The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคุณธรรม ภาคเรียน 2 ปีการศึกษา 2565

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by takrear16, 2023-08-12 03:28:36

ม.3เค้าโครงงานคุณธรรมตายายย่าน พิทักษ์บุหรี

รายงานผลการดำเนินงานโครงงานคุณธรรม ภาคเรียน 2 ปีการศึกษา 2565

เค้าโครงร่างโครงงานคุณธรรม ประจ าการศึกษา 2565 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม โครงงานคุณธรรม โครงงานคุณธรรมตายายย่าน พิทักษ์บุหรี่สุรา พัฒนาชุมชนเข้มแข็ง ที่มาและความส าคัญ ยาเสพติดเป็นปัญหาส าคัญระดับชาติที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่ต้องเร่งด าเนินการแก้ไข อย่างจริงจัง ทั้งนี้ เพราะปัญหายาเสพติดมีการแพร่ระบาดในทุกพื้นที่ของประเทศไทย ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ส่งผล กระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเมืองและความมั่นคง ของชาติ รัฐบาลจึงได้ก าหนดให้ปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” และมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ ด าเนินการ สร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา ก าหนดมาตรการป้องกันเด็กและเยาวชนที่มีความเสี่ยงไม่ให้ เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เรียนรู้ถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด รู้จักปฏิเสธ หลีกเลี่ยงยา เสพติด และใช้เวลา ว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่นมั่วสุมกับยาเสพติดและอบายมุข ตลอดจน ดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จึงได้ก าหนดนโยบายให้สถานศึกษาเป็นองค์กรหลักในการ ด าเนินการ ปัจจุบันบุหรี่จัดเป็นยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาทที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งปัญหาการติดบุหรี่ นับวันจะเพิ่มความรุนแรงและเป็นปัญหาทางสุขภาพที่ส าคัญด้านสาธารณสุขของประเทศอย่างมาก และยัง แพร่ ระบาดในกลุ่มเยาวชนทั่วไป เนื่องจากบุหรี่เป็นยาเสพติดที่หาซื้อได้ง่ายเสพติดง่ายแต่เลิกยาก ผู้ที่สูบบุหรี่ ส่วนใหญ่ เริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่วัยรุ่น สาเหตุคือ อยากทดลอง อยากท าตามเพื่อนและผู้ใหญ่ อยากแสดงว่าตัวเอง เป็นผู้ใหญ่แล้ว อีกทั้งได้รับอิทธิพลจากการโฆษณาหรือการส่งเสริมการขายจากผู้คนรอบข้าง จาก ปัญหาและความเป็นมาที่กล่าว มานั้น ส่งผลต่อนักเรียนและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน ส าหรับโรงเรียนตะเครียะวิทยาคมมีนักเรียนที่ศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จ านวนทั้งสิ้น 125 คน ซึ่งนักเรียนในกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะทดลองและมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ เนื่องจากนักเรียนเหล่านี้มี ความอยากรู้อยากลองและมีพฤติกรรมเลียนแบบ อยากเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อน สภาพแวดล้อมโดยรอบ สถานศึกษาเป็นแหล่งชุมชนท าให้ง่ายต่อการซื้อบุหรี่มาสูบ และอาจน าไปสู่การติดสิ่งเสพติดชนิดอื่นๆ ตามมา ซึ่ง จากการสังเกตและสอบถามประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโรงเรียน นักเรียน ครู ผู้ปกครอง พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ ที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีการสูบบุหรี่บริเวณนอกโรงเรียนและใน ห้องน้ าของโรงเรียน และจากการสอบถามนักเรียนเหล่านั่นพบว่า สาเหตุของการสูบบุหรี่ เพราะการเลียนแบบ เพื่อน ต้องการเข้าสังคมเพื่อน ทางกลุ่มกัลยาณมิตรจึงได้เห็นความส าคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดท าโครงงาน คุณธรรมตายายย่าน พิทักษ์บุหรี่สุรา พัฒนาชุมชนเข้มแข็งขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้าน การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ให้กับนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ ควบคู่คุณธรรม ไม่ฝักใฝ่ อบายมุข และไม่สร้างปัญหา ให้กับสังคม สามารถด ารงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ที่จะพัฒนาประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป


3. วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการสูบบุหรี่ ๒. เพื่อแก้ไขปัญหานักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการดื่มสุรา น้ ากระท่อม 3. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับนักเรียนไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขในอนาคต 4. เพื่อสร้างจิตส านึกและฝึกให้นักเรียนเป็นผู้มีจิตอาสา เสียสละ ช่วยเหลือคนในสังคม อย่างเต็มใจ และ เต็มศักยภาพของตน 4. ปัญหา - นักเรียนบางส่วนสูบบุหรี่ - นักเรียนบางส่วนดื่มสุรา น้ ากระท่อม 5. สาเหตุของปัญหา 6.กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนโรงเรียนตะเครียะวิทยาคม ประกอบไปด้วยนักเรียนทั้งหมด 125 คน นักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้าน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ จ านวน 20 คน ,นักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านพฤติกรรมการดื่มสุรา น้ ากระท่อม จ านวน 21 คน ปัญหาที่พบ ในโรงเรียน สาเหตุของปัญหา ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก ปัญหาการสูบ บุหรี่ ดื่มสุรา 1. นักเรียนมีความหลงผิด ,ค่านิยมผิดตามเพื่อน ,อยากรู้ อยากลอง 2. นักเรียนขาดความรู้ ขาดความตระหนัก ในพิษภัยของ บุหรี่ สุรา 3. นักเรียนไม่เคารพย าเกรงในกฎระเบียบของโรงเรียน กฎ ของโรงเรียนไม่ชัดเจน 4. นักเรียนขาดธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในจิตใจ ไม่ค่อย เข้าวัด ปฏิบัติธรรม 1.อิทธิพลเพื่อนกลุ่มเสี่ยง ชักชวน และสร้าง ค่านิยมผิดๆ 2.ครอบครัวเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี สูบบุหรี่ และดื่ม สุราให้พบเห็นได้ในที่สาธารณะ และที่บ้าน 3.ชุมชนมีพื้นที่เสี่ยง เช่น ร้านขายเหล้าบุหรี่ อยู่ ใกล้โรงเรียนถึง 5 ร้าน


7. ระยะเวลาในการด าเนินงาน ตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566 8. วิธีการแก้ปัญหา การจัดท าโครงงานคุณธรรม ทางกลุ่มกัลยาณมิตรได้น าหลัก UCDA MODEL มาเป็นหลักในการท างาน อย่างเป็นระบบ โดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาและท าให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงให้กระบวนการท างานมี ประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย 1. ขั้นเข้าใจ Understanding ประชุมอภิปรายถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่พบในโรงเรียนตะเครียะวิทยาคม กลุ่มกัลยาณมิตรประกอบไปด้วย กลุ่มตายายย่าน กลุ่มเพื่อนที่ปรึกษา และกลุ่มสภานักเรียน กลุ่มตายายย่าน ได้จากการแบ่งกลุ่มตามพื้นที่ที่นักเรียนอาศัยอยู่ โดย แบ่งออกเป็น 12 ย่านดังนี้ย่านดอนแบก ย่านล่องลม ย่านคลองโพธิ์ ย่านหนอง ไอแท่น ย่านหนองถ้วย ย่านบ้านพราน ย่านเสาธง ย่านสามอ่าง ย่านคูวา ย่าน บ้านขาว ย่านปากเหมือง และย่านปากบาง โดยสมาชิกในย่านจะมีนักเรียนตั้งแต่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – ๖ กลุ่มเพื่อนที่ปรึกษา คัดเลือกโดยเพื่อนในห้องเรียนแต่ละระดับชั้น ห้อง ละ 2 คนเป็นตัวแทนเพื่อนที่ปรึกษา พิจารณาคัดสรรว่าเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ สามารถคิดวิเคราะห์ มีจิตอาสาในการรับฟังให้ค าปรึกษาหารือและได้รับการ พัฒนาให้มีความรู้ความ สามารถในการให้ค าปรึกษาเบื้องต้นและปฏิบัติหน้าที่ให้ ค าปรึกษาโดยการดูแลชี้แนะอย่างใกล้ชิดของครูแนะแนว กลุ่มสภานักเรียน ได้จากการเลือกตั้งโดยการสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสภานักเรียนและมีการเลือกตั้ง สมาชิกสภานักเรียนแต่ละสายชั้น เพื่อท าหน้าที่บริหารกิจกรรม ตรวจ ส่องดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายใน โรงเรียน กลุ่มกัลยาณมิตรได้ร่วมกันอภิปรายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนตะเครียะวิทยาคมที่เป็นประเด็นหลักที่ ควรเร่งแก้ไข ซึ่งจากการอภิปราย พบว่าปัญหาด้านพฤติกรรมของนักเรียนเป็นปัญหาหลักที่ควรแก้ไขเร่งด่วน คือ ปัญหานักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้านการสูบบุหรี่ และดื่มสุรา


กลุ่มกัลยาณมิตร ได้ร่วมกับระหว่างกลุ่มเพื่อนที่ปรึกษา กลุ่มสภานักเรียน กลุ่มตายายย่าน และครูที่ปรึกษา ในการร่วมกันวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา จากการตอบแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์จากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง 2. ขั้นเข้าถึง Connecting คัดแยกนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการสูบบุหรี่และดื่มสุราและหา แนวทางในการส่งเสริม ป้องกันและแก้ไขปัญหา กลุ่มกัลยาณมิตร ได้คัดเลือกตัวแทนนักเรียนในแต่ละห้องเรียนเพื่อท าหน้าเป็นสายลับ ท าหน้าที่สังเกต พฤติกรรมของเพื่อนนักเรียนร่วมกับครูประจ าชั้นและคัดแยกพฤติกรรมของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงด้านการสูบบุหรี่ และดื่มสุรา ทางกลุ่มกัลยาณมิตรได้ตระหนักและเห็นความส าคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ปัญหาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในโรงเรียน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่ส าคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่าง เร่งด่วน เพราะปัญหาดังกล่าวนับวันยิ่งเพิ่มจ านวนมากขึ้น และลดอายุลงเรื่อยๆอีกทั้งยังเป็นการน าไปสู่การติดสิ่ง เสพติดชนิดอื่นๆ ตามมา ซึ่งทางกลุ่มกัลยาณมิตรจึงร่วมกันคิดหาทางแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนเพื่อความสงบสุข ภายในโรงเรียน และยังท าให้โรงเรียนพัฒนาขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง ผ่านกิจกรรมต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น 2 ระบบคือ ระบบส่งเสริมป้องกัน กับระบบแก้ไขปัญหา ระบบส่งเสริมป้องกัน : เป็นกระบวนการที่ได้มีการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ให้เกิดขึ้น ผ่านกิจกรรมพี่ สอนน้องท่องความดี กิจกรรมอุ่นเครื่องเรื่องของแถม กิจกรรมกระบอกเสียงแห่งธรรม กิจกรรมตายายย่าน ผูก สัมพันธ์ บ้าน วัด โรงเรียนและกิจกรรมเปลี่ยนเวลาเสี่ยงเป็นเวลาสร้างสรรค์ ระบบแก้ไขปัญหา : ระบบการแก้ไขปัญหาส าหรับนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการสูบบุหรี่ดื่มสุรา ทางกลุ่มกัลยาณมิตรใช้กิจกรรมสื่อรัก คุณท าได้ โดยใช้หลักจิตวิทยาในการแก้ไขปัญหา และใช้สมุนไพรในการเลิก บุหรี่ 3. ขั้นพัฒนา Development การด าเนินการ มีการประชุมระหว่างกลุ่มกัลยาณมิตร กลุ่มตายายย่าน กลุ่มเพื่อนที่ปรึกษา สภานักเรียน ครูที่ปรึกษาโครงงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อวางแผนในกิจกรรมต่างๆ ลงมือท าและประเมินผลการ ด าเนินงาน ถอดบทเรียนจากการด าเนินงาน ประเมินการด าเนินงานสรุปผลและรายงาน ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพี่สอนน้องท่องความดีโดยกลุ่มกัลยาณมิตรเป็นผู้น าน้องๆในโรงเรียนท่องความดี เพื่อเป็นการปลูกฝั่งจิตส านึกที่ดีให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ไม่หลงผิดไปกับอบายมุข กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอุ่นเครื่องเรื่องของแถม เป็นกิจกรรมที่มีการทดลองโทษของสุราและบุหรี่ให้กับ นักเรียน อาทิเช่น โรคที่มาจากการสูบบุหรี่ และ โรคที่มาจากการดื่มสุรา เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงโทษของบุหรี่ และสุรา


กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมกระบอกเสียงแห่งธรรม เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนเข้าถึงหลักธรรมมากยิ่งขึ้น จากปัญหาสูบบุหรี่ และสุรา เป็นผลที่เกิดจากการที่นักเรียนขาดธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในจิตใจ ไม่ค่อยเข้าวัด และปฏิบัติธรรม จึงได้จัดกิจกรรมกระบอกเสียงแห่งธรรมขึ้น ผ่านเสียงตามสายของโรงเรียนและ ผ่านกิจกรรม ธรรมสวนะ โดยจะมีพระมาแสดงธรรมให้ฟังในทุกวันพุธ กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมบริสุทธิ์ใจ ค้นได้ทั่วตัว เป็นกิจกรรมการสุ่มตรวจ โดยสายตรวจของโรงเรียนท า การตรวจในทุกสัปดาห์ ตามกฎของโรงเรียน กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมสื่อรัก คุณท าได้ทางกลุ่มกัลยาณมิตรได้ด าเนินการโดยมีการจัดท าลูกอมสื่อรัก ซึ่ง เป็นลูกอมที่ใช้ในการเลิกบุหรี่ จัดท าจดหมายสื่อรัก ลูกขอพ่อแม่เลิกเหล้า กิจกรรมต้นไม้สื่อรัก โดยการน าเมล็ด พันธ์แจกจ่ายให้กับทุกครอบครัวได้มีกิจกรรมในการปลูกผักร่วมกันระหว่างผู้ปกครองและนักเรียน และส่วนหนึ่งได้ น ามาปลูกที่โรงเรียน หลังจากได้ผลผลิต นักเรียนก็จะน าผักไปให้กับผู้ปกครองที่บ้าน เป็นสื่อรักแทนใจ โดยผลการ ด าเนินกิจกรรมคือ เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่และลูก เพราะได้ท ากิจกรรมร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นการลด ค่าใช้จ่ายให้กับครอบครัวได้ กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมตายายย่าน ผูกสัมพันธ์ บ้าน วัด โรงเรียน ได้มีการด าเนินการเยี่ยมบ้าน ทางกลุ่ม ตายายย่าน ได้มีการแบ่งกลุ่มตามพื้นที่ที่นักเรียนอาศัยอยู่ ในกลุ่มตายายย่านจะประกอบไปด้วยครูที่ปรึกษาประจ า ย่าน และสมาชิกย่าน โดยมีสมาชิกตั้งแต่ ระดับชั้น ม.6 – ม.1 โดยได้ด าเนินการผูกสัมพันธ์ โดยการออกเยี่ยมบ้าน ในพื้นที่ และท ากิจกรรมร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมร่วมกันท าบุญในท้องถิ่น กิจกรรมที่ ๗ กิจกรรมเปลี่ยนเวลาเสี่ยงเป็นเวลาสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ทางกลุ่มกัลยาณมิตร ได้น า เวลาว่างของนักเรียนมาจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมมากขึ้น เช่นส่งเสริมการเล่นกีฬา การเล่นดนตรี เป็นต้น 4. ขั้นเสริมสร้างก าลังใจ Attitude ขั้นเสริมสร้างก าลังใจ เผยแผ่สู่สาธารณะ เสริมขวัญก าลังในให้มีจิตส านึกในการพัฒนาสู่ความยั่งยืน หลังจากที่ได้ด าเนินกิจกรรมพบว่ามีกลุ่มย่านที่ประสบความส าเร็จและไม่ประสบความส าเร็จ ซึ่งกลุ่มที่ประสบ ความส าเร็จ จะได้รับค าชื่นชม ซึ่งเป็นแรงเสริมทางบวก ประกอบกับการตั้งรางวัลเพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับแต่ละย่าน ย่านที่ประสบความส าเร็จจากการปฎิบัติกิจกรรม ได้รับการยกย่อง ชื่นชม และได้รับรางวัล เพื่อเป็นตัวอย่างและ เป็นแรงบันดาลใจให้กับย่านอื่นๆต่อไป ส่วนย่านที่ไม่ประสบความส าเร็จตามเป้าหมายให้กลับไปวางแผน และ ออกแบบกิจกรรมที่จะท าให้บรรลุเป้าหมาย


9. หลักธรรมที่น ามาใช้ หลักธรรม/พระราชด ารัส หลักธรรม ศีล 5 ,อบายมุข 6 ,ไตรสิกขา ศีล ๕ หรือ เบญจศีล ในการอยู่ร่วมกันในสังคมด าเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีความสงบสุข เกิด สันติสุข ไม่มีเวรภัยต่อกันและกันหลักธรรมที่จะท าคนให้เป็นให้เต็มคนอันยังผลให้การอยู่ร่วมกันมีความสุขมีความ สงบสุขนั้นก็คือ เบญจศีลเบญจธรรม อันได้แก่ ๑.1 ปาณาติปาตา เวระมณีเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่า การเบียดเบียน การท าร้ายร่างกายคนและ สัตว์ แล้วมีจิตใจประกอบด้วยเมตตากรุณา มีความปรารถนาดี และสงสารเห็นอกเห็นใจผู้อื่นสัตว์อื่น ๑.2 อทินนาทานา เวระมณีเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่ง ขโมยหรือโจร อันได้แก่ ลัก ฉก ชิง วิ่งราว ขู่กรรโชก ขู่เข็ญ ปล้น จี้ ตู่ ฉ้อโกง หลอก ลวง ปลอม ตระบัด เบียดบัง สับเปลี่ยน ลักลอบ ยักยอก และรับสินบน แล้วเป็นผู้มีความขยันประกอบสัมมาชีพ ๑.3 กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมณีเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑.4 มุสาวาทา เวระมณีเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ เป็นผู้รักสัจจะจะพูดแต่ค าสัตย์จริงด้วย ความจริงใจและปรารถนาดี มุ่งหวังดีต่อผู้ฟัง ๑.5 สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวระมณีเจตนาเป็นเครืองงเว้นจากการดื่มน้ าเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความ ประมาท อันได้แก่ น้ าสุรา เมรัย เครื่องดื่มมึนเมาอื่น ๆ และการเสพยาเสพติดอื่นๆ อบายมุข 6 ดื่มน้ าเมา ,เที่ยวกลางคืน ,เที่ยวดูการละเล่น ,เล่นการพนัน ,คบคนชั่วเป็นมิตร, เกียจคร้าน การท างาน ไตรสิกขา คือ หลักการพัฒนาชีวิตเพื่อให้ประสบความส าเร็จเป็นคนสมบูรณ์แบบตามแนวพุทธ ไตรสิกขา จึงจัดอยู่ใน มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ) คือ ควรท าให้เกิดมีขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาชีวิต ไตรสิกขา แปลว่า สิกขา ๓ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ต้องศึกษา 1 อย่าง คือ อธิสีลสิกขา สิกขา คือ ศีลอันยิ่ง,อธิจิตตสิกขา สิกขา คือจิต อันยิ่ง หมายถึง สมาธิ,อธิปัญญาสิกขา สิกขา คือ ปัญญาอันยิ่ง หลักการเรื่อง “บวร” มีที่มาจากแนวทางพระราชด าริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิ พลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ได้พระราชทานแนวทางการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนโดยอาศัย 3 สถาบันหลักของสังคมไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชน ประกอบด้วย 1) บ คือ สถาบันครอบครัวหรือบ้าน 2) ว คือ สถาบันศาสนา หรือ วัด (ศูนย์กลางทางจิตใจในชุมชน หมายรวมถึงศาสนสถานของศาสนาต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่) และ 3) ร คือ สถานที่ที่ให้ความรู้อย่างมีแบบแผน หรือ โรงเรียน ซึ่งเรียกโดยย่อว่า “บวร” เพื่อเป็นหลักการที่ น ามาปรับใช้ในการพัฒนาและแก้ปัญหาในระดับชุมชนและเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้สังคมไทย


แนวพระราชด าริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักปรัชญาความพอเพียงเป็นหลักคิด และหลักปฏิบัติ ในการด าเนินชีวิต เพื่อน าไปสู่ความพอเพียง เป็น ปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการด ารงอยู่ของคนไทย สังคมไทย เพื่อให้ก้าวทันยุคโลกาภิวัฒน์ ซึ่งประกอบด้วย 3 หลักการ และ 2 เงื่อนไขได้แก่ (1) หลักความพอประมาณ ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและ ผู้อื่น ความพอประมาณด้านการใช้เวลา ใช้หลักธรรมนี้เตือนใจนักเรียนให้รู้จักแบ่งเวลาในการเล่น การเรียน การ ท างานในหน้าที่ (2) หลักความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมี เหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนค านึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระท านั้น ๆ อย่าง รอบคอบ ใช้หลักธรรมนี้เตือนการตัดสินใจในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ก็ต้องมีเหตุผลว่าเล่นเพื่ออะไร เล่นแล้วจะมี ผลอย่างไรต่อตนเองและครอบครัว มีเหตุผลพิจารณาว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้าง จะมีเวลาท างานบ้านหรือไม่ จะมีเวลาท าการบ้านอ่านหนังสือ หรือไม่ เป็นต้น (3) หลักการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวหมายถึง ความมีสติ ไม่ประมาท การใช้ปัญญาในการเตรียมตัวให้พร้อม รับผลกระทบและการเปลี่ยน แปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ใช้หลักธรรมนี้เตือนใจนักเรียนให้รู้จักสร้างภูมิคุมกัน ให้กับตนเอง หากมีวัยรุ่นมาชวนให้ใช้สารเสพติดเราควรเตรียมพร้อมที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเองโดยการ ปฏิเสธ รวมทั้งการรู้จักทบทวนบทเรียน ท าการบ้าน อ่านหนังสือ ก็เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเองคือ ป้องกันการสอบตก (4) เงื่อนไขความรู้ คือ ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะ น าความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้น ปฏิบัติ ใช้เงื่อนไขนี้เตือนนักเรียนให้รู้ว่าการท าลายสาธารณสมบัติผิดกฎหมาย รู้ว่าสารเสพติดเป็นพิษต่อร่างกาย รู้หน้าที่ของลูกต่อบิดามารดา (5) เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความอดทน มีความเพียรใช้สติปัญญาในการ ด าเนินชีวิต ใช้เงื่อนไขนี้เตือนนักเรียนให้อดทนเพียรพยายามท างานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ รู้จักใช้สติปัญญาใน การคิดตัดสินใจก่อนท ากิจกรรมต่าง ๆ


10. ความเชื่อมโยงสู่คุณธรรมอัตลักษณ์ เชื่อมโยงกับคุณธรรมเป้าหมาย คุณธรรมเป้าหมาย พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก ซื่อสัตย์ นักเรียนมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองในการไม่สูบบุหรี่ และดื่มสุรา จิตอาสา นักเรียนมีจิตส านึกและฝึกให้นักเรียนเป็นผู้มีจิตอาสา เสียสละ ช่วยเหลือคนใน สังคม อย่างเต็มใจ และเต็มศักยภาพของตน พอเพียง นักเรียนรู้จักเก็บออม มีภูมิคุ้มกันในตัวเองที่ดีในการห่างไกลจากอบายมุข 11. วิธีการวัดและประเมินผล 1. วิธีวัดและประเมินผล ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ร้อยละของนักเรียนกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการสูบ บุหรี่ลดลง ร้อยละ 60 ร้อยละของนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการดื่มสุรา น้ ากระท่อมลดลง ร้อยละ 60 นักเรียนมีภูมิคุ้มกันให้กับนักเรียนไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข ในอนาคต ร้อยละ 60 นักเรียนมีจิตส านึกและฝึกให้นักเรียนเป็นผู้มีจิตอาสา เสียสละ ช่วยเหลือคนในสังคม อย่างเต็มใจ และเต็ม ศักยภาพของตน ร้อยละ60 วิธีการประเมิน เครื่องมือ ส ารวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และดื่มสุรา แบบส ารวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และดื่มสุรา สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน


12. ผู้รับผิดชอบโครงงาน 1. นายกรพล ชุมจันทร์ 2. นายธนกฤต ศิริบุญ 3. นายพัทธนันท์ เกื้อผุด 4. นายปรัชญา ถาวรานุรักษ์ 5. นายธวัชชัย ศรีดาว 6. นายสมพงษ์ ด ากลิ่น 7. นางสาวกัลยรัตน์ แกล้วทนงค์ 8. นางสาวสิโรรัตน์ ทองบัว 9. นางสาวพรวดี ชูหนู 10.นางสาวอารดา มณีนัย 11.นางสาวสุจิตรา วรรณโร 12.นางสาวนิธิกานต์ ราชสงค์ 13.ที่ปรึกษาโครงงาน นางสาวจิราภรณ์ เพ็ชรรัตน์


Click to View FlipBook Version