การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน Reading Promotion Activities Preparing สิรินาฏ วงศ์สว่างศิริ/ Sirinard Wongsawangsiri1 สาระสังเขป การอ่านเป็นกระบวนการพัฒนาความคิด ก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สร้างเสริมประสบการณ์ และมุมมองใหม่ๆ น าไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต อีกทั้งยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์หรือเพื่อ การพักผ่อนหย่อนใจได้อีกด้วย ดังนั้นจึงจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างนิสัยรักการอ่านให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กและเยาวชน ผ่านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของห้องสมุดในรูปแบบ ต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้ห้องสมุดหรือผู้คนทั่วไปสนใจและได้เห็นความส าคัญของการอ่าน ได้ใช้ ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดมากขึ้นซึ่งจะน าไปสู่การอ่านและ มีนิสัยรักการอ่าน ค าส าคัญ : กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน Summary The reading is a part of thinking processing development, to get the knowledge and the experience with new vision for life long learning, useful for relax time too. The reading is very important for the children and youth, then reading promotion in libraries must built in people to love reading book, use information material for reading and developing with preparing reading promotion. Keywords: reading promotion activities, reading promotion activity preparing 1 อาจารย์สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ต.นาวุ้ง อ.เมือง จ.เพชรบุรี Email : [email protected]
92 วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ปี ที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2559 บทน า การอ่านมีความส าคัญเพราะการอ่าน เป็นกระบวนการพัฒนาความคิด ก่อให้เกิด ความรู้ ความเข้าใจ สร้างเสริมประสบการณ์และ ก่อให้เกิดมุมมองใหม่ๆ น าไปสู่การเรียนรู้ตลอด ชีวิต อีกทั้งยังเป็นการใช้เวลาว่างที่มีประโยชน์ หรือ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจได้อีกด้วย ดังนั้น จึงจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างนิสัยรักการอ่าน ให้เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กล่าวถึงบทบาทของรัฐที่ต้องจัด การศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของ ผู้เรียน รวมทั้งจัดแหล่งเรียนรู้และห้องสมุดให้ เหมาะสมส าหรับนักเรียน ซึ่งสนับสนุนและสร้าง เสริมให้ผู้เรียนได้คิดเป็นและสามารถปฏิบัติได้ นอกจากนี้โรงเรียนต่างๆ ได้มีการรณรงค์เกี่ยว การส่งเสริมการอ่านผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน ซึ่งเป็นหน้าที่และ ความรับผิดชอบโดยตรงของห้องสมุดโรงเรียน นั่นเอง บทความนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ ความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ที่จะเป็นประโยชน์ส าหรับนักศึกษา ครู บรรณารักษ์และผู้อ่านทั่วไป ความหมายของกิจกรรมส่งเสริม การอ่าน นักวิชาการได้ให้นิยามความหมายของ กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ไว้ดังนี้ ธาดาศักดิ์วชิรปรีชาพงษ์(2534, หน้า 116) ให้ความหมายว่า กิจกรรมส่งเสริมการ อ่าน หมายถึง บริการห้องสมุดที่ช่วยให้ผู้ใช้ให้มี ความเข้าใจ รู้จักวิธีการอ่าน วิธีเลือกหนังสือ จน มีนิสัยรักการอ่านและมีรสนิยมที่ดีในการอ่าน กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2536, หน้า 131-132) นิยามว่า กิจกรรม ส่งเสริมการอ่าน หมายถึง การจัดกิจกรรมให้ ผู้ใช้ได้เกิดความสนใจ เห็นความส าคัญและ ความจ าเป็นของการอ่าน สร้างความเพลิดเพลิน และพัฒนาความสามารถในการอ่าน จนเป็น นิสัยรักการอ่าน ไพพรรณ อินทรนิล (2546, หน้า 131) อธิบายว่า กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน หมายถึง กิจกรรมส าหรับผู้ใช้ห้องสมุดเพื่อการเข้าถึง หนังสือและสื่อต่างๆ ตามตรงความต้องการให้ ได้มากที่สุดและรวดเร็วที่สุด โดยเฉพาะเด็กและ เยาวชน แม้นมาส ชวลิต (2544, หน้า 16-17) กล่าวว่า กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน หมายถึง การ กระท าเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้สนใจ มีความ สนุกสนานและเพลิดเพลิน เห็นความส าคัญและ ความจ าเป็นของการอ่าน จนพัฒนาไปถึงนิสัย รักการอ่าน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์เครือข่ายทั่วประเทศ(2554, หน้า 153) ให้ความหมายว่า กิจกรรมส่งเสริม การอ่าน หมายถึง การกระตุ้นให้เกิดความรู้สึก อยากที่จะอ่าน เป็นกิจกรรมที่มีการใช้สื่อ ประกอบด้วย เพื่อเป็นการพัฒนานิสัยรักการ อ่านอย่างมีประสิทธิภาพและน าความรู้ที่ได้ไป ใช้ประโยชน์ จากความหมายดังกล่าว สามารถสรุป ได้ว่า กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน หมายถึง การ จัดกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้ ห้องสมุดหรือผู้คนทั่วไปสนใจและได้เห็นความ
วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ปี ที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2559 93 ส าคัญของการอ่าน ได้ใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ของห้องสมุดมากขึ้น ได้อ่านหนังสือมากขึ้น หรือใช้สื่ออื่นๆ ซึ่งจะน าไปสู่การอ่านและ มีนิสัย รักการอ่าน วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการอ่าน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน มี วัตถุประสงค์ส าคัญ 8 ประการ ดังนี้(ไพพรรณ อินทรนิล, 2546, หน้า 131) 1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีนิสัยใฝ่ เรียนรู้และแสวงหาความรู้ 2. เพิ่มพูนทักษะการอ่าน 3. กระตุ้นให้อยากอ่านและพัฒนาเป็น นิสัยรักการอ่าน 4. รู้จักเลือกหนังสือที่จะอ่านได้อย่าง เหมาะสม 5. สร้างความประทับใจในการอ่านให้ เกิดขึ้น 6. เกิดความใกล้ชิดและความผูกพัน ระหว่างบรรณารักษ์กับผู้ใช้ห้องสมุด 7. เกิดความสมัครใจในการอ่านมาก ยิ่งขึ้น 8. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการจัด กิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้ได้ผลดี คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต (2546, หน้า 83–84) อธิบายว่า การจัดกิจกรรมส่งเสริมการ อ่านให้ได้ผลดีนั้น ผู้จัดจ าเป็นต้องค านึงถึง แนวคิด ทฤษฎีและหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัด กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ได้แก่ 1. แนวความคิดและทฤษฎีที่ เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของคนเรา เช่น ระบบประสาทสัมผัสความพึงใจและไม่พึงใจ แนวคิดของคนรุ่นก่อนเรื่องการเรียนที่จะต้อง ประกอบด้วย สุจิปุลิหรือ ฟัง คิด ถาม เขียน ให้ได้ยินได้ฟัง รวมทั้งอ่าน ให้รู้จักคิดและรู้จัก ถาม รู้จักจดบันทึกและเขียน เห็นความส าคัญ ของการใช้หูตา สมอง และมือ ดังนั้น กิจกรรม ส่งเสริมการอ่านที่จะจัดขึ้นต้องง่ายต่อการดูการ ฟัง เร้าให้เกิดความคิด สร้างความประทับใจให้ จดจ า ก่อให้เกิดความสงสัยใคร่รู้ อยากถาม อยากรู้ต่อไป สิ่งที่ได้ยินได้เห็นนั้น น่าสนใจจึง ต้องจด และน าไปเขียนเป็นเรื่องราวได้เป็นต้น 2. แนวความคิดและทฤษฎีที่ว่า ด้วยมนุษย์เป็นสัตว์สังคม กิจกรรมส่งเสริม การอ่านเป็นกิจกรรมที่มีผู้เกี่ยวข้องอย่างน้อย สองคน ได้แก่ ผู้จัดกิจกรรมและบุคคลเป้าหมาย เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นที่ยอมรับของสังคม ดังนั้น จึงควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดย มุ่งเน้นประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมโดยมี แนวคิดดังกล่าวเพื่อท าให้กิจกรรมส่งเสริมการ อ่านประสบความส าเร็จ 3. แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับ การเคลื่อนไหวของมนุษย์ ที่มีวิวัฒนาการ ไปสู่สิ่งที่แปลกใหม่และดีกว่า ดังนั้นในการการ จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแต่ละครั้ง ผู้จัด จะต้องค านึงว่ามีความคิดสร้างสรรค์น าเสนอสิ่ง ใหม่ที่แตกต่างจากคนทั่วไป คนในชุมชน หรือ สถานศึกษาได้เคยจัดมาแล้ว 4. แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับ สุนทรียภาพ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์คือ ต้องอาศัยทั้งความรู้
94 วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ปี ที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2559 และความงามในด้านภาพ เสียงและความคิด เพื่อช่วยท าให้น่าดู น่าฟังและดึงดูดให้ชมเกิด จินตนาการและความจรรโลงใจที่จะอ่าน รูปแบบของกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านใน โรงเรียนสามารถกระท าได้หลายรูปแบบ แต่ กิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่สามารถพบเห็นได้ โดยทั่วไป ได้แก่ 1. การเล่านิทาน เป็นกิจกรรมส าคัญ ส าหรับเด็กที่ปูพื้นฐานความสนใจในการอ่าน และพัฒนาทักษะด้านต่างๆ น าไปสู่การเป็นนัก อ่านที่ดีในอนาคต การเล่านิทาน หมายถึง กิจกรรมการ ถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม การแนะน าหรือการ กระตุ้นให้เด็กความสนใจฟัง ใช้เป็นเครื่องมือ ปลูกฝังให้เด็กเกิดความรัก ความซาบซึ้งในการ อ่านวรรณคดีและวรรณกรรม และพัฒนาตนเอง ให้มีนิสัยรักการอ่าน (กรมวิชาการ กระทรวง ศึกษาธิการ, 2536, หน้า 112) นอกจากนี้ ยัง ช่วยสร้างประสบการณ์ ความคิด ปลูกฝัง ค่านิยม และสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีระหว่างผู้เล่า กับผู้ฟัง (ธารา กนกมณี, 2539, หน้า 461 อ้าง ถึงใน ฉวีลักษณ์บุญยะกาญจน, 2526, หน้า 1) 1.1 วัตถุประสงค์ของการเล่านิทาน การเล่านิทานมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการคล้อยตามเรื่องที่เล่า และอยากติดตามอ่าน 2) ก่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ได้ข้อคิดและคติเตือนใจ 3) พัฒนาทักษะการใช้ภาษา การฟัง พูด คิด ถาม และการสังเกต 1.2 การเตรียมเล่านิทาน ในการเล่านิทานจ าเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้เล่าต้องมีการจัดเตรียมความพร้อมในด้าน ต่างๆ ได้แก่ 1) การเลือกเรื่อง ควรเลือก นิทานที่สนุกสนาน ให้ข้อคิดคติเตือนใจ ตรงกับ ความต้องการและความสนใจ และใช้ระยะเวลา ในการเล่าเหมาะสมกับความสนใจตามวัยของ เด็ก 2) การเตรียมตัว ผู้เล่านิทาน ต้องอ่านเรื่อง จดจ าตัวละคร และเหตุการณ์ทุก ตอนให้ได้เพื่อให้คุ้นเคยกับเรื่องที่จะเล่า ใน กรณีที่เรื่องยาวและมีค าพรรณนามากเกินไป ควรดัดแปลงโดยใช้ค าง่ายๆ ประโยคสั้นๆ และ ฝึกซ้อมการใช้น้ าเสียง ทั้งนี้ ผู้เล่าควรเล่าเป็น เสียงสนทนา ท าเสียงตามอารมณ์ในเรื่องเพื่อให้ ผู้ฟังเกิดอารมณ์คล้อยตาม อีกทั้งสีหน้า ท่าทาง สอดคล้องกับเนื้อหานิทาน และก าหนดวิธีการ เล่าเรื่องเพื่อเพิ่มความสนใจของเด็กยิ่งขึ้น ตลอดจนจัดเตรียมอุปกรณ์ในการเล่าให้พร้อม เช่น หนังสือ ภาพ กระดาษ เป็นต้น 1.3 เทคนิคการเล่านิทาน ในการเล่านิทานนั้น ผู้เล่า สามารถใช้เทคนิคและวิธีการเล่าที่น่าสนใจได้ หลากหลาย ดังนี้ 1) เล่าปากเปล่า โดยใช้น้ าเสียง และแสดงกิริยาท่าทางประกอบ 2) เล่าโดยใช้หนังสือนิทาน 3) เล่าไปพร้อมกับวาดภาพ 4) ใช้ภาพประกอบการเล่า โดย น าภาพที่เกี่ยวข้องกับเรื่องและเล่าเรื่องประกอบ ภาพนั้น 5) เล่าโดยร้องเพลงประกอบ
วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ปี ที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2559 95 6) เล่าโดยใช้หุ่นถุง หุ่นมือ หุ่น นิ้ว เป็นต้น 7) เล่าโดยใช้นิ้วประกอบ 8) เล่าโดยใช้ตัวละครในเรื่อง ติดบนแผ่นกระดาษ 9) เล่าโดยใช้วัสดุช่วย เช่น กระดาษ เชือก เป็นต้น 10) เล่าโดยใช้โสตทัศนวัสดุ ประกอบ เช่น สไลด์แผ่นใส เป็นต้น 1.4 การเตรียมสถานที่เล่านิทาน ผู้เล่านิทานควรมีการจัดเตรียม สถานที่ โดยใช้สถานที่ค่อนข้างสงบเพื่อให้เด็กมี สมาธิในการฟัง จัดที่นั่งให้เด็กทุกคนได้เห็น หน้าตาท่าทางของผู้เล่าและอุปกรณ์ประกอบ การเล่าได้ชัดเจน (กรมวิชาการ กระทรวง ศึกษาธิการ, 2536, หน้า 113) 2. การแสดงหุ่น (Puppet show) การ แสดงหุ่นถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ที่เด็กได้สนุกสนานเพลิดเพลินไปกับเนื้อหาและ ตัวละครตามท้องเรื่อง อีกทั้งยังแฝงข้อคิดคติ เตือนใจ สอดแทรกศิลปวัฒนธรรม และยังช่วย สร้างความสนใจในการอ่านให้กับเด็กมากยิ่งขึ้น อีกด้วย การแสดงหุ่น เป็นการถ่ายทอดเรื่อง ราวหรือแนวคิดให้ผู้ชมได้รับรู้ผ่านการแสดง อาจเป็นการจัดแสดงหุ่นตามเนื้อเรื่องหนังสือ จัดแสดงประกอบการเล่านิทาน หรือจัดแสดง ตลอดเรื่อง เหมาะส าหรับผู้ชมกลุ่มเล็กจ านวน 10-30 คน มีเวทีขนาดย่อมที่พอเหมาะกับการ จัดแสดงหุ่น (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ , 2536, หน้า 113-114; ธารา กนกมณี, 2539, หน้า 466) 2.1วัตถุประสงค์ของการแสดงหุ่น การแสดงหุ่นนั้นมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ให้เด็กความสนใจและอยาก เข้าร่วมกิจกรรม 2) ให้เด็กได้แสดงออกและมีส่วน กระท ากิจกรรมด้วยตนเอง 3) ให้เด็กรู้จักท างานเป็นกลุ่ม 4) ส่งเสริมความสามารถในการ ประดิษฐ์ของเด็กให้รู้จักวัสดุที่เหลือใช้มา ดัดแปลงให้เกิด 2.2 ประเภทของหุ่นที่ใช้ในการ แสดง กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิ- การ (2536, หน้า 114) ได้แบ่งประเภทของหุ่น ที่ใช้ในการแสดงเพื่อกิจกรรมส่งเสริมการอ่านไว้ ดังนี้ 1) หุ่นเงา หุ่นที่มีลักษณะแบบ เจาะลายฉลุ มีไม้เสียบกลางตัวหุ่น และไม้โยง จากอวัยวะอีก ส่วนหนึ่งที่ต้องการให้เคลื่อนไหว ในการเชิด ให้แสงสว่างผ่านตัวหุ่น 2) หุ่นเชิด หรือหุ่นกระบอก เป็นหุ่นที่เชิดด้วยไม้ที่ผูกกับเชือกหรือลวดจาก มือทั้งสองข้างของหุ่น และมีไม้แกนกลางของตัว หุ่น หุ่นกระบอกที่ท าอย่างประณีตสามารถจะท า ให้ชักแขนขา และอวัยวะต่างๆ ได้อย่างเป็น ธรรมชาติ 3) หุ่นชัด หรือหุ่นสายโยง เป็น หุ่นที่ชักสายโยงจากข้างบนของตัวหุ่น มีสาย โยงจากอวัยวะต่างๆ ของหุ่น สายอาจท าจาก เชือกหรือสายเอ็นก็ได้ โยงขึ้นไปผูกกับแผ่นไม้ เวลาเชิดจะขยับทั้งแผ่น หรือขยับเฉพาะสาย
96 วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ปี ที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2559 โยงแขนขาหรืออวัยวะแต่ละเส้นแล้วแต่จะต้อง การให้อวัยวะใดเคลื่อนไหว 4) หุ่นสร้างสรรค์หุ่นที่ประดิษฐ์ ขึ้นเองจากวัสดุเหลือใช้เช่น หุ่นถุงกระดาษ หุ่น ถุงมือ ผ้าขนหนูเป็นต้น 2.3 หลักการเชิดหุ่น ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์ (2542, หน้า 263) ได้อธิบายถึงหลักการเชิดหุ่นไว้ดังนี้ 1) ศึกษาตัวหุ่น ลักษณะของ หุ่นแต่ละตัว ตลอดจนวัสดุที่น ามาท าหุ่น เวลา เชิดจะได้ระมัดระวังและท าได้ถูกต้อง 2) ศึกษาการเชิดหุ่นจากการ แสดงหุ่นที่มีชื่อเสียง ทั้งการแสดงจริงและในวีดิ- ทัศน์ 3) ถ้าเป็นหุ่นมือให้ยกหุ่นขึ้นมา ชูนิ้วขึ้นมา 3 นิ้ว (นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้นิ้วกลาง) แล้วสอดมือเข้าไปในตัวหุ่น โดยให้นิ้วชี้สอดเข้า ตรงหัวส่วนอีก 2 นิ้ว สอดเข้าแขนของตัวหุ่น ทั้งสองข้างท าท่ากระดิกนิ้วให้หุ่นเคลื่อนไหว 4) เตรียมซ้อมให้คล่องหลายๆ ครั้ง ทั้งการทรงตัวหุ่น ระดับของหุ่นและการท า ท่าทาง เลือกท่าทางที่สื่อความหมายได้ดีที่สุด และฝึกบังคับตาของหุ่นให้มองรอบๆ ตัว 5) เวลาเชิดหุ่นให้ใส่อารมณ์ ความรู้สึก ท่าทาง และการกระท าของตัวละคร หุ่นตามเนื้อเรื่อง 6) จดจ าบทของตัวละครหุ่นแต่ ละตัวและเข้าถึงบุคลิกลักษณะ พฤติกรรม เช่น หุ่นลิงต้องเกา หุ่นเป็ดต้องเดินแบบเป็ด ร้อง เสียงก๊าบๆ เวลาพูดตลอดการสนทนาโต้ตอบ เป็นต้น 7) แสดงการเคลื่อนไหวปาก และกิริยาท่าทางของตัวหุ่นให้ตรงกับค าพูด เช่น อ้าปากพูดออกมาให้ทันกับปากที่เคลื่อนไหว พอดีอย่าขยับปากถี่หรือเร็วเกินไป 8) การเคลื่อนไหวให้เหมาะกับ เหตุการณ์ในท้องเรื่อง เช่น กระโดด วิ่ง คุย นอน หัวเราะ ร้องไห้ ฯลฯ โดยสังเกต รายละเอียดท่าทางจากชีวิตจริง 9) รักษาระดับการเชิดให้ผู้ชม มองเห็นได้ชัดเจน เหมาะสม ถ้าเป็นหุ่นชักใยมี สายต้องระวังไม่ให้ขาหุ่นลอยอยู่เหนือพื้นเวที หรือกองอยู่บนเวที 10) เวลาเชิด ถ้าคนเชิดอยู่ด้าน ล่าง ต้องระวังอย่ายกแขนสูงเกินไปจนคนดู สังเกตเห็นแขนผู้เชิดโผล่ขึ้นมา ควรใส่ถุงมือสี ด าเวลาแขนโผล่ขึ้นมาจะได้ดูกลมกลืนไป ด้วยกัน 11) เวลาเชิดผู้เชิดต้องหักข้อ มือให้เหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป เพื่อ ไม่ให้หุ่นหน้าแหงน หรือหักมากเกินไปหุ่นจะ หน้าคว่ า 12) การเชิดหุ่นนิ้ว ถ้าผู้เชิดใช้ นิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 นิ้ว เวลาตัวหุ่นพูดคุยกัน นั่น คือ นิ้วโป้งทั้งมือซ้ายและมือขวาจะพูดคุยกัน เช่น พูด 1 ประโยค นิ้วโป้งของมือซ้ายที่เริ่ม ก่อนจะแยกออกจากนิ้วทั้ง 4 และกระดิกนิ้วขึ้น ลงตามค าพูด และเมื่อพูดจบนิ้วโป้งจะกลับมา ชิดกับนิ้วทั้ง 4 เมื่อนิ้วโป้งของมือขวาพูดตอบก็ จะท าเช่นเดียวกันให้ทันกับการพากย์ ส่วนนิ้ว อื่นๆ ก็ท าเช่นเดียวกัน 13) การเชิดแขนหุ่น ใช้มืออีก มือหนึ่งจับไม้เชิด ทั้ง 2 ไม้ท าให้หุ่นขยับไปมา ท าท่าประกอบต่างๆ ให้สมจริงขณะที่หุ่นพูด บางครั้งผู้เชิดอาจปล่อยไม้ข้างหนึ่งให้ตกห้อย
วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ปี ที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2559 97 และจับไม้เชิดแขนเดียวก็ได้ตามลักษณะท่าทาง ของตัวละคร 14) การเคลื่อนไหวของหุ่น ผู้ เชิดเดินจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งได้ เพื่อให้ เกิดการเคลื่อนไหวให้สมจริง เช่น เดิน วิ่ง หรือ ขยับขึ้นๆ ลงๆ ขึ้นอยู่กับลักษณะนิสัยของตัว ละครตามท้องเรื่องและฉาก 15) การเชิดต้องให้หุ่นหันหน้า เข้าหาผู้ชม ถึงแม้จะเป็นการพูดกันระหว่างหุ่น จะต้องท าท่าทางคุยกันและหุ่นตัวอื่นๆ ก็ต้อง ท าท่าตั้งใจฟังด้วย และเชิดท าท่าไปตามบทที่ เขียนไว้ 2.4 หลักการพากย์หุ่นเชิดมือ หลักการพากย์ประกอบการเชิด หุ่นมือว่า ในขณะที่ท าการแสดงละครหุ่นเชิดนั้น ควรยึดหลักการดังต่อไปนี้ (ฉวีวรรณ คูหาภิ- นันทน์, 2542, หน้า 264 -265) 1) การพากย์และการเชิดหุ่น ควรจะใช้คนๆ เดียวกันทั้งพากย์และเชิดโดย เปลี่ยนเสียงไปตามบุคลิก นิสัย อารมณ์ เพศ วัยของตัวละคร ซึ่งต้องฝึกฝนและซ้อมให้เกิด ความช านาญ ถือว่าเป็นความสามารถพิเศษซึ่ง เกิดการฝึกซ้อมและการเลียนแบบ 2) หากท าการพากย์หลายคน ควรศึกษาบุคลิก ลักษณะนิสัย อารมณ์เพศ วัย ของตัวละครแต่ละตัว เช่น เสียงคนชรา เด็ก พ่อ แม่ เสียงพูดของคนจมูกบี้ คนฟันหลอ เป็นต้น เลือกผู้พากย์ที่มีน้ าเสียงเหมาะสมกับตัวละคร แต่ละตัว 3) ใส่อารมณ์และความรู้สึกไป ด้วยขณะก าลังพากย์ เช่น หัวเราะ ร้องไห้ เสียใจ ตกใจ เป็นต้น 4) นึกถึงภาพต่างๆ ตาม เหตุการณ์ในท้องเรื่องตามไปด้วย 5) เน้นค าพูดที่ส าคัญหรือพูด น้ าเสียงหนักแน่น ชัดเจน ท าให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ ไปด้วย 6) ไม่พูดเร็วหรือช้า หรือพูด มากจนเกินไปจนหุ่นเคลื่อนไหวไม่ทัน 7) พูดให้พอเหมาะกับการ เคลื่อนไหวของหุ่น เช่น การอ้าปากพูดและปิด ปากให้พอดีกับบท 8) พูดโต้ตอบและบรรยายได้ จังหวะเหมาะสม 9) มีปฏิภาณไหวพริบในการ พากย์ ลีลา มุขตลกเหมาะสม เพื่อท าให้เนื้อ เรื่องสนุกสนาน 10) พากย์โดยให้หุ่นได้พูดคุย กับผู้ฟังไปด้วย เช่น การกล่าวทักทาย สวัสดี ท าให้เด็กได้ร่วมกิจกรรมด้วย 11) ก่อนพากย์จริง ควรมีการ บันทึกเสียงไว้ก่อนแล้วเปิดฟังเพื่อซ้อมหากมี ข้อผิดพลาดจะได้แก้ไขได้ก่อนการแสดงจริง 3. เกมส่งเสริมการอ่าน เป็นอีก กิจกรรมที่ใช้ในการดึงดูดให้เด็กได้สนใจการ อ่านและลงมืออ่านได้มาก เกมส่งเสริมการอ่าน เป็นกิจกรรมที่ มีกระบวนการของการเล่นเกม ช่วยให้ผู้เล่นเกม ได้ฝึกทักษะการอ่านได้อย่างรวดเร็ว สนุกสนาน เกิดความรู้ ความเข้าใจจากเนื้อเรื่อง หรือ เนื้อหาวิชาที่อ่านได้อย่างรวดเร็ว ใช้เป็นสื่อหรือ อุปกรณ์การสอนได้ ซึ่งผู้สอนสามารถน า จุดประสงค์ของแต่ละรายวิชามาเป็นจุดประสงค์ ของการผลิตเกมส่งเสริมการอ่านได้อีกด้วย (ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์, 2542, หน้า 317)
98 วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ปี ที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2559 3.1 ประเภทของเกมส่งเสริมการ อ่าน เกมส่งเสริมการอ่านสามารถ แบ่งประเภทได้หลายวิธี ดังนี้(ฉวีวรรณ คูหาภิ- นันทน์, 2542, หน้า 317) 1) เมื่อแบ่งตามจ านวนผู้เล่น สามารถแบ่งได้เป็น 1.1) เกมที่เล่นคนเดียว ได้แก่ เกมต่อภาพ เกมอักษรไขว้เกมวาดภาพ เกมไพ่ เกมพับกระดาษ เกมแต่งตัวให้ตุ๊กตา เกมเติมค า เกมเล่นกล เกมบัตรค า เป็นต้น 1.2) เกมที่เล่นเป็นกลุ่มหรือ เป็นทีม เช่น เกมกลุ่มสัมพันธ์หรือเกมแข่งขัน เช่น เกมทายปัญหา เกมปริศนา เกมตอบ ปัญหาต่างๆ เป็นต้น 2) เมื่อแบ่งตามประเภท อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการท ากิจกรรม สามารถ แบ่งได้เป็น 2.1) เกมที่ไม่ใช้อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์เช่น เกม การละเล่นต่างๆ ที่ใช้ ทักษะทางร่างกาย การเล่นกลางแจ้งและในที่ร่ม นอกจากนั้นเป็นเกมที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเอง โดยใช้ อุปกรณ์ที่หาง่ายและราคาถูก 2.2) เกมที่ใช้อุปกรณ์ เครื่องยนต์กลไกและคอมพิวเตอร์ เช่น เกม คอมพิวเตอร์เกมแข่งรถบังคับวิทยุเป็นต้น 3.2 ลักษณะของเกมส่งเสริมการ อ่านที่ดี เกมส่งเสริมการอ่านที่ดีนั้น ต้องมีลักษณะดังนี้(ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์, 2542, หน้า 318) 1) ใช้เวลาน้อยในการเล่นเกม 2) ช่วยพัฒนาแนวความคิด พื้นฐานให้ผู้เล่น 3) เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ เล่นสนใจอยากอ่านเพิ่มขึ้น 4) พัฒนาด้านร่างกายและ กล้ามเนื้อให้แข็งแรง 5) ฝึกสมองและทักษะความจ า 6) ช่วยให้ผู้เล่นเกิดความคิด สร้างสรรค์ 7) สอดคล้องกับอายุระดับการ ศึกษา ความสนใจและความต้องการของผู้เล่น 8) ช่วยส่งเสริมพัฒนาการใน การเรียนรู้ของเด็ก หรือพัฒนาความพร้อม 9) ท้าทายผู้เล่นให้สนุกสนาน และชวนติดตาม 10) ไม่เสียเวลาในการเล่น 11) ไม่สลับซับซ้อน เด็กเข้าใจง่าย 12) ไม่เสียเวลาในการตรวจ ผลงาน หรือตัดสินใจให้คะแนนการเล่นเกม 13) ผ่านการทดลองและ ปรับปรุงมาเป็นอย่างดีปลอดภัยและไม่เป็นพิษ เป็นภัยกับผู้เล่น 14) ผู้เล่นได้แสดงความ สามารถ และมีส่วนร่วมในบทเรียนและการอ่าน ปลูกฝังความสามัคคีและจริยธรรม คุณธรรม ประเพณีและวัฒนธรรม 15) ราคาไม่แพงเกินไป 3.3 การเลือกเกมมาใช้ใน กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน วิธีการเลือกเกมเพื่อน ามาใช้ใน กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน มีดังนี้(ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์, 2542, หน้า 318-319)
วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ปี ที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2559 99 1) เลือกเกมที่ท้าทายและ สนุกสนาน 2) เลือกเกมที่สอดคล้องกับ เนื้อหา และส่งเสริมการอ่าน 3) พิจารณาเลือกเกมที่ใช้ให้ ตรงกับวัตถุประสงค์และประโยชน์ในการ ส่งเสริมทักษะ เช่น การฝึกกล้ามเนื้อ และนิ้ว ของเด็กในการเล่นเกม ท าให้ได้นิ้วแข็งแรง หรือ ช่วยในการฝึกจับช้อนอาหารและทานอาหาร ด้วยตนเอง เป็นต้น 4) พิจารณาสถานที่เล่นให้ เหมาะสม มีแสงสว่างเพียงพอ 5) จ านวนเกมมีเพียงพอต่อผู้ เล่น 6) จ านวนผู้เล่นเหมาะสม ไม่ มากหรือน้อยเกินไป 7) ระดับการศึกษาและวัยของผู้ เล่นที่ควรอยู่ในวัยและการศึกษาระดับเดียวกัน 8) เกมที่ใช้เวลาในการเล่นมี ความเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยไป 9) กติกาการเล่นต้องเข้าใจได้ ง่ายๆ 10) พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูและ บรรณารักษ์ควรลองเล่นก่อนพิจารณาว่า เหมาะสมหรือไม่เพียงใด 3.4 องค์ประกอบของความส าเร็จ ในการใช้เกมส่งเสริมการอ่าน ในการใช้เกมส่งเสริมการอ่าน ให้ประสบความส าเร็จ มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ (ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์, 2542, หน้า 319-320) 1) อ่านหรือศึกษาวิธีการเล่น และกติกาการเล่นเกมให้เข้าใจก่อนน าไปให้เด็ก เล่น 2) เลือกเกมที่เหมาะสมกับวัย ความรู้ความสนใจ ความต้องการ และตรงกับ วัตถุประสงค์ที่ใช้เล่น 3) มีเอกสารประกอบการเล่น เกมให้ผู้เล่นได้อ่านหรือศึกษาได้ฝึกให้เด็กเล่น ตามขั้นตอนที่เอกสารอธิบาย 4) สาธิต หรืออธิบายการเล่น เกม มีตัวอย่างให้ผู้เล่นได้เข้าใจก่อนการเล่นเกม หรือก่อนการแข่งขัน 5) ให้เด็กอ่านกติกาด้วยตนเอง ให้เข้าใจ หรืออ่านแล้วอธิบายให้ผู้เล่นฟังให้ เข้าใจก่อนเล่นเกม 6) เตรียมรางวัลให้กับผู้เล่น รางวัลที่มอบควรเป็นรางวัลที่ส่งเสริมการเล่น เกมนั้นๆ เช่น เกมแข่งขันวาดภาพระบายสีให้ รางวัลเป็นสีเทียนหรือดินสอสีเป็นต้น 7) เตรียมค าเฉลยของเกมให้ เรียบร้อยและถูกต้อง 8) รักษากติกาอย่างเคร่งครัด 9) เกมต้องมีความยืดหยุ่น เช่น ยืดเวลาได้แต่อย่านานเกินไป เด็กจะเบื่อ 10) อย่าใช้เกมน ามาเล่นซ้ าซาก บ่อยๆ หรือ นานเกินไป จะท าให้เด็กเบื่อได้ 11) ถ้าเป็นเกมการอ่าน ควรมี พจนานุกรมทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ วางอยู่ใกล้เพื่อให้เด็กได้เปิดอ่านได้ 12) รักษาเวลาในการเล่นอย่าง เคร่งครัด 13) พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู ควรให้ค าแนะน าอย่างใกล้ชิด หรือตอบค าถาม ให้กับผู้เล่นเกม แต่ถ้าเป็นการแข่งขัน ไม่ควร ช่วยเหลือผู้เล่นเกมฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นอันขาด ต้องรักษาความเป็นกลางไว้อย่างเคร่งครัด
100 วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ปี ที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2559 ผู้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านใน โรงเรียน ไม่ควรเป็นหน้าที่ของผู้หนึ่งผู้ใด แต่ ควรเป็นความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการอ่าน ควรประกอบด้วย (แม้นมาส ชวลิต, 2546, หน้า 82-83; อัญญาณี คล้าย สุบรรณ์, 2542, หน้า 206) 1. ผู้เกี่ยวข้องในการสอนอ่าน สอน ภาษา และสอนวิชาต่างๆ ในสถานศึกษา 2. บรรณารักษ์และครูบรรณารักษ์ 3. หน่วยงานราชการซึ่งเกี่ยวข้องกับ การเรียนการสอนในสถานศึกษาและการศึกษา นอกโรงเรียน หรือการศึกษาต่อเนื่อง 4. สมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการ อ่าน เช่น สมาคมนักเขียน สมาคมผู้จัดพิมพ์ และผู้จัดจ าหน่ายหนังสือ สมาคมการอ่าน สมาคมห้องสมุด สมาคมภาษาและหนังสือ สมาคมการพิมพ์เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้จัดกิจกรรมต้องได้รับมอบหมาย หน้าที่ และได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารใน ด้านการเงิน บุคลากร และความสะดวกต่างๆ เท่าที่จ าเป็นส าหรับกิจการแต่ละอย่าง ตลอดจน ความร่วมมือจากเพื่อนร่วมงาน เพื่อให้สามารถ ด าเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การจัดกิจกรรม ส่งเสริมการอ่านในโรงเรียนประสบความส าเร็จ และเป็นไปอย่างดีมีประสิทธิภาพ จ าเป็นอย่าง ยิ่งจะได้มีหน่วยงานต่างๆ ที่ให้การช่วยเหลือ สนับสนุน ได้แก่ (ส านักวิชาการและมาตรฐาน ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, 2539, หน้า 38–39) 1) ส านักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน 2) ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา 3) สถานศึกษา 4) ครอบครัว 5) ชุมชน การบริหารงานส่งเสริมการอ่านให้ ประสบความส าเร็จ เพื่อให้การบริหารงานส่งเสริมการอ่าน ในห้องสมุดประสบผลส าเร็จ จ าเป็นต้องได้รับ ความร่วมมือจากผู้บริหารในเรื่องต่อไปนี้ (อัจฉรา ประดิษฐ์, 2550, หน้า 52 – 53) 1. คัดเลือกบุคลากรท าหน้าที่ส่งเสริม การอ่านที่เหมาะสม ทั้งคุณสมบัติด้านความ สนใจในงาน และความพร้อมในการท างาน ส่งเสริมการอ่าน เพื่อให้โรงเรียนมีบุคลากร ท างานส่งเสริมการอ่านเต็มตัว 2. จัดระบบงานส่งเสริมการอ่านให้เป็น รูปธรรม ก าหนดขอบเขต หน้าที่และความ รับผิดชอบให้ชัดเจน 3. ก าหนดผู้ช่วยงานอื่นๆ แก่ผู้รับผิดชอบโดยตรง เพื่อสร้าง “ทีมงาน” ในการแบ่ง เบาความรับผิดชอบ อันจะท าให้บุคลากรมี ก าลังใจในการท างานมากขึ้น เพราะจะท าให้มีที่ ปรึกษา เพื่อนร่วมคิด จะมีก าลังใจในการท างาน 4. อาจหาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการอ่าน ในโรงเรียนโดยการคิดนอกกรอบ เช่น การสร้าง เครือข่ายผู้ปกครองหรือคนในชุมชนให้อาสา เป็นผู้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน 5. จัดให้มีหนังสือหมุนเวียนเปลี่ยนใหม่ เสมอ โดยประสานความร่วมมือกับโรงเรียนใน
วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ปี ที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2559 101 พื้นที่ใกล้เคียงกัน จัดซึ้อหนังสือโรงเรียนละชุด แล้วก าหนดวันน ามาหมุนเวียนสับเปลี่ยน ปัญหาในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการ อ่าน และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความ ส าเร็จในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการ อ่าน โรงเรียนส่วนมากมักมอบหมายให้ ห้องสมุดเป็นผู้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้แก่ นักเรียน วัฒนา บุญเสนอ (2546, หน้า 313- 314) ได้รวบรวมปัญหาที่โรงเรียนอาจพบในการ จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และเสนอแนวทาง การแก้ปัญหา ดังนี้ 1. วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ ไม่มีหรือมี แต่ขาดคุณภาพ 2. งบประมาณมีไม่เพียงพอที่จะใช้ใน กิจกรรม 3. ขาดบุคลากรที่มีความรู้จริง และ บุคลากรที่รับผิดชอบงานมีจ านวนน้อย 4. ขาดความร่วมมือจากผู้ร่วมงาน 5. เวลาในการจัดกิจกรรมซึ่งในแต่ละ โรงเรียนนั้น กิจกรรมมีความหลากหลาย อาจจะ ต้องเบียดบังเวลาเรียนของโรงเรียน ดังนั้น เมื่อครูบรรณารักษ์หรือผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านมีโอกาสพบ ครูอาจารย์ หรือผู้บริหารโรงเรียนควรใช้ความ สุขุม รอบคอบ และความร่วมมือร่วมใจกัน แก้ปัญหา รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อ ประโยชน์แก่เด็กนักเรียน อย่างไรก็ตาม ห้องสมุดโรงเรียน สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้ประสบ ความส าเร็จได้ด้วยเช่นกัน อัจฉรา ประดิษฐ์(2550, หน้า 23) ได้ รวบรวมปัจจัยที่ส่งผลต่อความส าเร็จในการจัด กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในโรงเรียนไว้ดังนี้ 1. ความพร้อมด้านผู้บริหาร กล่าวคือ โรงเรียนมีผู้บริหารที่สนใจการอ่าน มีนโยบาย และวิสัยทัศน์ที่เอื้อต่องานส่งเสริมการอ่านของ โรงเรียน 2. ความพร้อมด้านบุคลากรห้องสมุด หรือผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมการอ่านอื่นๆ โดย โรงเรียนควรมีบุคลากรผู้รับผิดชอบงานส่งเสริม การอ่านอย่างเต็มตัว อย่างน้อย 1 คน เช่น ครู หมวดภาษาไทย ครูบรรณารักษ์ ครูสอนวิชา “รักการอ่าน” ครูหมวดคณิตศาสตร์หรือครูอื่นๆ ซึ่งต้องท างานประสานความร่วมมือและร่วมแรง ร่วมใจกัน ในการส่งเสริมการอ่านทั้งระบบของ โรงเรียน มีความกระตือรือร้นในการท างาน มี เวลา ภาระงานและความรับผิดชอบ ขวัญและ ก าลังใจในการท างาน เป็นต้น 3. ความพร้อมด้านงบประมาณ หมายถึง โรงเรียนมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อ การซื้อหนังสือ หรือท ากิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี 4. ความพร้อมด้านห้องสมุด หรือแหล่ง เรียนรู้อื่นๆ ในโรงเรียน กล่าวคือ โรงเรียนมี ห้องสมุดที่เปิดให้บริการสม่ าเสมอ ทุกวัน และมี หนังสือไม่ต่ ากว่า 20,000–30,000 เล่ม และเป็น หนังสือที่ตอบสนองความต้องการของนักเรียน แต่หากไม่มีห้องสมุดก็ควรจัดให้มีมุมหนังสือใน ห้องเรียน หรือมีทั้งสองอย่างควบคู่กัน
102 วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ปี ที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2559 ขณะเดียวกัน สถานที่และสภาพแวดล้อมต่างๆ ควรมีบรรยากาศของการส่งเสริมการอ่าน 5. ความพร้อมด้านกิจกรรมส่งเสริมการ อ่าน โรงเรียนมีกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่าง หลากหลายและต่อเนื่อง รวมทั้งมีความน่าสนใจ ดึงดูดให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วมได้ 6. ความพร้อมด้านนักเรียน นักเรียน สนใจกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน มีอาสาสมัคร นักเรียนช่วยงานบรรณารักษ์ เป็นบรรณารักษ์ น้อยในห้องสมุด นักเรียนมีความกระตือรือร้น สนใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่าน 7. ความสามารถในการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน หรือ หน่วยงานเอกชน เพื่อสนับสนุน และส่งเสริม กิจกรรมการอ่าน ท าให้การอ่านไม่ใช่ภาระหนัก ที่จ ากัดขอบเขตเพียงให้โรงเรียนรับผิดชอบ เท่านั้น แต่ถ่ายทอดความรับผิดชอบต่อเนื่อง ไปสู่เวลานอกโรงเรียนของเด็กด้วย บทสรุป รัฐบาลให้ความส าคัญกับการอ่านและ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ดังนั้น ห้องสมุดโรงเรียนในฐานะที่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ ส าคัญส าหรับเด็กและเยาวชน จึงควรได้รับ ความร่วมมือจากหน่วยงานและบุคลากรที่ เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ตลอดจนคัดเลือกกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่ เหมาะสมกับนักเรียนของโรงเรียน เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ. (2536). คู่มือการด าเนินงานห้องสมุด โรงเรียนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง. _______. (2539). ชุดฝึกอบรมเรื่องการ พัฒนาห้องสมุดโรงเรียนเล่ม 4 การบริการและกิจกรรมห้องสมุด โรงเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์. (2554). บรรณารักษ์: คู่มือฝึกอบรม ครู. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2527). การท าหนังสือ สาหรับเด็ก (บรรณ.441) (พิมพ์ครั้ง ที่4). กรุงเทพฯ: บูรพาสาส์น. ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). สร้างเสริมนิสัย รักการอ่านให้เด็กได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: สุวีรียาสาส์น. ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์. (2534). หลัก บรรณารักษศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. ไพพรรณ อินทรนิล. (2546). การส่งเสริม การอ่าน. ชลบุรี: ภาควิชา บรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. แม้นมาส ชวลิต. (2544). แนวทางการส่งเสริม การอ่าน (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ปี ที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2559 103 วัฒนา บุญเสนอ. (2546). กิจกรรมส่งเสริม การอ่านกับการแก้ปัญหาของ โรงเรียน. ใน กิจกรรมส่งเสริมการ อ่าน (หน้า 313 - 316) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. อัจฉรา ประดิษฐ์. (2550). ชวนเด็กไทยให้ เป็นนักอ่าน (1). กรุงเทพฯ: ส านักงานอุทยานการเรียนรู้. อัญญาณี คล้ายสุบรรณ์. (2542). วรรณกรรมส าหรับเด็ก. กาญจนบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏ กาญจนบุรี.