The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เบญจวรรณ เกิดทอง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Benjawan Koetthong, 2022-12-14 03:41:18

เบญจวรรณ เกิดทอง

เบญจวรรณ เกิดทอง

โครงการเสนอบณั ฑิตนิพนธ์

หัวข้อเรื่อง การพัฒนาสมรรถนะในการใช้ทกั ษะชวี ิตโดยใชร้ ปู แบบการเรียนรู้โดยใช้ปญั หาเป็นฐาน
(Problem based Learning หรอื PBL) ของนกั เรยี นระดบั ชั้นมัธยมศกึ ษาปที ่ี 1
The Development of Competency in Using Life Skills Using a Problem
Based Learning (PBL) of Mathayomsuksa 1 Students

อาจารยน์ เิ ทศ ผศ.ดร.เพียรพทิ ย์ โรจนปุณยา
อาจารย์ท่ปี รกึ ษา รศ.ดร.วทิ ยา วิสูตรเรืองเดช

เสนอโดย นางสาวเบญจวรรณ เกิดทอง
รหสั ประจำตวั 6321126051
หลกั สตู ร ครศุ าสตรบณั ฑิต
สาขาวิชา สังคมศึกษา
ปกี ารศกึ ษา 2565


โครงการเสนอบณั ฑิตนิพนธ์

หัวข้อเรื่อง การพัฒนาสมรรถนะในการใช้ทกั ษะชวี ิตโดยใชร้ ปู แบบการเรียนรู้โดยใช้ปญั หาเป็นฐาน
(Problem based Learning หรอื PBL) ของนกั เรยี นระดบั ชั้นมัธยมศกึ ษาปที ่ี 1
The Development of Competency in Using Life Skills Using a Problem
Based Learning (PBL) of Mathayomsuksa 1 Students

อาจารยน์ เิ ทศ ผศ.ดร.เพียรพทิ ย์ โรจนปุณยา
อาจารย์ท่ปี รกึ ษา รศ.ดร.วทิ ยา วิสูตรเรืองเดช

เสนอโดย นางสาวเบญจวรรณ เกิดทอง
รหสั ประจำตวั 6321126051
หลกั สตู ร ครศุ าสตรบณั ฑิต
สาขาวิชา สังคมศึกษา
ปกี ารศกึ ษา 2565




สารบญั

หน้า
สารบัญ……………………………………………………………………………………………………………………………….ก
สารบัญตาราง.....................................................................................................................................ง
บทที่

1 บทนำ.............................................................................................................................1
ความเปน็ มาและความสำคญั ของปญั หา…. .………………………………………..………….1
วตั ถุประสงค์ของการวิจยั ........................................................................................4
สมมุติฐานของการวิจยั ……………………………………………………………………..………….4
ขอบเขตของการวิจัย……………………………………………………………………….…………..4
ประโยชนท์ ี่จะไดร้ บั จากการวิจัย……………………………………………………..…………….5
นิยามเฉพาะศัพท์…………………………………………………………………………..…………...5
กรอบแนวคิดในการวจิ ัย………………………………………………………………..……………..6

2 เอกสารและงานวิจัยท่เี กี่ยวข้อง........................................................................................7
สมรรถนะ……………………………………………………………………………………………………8
ความเป็นมาและความหมายของสมรรถนะ...............................................8
องค์ประกอบของสมรรถนะ…………………………………….…………....………..10
ประเภทของสมรรถนะ……………………………………….………………………….10
ทกั ษะชีวติ ……………………………………………………………….………………….…………….11
ความหมายทักษะชีวิต…………………………………………………….……………..11
ความสำคัญของทักษะชวี ติ ………………………………………..…….....………….12
องคป์ ระกอบของทักษะชวี ิต....................................................................13




สารบญั (ตอ่ )

บทที่ หน้า
2 (ตอ่ )
รูปแบบการเรียนรโู้ ดยใช้ปัญหาเป็นฐาน……………………………………..………………..14
ความหมายของการเรียนโดยใชป้ ัญหาเป็นฐาน...................................14
หลกั การจดั เรียนรูท้ ่ใี ชป้ ัญหาเป็นฐาน…………………………………………….15
ขนั้ ตอนการเรยี นรู้โดยใชป้ ัญหาเป็นฐาน…………………………………………17
ลกั ษณะสาคญั ของการจดั การเรยี นรูโ้ ดยใชป้ ัญหาเป็นฐาน…………..…20
หลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน พุทธศกั ราช 2561…………………………….22
วสิ ัยทศั น์…………………………………..………………………………………………….22
หลักการ……………………………………………………………………………………….23
จดุ หมาย…………………………………………………………………………..………….23
สมรรถนะสำคญั ของผูเ้ รยี น…………………………………………………………….23
คณุ ลกั ษณะอันพงึ ประสงค.์ .....................................................................24
มาตรฐานการเรียนรู้................................................................................25
กลุ่มสาระการเรยี นรสู้ งั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม……………….…….25
งานวจิ ัยที่เกย่ี วข้อง…………………………………………………………………………….………26
งานวิจยั ในประเทศ………………………………………………………………..………26
งานวิจัยในตา่ งประเทศ……………………………………………………….…….……27

3 วธิ ีการดำเนนิ วจิ ยั …………………………………………………………………………………………………….….….29
ประชากรและกล่มุ ตัวอย่าง………………………………………………………………………...30




สารบญั (ตอ่ )

บทท่ี หน้า
3 (ตอ่ )
แบบแผนการวิจยั …………………………………………………………………….…….………….30
เคร่ืองมือทใี่ ช้ในการวจิ ยั ………………………………………………………….……..…………..31
การเก็บรวบรวมข้อมลู ...........................................................................................31
การวเิ คราะห์ขอ้ มูล………………………………………………………………….………..……….32

บรรณานกุ รม....................................................................................................................................33




สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า

1 แบบแผนการวจิ ยั แบบ One Group Pretest-Posttest Design…………………..………30


บทที่ 1

บทนำ

ความเปน็ มาและความสำคัญของปัญหา

การจัดกิจกรรมพัฒนาผูเ้ รยี น ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน้ พื้นฐานพุทธศักราช 2551
มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ พัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ท้ัง
รา่ งกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เสริมสรา้ งใหเ้ ปน็ ผูม้ ีศลี ธรรม จรยิ ธรรม มรี ะเบียบวินยั ปลูกฝัง
และสร้างจติ สำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสงั คม สามารถจดั การตนเองได้และอยู่รว่ มกับผู้อื่นอย่างมี
ความสขุ กจิ กรรมพฒั นาผูเ้ รียน แบง่ เป็น 3 ลกั ษณะ ดังนี้

1. กิจกรรมแนะแนวเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์
สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหากำาหนดเป้าหมายวางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียน และ
อาชีพสามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียนทั้งยังเป็น
กิจกรรมท่ชี ่วยเหลอื และใหค้ ำปรึกษาแกผ่ ู้ปกครองในการมสี ว่ นรว่ มพฒั นาผู้เรียน

2. กิจกรรมนักเรียนเปน็ กิจกรรมที่มุ่งพฒั นาความมีระเบียบ วินัย ความเปน็ ผู้นำผู้ตามที่
ดี ความรบั ผดิ ชอบ การทำงานร่วมกนั การร้จู ักแก้ปัญหา การตัดสินใจทเี่ หมาะสม ความมีเหตผุ ล การ
ช่วยเหลอื แบง่ ปนั กัน เอ้ืออาทร และสมานฉันท์ โดยจัดให้สอดคลอ้ งกบั ความสามารถ ความถนัด และ
ความสนใจของผเู้ รียน ให้ไดป้ ฏบิ ัติด้วยตนเองในทุกข้นั ตอน ได้แก่ การศกึ ษาวิเคราะห์วางแผน ปฏิบัติ
ตามแผน ประเมินและปรับปรุงการทำงาน เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมและ
สอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียน บริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น ประกอบด้วยกิจกรรมลูกเสือ
เนตรนารี ยวุ กาชาด ผบู้ ำเพญ็ ประโยชน์ และนักศึกษาวิชาทหาร กิจกรรมชุมนุม ชมรม

3. กจิ กรรมเพอ่ื สังคมและสาธารณประโยชน์ เปน็ กิจกรรมท่สี ง่ เสรมิ ใหผ้ ้เู รยี นบำเพ็ญตน
ใหเ้ ปน็ ประโยชนต์ ่อสงั คม ชมุ ชน และทอ้ งถ่นิ ตามความสนใจในลกั ษณะอาสาสมัคร เพ่อื แสดงถึงความ
รับผิดชอบ ความดีงาม ความเสียสละต่อสังคม มีจิตสาธารณะ เช่น กิจกรรมอาสา พัฒนาต่างๆ
กจิ กรรมสร้างสรรค์สงั คม


2

ทกั ษะชวี ติ เปน็ ความสามารถของบุคคลทจี่ ะคิดตัดสินใจแก้ปัญหาและปรับตัวให้มีพฤติกรรม
ที่ถูกต้อง สามารถจัดการกับความต้องการปัญหาและสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิต
อย่างเหมาะสมกับสังคมที่มีสุขภาพดี (กรมวิชาการ, 2543) ดังนั้นความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วย
ตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริม
ความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การ
ปรับตวั ให้ทนั กบั การเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรจู้ กั หลกี เลี่ยงพฤติกรรมไม่พึง
ประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานมีนโยบายและ
เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในด้านความสามารถและทักษะตลอดจนคุณลักษณะที่จะช่วย
เสรมิ สร้างให้ผู้เรียนมคี ุณภาพตามเป้าหมายของหลกั สูตร และมีภมู คิ มุ้ กันการดำเนินชีวติ ผเู้ รียนจะต้อง
มีความสามารถในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงและท้าทาย ซึ่งต้องใช้
กระบวนการคิดและการตัดสินใจที่เหมาะสม จึงจะสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัยและมี
ความสขุ จึงกำหนดใหส้ ถานศึกษาต้องพัฒนาและเสริมสร้างทักษะชวี ติ ใหผ้ ู้เรียนเกดิ การตระหนักรู้และ
เห็นคุณค่าในตนเองและผู้อ่ืน คดิ วเิ คราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาอยา่ งสร้างสรรค์มีทักษะการจัดการ
กับอารมณ์และความเครยี ดรู้จักสร้างสัมพันธภาพที่ดกี ับผู้อื่นด้วยการจัดการเรียนการสอนทกั ษะชวี ิต
บูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 ให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันจะนำไปสู่การมีทักษะชีวิตตามความคาดหวังของ
หลักสตู รตามช่วงวัยในแต่ละชนั้ ปีการจัดกจิ กรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้
ทกั ษะชวี ิตให้เกิดกับผเู้ รยี น โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพนื้ ฐานได้กำหนดองค์ประกอบ
ของทักษะชีวิตท่ีสำคัญที่จะสร้างและพัฒนาเป็นภูมิคุ้มกันชีวิตให้แก่เด็กและเยาวชนในสภาพสังคม
ปจั จบุ ันและ เตรยี มพร้อมสำหรับอนาคตไว้ 4 องคป์ ระกอบ คอื

1. การตระหนักรแู้ ละเหน็ คุณคา่ ในตนเองและ ผู้อื่น

2. การคิดวิเคราะหต์ ดั สินใจแกป้ ัญหาอยา่ งสรา้ งสรรค์

3. การจดั การกับอารมณ์และความเครียด

4. การสร้างสัมพนั ธภาพทดี่ ีกบั ผอู้ นื่ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพน้ื ฐาน,
2554)


3

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning หรือ PBL) เป็นรูปแบบการ
เรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) โดยให้
ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงเป็นบริบทของการเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแกปัญหารวมทั้งได้ความรู้ตาม 3 ศาสตร์ใน
สาขาวิชาที่ตนศึกษาด้วยการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการท ำงานที่ต้อง
อาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นหลักการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานนั้นจึงเป็น
รปู แบบการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรยี นได้ใช้ความคิดท้ังระบบกลุ่มและระบบเดี่ยว ซึง่ จะทำให้ผู้เรียน
ได้คิดเป็นและคิดสร้างสรรค์ในเร่ืองตา่ ง ๆ จากปัญหาท่ีไดต้ ้งั ไว้

นอกจากนั้นการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ยังเป็นกระบวนการเรียนรู้เป็นกระบวนการท่ี
เน้นให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวข้องกบการแก้ปัญหา สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและทำงาน
ร่วมกับผู้อ่นื ได้ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นส่งิ ทผี่ ู้เรียนจะสามารถนำไปใชใ้ นการดำเนินชีวิตต่อไป ดังที่
ปรญิ ญา เชาวนาศยั (2547, หน้า 66) ไดก้ ลา่ วถงึ การเรยี นการสอนแบบใชป้ ัญหาเป็นฐานไว้ในวารสาร
วิทยาการจัดการไว้ว่าการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานนั้นจะใช้ปัญหาเป็นจุดเริ่มต้นในการ
เรียนรู้ให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นคว้าข้อมูลที่จำเป็นดำเนินการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหาและพัฒนาการ
เรียนรู้ของตนเองและในกลุ่มผู้เรียนด้วยกัน ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้ผู้เรียนมีความสามารถเรียนรู้
ด้วยตนเองและมีประสบการณ์ที่เหมือนการทำงานจริง ลักษณะการเรียน การสอนแบบนี้ทำให้
บทบาทของผู้เรียนและผู้สอนเปล่ียนไปผเู้ รียนต้องมีความรับผิดชอบสูงข้นึ ต่อการเรียนของตนเองและ
การทำงานกลุ่ม ผลที่ตามมาคือ ผู้เรียนมีแรงกระตุ้นในการเรียนรู้มีความม่ันใจและความภูมิใจต่อ
ผลงานตนเองมากข้ึน ซ่ึงในระยะยาวกค็ ือแนวคดิ ของการเรียนรู้ตลอดชีวติ ขณะเดียวกันผู้สอนจะต้อง
เปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้ความรู้มาเป็นที่ปรึกษาผู้ให้แนวคิด และผู้ประเมินกระบวนการเรียนรู้ซึ่งสิ่งที่
สำคัญอกี ขอ้ หน่ึงในการเรยี นรแู้ บบใช้ปัญหาเป็นฐาน คือ แหล่งความร้ทู ผ่ี ูเ้ รยี นสามารถเข้าถึงได้ ไม่ว่า
จะเปน็ ห้องสมดุ อนิ เทอร์เน็ต หรือหนงั สอื ประกอบการเรยี น รวมท้ังกระบวนการสนบั สนนุ องค์ความรู้
เช่น การจัดสถานที่สำหรับการประชุมกลุ่ม การประชุมกลุ่มย่อยโดยมีผู้ประสานงาน ซึ่งอาจจะเป็น
ผู้สอน หรอื ผ้ชู ่วยผ้สู อน ทีช่ ่วยให้กระบวนการกลมุ่ มีประสิทธภิ าพมากขน้ึ

จากความสำคัญข้างต้นนี้ผู้วิจัยจึงต้องการที่จะศึกษาในเรื่องของการสอนโดยใช้การจัดการ
เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพราะการสอนรูปแบบนี้จะเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนมีโอกาสได้
ทำงานร่วมกัน อกี ท้ังยังเป็นการฝึกความคิดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน โดยผู้วิจัยเชื่อ
ว่าการพัฒนาสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิตของนักเรียนแต่ละคนนั้นถ้าได้เรียนรู้จากกลุ่มเป็นลำดับ


4

ขั้นตอนก่อนนั้นจะช่วยให้ผู้เรียนมีความคิดที่กว้างขว้างมากขึ้น จนสามารถน ำไปปรับใช้กับ
ชวี ิตประจำวนั ของตนเองได้มากกว่าเดมิ

วตั ถปุ ระสงคข์ องการวจิ ยั

1. เพือ่ พัฒนาการใช้สมรรถนะในการใช้ทักษะชวี ิตโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็น
ฐาน ในรายวิชาประวตั ิศาสตรข์ องนักเรียนชั้นมธั ยมศกึ ษาปีที่ 1

2. เพื่อเปรียบเทียบการใช้สมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิตโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้
ปญั หาเปน็ ฐาน ในรายวชิ าประวตั ิศาสตรข์ องนักเรียนชน้ั มธั ยมศึกษาปที ่ี 1

สมมตุ ิฐานของการวจิ ัย

นกั เรยี นชน้ั มัธยมศึกษาปีท่ี 1 ทีเ่ รยี นวชิ าประวตั ศิ าสตร์โดยใช้รปู แบบการเรยี นรู้โดยใช้ปัญหา
เปน็ ฐาน มสี มรรถนะในการใชท้ กั ษะชีวติ หลังเรียนสงู กวา่ ก่อนเรยี น

ขอบเขตของการวจิ ยั

ประชากรและกลมุ่ ตัวอย่าง
ประชากร เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
โรงเรียนทีปงั กรวิทยาพัฒน์(ทววี ฒั นา)ในพระราชูปถมั ภ์ จำนวน 3 ห้อง รวมท้งั สิน้ 90 คน
กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1 กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2566 โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(ทวีวัฒนา)ในพระราชูปถัมภ์ ห้อง ม.1/4 จำนวน 30 คน โดยใช้
วิธีการสุ่มตวั อย่างแบบกล่มุ (Cluster sampling)
ตัวแปรทศี่ ึกษา
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รปู แบบการจัดการเรยี นรูโ้ ดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
ตวั แปรตาม ไดแ้ ก่ สมรรถนะในการใช้ทักษะชวี ิต


5

เนื้อหา
เนอื้ หาท่ีใช้ในวิจัยครง้ั นี้ คอื วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวฒั นธรรม สาระ วิชาประวัติศาสตร์
ภาคเรยี นท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2566 โดยมหี วั ข้อดังน้ี
1. หลักฐานทางประวตั ิศาสตร์
2. วิธกี ารทางประวัตศิ าสตร์
ระยะเวลาที่ทำการวจิ ัย
ระยะเวลาทใ่ี ชใ้ นการศึกษาคร้ังนด้ี ำเนนิ ในภาคเรียนท่ี 1 ตัง้ แต่วันท่ี 16 พฤษภาคม 2566 ถึง
วันที่ 15 กรกฎาคม 2566

ประโยชน์ทไ่ี ด้รบั จากการวจิ ยั

1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้รับการพัฒนาสมรรถนะการใช้ทักษะชีวิตในรายวิชา
ประวัติศาสตร์ โดยใช้รปู แบบการจดั การเรยี นรโู้ ดยใช้ปัญหาเปน็ ฐาน ทำใหส้ มรรถนะการใชท้ ักษะชีวิต
เพิ่มขน้ึ

2. ครูผู้สอนมีแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะทักษะการใช้ชีวิตของนักเรียนโดยใช้รูปแบบ
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเปน็ ฐาน ทำให้สมรรถนะในการใชท้ ักษะชีวิตของนักเรยี นเพิ่มขนึ้

3. สถานศึกษามีแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิตของนักเรียนโดยใช้
รปู แบบการเรยี นรู้โดยใช้ปญั หาเป็นฐาน ทำให้สมรรถนะในการใชท้ กั ษะชวี ติ ของนกั เรียนเพ่ิมขน้ึ

นยิ ามเฉพาะศพั ท์

สมรรถนะ หมายถงึ ความร้ทู กั ษะและคุณลักษณะทีจ่ ำเป็นของบุคคลในการทำงานใหป้ ระสบ
ความสำเรจ็ มผี ลงานดา้ มเกณฑห์ รอื มาตรฐานที่กำหนดหรือสูงกว่า

ความสามารถในการใช้ทกั ษะชีวติ หมายถึง ความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไป
ใช้ในการดำเนินชวี ิตประจำวนั การเรยี นร้ดู ้วยตนเอง การเรยี นรู้อยา่ งตอ่ เนื่อง การทำงาน และการอยู่
ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความ


6

ขดั แยง้ ต่าง ๆอย่างเหมาะสม การปรบั ตวั ให้ทันกบั การเปลย่ี นแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และ
การร้จู กั หลกี เล่ียงพฤติกรรมไมพ่ ึงประสงคท์ ส่ี ่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อนื่

รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา
เป็นจดุ เรม่ิ ต้นของการเรียนรูเ้ พื่อให้ผู้เรียนแสวงหาคำตอบด้วยตนเองตามกระบวนการ 5 ขั้น ตอนคือ
การวางเป้าหมายในการแก้ปญั หาการประเมินปญั หา การวางแผน การปฏิบัติ และการประเมินผล

กรอบแนวคิดในการวิจยั

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดตามทฤษฎีการ
เรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่จากการใช้ปัญหาที่
เกิดขึ้นจริงในโลกเป็นบริบทของการเรียนรู้(Learning Context) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิด
วิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชาที่ตนศึกษาไปพร้อมกันด้วย การ
เรียนรู้โดยใชป้ ัญหาเป็นฐานจงึ เป็นผลมาจากกระบวนการทำงานทีต่ ้องอาศัยความเขา้ ใจและการแก้ไข
ปญั หาเปน็ หลัก ถ้ามองในแง่ของยุทธศาสตร์การสอน PBL เปน็ เทคนคิ การสอน ทส่ี ่งเสริมให้ผู้เรียนได้
ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เผชิญหน้ากับปัญหาด้วยตนเอง จะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการคิดหลาย
รปู แบบ เชน่ การคดิ วจิ ารณญาณ คิดวิเคราะห์ การคดิ สังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์

ตัวแปรอิสระ ตวั แปรตาม
สมรรถนะในการใชท้ ักษะชวี ิต
รปู แบบการจัดการเรยี นรู้โดย
ใชป้ ญั หาเปน็ ฐาน


บทท่ี 2

เอกสารและงานวจิ ยั ที่เกี่ยวขอ้ ง

ในการวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้นำเสนอตามหัวข้อ
ดังต่อไปนี้
1.สมรรถนะ

1.1 ความเปน็ มาและความหมายของสมรรถนะ
1.2 องคป์ ระกอบของสมรรถนะ
1.3 ประเภทของสมรรถนะ
2.ทักษะชวี ติ
2.1 ความหมายทักษะชวี ิต
2.2 ความสำคญั ของทักษะชวี ิต
2.3 องค์ประกอบของทักษะชีวิต
3.รูปแบบการเรียนรูโ้ ดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
3.1 ความหมายของการเรียนโดยใชป้ ัญหาเป็นฐาน
3.2 หลกั การจดั เรียนรทู้ ่ใี ชป้ ัญหาเป็นฐาน
3.3 ขนั้ ตอนการเรียนรู้โดยใชป้ ัญหาเป็นฐาน
3.4 ลกั ษณะสาคญั ของการจดั การเรียนรูโ้ ดยใชป้ ัญหาเป็นฐาน
4.หลักสตู รแกนกลางการศึกษาขัน้ พื้นฐาน พุทธศักราช 2561
4.1 วิสยั ทัศน์
4.2 หลักการ
4.3 จุดหมาย
4.4 สมรรถนะสำคญั ของผู้เรียน
4.5 คณุ ลกั ษณะอนั พงึ ประสงค์
4.6 มาตรฐานการเรียนรู้
4.7 กลุ่มสาระการเรยี นรู้สงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
5.งานวิจัยทเี่ กย่ี วขอ้ ง
5.1 งานวิจัยในประเทศ
5.2 งานวจิ ยั ในต่างประเทศ


8

สมรรถนะ

สมรรถนะ(Competency) เป็นปัจจัยในการทำงานที่เพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขัน
ใหแ้ ก่องคก์ ารโดยเฉพาะการเพ่ิมขดี ความสามารถในการบรหิ ารทรัพยากรมนษุ ยเ์ พราะ สมรรถนะเป็น
ปัจจัยช่วยให้พัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อให้ส่งผลไปสู่การพัฒนาองค์การ องค์การต่าง ๆ จึง
พยายามเอาสมรรถนะมาใชเ้ ปน็ ปัจจัยในการบริหารองค์การในด้าน ต่าง ๆ เช่น การบรหิ ารทรัพยากร
มนุษย์การพัฒนาหลักสูตรการพฒั นางานบริการ หรือการพัฒนาภาวะผูน้ ำของผบู้ รหิ าร เป็นตน้ ดังน้ัน
เพื่อให้มองเห็นกรอบความคิด และแนวความคิด เบื้องต้นเกี่ยวกับสมรรถนะจึงจะกล่าวถึงความ
เป็นมาและความหมายองค์ประกอบประเภท ของสมรรถนะการกำหนดสมรรถนะการวัดสมรรถนะ
และการประยกุ ต์ใช้สมรรถนะ

1. ความเปน็ มาและความหมายของสมรรถนะ

แนวคดิ เกย่ี วกับสมรรถนะเร่ิมจากการนำเสนอบทความทางวชิ าการของเดวิด แมค เคลิ แลนด์
(David C. McClelland) นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาววาร์ดเมื่อปีค.ศ.1960 ซึ่ง กล่าวถึง
ความสัมพันธ์ระหวางคุณลักษณะที่ดีของบุคคล (Excellent performer) ในองค์การกับระดับทักษะ
ความรู้ความสามารถโดยกล่าวว่าการวัด IQ และการทดสอบบุคลิกภาพ ยังไม่เหมาะสมในการทำนาย
ความสามารถ หรือสมรรถนะของบคุ คลไดเ้ พราะไม่ไดส้ ะทอ้ น ความสามารถทีแ่ ท้จริงออกมาได้

ในปีค.ศ.1970 US State Department ได้ติดต่อบริษัท McBer ซึ่งแมคเคิลแลนด์ เป็น
ผู้บริหารอยู่ เพื่อให้หาเครื่องมือชนิดใหม่ที่สามารถทำนายผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าท่ี ได้อยาง
แม่นยำแทนแบบทดสอบเก่า ซึ่งไมส่ มั พนั ธก์ ับผลการปฏิบตั งิ าน เนอ่ื งจากคนไดค้ ะแนนดีแตป่ ฏบิ ัติงาน
ไม่ประสบผลสำเร็จจึงต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการใหม่แมคเคิลแลนด์ได้ เขียนบทความ “Testing for
competence rather than for intelligence” ในวารสาร American Psychologist เพื่อเผยแพร่
แนวคิดและสรา้ งแบบประเมินแบบใหม่ที่เรียกว่า Behavioral Event Interview (BEI) เป็นเครื่องมอื
ประเมนิ ท่ีค้นหาผทู้ ่มี ีผลการปฏิบตั ิงานดซี งึ่ แมคเคิลแลนด์ เรียกวา่ สมรรถนะ(Competency)

ในปีค.ศ.1982 ริชาร์ด โบยาตซิส (Richard Boyatzis) ได้เขียนหนังสือชื่อ The
Competence Manager: A Model of Effective Performance และไดน้ ิยามคำว่าcompetencies
เป็นความสามารถในงานหรือเป็นคุณลักษณะที่อยูภายในบุคคลที่นำไปสู่การปฏิบัติงานให้เกิ ด
ประสทิ ธภิ าพ

ปีค.ศ.1994 แกรีแฮเมลและซี.เค.พราฮาราด (Gary Hamel และ C.K.Prahalad) ได้ เขียน
หนังสือชื่อ Competing for the Future ซึ่งได้นำเสนอแนวคิดที่สำคัญ คือ Core Competencies
เปน็ ความสามารถหลักของธุรกิจ ซึง่ ถือวาในการประกอบธุรกจิ นั้นจะต้องมี เนื้อหาสาระหลักเช่น พ้ืน


9

ฐานความรู้ทักษะและความสามารถในการทำงานอะไรได้บ้างและอยู่ในระดับใด จึงทำงานได้มี
ประสิทธภิ าพสงู สุดตรงตามความต้องการขององคก์ าร

ในปัจจุบันองค์การของเอกชนชั้นนำได้นำแนวคิดสมรรถนะไปใช้เป็นเครื่องมือใน การ
บรหิ ารงานมากข้นึ และยอมรบั วา่ เป็นเครือ่ งมือสมัยใหมท่ ่ีองค์การต้องไดร้ บั ความพึงพอใจอยู่ในระดับ
ต้นๆ มีการสำรวจพบว่ามี 708 บริษัททั่วโลก Core Competency เป็น 1 ใน 25 เครื่องมือที่ได้รับ
ความนิยมเป็นอันดับ 3 รองจาก Corporate Code of Ethics และStrategic Planning (พสุ เดชะ
รินทร์2546 : 13) แสดงว่า Core competency จะมีบทบาทสำคัญที่จะเข้าไป ช่วยให้งานบริหาร
ประสบความสำเร็จจึงมีผู้สนใจศึกษาแนวคิดเกีย่ วกับการนำหลักการของสมรรถนะมาปรับให้เพ่ิมมาก
ข้นึ

หน่วยงานของรัฐและเอกชนของไทยหลายหน่วยงานได้ให้ความสนใจนำมาใช้ เช่น บริษัท
ปูนซีเมนต์ไทย ปตท. และสำนักงานข้าราชการพลเรือน เป็นต้น สำหรับความหมายของสมรรถนะมี
การใหค้ วามหมายไวห้ ลายนัย ดังจะยกตวั อยา่ ง การให้ความหมายของนกั วิชาการบางทา่ น ดงั นี้

สก็อต บีพารี(Scott B. Parry) นิยามคำว่าสมรรถนะว่า คือกลุ่มของความรู้ (Knowledge)
ทักษะ (Skills) และคณุ ลกั ษณะ (Attributes) ที่เก่ียวข้องกนั ซ่ึงมีผลกระทบตอ่ งาน หลกั ของตำแหน่ง
งานหนึ่ง ๆ โดยกลุ่มความรู้ทักษะและคุณลักษณะดงั กล่าว สัมพันธ์กับ ผลงานของตำแหนง่ งานน้ัน ๆ
และสามารถวัดผลเทียบกบมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับและเป็นสิ่ง ที่สามารถเสริมสร้างขึ้นได้โดยผาน
การฝึกอบรมและการพัฒนา (สกุ ัญญา รัศมธี รรมโชติ 2547: 48)

แมคเคิลแลนด์กล่าวว่า สมรรถนะคือ บุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายในปัจเจกบุคคล ซึ่ง 19
สามารถผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้น สร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีหรือตามเกณฑ์ที่กำหนดในงาน ที่ตน
รบั ผิดชอบ

อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ (2547 : 61) ได้สรุปคำนิยามของสมรรถนะไว้ว่า สมรรถนะคือ
คุณลักษณะของบุคคล ซึ่งได้แก่ความรู้ทักษะความสามารถและคุณสมบัติ ต่าง ๆ อันได้แก่ค่านิยม
จริยธรรม บุคลิกภาพ คุณลักษณะทางกายภาพ และอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นและ สอดคล้องกบความ
เหมาะสมกับองค์การโดยเฉพาะอยางยิ่งต้องสามารถจำแนกได้ว่าผู้ที่จะประสบความสำเร็จในการ
ทำงานได้ต้องมีคุณลักษณะเด่น ๆ อะไร หรือลักษณะสำคัญ ๆ อะไรบ้าง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ
สาเหตทุ ่ที ำงานแลว้ ไม่ประสบความสำเร็จเพราะขาด คุณลักษณะบางประการคืออะไร เป็นต้น

Mitrani, Dalziel และ Fitt (1992 : 11) กล่าว ถึงสมรรถนะวาเป็นลักษณะเฉพาะของบุคคล
ที่มีความเชื่อมโยงกบประสิทธิผลหรือ ผลการปฏิบัติงานในการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับการให้
ความหมายของ Spencer และ Spencer (1993 : 9) ที่ให้ความหมายของสมรรถนะว่าเป็น
คุณลกั ษณะของบุคคลท่ีมีความสัมพนั ธ์เชิงเหตแุ ละผลต่อความมีประสิทธิผลของเกณฑ์ที่ ใช้และ/หรือ
การปฏิบัติงานที่ได้ผลการทำงานที่ดีขึ้นกวาเดิม นอกจากน้ีSpencer และ Spencer (1993 : 11) ได้


10

ขยายความหมายของสมรรถนะว่าเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของแต่ละบุคคล (Underlying
characteristic) ที่มีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลจากความมีประสิทธิผลของเกณฑ์ที่ใช้ (Criterion
reference) และ/หรอื การปฏิบตั ิงานทไ่ี ด้ผลงานสูงกวามาตรฐาน(Superior performance)

2. องคป์ ระกอบของสมรรถนะ

หลักตามแนวคดิ ของแมคเคิลแลนด์มี 5 ส่วนคอื
2.1 ความรู้ (Knowledge )คือ ความรู้เฉพาะในเรื่องที่ต้องรู้เป็นความรู้ที่เป็น

สาระสำคัญ เชน่ ความรดู้ า้ นเครื่องยนต์ เปน็ ตน้
2.2 ทักษะ (Skill) คือ สิ่งที่ต้องการให้ทำได้อยางมีประสิทธิภาพ เช่น ทักษะทาง

คอมพิวเตอร์ทักษะทางการถ่ายทอดความรู้เป็นต้น ทักษะที่เกิดได้น้ันมาจากพื้นฐานทางความรู้และ
สามารถปฏบิ ัตไิ ด้อยางแคล่วคล่องว่องไว

2.3 ความคิดเหน็ เกีย่ วกบั ตนเอง (Self – Concept) คือเจตคตคิ ่านยิ ม และความคดิ เห็น
เกย่ี วกบภาพลักษณข์ องตน หรือสงิ่ ที่บคุ คลเชอื่ วาตนเองเป็น เช่น ความมันใจในตนเอง เปน็ ต้น

2.4 บุคลกิ ลักษณะประจ าตัวของบคุ คล (Traits) เป็นส่งิ ท่ีอธิบายถึงบุคคลน้ัน เช่น คนที่
น่าเชื่อถือและไว้วางใจไดห้ รือมีลกั ษณะเป็นผู้นำ เป็นต้น

2.5 แรงจูงใจ/เจตคติ (Motives / Attitude) เป็นแรงจูงใจ หรือแรงขับภายใน ซึ่งทำให้
บคุ คลแสดงพฤติกรรมท่ีม่งุ ไปสูเ่ ป้าหมาย หรอื มงุ่ สู่ความสำเร็จ เป็นตน้

จากแนวคิดของ แมคเคิลแลนด์ นั้น สกอตด์บีพารีเห็นควรจะรวมส่วนประกอบที่เป็นความคิด
เกี่ยวกบตนเอง คุณลักษณะและแรงจูงใจเข้าเป็นกลุ่มเรียกว่าคุณลักษณะ (Attributes) ดังนั้น
บางครั้งเมื่อพูดถึงองค์ประกอบของสมรรถนะจงึ มีเพียง 3 ส่วนคือความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ ซึ่งตาม
ทัศนะของแมคเคิลแลนด์กล่าวว่า (สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ2547 : Skill Knowledge Self-concept
Trait Motives/Attitude 22 48) สมรรถนะเป็นส่วนประกอบขึ้นมาจากความรู้ทักษะและเจตคติ/
แรงจูงใจ หรอื ความรู้ ทักษะและเจตคต/ิ แรงจูงใจกอ่ ให้เกดิ สมรรถนะ

3. ประเภทของสมรรถนะ

สมรรถนะสามารถจำแนกไดเ้ ป็น 5 ประเภท คือ
3.1 สมรรถนะส่วนบุคคล (Personal Competencies) หมายถึง สมรรถนะทแ่ี ตล่ ะ คน

มเี ปน็ ความสามารถเฉพาะตัวคนอื่นไม่สามารถลอกเลียนแบบได้เช่น การตอ่ สู้ปอ้ งกนั ตวั A B 23 ของ
จา พนม นักแสดงชือ่ ดงั ในหนงั เร่ือง “ต้มยำกุ้ง” ความสามารถของนักดนตรีนกั กายกรรม และนักกีฬา
เป็นต้น ลกั ษณะเหล่าน้ยี ากท่จี ะเลียนแบบหรือต้องมีความพยายามสูงมาก


11

3.2 สมรรถนะเฉพาะงาน (Job Competencies) หมายถึง สมรรถนะของบคุ คลกบั การ
ทำงานในตำแหนง่ หรือบทบาทเฉพาะตัว เช่น อาชีพนักสำรวจก็ต้องมีความสามารถใน การวิเคราะห์
ตวั เลขการคดิ คำนวณ ความสามารถในการทำบัญชีเป็นต้น

3.3 สมรรถนะองคก์ าร (Organization Competencies) หมายถึงความสามารถ พเิ ศษ
เฉพาะองค์การนั้นเทา่ นนั้ เชน่ บริษัท เนช่นั แนล (ประเทศไทย) จำกดั เป็นบรษิ ทั ท่มี ีความสามารถใน
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือ บริษัทฟอร์ด (มอเตอร์) จำกัด มีความสามารถใ การผลิตรถยนต์เปน็ ต้น
หรือ บรษิ ัท ทีโอเอ(ประเทศไทย) จำกัด มคี วามสามารถในการผลติ สีเป็นตน้

3.4 สมรรถนะหลกั (Core Competencies) หมายถึงความสามารถสำคัญที่บคุ คล ตอ้ ง
มีหรือต้องทำเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายทีต่ ั้งไว้เช่น พนักงานเลขานุการสำนักงาน ต้องมีสมรรถนะ
หลักคือการใช้คอมพิวเตอร์ได้ติดต่อประสานงานได้ดีเป็นต้น หรือผู้จัดการ บริษัท ต้องมีสมรรถนะ
หลักคอื การสอื่ สารการวางแผนและการบรหิ ารจดั การและการทำงาน เปน็ ทมี เป็นต้น

3.5 สมรรถนะในงาน (Functional Competencies) หมายถึงความสามารถของ
บุคคลที่มีตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ ตำแหน่งหน้าที่อาจเหมือนแต่ความสามารถตามหน้าที่ต่างกัน เช่น
ข้าราชการตำรวจเหมือนกัน แต่มีความสามารถต่างกัน บางคนมีสมรรถนะทางการสืบสวน สอบสวน
บางคนมีสมรรถนะทางปราบปราม เป็นตน้

ทักษะชวี ิต

ทักษะชีวิต ( life skill ) เป็นความสามารถของบุคคลที่จะคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหาและปรับตัว
เพื่อให้มีพฤติกรรมที่เป็นไปในทางที่ถูกต้อง สามารถจัดการกับความต้องการ ปัญหาและสถานการณ์
ต่างๆ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ให้มีสุขภาพดีทั้งด้าน
รา่ งกายจิตใจ อารมณ์และสังคม ผวู้ ิจยั ศึกษาในประเด็นความหมายของทกั ษะชีวิตไวด้ งั นี้

1. ความหมายและแนวคิดของทกั ษะชวี ติ

วนิดา ขาวมงคล เอกแสงศรี (2546 : 1-2) ได้ใหค้ วามหมายของทกั ษะชวี ติ
1.1 ความสามารถของมนุษยท์ ม่ี ีติดตวั มาแตก่ าเนิด
1.2 ความสามารถที่มนุษย์สามารถเรียนรูจ้ ากตนเองและผู้อื่น ซึ่งรวมถึงสภาพแวดลอ้ ม

ทง้ั ทางธรรมชาตแิ ละทางสงั คมทีม่ นุษยเ์ ป็นผูส้ รา้ งขึ้น
1.3 ความสามารถที่ประกอบด้วยความรู้ เจตคติ และทักษะการจัดการกับชีวิตของ

ตนเองกบั ปญั หากบั สภาพแวดลอ้ มตา่ ง ๆ ได้
1.4 ความสามารถที่มนุษย์ควรจะพัฒนาได้จนบรรลุจุดสูงสุดในชีวิต คือความ เป็น

มนุษยท์ สี่ มบูรณ์ตามศกั ยภาพของแตล่ ะบคุ คล


12

เทพ สงวนกิตติพันธ์ุ (2545 : 7-8) ทักษะชีวิต หมายถึง ความรู้ความสามารถความ เชี่ยวชาญท่ี
จะช่วยให้ความเป็นอยู่หรือการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวของกับร่างกาย สังคม จิตใจ ของบุคคล
ให้สามารถดำเนินชวี ิตไดอ้ ยางมคี วามสขุ และประสบความสำเรจ็ ในชวี ติ

จากความหมายที่กล่าวมาพอจะสรุปได้ว่า ทักษะชีวิต หมายถึง ความสามารถในการเผชิญ
ปัญหาในการดำเนินชวี ติ โดยใช้ทักษะความรู้ในการแก้ปญั หาต่าง ๆ ท่จี ะเกิดข้นึ กับตัวเองให้เหมาะสม
กับสภาพสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาทิ การใช้ทักษะความคิดอย่างมีเหตุผล และมีสติเพื่อแก้ไข
ปญั ญาการรจู้ ักปฏิเสธ การปรับตวั ให้เข้ากบั ส่ิงแวดล้อม และการส่อื สารในชีวิตประจำวนั

ยงยุทธ วงภิรมย์ศานติ์ (2540 : 8) ให้ความหมายทักษะชีวิตหมายถึง ทักษะชีวิตเป็น
ความสามารถอนั ประกอบด้วยความรู้ เจตคตแิ ละทกั ษะในอันที่จะจดั การกับปญั หารอบๆตวั ในสภาพ
สังคมปัจจุบัน และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคตไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ สารเสพติด
บทบาท ชาย หญิง ชีวิตครอบครวั สขุ ภาพ อทิ ธพิ ลสื่ออืน่ ๆ สิ่งแวดล้อม จรยิ ธรรมและปัญหาสังคมใน
ด้านต่างๆ

สัมฤทธิ์ สันเต (2547 : 10) ให้ความหมายของทักษะชีวิตไว้ว่า ทักษะชีวิตหมายถึง
ความสามารถในการรวบรวมข้อมูลและประยุกต์ใช้ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม สามารถตัดสินใจ จัดการ
กับปัญหาและแก้ไขปัญหาที่ตนเผชิญในชีวิตประจำวันได้โดยแสดงพฤติกรรมที่จริงออกมาอย่าง
สรา้ งสรรค์ และตรงไปตรงมา ช่วยให้ดำเนนิ ชวี ิตอยู่ในสังคมไดอ้ ย่างมคี วามสุข

ธนพัชร แก้วปฏิมา (2547 : 13) ให้ความหมายของทักษะชีวิตไว้ว่า เป็นความสามารถโดยรวม
ของบุคคล ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการคิดวิเคราะห์และประเมินเหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ
ตนเองใน ชีวิตประจำวันอย่างมีเหตุผลโดยนำข้อมูลจากการสะสมประสบการณ์มาใช้ประกอบการ
พจิ ารณา เพ่ือตดั สนิ ใจและสามารถเลือกใช้ทักษะต่างๆ เช่น การส่ือสาร การสรา้ งสมั พนั ธภาพกบั ผู้อื่น
ในการแก้ปัญหา และสามารถปรับตัวให้เผชิญสถานการณ์หรือปัญหาทางด้านร่างกาย จิตใจ และ
สังคมจนสามารถด าเนิน ชวี ติ ไดอ้ ยา่ งเหมาะสมและมีความสขุ

กล่าวโดยสรุป ทกั ษะชวี ติ เป็นทักษะหน่ึงท่ีมีความจำเปน็ สำหรบั การดำรงชีวิตในสังคมท่ีซับซ้อน
ในปัจจุบัน และเป็นทักษะทีช่วยสนับสนุนและลดประเด็นปัญหาสำคัญที่เข้ามาคุกคามชีวิตของแต่ละ
บุคคล อีกทั้งยังเป็นทักษะที่ช่วยให้บุคคลสามารถปรับตนเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ตลอดจนช่วยเสริมสร้างการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านส่วนตัวด้าน
ครอบครัว ด้านสังคมกลุ่มเพื่อนให้มีความสมบรู ณม์ ากยงิ่ ขน้ึ

2. ความสำคญั ของทกั ษะชวี ติ

ทักษะชีวิตมีความสำคัญต่อความสามารถในการคิดการปรับตัวและการตัดสินใจ ความสัมพันธ์
กับจิตของมนุษย์ 3 ด้านคือด้านการฝึกฝนด้านสติปัญญา (IQ) ด้านอารมณ์(EQ) และแรงจูงใจด้าน


13

การหล่อหลอมบุคลิกภาพในด้านมโนธรรมและคุณธรรม (MQ) ซึ่งสามารถจำแนกการฝึกฝนทักษะ
ชีวติ ดงั นี้

2.1 มีความเป็นเลิศทางปัญญาหรือความเกง่ พัฒนาสติปัญญาในด้านความจำการคดิ หา
เหตุผล การตดั สนิ ใจการแก้ปญั หาการวิเคราะห์ปัญหามคี วามคดิ สร้างสรรค์เป็นตน้

2.2 ดำรงตนเป็นคนดี มีเจตคติที่ดีที่เกิดจากการเรียนรู้ทางด้านอารมณ์และความรู้สึก
ของตนเอง ในการอยู่รว่ มกับผู้อ่นื ในสงั คม

2.3 มีความสุขในการดำเนินชีวิตมีความมันคงทางจิตใจมีบุคลิกภาพดี มีการปรับตัวมี
ทักษะในการสอ่ื สารกับผูอ้ ่นื เป็นตน้

3. องค์ประกอบของทักษะชีวิต
แม็คเวล (Maxwell.1981 : 7-8) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของทักษะชีวิตว่าควรมีทักษะท่ี
จำเปน็ ดงั นี้

3.1 ทักษะด้านความรู้ในตนเองและการตระหนักรู้ในตนเอง (Self-Knowledge or
SelfAwareness Skills) เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์อย่างมหาศาลโดยจะขาดเสียมิได้
ตวั อย่างเชน่ ทักษะ 7 ประเมนิ เองหรือการคน้ หาข้อดีและข้อเสียของตนเองในขอบเขตของชีวิตทักษะ
ของการเข้าใจแรงจูงใจในตนเองความปรารถนาความชอบและการกำหนดเปา้ หมายในชวี ิตของตนเอง
อย่างชดั เจน

3.2 ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Skills) มนุษย์เป็นสัตว์สังคมจำเป็นอย่างยิ่ง
จะอยู่ รว่ มกนั และใช้ชีวิตรว่ มกัน ดงั นนั้ ทักษะที่จำเปน็ ในการปฏสิ ัมพันธ์กบั บุคคลอน่ื ได้แก่ ทักษะการ
แสดงออกทางอารมณ์ของตน ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะการเข้าใจอารมณ์ของ
บุคคลอื่น ทักษะ การตีความในแรงจูงใจของบุคคลอื่น ทักษะการกล้าแสดงงออกอย่างเหมาะสม
ทกั ษะการตอ่ ตา้ นความกดดันจากสังคม และทกั ษะการฟงั อย่างมปี ระสทิ ธิภาพ

3.3 ทักษะการแก้ปัญหา (Problem-Solving Skills) ชีวิตของมนุษย์ในแต่ละช่วงวัย
จะต้องเผชิญ กับความซับซ้อนทางสังคมที่เกิดขึ้น ดังนั้นทักษะการแก้ปัญหาจึงจำเป็นและมี
ความสำคัญในการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นทักษะการค้นหาข้อมูล ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการคิด
หาทางเลือกที่เหมาะสม ทักษะการวางแผนระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งทักษะต่างๆ จะขึ้นอยู่กับการ
นำไปประยุกต์กับขอบข่ายของชีวิตในดา้ น แต่ละบุคคล เช่นการทำงาน ชีวิตการเรียน ชีวิตครอบครวั
และชีวิตส่วนตัวของการใช้เวลาว่าง เป็นต้น กัสด้า, ชิลเดอร์ และบรู๊ค (Gazda,Childers; & Brooks,
1987 : 212) ได้จัดประเภทต่างๆของทักษะชีวิตไว้มากกว่า 300 ทักษะ โดยสามารถรวมเป็น 4
องค์ประกอบใหญๆ่ ไดแ้ ก่

3.3.1 ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์และการสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal
Communication and Human Relations Skills) ประกอบด้วยทักษะที่จำเป็น คือ การสื่อสารที่มี


14

ประสิทธิภาพทั้งภาษาพูดและภาษาท่าทางกับบุคคลอื่น การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น การ
แสดงความคิดเหน็ และ ความคดิ ไดอ้ ย่างชัดเจน

3.3.2 ทักษะด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหา (Problem Solving and
Decision Making Skills) ประกอบด้วยทักษะที่จำเป็นคือ การค้นหาข้อมูล การวิเคราะห์ และ
ประเมินข้อมูล การประเมิน ปัญหาการจัดการปัญหาการระบุปัญหา และการแก้ปัญหา การกำหนด
เปา้ หมาย การคาดการณ์ และการวางแผนอย่างเป็นระบบการบรหิ ารเวลา การคดิ อยา่ งมีวจิ ารณญาณ
และประการสดุ ทา้ ยคอื การแก้ปัญหา ความขัดแยง้

3.3.3 ทักษะการดูแลรักษาสุขภาพและร่างกาย (Physical Fitness and Health
Maintenance Skills) ประกอบดว้ ยทักษะทจ่ี ำเปน็ คือ การพัฒนาเอกลักษณส์ ว่ นตวั การตระหนักรู้ใน
อารมณต์ นเอง การกำกับดูแลตนเองการรักษาไว้ซ่ึงความมีคุณค่าในตนเองการพัฒนาบทบาททางเพศ
การพฒั นาความหมาย ของชวี ติ และการทำความกระจา่ งชดั ในค่านิยมและคณุ ธรรม

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2554 : 2) ได้กำหนดองค์ประกอบทักษะชีวิตที่
สำคัญที่จะสร้างและพัฒนาเป็นภูมิคุ้มกันชีวิตให้กับเด็กและเยาวชนในสภาพสังคมปัจจุบัน และ
เตรียมพร้อมสำหรับอนาคตไว้ 4 องค์ประกอบ พรอ้ มทั้งพฤตกิ รรมที่คาดหวังและตวั ช้วี ดั ทักษะชีวิตใน
แต่ ละองคป์ ระกอบดังนี้

1. การตระหนกั รแู้ ละเหน็ คุณคา่ ในตนเองและผ้อู ื่น
2. การคดิ วิเคราะห์ ตัดสนิ ใจ และแกป้ ัญหาอย่างสร้างสรรค์
3. การจดั การกับอารมณ์และความเครยี ด
4. การสร้างสัมพนั ธภาพที่ดกี บั ผอู้ ่ืน

รูปแบบการเรยี นรู้โดยใช้ปญั หาเป็นฐาน

การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานนั้นมีชื่อเรียกหลายแบบ เช่น การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็น
หลักการเรียนรู้ทีใ่ ช้ปัญหาเป็นฐาน การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นสำคัญ วิธีการใช้ปัญหาสมมติ เป็นตน้
ในภาษาอังกฤษตรงกบคำว่า Problem - Based Learning หรือPBL ในงานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัย เรียกว่า
การเรยี นโดยใช้ปญั หาเป็นฐาน ซ่ึงมีผใู้ หค้ วามหมายของการเรยี นโดยใชป้ ัญหาเป็นฐาน ดังน้ี

1. ความหมายของการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

ทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์ (2544, หน้า 5) กล่าวว่า “การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หมายถงึ
การเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะใฝ่ หาความรู้ เพื่อ
แก้ปัญหา ทั้งนี้โดยเน้นให้ผู้เรียนตัดสินใจในสิ่งที่ตนเองต้องการแสวงหาและรู้จักการทำงาน ร่วมกัน
เปน็ ทมี ภายในกลุ่มผู้เรยี น โดยครผู ู้สอนมีสว่ นร่วมเกี่ยวข้องนอ้ ยที่สดุ ”


15

วัลลี สัตยาศัย (2547, หน้า 16) กล่าวว่า “การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน คือวิธีการเรียนรู้ ท่ี
เร่ิมต้นด้วยการใชป้ ญั หาเปน็ ตัวกระต้นุ ใหผ้ ู้เรียนไปศึกษาคน้ คว้าแสวงหาความร้ดู ้วยวธิ กี ารต่าง ๆ จาก
แหล่งวิทยาการที่หลากหลายเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหา โดยที่มิได้มีการศึกษาหรือเตรียมตัว
ล่วงหนา้ เกี่ยวกบั ปญั หาดงั กลา่ วมาก่อน”

Barrows and Tamblyn (1980, หน้า 18) ได้ให้ความหมายของการเรียนโดยใช้ปัญหา เป็น
ฐานโดยสรปุ ได้ว่า เป็นกระบวนการเรียนท่ีผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากกระบวนการท่ีใชจ้ ดั การ ทำความ
เข้าใจและแก้ปัญหา ด้วยตนเอง เป็นการเรียนที่เป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่มุ่งความเข้าใจ
หรือแก้ปัญหา ปัญหาที่ได้ประสบครั้งแรกในกระบวนการเรียนใช้เป็นจุดรวมหรือเป็น สิ่งกระตุ้นเพ่ือ
การประยุกต์ใช้การแก้ปัญหาหรือทักษะการให้เหตุผล และเพื่อค้นหาหรือศึกษา ความรู้ต่างๆท่ี
ต้องการทำความเข้าใจกลไกการทำงานที่รบั ผดิ ชอบตอ่ ปญั หาและหาวิธีการแก้ปญั หา

Allen and Duch (1998, หน้า 1) ให้ความหมายของการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สรุป ได้
ว่าคือการเรียนที่เริ่มต้นด้วยปัญหาการสอบถามหรือปริศนาที่ผู้เรียนต้องการแก้ ปัญหาเพื่อกระตุ้นให้
ผู้เรียนระบุและค้นคว้ามโนทัศน์และหลักการที่พวกเขาต้องการรู้เพื่อความก้าวหน้าโดยปัญหาผู้เรียน
ทำงานเป็นทีมการเรยี นเล็กๆ ซึ่งเป็นการเรียนที่ได้ทกั ษะต่างๆ เช่น การติดต่อสื่อสาร และการบูรณา
การความรูแ้ ละเป็นกระบวนการท่คี ลา้ ยกบการสบื เสาะหาความรทู้ างวทิ ยาศาสตร์

Howard (1999, หน้า 172) กล่าวว่า “การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นวิธีการทาง
การศึกษาที่นำเสนอผู้เรียนด้วยปัญหาที่มีรูปแบบของโครงสร้างที่ซับซ้อน ในระยะเริ่มแรกของ
ประสบการณ์การเรียน ข้อมูลที่ได้ในระยะเริ่มแรกไม่พอเพียงให้แกปัญหา คำถามต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ
ปัญหาจะผลักดันให้ไปทำการสืบเสาะหาความรู้” สรุปได้ว่า การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน คือการ
เรียนการสอนทีเ่ ริม่ ต้นด้วยปัญหาเพือ่ เป็นสิ่งกระตุ้นให้ผู้เรยี นเกดิ ความอยากรู้และไปแสวงหาความรู้
เพิ่มเติมเพื่อนำมาแก้ปัญหาซึ่งอยู่บน พื้นฐานความต้องการของผู้เรียน เป็นกระบวนการที่คล้ายกับ
การสืบเสาะหาความร้ทู างวทิ ยาศาสตร์ และให้ผเู้ รยี นมกี ารทำงานเป็นทีม

2. หลักการจัดเรยี นรู้ที่ใช้ปัญหาเปน็ ฐาน

การเรียนการสอนโดยใช้ปญั หาเปน็ ฐานเปน็ กระบวนการใหผ้ ูเ้ ขยี นคน้ ควา้ หาความรู้ เกย่ี วข้อง
กับการแก้ปัญหา การเรียนรู้ด้วยตนเองและทำงานรว่ มกัน ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นสิ่ง ที่ผู้เรียนจะ
สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไป ดังที่ปริญญา เชาวนาศัย (2547, หน้า 66) ได้กล่าวไว้ใน
วารสารวทิ ยาการจัดการไว้ว่า การเรียนการสอนแบบใชป้ ัญหาเป็นฐาน นั้นจะใช้ปญั หาเปน็ จุดเริ่มตน้
ในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นคว้าข้อมูลที่จำเป็นดำเนินการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหาและ
พัฒนาการเรียนรู้ของตนเองและในกลุ่มผู้เรียนด้วยกัน ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้ ผู้เรียนมี
ความสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและมีประสบการณ์ที่เหมือนการทำงานจริง ลักษณะการเรียน การ
สอนแบบนี้ทำให้บทบาทของผู้เรียนและผู้สอนเปลี่ยนไปผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบสูงขึ้น ต่อการ


16

เรียนของตนเองและการทำงานกลุ่ม ผลที่ตามมาคือ ผู้เรียนมีแรงกระตุ้นในการเรียนรู้ มีความมันใจ
และความภูมิใจต่อผลงานตนเองมากขึ้น ซึ่งในระยะยาวก็คือ แนวคิดของการเรียนรู้ ตลอดชีวิต
ขณะเดียวกันผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้ความรู้ มาเป็นที่ปรกึ ษา ผู้ให้แนวคิดและผูป้ ระเมิน
กระบวนการเรยี นรู้

การเรียนการสอนในรูปแบบของใช้ปัญหาเป็นฐานนั้นได้เริ่มขึ้นที่ McMater University,
Medical School, Canada โดยแนวคิดพื้นฐานคือ การปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน เพื่อพัฒนา
ผู้เรียนให้มีการพัฒนาในการเรียนรู้ โดยมีกรอบแนวคิดที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้จากกระบวนการ มากกวา
การเรียนรู้จากหนังสอื และการบรรยายเพียงอย่างเดียว แนวคิด และรูปแบบการสอนนี้ สอดคล้องกบ
แนวคิดของ Student-Centered ซึ่งทองจนั ทร์ หงศล์ ดารมภ์ (2538, หน้า 5-6) กลา่ วถึงองคป์ ระกอบ
พน้ื ฐานทีจ่ ำเปน็ ต้องพิจารณาในกระบวนการจดั การเรียนโดยใชป้ ัญหา เปน็ ฐาน ดังน้ี

2.1 การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเริ่มจากการใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นจะนำเรียนไปสู่ การ
เรียนรแู้ ละกระบวนการเรยี นรดู้ ้วยตนเองโดยการค้นคว้า ลองผดิ ลองถกู โดยมีผูส้ อนเปน็ ผชู้ ้ีแนะ

2.2 การเรียนรู้จากการทำงานกลุ่มโดยผู้เรียนต้องเรียนรู้จากเพื่อนร่วมงาน การ
แลกเปลี่ยน ความคดิ เห็น การยอมรบั ความคิดเหน็ ท่ีแตกต่าง และทำงานร่วมกนเพื่อคน้ หาองค์ความรู้
เพอ่ื ใช้ วเิ คราะหแ์ ละแก้ปัญหา

2.3 การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนใช้ความรู้ที่ได้มาแลว้
นนั้ นำไปแกป้ ญั หา

2.4 การเลือกสรรข้อมูล เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนต้องตัดสินใจเลือกใช้ข้อมูล แนวคิด
และทฤษฎที ีเ่ หมาะสมในการแก้ปัญหา

2.5 การค้นหาและบูรณาการความรู้ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนต้องค้นคว้าและ
ประยกุ ต์ใช้ องค์ความรู้ทมี่ อี ยู่หรือสรา้ งองค์ความรใู้ หม่ เพื่อใชแ้ ก้ปญั หา

จากองคป์ ระกอบดังกลา่ วสรุปได้ว่าใช้ปญั หาเปน็ ฐาน มีผลโดยตรงต่อกระบวนการสอน โดยที่
ผู้สอนจำเป็นต้องมีความแตกฉานในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อสามารถเลือกสรรโจทย์หรือปัญหาท่ี สามารถ
สร้างกระบวนการเรียนรู้ได้อยางเหมาะสม สิ่งที่สำคัญต่อมาคือ การปรับเปลี่ยนการเรียน การสอน
ของผู้สอน โดยผสู้ อนจะมหี น้าทเ่ี ปน็ ผู้สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ แทนท่จี ะเปน็ ผ้ใู ห้ องค์ความรู้และ
รูปแบบ การสนับสนุนนี้จะมีลักษณะที่มีปฏิสัมพันธ์ กล่าวคือ ผู้สอนต้องมีหน้าที่ควบคุมและชี้น ำ
ผู้เรียนตลอดกระบวนการ เพื่อให้ผู้เรียนรู้ในทิศทางที่ถูกต้องและได้เรียนรู้ ในกรอบของหลักสูตรใน
เวลาที่เหมาะสม

สิ่งที่สำคัญอีกข้อหนึ่งในการเรียนรูแ้ บบใช้ปัญหาเป็นฐาน คือ แหล่งความรู้ที่ผู้เรียน สามารถ
เข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด อินเทอร์เน็ต หรือหนังสือประกอบการเรียน รวมทั้ง กระบวนการ
สนับสนุนองค์ความรู้ เช่น การจัดสถานที่สำหรับการประชุมกลุ่ม การประชุม กลุ่มยอยโดยมีผู้


17

ประสานงาน ซึง่ อาจจะเปน็ ผูส้ อน หรอื ผูช้ ่วยผู้สอน ทีช่ ่วยให้กระบวนการกลุม่ มปี ระสิทธิภาพมากข้ึน
ส่วนรปู แบบการประเมินในใช้ปัญหาเป็นฐานใช้การประเมินกระบวนการ เป็นหลัก โดยมีการประเมิน
ทั้งระบบ ตั้งแต่การเรียนการสอน การให้คำปรึกษา โดยผู้ประสานงาน การประเมินตนเอง และกลุ่ม
ทำงาน รวมทั้งการทดสอบประมวลความรู้ ซึ่งต้องมีการปรับให้ เหมาะสมกับแต่ละวิชา ประเด็นที่
สำคัญอีกประการหนึ่งในการใช้ ใช้ปัญหาเป็นฐานคือ ขนาด ของกลุ่มผู้เรียนใช้ปัญหาเป็นฐานที่ใช้ใน
โรงเรียนแพทย์จำกัดกลุ่มผเู้ รียนอยูท่ีประมาณ 20-30 คน และในกลมุ่ การทำงานก็จะมกี ลุ่มทำงานที่มี
ขนาด 3-5 คน ซึ่งเชื่อว่าจะทำใหก้ ระบวนการทำงานกลุม่ มีประสิทธิภาพ ในขณะที่การเรียนการสอน
ทางด้านการจัดการซึ่งมีลักษณะเป็นวิชาบรรยาย จะมีผู้เรียนในแต่ละวิชาเป็นจำนวนมาก อาจจะถึง
100-200 คน ซึ่งจะทำให้การดูแลและควบคุม กระบวนการทำงานทำได้ยาก อยางไรก็ตามหลาย
สถาบันที่ได้น การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน เข้ามาใช้ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน
เป็นแบบ Large Class PBL แต่ยังคงหลักการของการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน ไว้และ
ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานกลุ่มให้ เหมาะสม ซึ่งก็ได้ผลเป็นท่ีน่าพอใจแสดงให้เห็นวาการจัดการ
เรยี นรทู้ ี่ใชป้ ัญหาเป็นฐานสามารถ นำไปปรบั ใชไ้ ดท้ ุกขนาดของกลมุ่ ผเู้ รยี น

ด้วยแนวคิดของการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่มีหลักการของการพัฒนา
กระบวนการเรียนรู้ ทำให้หลายสถาบันการศึกษา สนใจที่จะนำการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน
มาใช้แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านบุคลากรและวัฒนธรรมองค์กร สถาบันเหล่านั้นได้ปรับเปลี่ยน
กระบวนการใช้การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานซึ่งทำให้เกิดการเรียนการสอนที่มีรูปแบบก่ึงการ
จัดการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐานหรือ “Hybrid PBL” เช่น มีการปรับเปลี่ยนการเรียน การสอน
บางส่วนโดยมีรูปแบบเดิมควบคู่ไปกับ PBL หรือนำกระบวนการทำงานกลุ่มการวิเคราะห์ และ
สังเคราะห์เข้ามาเพิ่มเติมในหลักสูตรมากขึ้น ซึ่งการปรับเปลี่ยนและผสมผสานที่เกิดขึ้นน้ี ก็นำให้
รูปแบบของ PBL กว้างขวางออกไปทั้งในรูปแบบผลกระทบ และวิธีการโดยผลการศึกษา ส่วนมาก
สะท้อนให้เหน็ ว่าปัญหาทีส่ ำคญั ของสถานบันการศึกษาได้นำการจัดการเรียนรู้ท่ีใช้ปัญหา เป็นฐานมา
ใชค้ ือ การจัดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรที่จำเปน็ ต้องเปล่ียนแนวคิดของผสู้ อน วฒั นธรรมองค์กร และ
ทัศนคติของผู้เรียน ซึ่งลักษณะเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องใช้เวลาในการให้ ความรู้แก่บุคลากร จาก
ข้อความข้างต้นสามารถสรุปได้ว่ากระบวนการเรียนรู้แบบที่ใช้ปัญหาเป็นฐานนี้ เป็นการเรียนรู้ที่ให้
ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกบการแก้ ปัญหาของตนเองซึ่งเป็นการทำงานกลุ่ม ร่วมกันในกลุ่มย่อย
ในขณะทีผ่ สู้ อนจะต้องเปล่ียนบทบาทจากผู้ให้ความรู้มาเป็นผูใ้ ห้คำปรึกษา ผ้ใู ห้แนวคิดและผู้ประเมิน
กระบวนการเรียนรู้

3. ขนั้ ตอนการเรยี นรู้โดยใช้ปัญหาเปน็ ฐาน

ขั้นตอนการจดั กิจกรรมการเรียนโดยใช้ปัญหาเปน็ ฐานมีนกั การศึกษาทั้งในประเทศไทย และ
ต่างประเทศไดเ้ สนอกันไวด้ งั นี้


18

ขั้นตอนการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามท่ีSethasatian (1995) ได้กล่าวไว้มีขั้นตอน
ดงั ต่อไปนี้

3.1 การนำเสนอจะเป็นขั้นเข้าสู่บทเรียนโดยบอกถึงรูปแบบในการเรียนการสอนและ
บอกเหตุผลรวมถึงผู้เรียนต้องกาหนดจุดประสงค์ของการเรียนรู้ ครูจะเสนอรายละเอียดของวิชา
ปัญหาที่จะนำมาใช้มีการกำหนดผลงานที่ผู้เรียนจะต้องช่วยกันทำเป็นกลุ่มและนำเสนอในตอนท้าย
ของแต่ละแผนการสอน

3.2 การนำเสนอเข้าสู่บทเรียน ในขั้นตอนการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล
ให้มากที่สุดเพื่อใช้แก้ ปัญหาที่ได้รับมอบหมายซึ่งปัญหาที่ผู้เรียนจะต้องแกปัญหาจะเกี่ยวข้องกั บ
เน้อื หาวิชาท่ผี ูเ้ รียนจะไดร้ ับการฝึ กฝน

3.3 การฝึกฝน ในขั้นนี้ผู้เรียนจะต้องรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยกันในการแก้ปัญหาที่ได้รับ
มอบหมายโดยผู้เรยี นจะใชค้ วามรู้เดิมผนวกกับจะต้องเป็นผู้หาข้อมลู ใหมด่ ว้ ยตนเอง มีการแลกเปลี่ยน
ความคิดซึ่งกันและกันกับสมาชิกในกลุ่มมีการมอบหมายให้กันและกันเพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ
และการนำพาตนเองในการเรียนรู้ครจู ะชว่ ยผู้เรียนโดยการใช้คำถามนำชว่ งท้าย 24 ชั่วโมงผู้เรียนพดู
นำเสนอผลงานท่ีไดแ้ ละผู้สอนใหค้ ำแนะนำผ้เู รยี นสามารถทจ่ี ะอภิปรายถงึ ผลงาน ของกลุ่มอนื่ อกี ดว้ ย

ทองจันทร์ หงส์ลดารมภ์(2537, หน้า 12) กล่าวถึงกระบวนการเรียนโดยใช้ปัญหา เป็น
ฐานเริ่มต้นจากปัญหาซึ่งผู้เรียนจะใช้เป็นหลักในการแก้ปัญหาจนกระทั้งเกิดการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์
สรปุ ไดว้ ่ามีข้ันตอน ดงั นี้

1. ทำความกระจ่างกับถ้อยคำ แนวคิดและเทอมต่าง ๆ ในขั้นตอนแรกกลุ่มผู้เรียน
จะต้อง พยายามทำความเข้าใจกับปัญหาท่ีไดร้ บั เสยี ก่อน หากมคี ำข้อความหรือแนวคิดตอนใดท่ียังไม่
เข้าใจจะต้องพยายามหาคำอธิบายให้ชัดเจนโดยอาจจะอาศัยความรู้พื้นฐานของสมาชิกภายในกลุ่ม
หรือจากเอกสารตำราอ่ืน ๆ ที่มคี ำอธิบายอยู่

2. ระบุประเด็นปัญหา เป็นการให้คำอธิบายของปัญหาทั้งหมดโดยกลุ่มจะต้องมีความ
เขา้ ใจต่อปญั หาทถี่ ูกตอ้ งสอดคล้องกันโดยอยา่ งน้อยทีส่ ดุ จะต้องเข้าใจว่ามีเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์
ใดถูกกล่าวถึงหรอื อธิบายอยูในปัญหานนั้ บา้ ง

3. วิเคราะห์ปัญหาและตั้งสมมติฐาน การวิเคราะห์ปัญหาได้มาซึ่งความคิด และ
ข้อสนับสนุนเกี่ยวกับโครงสร้างของปัญหาทั้งนี้โดยอาศัยพื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน รวมท้ัง
ความคิดอยางมีเหตุผลในการสรุปรวบรวมความคิดเห็นความรู้และแนวความคิดของสมาชิก ภายใน
กลุ่มเก่ียวกับกระบวนการและกลไกลที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหานั้นคือ พยายามสร้างสมมติฐานอัน
สมเหตสุ มผลสำหรบั ปัญหาน้นั ๆ

4. จัดลำดับความสำคัญของสมมติฐาน จากสมมติฐานที่ต่างๆ ที่ได้มานั้นกลุ่มจะต้อง
นำมาพิจารณาจดั ลำดับความสำคัญอีกครั้งโดยอาศัยข้อสนับสนุนจากข้อมูลความจริงและความรู้ จาก


19

สมาชิกภายในกลุ่มเพื่อพิจารณาหาข้อยุติสำหรับสมมติฐานทีป่ ฏิเสธได้และคัดเลือกสมมติฐาน ที่ต้อง
แสวงหาขอ้ มูลเพมิ่ เติมต่อไป

5. กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เมื่อกลุ่มอภิปรายและตัดสินวาข้อมูลอะไรที่จำเป็น
และยังขาดอยู่ซึ่งทำให้ไม่สามารถตอบคำถามหรือสมมติฐานที่ตั้งขึ้นได้กลุ่มจะช่วยกันกำหนด
วตั ถุประสงค์การเรยี นรเู้ พือ่ ไปคน้ ควา้ หาขอ้ มูลเพมิ่ เติมในการทดสอบสมมติฐานที่คัดเลือกไว้

6. ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากภายนอกกลุ่ม จากวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
สมาชิก แต่ละคนของกลุ่มจะมีหน้าที่รับผิดชอบในการไปศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากภายนอก
กลมุ่ โดยสามารถหาได้จากแหล่งข้อมูลตา่ ง ๆ ท้ังจากตำราเอกสารทางวิชาการและผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ
ทเี่ กี่ยวข้องซง่ึ การทำงานจะทำเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลกไ็ ด้

วัลลี สัตยาศัย (2547, หน้า 19 ) ได้เสนอขั้นตอนของการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่
คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้แยกแยะรายละเอียดของขั้นตอนออกเป็น 9 ขั้นตอน
คอื

1. ขั้นเสนอปัญหาผู้เรียนจะได้รับปัญหาซึ่งจะนำเสนอให้แก่ผู้เรียนเป็นการสร้างจุด
สนใจและเริ่มต้นการเรียนการสอน ซึ่งปัญหาที่นำเสนอผู้เรียนนั้น ต้องมันใจว่ามีวิธีการที่เป็นไปได้
หลายวิธีขอ้ มูลที่มอี ยใู นสถานการณไ์ มเ่ พียงพอต่อการแก้ปัญหา้ เปน็ ปัญหาทผี่ ู้เรียนจะมคี วามรเู้ ดิม ไม่
เพียงพอเป็นเหตุเริ่มต้นให้ต้องมีการศึกษาค้นคว้า ที่สำคัญปัญหาต้องใกล้เคียงกบในชีวิตจริง ซึ่ง
นักเรียนอาจพบเจอได้

2. ระบุตัวปัญหาจากสถานการณ์หรือโจทย์ปัญหาผู้เรียนทำงานในกลุ่มย่อยจะต้องทำ
ความเขา้ ใจคำศัพท์และความหมายต่างๆของคำและมโนทัศน์ซึ่งเป็นสถานการณ์ของปัญหา ให้ชัดเจน
หาว่าอะไรเปน็ ประเดน็ สำคัญของปญั หา

3. วิเคราะห์ปัญหาและสร้างสมมติฐาน กลุ่มผู้เรียนจะระดมความคิดโดยใช้ความรู้
พื้นฐานที่มีวิเคราะห์โครงสร้างของปัญหาการรวบรวมความคิดเห็น และแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับ
สถานการณป์ ญั หาเพอื่ ให้ไดม้ าซงึ่ สมมตฐิ านของปัญหา

4. จัดลำดับความสำคัญของสมมติฐาน เพื่อพิจารณาข้อยุติสำหรับสมมติฐานที่สามารถ
ตัดท้ิงได้ในขัน้ ตน้ และคัดเลอื กสมมติฐานทจ่ี ะตอ้ งทำการศึกษาข้อมลู ต่อไป

5. สร้างวัตถุประสงค์การเรียน ในขั้นนี้กลุ่มจะต้องร่วมกันหาว่า อะไรบ้างที่ทราบมา
ก่อน ทั้งจากความรู้เดิมของสมาชิกกลุ่ม และข้อมูลที่มีอยูในสถานการณ์ปัญหา ไปสู่สิ่งที่ยังไม่รู้และ
จำเป็นต้องรู้ต้องค้นคว้า เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการหรือข้อสรุปปัญหา โดยกาหนดเป็นวัตถุประสงค์ การ
เรยี นของตนเองข้ึนมา ทัง้ นค้ี รจู ะเปน็ ผู้คอยใหค้ ำแนะนำหากเหน็ ว่ามีข้อมูลใดทีย่ ังไม่ครอบคลุม

6. การคน้ หาข้อมูลจากแหลง่ ความรู้ในขัน้ ตอนนแี้ ต่ละกลุ่มจะต้องแบ่งหน้าที่กันออกไป
ค้นคว้าข้อมูลตามที่กลุ่มได้กำหนดวัตถุประสงค์ขึ้น แหล่งข้อมูลจะมาจากที่ต่าง ๆ ได้แก่ ห้องสมุด


20

ตำรา อินเทอร์เน็ต เอกสารต่าง ๆ รวมทั้งอาจเป็นผู้เช่ียวชาญ ซึ่งทั้งหมดนี้ผู้เรียนจะเป็นคน เลือกเอง
วาจะใชแ้ หลง่ ความรใู้ ดที่เหมาะสม

7. การรวบรวมขอ้ มูลและสังเคราะห์เป็นการกลับมารวมตัวอีกครั้งเพื่อร่วมกันอภิปราย
ข้อมูลจัดการจัดระบบข้อมูลเพื่อสรุป และทดสอบสมมติฐาน หากพบวายังขาดข้อมูลใดก็จะกลับ ไป
หาขอ้ มูลเพิ่มเติมอีกครงั้ จนไดเ้ ป็นแนวทางของกลุ่มในการแก้ปญั หา

8. การนำเสนอแนวทางของแต่ละกลุ่มต่อชั้นเรียน ในขั้นนี้จะนำไปสู่การอภิปราย
นำเสนอแนวทางของตนเองและกลุ่มอื่นๆ โดยการอภิปรายแต่ละกลุ่มต้องหาเหตุผลสนับสนนุ จุดยืน
ของกลมุ่ และการให้เหตผุ ลในการโต้แยง้ แนวทางของกลมุ่ อืน่

9. สรุปการเรียนรู้ที่ได้มาและพิจารณาว่าความรู้ที่ได้เหมาะสมและเพียงพอที่จะแก้ไข
ปัญหาดังกล่าวหรือไม่พร้อมทั้งสรุปเป็นหลักการที่จะนำไปใช้ได้ต่อไป ส่วนวารสารวิทยาการจัดการ
(2547) ไดก้ ล่าวถึงขัน้ ตอนของการเรยี นรูโ้ ดยใชป้ ัญหาเป็นฐานไว้ดังน้ี

9.1 กำหนดเป้าหมายของปญั หา เปน็ ข้นั ท่ีผ้สู อนจัดสถานการณ์ตา่ ง ๆ กระตนุ้ ใหผ้ ู้เรียน
เกิดความสนใจ และมองเห็นปัญหา สามารถกำหนดสิ่งท่ีเป็นปญั หาที่ผู้เรียนอยากรู้อยากเรยี นได้ และ
เกดิ ความสนใจทีจ่ ะค้นหาคำตอบ

9.1 การประเมินปัญหา ผู้เรียนจะต้องทำความเข้าใจปัญหา ที่ต้องการเรียนรู้ซึ่งผู้เรียน
จะต้องสามารถอธบิ ายสิ่งต่าง ๆ ทเี่ กีย่ วขอ้ งกับปัญหาได้

9.3 การวางแผน ผเู้ รยี นกำหนดสง่ิ ทีต่ อ้ งเรยี นดำเนินการศึกษาค้นดว้ ยตนเองด้วยวิธีการ
หลากหลาย

9.4 การปฏิบัติ ผู้เรียนแต่ละกลุ่มสรุปผลงานของกลุ่มตนเอง และประเมินผลงานว่า
ข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้ามีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด โดยพยายามตรวจสอบแนวคิดภายในกลุ่มของ
ตนเองอย่างอิสระทุกกลมุ่ ช่วยกันสรปุ องค์ความรูใ้ นภาพรวมของปัญหาอีกคร้ัง

9.5 การประเมนิ ผล ผูเ้ รยี นนำข้อมูลทีไ่ ด้มาจดั ระบบองค์ความรแู้ ละนำเสนอเป็นผลงาน
ในรูปแบบท่หี ลากหลายผูเ้ รียนทุกกลุม่ รวมท้ังผทู้ ่ีเกยี่ วขอ้ งกับปญั หารว่ มกนประเมินผลงาน

4. ลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยใชป้ ญั หาเปน็ ฐาน
ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานนั้นมีข้อจ ำกัดและมีลักษณะส ำคัญหลาย อย่ าง
ด้วยกันที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อยางแท้จริง ดังที่ปริญญา เชาวนาศัย (2547) ได้กล่าวถึง
ลักษณะสำคญั ของการจดั การเรยี นรูโ้ ดยใชป้ ัญหาเปน็ ฐาน ไว้ดังนี้

4.1 ต้องมีสถานการณ์ที่เป็นปัญหาและเริ่มต้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยการใช้
ปัญหา เป็นตวั กระตนุ้ ให้เกิดกระบวนการเรยี นรู้

4.2 ปัญหาท่นี ำมาใชใ้ นการจัดกระบวนการเรียนรู้ ควรเปน็ ปญั หาทีเ่ กดิ ขึ้นพบเห็นได้ใน
ชีวิตจริงของผู้เรียนมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นจริงและแสวงหาความรู้คำตอบด้วยตนเอง ดังนั้น ผู้เรียนจึง


21

ต้องวางแผนการเรียนด้วยตนเอง บริหารเวลาเอง คัดเลือกวิธีการเรียนรู้และประสบการณ์การเรียนรู้
รวมทง้ั ประเมนิ ผลการเรยี นรดู้ ้วยตนเอง

4.3 ผู้เรียนเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย เพื่อนประโยชน์ในการค้นหาความรู้ ข้อมูลร่วมกันเป็น
การ พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเหตุและผล ฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะในการรับส่งข้อมูล เรียนรู้
เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล และฝึกการจัดระบบตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการ
ทำงาน ร่วมกันเป็นทีม ความรู้คำตอบที่ได้มีความหลากหลายองค์ความรู้จะผ่านการวิเคราะห์โดย
ผู้เรียน มีการสังเคราะหแ์ ละตดั สินใจร่วมกันการจัดการเรียนรู้โดยใชป้ ัญหาเป็นฐานนี้นอกจากการจดั
การเรียนเป็นกลุ่มแล้วยังสามารถจัดให้ผู้เรียนเรียนรู้เป็นรายบุคคลได้ แต่อาจทำให้ผู้เรียนขาดทักษะ
ในการทำงานร่วมกับผ้อู ื่น

4.4 การเรียนรู้มีลกั ษณะการบูรณาการความรูแ้ ละบรู ณาการทักษะกระบวนการต่าง ๆ
เพื่อใหผ้ เู้ รียนได้รับความรูแ้ ละคำตอบที่กระจ่างชดั

4.5 ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้จะได้มาภายหลังจากผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยใช้
ปญั หาเปน็ ฐานแล้วเทา่ น้นั

4.6 การประเมินผลเป็นการประเมินผลจากสภาพจริง โดยพิจารณาจากการปฏิบตั ิงาน
ความก้าวหน้าของผู้เรียน การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สิ่งสำคัญที่สุดคือปัญหาหรือ
สถานการณ์ที่จะเปน็ ตวั กระตุน้ ใหเ้ กิดกระบวนการเรยี นร้ลู ักษณะสำคญั ของปญั หามดี ังนี้

4.6.1 เกิดขึ้นในชีวิตจริงและเกิดจากประสบการณ์ของผู้เรียน หรือผู้เรียนอาจมี
โอกาสเผชิญกบั ปญั หานน้ั

4.6.2 เป็นปัญหาที่พบบ่อยมีความสำคัญ มีข้อมูลประกอบเพียงพอสำหรับการ
ค้นควา้

4.6.3 เป็นปัญหาที่ยังไม่มีคำตอบชัดเจนตายตัว เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อน
คลุมเครอื หรือผเู้ รยี นเกิดความสงสยั

4.6.4 ปัญหาทเ่ี ป็นประเดน็ ขัดแยง้ ขอ้ ถกเพยี งในสังคมยังไมม่ ีข้อยตุ ิ
4.6.5 เปน็ ปัญหาอยใู นความสนใจ เป็นส่งิ ท่อี ยากรู้ แตไ่ มร่ ู้
4.6.6 ปัญหาที่สร้างความเดือนร้อน เสียหาย เกิดโทษภัยและเป็นสิ่งไม่ดีหากใช้
ขอ้ มลู โดยลำพังคนเดียวอาจทำใหต้ อบปัญหาผิดพลาด
4.6.7 เป็นปัญหาที่มีการยอมรับว่าจริง ถูกต้อง แต่ผู้เรียนไม่เชื่อว่าจริง ไม่
สอดคล้องกบั ความคดิ ของผเู้ รยี น
4.6.8 ปัญหาที่อาจมีคำตอบหรือมีแนวทางในการแสวงหาคำตอบได้หลายทาง
ครอบคลุม การเรียนรู้ที่กวา้ งขวางหลากหลายเนื้อหา
4.6.9 เปน็ ปัญหาที่มีความยากความงา่ ย เหมาะสมกับพน้ื ฐานของผ้เู รยี น


22

4.6.10 เป็นปัญหาที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ทันที ต้องการการสำรวจค้นคว้าและ
การรวบรวมข้อมูลหรือทดลองดูก่อน จึงจะได้คำตอบไม่สามารถที่จะคาดเดาหรือทำนายได้ง่าย ๆ ว่า
ต้องใช้ ความรู้อะไร ยุทธวิธีในการสืบเสาะหาความรู้จะเป็นอย่างไรหรือคำตอบ หรือผลของความรู้
เป็นอยางไร

4.6.11 เป็นปัญหาส่งเสริมความรู้ด้านเนื้อหาทักษะ สอดคล้องกับหลักสูตร
การศึกษา การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจาก
ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยสร้างความรู้จากกระบวนการทำงานกลุ่ม เพื่อแก้ปัญหาหรือสถานการณ์เกี่ยวกับ
ชีวิตประจำวนั และมีความสำคัญต่อผูเ้ รียน ตัวปญั หาจะเป็นจุดต้ังต้นของกระบวนการเรียนรู้และ เป็น
ตัวกระตุ้นการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเหตุผลและการสืบค้นหาข้อมูลเพื่อเข้าใจกลไกลของตวั
ปัญหา รวมทั้งวิธกี ารแก้ปญั หา การเรียนรูน้ ้มี ่งุ เน้นพัฒนาผเู้ รียนในดา้ นทักษะและกระบวนการเรียนรู้
และพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้โดยการช้ีนำตนเองซึ่งผู้เรียนจะได้ฝึกฝน การสร้างองค์ความรู้โดย
ผ่านกระบวนการคดิ ด้วยการแก้ปัญหาอยา่ งมีความหมายต่อผู้เรยี น

หลกั สูตรแกนกลางการศึกษาขัน้ พ้ืนฐาน พุทธศักราช 2561

1. หลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน พทุ ธศักราช 2561

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ให้เป็น
หลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยกำหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและ
กรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีขีด
ความสามารถในการแข่งขันในเวทีระดับโลก ยึดมั่นในระบบปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษา ต่อ
การประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเช่ือว่าทุก
คนสามารถเรียนรู้และพฒั นาตนเองได้เตม็ ตามศักยภาพ

1.1 วิสยั ทศั น์
หลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มงุ่ พัฒนาผู้เรียนทกุ คน ซ่งึ เปน็ กำลงั ของชาติให้
เปน็ มนษุ ย์ท่ีมีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มจี ิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและ
เป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มี
ความรแู้ ละทกั ษะพ้นื ฐาน รวมทง้ั เจตคติ ทีจ่ ำเปน็ ตอ่ การศกึ ษาต่อ การประกอบอาชพี และการศึกษา
ตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนา
ตนเองได้เต็มตามศกั ยภาพ


23

1.2 หลักการ
หลักสตู รแกนกลางการศึกษาขัน้ พน้ื ฐาน มหี ลกั การท่ีสำคัญ ดงั นี้

1.2.1 เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและ
มาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และ
คณุ ธรรมบนพื้นฐานของความเปน็ ไทยควบคกู่ บั ความเป็นสากล

1.2.2 เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับ
การศกึ ษาอย่างเสมอภาค และมีคณุ ภาพ

1.2.3 เป็นหลักสูตรการศกึ ษาทีส่ นองการกระจายอำนาจ ใหส้ งั คมมีสว่ นร่วมในการ
จัดการศกึ ษาให้สอดคล้องกับสภาพและความตอ้ งการของท้องถิ่น

1.2.4 เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลา
และการจดั การเรียนรู้

1.2.5 เป็นหลักสูตรการศกึ ษาท่เี นน้ ผู้เรยี นเป็นสำคญั
1.2.6 เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบและตาม
อัธยาศยั ครอบคลุมทกุ กลุม่ เปา้ หมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์
1.3 จดุ หมาย
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข
มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เม่ือ
จบการศกึ ษาข้นั พืน้ ฐาน ดงั น้ี
1.3.1 มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มี
วินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของ
เศรษฐกจิ พอเพียง
1.3.2 มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้
เทคโนโลยี และมที กั ษะชวี ติ
1.3.3 มสี ุขภาพกายและสขุ ภาพจิตท่ีดี มีสุขนิสัย และรกั การออกกำลงั กาย
1.3.4 มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเปน็ พลเมอื งไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถี
ชวี ิตและการปกครองตามระบอบประชาธปิ ไตยอันมีพระมหากษัตรยิ ์ทรงเป็นประมุข
1.3.5 มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และ
พัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันใน
สังคมอยา่ งมคี วามสขุ
1.4 สมรรถนะสำคัญของผเู้ รยี น
หลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาข้ันพ้นื ฐาน มุง่ ให้ผูเ้ รียนเกดิ สมรรถนะสำคญั ๕ ประการ ดังน้ี


24

1.4.1 ความสามารถในการส่ือสาร เปน็ ความสามารถในการรับและส่งสาร
มวี ัฒนธรรมในการใชภ้ าษาถา่ ยทอดความคิด ความรคู้ วามเขา้ ใจ ความรสู้ ึก และทศั นะของตนเองเพื่อ
แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม
รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูล
ข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดย
คำนงึ ถงึ ผลกระทบทม่ี ตี ่อตนเองและสงั คม

1.4.2 ความสามารถในการคดิ เป็นความสามารถในการคดิ วิเคราะห์ การคดิ
สังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่
การสร้างองค์ความร้หู รอื สารสนเทศเพือ่ การตัดสินใจเกยี่ วกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

1.4.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแกป้ ญั หาและ
อุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูล
สารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้
ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธภิ าพโดยคำนึงถึง
ผลกระทบทเ่ี กดิ ขึ้น ตอ่ ตนเอง สังคมและส่งิ แวดล้อม

1.4.4 ความสามารถในการใชท้ กั ษะชวี ติ เปน็ ความสามารถในการนำกระบวนการ
ต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน
และการอยู่ร่วมกันในสังคมดว้ ยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อนั ดีระหว่างบุคคล การจดั การปัญหาและ
ความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและ
สภาพแวดล้อม และการร้จู ักหลกี เลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงคท์ ี่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผูอ้ ่นื

1.4.5 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้
เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ใน
ด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมี
คุณธรรม

1.5 คณุ ลักษณะอนั พงึ ประสงค์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึง

ประสงค์
เพอ่ื ใหส้ ามารถอยู่รว่ มกบั ผู้อน่ื ในสังคมได้อย่างมคี วามสขุ ในฐานะเปน็ พลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้

1.5.1 รกั ชาติ ศาสน์ กษัตรยิ ์
1.5.2 ซื่อสตั ยส์ จุ รติ
1.5.3 มีวินัย
1.5.4 ใฝเ่ รียนรู้


25

1.5.5 อยู่อย่างพอเพียง
1.5.6 ม่งุ มั่นในการทำงาน
1.5.7 รกั ความเป็นไทย
1.5.8 มจี ติ สาธารณะ
1.6 มาตรฐานการเรียนรู้
การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมอง และพหุปัญญา
หลักสูตรแกนกลางการศกึ ษาขัน้ พ้ืนฐานจึงกำหนดใหผ้ เู้ รียนเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรยี นรู้ ดังน้ี
1.6.1 ภาษาไทย
1.6.2 คณิตศาสตร์
1.6.3 วทิ ยาศาสตร์
1.6.4 สงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
1.6.5 สขุ ศึกษาและพลศึกษา
1.6.6 ศิลปะ
1.6.7 การงานอาชีพและเทคโนโลยี
1.6.8 ภาษาต่างประเทศ
ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการ
พัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ ปฏิบัติได้ มีคุณธรรมจริยธรรม และ
คา่ นิยมทีพ่ ึงประสงค์ เมือ่ จบการศึกษาข้ันพ้นื ฐาน นอกจากน้นั มาตรฐานการเรียนรู้ยงั เป็นกลไกสำคญั
1.7 กลมุ่ สาระการเรียนรสู้ ังคมศกึ ษา ศาสนาและวฒั นธรรม
สาระท่ี 1 ศาสนา ศลี ธรรม จรยิ ธรรม
มาตรฐาน ส 1.1 รู้ และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือ
ศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่นมีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกัน
อยา่ งสนั ตสิ ุข
มาตรฐาน ส 1.2 เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเปน็ ศาสนิกชนท่ีดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนา
หรอื ศาสนาท่ีตนนับถอื
สาระที่ 2 หนา้ ท่ีพลเมือง วฒั นธรรม และการดำเนินชวี ติ ในสังคม
มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรง
รักษาประเพณแี ละวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวติ อยู่รว่ มกันในสังคมไทยและสงั คมโลกอย่างสนั ตสิ ุข
มาตรฐาน ส 2.2 เขา้ ใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบนั ยึดม่ัน ศรัทธาและธำรงรักษา
ไว้ซึง่ การปกครองระบอบประชาธปิ ไตยอนั มพี ระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์


26

มาตรฐาน ส.3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้
ทรพั ยากรทีม่ ีอย่จู ำกัดได้อย่างมีประสิทธภิ าพและคุ้มคา่ รวมท้งั เขา้ ใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อการดำรงชวี ติ อย่างมีดุลยภาพ
มาตรฐาน ส.3.2 เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและ
ความจำเปน็ ของการรว่ มมอื กนั ทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

สาระท่ี 4 ประวตั ิศาสตร์
มาตรฐาน ส 4.1 เขา้ ใจความหมาย ความสำคญั ของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้
วิธกี ารทางประวัติศาสตร์วิเคราะหเ์ หตุการณ์ต่างๆ อยา่ งเปน็ ระบบ
มาตรฐาน ส 4.2 เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และ
การเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถ วิเคราะห์
ผลกระทบท่เี กิดข้นึ
มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภมู ปิ ญั ญาไทย มคี วามรกั ความภูมิใจ
และธำรงความเปน็ ไทย

สาระที่ 5 ภูมศิ าสตร์
มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผล ต่อกัน
และกันในระบบของธรรมชาติใช้แผนทีแ่ ละเคร่ืองมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหาวิเคราะห์ สรุป และ
ใชข้ ้อมูลภูมิสารสนเทศอยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ
มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ ก่อให้เกิด การ
สร้างสรรค์วัฒนธรรม มจี ิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ทรพั ยากรและสิ่งแวดล้อม เพ่ือการ
พฒั นาที่ย่ังยืน

งานวิจัยทีเ่ ก่ยี วขอ้ ง
1. งานวจิ ัยในประเทศ

กมลรัตน วัชรินทร (2547) ได้พัฒนาแบบวดั ทกั ษะชวี ิตสำหรับนักเรยี นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-
3 โดยมวี ตั ถุประสงคของการวิจัยคือ

1. สร้างแบบวัดทักษะชวี ิตสำหรับนักเรียนช้ันมัธยมศกึ ษาปีท่ี 1-3
2. ศึกษาคุณภาพในเรอ่ื งของอำนาจจำแนกความตรงและความเทีย่ งของแบบวัด
3. เพอ่ื สรางเกณฑ์สำหรับแปลความหมายของคะแนนท่ีได้จากแบบวัดทกั ษะชวี ิตสำหรับ
นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-3กลุ่มตัวอย่างท่ีใชในการศึกษาและพัฒนาแบบวัดในครั้งนี้เป็นนกั เรยี น
ชั้นมัธยมปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จำนวน 680 คน ผล
การศึกษาและพัฒนาแบบวดั ทำให้ไดแ้ บบวัดทักษะชวี ติ จำนวน 84 ขอ 9 องคป์ ระกอบ คือด้านการคิด


27

วเิ คราะห์ ดา้ นการคดิ สรางสรรค์ ดา้ นการ สร้างสมั พนั ธภาพและการสอ่ื สาร ด้านการตัดสนิ ใจและการ
แก้ปญหา ด้านการจดั การกับอารมณ์และ ความเครยี ด วดั โดยใช้แบบปรนัย เลือกตอบจำนวน 34 ข้อ
และด้านการตระหนักรู้ในตนเอง ด้านความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ด้านความภาคภูมิใจในตนเอง ด้าน
ความรับผิดชอบต่อสังคม วัดโดยใช้แบบวัดแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 50 ข้อในด้าน
คุณภาพของแบบวัดทักษะชีวิตที่สร้างขึ้นพบว่ามีอำนาจจำแนก มีความตรง ตามทฤษฎีและมีความ
เที่ยงทั้งฉบับที่ 0.92 และสวนเกณฑ์ปกติของทักษะชีวิตนี้ได้จัดเสนอในรูปคะแนนมาตรฐานในแต่ละ
องคป์ ระกอบและตำแหน่งเปอร์เซน็ ต์ไทล์

อาภรณ์ แสงรัศมี(2543) ศึกษาผลของการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักต่อลักษณะ การ
เรียนรู้ด้วยตนเองผลสัมฤทธิท์ างการเรียนวิชาวทิ ยาศาสตร์สิง่ แวดล้อมและความพึงพอใจต่อการเรยี น
การสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ท่ี4 พบว่าวิธีการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักมีคะแนนเฉลี่ย
ลกั ษณะการเรยี นรู้ดว้ ยตนเองหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมหลังการเรียนสูง กว่าก่อนการเรียน
อยางมนี ัยสำคัญทางสถิตทิ ีร่ ะดับ .01 และมคี วามพงึ พอใจต่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก

แววดาว ดวงจนั ทร์ (2551 : 77-78 ) ได้ศกึ ษาการใช้กิจกรรมทกั ษะชวี ติ เพื่อพัฒนาความรู้สึก
เหน็ คุณคา่ ในตนเองของนักเรียนชัน้ มธั ยมศึกษาปีที่ 1 ผลการศกึ ษาพบว่าผลของกจิ กรรมทักษะชีวิตที่
มีต่อความรูส้ ึกเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรยี นระดับชั้นมัธยมศกึ ษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
2551 พบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนก่อนเข้าร่วมกิจกรรมมี
คะแนนเฉลี่ย 1.72 คะแนน มี่สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.02 หลังเข้าร่วมกิจกรรมทักษะชีวิต มี
คะแนนเฉลี่ย 1.76 คะแนน มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.17 เมื่อทดสอบเปรียบเทียบคะแนน
เฉลี่ยความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมทักษะชีวิตพบวา
คะแนนเฉลี่ยความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง เท่ากับ 0.04 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.18
โดยมีค่า t เท่ากับ -1.50 มีนัยสำคัญที่ ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมทักษะชีวิตครั้งนี้
พัฒนาระดับความรู้สึกเห็นค่าใน ตนเองของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม สอดคล้องกบสมมติฐานที่ว่า
นกั เรยี นทีร่ ่วมกิจกรรม ทักษะชีวติ มกี ารพฒั นาความรู้สึกเหน็ คณุ ค่าในตนเองในระดบั ทเี่ พิม่ ขึ้น

2. งานวิจัยในต่างประเทศ

Melinda (1981, อ้างใน สกล วรเจริญศรี, 2550 : 5) ได้ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรม
การฝึกทักษะชีวิตในการเพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมในชั้นเรียน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนช้ัน
มัธยมศึกษาปีที่ 2 ในชุมชนเมืองจำนวน 22คน โดยโปรแกรมการฝึกทกั ษะชีวิตมีวัตถุประสงคเ์ พื่อลด
พฤติกรรมก้าวร้าวในห้องเรียน เพื่อลดพฤติกรรมก่อกวนในห้องเรียนและการเพิ่มการพูดที่เหมาะสม
(Approving Statement) ตลอดจนการลดการพูดที่ไม่เหมาะสม ( Non Approving Statement )
โดยมีเทคนิคต่าง ๆ ได้แก่การฝึกการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม (Assertiveness Training) การเล่น


28

บทบาทสมมตแิ ละใหข้ ้อมลู ย้อนกลับ ( Role play video feedback) ผลจากการศกึ ษาพบวานกั เรียน
สามารถลดพฤติกรรมก้าวร้าวและพฤติกรรมก่อกวนชั้นเรียนได้ แต่ไม่สนับสนุนในด้านการพูดท่ี
เหมาะสมตลอดจนลดการพูดจาท่ีไมเ่ หมาะสม

Junge, Manglallan และ Raskauskas (อา้ งใน ศริ โิ รจน์ พุ่มพบั , 2552 : 57) ได้ ศึกษาเรอื่ ง
เสริมสร้างทักษะชีวิตหลังเลิกเรียนโดยการเรียนรู้แบบด้วยประสบการณ์และการร่วมมือกั นเรียนรู้
แสดงให้เห็นว่าทักษะชีวิตเป็นเคร่ืองมือทีท่ ำใหเ้ ด็กสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ที่หลากหลายใน
ชีวิต ตลอดจนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตัง้ ไว้พร้อมทั้งกล่าวว่าทักษะชีวิตไม่ใช่ความสามรถ
ด้านการศึกษา ความรู้และทัศนคติแต่เป็นพฤติกรรมการเรียนรู้เพื่อประสบผลสำเร็จในสังคม ทักษะ
ชีวิตช่วยให้บุคคลประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ตา่ ง ๆ ของชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็นทีบ่ ้าน โรงเรียน ที่ทำงาน
และอน่ื ๆ ซึ่งวิธีการพฒั นาทกั ษะชวี ิตมผี ลให้ เดก็ พฒั นาความร้สู ึกเห็นคณุ ค่าในตนเองให้สูงขึ้นเรียนรู้
การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมรู้จักการระงับความรู้สึกการแก้ปัญหาและนำมาซึ่งประกับ
การณ์ใหม่ ๆ

Morganett ( 1994, อ้างใน กฤษณา ปัญญา, 2552 :25) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการดำเนิน
ชีวิตโดยได้การจัดเป็นลักษณะกิจกรรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มให้นักเรียนประถมศึกษาจาก
การศึกษาการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อเสริมสร้างสุขภาพจิตได้ให้ข้อเสนอ แนะว่าการพัฒนาทักษะ
ทางสังคมและทกั ษะชวี ติ เปน็ สง่ิ สำคญั ท่อี ยู่เบ้ืองหลงั ของการสร้างสุขภาพจิตใหเ้ ดก็


บทที่ 3
วิธดี ำเนนิ การวจิ ัย

การวิจัยนี้ เป็นวิจัยเชิงทดลองโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการใช้สมรรถนะในการใช้
ทักษะชีวิตโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในรายวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้สมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิตโดยใช้รูปแบบการ
เรียนรู้โดยใชป้ ัญหาเป็นฐาน ในรายวชิ าประวัติศาสตร์ของนกั เรียนช้ันมธั ยมศึกษาปีที่ 1 ดังกล่าว โดย
มีขน้ั ตอนการดำเนินการวิจยั ดงั แสดงในภาพ

ศกึ ษาข้อมูลพ้ืนฐานเก่ยี วกับสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต
โดยการจัดการเรียนรูโ้ ดยใชป้ ัญหาเป็นฐาน

พฒั นาและตรวจสอบเคร่ืองมือในการวิจัยของสมรรถนะในการใช้
ทักษะชีวิต

ประเมนิ การพฒั นาสมรรถนะในการใช้ทกั ษะชีวติ

พฒั นาและตรวจสอบเคร่ืองมือในการวิจยั การจดั การเรยี นรู้โดยใช้
ปญั หาเปน็ ฐาน

ประเมินการพัฒนาการจดั การเรยี นรู้โดยใชป้ ัญหาเปน็ ฐาน

ทดลองใช้

นาไปใชจ้ รงิ

ตดิ ตาม ประเมนิ ผล


30

การวจิ ยั ในคร้ังนี้ ผู้วจิ ยั ได้มกี ารใชเ้ ครอ่ี งมอื ในการวิจยั ดังตอ่ ไปน้ี

1. ประชากรและการกลมุ่ ตัวอยา่ ง
2. เครอื่ งมือทใี่ ชใ้ นการวจิ ยั
3. แบบแผนการวจิ ยั
4. การเก็บรวบรวมข้อมลู
5. สถิติที่ใชใ้ นการวเิ คราะห์ขอ้ มลู

ประชากรและกล่มุ ตวั อย่าง

ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
โรงเรียนทปี งั กรวทิ ยาพฒั น์(ทวีวัฒนา)ในพระราชปู ถมั ภ์ จำนวน 3 หอ้ ง รวมท้งั สน้ิ 90 คน

กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2566 โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(ทวีวัฒนา)ในพระราชูปถัมภ์ ห้อง ม.1/4 จำนวน 30 คน โดยใช้
วธิ ีการสมุ่ ตัวอย่างแบบกลุ่ม(Cluster sampling)

แบบแผนการวิจัย

การวิจัยน้ี เป็นการวิจัยเชงิ ทดลอง ทดสอบก่อนและหลงั การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาท
สมมติ

ทดสอบก่อนเรียน ทดลอง ทดสอบหลังเรียน

T1 X T2

สัญลักษณท์ ี่ใช้ในแบบแผนการวิจยั

T1 คอื การสอบวัดความสามารถในการแกป้ ญั หาเชงิ สรา้ งสรรค์กอ่ นเรียน

X คือ กิจกรรมการ

T2 คือ การวัดสมรรถนะการใชท้ กั ษะชวี ติ หลงั เรียน


31

เคร่ืองมอื ที่ใชใ้ นการวจิ ยั

ผ้วู จิ ยั ไดก้ ำหนดเครือ่ งมอื ที่ใชใ้ นการวจิ ยั ดังรายละเอยี ดต่อไปน้ี
1. แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 หน่วยการเรียนรู้ ใช้เวลา 20 ชั่วโมง ซึ่งเนื้อหา
ประกอบด้วย 1) หลักฐานทางประวัติศาสตร์ 2) วิธีการทางประวัติศาสตร์ แผนการจัดกำรเรียนรู้
ประกอบด้วย 1) สำระสำคัญ 2) จุดประสงค์การเรียนรู้ 3) สาระการเรียนรู้ 4) กิจกรรมการเรียนรู้ 5)
สื่อและแหลง่ การเรียนรู้
2. แบบวัดสมรรถนะการใช้ทกั ษะชีวิต ในรายวิชาประวตั ิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปที ่ี 1 โดยใช้รูปแบบการเรยี นรูโ้ ดยใชป้ ัญหาเป็นฐาน จำนวน 20 ขอ้ โดยใช้ทดสอบกอ่ นเรียนและหลัง
เรยี น

การเกบ็ รวบรวมข้อมลู

ผวู้ จิ ยั ได้ดำเนนิ การจัดการเรยี นรู้ รายวชิ าประวัตศิ าสตร์ ของนกั เรยี นชนั้ มธั ยมศกึ ษาปที ี่ 1 ที่
เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน โดยผู้วิจัยดำเนินกำรทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยตนเองใน
ภาคเรียนที่ 1 ปกี ารศึกษา 2565

1.ระยะกอ่ นทดลอง
1.1 ติดต่อประสานงานกับผู้บริหารของโรงเรียนทองเอนวิทยา เพื่อขอความร่วมมือ

ในการ วิจยั และกำรใชก้ ลมุ่ ตัวอย่างในการเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู
1.2 ขออนุญาตผปู้ กครองเพอ่ื ให้นกั เรยี นเข้ารว่ มเป็นกลมุ่ ตัวอยา่ ง
1.3 ผู้วิจัยชี้แจงรายละเอียดและทำความเข้าใจกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30

คนใน การใชส้ มรรถนะทักษะชีวิตโดยใช้รูปแบบการจดั การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเปน็ ฐาน
1.4 ทำการทดสอบผู้เรียนก่อนการทดลอง (Pretest) ด้วยการใช้แบบวัดสมรรถนะ

การใช้ทักษะชีวิต โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 20 ข้อ ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น
และบันทึกผลเป็นคะแนนเกบ็ ไว้


32

2. ระยะทดลอง
2.1 การเรียนรู้ตามแผนการจดั การเรียนรู้ จัดทำตารางการทดลองตามช่วงเวลา

3. ระยะหลงั การทดลอง
3.1 ทำการทดสอบผู้เรียนหลังการทดลอง (Posttest) ด้วยการแบบวัดสมรรถนะการ

ใช้ทักษะชีวิต โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 20 ข้อ บันทึกคะแนน
เปรยี บเทยี บกบั การทดสอบก่อนเรยี น

3.2 สังเกตพฤติกรรมการเรยี นร้ขู องนกั เรยี นในแต่ละชัว่ โมงบนั ทกึ ขอ้ มลู ไว้
3.3 นำขอ้ มูลท่เี ก็บรวบรวมได้มาวเิ คราะหท์ างสถติ

การเคราะหข์ ้อมลู

การวิจยั นี้ ผ้วู จิ ัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเรจ็ รปู ดงั นี้
เปรียบเทียบสมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนหลัง ได้รับการ
จัดการตามทฤษฎีรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดย
ใชส้ ถติ ิ I-test แบบ Dependent samples


33

บรรณานกุ รม

กรรณานชุ มูลคำ. (2554). การใชก้ ิจกรรมการเรยี นร้แู บบมีสว่ นรว่ มเพอื่ เสรมิ สรา้ งทกั ษะชวี ิต เร่ือง
เพศศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนธีรกานท์บ้านฮ่ง จังหวัด ลำพูน.
การศึกษาคน้ คว้าอสิ ระ วทิ ยาการศึกษาและการแนะแนว มหาวทิ ยาลัยเชียงใหม่.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน, สำนักงาน. (2554). การพัฒนาทกั ษะชวี ิตในระบบการศกึ ษา
ขนั้ พน้ื ฐาน. กรงุ เทพฯ: ชมุ นุมสหกรณก์ ารเกษตรแห่งประเทศไทย จำกดั .

ธนพชั ร แกว้ ปฏมิ า. (2547). การพัฒนาแบบวดั ทักษะชวี ติ สำหรบั นักเรียนช้นั ประถมศึกษาปีที่ 4-6.
วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาวจิ ยั และประเมินผลทางการศึกษา มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร.์

ปานทอง อังคณิตย์. (2558). การเสรมิ สร้างทักษะชีวิตนักเรียนระดบั การศกึ ษาขั้นพ้นื ฐานโดยใช้
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภฏั บุรีรัมย.์

โรงเรียนบ้านหนองบง. (2557). รายงานสมรรถนะท่สี ำคญั ของนักเรียน ปีการศึกษา 2557.
มกุ ดาหาร: ม.ป.พ.

วชิ าการ, กรม. กระทรวงศึกษาธกิ าร. (2543). แนวการจดั กระบวนการเรยี นรทู้ กั ษะชวี ิตเพื่อพฒั นา
พฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นปีที่ 10-12). กรุงเทพฯ:
คุรสุ ภาลาดพรา้ ว.

วิภาวรรณ ผลผลา. (2541). ประสิทธิภาพของโปรแกรมการเสริมสร้างทกั ษะ ชวี ิตดว้ ยการเรยี นรู้
แบบมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันเอดส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีวิทยา 2.
ปรญิ ญานพิ นธส์ าขาวชิ าเอกสขุ ศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สกล วรเจริญศรี. (2550). การศกึ ษาทักษะชีวิตและการสรา้ งโมเดลกลุ่มฝึกอบรมเพอื่ พฒั นาทกั ษะ
ชวี ติ ของนกั เรยี นวัยรนุ่ . ปรญิ ญานิพนธ์ สาขาวิชาจิตวทิ ยาการใหค้ ำปรึกษา มหาวทิ ยาลัยศรี
นครินทรวิโรฒ.


Click to View FlipBook Version