The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ใบความรู้นี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by IYaKhup LP, 2022-05-10 00:56:48

ใบความรู้ สิ่งแวดล้อมศึกษา ชวนรักษ์ป่า พารักษ์โลก

ใบความรู้นี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย

สงิ่ แวดลอ้ มศกึ ษา ชวนรกั ษป์ า่ พารักษโ์ ลก

จติ คุปต์ ละอองปลวิ

นักศึกษาปริญญาเอกสาขาวิชาส่ิงแวดล้อมศกึ ษา มหาวทิ ยาลัยมหิดล

ป่าต้นน้ำเป็นแหล่งผลิตน้ำให้แก่ลำธาร ส่วนใหญ่ต้ังอยู่ในลักษณะภูมิประเทศแบบเทือกเขา
ท่ีมีความลาดชัน ปกคลุมด้วยป่าไม้ตามธรรมชาติท่ีอุดมสมบูรณ์ ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของลำธารมิให้
เส่ือมสูญ รากไม้และเศษใบไม้ทำหน้าท่ีดูดซับน้ำฝน ทำให้น้ำฝนซึมลงไปเก็บสะสมอยู่ในดินได้มาก
ก่อนจะค่อย ๆ ไหลระบายออกจากดินสู่ลำธารหล่อเลี้ยงผู้คนในพื้นท่ีกลางน้ำและปลายน้ำต่อไป
นอกจากนี้ป่าต้นน้ำยังเป็นแหล่งปัจจัยส่ีสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ ท้ังยังช่วยป้องกันมิให้
นำ้ ฝนทไี่ หลบ่ากัดเซาะหน้าดิน ป้องกันปัญหาดนิ ถล่ม และน้ำป่าไหลหลากอกี ดว้ ย

ปัจจุบันป่าต้นน้ำเส่ือมโทรมและมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง จากการสำรวจสถิติป่าไม้ของ
กรมป่าไม้พบว่า พ้ืนท่ีป่าไม้ของประเทศไทยเมื่อเทียบกับ 50 ปีท่ีผ่านมามีพน้ื ท่ีป่าไม้ลดลงจากร้อยละ 53
เหลือร้อยละ 33 ของพ้ืนที่ประเทศไทยทั้งหมด (ภาพ 1) อันเน่ืองมาจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่
ประการแรก การบุกรุกทำลายพ้ืนที่ป่าไม้เพ่ือเปล่ียนแปลงพ้ืนที่ทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างย่ิง
การผลิตเพอ่ื ตอบสนองความต้องการของตลาด ผู้บุกรุกป่าแบง่ ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ชาวไทยบนพ้ืนที่ราบ
และชาวเขาบนพ้ืนท่ีสูง ประการท่ีสอง คือ นโยบายทางการเมืองและการปกครองท่ีเปล่ียนแปลงไป
หลายกรณีไม่สามารถยุติปัญหาการทำลายป่าได้ เพราะชาวบ้านคิดว่าเม่ือแผ้วถางป่าจนเส่ือมโทรมแล้ว
รัฐจะให้สิทธ์ิในท่ีดินจึงหาทางแผ้วถางป่ามากขึ้น และประการที่สาม คือ ช่องว่างของระเบียบและ
กฎหมาย รวมทั้งการจดั การด้านทรพั ยากรป่าไม้ ยังไม่ตรงกับความตอ้ งการของท้องถน่ิ เปน็ ปัญหาในการ
ปฏิบตั ิงานของเจา้ หนา้ ท่ี

ภาพ 1 พ้นื ที่ปา่ ของประเทศไทยปี พ.ศ. 2516-2557
ทมี่ า: กรมปา่ ไม,้ 2557

2

จังหวัดราชบุรีเคยมีพ้ืนท่ีป่าไม้ปกคลุมมากถึงร้อยละ 70 ของพ้ืนที่จังหวัดราชบุรีทั้งหมด
(ภาพ 2) แต่ปัจจุบันลดลงเหลือเพียงร้อยละ 33 (กรมป่าไม้, 2557) ทั้งน้ีจากแผนปฏิบัติการ
ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมจังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. 2559-2564 พบว่า ปัญหาอันดับแรก
และอันดับท่ีสองด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดราชบุรี คือ การบุกรุกพ้ืนท่ีป่าไม้
ในเขตพ้ืนทปี่ ่าสงวนแหง่ ชาติ การลกั ลอบบุกรกุ พนื้ ท่ีปา่ ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 และการบุกรุกพน้ื ที่
ราชพัสดุเพื่อปลูกพืช (ตาราง 1) เหล่านี้ส่งผลให้พื้นท่ีป่าไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ้ืนที่ป่าด้านตะวันตก
ของจังหวัดราชบุรี บริเวณเทือกเขาตะนาวศรีในเขตอำเภอสวนผึ้งและอำเภอบ้านคา อันเป็นป่าต้นน้ำ
ลำภาชีถูกทำลายในอัตราสูง จากกิจกรรมด้านเกษตรกรรม การปลูกพืชเชิงพาณิชย์ เช่น มันสำปะหลัง
ยางพารา ข้าวโพด สับปะรด อ้อย และสวนผลไม้ นอกจากนี้ยังมีผลกระทบจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
กิจกรรมการท่องเท่ียวและความพยายามของหน่วยงานภาครัฐที่จะเข้าไปพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้ง
การสร้างอ่างเก็บน้ำ การสร้างฝาย การปรับปรุงถนน และการสร้างสาธารณูปโภค เพ่ือรองรับ
นกั ทอ่ งเท่ยี ว

ภาพ 2 พื้นท่ีปา่ ไมข้ องจังหวดั ราชบุรี
ที่มา: สำนกั จัดการทรัพยากรป่าไมท้ ่ี 10 (ราชบุรี)

3

ตาราง 1 ปญั หา สาเหตุ ผลกระทบ และการป้องกันแกไ้ ขปัญหาดา้ นทรพั ยากรธรรมชาติ

ทม่ี า: สำนกั งานทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่งิ แวดลอ้ มจังหวดั ราชบรุ ,ี 2558

พ้ืนที่ป่าต้นน้ำท่ีลดลง ส่งผลให้โครงสร้าง (Structure) และการทำงานตามหน้าที่ (Function)
ของระบบนิเวศต้นน้ำเปล่ียนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูดซับน้ำฝนของดินจะลดลง เมื่อการดูดซับ
น้ำลดลง ฝนท่ีตกตามมาภายหลังจึงกลายเป็นน้ำไหลบ่าบนผิวดิน ทำให้สัดส่วนขององค์ประกอบน้ำท่า
เปลี่ยนแปลงไป เป็นสาเหตุสำคัญท่ีก่อให้เกิดเหตกุ ารณ์น้ำป่าไหลหลาก อุทกภัยในช่วงฤดูฝน และปัญหา
การขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ซ่ึงปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งท่ีรุนแรงและยาวนาน นับว่าเป็น
ปัญหาท่ีสร้างความเดอื ดรอ้ นให้กับผู้คนในทุกพ้นื ที่ในจงั หวัดราชบรุ ี ต้ังแต่พืน้ ที่ต้นน้ำในเขตอำเภอบ้านคา
อำเภอสวนผึ้ง และอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี พ้ืนท่ีกลางน้ำในเขตอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี และ
พืน้ ทป่ี ลายนำ้ ในเขตอำเภอด่านมะขามเตยี้ จังหวดั กาญจนบรุ ี

ที่ผ่านมาแม้ว่ากรมชลประทานได้ทำการศึกษาแนวทางการพัฒนาลุ่มน้ำลำภาชีและเลือกเอา
โครงการท่ีมีปัญหาน้อยท่ีสุด โดยจัดจ้างบริษัทท่ีปรึกษาเข้ามาดำเนินการศึกษาแผนพัฒนาลุ่มน้ำและ
ศึกษาความเหมาะสมภายใต้โครงการแก้ปัญหาภัยแล้งและบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำลำภาชี จังหวัดราชบุรี
และกาญจนบุรี แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการแก้ปัญหาของพื้นที่ลุ่มน้ำลำภาชีได้ เน่ืองจากมีข้อจำกัดใน
การพัฒนา อาทิ ผู้เสนอโครงการขาดความเข้าใจในบริบทเชิงพ้ืนที่ ชุมชนขาดกระบวนการมีส่วนร่วมใน
การประชมุ หารือและตดั สนิ ใจ เปน็ ต้น

อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยเล็งเห็นว่าสิ่งแวดล้อมศึกษาเป็นอีกแนวทางหน่ึงที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหา
ทรัพยากรป่าไม้ในจังหวัดราชบุรีได้ เน่ืองจากกระบวนการทางสิ่งแวดล้อมศึกษาจะช่วยพัฒนาให้ทุกคน
มีความรู้ความเขา้ ใจ ตระหนกั รัก และหวงแหนคุณค่าของป่าต้นนำ้ ลำภาชี ท่ีเปรียบเสมือนบ้าน แหล่งน้ำ
และแหลง่ อาหารของชมุ ชนต่าง ๆ ในจงั หวดั ราชบรุ ีตอ่ ไป

4

แหล่งอา้ งองิ
กรมปา่ ไม้. (2557). ข้อมูลสถติ ิปา่ ไม้ปี 57. [ระบบออนไลน์]. แหล่งท่มี า:

http://forestinfo.forest.go.th/Content/file/stat2557/e-book2014-new.pdf
(วนั ท่ี 20 เดือนเมษายน พ.ศ.2559).
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมจังหวัดราชบุรี. 2558. แผนการบริหารจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมในระดับจังหวัด จังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2559-2564.
เอกสารอัดสำเนา.
สำนกั จัดการทรพั ยากรป่าไมท้ ี่ 10 (ราชบรุ )ี . (2565). แผนที่แสดงภาพพน้ื ท่ปี ่าไม้ จงั หวดั ราชบรุ .ี
เอกสารอัดสำเนา.


Click to View FlipBook Version