โครงงานคุณธรรม ประจ าปีการศึกษา 2565 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม __________________________________________________________________ ๑. ชื่อโครงงาน ลดมลพิษบนโลกออนไลน์ ๒. ที่มาและความส าคัญ ในยุคดิจิทัลที่อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียมีบทบาทส าคัญในการด าเนินชีวิตของนักเรียน กิจกรรมหลายอย่างที่เคยเกิดขึ้นได้เฉพาะบนโลกแห่งความเป็นจริงก็เคลื่อนตัวไปเกิดขึ้นในโลกออนไลน์ด้วย หนึ่งในสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์และกลายมาเป็นปัญหาใหญ่ของคนยุคนี้ ก็คือ การกลั่นแกล้งระรานกัน “การระรานทางไซเบอร์” หรือที่เรารู้จักกันอย่างแพร่หลายว่า “การ Cyberbully” คือ การกลั่นแกล้ง คุกคาม หรือระรานผู้อื่นโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ผ่านโซเชียลมีเดีย การส่งข้อความ การเล่นเกม และ โทรศัพท์มือถือ การ Cyberbully เป็นพฤติกรรมที่มักเกิดขึ้นซ้ า ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว ยั่ว โมโห หรือสร้างความอับอายให้แก่ผู้ที่ตกเป็นเป้าหมาย ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียนจ านวนไม่น้อยที่ประสบปัญหา ดังกล่าว คือการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ ได้แก่ การก่อกวน ข่มขู่คุกคาม การให้ร้ายใส่ความ การแกล้งแหย่ การ เผยแพร่ความลับ การกีดกันออกจากกลุ่ม การแอบอ้างชื่อ การสร้างบัญชีปลอม การขโมยอัตลักษณ์การ ล่อลวง เมื่อการกลั่นแกล้งเกิดขึ้นในโลกออนไลน์ ผู้ถูกกลั่นแกล้งอาจรู้สึกเหมือนถูกโจมตีอยู่ในทุกที่ทุกเวลา แม้กระทั่งในบ้านของนักเรียนเอง ท าให้รู้สึกว่าไม่มีทางหนีจากการกลั่นแกล้งนั้นได้เลย มันจึงสามารถส่งผล กระทบต่อผู้ถูกกระท าได้เป็นระยะเวลานานและความรู้สึกของการถูกคนอื่นหัวเราะเยาะหรือรบกวน อาจ ส่งผลให้นักเรียนไม่กล้าพูดถึงปัญหาหรือพยายามหาทางแก้ปัญหาเหล่านั้นในทางที่ผิด จึงเป็นเหตุผลให้ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้ร่วมมือกันจัดท าโครงงานคุณธรรม เรื่อง ลดมลพิษบนโลกออนไลน์ ขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดพฤติกรรม Cyberbully ที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ และร่วมกัน รณรงค์และส่งเสริมการเป็นพลเมืองที่ดีในยุคดิจิทัล ๓. วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดพฤติกรรม Cyberbully ที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ ๒. เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตนพลเมืองที่ดีในยุคดิจิทัล ๔. ปัญหา นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ถูกระรานผ่านช่องทางสื่อสารออนไลน์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ มีพฤติกรรมการสื่อสารออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม ๕. สาเหตุของปัญหา
นักเรียนขาดความรู้ความเข้าใจและมารยาทในการติดต่อสื่อสารบนโลกออนไลน์ ๖. กลุ่มเป้าหมาย - เชิงปริมาณ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ จ านวน ๒๘ คน - เชิงคุณภาพ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ จ านวน ๒๘ คนเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลด พฤติกรรม Cyberbully ที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ บนโลกออนไลน์และปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดีในยุค ดิจิทัล ๗. ระยะเวลาในการด าเนินงาน ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ๘. วิธีการแก้ปัญหา ๑. ด าเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการนักเรียนภายในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อมอบหมายหน้าที่ ดังนี้ ด าเนินการประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้ เรื่อง Cyberbully ลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม บนโลกออนไลน์และส่งเสริมให้ความรู้การเป็นพลเมืองที่ดีในยุคดิจิทัล ผ่านการน าเสนอ ในห้องเรียน หน้าเสาธงช่วงกิจกรรมเข้าแถวตอนเช้า และผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น ไลน์กลุ่มห้องเรียน และช่องทางการติดต่อสื่อสารแบบออนไลน์ผ่านช่องทางอื่น ๆ ติดตามผลการจัดกิจกรรมโดยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อร่วมกันส ารวจพฤติกรรมที่ไม่ เหมาะสมในการติดต่อสื่อสารบนโลกออนไลน์และสรุปผล ๒. ร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหาหากพบสมาชิกในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีพฤติกรรมที่เข้าข่าย เป็นการ Cyberbully บนโลกออนไลน์ โดยการประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม หรือขอค าแนะน าในการ แก้ปัญหาจากครูที่ปรึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป ๙. หลักธรรมที่น ามาใช้ หลักกัลยาณมิตรและแนวทางปฏิบัติตามหลักการคบหากัลยาณมิตร ประกอบด้วย คุณธรรม ของกัลยาณมิตร ๗ ประการ คือ ปิโย น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษา ไต่ถาม ครุน่าเคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งใจ และ ปลอดภัย ภาวนีโย น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง ในฐานทรงคุณ คือ ความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็น ผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ท าให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ วตฺตา จ รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไรอย่างไร คอยให้ ค าแนะน าว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี
วจนกฺขโม อดทนต่อถ้อยค า คือ พร้อมที่จะรับฟังค าปรึกษาซักถามค าเสนอแนะ วิพากษ์วิจารณ์ อดทน ฟังได้ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว คมฺภีรญฺจ กถ กตฺตา แถลงเรื่องล้ าลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ให้เข้าใจ และ ให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป โน จฏฐาเน นิโยชเย ไม่ชักน าในอฐาน คือ ไม่แนะน าในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทาง เสื่อมเสีย ๑๐. ความเชื่อมโยงสู่คุณธรรมและอัตลักษณ์ - เชื่อมโยงกับคุณธรรมเป้าหมาย รับผิดชอบ มีความรับผิดชอบต่อการสื่อสารในสังคมออนไลน์ จิตอาสา ร่วมกันให้ความรู้เรื่อง Cyberbully แก่นักเรียนร่วมชั้นเรียน ซื่อสัตย์ มีความซื่อสัตย์ต่อการสื่อสารในสังคมออนไลน์ไม่ละเมิดผู้อื่น - พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก ช่วยลดพฤติกรรม Cyberbully ที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ บนโลก ออนไลน์ ๑๑. วิธีการวัดและประเมินผล - วิธีวัดและประเมินผล สังเกตพฤติกรรมการสื่อสารบนโลกออนไลน์ร่วมกันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้ผ่านเกณฑ์ในระดับที่ตั้งไว้ร้อยละ 60 เครื่องมือวัดผล แบบสังเกตพฤติกรรมการสื่อสารบนโลกออนไลน์ร่วมกันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ช่วงระยะเวลา ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ๑๒. สรุปผลการด าเนินโครงการ จากการด าเนินโครงงานนี ้ โดยการให้ความรู้ด้านอินเตอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย เพื่อลดการ Cyberbully และส่งเสริมให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พฤติกรรมที่เหมาะสมบนโลกออนไลน์ เพื่อใช้สื่อต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งผลการประเมินการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี ของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 87% ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่ก าหนด ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่ก าหนดอยู่ในระดับดีมาก
๑๓. ผู้รับผิดชอบโครงงาน ด.ช.สมพงศ์ บุญชู ด.ช.ฐิติกร นกแก้ว ด.ช.ธันวา พรหมณี ด.ช.พงศพัศ ชุมคง ด.ช.อธิภัทธิ์ เปียคล้าย ด.ช.จิรกร ช่วยแท่น ด.ช.จักรพงศ์ เรืองหนู ด.ช.อดิศร ยอดเกลี้ยง ด.ญ.กรกนก ศรีสร้างคอม ด.ญ.ธนพร บุญเผือก ด.ญ.ธนัชพร ทองนุ่น ด.ญ.พศิกา ฉิมสังข์ ด.ญ.วรัญญา วิรุณพันธุ์ ด.ช.ศรัณภัทร อ่อนคง ด.ช.บวรวิทย์ สุทธิใจ ๑๔. ที่ปรึกษาโครงงาน ครูบุญราตรี เพ็ชร์สุวรรณ
ภาคผนวก เอกสารประเมินพฤติกรรมการเป็ นพลเมืองดิจิทัลที่ดี