The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หนังสือเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ
เล่มนี้ ผู้จัดทำได้ค้นคว้าและเรียบเรียงขึ้นจากประสบการณ์ที่ได้พบมาทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เป็นรายงานที่เหมาะสำหรับประกอบการเรียนเป็นอย่างยิ่งซึ่งผู้จัดทำได้นำเนื้อหาที่มีสาระสำคัญรวบรวมและใส่ทุกรายละเอียดอยู่ในหนังสือเล่มนี้

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by fonx2003, 2022-07-04 22:18:19

ประตูระบายน้ำ อุทกวิภาชประสิทธิ

หนังสือเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ
เล่มนี้ ผู้จัดทำได้ค้นคว้าและเรียบเรียงขึ้นจากประสบการณ์ที่ได้พบมาทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เป็นรายงานที่เหมาะสำหรับประกอบการเรียนเป็นอย่างยิ่งซึ่งผู้จัดทำได้นำเนื้อหาที่มีสาระสำคัญรวบรวมและใส่ทุกรายละเอียดอยู่ในหนังสือเล่มนี้

Keywords: ประตูระบายน้ำ อุทกวิภาชประสิทธิ ปากพนัง ประตูระบายน้ำ

ประตูระบายน้ำ
อุทกวิภาชประสิทธิ

คำนำ

หนังสือเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ
เล่มนี้ ผู้จัดทำได้ค้นคว้าและเรียบเรียงขึ้นจากประสบการณ์ที่ได้พบมาทั้งภาค
ทฤษฎีและปฏิบัติ เป็นรายงานที่เหมาะสำหรับประกอบการเรียนเป็นอย่างยิ่งซึ่ง
ผู้จัดทำได้นำเนื้อหาที่มีสาระสำคัญรวบรวมและใส่ทุกรายละเอียดอยู่ในหนังสือ
เล่มนี้
โดยเนื้อหาประกอบไปด้วย รูปภาพสถานที่ และเป็นการแนะนำที่ท่องเที่ยวต่าง
ๆ ในประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ
ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาสนใจค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามโดยเฉพาะได้มีโอกาส
ศึกษารายละเอียดได้มากที่สุดและสามารถเลือกสถานที่ก่อนออกเดินทางได้

รายงานเล่มนี้ ผู้จัดทำได้พยายามเขียนและจัดทำให้ดีที่สุดหากมีข้อบกพร่อง
ประการใดหรือท่านผู้อ่านมีข้อคิดเห็นหรือแนะนำประการใดเกี่ยวกับหนังสือ
เล่มนี้กรุณาแจ้งให้ผู้เขียนทราบเพื่อจะได้นำไปแก้ไขและปรับปรุงให้สมบูรณ์ใน
โอกาสต่อไปองย่อย

สารบัญ

ข้อมูลสถานที่ 1
ลักษณะเด่น 2
ประวัติ 3-4
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มแม่น้า 5-9
แนวทางการเเก้ไขปัญหาตาม 10-11
การบริหารโครงงาน 12
การดำเนินงาน 13
ลักษณะโครงการ 14-15
ประโยชน์โครงการ 16
การติดตามงานเเละแก้ไขผลกระทบ 17
งานพัฒนาเกษตร 19
กรอบแผ่รแม่บทอนุกรรมการ 20-21
ผลสัมฤทธิ์ 22-23
ภาพโคางการ 24

ข้อมูลสถานที่ี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน
แนวทางแก้ไขและพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังทั้ง
ระบบ ถึง 13 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2521 โดยครั้งสำคัญ
ที่สุด เมื่อปี 2536 ทรงมีพระราชดำริให้ก่อสร้าง
ประตูระบายน้ำปากพนัง หรือประตูระบายน้ำ
อุทกวิภาชประสิทธิ เพื่อบริหารจัดการน้ำทั้งหมด
“พระราชดำริดังกล่าว ประสบความสำเร็จมาก
ถือเป็นกุญแจแรกในการพลิกฟื้นลุ่มน้ำปากพนัง
และทำให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่องมาโดยตลอด”
อันคำว่า “อุทกวิภาชประสิทธิ” มีความหมายว่า
ประตูระบายน้ำที่ประสบความสำเร็จในการแยก
น้ำจืดน้ำเค็ม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน เมื่อวัน
ที่ 22 สิงหาคม 2542

ลักษณะเด่น

"ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ"
(โครงการการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมา
จากพระราชดำริ) ตั้งอยู่ที่ตำบลหูล่อง อำเภอ
ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ชื่อว่า
เป็นพระตำหนักแห่งเดียวที่ได้สร้างขึ้นจาก
ประชาชน ในอดีตอำเภอปากพนังมีปัญหาทาง
ด้านสิ่งแวดล้อม มีน้ำท่วม น้ำจืดมีไม่เพียงพอ
ดินเปรี้ยว ความเค็มลุกล้ำเข้ามา เป็นผลให้มี
ผลผลิตต่ำ ความยากจน และแรงงานต้องอ
พยบเข้ามาหางานทำในเมือง ทิ้งถิ่นฐานเรือก
สวนไร่นาที่เคยอุดมสมบูรณ์ออกมา

ประวัติ

ในอดีต ลุ่มน้ำปากพนังเป็นพื้นที่ที่อุดม
สมบูรณ์ในภาคใต้ จากหลักฐานที่พบเห็นคือ
โรงสีไฟ โรงสีข้าวโบราณที่พบหลายแห่งริม
แม่น้ำปากพนัง ด้วยพื้นที่ลุ่มน้ำแห่งนี้กว้าง
ใหญ่ครอบคลุมถึง 10 อำเภอ ใน 3 จังหวัด
ได้แก่จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และ
สงขลา ทำให้ระบบนิเวศมีความหลากหลาย
ทั้งป่าต้นน้ำ ป่าพรุ ป่าชายเลน และพื้นที่
ชายฝั่ง แต่เมื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจเข้า
มา ทำให้พื้นที่ป่าต้นน้ำถูกทำลาย จากเดิมที่
ระบบน้ำจืดและน้ำเค็มผลักดันตาม
ธรรมชาติ ก็แปรเปลี่ยนเพราะน้ำจืดจากป่า
ต้นน้ำไหลลงสู่แม่น้ำปากพนังน้อยลง น้ำเค็ม
จึงทะลักไกลกว่าร้อยกิโลเมตร ไม่เพียงปัญหา
น้ำเค็ม แต่ด้วยภูมิประเทศที่เป็นแอ่งกะทะ
ทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลายาวนาน
ชาวนาผลิตข้าวได้น้อยลง ส่วนพื้นที่ใกล้
ชายฝั่งชาวบ้านปรับเปลี่ยนนาข้าวมาเป็นนา
กุ้ง แต่ด้วยไม่มีความรู้ในการจัดการ ทำให้
เกิดน้ำเสียจากบ่อเลี้ยงกุ้งกระทบถึงนาข้าว
ชาวบ้านทะเลาะขัดแย้งกันเอง

ทำให้เกิดน้ำเสียจากบ่อเลี้ยงกุ้งกระทบถึงนา
ข้าว ชาวบ้านทะเลาะขัดแย้งกันเอง ส่วนใน
พื้นที่ป่าพรุก็มีปัญหาน้ำเปรี้ยว เรียกได้ว่า
พื้นที่แห่งนี้มีปัญหา 4 น้ำ 3 รส ในหลวงทรง
ทราบถึงปัญหา จึงมีพระราชดำริให้
กรมชลประทานก่อสร้างประตูระบายน้ำอุทก
วิภาชประสิทธิ เพื่อแยกน้ำเค็มและน้ำจืดออก
จากกัน และแบ่งโซนน้ำจืดน้ำเค็ม เพื่อให้
ชาวบ้านที่ต้องการเลี้ยงกุ้งอยู่ในโซนน้ำเค็ม
ส่วนชาวบ้านที่ต้องการปลูกข้าวอยู่ในโซนน้ำ
จืด ปัญหาความขัดแย้งทุเลาลง ส่วนพื้นที่พรุ
ก็มีราษฎรที่อาสาดูแลป่าพรุตามรับสั่งของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้
พระองค์ยังได้ให้หน่วยงานชลประทานช่วย
ควบคุมระดับน้ำในพรุไม่ให้แห้งจนเกิดไฟป่า
และรักษาระดับน้ำไม่ให้ท่วมขังเพื่อให้ราษฎร
ปลูกข้าวได้

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง

อันเนื่องมาจากพระราชดำริ




ลุ่มน้ำปากพนัง ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช

ครอบคลุมพื้นที่รวม 13 อำเภอ คือ พื้นที่ทั้งหมดของอำเภอปากพนัง

อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอหัวไทร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอชะอวด


อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอจุฬาภรณ์ พื้นที่บางส่วนของอำเภอลานสกา

อำเภอพระพรหม และอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัด

นครศรีธรรมราช รวมทั้งพื้นที่บางส่วนของอำเภอควนขนุน อำเภอป่า


พะยอม จังหวัดพัทลุง และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา รวมพื้นที่

ประมาณ 1.9 ล้านไร่ เป็นพื้นที่นากว่า 500,000 ไร่ มีประชากร

ประมาณ 600,000 คน อดีตขอบลุ่มน้ำแห่งนี้เคยเป็นพื้นที่ลุ่มที่มี


ความอุดมสมบูรณ์ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเพาะปลูก มีการ

ทำนามากที่สุดโดยอาศัยน้ำจากแม่น้ำปากพนังซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญ


ของลุ่มน้ำปากพนัง จึงเป็นแหล่งปลูกข้าวของภาคใต้ รวมทั้งเป็น

ศูนย์กลางแห่งความเจริญรุ่งเรืองทุก ๆ ด้าน จนเป็นที่รู้จักกันของผู้คน

อย่างกว้างขวาง ในนาม “เมืองแห่งอู่ข้าวอู่น้ำ”

เมื่อเวลาผ่านไป “ลุ่มน้ำปากพนัง” ที่เคยอุดม
สมบูรณ์กลับมีปัญหาจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
จำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ความต้องการใช้น้ำ
ย่อมมีปริมาณมากขึ้นด้วย แต่ป่าไม้ต้นน้ำลำธารกลับ
ลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ปริมาณน้ำจืดที่เคยดูดซับ
ไว้แล้วทยอยปล่อยลงในแม่น้ำปากพนังและลำน้ำ
สาขาในช่วงฤดูแล้งลดลงด้วย น้ำจืดที่เคยมีใช้ปีละ
8-9 เดือน ลดลงเหลือปีละ 3 เดือนเท่านั้น และ
เนื่องจากลักษณะของแม่น้ำปากพนังมีระดับท้องน้ำอยู่
ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลและมีความลาดชันน้อย เมื่อน้ำ
จืดทางด้านต้นน้ำมีปริมาณน้อย ทำให้น้ำเค็มสามารถ
รุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำปากพนังและลำน้ำสาขาเป็นระยะ
ทางเกือบ 100 กิโลเมตร นอกจากนี้ ตอนใต้ของลุ่ม
น้ำปากพนังยังมี “พรุควนเคร็ง” ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่ม
ขนาดใหญ่ ประมาณ 200,000 ไร่ มีน้ำท่วมขังตลอด
ปี มีสารไพไรท์อยู่ในชั้นดิน ทำให้ดินมีสภาพเป็นกรด
และมีปัญหาน้ำเปรี้ยว ราษฎรไม่สามารถใช้ประโยชน์
เพื่อการเกษตรได้

รวมทั้งน้ำเน่าเสียจากการทำนากุ้งได้ไหลลงใน
ลำน้ำต่าง ๆ จนไม่สามารถนำไปใช้เพื่อการ
เพาะปลูกได้ กลายเป็นปัญหาข้อขัดแย้ง
ระหว่างชาวนาข้าวและชาวนากุ้งอีกด้วย
ปัญหาอุทกภัยในช่วงฤดูฝนเนื่องจากมีปริมาณ
ฝนตกมาก แต่พื้นที่ลุ่มน้ำเป็นพื้นที่ลุ่มราบ
แบน มีความลาดชันน้อย อุทกภัยมักจะเกิดใน
ช่วงน้ำทะเลหนุนสูง ระบายน้ำออกสู่ทะเลได้
ยาก จึงทำความเสียหายให้แก่พื้นที่เพาะปลูก
และพื้นที่ชุมชนเมืองเป็นบริเวณกว้าง
น้ำจืดขาดแคลน-น้ำเค็ม-น้ำเปรี้ยวและน้ำ
เสีย จึงเป็นปัญหาที่ชาวลุ่มน้ำปากพนังต้อง
เผชิญ การทำนาไม่ได้ผล ผลผลิตต่ำ ราษฎรมี
ฐานะยากจน การพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง
ตามแนวพระราชดำริจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะ
ช่วยพลิกฟื้นความอุดมสมบูรณ์ให้กลับคืนสู่ลุ่ม
น้ำปากพนังดังเช่นในอดีต

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระ
ราชดำริเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาพื้นที่ลุ่ม
น้ำปากพนัง เพื่อช่ววยเหลือราษฎรหลายครั้ง

- ครั้งแรก เมื่อเดือนธันวาคม 2531 หลังจาก
เกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อเดือนพฤศจิกายน

- ครั้งต่อมาเมื่อวันที่ 9 และ 11 ตุลาคม 2535 ณ
สถานีสูบน้ำโคกกูแว ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัด
นราธิวาส และสถานีสูบน้ำบ้านตอหลัง อำเภอตากใบ
จังหวัดนราธิวาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้
พระราชทานพระราชดำริ ให้กรมชลประทานพิจารณา
ก่อสร้างประตูระบายน้ำปากพนัง ที่อำเภอปากพนัง
จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อป้องกันน้ำเค็มรุกล้ำและ
เก็บกักน้ำจืด พร้อมกับการก่อสร้างระบบคลองระบายน้ำ
เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วม และระบบกระจายน้ำเพื่อการ
เพาะปลูกในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง

- ครั้งสำคัญที่สุด เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2536 ได้
พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะกรรมการบริหาร
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ได้
พระราชทาน พระราชดำริเพิ่มเติมความว่า “...ทำประตู
น้ำที่ปากแม่น้ำห่างจากตัวอำเภอปากพนังประมาณ 3
กิโลเมตร ก็พิจารณาว่าจะแก้ปัญหาทั้งหมด ซึ่งหมายความ
ว่า เป็นกุญแจสำคัญของโครงการฯ จะแก้ไขปัญหาตั้งแต่
น้ำแล้ง น้ำท่วม น้ำเค็มและสามารถที่จะให้ประชาชนมีน้ำ
บริโภคและน้ำทำการเกษตร... แม้ว่าประตูน้ำอันเดียวนี้
จะไม่แก้ไขปัญหาทั้งหมด ซึ่งจะต้องสร้างหรือทำโครงการ
ต่อเนื่อง หากแต่ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหา
ทั้งหมด จากอันนี้จะทำอะไรๆ ได้ทุกอย่าง และแยกออกมา
เป็นโครงการฯ...”

แนวทางการแก้ไขปัญหา

ตามแน
วพระราชดำริ

สรุปได้ดังนี้

1. เร่งดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำปากพนังให้แล้วเสร็จโดย
เร็วเพราะเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นงานหลักในการแก้ไขปัญหาการ
ขาดแคลนน้ำจืดเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค
2. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ทำกินขอบราษฏร ควรดำเนินการ
ดังนี้
2.1 ขุดคลองระบายน้ำฉุกเฉินพร้อมก่อสร้างอาคารควบคุมปาก
คลอง เพื่อระบายน้ำจากแม่น้ำปากพนังออกทะเลที่กรณีเกิดอุทกภัย
2.2 ขุดขยายคลองท่าพญาพร้อมก่อสร้างประตูระบายน้ำริมทะเลเพื่อ
ระบายน้ำออกอีกทางหนึ่ง
2.3 ขุดลอกคลองบ้านกลาง คลองปากพนัง คลองหน้าโกฏิ พร้อม
ก่อสร้างประตูระบายน้ำเสือร้อง(ก่อสร้างบริเวณบ้านเสือหึง) และ
ประตูระบายน้ำหน้าโกฏิ เพื่อระบายน้ำลงทะเลให้เร็วขึ้น

2.4 ขุดคลองระบายน้ำชะอวด-แพรก
เมือง พร้อมก่อสร้างประตูระบายน้ำ
เพื่อช่วยระบายน้ำออกจากพื้นที่โครง
การฯ ลงสู่ทะเลกรณีเกิดอุทกภัย
3. กำหนดแนวเขตให้ชัดเจนและ
เหมาะสมเพื่อแยกพื้นที่น้ำจืดและ
พื้นที่น้ำเค็มออกจากกันให้แน่นอน
โดยกำหนดให้ทิศตะวันออกของคลอง
ปากพนัง(คลองหัวไทร) เป็นพื้นที่น้ำ
เค็ม โดยมอบให้กรมประมงก่อสร้าง
อาคารบังคับน้ำ จัดระบบชลประทาน
น้ำเค็ม ทั้งนี้ให้กรมชลประทาน กรม
ประมง ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องร่วมกัน
พิจารณาหาแนวเขตให้เหมาะสมที่สุด
4. พื้นที่ทางทิศตะวันตกของลุ่มน้ำ
ปากพนังเป็นเทือกเขาสูง ให้พิจารณา
วางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ
หรือฝายทดน้ำ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่
การเกษตรเพื่อการอุปโภคบิโภค และ
ช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตอนล่าง

การบริหารงานโครงงาน

การดำเนินงานพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเป็นรูป
แบบใหม่ตามแนวพระราชดำริ โดยมีหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาในด้านต่าง
ๆ แบบเบ็ดเสร็จครบวงจรและสอดคล้องกัน ในรูป
แบบคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่ม
น้ำปากพนัง ประกอบด้วย อธิบดีหรือหัวหน้าส่วน
ราชการที่เกี่ยวข้อง รวมเป็นคณะกรรมการ โดยมี
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ
บริหารโครงการ และได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
บริหารโครงการฯ 6 คณะ และตั้งกองอำนวยการ
เพื่อดูแลและดำเนินการให้สอดคล้องกัน

การดำเนินงาน

กรมชลประทานได้สนองพระราชดำริ
ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังด้วย
การศึกษาความเหมาะสมและศึกษาผลกระ
ทบสิ่งแวดล้อม(EIA) เสร็จเมื่อเดือน
พฤศจิกายน 2537 โดย บ.พอล คอนซัล
แตนท์ จำกัด, บ. เซ้าท์อี๊สท์เอเชีย
เทคโนโลยี จำกัด และ บ.ครีเอทีฟ
เทคโนโลยี จำกัด (ดำเนินการศึกษาความ
เหมาะสมและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
พร้อมกัน) ซึ่งได้ออกแบบแล้วเสร็จเมื่อ
เดือนพฤศจิกายน 2537
รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ผ่านความเห็นชอบของสำนักงานนโยบาย
และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง
แวดล้อม เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2538
และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบและ
อนุมัติให้เปิดโครงการ เมื่อวันที่ 7
พฤศจิกายน 2538

ลักษณะ
โครงการ

มีรายละเอียดสรุป ดังนี้

1) งานก่อสร้างประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ์(ปากพนัง)
และอาคารประกอบ
· ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ์ สร้างที่บ้านบางปี้
ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็น
อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดบานระบายกว้าง 20.0 ม.
จำนวน 10 ช่อง (บานระบายเดี่ยว 6 ช่อง และบานระบายคู่
4 ช่อง) สามารถระบายน้ำได้ 1,426 ลบ.ม.ต่อวินาที เพื่อ
ป้องกันน้ำเค็มรุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรมและเก็บน้ำจืดไว้ใน
แม่น้ำปากพนังและคลองสาขา เพื่อการเกษตรและรักษา
ระดับน้ำในแม่น้ำปากพนังให้เหนือชั้นสารไพไรท์ เพื่อ
ป้องกันน้ำเปรี้ยว
· บันไดปลาและทางปลาลอด ตั้งอยู่ทั้งสองข้างของ
อาคารประตูระบายน้ำ สำหรับให้วงจรชีวิตของสัตว์น้ำเป็น
ไปอย่างธรรมชาติ
· ประตูเรือสัญจร กว้าง 6.0 ม. สำหรับให้เรือและ
พาหนะทางน้ำต่าง ๆ ผ่านไปมาได้
· ทำนบดิน ปิดกั้นลำน้ำเดิม ยาว 222 ม.
· ระบบโทรมาตรอัตโนมัติ จำนวน 31 แห่ง สำหรับตรวจ
วัดสถานการณ์ของน้ำในแม่น้ำปากพนังและลำน้ำสาขา ซึ่ง
จะใช้เป็นข้อมูลในการจัดสรรการใช้น้ำและบรรเทาอุทกภัย
2) งานก่อสร้างระบบระบายน้ำ
ทำหน้าที่ระบายน้ำและป้องกันน้ำเค็ม โดยก่อสร้างคลอง
ระบายน้ำเพิ่มเติม พร้อมประตูระบายน้ำ 3 แห่ง และขุด
ลอกคลองเดิม พร้อมประตูระบายน้ำ 1 แห่ง รวม 4 แห่ง
ประกอบด้วย

1. คลองชะอวด-แพรกเมือง ก้นคลอง
กว้าง 150 ม. ลึก 5 ม. ยาวประมาณ 27 กม. พร้อม
ประตูระบายน้ำ สามารถระบายน้ำได้ 540 ลบ.ม.ต่อ
วินาที

2. คลองปากพนัง (หน้าโกฏิ) ก้นคลอง
กว้าง 100 ม. ลึก 3.50 ม. ยาวประมาณ 7.5 กม.
พร้อมประตูระบายน้ำคลองปากพนัง (เสือหึง)
สามารถระบายน้ำได้ 350 ลบ.ม.ต่อวินาที

3. คลองบางโด-ท่าพญา ก้นคลองกว้าง
20 ม. ลึก 3 ม. ยาวประมาณ 16 กม. พร้อมประตู
ระบายน้ำ สามารถระบายน้ำได้ 130 ลบ.ม.ต่อวินาที

4. คลองระบายน้ำฉุกเฉิน ก้นคลองกว้าง
56 ม. ลึก 3.5 ม. ยาวประมาณ 5 กม. พร้อมประตู
ระบายน้ำ สามารถระบายน้ำได้ 210 ลบ.ม.ต่อวินาที
3) งานก่อสร้างระบบส่งน้ำ พื้นที่ชลประทาน
521,500 ไร่ แบ่งออกเป็น

1. ระบบส่งน้ำแบบสูบน้ำโดย
กรมชลประทาน พื้นที่ MC1 และ MC2 พื้นที่
ชลประทาน 40,900 ไร่

2. ระบบส่งน้ำแบบสูบน้ำโดยเกษตรกร
พื้นที่ MD1 ถึง MD8 พื้นที่ชลประทาน 439,100 ไร่

3. ระบบท่อส่งน้ำและอาคารประกอบใน
นิคมควนขนุน พื้นที่ชลประทาน 17,500 ไร่

4. ระบบส่งน้ำโครงการฝายคลองไม้
เสียบส่วนขยาย พื้นที่ชลประทาน 24,000 ไร่

4) งานก่อสร้างคันแบ่งเขตน้ำจืดน้ำเค็ม เพื่อแบ่ง
พื้นที่ใช้ประโยชน์จากการพัฒนาให้ชัดเจน โดยใช้
แนวถนนเดิมของ รพช.เป็นส่วนใหญ่ ห่างจาก
ชายทะเล ประมาณ 3-5 กม. ทางด้านทิศตะวันออก
เลียบถนนชายทะเล และด้านทิศตะวันออกเฉียง
เหนือของอ่าวปากพนัง เป็นระยะทางยาวประมาณ
91.5 กม. และอาคารบังคับน้ำตามแนวคันกั้นน้ำ
จำนวน 22 แห่ง

ประโยชน์โครงการ

1) ป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้าไปทำลายพื้นที่การเกษตร
2)เก็บกักน้ำจืดไว้ในลำน้ำปากพนังและลำน้ำสาขาได้ประมาณ
70 ล้าน ลบ.ม. เพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเพาะปลูก
บริเวณสองฝั่งลำน้ำ ประมาณ 521,500 ไร่ในฤดูฝน และ
ประมาณ 240,700 ไร่ในฤดูแล้ง
3)คลองระบายน้ำช่วยบรรเทาอุทกภัย เนื่องจากสามารถระบาย
น้ำลงสู่ทะเลได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
4)ขจัดปัญหาขัดแย้งระหว่างเกษตรนากุ้งและเกษตรกรนาข้าว
เนื่องจากมีการแบ่งเขตของการใช้พื้นที่อย่างชัดเจน
5) ลดปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐานไปทำกินในถิ่นอื่น
6)แม่น้ำปากพนังและลำน้ำสาขา เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงและ
ขยายพันธุ์สัตว์น้ำจืดได้เป็นอย่างดี
7)เพิ่มพูนผลผลิตการเกษตรหลากหลายและครบวงจร ทั้งทาง
ด้านการเพาะปลูก การประมง ปศุสัตว์ ฯลฯ ตลอดจนการ
พัฒนาอุตสาหกรรม
8)ยกระดับมาตรฐานการครองชีพและความเป็นอยู่ของราษฎร
9) ฟื้นฟูสภาพนิเวศวิทยาให้กลับคืนสู่สมดุลย์
10) ลดปัญหาการน้ำเปรี้ยวและดินเปรี้ยว

งานติดตามและแก้ไขผล

กระทบสิ่งเเวดล้อม

คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ดำเนินการตามแผนงานติดตามและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ดังนี้
· กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกาศกำหนดให้
พื้นที่โครงการ เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมและเขต
ควบคุมมลพิษ
· กรมประมง ปรับปรุงกฎหมายเพื่อกำหนดเขตเลี้ยงกุ้ง
และมาตรการลงโทษผู้ฝ่าฝืน
· ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สนับสนุน
เงินกู้เป็นกรณีพิเศษแก่เกษตรกรซึ่งทำการเกษตรผสมผสานใน
เขตพื้นที่น้ำจืด
· หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน
แก้ไขและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้
โดยเคร่งครัด
· รับข้อสังเกตของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เกี่ยว
กับวิธีการประชาสัมพันธ์โดยให้องค์กรเอกชนและหน่วยงานใน
พื้นที่มีส่วนร่วม และให้สนับสนุนการเลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำเค็ม โดย
จัดระบบชลประทานน้ำเค็มตามแนวทางที่กรมประมงดำเนินการ
อยู่

งานพัฒนาเกษตรใน

พื้นที่ลุ่มแม่น้ำปากพนัง

ทุกหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกันดำเนิน
การ โดยมีนโยบายหลักในการดำเนินงาน คือ
· ปรับปรุงการผลิตข้าวให้มีผลผลิตสูงทั้งปริมาณและ
คุณภาพ
· ส่งเสริมให้มีการทำการเกษตรแบบผสมผสาน โดยเน้น
เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน
· กำหนดกำทำนากุ้งให้มีขอบเขตที่ชัดเจน และมีการ
พัฒนาระบบการเลี้ยงกุ้งแบบยั่งยืน พร้อมฟื้นฟูสภาพสิ่ง
แวดล้อมที่เคยได้รับผลเสียจากบ่อกุ้ง
· อนุรักษ์ป่า ดิน และน้ำ พร้อมฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่ง
แวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้มีสภาพที่ดี
· การพัฒนาองค์การ การจัดการของเกษตรกร ได้แก่ การ
ร่วมกันจัดตั้งสหกรณ์เสรีตามแนวพระราชดำริ ร่วมกันพัฒนา
อาชีพการแปรรูปผลผลิต และการจัดการผลผลิตอย่างมี
ประสิทธิภาพ รวมทั้งการปรับระบบบริหารจัดการ เพื่อเปิด
โอกาสให้เกษตรกร องค์กรการเกษตร องค์กรพัฒนาเอกชน
หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนามากขึ้น

กรอบแผนแม่บทอนุกรรมการ

พัฒนาสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนา

พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง

หลักสำคัญการพัฒนาแหล่งน้ำต้องดำเนินการ

ควบคู่กับการพัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อมให้เกิด
ความสมดุล การบริหารการฟื้นฟูและพัฒนาสิ่ง
แวดล้อม เป้าหมายเพื่อมุ่งเน้นการร่วมกันบริหาร
จัดการน้ำอย่างสมดุลคืนความสมบูรณ์ผืนป่า
ต้นน้ำ ฟื้นฟูที่ดินเกษตรกรรม ดูแลรักษาพื้นที่
ชายฝั่ง ได้มีการกำหนด ๔ กรอบยุทธศาสตร์หลัก
ในแผนแม่บทด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดย
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน
ทุกๆ ด้านเพื่อให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศ
ได้แก่ การสงวนอนุรักษ์ฟื้นฟูนิเวศลุ่มน้ำการใช้
ประโยชน์ทรัพยากรดินและน้ำอย่างบูรณาการและ
ยั่งยืน การควบคุมป้องกันมลพิษและการมีส่วนร่วม
ของทุกภาคส่วน

นอกจากนั้นได้มีการบริหารการพัฒนาอาชีพและส่ง
เสริมรายได้ โดยกำหนด ๖ กรอบยุทธศาสตร์หลัก
ในแผนแม่บทด้านการพัฒนาอาชีพและส่งเสริม
รายได้ให้สมดุลกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อ
ราษฎรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังได้มีความอยู่ดีกินดี
สมดังพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว โดยพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพ
การใช้ประโยชน์ที่ดิน การปรับปรุงดิน และแหล่ง
น้ำ มีการพัฒนาการผลิตตามศักยภาพของพื้นที่
เป็น ๖ เขต เน้นหนักการพัฒนาอาชีพ ได้แก่ เขต
เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง, เขตปลูกข้าวเพื่อการค้า,
เขตปลูกปาล์มน้ำมัน, เขตปลูกข้าวเพื่อบริโภค,
เขตทำสวนผลไม้และยางพารา และเขตอนุรักษ์
ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ โดยมีการจัดการพื้นที่
เกษตรกรรมในทุกๆ ด้านให้เหมาะสมอย่างครบ
วงจร

ผลสัมฤทธิ์จากการบริหารจัดการน้ำ
บังเกิดผลให้สามารถป้องกันการรุกตัวของ
น้ำเค็ม มีแหล่งน้ำจืดไว้ใช้เพื่อการอุปโภค
บริโภคการเกษตรกรรม รักษาสิ่งแวดล้อม
ได้เต็มพื้นที่ ปตร.อุทกวิภาชประสิทธิ ทำ
หน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะในช่วง
ฤดูแล้ง ปี ๒๕๕๓ ระดับน้ำทะเลด้านท้าย
น้ำสูงกว่าระดับน้ำจืดด้าน เหนือน้ำ ถึง ๒
เมตร แต่ไม่ทำให้คุณภาพน้ำจืดด้าน
เหนือน้ำเสียหาย ราษฎรสามารถใช้น้ำจาก
ในระบบโครงข่ายคูคลองในพื้นที่บรรเทา
ความขาดแคลนน้ำ ยังผลให้ราษฎรใน
พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังรอดพ้นวิกฤติรุนแรง
ไปได้

คุณภาพน้ำ ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สามารถบรรเทา
อุทกภัย ลดระดับและระยะเวลาน้ำท่วมในพื้นที่ลงได้เป็นอย่าง
มาก โดยสามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้วันละประมาณ
๑๐๐ ล้าน ลูกบาศก์เมตร ระบายน้ำท่วมขังออกจากคลองสาย
หลักได้ภายใน ๒๐ วันลดความเสียหายแก่พื้นที่การเกษตร
และแหล่งชุมชนเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลสัมฤทธิ์จากโครงการเห็นได้ชัดเจนจากการทำนาปรัง เพิ่ม
จาก ๕๒,๐๐๐ ไร่ เป็น ๒๒๐,๐๐๐ ไร่ ในปัจจุบันสร้างรายได้ให้
เกษตรกรในพื้นที่ ในช่วงฤดูแล้ง ไม่น้อยกว่า ๙๕๐ ล้านบาท
ต่อฤดูกาล สำหรับในช่วงฤดูฝนเกษตรกรสามารถทำนาได้
เต็มพื้นที่นาข้าว โดยมีน้ำสนับสนุนอย่างเพียงพอ ผลจากการ
ดำเนินงานที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗– พ.ศ. ๒๕๕๒
ราษฎรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย
๒๗.๗๔% สำหรับในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ราษฎรในพื้นที่มีรายได้
เฉลี่ยเพิ่มขึ้น จากปีพ.ศ. ๒๕๕๒ ประมาณ ๓.๖๗% และ
เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจเจ้าหน้าที่ เป็นอย่างมาก
ในความกระตือรือร้นเอาใจใส่ช่วยเหลือราษฎรในทุกๆ ด้าน

ภาพโครงการ


Click to View FlipBook Version