The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Rungnapha Sivayavirote, 2021-01-25 07:29:14

โครงงาน เรื่อง การศึกษาการสื่อความหมายในเพลงมาร์ชโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11

โครงงานภาษาไทย
























เรื่อง การศึกษาการสื่อความหมายในเพลงมารชโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา


ขนาดใหญในจังหวัดสุราษฎรธานี เขต 11





คณะผูจัดทํา


นางสาวพรไพลิน เเขงขัน เลขที่ 28


นางสาวลักษมณ เลิศศิลา เลขที่ 30



นางสาวชัชชญาภควลัญด ดิษฐราชา เลขที่ 32




ครูผูสอน


คุณครูธิรพงษ คงดวง




รายงานโครงงานฉบับนี้เปนสวนหนึ่งของรายวิชา ภาษาไทย (ท33102)


ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2563



โรงเรียนทีปราษฎรพิทยา จังหวัดสุราษฎรธาน ี

โครงงานภาษาไทย



เรื่อง การศึกษาการสื่อความหมายและการใช้ภาษาในเพลงมาร์ชโรงเรียน

ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11






คณะผู้จัดทำ



นางสาวพรไพลิน แข่งขัน เลขที่28 ชั้นม.6/1


นางสาวลักษมณ เลิศศิลา เลขที่30 ชั้นม.6/1



นางสาวชัชชญาภัควลัญด์ ดิษฐราชา เลขที่32 ชั้นม.6/1






ครูผู้สอน



คุณครู ธิรพงษ์ คงด้วง






รายงานโครงงานฉบับนเป็นส่วนหนึ่งของรายวิขา ภาษาไทย (ท33102)
ี้

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563



โรงเรียนทีปราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี



คำนำ


โครงงานเรื่อง การศึกษาการสื่อความหมายในเพลงมาร์ชโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ใน

ื่
จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11 เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาไทย (ท33102) โครงงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพอรายงาน
การศึกษาการสื่อความหมายและการใช้ภาษาในเพลงมาร์ชโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ในจังหวัดสุ

ราษฎร์ธานี เขต 11


คณะผู้จัดทำหวังว่าโครงงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจทุกท่าน หากโครงงานเรื่องการศึกษาการ
สื่อความหมายในเพลงมาร์ชโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11 เล่มนี้มีสิ่ง

ผิดพลาดประการใดก็ตาม ก็ข้ออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย






คณะผู้จัดทำ


23 มกราคม 2564



กิตติกรรมประกาศ


โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาและความอนุเคราะห์จากคุณครู ธิรพงษ์ คงด้วง คุณครูที่ปรึกษา

โครงงานที่ได้ให้คำเสนอแนะ แนวคิด ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ มาโดยตลอด จนโครงงานเล่มนี้สมบูรณ์

คณะผู้จัดทำจึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง


ขอกราบขอบพระคุณ พ่อ แม่ และผู้ปกครอง ให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ รวมทั้งเป็นกำลังใจที่ดีเสมอมา

ขอขอบคุณผู้อำนวยการเพียงแข ชิตจุ้ย ผู้อำนวยการโรงเรียนทีปราษฎร์พิทยาที่ให้คณะผู้จัดทำใช้สถานที่ใน
การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับข้อมูลของโครงงานชิ้นนี้ ขอขอบคุณ คุณครู ณัฐชยา พรหมสุภา ที่ช่วยให้คำแนะนำและ

ช่วยแก้ไข้ปัญหา


สุดท้ายนี้ขอขอบใจสมาชิกในกลุ่มทุกคนที่ให้ความร่วมมือสามัคคี ช่วยกันแก้ไขปัญหาต่างๆ และให้

ข้อเสนอแนะ คำแนะนำ จนทำให้โครงงานเสร็จสมบูรณ์







คณะผู้จัดทำ

สารบัญ



หน้า
ค ำน ำ ก


กิตติกรรมประกำศ ข


บทที่ 1 บทนำ 1


ที่มาและความสำคัญ 1

วัตถุประสงค์ 1


ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า 2


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2


นิยามศัพท์เฉพาะ 2


บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3

การสื่อความหมาย 3


ความหมายของการสื่อความหมาย 3


การใช้ภาษาในบทเพลง 4


การเล่นเสียง 4


ความหมายของการเล่นเสียง 4


ชนิดของการเล่นเสียง 4


การเล่นคำ 5

ความหมายของการเล่นคำ 5


ชนิดของการเล่นคำ 5


การใช้โวหารภาพพจน์ 5


ความหมายของการใช้ภาพพจน์ 5


ชนิดของการใช้ภาพพจน์ 5

สารบัญ(ต่อ)


บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน 7


แหล่งข้อมูล 7


เกณฑ์ในการวิเคราะห์ 7



การเก็บรวบรวมขอมูล 8
การวิเคราะห์ข้อมูล 9


ระยะเวลาในการทำงาน 9


บทที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล 11


เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา 12


การสื่อความหมาย 12


การใช้ภาษา 13


เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนสุราษฎร์ธานี 14

การสื่อความหมาย 15


การใช้ภาษา 15


เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนเมืองสุราษฎร์ธานี 17


การสื่อความหมาย 17


การใช้ภาษา 17

เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2 19


การสื่อความหมาย 20


การใช้ภาษา 20


เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนทีปราษฎร์พิทยา 22


การสื่อความหมาย 22


การใช้ภาษา 22

สารบัญ(ต่อ)


เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนบ้านนาสาร 24


การสื่อความหมาย 24


การใช้ภาษา 25


เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนพระแสงวิทยา 26

การสื่อความหมาย 26


การใช้ภาษา 27


บทที่ 5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ 29


การสรุปข้อมูล 29


อภิปรายผล 30


ข้อเสนอแนะ 30


บรรณานุกรม 31

สารบัญตาราง


หน้า



ตำรำงที 3.1 ตำรำงกำรด ำเนินงำน 10

1


บทที่ 1


บทนำ


ที่มาและความสำคัญ



ในปัจจุบันมนุษย์เราใช้บทเพลง ทำนองของเพลงฟังเพื่อผ่อนคลาตจิตใจ ฟังในเวลายามว่างหรือแม้กระทั่ง
ตอนทำการบ้าน และยังใช้บทเพลงถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกต่างๆผ่านตัวอักษรออกมาแทนการสื่อสารโดยตรง

ทำให้รู้ได้เลยว่าบทเพลงกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนเรา ซึ่งบทเพลงมีหลากหลายแนวไม่ว่าจะเป็นแนวเพลง

ร็อก(Rock) แนวเพลงป๊อป(Pop) แนวเพลงคลาสสิค(Classic) เป็นต้น ในแต่ละบทเพลงล้วนมีความหมายอยู่ในเนื้อ

เพลง ไม่ใช่แค่เนื้อเพลงอย่างเดียวที่มีความหมาย ทำนองของเพลงก็มีความหมายเช่นเดียวกันที่สื่อให้ผู้ฟังมีความ

คล้อยตามไปกับเพลง ให้ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในบทเพลงนั้นๆ เพลงมาร์ชก็เป็นเพลงแนวหนึ่งที่นิยมแต่งและ
บรรเลงกันทั่วไป มีการแต่งเพลงขึ้นมากมาย ทั้งที่เป็นเพลงประจำองค์กรต่างๆหรือเพลงเพลงมาร์ชอื่นๆ รวมถึง

“เพลงมาร์ชโรงเรียน”


เพลงมาร์ชโรงเรียน เป็นเพลงที่มีเนื้อหาความเป็นมาของโรงเรียนอยู่ในเนื้อเพลง มีการกล่าวถึง บุคคลที่

ก่อตั้งโรงเรียน บุคคลสำคัญที่คอยช่วยเหลือโรงเรียนในสมัยก่อนๆ สัญลักษณ์ของโรงเรียน สีประจำโรงเรียนภูมิ

ทัศน์บริเวณรอบๆโรงเรียน แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์แบบของโรงเรียนทั้งความรู้และความสามารถ


คณะผู้จัดทำโครงงานจึงสนใจศึกษา คำที่ใช้สื่อความหมายในเพลงมาร์ชโรงเรียนและการใช้ภาษาว่ามีการ

ใช้ภาษาในลักษณะใดบ้าง เช่น การเล่นคำ เล่นเสียงพยัญชนะ เล่นเสียงสระ เป็นต้น เพื่อนำความรู้ที่ได้จาก
การศึกษาเนื้อเพลงไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและ

รวมถึงการนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน





วัตถุประสงค์


1. เพื่อศึกษาคำที่สื่อความหมายของเพลงมาร์ชโรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11

2. เพื่อศึกษาการใช้ภาษาของเพลงมาร์ชโรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11





ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

2


การศึกษาค้นคว้าเรื่อง การศึกษาการสื่อความหมายในเพลงมาร์ชโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ใน

จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11 คณะผู้จัดทำได้เลือกศึกษาเพลงมาร์ชโรงเรียน จังหวัดสุราฎร์ธานี เขต 11 ที่มีจำนวน

นักเรียนตั้งแต่ 1,500 คนขึ้นไป หรือโรงเรียนขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ



ี่
1. ได้รู้คำทสื่อความหมายของเพลงมาร์ชโรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11
2. ได้รู้การใช้ภาษาของเพลงมาร์ชโรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11

นิยามศัพท์เฉพาะ



1. การใช้ภาษา คือ มีการเล่นคำ เล่นเสียงสระ เสียงพยัญชนะ คำทีสื่อความหมาย ในเนื้อเพลง
2. จังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ จังหวัดในภาคใต้ตอนบน ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้ และเป็นอันดับที่ 6

ของประเทศไทย และมรประชากรหนาแน่นอันดับ 59 ของประเทศไทย

3. เพลงมาร์ชโรงเรียน คือ เพลงที่ประพันธ์ขึ้นใช้เป็นเพลงประจำโรงเรียนนั้นๆ ซึ่งภายในเพลงจะบอก

ลักษณะต่างๆของโรงเรียน

4. คำที่สื่อความหมาย คือ คำที่สื่อถึงที่ตั้งของโรงเรียน สภาพแวดล้อม ผู้ก่อตั้งโรงเรียน สีประจำโรงเรียน
สัญลักษณ์โรงเรียน ค่านิยม12ประการ

3


บทที่ 2


เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


ในการจัดทำโครงงานเรื่อง การศึกษาการสื่อความหมายในเพลงมาร์ชโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา

ขนาดใหญ่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต๑๑ ครั้งนี้ คณะผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องโดย

จำแนกเป็นความรู้หลักดังนี้


1.การสื่อความหมาย


1.1 ความหมายของการสื่อความหมาย

2.การใช้ภาษาในบทเพลง


2.1 การเล่นเสียง


2.1.1 ความหมายของการเล่นเสียง


2.1.2 ชนิดของการเล่นเสียง


2.2 การเล่นคำ


2.2.1 ความหมายของการเล่นคำ


2.2.2 ชนิดของการเล่นคำ

2.3 การใช้โวหารภาพพจน์


2.3.1 ความหมายของการใช้โวหารภาพพจน์


2.3.2 ชนิดของการใช้โวหารภาพพจน์


1.การสื่อความหมาย


1.1 ความหมายของการสื่อความหมาย

หมายถึง พฤติกรรมสำคัญที่สัตว์สังคมทุกชนิดใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อซึ่งกันและกัน แสดงถึงความ

เป็นหมู่เหล่าเผ่าพันธุ์เดียวกัน การสื่อความหมายมีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า Communis หรือ Commus

แปลว่า คล้ายคลึง หรือ ร่วมกัน ซึ่งตรงกับภาษาองกฤษว่า Communication การสื่อความหมายจึงเป็น


4


กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึก นึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจน

ประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้ส่ง" ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้รับ"


เกษม ศิรสัมพันธ์ (2515 : 81) อธิบายว่า การสื่อความหมายเป็นการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์
เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน เป็นการถ่ายทอดความคิดเห็น ประสบการณ์ และข้อเท็จจริงต่างๆของมนุษย์

ในสังคม


แซนนอน และวีเวอร์ (Shannon & Weaver 1949 : 95) กล่าวว่า การสื่อความหมายมีความหมาย

กว้าง โยหมายรวมถึงกระบวนการทุกอย่างที่ความรู้สึกนึกคิดจิตใจของบุคคลหนึ่งมีผลกระทบต่ออีกบุคคลหนึ่งด้วย

ซึ่งทั้งนี้ไม่เพียงแต่จะสื่อความหมายกันด้วยการเรียนและการพูดเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึง ดนตรี ศิลปะการวาด

ภาพ การแสดง ระบำ และพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์


สอดคล้องกับ หลุย จำปาเทศ (2522 : 77) ให้ความหมายว่า การสื่อความหมายคือการติดต่อส่งข่าวสาร
ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น และท่าทีต่างๆ จากบุคคลหนึ่งหรือหลายคนไปยังอีกบุคคลหนึ่ง หรือหลายคน


จากแนวความคิดของบุคคลข้างต้น จึงพอสรุปได้ว่า การสื่อความหมายเป็นการติดต่อสื่อสารกันเพื่อส่ง

ข่าวสารและความคิด ตลอดจนเจตคติ ท่าทีต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจและรับรู้ในทิศทางเดียวกันระหว่างผู้ส่งสาร

และผู้รับสาร


2.การใช้ภาษาในบทเพลง

2.1 การเล่นเสียง


2.1.1 ความหมายของการเล่นเสียง


หมายถึง การสรรคำให้มีเสียงสัมผัสเป็นพิเศษกว่าปกติเพื่อให้เกิดทำนอง เสียงที่ไพเราะน่าฟัง มีทั้งการเล่น

เสียงพยัญชนะ การเล่นเสียงสระ และการเล่นเสียงวรรณยุกต์


2.1.2 ชนิดของการเล่นเสียง


1. การเล่นเสียงพยัญชนะ คือการใช้พยัญชนะเดียวกันหลายพยางค์ติดๆกัน คำประพันธ์ร้อยกรอง
โดยทั่วไปไม่บังคับสัมผัสพยัญชนะ แต่กวีนิยมใช้เสียงสัมผัสพยัญชนะเพื่อให้มีความไพเราะ เช่น "ปัญญาตรองติ

ลำลึกหลาย" (โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีเสียง

สัมผัสพยัญชนะ คือ ตรอง-ตริ,ลำ-ลึก-หลาย

5


2. การเล่นเสียงสระ คือ การใช้สัมผัสสระเดียวกันหลายพยางค์ติดๆกัน


3. การเล่นเสียงวรรณยุกต์ คือ การใช้คำที่ไล่ระดับเสียง ๒ หรือ ๓ ระดับเป็นชุดๆ


2.2 การเล่นคำ

2.2.1 ความหมายของการเล่นคำ


หมายถึง การสรรคำมาเรียงร้อยในคำประพันธ์ โดยพลิกแพลงให้เกิดความหมายพิเศษและแปลกออกไป

จากที่ใช้กันอยู่ เพื่ออวดฝีมือของกวี มีการเล่นคำพ้อง การเล่นคำซ้ำ และการเล่นเชิงถาม


2.2.2 ชนิดของการเล่นคำ


1. การเล่นคำพ้อง คือ การนำคำพ้องมาใช้คู่กันให้เกิดความหมายที่สัมพันธ์กัน


ื่
2. การเล่นคำซ้ำ คือ การนำคำคำเดียวมาใช้ซ้ำๆในที่ใกล้ๆกันเพอย้ำความหมายของข้อความให้หนักแน่น
มากยิ่งขึ้น

3. การเล่นคำเชิงถาม คือ การเรียงถ้อยคำให้เป็นประโยคเชิงถาม แต่เจตนาที่แท้จริงไม่ได้ถาม เพราะไม่

ต้องการคำตอบ แต่ต้องการเน้นให้ข้อความมีน้ำหนักดึงดูดความสนใจและให้ผู้ฟังคิดตาม บางท่านอาจเรียกว่า

วาทศิลป์


2.3 การใช้โวหารภาพพจน์


2.3.1 ความหมายของการใช้โวหารภาพพจน์


สมถวิล วิเศษสมบัติ (2544 : 129) กล่าวว่า กลวิธีการนำเสนอสารโดยการพลิกแพลงภาษาที่ใช้พด
หรือเขียนให้แปลกออกไปจากภาษาตามตัวอักษรทำให้ผู้อ่านเกิดภาพในใจ เกิดความประทับใจ เกิดความรู้สึก

สะเทือนใจ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพอย่างชัดเจน


2.3.2 ชนิดของการใช้โวหารภาพพจน์


1. อุปมาโวหาร คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มีความหมายเช่นเดียวกับ

คำว่า " เหมือน " เช่น ดุจ ดั่ง ราว ราวกับ เปรียบ ประดุจ เฉก เล่ห์ ปาน ประหนึ่ง เพียง เพี้ยง พ่าง ปูน ถนัด ละ
หม้าย เสมอ กล อย่าง เป็นต้น (ราชบัณฑิตยสถาน, 2557 : 171)

6


2. อุปลักษณ์ คือ อุปมาโวหารเป็นการเปรียบเทียบเหมือนกัน แต่เป็นการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่ง

หนึ่ง การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง


ื่
3. สัญลักษณ์ คือ การเรียกชื่อสิ่งๆหนึ่งโดยใช้คำอนมาแทน ไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่คำที่นำมาแทนจะเป็น
คำที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความ ซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดยทั่วไป ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ

ผู้ประพันธ์ต้องการเปรียบเทียบเพื่อสร้างภาพพจน์หรือมิฉะนั้นก็อาจจะอยู่ในภาวะที่กล่าวโดยตรงไม่ได้ เพราะไม่

สมควรจึงต้องใช้สัญลักษณ์แทน


4. บุคลาธิษฐาน คือ การกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด ไม่มีวิญญาณ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ อิฐ ปูน

หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น ต้นไม้ สัตว์ โดยให้สิ่งต่างๆเหล่านี้ แสดงกิริยาอาการและความรู้สึกได้เหมือนมนุษย์

ให้มีคุณลักษณะต่างๆ เหมือนสิ่งมีชีวิต


5. อธิพจน์ คือ โวหารที่กล่าวเกินความจริง เพื่อสร้างและเน้นความรู้สึกและอารมณ์ ทำให้ผู้ฟังเกิด
ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง ภาพพจน์ชนิดนี้นิยมใช้กันมากแม้ในภาษาพูด เพราะเป็นการกล่าวที่ทำให้เห็นภาพได้ง่ายและ

แสดงความรู้สึกของกวีได้อย่างชัดเจน


6. สัทพจน์ คือ ภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรี เสียงสัตว์ เสียงคลื่น เสียงลม เสียงฝนตก

เสียงน้ำไหล ฯลฯ การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ


7. นามนัย คือ การใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง คล้ายๆ
สัญลักษณ์ แต่ต่างกันตรงที่ นามนัยนั้นจะดึงเอาลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าวให้หมายถึงส่วนทั้งหมด หรือ

ใช้ชื่อส่วนประกอบสำคัญของสิ่งนั้นแทนสิ่งนั้นทั้งหมด


8. ปรพากย์ คือ การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้ามหรือขัดแย้งกันมากล่าว อย่างกลมกลืนกันเพอ
ื่
เพมความหมายให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
ิ่

7


บทที่ 3


วิธีดำเนินการงาน


การศึกษาเรื่อง การศึกษาการสื่อความหมายในเพลงมาร์ชโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ใน

จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำที่สื่อความหมายของเพลงมาร์ชโรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์

ธานี เขต 11 และเพื่อศึกษาการใช้ภาษาของเพลงมาร์ชโรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11 โดยมีขั้นตอน

การศึกษาค้นคว้าการวิจัยดังนี้


แหล่งข้อมูล



แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก โรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เขต 11จำนวน 7 โรงเรียน มีดังนี้


1. โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา (ส.ร.)

2. โรงเรียนสุราษฎร์ธานี (ส.ธ.)

3. โรงเรียนเมืองสุราษฎร์ธานี (ม.ส.ธ)

4. โรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2 (ส.ธ.2)

5. โรงเรียนทีปราษฎร์พิทยา (ท.พ.)
6. โรงเรียนบ้านนาสาร (บ.ส.)

7. โรงเรียนพระแสงวิทยา (พ.ส.ว.)


เกณฑ์ในการวิเคราะห ์


ผู้วิจัยได้ศึกษาเพลงมาร์ชโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11 ว่ามีคำใดบ้าง

ที่มีการใช้เกี่ยวกับ การสื่อความหมายและการใช้ภาษา โดยใช้เกณฑ์การวิจัยดังนี้


1. การสื่อความหมาย
1.1 อัตลักษณ์ของโรงเรียน

1.2 เอกลักษณ์ของโรงเรียน

1.3 ปรัชญาของโรงเรียน

1.4 คำขวัญของโรงเรียน

1.5 ค่านิยม 12 ประการ

8


1.6 สีประจำโรงเรียน

1.7 เป้าหมาย

1.8 ที่ตั้งของโรงเรียน

1.9 คติพจน์
1.10 บุคคลสำคัญ

2. การใช้ภาษา

2.1 การเล่นเสียง

2.1.1 การเล่นเสียงพยัญชนะ

2.1.2 การเล่นเสียงสระ
2.2 การเล่นคำ


2.2.1 การเล่นคำพ้อง


2.2.2 การเล่นซ้ำ


2.3 การใช้โวหารภาพพจน์


2.3.1 โวหารอธิพจน์


2.3.2 โวหารบุคลาธิษฐาน

2.3.3 โวหารนามนัย


การเก็บรวบรวมข้อมูล


ในการดำเนินงาน คณะผู้จัดทำได้รวบรวมข้อมูลที่ใช้ศึกษาเพลงมาร์ชโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา

ขนาดใหญ่ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11 โดยมีการดำเนินการดังนี้


1.ศึกษาเพลงมาร์ชโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11 ทั้ง 7

โรงเรียน เช่น ศึกษาคำที่ใช้สื่อความหมายเพลง ศึกษาการใช้ภาษาในเพลงมาร์ช

2.วิเคราะห์เพลงมาร์ชของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11 ตามเกณฑ์ที่

คณะผู้จัดทำได้สร้างขึ้น คือ การสื่อความหมายและการใช้ภาษาในเพลงมาร์ชโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาใน

จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11

9


3.รวบรวม แล้วบันทึกผลไว้ตามหมวดหมู่ที่ได้ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์


การวิเคราะห์ข้อมูล


1.นำคำหรือประโยคในเพลงมาร์ชโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต

11 ที่มีการสื่อความหมายและการใช้ภาษามาวิเคราะห์ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

2.นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคระห์เพลงมาร์ชโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ในจังหวัดสุราษฎร์

ธานี เขต 11 มาเรียบเรียง


3.สรุปผล และเสนอรายงานผลการทำโครงงาน


ระยะเวลาในการดำเนินงาน


ในการศึกษาเรื่อง เพลงมาร์ชโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11 มีระยะในการดำเนินการ
ซึ่งแบ่งได้ดังนี้

10
ลำดับที่ ขั้นตอนการศึกษา ช่วงเวลา ผู้รับผิดชอบ

รวบรวมข้อมูลเอกสารและงานวิจัยที่ วันที่ 17-29 ธันวาคม พรไพลิน

1. เกี่ยวข้อง พ.ศ.2563


รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเพลงมาร์ช วันที่ 4-11 มกราคม ชัชชญาภัควลัญด์

2. โรงเรียนมัธยมศึกษาใน พ.ศ.2563
จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11

วิเคราะห์ข้อมูล วันที่ 12-15 มกราคม คณะผู้จัดทำ

3. พ.ศ.2563




สรุปและอภิปรายผลข้อมูล วันที่ 16-17 มกราคม ลักษมณ
4. พ.ศ.2563





ตรวจทานและแก้ไขข้อมูลจัดทำรูปเล่ม วันที่ 19-24 มกราคม คณะผู้จัดทำ

5. รายงานการศึกษาค้นคว้า พ.ศ.2563



นำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า วันที่ 26 มกราคม คณะผู้จัดทำ

6. พ.ศ.2563




ส่งรายงานการศึกษาค้นคว้าฉบับ วันที่ 26-29 มกราคม คณะผู้จัดทำ

7. สมบูรณ์ พ.ศ.2563






ตารางที่ 3.1 ตารางการดำเนินงาน

11


บทที่ 4


การวิเคราะห์ข้อมูล



การจัดทำโครงงาน การศึกษาการสื่อความหมายในเพลงมาร์ชโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศกษาขนาดใหญ่
ื่
ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11 จำนวน 7 โรงเรียน มีวัตถุประสงค์เพอศึกษาคำที่สื่อความหมายของเพลงมาร์ชโรง
เรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11 และศึกษาการใช้ภาษาของเพลงมาร์ชโรง

เรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11 เพื่อให้คณะผู้จัดทำโครงงานสามารถนำไป

ประยุกต์ใช้ในการเรียนภาษาไทยมากขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

1. การสื่อความหมาย

1.1 อัตลักษณ์ของโรงเรียน

1.2 เอกลักษณ์ของโรงเรียน

1.3 ปรัชญาของโรงเรียน

1.4 คำขวัญของโรงเรียน

1.5 ค่านิยม 12 ประการ

1.6 สีประจำโรงเรียน
1.7 เป้าหมาย

1.8 ที่ตั้งของโรงเรียน

1.9 คติพจน์

1.10 บุคคลสำคัญ

2. การใช้ภาษา
2.2 การเล่นเสียง

2.1.1 การเล่นเสียงพยัญชนะ

2.1.2 การเล่นเสียงสระ


2.2 การเล่นคำ


2.2.1 การเล่นคำพ้อง


2.2.2 การเล่นซ้ำ

12


2.3 การใช้โวหารภาพพจน์


2.3.1 โวหารอธิพจน์


2.3.2 โวหารบุคลาธิษฐาน

2.3.3 โวหารนามนัย





1. เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา

ถิ่นแดนคนดี ถิ่นศรีพระพุทธศาสน์ ศรีเมืองสุราษฎร์ธานีที่เราทั้งผอง


เกิดกายเจริญวัยในแผ่นดินทอง ที่ชื่อก้องเกียรติระบือเลื่องลือไกล


สถาบันของเรานี้ คือที่รัก ส.ร.ต้องรู้จักไม่ว่าใครใคร

ทำดี คือธรรมะ ประจำใจ รักเกียรติ วินัย กล้าหาญ มานะ อดทน


แหล่งใจ คือน้ำเงินเหลือง ธวัชฟูเฟื่องกระเดื่องไปทุกแห่งหน


กรุณา ปรานี มีให้กับทุกทุกคน ยามทุกข์เราทน กัดฟันช่วยกันพยายาม


ยามเรียนเราเรียน พากเพียรไม่เว้น การกีฬาเราเล่นไม่เคยเกรงขาม


ยึดมั่นกตัญญูรู้คุณทุกนาม ไม่เคยครั่นคร้าม ผองภัยที่มาบีฑา


1. การสื่อความหมาย

1. อัตลักษณของโรงเรียน : รักเกียรติ วินัย กล้าหาญ อดทน

2. เอกลักษณ์ของโรงเรียน : กรุณา ปรานี มีให้กับทุกทุกคน

3. ปรัชญาของโรงเรียน : รักเกียรติ วินัย กล้าหาญ มานะ อดทน

4. คำขวัญของโรงเรียน : ยามเรียนเราเรียน พากเพียรไม่เว้น

5. ค่านิยม 12 ประการ : ยึดมั่นกตัญญูรู้คุณทุกนาม

6. สีประจำโรงเรียน : สีน้ำเงินและสีเหลือง
7. ที่ตั้งของโรงเรียน : อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี

8. คติพจน์ของโรงเรียน : ทำดี

13


2. การใช้ภาษา


จากเพลงมาร์ชของโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา พบการใช้ภาษาดังต่อไปนี้


การเล่นเสียงพยัญชนะ ดังตัวอย่าง

“ที่ชื่อก้องเกียรติระบือเลื่องลือไกล”


พบการใช้คำว่า ก้อง – เกียรติ , เลื่อง-ลือ


การเล่นเสียงสระ ดังตัวอย่าง


ตัวอย่างที่ 1


“ถิ่นแดนคนดี ถิ่นศรีพระพุทธศาสน์”


พบการเล่นเสียงสระ ได้แก่ ดี – ศรี


ตัวอย่างที่ 2

“ที่ชื่อก้องเกียรติระบือเลื่องลือไกล”


พบการเล่นเสียงสระ ได้แก่ ระบือ – เลื่องลือ


ตัวอย่างที่ 3


“กรุณา ปรานี มีให้กับทุกทุกคน”


พบการเล่นเสียงสระ ได้แก่ กรุณา – ปรานี – มี

ตัวอย่างที่ 4


“ยามเรียนเราเรียน พากเพียรไม่เว้น”


พบการเล่นเสียงสระ ได้แก่ เรียน – เพียร


ตัวอย่างที่ 5


“ยึดมั่นกตัญญูรู้คุณทุกนาม”


พบการเล่นเสียงสระ ได้แก่ กตัญญู – รู้

14


การเล่นคำพ้อง ดังตัวอย่าง


ตัวอย่างที่ 1


“ทำดี คือธรรมะ ประจำใจ”

พบการเล่นคำพ้องเสียง คือคำว่า ทำ – ธรรม


การเล่นคำซ้ำ ดังตัวอย่าง


ตัวอย่างที่ 1


“ถิ่นแดนคนดี ถิ่นศรีพระพุทธศาสน์”


พบการใช้คำซ้ำ คือ ถิ่น


ตัวอย่างที่ 2


“ยามเรียนเราเรียน พากเพียรไม่เว้น”

พบการใช้คำซ้ำ คือ เรียน


การใช้โวหารภาพพจน์ ดังตัวอย่าง


ตัวอย่างที่ 1


“เกิดกายเจริญวัยในแผ่นดินทอง”


จากตัวอย่างพบการใช้ โวหารนามมัย ในคำว่า แผ่นดินทอง สื่อถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี




2. เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนสุราษฎร์ธานี


เราสุราษฎร์ธานีนี้สง่า เลอเลิศปัญญายิ่งใหญ่


เป็นสถานอบรมบ่มวินัย มีน้ำใจรู้รักสามัคค ี


ยามเรียนเราเรียนเพียรขยัน ยามกีฬาแข่งขันกันเต็มที่


มุ่งสร้างสรรค์เยาวชนเป็นคนดี อยู่คู่ตาปีสายธารา

15


ชมพูคือผู้มีความรัก สีเขียวแน่นหนักเป็นหนักหนา


เขียวชมพูชูธงเด่นงามตา อยู่คู่ฟ้าเมืองคนดีศรีวิชัย


นามสุราษฎร์ธานีที่เรารัก สถาบันที่พิงพักอาศัย

กตัญญูคือธรรมประจำใจ เทิดไว้เราคือสุราษฎร์ธานี


1. การสื่อความหมาย


1. ค่านิยม 12 ประการ : ยามเรียนเราเรียนเพียรขยัน

2. สีประจำโรงเรียน : สีชมพูและสีเขียว

3. เป้าหมาย : มุ่งสร้างสรรค์เยาวชนเป็นคนดี

4. คติพจน์ของโรงเรียน : กตัญญ ู

2. การใช้ภาษา


จากเพลงมาร์ชประจำโรงเรียนสุราษฎร์ธานี พบการใช้ภาษาดังต่อไปนี้


การเล่นเสียงพยัญชนะ ดังตัวอย่าง


“เลอเลิศปัญญายิ่งใหญ่”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงพยัญชนะ คือ เลอ – เลิศ , ยิ่ง – ใหญ่


การเล่นเสียงสระ ดังตัวอย่าง

ตัวอย่างที่ 1


“มีน้ำใจรู้รักสามัคค”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ รัก – มัค


ตัวอย่างที่ 2


“ยามเรียนเราเรียนเพียรขยัน”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ เรียน – เพียร

16


ตัวอย่างที่ 3


“มุ่งสร้างสรรค์เยาวชนเป็นคนดี”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ ชน – คน

ตัวอย่างที่ 4


“ชมพูคือผู้มีความรัก”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ พู – ผู้


ตัวอย่างที่ 5


“เขียวชมพูชูธงเด่นงามตา”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ พู – ชู


ตัวอย่างที่ 6

“อยู่คู่ฟ้าเมืองคนดีศรีวิชัย”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ ดี – ศรี


การเล่นคำซ้ำ ดังตัวอย่าง


“ยามเรียนเราเรียนเพียรขยัน ยามกีฬาแข่งขันกันเต็มที่”


จากตัวอย่าง พบการเล่นคำซ้ำ คือ เรียนและยาม

การใช้โวหารภาพพจน์


ตัวอย่างที่ 1


“อยู่คู่ฟ้าเมืองคนดีศรีวิชัย”


จากตัวอย่าง พบการใช้โวหารบุคลาธิษฐาน คือคำว่า อยู่คู่ฟ้าเมืองคนดี

17


3. เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนเมืองสุราษฎร์ธานี


โรงเรียนเมืองเรืองสง่าฟ้าสยาม เลื่องลือนามเลิศลักษณ์เป็นศักดิ์ศรี


สามัคคีเสริมสร้างทางชีวี การเรียนดีกีฬาเด่นเป็นนิรันดร์

สีม่วงเหลืองโอบอ้อมล้อมเราอยู่ เทิดทูนครูชายหญิงเป็นมิ่งขวัญ


มีวินัย ใจเอื้อช่วยเหลือกัน เมืองอยู่มั่นงามผงาดสุราษฎร์ธานี


คิด ทำ แก้ปัญหา อุตสาหะ พัฒนะพูลเพิ่มเสริมสุขศรี


ม.ส.ธ. ยืนหยัดอยู่คู่ความดี ใคร่ย่ำยีพลีชีพพร้อมยอมสู้ตาย


1. การสื่อความหมาย


1. ปรัชญาของโรงเรียน : คิด ทำ แก้ปัญหา อตสาหะ

2. คำขวัญของโรงเรียน : ม.ส.ธ. ยืนหยัดอยู่คู่ความดี

3. ค่านิยม 12 ประการ : เทิดทูนครูชายหญิงเป็นมิ่งขวัญ , มีวินัย ใจเอื้อช่วยเหลือกัน

4. สีประจำโรงเรียน : สีม่วง

5. ที่ตั้งของโรงเรียน : จังหวัดสุราษฎร์ธานี


2. การใช้ภาษา


จากเพลงมาร์ชประจำโรงเรียนเมืองสุราษฎร์ธานี พบการใช้ภาษาดังต่อไปนี้

การเล่นเสียงพยัญชนะ ดังตัวอย่าง


ตัวอย่างที่ 1


“พัฒนะพูลเพิ่มเสริมสุขศรี”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงพยัญชนะ คือ พูล – เพิ่ม , เสริม – สุข – ศรี


ตัวอย่างที่ 2


“เมืองอยู่มั่นงามผงาดสุราษฎร์ธานี”

จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงพยัญชนะ คือ ผงาด – งาม

18


ตัวอย่างที่ 3


“สีม่วงเหลืองโอบอ้อมล้อมเราอยู่”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงพยัญชนะ คือ โอบ – อ้อม

ตัวอย่างที่ 4


“เลื่องลือนามเลิศลักษณ์เป็นศักดิ์ศรี”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงพยัญชนะ คือ เลื่อง – ลือ , เลิศ – ลักษณ์ , ศักดิ์ – ศรี


การเล่นเสียงสระ ดังตัวอย่าง


ตัวอย่างที่ 1


“โรงเรียนเมืองเรืองสง่าฟ้าสยาม”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ เมือง – เรือง

ตัวอย่างที่ 2


“เลื่องลือนามเลิศลักษณ์เป็นศักดิ์ศรี”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ ลักษณ์ – ศักดิ์


ตัวอย่างที่ 3


“สามัคคีเสริมสร้างทางชีวี”

จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ สามัคคี – ชีวี


ตัวอย่างที่ 4


“การเรียนดีกีฬาเด่นเป็นนิรันดร์”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ ดี – กีฬา

19


ตัวอย่างที่ 5


“เทิดทูนครูชายหญิงเป็นมิ่งขวัญ”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ หญิง – มิ่ง

ตัวอย่างที่ ๖


“มีวินัย ใจเอื้อช่วยเหลือกัน”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ เอื้อ – เหลือ


ตัวอย่างที่ 7


“พัฒนะพูลเพิ่มเสริมสุขศรี”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ เพิ่ม – เสริม


ตัวอย่างที่ 8

“ม.ส.ธ. ยืนหยัดอยู่คู่ความดี”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ อยู่ – คู่


การใช้โวหารภาพพจน์ ดังตัวอย่าง


“สีม่วงเหลืองโอบอ้อมล้อมเราอยู่”


จากตัวอย่าง พบการใช้โวหารบุคลาธิษฐาน เนื่องจาก สีม่วงและสีเหลืองเป็นนามธรรม ให้มีลักษณะ

เหมือนคนหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรม




4. เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2


ถิ่นทักษิณ ดินแดนแคว้นศรีวิชัย เลิศวิไล เกริกไกร ไพศาลนานมา


ลูกแม่น้ำตาปีที่บูชา สัญลักษณ์ตราพระสังฆราช มาดแม้นดวงใจ


เราร่วมสร้างสรรค์ ไม่พรั่นหวั่นไหว แม้มีอุปสรรคใด ๆ ฝ่าฟันมั่นมุ่ง

20


ชมพู เขียวเดี่ยวเด่นเป็นสง่า คือสัญญาร่วมใจหมายผดุง


สุราษฎร์ 2 ผองเรารักษ์ธรรมบำรุง นามจรุงฟุ้งเฟื่องเลื่องวจี


พวกเราชายหญิง หยิ่งในศักดิ์ศรี กตัญญูกตเวที สามัคคีรวมพลัง


1. การสื่อความหมาย
1. ค่านิยม 12 ประการ : กตัญญูกตเวที สามัคคีรวมพลัง

2. สีประจำโรงเรียน : สีชมพ ู

3. ที่ตั้งของโรงเรียน : ถิ่นทักษิณ ดินแดนแคว้นศรีวิชัย (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
4. คติพจน์ของโรงเรียน : กตัญญูกตเวที

5. บุคคลสำคัญ : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
2. การใช้ภาษา


จากเพลงมาร์ชประจำโรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2 พบการใช้ภาษาดังต่อไปนี้การเล่นเสียงพยัญชนะ ดัง

ตัวอย่าง

ตัวอย่างที่ 1

“เลิศวิไล เกริกไกร ไพศาลนานมา”

จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงพยัญชนะ คือ เลิศ – วิไล , เกริก – ไกร

ตัวอย่างที่ 2

“สัญลักษณ์ตราพระสังฆราช มาดแม้นดวงใจ”

จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงพยัญชนะ คือ มาด – แม้น

ตัวอย่างที่ 3

“เราร่วมสร้างสรรค์ ไม่พรั่นหวั่นไหว”

จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงพยัญชนะ คือ สร้าง – สรรค์

ตัวอย่างที่ 4

“นามจรุงฟุ้งเฟื่องเลื่องวจี”
จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงพยัญชนะ คือ ฟุ้ง – เฟื่อง

การเล่นเสียงสระ ดังตัวอย่าง

ตัวอย่างที่ 1

“ถิ่นทักษิณ ดินแดนแคว้นศรีวิชัย”

21


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ ทักษิณ – ดินแดน

ตัวอย่างที่ 2

“เลิศวิไล เกริกไกร ไพศาลนานมา”

จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ วิไล – ไกร – ไพศาล

ตัวอย่างที่ 3

“เราร่วมสร้างสรรค์ ไม่พรั่นหวั่นไหว”

จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ สรรค์ – พรั่น – หวั่น

ตัวอย่างที่ 4

“ชมพู เขียวเดี่ยวเด่นเป็นสง่า”

จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ เขียว – เดี่ยว

ตัวอย่างที่ 5

“นามจรุงฟุ้งเฟื่องเลื่องวจี”

จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ เฟื่อง – เลื่อง

ตัวอย่างที่ 6

“พวกเราชายหญิง หยิ่งในศักดิ์ศรี”

จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ หญิง- หยิ่ง

ตัวอย่างที่ 7

“กตัญญูกตเวที สามัคคีรวมพลัง”

จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ เวที – สามัคคี

การเล่นคำ

จากเพลงมาร์ชประจำโรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2 ไม่พบการเล่นคำตามที่กรอบการศึกษาที่กำหนดไว้


การใช้โวหารภาพพจน์ ดังตัวอย่าง

“ลูกแม่น้ำตาปีที่บูชา”


จากตัวอย่างใช้โวหารนามนัย เนื่องจากแม่น้ำตาปี แทนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

22


5. เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนทีปราษฎร์พิทยา


ทีปราษฎร์พิทยา ด้วยบุญญาบารมีทีปกร


ทะเลทองสามเส้าเป็นอนุสรณ์ ประชากรศรัทธาสามัคคี

ประสิทธิ์ประสาทวิทยา ร่วมรักษาคุณธรรมนำชีวี


วิชาการ กิจกรรม กีฬาดี ด้วยบารมีท่านวิภาตทีปกร


เราเหล่านักเรียน ฝึกอ่านเขียนเล่าเรียนวิชา


เชื่อฟังโอวาทบิดรมารดา กตัญญูบูชาครูอาจารย์


ชื่อเสียงมั่นคงดำรงไว้ เกียรติศักดิ์เลื่องลือไกลรักษามั่น


สถิตอยู่จนชั่วนิจนิรันดร์ สดุดีทีปราษฎร์พิทยา


1. การสื่อความหมาย

1. ค่านิยม 12 ประการ : ฝึกอ่านเขียนเล่าเรียนวิชา ,เชื่อฟังโอวาทบิดรมารดา กตัญญูบูชาครูอาจารย์

2. สีประจำโรงเรียน : สีทะเลและสีทอง

3. ที่ตั้งของโรงเรียน : เขาสามเส้า

4. บุคคลสำคัญ : พระครูวิภาตทีปกร


2. การใช้ภาษา

จากเพลงมาร์ชประจำโรงเรียนทีปราษฎร์พิทยา พบการใช้ภาษาดังต่อไปนี้


การเล่นเสียงพยัญชนะ ดังตัวอย่าง


ตัวอย่างที่ 1


“ประสิทธิ์ประสาทวิทยา”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงพยัญชนะ คือ ประสิทธิ์ – ประสาท

23


ตัวอย่างที่ 2


“เกียรติศักดิ์เลื่องลือไกลรักษามั่น”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงพยัญชนะ คือ เลื่อง – ลือ

การเล่นเสียงสระ ดังตัวอย่าง


ตัวอย่างที่ 1


“ด้วยบุญญาบารมีทีปกร”


จากตัวอย่าง พบกรเล่นเสียงสระ คือ บุญญา – บารมี


ตัวอย่างที่ 2



“ประชากรศรัทธาสามัคค”

จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ ศรัทธา – สามัคค ี

ตัวอย่างที่ 3


“เราเหล่านักเรียน ฝึกอ่านเขียนเล่าเรียนวิชา”


จากตัวอย่าง พบกรเล่นเสียงสระ คือ เรียน – เขียน


ตัวอย่างที่ 4


“กตัญญูบูชาครูอาจารย์”


จากตัวอย่าง พบกรเล่นเสียงสระ คือ กตัญญ – บูชา

ตัวอย่างที่ 5


“ชื่อเสียงมั่นคงดำรงไว้”


จากตัวอย่าง พบกรเล่นเสียงสระ คือ มั่นคง – ดำรง

24


ตัวอย่างที่ 6


“สดุดีทีปราษฎร์พิทยา”


จากตัวอย่าง พบกรเล่นเสียงสระ คือ ดี – ที

การเล่นคำ


จากเพลงมาร์ชประจำโรงเรียนทีปราษฎร์พิทยา ไม่พบการเล่นคำตามที่กรอบการศึกษาที่กำหนดไว้


การใช้โวหารภาพพจน์


จากเพลงมาร์ชประจำโรงเรียนทีปราษฎร์พิทยา ไม่พบการใช้โวหารภพพจน์





6. เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนบ้านนาสาร


โรงเรียนบ้านนาสารด้านฝนฝึก ตอกเข็มลึกฝังฟากลงรากฐาน

ครูมุ่งสอนผ่อนอารมณ์สมเหตุการณ์ เพื่อสมานมวลศิษย์จิตอ่อนโยน


แนวพุทธิจริยะพละมั่น ได้สัมพันธ์หัตถาท่าโลดโผน


ซึ่งไม่ก่อกัมมันตภาพทางหยาบโลน ครูช่วยโค่นเข่นศิษย์นิมิตดี


ส่วนลูกศิษย์จิตเหิมส่งเสริมครู โดยเรียนรู้หลักธรรมจำเริญศรี


ชาติ เกียรติ วินัย อดทน กล้า สามัคคี ทุกวิถีพิมพ์ใจมั่นนิรันดร

1. การสื่อความหมาย


1. อัตลักษณของโรงเรียน : ครูช่วยโค่นเข่นศิษย์นิมิตดี

2. ค่านิยม 12 ประการ : โดยเรียนรู้หลักธรรมจำเริญศรี ,ชาติ เกียรติ วินัย อดทน กล้า สามัคค ี

3. เป้าหมาย : ครูมุ่งสอนผ่อนอารมณ์สมเหตุการณ์

4. คติพจน์ของโรงเรียน : แนวพุทธิจริยะพละมั่น


2. การใช้ภาษา

จากเพลงมาร์ชประจำโรงเรียนบ้านนาสาร (บ.ส.) จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบการใช้ภาษาดังต่อไปนี้

25


การเล่นเสียงพยัญชนะ ดังตัวอย่าง


“ครูช่วยโค่นเข่นศิษย์นิมิตดี”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงพยัญชนะ คือ โค่น – เข่น

การเล่นเสียงสระ ดังตัวอย่าง


ตัวอย่างที่ 1


“โรงเรียนบ้านนาสารฝนฝึก ตอกเข็มลึกฝังฟากลงรากฐาน


ครูมุ่งสอนผ่อนอารมณ์สมเหตุการณ์ เพื่อสมานมวลศิษย์จิตอ่อนโยน”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ สาร – ด้าน , ฟาก – ราก , อารมณ์ – สม, ศิษย์ – จิต


ตัวอย่างที่ 2


“แนวพุทธิจริยะพละมั่น ได้สัมพันธ์หัตถาท่าโลดโผน

ซึ่งไม่ก่อกัมมันตภาพทางหยาบโลน ครูช่วยโค่นเข่นศิษย์นิมิตดี”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ จริยะ – พละ , ภาพ – หยาบ , โผน –โลด , ศิษย์ – นิม


ตัวอย่างที่ 3


“ส่วนลูกศิษย์จิตเหิมส่งเสริมครู โดยเรียนรู้หลักธรรมจำเริญศรี


ชาติ เกียรติ วินัย อดทน กล้า สามัคคี ทุกวิถีพิมพ์ใจมั่นนิรันดร”

จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ คือ ศิษย์ – จิต, ครู – รู้, ธรรม – จำ, ศรี – คี – ถี


การเล่นคำ


จากเพลงมาร์ชประจำโรงเรียนบ้านนาสาร (บ.ส.) จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไม่พบการเล่นคำตามกรอบ

การศึกษา

26


การใช้โวหารภาพพจน์ ดังตัวอย่าง


“ชาติ เกียรติ วินัย อดทน กล้า สามัคคี ทุกวิถีพิมพ์ใจมั่นนิรันดร”


จากตัวอย่าง ปรากฏการใช้โวหารอธิพจน์ คำว่ามั่นนิรันดร




7. เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนพระแสงวิทยา


เลือดเทาแดงพระแสงวิทยา แหล่งศึกษาสามัญในท้องถิ่น


เมืองคนดีมิมีใครหยามหมิ่น ลูกทักษิณถิ่นด้ามขวานไทย


สามัคคีพี่น้องเรายึดมั่น เรียนขยันหมายมั่นเราฟันฝ่า


มีวินัยจิตใจแสนเริงร่า การกีฬากล้าไม่ถอยใคร


เรียนเราเรียนพากเพียรอุตส่าห์ มาพวกเรามาศึกษาความรู้ได้

อิปันตาปีสายน้ำที่ยิ่งใหญ่ เกียรติก้องนามไม้ปาล์มยางพารา


สรรพนานาเจ้าแม่เรากราบไหว้ ส่งแบ่งปันสร้างฝันพระแสงให้


ก้าวไกลเด็กไทยพัฒนา


1. การสื่อความหมาย


1. ปรัชญาของโรงเรียน : การกีฬากล้าไม่ถอยใคร
2. ค่านิยม 12 ประการ : เรียนเราเรียนพากเพียรอุตส่าห์

3. สีประจำโรงเรียน : สีเทาและสีแดง

4. ที่ตั้งของโรงเรียน : ตำบลอิปัน

5. เป้าหมาย : ส่งแบ่งปันสร้างฝันพระแสงให้ก้าวไกลเด็กไทยพัฒนา


2. การใช้ภาษา


จากเพลงมาร์ชประจำโรงเรียนพระแสงวิทยา (พ.ส.ว.) จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบการใช้ภาษาดังต่อไปนี้

การเล่นเสียงพยัญชนะ ดังตัวอย่าง

27


ตัวอย่างที่ 1


“แหล่งศึกษาสามัญในท้องถิ่น”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงพยัญชนะ คือ ศึก – ษา – สา

ตัวอย่างที่ 2


“เรียนขยันหมายมั่นเราฟันฝ่า”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงพยัญชนะ คือ ฟัน – ฝ่า


ตัวอย่างที่ 3


“มีวินัยจิตใจแสนเริงร่า”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงพยัญชนะ คือ จิต – ใจ


ตัวอย่างที่ 4

“เกียรติก้องนามไม้ปาล์มยางพารา”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงพยัญชนะ คือ เกียรติ – ก้อง


การเล่นเสียงสระ ดังตัวอย่าง


ตัวอย่างที่ 1


“เลือดเทาแดงพระแสงวิทยา แหล่งศึกษาสามัญในท้องถิ่น

เมืองคนดีมิมีใครหยามหมิ่น ลูกทักษิณถิ่นด้ามขวานไทย”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ ได้แก่ แดง – แสง, ยา – ษา, ถิ่น – หมิ่น – ษิณ


ตัวอย่างที่ 2


“สามัคคีพี่น้องเรายึดมั่น เรียนขยันหมายมั่นเราฟันฝ่า


มีวินัยจิตใจแสนเริงร่า การกีฬากล้าไม่ถอยใคร”


จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ ได้แก สามัคคี – พ, ขยัน – มั่น, ฝ่า – ร่า – กีฬา – กล้า
ี่


28


ตัวอย่างที่ 3


“เรียนเราเรียนพากเพียรอุตส่าห์ มาพวกเรามาศึกษาความรู้


อีปันตาปีสายน้ำที่ยิ่งใหญ่ เกียรติก้องนามไม้ปาล์มยางพารา

สรรพนานาเจ้าแม่เรากราบไหว้ ส่งแบ่งปันสร้างฝันพระแสงให้


ก้าวไกลเด็กไทยพัฒนา”



จากตัวอย่าง พบการเล่นเสียงสระ ได้แก อุตส่าห์ – มา – ศึกษา, ได้ – ใหญ่ – ไม้, ให้ – ไกล – ไทย

การเล่นคำซ้ำ ดังตัวอย่าง


“เรียนเราเรียนพากเพียรอุตส่าห์ มาพวกเรามาศึกาความรู้”


จากตัวอย่าง พบการเล่นคำซ้ำ คือ เรียนและมา


การใช้โวหารภาพพจน์

ตัวอย่างที่ 1


“เมืองคนดีมิมีใครหยามหมิ่น”


จากตัวอย่าง เป็นการใช้โวหารอธิพจน์ เนื่องจากมีการกล่าวเกินจริง


ตัวอย่างที่ 2


“ลูกทักษิณถิ่นด้ามขวานไทย”

จากตัวอย่าง เป็นการใช้โวหารนามนัย เนื่องจากทักษิณ สื่อถึง ทิศใต้

29


`บทที่ 5


สรุป อภิปลายผล และข้อเสนอแนะ


การศึกษาค้นคว้าเรื่อง การศึกษากี่สื่อความหมายในเพลงมาร์ชโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาด

ื่
ใหญ่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11 มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นคว้าเพอศึกษาคำที่สื่อความหมายของเพลงมาร์
ชโรงเรียนขนาดใหญ่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต11 และเพื่อศึกษาการใช้ภาษาของเพลงมาร์ชโรงเรียนของโรงเรียน

มัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต11 โดยแหล่งข้อมูลหรือกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ

เพลงมาร์ชโรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11 จำนวน 7 เพลง ซึ่งได้กำหนดวิธีการศึกษา ตามขั้นตอนดังนี้

การรวบรวมข้อมูล

1. เก็บรวบรวมข้อมูลจาสกเว็บไซต์

2. ศึกษาเพลงมาร์ชโรงเรียนทั้งหมด 7 เพลง

3. วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปข้อมูล




การสรุปผลข้อมูล


คณะผู้จัดทำได้สรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นคว้าดังรายละเอียด

1. ผลการศึกษาคำที่สื่อความหมายของเพลงมาร์ชโรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11 คณะผู้จัดทำ

พบว่าคำที่ใช้สื่อความหมายในเพลงมาร์ชโรงเรียนมีทั้งสิ้น 10 อย่างดังนี้ 1) อัตลักษณ์ของโรงเรียน พบทั้งหมด 2

โรงเรียน 2) เอกลักษณ์ของโรงเรียน พบทั้งหมด 1 โรงเรียน 3) ปรัชญาของโรงเรียน พบทั้งหมด 3 โรงเรียน 4)

คำขวัญของโรงเรียน พบทั้งหมด 2 โรงเรียน 5) ค่านิยม 12 ประการ พบทั้งหมด 6 โรงเรียน 6) สีประจำ

โรงเรียน พบทั้งหมด 6 โรงเรียน 7) เป้าหมาย พบทั้งหมด 2 โรงเรียน 8) ที่ตั้งของโรงเรียน พบทั้งหมด 5

โรงเรียน 9) คติพจน์ของโรงเรียน พบทั้งหมด 3 โรงเรียน 10) บุคคลสำคัญ พบทั้งหมด 2 โรงเรียน

2. ผลการศึกษาการใช้ภาษาของเพลงมาร์ชโรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 11 คณะผู้จัดทำพบว่า

ประเภทของการใช้ภาษาทั้งสิ้น 7 ประเภทดังนี้ 1) การเล่นเสียงพยัญชนะ พบทั้งหมด 17 ตัวอย่าง 2) การเล่น

เสียงสระ พบทั้งหมด 38 ตัวอย่าง 3) การเล่นคำพ้อง พบทั้งหมด 1 ตัวอย่าง 4) การเล่นคำซ้ำ พบทั้งหมด 4

ตัวอย่าง 5) การใช้โวหารอธิพจน์ พบทั้งหมด 3 ตัวอย่าง 6) การใช้บุคลาธิษฐาน พบทั้งหมด 2 ตัวอย่าง 7) การ

ใช้โวหารนามนัย พบทั้งหมด 3 ตัวอย่าง

30


อภิปรายผล


จากการศึกษาค้นคว้า พบว่าเพลงมาร์ชโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

เขต 11 นิยมใช้การสื่อความหมายในเรื่องของค่านิยม 12 ประการ สีประจำโรงเรียน ที่ตั้งของโรงเรียน ปรัชญา คติ
พจน์ อัตลักษณ์ คำขวัญ เป้าหมาย บุคคลสำคัญ และเอกลักษณ์ ตามลำดับ และมีการใช้ภาษาโดยการเล่นเสียง

สระ การเล่นเสียงพยัญชนะ การเล่นคำซ้ำ การใช้โวหารอธิพจน์ การใช้โวหารนามนัย การใช้โวหารบุคลาธิษฐาน


และการเล่นคำพอง




ข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไป


1.ควรศึกษาการใช้คำครุ-ลหุ ในเพลงมาร์ชโรงเรียน


2.ควรศึกษาคำเป็น คำตาย ในเพลงมาร์ชโรงเรียน

31





บรรณานุกรม



ดารา รัชนิวัช. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ).บทที่ ๓ การสื่อความหมายและการเรียนรู้.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก

http://old-book.ru.ac.th/e-book/e/ET201(55)/ET201-3.pdf?fbclid.(สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม

2563).


พาลีสอนน้อง.(ไม่ปรากฏปีที่พิมพ).คุณค่าทางวรรณศิลป์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก


https://sites.google.com/site/phalisxnnxng/bth-thi2/khunkha-thang-wrrnsilp.(สืบค้นเมื่อ 17
ธันวาคม 2563).



พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์.(ไม่ปรากฏปีที่พิมพ).ศิลปะการประพันธ์ในวรรณคดีไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก

http://www.digitalschool.club/digitalschool/m2/th2_1/lesson3/content1/teacher_1_pdf.p

df.(สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2563).



เพลงมาร์ชทีปราษฎร์พิทยา. (2560).เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนทีปราษฎร์พิทยา.[ออนไลน์].เข้าถงได้จาก

http://tpp.ac.th/2016/?p=181.(สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2563).

khon-it nakorn. (2555).ฐานข้อมูลเพลง-มาร์ชประจำโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก


http://marchmattayomschoolthailand.blogspot.com/.(สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2563).


Click to View FlipBook Version