้เป็นสําคัญหรือต้องมีการวา
งมัดจําไว้ หรือได้ชําระหนี้บางส่วน แล้ว จึงฟ้องร้อง
บังคับคดีกันได้

7

สรุปการโอนกรรมสิทธิ์และทรัพย์สินที่ซื้อ
ขายไม่ได้




เราจะเห็นว่าสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นทันที ที่มีคำเสนอ และคำสนอง
ต้องตรงกัน เมื่อตกลงซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้ซื้อทันที
เมื่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปเป็นของผู้ซื้อ หากเกิดภัยพิบัติขึ้น
โดยไม่ใช่ความผิดของผู้ขาย ความเสียหายนั้นๆ ก็ต้องตกไปแก่ผู้ซื้อ
แต่มีข้อยกเว้นอยู่ 3 ประการ คือ

1. หากมีกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลากันไว้ กรรมสิทธิ์จะยังไม่
โอนไปจนกว่า เงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาจะสำเร็จ

2. กรณีที่ไม่ได้มีการกำหนดตัวทรัพย์ไว้แน่นอน กรรมสิทธิ์จะโอน
ไปเมื่อมีการ นับ วัด ชั่ง ตวง กำหนดตัวทรัพย์สินเป็นที่แน่นอนแล้ว

3. กรณีเป็นสัญญาจะซื้อขาย กรรมสิทธิ์จะโอนไปก็ต่อเมื่อได้มี
การทำเป็นหนังสือ หรือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลัง

8

ทรัพย์สินที่ซื้อขายไม่ได้

สำหรับทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายไม่ได้นั้น อาจพิจารณาได้
ดังนี้

1. ทรัพย์สินที่มีกฎหมายห้ามจำหน่าย
ทรัพย์สินบางประเภทจะต้องห้ามมีการจำหน่าย จ่าย โอน ตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตลอดจนกฎหมายอื่นๆ
ก็ตาม อันได้แก่ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน วัดและที่ธรณี
สงฆ์ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินที่จำหน่ายมี
ความผิดตามกฎหมาย

2. ทรัพย์สินที่มีการห้ามจำหน่ายด้วยเจตนาของ
บุคคล
ทรัพย์สินประเภทนี้เป็นการแสดงเจตนาของเจ้าของ
ทรัพย์สิน ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย เช่น การทำ
พินัยกรรมเอาไว้

9

1.1.2 หน้าที่และความรับผิดชอบของ
ผู้ซื้อและผู้ขาย

สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดนั้น กฎ
หมายกําหนดหน้าที่และความรับผิด
ชอบของผู้ซื้อและผู้ขายไว้ดังนี้




1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขาย
เมื่อสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดเกิดขึ้นแล้ว
หน้าที่ประการแรกของผู้ขาย คือ การส่งมอบ
ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันนั้นให้ผู้ซื้อ เพราะเหตุว่า
กรรมสิทธิ์ได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้ว แต่ในทาง
ปฏิบัติ การส่งมอบอาจกระทําภายหลังก็ได้
เช่น ปูซื้อตู้เย็นขนาด 6 คิว 1 ตู้ จากร้านของ
ปลาและชําระราคาให้ปลา แล้ว จํานวน 12,000
บาท ซึ่งตามหลักกฎหมายแล้ว กรรมสิทธิ์ย่อม
ตกเป็นของปทันทีและปลามีหน้าที่ ต้องส่ง
มอบให้ปทันทีเช่นกัน แต่จากลักษณะของ
ทรัพย์อาจไม่สะดวกที่จะส่งมอบในขณะนั้น ปู
และปลา อาจตกลงกันให้มีการส่งมอบในวันต่อ
มาก็ได้ ขณะเดียวกันผู้ขายก็ยังต้องรับผิด
ชอบต่อผู้ซื้อในเรื่องของ ความชํารุดบกพร่อง
ของสินค้าที่ซื้อขายกันนั้น เช่น

10

Ex. เอกซื้อโทรทัศน์จากร้านของโท ซึ่งตามสมรรถนะ
ของโทรทัศน์รุ่นนี้รับได้ 200 ช่องสัญญาณ แต่เมื่อใช้งานจริง
ปรากฏว่ารับได้เพียง 20 ช่องสัญญาณเท่านั้น ดังนี้ โทต้องรับ
ผิดชอบต่อเอก เพราะสินค้าที่ซื้อขายกันไม่สมประโยชน์แก่ผู้ซื้อใน
การใช้งานตามปกติ ไม่ว่าผู้ขายจะรู้อยู่ก่อนแล้วหรือไม่รู้เลยว่า
ความบกพร่องนั้นมีอยู่ก็ตาม เว้นแต่ว่าความเสียหายเช่นว่านี้ ผู้
ซื้อเห็นประจักษ์อย่างชัดแจ้งตั้งแต่ขณะซื้อหรือขณะส่งมอบ เช่น
ผู้ขายประทับตราข้อความไว้ที่กล่อง แล้วขณะซื้อขายว่า “สินค้า
มีตําหนิราคาพิเศษ
ไม่รับเปลี่ยนหรือคืน” และผู้ซื้อก็รับสินค้าไว้โดยมิได้คิดเอื้อน

2) หน้าที่ของผู้ซื้อ 11

สําหรับผู้ซื้อ กฎหมายกําหนดให้มีหน้าที่เพียงประการเดียว คือ ต้อง

ชําระราคาให้ แก่ผู้ขาย ส่วนจะต้องชําระราคาเมื่อใดนั้นขึ้นอยู่กับข้อ

ตกลงระหว่างกัน อาจชําระทันทีที่ตกลงซื้อขายหรือ ชําระในเวลาถัด

มาหรือผ่อนชําระเป็นงวดๆ ก็ได้




1.2 สัญญาจะซื้อจะขาย
สัญญาจะซื้อจะขาย หมายถึง สัญญาซื้อขายชนิดที่
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายยังไม่โอนไปเป็นของผู้ซื้อ
ในขณะนั้น คงมีผลแต่เพียงว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์กัน
อีกครั้งหนึ่งในภายหน้า เช่น แมว ซึ่งเป็นเจ้าของ
โครงการหมู่บ้านจัดสรร ทําสัญญาจะขายบ้านพร้อม
ที่ดินให้หมู โดยกําหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ ณ สํานักงาน
ที่ดิน เมื่อหมูชําระเงินให้แก่แมวครบถ้วนแล้วดังนี้
กรรมสิทธิ์ในบ้านพร้อมที่ดินดังกล่าว ให้ต้องทําตาม
แบบและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น การซื้อ
ขายที่ดินมีโฉนด หรือที่ดินที่มี ใบไต่สวน หรือที่ดินและ
สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้น ต้องทําเป็นหนังสือตามแบบ
ของกรมที่ดินและจดทะเบียน ณ สํานักงานที่ดินจังหวัด
หรือสํานักงานที่ดินสาขาในท้องที่ๆ ที่ดินนั้นตั้งอยู่ แต่
ถ้าเป็นที่ดินไม่มีโฉนด หรือไม่มีใบไต่สวน ไม่ว่าจะมีสิ่ง
ปลูกสร้างอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้จดทะเบียน ณ ที่ทํา
การเขต (อําเภอ) ท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่

2. สัญญาซื้อขายเฉพาะบางอย่าง 12

สัญญาซื้อขายเฉพาะบางอย่างเป็นสัญญาที่แยกไว้ต่างหาก

จากสัญญาซื้อขาย เนื่องจากมีลักษณะ เฉพาะแตกต่างออก

ไปบางประการ อย่างไรก็ตามกฎหมายได้กําหนดให้อาศัย

บทบัญญัติของ สัญญาซื้อขายมาใช้บังคับในสัญญาซื้อขาย

เฉพาะบางอย่างนี้ด้วย




2.1 สัญญาขายฝาก
สัญญาขายฝากเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด

ซึ่งผู้ขายฝากโอนกรน ผู้ซื้อฝาก โดยผู้ซื้อฝากชํา
ระราคาทรัพยสนนนเหมูขายฝากแล้ว และยังมีข้อ
ตกลงเพิ่มเติมว่าผู้ขายฝากอาจใช้สิทธิไถ่
ทรัพย์สินนั้นคืนได้ เช่น นกขายฝากรถยนต์ของ
ตนได้ไว้กับหนู ราคา 250,000 บาท โดยมีข้อ
ตกลงว่านกอาจใช้สิทธิไถ่คืนได้ภายใน 6 เดือน
ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝาก คือ
รถยนต์คันดังกล่าวตกเป็นของหนูแล้วนับแต่วัน
ซื้อขายกัน หนมีสิทธิใช้สอยรถยนต์คันดังกล่าวได้
ในฐานะ ทรัพย์สินของตนแต่นกยังมีสิทธิไถ่
รถยนต์คันนั้นคืนได้ภายในระยะเวลา 6 เดือนนับ
แต่วันซื้อขายซึ่งนกจะใช้สิทธิเช่นว่านั้นหรือไม่ก็ได้
ถ้านกขอใช้สิทธิไถ่คืน หนูก็ต้องยอมให้นกไถ่
รถยนต์คืนไป

13

2.1.1 แบบของสัญญาขายฝาก
สัญญาขายฝาก กฎหมายมิได้กําหนดแบบของสัญญาไว้

จึงต้องอาศัยบทบัญญัติของสัญญาซื้อขายทั่วไป มาใช้
บังคับนั้นคือถ้าเป็นสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ก็
ต้องทําเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
แต่ถ้าเป็นการจะซื้อจะขายสังหาริมทรัพย์ก็ไม่ต้องทําการเช่น
ว่านั้น

14

2.1.2 สินไถ่
สินไถ่ หมายถึง จํานวนเงินที่ตกลงกันไว้ในการ

ไถ่ทรัพย์คืน หรือเรียกอย่างอื่นว่า ราคาไถ่คืน
หรือราคารับซื้อคืนก็ได้ ถ้าหากมิได้ตกลงกันไว้
ก่อนว่าสินไถ่เป็นจํานวนเท่าใดกฎหมายให้ถือว่า
จํานวนเงินสินไถ่เป็นจํานวนเท่ากันกับราคาที่
ขายฝาก และสินไถ่ต้องเป็นเงินตราเท่านั้น จะ
เอาทรัพย์สินอย่างอื่ นมากําหนดเป็นสินไถ่ไม่ได้
ถ้ามีการกําหนดสินไถ่ไว้เป็นจํานวนแน่นอน
กฎหมายให้ถือเอาตามนั้น แต่ต้องไม่เกิน จํานว
นที่ขายฝากกัน บวกด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อ
ปี เช่น ดําขายฝากที่ดินแปลงหนึ่งไว้กับขาว
ราคา 1,000,000 บาท กําหนดระยะเวลาไถ่ไว้
ภายใน 1 ปี กําหนดสินไถ่ไว้ 1,500,000 บาท
เมื่อครบกําหนด 1 ปี ดํามาขอไถ่คืน ดังนี้ ขาว
ต้องยอมให้ดําไถ่คืนที่จํานวนสินไถ่ 1,000,000
บาท บวกดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี อีก 150,000
บาท รวมเป็นจํานวนเพียง 1,150,000 บาท
เท่านั้น มิใช่จํานวน 1,500,000 บาท ตามที่ตกลง
กันแต่ถ้ากําหนดจํานวนไถ่คืนไว้ต่ํากว่า
1,150,000 บาท เช่น กําหนดเพียง 1,100,000
บาทก็ให้ ไถ่คืนกันตามจํานวนรับไถ่ที่ตกลงกันไว้
นั้นได้

15

2.1.3 ผู้มีสิทธิไถ่คืนทรัพย์สินและผู้มีหน้าที่รับไถ่
คืนทรัพย์สินที่ขายฝาก
1) ผู้มีสิทธิไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝาก หมายถึง
บุคคลต่อไปนี้
ก. ผู้ขายฝากเดิมหรือทายาทของผู้ขายฝากเดิม
เช่นเอกขายฝากรถยนต์ไว้กับโท เอกหรือทายาท
ของเอกย่อมมีสิทธิไถ่คืน
ข. ผู้รับโอนสิทธินั้น เช่น เอกขายฝากรถยนต์ไว้
กับโท ต่อมาเอกโอนสิทธิการไถ่ ให้ตรี ตรีจึงเป็น
ผู้มีสิทธิไถ่คืนแทนที่เอก
ค. บุคคลผู้ซึ่งกําหนดไว้ในสัญญาให้เป็นผู้มีสิทธิ
ไถ่คืน เช่น แดงขายฝากรถยนต์ ไว้กับเหลือง
โดยทั้งแดงและเหลืองตกลงยินยอมกันว่าให้
เขียวเป็นผู้มีสิทธิไถ่คืน ดังนี้เขียวเท่านั้นเป็น ผู้มี
สิทธิไถ่คืนได้

16

2) ผู้มีหน้าที่รับไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝาก หมายถึง
บุคคลต่อไปนี้



ก. ผู้ซื้อฝากเดิมหรือทายาทของผู้ซื้อฝากเดิม
เช่น เอกขายฝากรถยนต์ไว้กับโท โทหรือทายาท
ของโทมีหน้าที่ต้องรับไถ่คืน
ข. ผู้รับโอนทรัพย์สินนั้นหรือรับโอนกรรมสิทธิ์
เหนือทรัพย์สินนั้นถ้าเป็นกรณี การขายฝาก
อสังหาริมทรัพย์ เช่น แคมขายฝากที่ดินไว้กับ
เหลืองต่อมาเหลืองขายที่ดินแปลงดังกล่าวคือให้
ฟ้า ดังนี้ แดงต้องไปใช้สิทธิไถ่เอากับฟ้า แต่ถ้า
เป็นกรณีการขายฝากสังหาริมทรัพย์ กฎหมา
ยกําหนดเพิ่มเติม ว่าผู้มีสิทธิ์ได้จะใช้สิทธิไม่ได้ต่อ
เมื่อผู้รับโอนได้รู้ในเวลาโอนว่าทรัพย์สินนั้นตก
อยู่ในบังคับแห่งสิทธิไถ่คืน เช่น แมวขายฝากรถ
จักรยานไว้กับหมูหมูขายรถจักรยานคันดังกล่าว
ต่อให้ม้า ถ้าม้ารู้อยู่แล้วในขณะนั้นว่ารถจักรยาน
คันตั้งกล่าวติดภาระขายฝากอยู่ แมวย่อมใช้สิทธิ
ไถ่คืนจากม้าได้ แต่ถ้าม้าไม่รู้ว่ารถจักรยาน กัน
นั้นติดภาระขายฝากอยู่ แมวก็จะใช้สิทธิ์ไถ่คืน
จากม้าไม่ได้

17

1.3 คำมั่นจะซื้อจะขาย
คือ คำมั่นจะซื้อจะขายนั้นเป็นนิติกรรม
ฝ่ายเดียวซึ่งผู้ให้คำมั่นผูกพันตนเองว่าจะ
ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้นั้น ถ้าบุคคลอีก
ฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับคำมั่นแสดง
เจตนาตอบรับมาว่าจะเข้าทำสัญญาด้วยก็
จะผูกพันเกิดขึ้นเป็นสัญญาซื้อขาย ส่วน
จะเป็นสัญญาซื้อขายแบบไหนนั้นก็คง
แล้วแต่เจตนาที่คู่สัญญาประสงค์ที่จะ
ผูกพันกัน อาจเป็นได้ทั้งสัญญาจะซื้อจะ
ขายหรือสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด

18

ตัวอย่าง
นาย ก. เขียนจดหมายให้คำมั่นไปถึงนาย ข. ว่าจะขายบ้าน

สวนริมคลองให้ในราคา 5,000,000 บาท หากนาย ข. สนใจ
จะซื้อก็ตอบกลับมาภายในระยะเวลา 7 วัน ดังนี้ ถือเป็นคำมั่น
จะซื้อจะขาย หากนาย ข. สนใจและตอบรับกลับมาภายใน
เวลาดังกล่าว ก็จะเกิดเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย เนื่องจากทั้งคู่
จะต้องไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกันต่อไป

19

อายุความ

สำหรับอายุความของสัญญาซื้อขายนั้น จะต้องแยกพิจารณา
เป็นเรื่องๆไปว่าคู่สัญญามีประเด็นพิพาทกันในเรื่องใด เช่น
หากเป็นข้อพิพาทกรณีส่งมอบทรัพย์สินขาดตกบกพร่อง
ห้ามไม่ให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาส่งมอบ
ตามมาตรา 467 หากเป็นข้อพิพาทกรณีทรัพย์สินนั้นชำรุด
บกพร่อง ห้ามไม่ให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลา
ที่ได้เห็นความชำรุดบกพร่องตามมาตรา 474 หรือหากเป็น
กรณีพิพาทเกี่ยวกับการรอนสิทธิ ห้ามไม่ให้ฟ้องคดีในข้อรับ
ผิดเพื่อการรอนสิทธิหากผู้ขายไม่ได้เป็นคู่ความในคดีเดิมเมื่อ
พ้นกำหนดสามเดือนนับแต่วันคำพิพากษาในคดีเดิมถึงที่สุด
ถ้าผู้ซื้อได้ประนีประนอมยอมความกับบุคคลภายนอก ห้ามไม่
ให้ฟ้องคดีในข้อรับผิดเพื่อการรอนสิทธิเมื่อพ้นกำหนดสาม
เดือนนับแต่วันประนีประนอมยอมความ หรือถ้าผู้ซื้อยอม
ตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง ห้ามไม่ให้ฟ้องคดีในข้อรับผิด
เพื่อการรอนสิทธิเมื่อพ้นกำหนดสามเดือนนับแต่วันที่ยอม
ตามบุคคลภายนอกเรียกร้องตามมาตรา 481 หากเป็นกรณี
ส่งของไม่ตรงตามตัวอย่างหรือตามคำพรรณนา ห้ามไม่ให้
ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาส่งมอบตามมาตรา
504 เป็นต้น

20

นอกจากนี้ หากไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความเอาไว้
เป็นการเฉพาะ ก็จะต้องนำเอากำหนดอายุความทั่วไปมา
ใช้ในกฎหมายลักษณะซื้อขายอันมีกำหนดระยะเวลา 10 ปี
นับตั้งแต่เมื่อเกิดสิทธิเรียกร้อง เช่น การที่ผู้ซื้อฟ้องให้ผู้
ขายจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ การที่ผู้ซื้อฟ้องให้ผู้ขายส่ง
มอบทรัพย์สิน การที่ผู้ซื้อฟ้องให้ผู้ขายรับผิดเพราะส่ง
มอบทรัพย์สินอื่ นระคนปนกับทรัพย์สินที่ซื้ อการที่ผู้ขาย
ฟ้องเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคา การฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก
การผิดสัญญาซื้อขาย เป็นต้น
อนึ่ง อายุความนั้นไม่สามารถที่จะตกลงกันเพื่อย่นหรือ
ขยายออกเอาเองได้ หากมีการตกลงย่นหรือขยายอายุ
ความ ข้อตกลงดังกล่าวตกเป็นโมฆะ และหากการใช้สิทธิ
ฟ้องร้องคดีสัญญาซื้อขายนั้นขาดอายุความ เจ้าหนี้ก็ไม่
สามารถใช้สิทธิเรียกร้องหรือทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้
แต่อย่างใด แม้เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้อง ลูกหนี้ก็ย่อมที่
จะบอกปัดไม่ยอมชำระหนี้ก็ได้ แต่หากลูกหนี้ไปชำระหนี้
นั้น ลูกหนี้ก็จะขอเรียกคืนมาไม่ได้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 21

มาตรา 453อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง

เรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีก

ฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคา

ทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย

22

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17923/2557 แม้สัญญาหมาย

จ.1 จะระบุชื่อสัญญาว่าสัญญาเช่า แต่เมื่อพิจารณา
สาระสำคัญของเนื้อหา หาใช่เป็นเรื่องโจทก์ทั้งสอง
ประสงค์จะครอบครองที่ดินเพื่อใช้หรือได้รับประโยชน์ใน
ที่ดินชั่วระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ และโจทก์ทั้งสองได้ให้
เงินแก่จำเลยเพื่อการนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 โดย
แท้จริงไม่ แต่จุดประสงค์แห่งสัญญามุ่งเน้นเรื่องการ
โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินจากจำเลย
เพื่อก่อสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 453 อันมีลักษณะเป็น
สัญญาซื้อขาย มิใช่เจตนาที่จะเช่าทรัพย์กันแต่อย่างใด
สัญญาหมาย จ.1 จึงเป็นสัญญาซื้อขายมิใช่สัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1834/2554 23
โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินและจดทะเบียนโอน

กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้ง 21 แปลง ให้แก่ ป.
เมื่อปี 2532 กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมตกไป
เป็นของ ป. ผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อ
ขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม
นัย ป.พ.พ. มาตรา 453 และมาตรา 456 แม้ ป.
ผู้ซื้อยังไม่ชำระราคาให้แก่โจทก์ผู้ขาย แต่การ
ชำระราคามิใช่เงื่ อนไขแห่งการโอนกรรมสิทธิ์ใน
ที่ดิน การชำระราคาอาจเกิดขึ้นก่อนหรือหลัง
เวลาโอนกรรมสิทธิ์ก็ย่อมทำได้ตามแต่คู่สัญญา
จะตกลงกัน ดังนั้น สัญญาซื้อขายและการจด
ทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์
กับ ป. จึงมีผลสมบูรณ์เสร็จเด็ดขาด และที่ดิน
พิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ป. มิใช่เป็น
ที่ดินของโจทก์อีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจ
ฟ้องบังคับให้ทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส.
ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทต่อมาภายหลัง
คืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้

24

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9603/2553
โจทก์ร่วมตกลงซื้อรถยนต์ตู้กับจำเลยในราคา

310,000 บาท ซึ่งในสัญญาข้อ 3 ระบุว่า จำเลย
ตกลงรับชำระราคารถยนต์จำนวน 200,000 บาท
ในวันที่ 27 ตุลาคม 2540 ส่วนจำนวนที่เหลือจะ
ชำระให้จำเลยในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540 สัญญา
ซื้ อขายดังกล่าวไม่มีเงื่ อนไขเกี่ยวกับการโอน
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้แต่ประการใดจึงเป็นสัญญา
ซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้ย่อม
โอนให้แก่โจทก์ร่วมตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อ
ขายกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 453, 458

25

สรุป

สัญญาซื้ออขาย คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียก
ว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีก
ฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคา
ทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย สัญญาซื้อขายถือเป็น
สัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่งอันส่งผลให้คู่สัญญา
แต่ละฝ่ายต่างมีสิทธิและมีหน้าที่ที่จะต้องกระทำการ
หรือปฏิบัติแก่กันและกัน กล่าวคือ คู่สัญญาทั้งสอง
ฝ่ายต่างเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน สำหรับ
ประเภทสัญญาซื้อขาย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งได้
บัญญัติไว้ตั้งแต่มาตรา 453-456 ได้แก่ 1.สัญญาซื้อ
ขายเสร็จเด็ดขาด 2.สัญญาจะซื้อจะขาย 3.คำมั่นจะซื้อ
จะขาย ซึ่งสัญญาซื้อขายนั้นจะมีทั้งทรัพย์สินที่ซื้อขาย
ได้ กับทรัพย์สินที่ซื้อขายไม่ได้ ส่วนอายุความของ
สัญญาซื้อขายนั้นจะแยกออกไปเป็นเรื่องๆ แล้วแต่
สัญญา


Click to View FlipBook Version