1
รายงานการตดิ ตัง้ อปุ กรณ์ LiDAR และเสาตรวจวัดสภาพภมู ิอากาศ
รายงานฉบับนี้จัดทำโดยบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ ธุรกิจ จำกัด (ผู้รับจ้าง) ภายใต้สัญญาจ้าง กับบริษัท
เนช่ันแนล พาวเวอร์ ซพั พลาย จำกดั (มหาชน) (ผ้วู า่ จ้าง)
ช่ือโครงการ โครงการศึกษาคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพลม สำหรับการพัฒนาโครงการผลิตกระแสไฟฟ้า
จากพลังงานลมขนาดใหญ่และการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในพื้นที่ภาคตะวันออก
และภาคตะวันออกเฉยี งเหนือของประเทศไทย
ผูว้ ่าจ้าง บริษทั เนชนั่ แนล พาวเวอร์ ซัพพลาย จำกัด (มหาชน)
ผู้รบั มอบ นายธนรัตน์ วิทยเตชะกลุ
วัตถปุ ระสงค์ รายงานการติดตั้งอุปกรณ์วัดลมแบบลำแสงเลเซอร์ (LiDAR) และลักษณะของพื้นที่ที่ติดตั้ง
เพอ่ื วัดบันทึกคา่ ลมเฉพาะ ท่ตี ำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอบุ ลราชธานี
รายงานเลขที่ 2565/NPS/02
สถานะ รายงานฉบบั นำเสนอ
ประเภท รายงานการตดิ ต้ังอุปกรณ์ LiDAR และเสาตรวจวัดสภาพภูมอิ ากาศ
วนั ท่ีเสนอ 24 มิถนุ ายน พ.ศ. 2565
ผู้รวบรวม/เรียบเรยี งรายงาน (นายพฤทธิพล อักษรมี)
ผู้จดั การแผนกพฒั นาโครงการและธรุ กจิ
ผตู้ รวจสอบรายงาน (นายธนคณิ ชยั รัตน์)
ประธานเจ้าหนา้ ทฝ่ี ่ายปฏบิ ัติการ
ผู้อนมุ ตั ิรายงาน
(นายสุเมธ สุทธภกั ติ)
ประธานเจ้าหนา้ ท่บี ริหาร
(รหสั นักวิจยั สากล orcid.org/000-0003-0466-6259)
ผูว้ ่าจ้างพจิ ารณาแลว้ เหน็ ชอบรายงาน
ลงช่อื ผู้ตรวจรบั รายงาน
(นายธนรตั น์ วทิ ยเตชะกุล)
บรษิ ทั เนช่นั แนล พาวเวอร์ ซพั พลาย จำกดั (มหาชน)
วันท่ี...................เดอื น................................พ.ศ. 2565
สารบัญ
รายงานการตดิ ต้ังอุปกรณ์ LiDAR...............................................................................................................................................1
1. บทนำ................................................................................................................................................................................2
2. ขอ้ มลู พน้ื ทท่ี ี่ทำการตดิ ตัง้ .................................................................................................................................................3
2.1 ตำแหน่งทต่ี งั้ ...........................................................................................................................................................3
2.2 ข้อมลู ของตำแหน่งทต่ี ้งั สถานตี รวจวดั LiDAR.........................................................................................................4
3. อปุ กรณ์ท่ีได้รับการตดิ ต้งั ในพ้ืนทคี่ ดั เลือก.........................................................................................................................6
3.1 อปุ กรณ์ LiDAR.......................................................................................................................................................6
3.2 สถานีตรวจวดั สภาพอากาศ.....................................................................................................................................7
3.3 อุปกรณ์จ่ายไฟฟา้ ...................................................................................................................................................8
3.4 การส่อื สารและการเก็บขอ้ มูล .................................................................................................................................8
4. การดำเนนิ งานและการบำรุงรกั ษา ...................................................................................................................................8
4.1 การเขา้ ถงึ ขอ้ มูลและการจัดการ..............................................................................................................................8
4.2 การตรวจวดั ทศิ ทาง.................................................................................................................................................8
4.3 กำหนดการบำรุงรักษา............................................................................................................................................9
4.4 การเขา้ บำรุงรกั ษานอกเหนอื จากกำหนดการ .......................................................................................................10
4.5 การทวนสอบและตรวจสอบความใช้ได้ของอุปกรณ์..............................................................................................10
4.6 ระยะเวลาการดำเนนิ งานตดิ ตงั้ อปุ กรณ์ LiDAR ....................................................................................................11
รายงานการติดตงั้ เสาตรวจวัดสภาพภูมอิ ากาศ........................................................................................................................ 12
5. พนื้ ทท่ี ่ที ำการติดต้ังเสาตรวจวดั สภาพภูมอิ ากาศ ........................................................................................................... 13
5.1 ตำแหน่งทตี่ ้งั .........................................................................................................................................................13
5.2 ลักษณะภูมิประเทศตำแหน่งท่ีตั้ง..........................................................................................................................14
6. เสาตรวจวดั สภาพภูมิอากาศและอปุ กรณ์ ...................................................................................................................... 16
6.1 ลักษณะฐานรากหรอื ฐานแผ่ .................................................................................................................................16
6.2 ลักษณะของเสาตรวจวัดสภาพภมู อิ ากาศ..............................................................................................................17
6.3 อปุ กรณเ์ ซน็ เซอรต์ รวจวัดสภาพภมู ิอากาศ............................................................................................................19
6.4 ระบบความปลอดภยั ของอุปกรณไ์ ฟฟ้าและไฟสญั ญาณเตอื นการบิน ...................................................................21
7. การดำเนินงานและการบำรุงรกั ษา ................................................................................................................................ 22
7.1 การเขา้ ถงึ ขอ้ มูลและการจดั การ............................................................................................................................22
สารบัญ (ต่อ)
7.2 กำหนดการบำรงุ รกั ษา..........................................................................................................................................22
7.3 การทวนสอบและตรวจสอบความใชไ้ ดข้ องอุปกรณ์..............................................................................................22
7.4 การตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนการตดิ ต้ังและการเตรยี มความพรอ้ มสถานท่ี ..............................................................22
เอกสารแนบท้าย ..................................................................................................................................................................... 25
เอกสารแนบทา้ ยที่ 1 ข้อมลู เชิงเทคนคิ อปุ กรณ์ LiDAR........................................................................................................... 26
เอกสารแนบทา้ ยที่ 2 แบบฟอรม์ รายงานการตรวจงานบำรงุ รักษาอปุ กรณ์ LiDAR และบนั ทกึ การเยยี่ มชม ........................... 27
เอกสารแนบท้ายท่ี 3 แบบเสาตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ.......................................................................................................... 29
เอกสารแนบทา้ ยที่ 4 ใบรบั รองการทวนสอบความใชไ้ ด้ของอุปกรณว์ ดั ลมแบบ 3 ถ้วย.......................................................... 39
เอกสารแนบทา้ ยที่ 5 ใบรับรองการทดสอบอุปกรณ์ตรวจวดั อณุ หภมู แิ ละค่าความช้ืนสัมพทั ธ์................................................ 67
เอกสารแนบทา้ ยที่ 6 แผนการดำเนินงานเก็บค่าลมฉบับปรบั ปรงุ (30 พฤษภาคม 2565)...................................................... 69
เอกสารแนบทา้ ยท่ี 7 แผนการดำเนนิ การติดต้ังอปุ กรณ์ LiDAR และเสาตรวจวดั สภาพภมู อิ ากาศ......................................... 70
เอกสารแนบท้ายที่ 8 แบบฟอร์มการตรวจงานบำรุงรกั ษาเสาตรวจวดั สภาพภมู อิ ากาศ.......................................................... 71
เอกสารแนบทา้ ยท่ี 9 ขอ้ มลู เชงิ เทคนิคของอปุ กรณ์วดั ทิศทางและความเรว็ ลม....................................................................... 73
เอกสารแนบท้ายที่ 10 ขา่ วการตดิ ตั้งอุปกรณ์ LiDAR และเสาตรวจวดั สภาพภมู ิอากาศ......................................................... 80
เอกสารแนบทา้ ยที่ 11 ใบอนุญาตกอ่ สรา้ งอาคาร อ.1............................................................................................................. 81
เอกสารแนบทา้ ยที่ 12 มอก. 277-2535 ท่อเหลก็ อาบสังกะสี ................................................................................................ 82
เอกสารแนบทา้ ยที่ 13 มอก. 20/2543 เหล็กเสน้ เสริมคอนกรตี ............................................................................................. 90
เอกสารแนบท้ายที่ 14 ใบขนอปุ กรณ์ LiDAR........................................................................................................................ 100
เอกสารแนบทา้ ยท่ี 15 หนังสอื แจง้ ตำแหนง่ ที่ตัง้ เสาตรวจวดั สภาพภมู ิอากาศ....................................................................... 101
เอกสารแนบท้ายท่ี 16 คู่มือการใชง้ าน Data Logger........................................................................................................... 102
สารบญั รปู ภาพ
รปู ภาพท่ี 1 แผนทต่ี ง้ั อุปกรณ์ LiDAR.........................................................................................................................................3
รปู ภาพท่ี 2 ภาพถ่ายพาโนรามาของพน้ื ท่ีจุดติดต้ังอุปกรณ์ LiDAR............................................................................................4
รปู ภาพท่ี 3 ภาพก่อสร้างและตดิ ตง้ั อุปกรณ์ LiDAR...................................................................................................................5
รูปภาพที่ 4 ระดับช้ันการตรวจวดั ของอปุ กรณ์ LiDAR สำหรบั โครงการนี้..................................................................................6
รปู ภาพท่ี 5 จุดติดต้ังอุปกรณ์ LiDAR .........................................................................................................................................7
รูปภาพท่ี 6 หลกั การทำงานและการตดิ ตง้ั อุปกรณ์ LiDAR ........................................................................................................9
รูปภาพที่ 7 การเขา้ บำรงุ รกั ษาอปุ กรณ์ LiDAR....................................................................................................................... 10
รูปภาพที่ 8 แผนการดำเนินการตดิ ตงั้ อุปกรณ์ LiDAR ............................................................................................................ 11
รปู ภาพท่ี 9 แผนทต่ี ั้งเสาตรวจวดั สภาพภมู ิอากาศ.................................................................................................................. 13
รูปภาพท่ี 10 ภาพถา่ ยพาโนรามาของพน้ื ทจี่ ุดตดิ ต้งั เสาตรวจวดั สภาพภูมิอากาศ................................................................... 14
รูปภาพที่ 11 ภาพก่อสร้างและตดิ ตง้ั เสาตรวจวดั สภาพภมู อิ ากาศ.......................................................................................... 15
รูปภาพที่ 12 ลักษณะฐานราก ................................................................................................................................................ 16
รปู ภาพที่ 13 ลกั ษณะเสาตรวจวัดสภาพภมู ิอากาศ................................................................................................................. 17
รูปภาพที่ 14 ภาพถ่ายการตรวจเช็คความตรงและความตงึ ของสายสเตย์............................................................................... 18
รปู ภาพที่ 15 ระดบั ชั้นการตรวจวดั ของอปุ กรณต์ รวจวดั สภาพภมู อิ ากาศ............................................................................... 19
รปู ภาพที่ 16 ภาพอปุ กรณแ์ ละเสาตรวจวัดสภาพภูมอิ ากาศ................................................................................................... 20
รูปภาพท่ี 17 ระบบความปลอดภยั ของอุปกรณ์ไฟฟา้ และไฟสญั ญาณเตือนการบิน................................................................ 21
รูปภาพที่ 18 แผนการดำเนินการกอ่ สรา้ งเสาตรวจวดั สภาพภมู อิ ากาศและตดิ ตง้ั อปุ กรณเ์ ซ็นเซอรว์ ดั ลม............................... 24
รายงานการตดิ ตัง้ อุปกรณ์ LiDAR
1
1. บทนำ
รายงานการติดตั้งอุปกรณ์ LiDAR และเสาตรวจวัดสภาพภูมิอากาศฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ว่าจ้างทราบ
ความก้าวหน้าของโครงการ หลังจากที่ผู้ว่าจ้างได้ยืนยันพื้นที่ท่ีเหมาะสมที่สุดที่จะติดตั้งอุปกรณ์วัดลมในพื้นท่ี
ตำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี แล้ว ผู้รับจ้างจึงได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์วัดค่าลมแบบ
ลำแสงเลเซอร์ (LiDAR) โดยมวี ตั ถุประสงค์ ดงั น้ี
1. เพื่อวัดและบันทึกค่าลมเฉพาะ ที่ตำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี สำหรับใช้เป็น
คา่ ตวั แทนในการประมาณการผลผลติ ไฟฟา้ และความเหมาะสมทางการลงทุนของโครงการ
2. เพื่อตรวจสอบความพอเพยี งของทรพั ยากรลม สำหรบั การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้ากงั หันลม
3. เพ่ือเปรียบเทยี บความแตกตา่ งของลักษณะลมในบริเวณพ้ืนทศี่ ึกษาในแต่ละจุดทดสอบ
4. เพ่ือนำข้อมลู ไปกำหนดลักษณะโครงการและการขออนุญาตในสว่ นตา่ ง ๆ สำหรบั โครงการ
อุปกรณ์วัดค่าลมที่ผู้รับจ้างได้นำไปติดตั้งในพื้นที่เฉพาะดังกล่าว เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดค่าอากาศพื้นฐานที่
เกี่ยวข้องตามมาตรฐาน IEC 61400-12-1 และเป็นอุปกรณ์วัดลมแบบลำแสงเลเซอร์ของ iWind LiDAR ซึ่งเป็น
อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพตรวจวัดค่าลมและเก็บรวบรวมข้อมูลได้ถึงระดับความสูง 350
เมตร ซึง่ สามารถกำหนดจุดช้ันความสูงสำหรับตรวจวัดได้ทง้ั หมด 22 จุดระดบั
ตามแบบแผนการตรวจวัดสภาพภมู ิอากาศ ผู้รับจา้ งได้ทำการติดตัง้ เสาฯ สูง 120 เมตร (งานเสริมนอกเหนอื
สัญญาจ้าง) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ค่าลมจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์วัดลมเป็นจุดเชื่อมโยงและเป็นแก่น
ในการกำหนดค่า รวมทั้งทวนสอบค่าลมจากอุปกรณ์ LiDAR ซึ่งจะทำให้โครงการมีข้อมูลที่เพียงพอสำหรับ
วางแผน ออกแบบพัฒนาโครงการ ตลอดจนใช้เป็นข้อมูลไปประกอบการตดั สินใจในการเลือกติดตั้งกังหันลมทีม่ ี
ขนาดเหมาะสมในช่วงความเร็วลมสำหรบั พน้ื ท่นี ี้
รายงานฉบับนี้จึงขอนำเสนอรายละเอียดของสถานที่ติดตั้ง ลักษณะของพื้นที่ ตลอดจนรายละเอียดของ
อปุ กรณว์ ดั คา่ ลม แหล่งจา่ ยไฟ และระบบเก็บข้อมูล การตรวจสอบวัดค่าลมจากอปุ กรณว์ ดั คา่ ลม (LiDAR) เทียบ
กับเสาตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ (Met Mast) การรวบรวมและประมวลผลข้อมูลจาก LiDAR และเสาตรวจวัด
สภาพภูมิอากาศสำหรับการวิเคราะห์ประมวลผลค่าลม ณ จุดติดตั้ง รวมทั้งแผนระยะเวลาการดำเนินงานเก็บ
ข้อมลู จากอปุ กรณ์วดั ลมดังทกี่ ลา่ วไปแลว้ ขา้ งต้น
2
2. ข้อมูลพื้นทท่ี ที่ ำการตดิ ตัง้
2.1 ตำแหนง่ ทต่ี ั้ง
โครงการทำการตดิ ตั้งอปุ กรณ์ LiDAR สำหรบั การตรวจวัดและเก็บข้อมลู ทิศทางลมและความเร็วลม ตั้งอยู่
ในพื้นที่หมู่ 10 ตำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอเมืองอุบลราชธานี
ประมาณ 120 กิโลเมตร ไปทางทศิ ตะวนั ออกเฉยี งเหนือ โดยสามารถดตู ำแหน่งท่ีตัง้ ไดจ้ ากรปู ภาพท่ี 1
รูปภาพที่ 1 แผนท่ตี ัง้ อุปกรณ์ LiDAR
3
2.2 ข้อมูลของตำแหน่งท่ตี ้ังสถานตี รวจวัด LiDAR
พน้ื ทีต่ ดิ ต้ังอปุ กรณ์ LiDAR ตั้งอยใู่ นบรเิ วณบ้านของเจ้าของทดี่ ิน คือ นางมณีรัตน์ คำมงคล โดยไดม้ กี ารทำ
บันทึกความร่วมมือระหว่างเจ้าของบ้านและทางบริษัทฯ ในการขอเข้าใช้พื้นที่และขออนุญาตเดินสายไฟฟ้า
จากอาคารบ้านเรือนมายังจุดติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว ลักษณะพื้นที่โดยรวมน้ันเป็นพื้นท่ีเปรียบเสมือนแหลมยื่น
ไปทางทศิ ตะวันออกชีไ้ ปทีป่ ระเทศลาว ซึ่งถกู แบ่งแยกด้วยแมน่ ำ้ โขง
ลกั ษณะพืน้ ทีโ่ ดยรอบของอุปกรณ์ LiDAR นน้ั เปน็ พ้ืนทเี่ ปดิ โล่งในรัศมีที่มากกว่า 5 เมตร อย่างมีนัยสำคัญ
เนื่องจากการทำงานของอุปกรณ์ LiDAR จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางที่อาจมาบดบังแสงเลเซอร์จากตัวเครื่องที่ถูก
ฉายออกมา โดยทิศตะวันตกและทิศตะวันออก มีอาคารบ้านเรือนและโรงเลี้ยงสัตว์ห่างออกไปราว 18 เมตร
ต้นไม้สูงในบริเวณใกล้เคยี ง คือ ต้นไผ่ ซึ่งมีความสงู โดยประมาณอยู่ท่ี 4-5 เมตร ห่างจากจุดติดตัง้ อุปกรณ์ราว
10 เมตร ไปทางทิศใต้ ในส่วนของระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล จุดดังกล่าวอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล
กวา่ 160 เมตร สิ่งปลกู สร้างใกล้เคยี ง คือ บ้านเรอื นสำหรบั อยอู่ าศัย 2 ชนั้ ตัง้ อย่หู ่างออกมา 20 เมตร
รูปภาพท่ี 2 ภาพถา่ ยพาโนรามาของพืน้ ทจี่ ดุ ตดิ ต้งั อปุ กรณ์ LiDAR
4
รูปภาพท่ี 3 ภาพก่อสรา้ งและตดิ ตง้ั อุปกรณ์ LiDAR 5
3. อุปกรณ์ท่ไี ด้รับการตดิ ตงั้ ในพ้นื ทีค่ ัดเลอื ก
3.1 อุปกรณ์ LiDAR
อุปกรณ์ LIDAR ที่ได้รับการติดตั้งสำหรับโครงการนี้นั้น คือ iWind LiDAR by Leice โดยหลักการทำงาน
ของอุปกรณ์จะอธิบายต่อไปในหัวข้อนี้ ในส่วนของข้อมูลเชิงเทคนิคทั้งหมดของอุปกรณ์ LiDAR สามารถดูได้
จากเอกสารแนบท้ายที่ 1
อุปกรณ์ LiDAR ถูกติดตั้งบนฐานรากคอนกรีตสูง 25 เซนติเมตร โดยมีการติดตั้งเสาทั้งหมด 4 ต้น สูง
190 เซนตเิ มตร สำหรับการล้อมรั้วเพื่อป้องกันการโจรกรรมและสตั วช์ นดิ ต่าง ๆ เข้าไปในบริเวณใกล้เคียงและ
รบกวนการทำงานของอุปกรณ์ นอกจากน้ยี ังมีการเทพ้ืนคอนกรีตในขอบเขตท่ีได้ทำการลอ้ มร้วั เพอ่ื ป้องกันมิให้
หญา้ หรือวชั พืชต่าง ๆ เตบิ โตขึ้นในบริเวณดงั กลา่ ว ซึ่งอาจเปน็ แหล่งทอ่ี ยู่อาศยั ของแมลงและสัตว์มีพิษ
การทำงานของอุปกรณ์ LiDAR นัน้ จะทำการบนั ทกึ ข้อมูลอยา่ งตอ่ เน่ืองทุก ๆ 1 วินาที และจะบนั ทึกสถิติ
ค่าเฉลี่ย พรอ้ มกบั การจดบันทึกขอ้ มลู คา่ ความเร็วลมที่ตำ่ และสูงที่สดุ คา่ เบี่ยงเบนมาตรฐาน คา่ ความเร็วลมทั้ง
แนวนอนและแนวตั้ง และทิศทางลม ณ ช่วงเวลาตา่ งๆ โดยทางบรษิ ัทฯ ได้ตั้งค่าเฉล่ียมาตรฐานการเก็บข้อมูล
ไวท้ ่ี 10 วนิ าที ทช่ี ั้นความสงู ท้ังหมด 20 ชัน้ ด้วยกนั การกำหนดค่าชั้นความสงู สามารถดไู ดจ้ ากรูปภาพท่ี 4
รปู ภาพที่ 4 ระดับชน้ั การตรวจวดั ของอปุ กรณ์ LiDAR สำหรับโครงการนี้ 6
ขอ้ มูลความเร็วลมและทิศทางลมที่ถูกจดบันทึกโดยอุปกรณ์ LiDAR น้ัน จะถูกนำมาเปรยี บเทียบและทวน
สอบกับข้อมูลอีกชุดหนึ่ง ซึ่งถูกจัดเก็บโดยเสาตรวจวัดสภาพภูมิอากาศที่ทางบริษัทฯ ได้ทำการติดตั้งไว้ใน
บริเวณใกล้เคียงเป็นระยะเวลา 1 ปี เป็นอย่างน้อย ก่อนที่อุปกรณ์ LiDAR จะถูกย้ายออกและนำไปติดตั้งที่จดุ
อื่น ๆ อีก 3 จุดในตำบลนาแวง (สามารถดูได้จากรูปภาพที่ 5) เพื่อขยายอาณาเขตสำหรับการจัดทำแผนที่ลม
ในพื้นท่ีตำบลนาแวง โดยการทวนสอบ (Verification) นจี้ ะถูกจดั ทำข้ึนตามมาตรฐานสากล IEC 61400-12-1
รปู ภาพท่ี 5 จดุ ติดตั้งอปุ กรณ์ LiDAR
3.2 สถานตี รวจวดั สภาพอากาศ
อุปกรณ์ LiDAR ได้ทำการติดตั้งเซ็นเซอร์ 3 ชนิด สำหรับเก็บค่าสภาพภูมิอากาศในบริเวณ คือ อุปกรณ์
ตรวจวดั อณุ หภมู ิ (Temperature) อปุ กรณว์ ดั คา่ ความชืน้ สัมพัทธ์ (Relative Humidity) และอุปกรณต์ รวจวัด
ค่าความกดอากาศ (Air Pressure Sensor) ซึ่งข้อมูลเหล่าน้ีจะถูกนำมาทวนสอบกับข้อมูลเสาตรวจวัดสภาพ
ภูมิอากาศ ซึ่งทางบริษัทฯ ได้มีการติดตั้งเสาวัดสภาพภูมิอากาศในบริเวณใกล้เคียง โดยมีความสูง 120 เมตร
เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับการทวนสอบอุปกรณ์ LiDAR ซึ่งสามารถดูได้รายงานการติดตั้งเสาตรวจวัด
สภาพภูมอิ ากาศ
7
3.3 อุปกรณ์จ่ายไฟฟ้า
การจา่ ยไฟฟ้าเข้าไปท่ีอุปกรณน์ ้ัน ทางบริษัทฯ ได้มีการทำความร่วมมือกับผู้ดูแลซึ่งอาศัยในพ้ืนที่ใกล้เคียง
เพื่อขอใช้ไฟฟ้าจากทางผู้ดูแล ดังนั้นจึงมีการติดตั้งเสาและพาดสายไฟจากอาคารบ้านเรือนในพื้นที่ใกล้เคียง
มายังตัวอุปกรณ์ และได้ทำการติดตั้งระบบ Ground พร้อมตรวจสอบค่า Ground ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
เข้ากับอุปกรณ์สำรองไฟฟ้า UPS เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาแก่อุปกรณ์ LiDAR เช่น ไฟดับ ไฟตก โดยอุปกรณ์
สำรองไฟฟ้า มีขนาด 1,500 VA สามารถทำงานได้ต่อเนื่อง ในกรณีที่การจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่เกิดปัญหา ไม่
สามารถสง่ กระแสไฟฟ้าเข้ามาเลยี้ งอาคารบา้ นเรือนในพื้นท่ี
3.4 การส่อื สารและการเกบ็ ขอ้ มูล
การสื่อสารหรือการเข้าถึงอุปกรณ์ผ่านอินเทอร์เน็ตหรือรโี มท คอนโทรล อุปกรณ์ LiDAR ของทางบริษัทฯ
สามารถเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่าน Router และ Sim Card ดังนั้นจึงทำให้ทีมผู้เชี่ยวชาญเข้าถึงตัว
อุปกรณ์ ได้แบบ Real-Time ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยทางบริษัทฯ ได้จำกัดบุคลากรที่สามารถเข้าถึง
ขอ้ มูลน้เี พยี งแค่ 1 คนเทา่ นัน้
4. การดำเนนิ งานและการบำรงุ รกั ษา
อุปกรณ์ LiDAR ได้นำไปติดตั้งในพื้นที่ตำบลนาแวงเป็นเวลา 1 ปี โดยทางบริษัทฯ เล็งเห็นถึงความสำคญั
ของระยะเวลาการเก็บข้อมูลให้มีความต่อเนื่อง จึงได้มีการทวนสอบอุปกรณ์ก่อนการติดตั้งจริงและได้มีการ
ขยายแผนการเก็บข้อมูลเพิ่มออกไปเป็นระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งจะมีการเคลื่อนย้ายจุดติดตั้งทุกๆ 2 เดือน
หลังจากเก็บข้อมูลครบ 1 ปี ในรัศมีที่ห่างกันไม่ต่ำกว่า 5 กิโลเมตร เพื่อให้ได้ข้อมูลทรัพยากรลมที่ครอบคลุม
สำหรับการจดั ทำแผนทล่ี มในพื้นท่ตี ำบลนาแวง จงั หวัดอบุ ลราชธานี
4.1 การเข้าถงึ ข้อมูลและการจัดการ
จากที่ได้กล่าวถึงในหัวข้อ 3.4 ทางทีมผู้เชี่ยวชาญของบริษัทสามารถเข้าถึงและดึงข้อมูลจากอุปกรณ์
LiDAR ได้แบบ Real-Time โดยทางบริษัทฯ จะทำการรีโมทเข้าไปเก็บข้อมูลทุก ๆ สัปดาห์ เพื่อนำข้อมูลมา
วิเคราะห์และจัดทำรายงานประจำเดือนเพื่อนำส่งแก่ผู้ว่าจ้างต่อไป นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ได้มีการจัดทำ
Application สำหรับ Smartphone ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และ IOS เพื่อรายงานความคืบหน้าการ
ดำเนนิ งานต่างๆ ให้ทางผู้วา่ จา้ งทราบแบบ Real-Time
4.2 การตรวจวดั ทิศทาง
หลักการตรวจวัดและบ่งชี้ทิศทางลมของอุปกรณ์ LiDAR จะทำการโดยอาศัยลำแสงเลเซอร์ 4 ลำแสง
องศาการฉายทำมุม 15 องศา ขึ้นไป 4 ทิศทาง ซึ่งข้อกำหนดในการวางตัวเครื่องนั้น จะต้องหันตัวเครื่องไป
ทางทิศเหนอื (True North) ตวั ลำแสง 4 ลำแสงเลเซอร์นัน้ จะฉายข้นึ ไปในทศิ ตะวันออกเฉียงเหนอื ตะวนั ออก
เฉียงใต้ ตะวันตกเฉียงใต้ และตะวันตกเฉียงเหนือ ตามลำดับ ตัวลำแสงเลเซอร์แต่ละอันจะทำหน้าที่ตรวจจับ
อนภุ าคท่เี คล่อื นท่ีอยู่ในชัน้ ความสงู ตา่ งๆ ซึง่ ตัวอปุ กรณจ์ ะทำการคำนวณระยะความสูงโดยการนับระยะเวลาที่
แสงเลเซอร์ฉายขึ้นไปกระทบกันอนุภาคในชั้นความสูงนั้นๆ และคำนวณระยะเวลาที่แสงนั้นสะท้อนกลับไปที่
8
ตวั เคร่ือง ดงั น้นั การตรวจวัดและบง่ ช้ที ิศทางจะถูกจัดทำโดยการเทยี บค่าต่างๆ ของลำแสงเลเซอร์ท้ัง 4 ลำแสง
เขา้ ด้วยกนั หากลำแสงนั้นมีคา่ แกน x ทตี่ ดิ ลบ แสดงว่าลมพัดมาในทศิ ทางท่ีตรงกันข้ามกับลำแสงเลเซอร์น้ันๆ
โดยเมื่อนำข้อมูลของทั้ง 4 ลำแสงเลเซอร์มาประมวลและวิเคราะห์ผลร่วมกัน จะสามารถบ่งชี้ทิศทางลม เป็น
หนว่ ยองศาได้
4.3 กำหนดการบำรงุ รกั ษา
จากที่กล่าวไปเบื้องต้นว่าทางบริษัทฯ ได้มีการลงนามความร่วมมือกับผู้ดูแลในพื้นที่ให้เฝ้าสังเกตการณ์
ตรวจดูความเรียบร้อยตลอด 24 ชั่วโมง บำรุงรักษาเบื้องต้น และจัดทำรายงานทุกสัปดาห์เพื่อนำส่งให้ทาง
บรษิ ทั ฯ โดยตัวแบบฟอรม์ รายงานการตรวจงานบำรงุ รักษาสามารถดูไดจ้ ากเอกสารแนบทา้ ยท่ี 2
รปู ภาพท่ี 6 หลกั การทำงานและการตดิ ตง้ั อปุ กรณ์ LiDAR 9
4.4 การเขา้ บำรุงรักษานอกเหนือจากกำหนดการ
ในกรณีที่อุปกรณ์ LiDAR เกิดหยุดทำงานและทางผู้อยู่อาศัยไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหานั้นๆ ได้
ทางบริษัทฯ ได้วางแผนและกำหนดขั้นตอนการดำเนินการในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น โดยจะเริ่มจากการให้
บุคลากรในพื้นเข้าตรวจสอบสถานะการทำงานของอุปกรณ์ (Visual Inspection) และแก้ไขปัญหาทันที
หากเป็นไปได้ ในกรณีที่บุคลากรในพื้นที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ทางบริษัทฯ จะส่งทีมผู้เชี่ยวชาญเข้าพื้นท่ี
ภายใน 7 วนั เพอื่ เข้าดำเนินการแกไ้ ขตอ่ ไป
รปู ภาพที่ 7 การเขา้ บำรุงรักษาอุปกรณ์ LiDAR
4.5 การทวนสอบและตรวจสอบความใชไ้ ดข้ องอปุ กรณ์
การตรวจสอบความใช้ได้ของอุปกรณ์ LiDAR ตามข้อแนะนำของผู้ผลิตอุปกรณ์ควรได้รับการทวนสอบ
สถานะการทำงานและทำการซอ่ มบำรงุ ทกุ ๆ 3 ปี
10
4.6 ระยะเวลาการดำเนินงานติดตัง้ อปุ กรณ์ LiDAR
ทางบริษทั ฯ ไดเ้ ร่ิมดำเนินงานติดต้ังอปุ กรณ์อุปกรณ์ LiDAR ตัง้ แต่วนั ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ซง่ึ เปน็ วนั ทท่ี างผู้วา่ จา้ งได้ทำการคัดเลือกและอนมุ ัตพิ ื้นทโี่ ครงการ ที่ได้
นำเสนอไป โดยทมี สำรวจได้ทำการลงพนื้ ท่เี ปา้ หมาย เพ่ือหาพื้นทีท่ ี่มีความเหมาะสมในการติดต้งั อปุ กรณ์ LiDAR จากนั้นจงึ ได้มกี ารเข้าเจรจาขอทำสญั ญาเชา่ พ้นื ท่ีกบั ผู้อยู่
อาศยั ในบริเวณนัน้ หลงั จากที่ได้ทำสญั ญาเปน็ ทเ่ี รียบร้อย ทางบรษิ ัทฯ จงึ ได้ทำการขนส่งอปุ กรณ์ LiDAR ไปยังพืน้ ที่เปา้ หมายในวนั ที่ 25 กมุ ภาพันธ์ 2565 และไดเ้ ร่มิ งาน
ติดตั้งอปุ กรณ์พรอ้ มกบั การตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนการใช้งานจริงวา่ เป็นไปตามมาตรฐานท่ีระบุไว้หรือไม่ โดยงานติดต้งั แลว้ เสรจ็ ในวนั ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 และเริ่มเกบ็ คา่
ลมต้ังแต่วนั ที่ 1 มนี าคม 2565 เป็นต้นไป
รปู ภาพที่ 8 แผนการดำเนนิ การตดิ ต้ังอปุ กรณ์ LiDAR
11
รายงานการตดิ ตงั้ เสาตรวจวดั สภาพภูมอิ ากาศ
12
5. พื้นทีท่ ท่ี ำการติดตัง้ เสาตรวจวัดสภาพภมู อิ ากาศ
5.1 ตำแหน่งท่ตี ้งั
ทางบริษัทฯ ได้ทำการติดตั้งเสาตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ ชนิดโครงเหล็กสามเหลี่ยม ความสูง 120 เมตร
เพอื่ เกบ็ ข้อมลู สภาพภูมิอากาศ ในพื้นท่ีตำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ จงั หวดั อุบลราชธานี ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอ
เมอื งอุบลราชธานีประมาณ 120 กโิ ลเมตร ไปทางทศิ ตะวนั ออกเฉียงเหนอื โดยสามารถดูได้จากรปู ภาพท่ี 9
รูปภาพที่ 9 แผนทต่ี ้ังเสาตรวจวดั สภาพภมู อิ ากาศ
13
5.2 ลกั ษณะภมู ิประเทศตำแหน่งท่ีต้งั
พื้นที่ที่ได้ทำการติดตั้งเสาตรวจวัดสภาพภูมิอากาศนั้นอยู่ในอำเภอเขมราฐ ซึ่งถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำโขง
ตั้งแต่ทางทิศเหนือ ตะวันออก ไปจนถึงทิศใต้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นแหลมยื่นออกมา ลักษณะภูมิ
ประเทศมภี เู ขาสลับซับซ้อน โดยภูเขามีลักษณะเปน็ ยอดตัดหรือภูเขายอดปา้ น ไม่แหลมขรุขระ พื้นที่ส่วนใหญ่
รองรับด้วยหินชุดโคราช ซึ่งประกอบด้วย หินทราย หินทรายแป้ง หินดินดาน นอกจากนี้ยังมีหมวดหินพระ
วิหาร ซึ่งตั้งชื่อตามเขาพระวิหารและหมวดหินเสาขัว โดยเนินเขาในพื้นที่เกิดส่วนใหญ่จากการไหลของธาร
ลาวา ดังนั้นพื้นที่ดังกล่าวนี้จึงมีความเหมาะสมและถูกใช้เปน็ พื้นที่ทางการเกษตร เช่น ทำนา เพาะปลูกพืชไร่
ชนดิ ตา่ งๆ เช่น มันสำปะหลงั และมกี ารเล้ียงปศุสตั ว์ โดยจดุ ติดตั้งเสาตรวจวดั สภาพภูมอิ ากาศของทางบริษัทฯ
มีความสงู จากระดับนำ้ ทะเลอยู่ท่ี 160 เมตร สิ่งปลกู สร้างใกลเ้ คียง คือ บ้านเรอื นสำหรับอยู่อาศยั 2 ช้ัน ต้ังอยู่
ห่างออกมา 50 เมตร
รปู ภาพท่ี 10 ภาพถ่ายพาโนรามาของพ้นื ทจ่ี ุดตดิ ตัง้ เสาตรวจวดั สภาพภูมิอากาศ
ทางบรษิ ทั ฯ เลง็ เหน็ วา่ พื้นท่ีน้ีมคี วามเหมาะสมสำหรับการติดตงั้ เสาตรวจวดั สภาพภูมิอากาศ เน่ืองจากไม่
มีสิ่งปลูกสรา้ งหรอื ภเู ขาที่มีความสูงมากจนอาจสง่ ผลให้เกิดการปัน่ ป่วนของลม (Turbulence) และกระแสวน
ของลม (Wake Flow) ซึ่งจะทำให้การเก็บค่าความเร็วลมและทิศทางลมเกิดความไม่แน่นอน (Uncertainty)
อนั เนอื่ งมาจากผลกระทบท่ีกล่าวไปขา้ งต้น
14
รปู ภาพที่ 11 ภาพก่อสรา้ งและตดิ ต้ังเสาตรวจวัดสภาพภูมอิ ากาศ
15
6. เสาตรวจวดั สภาพภมู อิ ากาศและอุปกรณ์
เสาตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ (Tower) เป็นเสาฯ ที่มีโครงสร้างเป็นเหล็กนำมาถักเข้าด้วยกันเป็นรูปทรง
สามเหลี่ยม ขนาดหน้ากว้าง 24 นิ้ว ซึ่งมีความสูงโดยรวมที่ 120 เมตร รายละเอียดของเสาตรวจวัดสภาพ
ภูมิอากาศจะกล่าวต่อไปในหวั ขอ้ ท่ี 6 นี้
6.1 ลกั ษณะฐานรากหรือฐานแผ่
ในส่วนของฐานรากสำหรับรองรับตัวเสาตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ จะเป็นการหล่อฐานคอนกรีตเสริมด้วย
เหล็ก 9-DB 16 มม. ในลักษณะของฐานแผ่เพื่อให้เสาฯ มีความมั่นคงแข็งแรง ก่อนที่จะทำการหล่อคอนกรีต
เพื่อทำฐานแผ่ มีการรองพื้นด้วยทรายอัดแน่น หนา 0.10 เมตร และหล่อด้วยคอนกรีตแบบหยาบ หนา 0.05
เมตร โดยในส่วนของขนาดของฐานแผ่นั้นมีขนาด 2.00 x 2.00 เมตร สูง 0.50 เมตร หลังจากนั้นจะเป็นส่วน
ของฐานที่ขนาด 0.80 x 0.80 เมตร สูง 1.70 เมตร สว่ นที่พ้นจากพน้ื ดินอยู่ที่ 0.70 เมตร
สำหรบั ฐานแผ่เพ่ือยึดสายสเตย์ (Guyed-wire) ระหวา่ งโครงเหล็กเสาตรวจวดั สภาพภูมิอากาศกับสมอบก
นั้น ทางบริษัทฯ ได้มีการออกแบบให้มีความสอดคล้องตามมาตรฐาน EIA-Standard 222-F โดยกำหนดให้
ระยะห่างระหว่างฐานเสากับฐานสมอบกอยู่ที่ 30 และ 50 เมตร ตามลำดับ องศาการยึดสายสเตย์อยู่ที่ 120
องศา (+ / - ไม่เกิน 5%) ในส่วนของการหล่อฐานสมอบกนั้น มีการรองพื้นในลักษณะเดียวกันกับฐานเสา
ตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ แตกต่างกันที่ขนาดของฐาน ซึง่ จะมีขนาดเพยี ง 0.50 x 0.50 เมตร เท่านัน้
รูปภาพท่ี 12 ลักษณะฐานราก
16
6.2 ลกั ษณะของเสาตรวจวดั สภาพภูมอิ ากาศ
การออกแบบเสาตรวจวัดสภาพภมู อิ ากาศน้ัน ทางบรษิ ัทฯ ไดท้ ำการออกแบบตวั เสาฯ ตามมาตรฐานสากล
ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการอุตสาหกรรมพลังงานลม IEC 61400-12-1 โดยมีลักษณะเป็นเสาถักทรงสามเหลี่ยม
(Lattice Mast) โดยโครงเหล็กเสาใช้ท่อเหล็กเหนียวที่ได้มาตรฐาน มอก. 278-277-2532 ขนาดท่อมี
เสน้ ผ่าศนู ย์กลาง 60.5 มิลลิเมตร หนา 3.2 มลิ ลิเมตร ซงึ่ นำมาเชอ่ื มด้วยช้ินสว่ นเหลก็ ใหเ้ ปน็ โครงเสาต่อกันให้
มีหน้ากว้าง 60 เซนติเมตร (Center to Center) ชิ้นส่วนเหล็กที่ใช้เชื่อมนั้น คือเหล็กเส้นกลม (SR24) ที่ได้
มาตรฐาน มอก.20/2543 ขนาด 12 มม. เปน็ รูปตวั “Z” ทงั้ สามด้าน โดยชว่ งเหลก็ ค้ำยันแต่ละชว่ งห่างกัน ไม่
เกนิ 47 เซนติเมตร โครงเสาถกั รวมทง้ั สกรู นอต เกลยี วเรง่ และอปุ กรณป์ ระกอบเสาตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ
ท้ังหมด ไดผ้ า่ นการชุบสังกะสี (Hot Dip Galvanized) เพ่ือป้องกนั สนิมตามมาตรฐาน ASTM
ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่าเสาต้นนี้มีความสูง 120 เมตร ท่อนโครงเสาจะแบ่งออกเป็น 40 ท่อน ซึ่งนำมา
ประกอบกันโดยใช้แป้นกลม ขนาด 15 เซนติเมตร ยึดด้วยนอตขนาด 12 มม. ระหว่างเสาแต่ละท่อน จำนวน
12 ตัว ต่อ 1 ท่อน ยึดโยงด้วยสายสเตย์ (Guyed-type) จำนวน 3 ด้าน โดยมีชั้นดึงสลิงทั้งหมด 10 ช่วง
ลักษณะของสายสเตย์ท่ีใช้ยึดโยงระหว่างเสาฯ กับสมอบก เปน็ ลวดแขง็ ชบุ สงั กะสี ชนดิ 7 เส้น ตเี กลียว ขนาด
3/8” บนเสาฯ จะมีการติดตั้งเอวรั้งสายสเตย์ (Guy Bracket) สำหรับการยึดโยงสายเตย์ ซึ่งเลือกใช้เหล็ก
FB38x9 นำมาชุบสังกะสีกันสนิม วางประกบบนเหล็กโครงเสาตรวจวัดสภาพภูมิอากาศเพื่อลดแรงเฉือน
(Shear Force) เพอื่ ป้องกันไม่ให้เสาถูกดงึ และถา่ งออก
รปู ภาพท่ี 13 ลักษณะเสาตรวจวดั สภาพภมู ิอากาศ
17
ในส่วนของการยึดโยงสายสเตย์ ทางบริษัทฯ เลือกใช้เกลียวเร่งแบบชุบสังกะสีกันสนิม ด้านหนึ่งเป็นวงรี
ปลายอีกด้านหนึ่งเป็นตะขอ (Eye & Hook) ผลิตเป็นเนื้อเดียวกันโดยตลอด ไม่มีรอยตัด เชื่อมหรือดัดแปลง
ใดๆ ซ่งึ อาจส่งผลกระทบกบั ความแขง็ แรงของเสาตรวจวัดสภาพภมู อิ ากาศ
หลังจากท่ีเสาตรวจวัดสภาพภูมิอากาศได้ทำการติดตั้งเป็นที่เรียบร้อย ได้มีการตรวจเช็คค่าความตรงของ
เสาฯ โดยใชอ้ ุปกรณ์ Leica ยิงเลเซอรเ์ พ่ือตรวจวัดมุมในแนวตั้ง ซึง่ ระยะคลาดเคล่ือนในแนวด่ิงจากฐานเสาถึง
ปลายยอดเสา ไม่เกินกว่า 1/500 ของความสูงของเสาฯ จากนั้นก็ตรวจค่าความตึงของสายสเตย์ด้วยอุปกรณ์
Tension Meter เพื่อตรวจสอบค่าความตึงของสายสเตย์ทุกเส้นตามที่ได้ทำการคำนวณไว้ (Initial Guyed
Tension)
รปู ภาพที่ 14 ภาพถา่ ยการตรวจเช็คความตรงและความตึงของสายสเตย์
18
6.3 อปุ กรณเ์ ซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพภูมอิ ากาศ
อุปกรณเ์ ซ็นเซอรท์ ่ีทางบริษัทฯ เลอื กใช้ในโครงการศึกษาสภาพภมู ิอากาศพื้นทน่ี าแวง เปน็ อุปกรณ์ท่ีได้รับ
การยอมรับในวงการอุตนุ ยิ มวทิ ยา ซึง่ ประกอบดว้ ยอุปกรณด์ งั รูปภาพที่ 15
รูปภาพที่ 15 ระดบั ชัน้ การตรวจวดั ของอปุ กรณ์ตรวจวดั สภาพภมู ิอากาศ
19
อุปกรณ์เซ็นเซอร์วัดลมแบบ 3 ถ้วย (Cup Anemometer) ทุกตัวที่เลือกติดตั้งบนเสาตรวจวัดสภาพ
ภูมิอากาศตน้ นนี้ ัน้ ไดร้ บั การรบั รอง Class 1 ตามมาตรฐาน IEC 61400-12-1 Edition 2 (2017-03) โดยมกี าร
ทวนสอบและผ่านการสอบเทียบโดย Deutsche WINDGUARD ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ได้รับการยอมรับใน
วงการพลังงานลม ทำหน้าที่ทวนสอบและรับรองความแม่นยำของเซ็นเซอร์นั้นๆ ดังนั้นอุปกรณ์ที่กล่าวมา
ข้างต้นจึงได้ผ่านการทวนสอบในอุโมงค์ลม (Wind Tunnel) ซึ่งสามารถดูใบรับรองการสอบเทียบได้ใน
เอกสารแนบท้ายที่ 4 ในส่วนของอุปกรณ์วัดทิศทางลม (Wind Direction Vane) ได้ทำการติดตั้งโดยหันหน้า
ไปทางทิศเหนือ (True North) จากนั้นจึงได้ทำการตรวจเช็คอุปกรณ์ทั้งหมดด้วยเครื่องวัดองศาหรือตัววัด
ระดับนำ้ เพ่ือปอ้ งกนั ไมใ่ หค้ ่าทีเ่ กบ็ ได้เกดิ การผดิ เพย้ี น (Uncertainty)
รูปภาพที่ 16 ภาพอปุ กรณแ์ ละเสาตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ
20
6.4 ระบบความปลอดภัยของอุปกรณ์ไฟฟ้าและไฟสัญญาณเตือนการบนิ
ทางบริษัทฯ ได้ตระหนึกถึงความเส่ียงท่ีอาจเกิดฟ้าผ่าลงมาที่เสาตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ ซึ่งอาจส่งผลให้
อุปกรณ์เซน็ เซอร์ตรวจวดั สภาพภูมิอากาศเกดิ การเสยี หายและสง่ ผลต่อโครงการการศึกษาศักยภาพลมในพ้ืนท่ี
ตำบลนาแวง ดังนั้นจึงได้มีการออกแบบและติดตั้งชุดล่อฟ้าที่ปลายสุดของเสาตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ
สูง 5 เมตร และเดินสายล่อฟ้ารอ้ ยท่อใส่ลูกถ้วยลงมาตามโครงเสา จากนั้นจึงนำมาเช่ือมกับระบบกราวด์ รอบ
ฐานเสาจำนวน 4 จุด และที่ตำแหน่งของฐานสมอบกตำแหน่งละ 1 จุด แล้วจึงเชื่อมสายกราวด์ดังที่กล่าวไป
ข้างต้นไปยังระบบสื่อดินอีก 1 จุด โดยระบบสื่อดินที่พื้นดินใต้ฐานเสานั้น ได้มีการฝังแท่งทองแดง ( Ground
Rod) ขนาด 5/8” x 3.00 เมตร จำนวน 3 แท่ง เป็นรูปสามเหลี่ยมพร้อมกับติดตั้งบ่อกราวด์สำหรับการ
ทดสอบค่าความต้านทานดิน ทั้งนี้การเชื่อมต่อระหว่างสายล่อฟ้ากับแท่งล่อฟ้าและแท่งทองแดง ได้ทำการ
เชื่อมประสานแบบหลอมละลาย (Exothermic Welding) หลังจากงานแล้วเสร็จจึงได้มีการตรวจค่าความ
ต้านทานดิน ซ่ึงผลลพั ธท์ ีไ่ ดอ้ ย่ใู นเกณฑด์ ี และไมเ่ กิน 10 โอหม์
ในส่วนของไฟสัญญาณเตือนการบิน ทางบริษัทฯ ได้ทำการติดตั้งไฟ LED แบบโคมเดี่ยวขนาด 5 วัตต์
แรงดัน 24 VDC. ที่ความสูง 60 และ 120 เมตร โดยมีชุดควบคุมการกระพริบและสวิตช์เปิด-ปิด แสงแดด
(Photo Switch) ซ่ึงควบคมุ การเปิด-ปิด กลางวันและกลางคืน โดยอัตโนมตั ิ
รูปภาพที่ 17 ระบบความปลอดภยั ของอุปกรณ์ไฟฟา้ และไฟสญั ญาณเตอื นการบิน
21
7. การดำเนินงานและการบำรุงรักษา
7.1 การเขา้ ถงึ ขอ้ มลู และการจัดการ
ทางบริษทั ฯ ไดท้ ำแผนดำเนินงานติดต้ังเสาตรวจวดั สภาพภูมิอากาศพร้อมอปุ กรณ์เซน็ เซอร์ตรวจวัดสภาพ
ภูมอิ ากาศในพ้ืนตำบลนาแวง จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเวลา 1 ปี 6 เดือน ซึง่ สามารถดูได้จากเอกสารแนบท้าย
ที่ 6 โดยในส่วนของการเก็บข้อมูลจากอุปกรณ์ Datalogger DL16 Pro ทางบริษัทฯ ได้มีกำหนดการให้ทีม
สำรวจและบำรุงรักษาเข้าพื้นที่ ทุก 2 เดือน เพื่อทำการตรวจเช็คความเรียบร้อยของเสาฯ เซ็นเซอร์ตรวจวัด
สภาพภูมิอากาศ และเก็บข้อมูลทไ่ี ด้ทำการบนั ทึกไวใ้ นอุปกรณ์ Datalogger จากนั้นจงึ นำมาวิเคราะหแ์ ละทวน
สอบเพอ่ื ให้ไดข้ อ้ มูลท่ีมีความแม่นยำสงู ทส่ี ุด
7.2 กำหนดการบำรุงรกั ษา
การเข้าบำรุงรกั ษาเสาตรวจวดั สภาพภูมอิ ากาศน้นั ทางบรษิ ทั ฯ ไดม้ ีการหารอื กับผู้เช่ียวชาญและจัดตาราง
เข้าทำการบำรงุ รักษาเสาฯ ทุก 6 เดือน โดยจะมีรายละเอยี ดการเข้าตรวจและทำการบำรุงรักษาสามารถ ดูได้
จากเอกสารแนบท้ายที่ 8
7.3 การทวนสอบและตรวจสอบความใช้ไดข้ องอุปกรณ์
อุปกรณเ์ ซน็ เซอรต์ รวจวัดสภาพภูมิอากาศที่กลา่ วมาข้างต้นน้ี เป็นอปุ กรณ์ทไี่ ดร้ บั การผลิตและปรับจูนภาย
ในโรงงานของผู้ผลิตและส่งตรงมาที่บริษัทฯ ดังนั้นอุปกรณ์ทั้งหมดจึงเป็นของใหม่ที่ได้รับการทวนสอบและ
ตรวจสอบความใช้ได้ของอุปกรณ์จากผู้ผลิต นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ได้ทำการส่งอุปกรณ์วัดค่าลม
(Anemometer) ทั้ง 5 ตัว ไปให้ทาง Deutsche WINDGUARD ซึ่งมีห้องทดลองหรืออุโมงค์ลม (Wind
Tunnel) ที่รับมาตรฐานจาก IECRE และ MEASNET ทำการทวนสอบและออกใบรับรองความใช้ได้ของ
อุปกรณ์ตามมาตรฐานสากล (สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เอกสารแนบท้ายที่ 4) เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันต่อผู้
ว่าจ้างและสถาบันการเงินในอนาคตว่าการเก็บข้อมูลในโครงการนี้ ได้จัดทำขึ้นโดยใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน
ตามหลกั สากลและเปน็ ทยี่ อมรับในวงการพลงั งานลม
7.4 การตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนการติดตั้งและการเตรียมความพรอ้ มสถานท่ี
ทางโครงการ ฯ ได้ทำการตรวจสอบอุปกรณ์ทกุ ชิ้นส่วนที่ได้นำเข้าจากผู้ผลิต โดยการตรวจสอบเพื่อดูว่ามี
ส่วนไหนแตกหักหรือมีช้ินสว่ นสูญหายขณะท่ีทมี เทคนิคทำการทดสอบระบบการทำงานของช้ินส่วน ให้มีความ
สอดคล้องกับมาตรฐานทรี่ ะบไุ ว้ตามเอกสารรับรองหรอื ไม่ดังนี้
Data Logger DL16
- ทดสอบคา่ กราวด์ (Ground) ของ Data Logger กอ่ นทำการเชือ่ มตอ่ กบั อุปกรณเ์ ซน็ เซอร์ เพอื่ ปอ้ งกัน
ความเสียหายจากการปลอ่ ยไฟฟา้ สถติ ของตัวอปุ กรณ์
- ทำการเปิด Data Logger เพือ่ ทดสอบคา่ แรงดนั ไฟฟา้ ของระบบในแต่ละจุด
22
- ทางบริษัท ฯ เลือกใช้สายเคเบิ้ลหมุ้ ฉนวนในการเชือ่ มตอ่ กับอุปกรณเ์ ซน็ เซอร์ในแต่ละจดุ
- การสอบทานค่า เซ็นเซอร์ทุกตัวและทำการทดสอบการเก็บคา่ เบ้อื งตน้
- สอบทานการบนั ทึกค่าของอปุ กรณ์ Data Logger
Anemometer & Wind Direction Vanes
- ทดสอบค่าของอุปกรณ์ตามเอกสารการสอบเทียบ (Calibration Certificate) และทวนสอบค่ากับผู้
ออกรบั รองเอกสาร เพ่ือรบั รองค่าตรวจวัดใหอ้ ยู่ตามมาตรฐาน
- ทดสอบการหมุนของ เซ็นเซอร์วัดลมทุกตัว โดยเฝ้าสังเกตเสียงระหว่างการหมุนและการทำงานของ
อปุ กรณข์ ณะเก็บคา่
- ใช้สายเคเบิ้ลหุ้มฉนวนเชื่อมต่ออุปกรณ์วัดลมกับ Data Logger แต่ละจุด เพื่อตรวจสอบค่าความ
สอดคลอ้ งที่ได้จากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ และคา่ ที่ปรากฏใน Data Logger โดยอปุ กรณว์ ัดความเร็วลมจะ
ทดสอบค่าที่ 0 และค่า 0+ จากการหมุนของตัวอุปกรณ์ สำหรับอุปกรณ์ศรลม (Wind Direction
Vane) ทดสอบคา่ เทยี บจากทิศเหนอื และใตแ้ บบสลับ
Barometer, Relative Humidity, และ Temperature Sensor
- ทดสอบค่าโดยเปรยี บเทยี บกับอปุ กรณ์วดั อุณหภมู หิ อ้ ง โดยความแตกต่างของค่าตอ้ งไมเ่ กนิ 1 C
- ทดสอบค่าความกดอากาศกบั ความชน้ื สัมพทั ธ์วา่ มคี า่ ท่เี ปล่ยี นแปลงไปในหอ้ งปดิ หรอื ไม่
การหาค่าทศิ เหนือจรงิ (Determination of True North)
โครงการกำหนดทิศเหนือจริงมาใช้สำหรับการจัดการเก็บบันทึกค่าของข้อมูลโครงการ ซึ่งจะเป็นส่วน
สำคัญสำหรับการจัดทำแผนผังตำแหน่งกังหันลมในอนาคต และการกำหนดจุดติดตั้งต่างๆ โดยทิศเหนือจริง
คือ แนวทิศเหนือภูมิศาสตร์ จะเป็นแนวเส้นตรงทีช่ ี้ไปยงั ขั้วโลกเหนือ หากสมมติว่าโลกกลมและมีเสน้ สมมติท่ี
เรียกว่าเส้น Latitude และ Longitude แล้ว ณ ตำแหน่งหรือสถานที่ในแผนที่หรือบนภูมิประเทศ แนวทิศ
เหนือจริงในแผนที่จะหมายถึง แนวหรือทิศทางของเส้น Longitude ที่เป็นแนวตีบไปยังขั้วโลกเหนือ ทั้งนี้
อุปกรณ์ตรวจวัดลมจะปรับแนวเพื่อชี้ไปยงั จุดทิศเหนอื จริงระหวา่ งการติดตั้ง โดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณ GPS
ความแม่นยำสูงทวนสอบค่าตำแหนง่ ดังกลา่ ว โดยคา่ ทไี่ ดจ้ ากการทวนสอบตำแหน่งของโครงการมีตำแหน่งเบน
เอยี งลง 16 องศา ซึ่งโครงการใช้เปน็ คา่ สำหรบั เป็นค่าแขนรบั อุปกรณ์ (Boom Sensor)
23
รูปภาพท่ี 18 แผนการดำเนนิ การกอ่ สรา้ งเสาตรวจวดั สภาพภมู ิอากาศและติดตัง้ อปุ กรณ์เซ็นเซอรว์ ดั ลม
24
เอกสารแนบท้าย
25
เอกสารแนบท้ายท่ี 1 ข้อมลู เชิงเทคนคิ อปุ กรณ์ LiDAR
26
เอกสารแนบทา้ ยท่ี 2 แบบฟอร์มรายงานการตรวจงานบำรุงรกั ษาอปุ กรณ์ LiDAR และบนั ทกึ การเยีย่ มชม
27
28
เอกสารแนบทา้ ยที่ 3 แบบเสาตรวจวดั สภาพภูมอิ ากาศ
29
30
31
32
33
34
35
36
28
เอกสารแนบทา้ ยที่ 3 แบบเสาตรวจวดั สภาพภูมอิ ากาศ
29
30
31
32
33
34
35
36