The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

Green Gradient Modern Home For Sale A4 Flyer

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kunwuttichaiaat, 2022-01-20 09:09:25

Green Gradient Modern Home For Sale A4 Flyer

Green Gradient Modern Home For Sale A4 Flyer

BIG BEAR
GROUP

Working Environment
Harzards

MGT498 (Modern Administration and
Management Pre-Coorperative Education)

สารบัญ

บทนำ

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมของไทยในปัจจุบันนั้น

มีแนวโน้มในการขยายตัวและพัฒนาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่เหตุการณ์ดัง

กล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากการจัดตั้งนโยบายส่งเสริมการลงทุนในภาค

อุตสาหกรรมของรัฐบาล ที่มีการดำเนินการเริ่มต้นอย่างจริงจังตั้งแต่แผน
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 อีกทั้งยังมีสาเหตุอันเนื่อง

มาจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตในประเทศ ที่ได้พัฒนาจาก

เศรษฐกิจภาคเกษตรกรรมให้เป็นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมและมีการ

พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมสามารถ

ขยายตัวไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศได้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาในด้าน

การใช้ประโยชน์จากแรงงานมนุษย์ ซึ่งสามารถเห็นได้จากการจัดตั้ง

โรงงานอุตสาหกรรมขึ้นในหลาย ๆ จังหวัดของประเทศไทย ทำให้เกิดกำไร

และผลผลิตแก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งสามารถสร้างความก้าวหน้าให้แก่

เศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศชาติได้

จากการที่ผู้คนจำนวนมากในประเทศไทย มีการดำเนินชีวิตเกี่ยวข้อง

กับงานในโรงงานอุตสาหกรรม งานสร้างเหมืองแร่ หรืออาจจะเป็นสถาน

ประกอบการอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้แรงงานมนุษย์ในการทำงานร่วมกับ

เครื่องจักรโดยตรง ทำให้สภาพแวดล้อมของการทำงานมีลักษณะค่อนข้าง

อันตราย รวมทั้งมีสภาวะการทำงานที่สามารถนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ

อาการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วยและอาจนำไปสู่การเกิดโรคจากกระบวนการ

ทำงานได้ ซึ่งสาเหตุของอาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะแตกต่าง

กันไปจากความประมาท การละเลยในการปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย

การกระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือจากการดำเนินงานผิดพลาดจนทำให้

เกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บขึ้นมาได้ ตัวอย่างเช่น การทำงานที่สัมผัสกับ

อุณหภูมิร้อนจัดหรือเย็นจัด การสัมผัสก๊าซพิษสารพิษ หรือ รังสี การลื่น

ล้ม การสัมผัสกับกระแสไฟฟ้า การถูกชน การถูกวัตถุ หนีบ ทับ หรือ

กระเด็นเข้าตา และการที่วัตถุตกจากลงมาจากที่สูงหรือบริเวณพื้นต่าง

ระดับ เป็นต้น โดยเหตุการณ์ต่างๆดังกล่าวนี้ เป็นอุบัติเหตุที่ไม่เพียงแต่จะ

เกิดขึ้นได้เฉพาะกับผู้ที่มีประสบการณ์น้อยในการทำงานด้านอุตสาหกรรม

เพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดขึ้นกับผู้ที่มีประสบการณ์จากการทำงานมา

นานได้เช่นเดียวกัน

อันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน

สิ่งแวดล้อมในการทำงาน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวผู้ประกอบ
อาชีพใน สถานที่ทำงาน เช่น เครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องอำ นวยความ
สะดวกต่างๆ ในการทำงาน ความร้อน ความเย็น รังสีแสง เสียง ความ
สั่น สะเทือน ฝุ่น ละออง สารเคมี ก๊าซ บุคคลที่มี ส่วนเกี่ยวข้องกับการ
ทำงาน ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่โดยทั่วๆ ไปในสถานที่ทำงาน และปัจจัย
เกี่ยวข้องที่มาจากสภาพแวดล้อมในสังคมหรือชุมชน ซึ่งจะมีความแตก
ต่างกันไปใน แต่ละชุมชน ได้แก่ สถานที่ตั้ง สภาพภูมิศาสตร์ อุณหภูมิ
ความชื้น แสงแดด อัตราฝนตก คุณภาพน้ำ สิ่งก่อสร้าง การคมนาคม
สภาพอากาศ การจราจรที่แออัด กลิ่น เป็นต้น

สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment)
เป็นสภาพแวดล้อมที่สำคัญที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ประกอบอาชีพตลอด
ระยะเวลาในแต่ละวันในการทำางานที่มีการใช้เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์
หรือสภาพการ ทำงานที่เสียงดังเกินไป มีความสั่นสะเทือน มีความร้อน
ความเย็นสูง หรือมีความกดดันที่ผิดปกติ หรือแม้กระทั่งรังสีต่างๆ เมื่อ
ร่างกายได้รับและสะสมเป็นระยะเวลาหนึ่ง จึงจะแสดงอาการของความเจ็บ
ป่วย ความสูญเสีย หรือความพิการอย่างถาวรของอวัยวะต่างๆ ของ
ร่างกายได้ซึ่งสามารถแบ่งสิ่งแวดล้อมทางกายภาพออกเป็น ดังนี้

เสียง เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่น
สะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่าน
ตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะ
ก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้
เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึงหู มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่ง
ไปยังสมอง ทำให้เรารับรู้และจำแนกเสียงต่าง ๆ ได้

อันตรายที่เกิดจากเสียง
- ต่อสุขภาพร่างกาย ทำห้สมรรถภาพการได้ยินลดลง
- ต่อสุขภาพจิต ทำให้เสียสมาธิมาก เกิดความน่ารำคาญ เบื่อหน่าย เบื่อ
งาน เกิดสภวาวะทางอารมณ์ที่หงุดหงิด
- ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำให้งานเกิดความผิดพลาด

การป้องกันอันตรายจากเสียง
1. การควบคุมที่แหล่งกำเนิด

- การออกแบบอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรให้มีการทำงานที่เงียบ
- การเปลี่ยนกระบวนการผลิตที่ไม่ทำให้เกิดเสียงดัง
- การติดตั้งเครื่องจักรให้มั่นคง และการใช้อุปกรณ์กันสะเทือนจะช่วยลด
เสียงได้
- การบำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรอยู่เสมอ
2. การควบคุมที่ทางผ่านของเสียง
- เพิ่มระยะห่างระหว่างเครื่องจักร และผู้รับเสียง
- การปลูกต้นไม้ยืนต้นที่มีใบดกบริเวณริมรั้ว ช่วยในการลดเสียงได้
3. การควบคุมการรับเสียงที่ผู้ฟัง
- การใช้อุปกรณ์ป้องกันต่อหู เพื่อลดความดังของเสียงมี 2 แบบคือที่
ครอบหู ปลั๊กอุดหู

- การลดระยะเวลาในการรับเสียงของผู้ที่อยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังเกิน
มาตรฐาน

ความร้อน โดยปกติร่างกายของมนุษย์มีอุณหภูมิปกติอยู่ที่ 37
องศาเซลเซียส หรือ 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งควบคุมโดยศูนย์ควบคุม
อุณหภูมิของร่างกายที่สมองส่วนไฮโปธารามัส ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมการ
ระบายความร้อนโดยต่อมเหงื่อ การถ่ายเทความร้อนของร่างกายมีทั้ง
การนำ การพา และการแผ่รังสีความร้อน การถ่ายเทความร้อนของร่างกาย
จะดีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ เช่น กระแสลมจะ
ช่วยให้มีการพาความร้อนได้ดี ในบรรยากาศที่มีความชื้นน้อย ทำให้การ
ระเหยของเหงื่อจากร่างกายจะทำได้มาก และการที่ร่างกายคนงานต้อง
ทำงานในที่ที่มีอุณหภูมิสูง การระบายความร้อนจากบรรยากาศจะถูกพาเข้า
สู่ร่างกายของมนุษย์มากกว่าที่ร่างกายจะสามารถระบายความร้อนออก ก่อ
ให้เกิดผลกระทบต่อสภาพร่างกาย โดยปกติร่างกายจะได้รับความร้อนจาก
2 ทางคือ พลังงานเมตาบอลิซึมระหว่างการทำงาน เกิดจากการเผาผลาญ
ในร่างกาย และพลังงานความร้อน เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(ในกระบวนการผลิต)

อันตรายจากที่เกิดจากความร้อน
- การเป็นลมหรือ Heat Stroke มีลักษณะอาการ เป็นลม ตัวแห้ง ผิว

แดง อุณหภูมิร่างกายสูง เกิดตาค้าง ชักกระตุก หมดสติ
- อ่อนเพลียเนื่องจากความร้อน เสียเกลือแร่ในร่างกายจนร่างกาย

อ่อนเพลีย กระหายน้ำ
- ตะคริวเนื่องจากความร้อน กล้ามเนื้อในร่างกายเสียความสมดุล ระบบ
การไหลเวียนของโลหิตเสีย กล้ามเนื้อบีบตัว

วิธีป้องกันอันตรายจากความร้อน
- สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี
- หากทำงานในที่โล่งแจ้ง ควรมีการหยุดพักระหว่างการทำงานใน
ที่ร่มเพื่อระบายความร้อน
- ดื่มน้ำ หากรู้สึกว่าร่างกายอ่อนเพลียจากความร้อน
- หากทำงานภายในอาคาร ควรเพิ่มการระบายอากาศ เช่น ติดพัดลม หรือ
เปิดหน้าต่าง เพื่อระบายความร้อน
- หากทำงานที่ต้องสัมผัสกับ แหล่งกำเนิดความร้อน เช่น หม้อไอน้ำ หรือ
อุปกรณ์เครื่องมือที่ก่อให้เกิดความร้อน ควรมีฉนวนกันความร้อน

ความเย็น
อันตรายที่เกิดจากความเย็น

การทำงานกับความเย็นมาก ๆ หรืออยู่ในห้องที่มีความเย็นเป็นระยะเวลา
นาน ๆ มักจะทำให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตที่ไม่ดี อาจจะหยุด หรือไม่มี
การหมุนเวียนเลยก็ได้ ซึ่งจะทำให้อวัยวะส่วนนั้นขาดโลหิตไปหล่อเลี้ยงส่วน
ต่าง ๆ ของร่างกาย และเกิดอาการชา หมดความรู้สึก นาน ๆ อาจจะทำให้
กล้ามเนื้อส่วนในนั้นตาย จะต้องป้องกันอุณหภูมิในร่างกายมิให้ต่ำกว่า 35
องศาเซลเซียส และสิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้เสียชีวิตได้นั้นก็คือ อุณหภูมิใน
ร่างกายนั้นลดลง

วิธีป้องกันอันตรายจากความเย็น
- การทำงานที่ความเย็นต้องสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง จะไม่อนุญาตให้

ทำงานติดต่อกันที่อุณหภูมิต่ากว่า -32 องศาเซลเซียส
- คนที่ทำงานสัมผัสกับความเย็นตลอดเวลาเป็นประจำที่อุณหภูมิต่ำ

กว่า-24 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียส จะต้องได้รับใบรับ
รองแพทย์ว่าอนุญาตให้ทำงานได้

- ในอุณหภูมิที่ 2 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า ถ้าจะต้องทำงานอยู่ในน้ำ
หรือเสื้อผ้าที่สวมใส่เปียกอยู่ จะต้องเปลี่ยนชุดทำงานในทันที

- ถ้าทำงานที่อุณหภูมิต่ำกว่า -7 องศาเซลเซียส จะต้องจัดเตรียมห้องนั่ง
พักที่มีเครื่องทำความร้อนอยู่ใกล้บริเวณนั้น ๆ

- ถ้าต้องทำงานด้วยมือเปล่าเป็นระยะเวลานานกว่า 10-20 นาทีและมี
อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียสจะต้องป้องกันโดยการสวมใส่ถุงมือ

- ถ้าทำงานในที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิใน
ร่างกายคนทำงานจะต้องไม่ต่ำกว่า 36 องศาเซลเซียส

แสงสว่าง
เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มี

ความยาวคลื่นประมาณ 380 -780 นาโมเมตร (1 นาโมเมตร = 10 - 9
เมตร) ซึ่งเป็นระยะความยาวคลื่นที่มองเห็นได้ (Visible Light) การ
เปลี่ยนแปลงของความยาวคลื่นของแสงสว่าง จะทำให้ตารู้สึกเห็นเป็นสี
ต่างๆ ตามความยาวคลื่นนั้น ความยาวคลื่น (นาโมเมตร)

อันตรายที่เกิดจากแสงสว่าง
แสงสว่างนั้นส่งผลต่อการมองเห็น หน่วยการวัดเรียกว่า ลักซ์ (LUX)

แสงสว่างเกิดจาก 2 แหล่งคือ แสงที่ได้จากธรรมชาติ และแสงสว่างที่
มนุษย์สร้างขึ้น

- แสงที่สว่างมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการตาพร่ามัว เมื่อยล้า ปวดลูกตา
การอักเสบของเยื่อบุตา ซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้

- แสงสว่างน้อยเกินไปนั้น มักจะเกิดอาการตาเมื่อยล้า มึนเพราะต้องเพ่ง
สายตา นอนไม่หลับ เห็นภาพหลอน

วิธีป้องกันอันตรายที่เกิดจากแสงสว่าง
การจัดให้มีแสงสว่างเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความ

ปลอดภัยในการมองเห็นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความรู้สึกในการ
มอง และในแง่เศรษฐกิจนั้น เป็นการนำพลังงานมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
และที่สำคัญ คือ เพื่อช่วยผลผลิตให้กับสถานประกอบการ การบำรุงรักษา
ระบบแสงสว่างให้มีสภาพดีคงอยู่เสมอ ก็เป็นวิถีทางการป้องกันและการ
ควบคุม ในเรื่องของแสงสว่างที่เหมาะสมและดีที่สุด การจัดแสงสว่างใน
สถานประกอบการให้มีสภาพที่เหมาะสม มีหลักในการพิจารณาจากปัจจัย
ต่าง ๆ ดังนี้
1. การเลือกระบบแสงสว่างและแหล่งกำเนิดแสงสว่าง
2. ลักษณะของห้องหรือพื้นที่ใช้งาน
3. คุณภาพและปริมาณของแสงสว่าง
4. การดูแลบำรุงรักษาระบบแสงสว่าง


Click to View FlipBook Version