บทท่ี 6
การคัดเลือกพันธ์สุ ัตว์
ครคู ธั รยี า มะลวิ ลั ย์
แผนกวชิ าสัตวศาสตร์
วทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยฉี ะเชงิ เทรา
บทที่ 6
การคดั เลือกพันธส์ุ ตั ว์
หัวข้อเรือ่ ง
1. ความหมายและความสาคัญของการคัดเลอื กพันธส์ุ ัตว์
2. หลกั การคัดเลอื กพันธ์ุสตั ว์
3. วธิ ีการคดั เลือกพันธส์ุ ตั ว์
4. การคดั เลอื กสตั ว์เพื่อใช้ปรับปรงุ พันธุ์
จุดประสงคก์ ารเรยี นรู้(นาทาง)
1. เพอ่ื ใหม้ ีความรูแ้ ละเขา้ ใจเกีย่ วกับความหมายและความสาคญั ของการคัดเลือกพนั ธส์ุ ัตว์
2. เพ่อื ให้มีความร้แู ละเขา้ ใจเกยี่ วกบั หลักการคดั เลือกพนั ธุส์ ตั ว์
3. เพ่อื ให้มีความรแู้ ละเข้าใจเก่ยี วกบั วิธกี ารคดั เลือกพันธุส์ ัตว์
4. เพื่อใหม้ ีความรแู้ ละเขา้ ใจเกย่ี วกับการคดั เลือกสตั ว์เพื่อใชป้ รับปรงุ พันธ์ุ
จดุ ประสงคก์ ารเรียนรู้(ปลายทาง)
1. บอกความหมายและความสาคญั ของการคัดเลือกพันธสุ์ ัตว์ได้
2. อธิบายวธิ กี ารคัดเลอื กพันธ์ุสัตวไ์ ด้
3. สามารถคัดเลือกสัตวเ์ พ่ือใช้ปรบั ปรุงพนั ธ์ุได้
เน้ือหาการสอน
1. ความหมายและความสาคญั ของการคัดเลอื กพนั ธุส์ ัตว์
การปรบั ปรุงพนั ธ์ุสัตวเ์ ปน็ อีกแนวทางทใี่ ช้เพื่อยกระดับผลผลิตของตัวสัตวน์ อกเหนือจากการให้
อาหารคุณภาพดี และการเอาใจใส่ดแู ลสตั ว์ ถึงแม้การปรบั ปรงุ พันธุ์สตั วผ์ ู้เลี้ยงสตั ว์จะให้ความสนใจนอ้ ย
ที่สุด เนื่องจากความยุ่งยากซับซ้อนต่อการปฏิบัติและใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล แต่เมื่อมองถึงผลที่
เกดิ ขึน้ ในระยะยาวแลว้ การปรบั ปรงุ พันธส์ุ ตั ว์เปน็ วิธีท่เี หมาะสมทสี่ ดุ เนื่องจากสมรรถภาพการผลิตของ
บรรพบุรุษจะถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรมสู่ลูกหลานจากรุ่นหน่ึงไปสู่รุ่นถัดไป ยิ่งการปรับปรุงพันธ์ุสัตว์ท่ี
ดาเนินการอยู่นน้ั ไดก้ าหนดแนวทางการคดั เลอื กพันธส์ุ ตั ว์และวางแผนการผสมพันธส์ุ ัตว์อย่างชัดเจน ยิ่ง
เปน็ การช่วยใหผ้ เู้ ลย้ี งสตั ว์ประสบความสาเรจ็ ตามวัตถุประสงคไ์ ดเ้ ร็วขน้ึ
โดยทั่วไปการปรับปรุงพันธ์ุสัตว์ประกอบไปด้วย 2 กระบวนการ คือการคัดเลือกพันธ์ุสัตว์และ
การผสมพันธุ์สัตว์ การคัดเลือกพันธุ์สัตว์เป็นกระบวนการที่ตัดสินใจได้ว่า ควรคัดเลือกสัตว์ตัวใดไว้เป็น
พ่อแมพ่ ันธ์กุ อ่ นท่จี ะนาไปผสมพนั ธุ์ผลิตลกู หลานท่ดี ี
1.1 ความหมายของการคดั เลอื กพนั ธสุ์ ตั ว์
การคัดเลือกพันธุ์ (selection) หมายถึง วิธีการหรอื กระบวนการท่ีทาให้สัตว์ตัวใดตัวหน่ึงในฝูง
มีโอกาสที่จะถูกคัดเลือกไว้เพ่ือให้สืบพันธุ์ไปยังชั่วอายุต่อไปหรือมี โอกาสสืบพันธ์ุ เพ่ือสร้างรุ่นต่อไป
มากกว่าตัวอ่ืน การคัดเลือกไม่ได้ทาให้เกิดยีนใหม่ขึ้นในประชากร แต่ทาให้ฝูงสัตว์มียีนดีตามท่ีต้องการ
มากขึ้น การคดั เลือกพนั ธ์สุ ัตว์สามารถจาแนกตามประเภทของผ้กู ระทาไดเ้ ปน็ 2 ประเภท ดงั นี้
1) การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) คือ การคัดเลือกที่เกิดขึ้นโดย
ธรรมชาติจากความสามารถและคุณสมบัติเฉพาะตัวของสัตว์เอง หรืออาจเกิดขึ้นโดยอิทธิพลของ
สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติเป็นตัวบงการ เช่น สัตว์ท่ีมีขนาดใหญ่กว่าและแข็งแรงกว่า มีโอกาส
แพร่กระจายพันธ์ุได้มากกว่า สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ล้วนได้ผ่านการคัดเลือกพันธ์ุโดยธรรมชาติ
มาแลว้ ท้งั สนิ้
2) การคัดเลือกโดยมนุษย์ (artificial selection) คือ การคัดเลือกโดยมนุษย์เป็น
ผู้กระทาเพ่ือให้ได้สัตว์ที่มีลักษณะต่างๆ ตามความต้องการรวมทั้งเป็นผูต้ ัดสินว่าสัตว์ตัวใด กลุ่มใด หรือ
พันธ์ุใดควรเล้ียงไว้เพ่ือขยายพันธ์ุต่อไป เช่น โคพันธุ์อเมริกันบราห์มัน และแกะพันธ์ุเมอริโน (Merino)
การคัดเลือกโดยมนุษยแ์ บง่ ได้ 2 อย่าง ดงั น้ี
(1) การคัดเลือกที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ (automatic selection) เป็นการ
คดั เลือกทเ่ี กิดขึ้นโดยไม่ต้งั ใจ เช่น ถ้าสัตว์ตวั ใดมลี ักษณะดกี ว่าตวั อนื่ สตั วต์ ัวนั้นจะถกู คดั เลือกไว้ทาพนั ธุ์
เปน็ ตน้
(2) การคัดเลือกท่ีเกิดข้ึนโดยความต้ังใจ (deliberate selection) เป็นการ
คดั เลือกท่ีมนุษย์ได้ตั้งจุดประสงค์ไวใ้ นตอนแรก เช่น ถ้าสัตว์ตัวใดมีผลผลติ มากกว่าระดบั ท่ีตั้งใจก็จะถูก
คดั เลือกไวส้ าหรบั ทาพนั ธุ์ เปน็ ตน้
1.2 ความสาคัญของการคดั เลอื กพนั ธ์ุสัตว์
การคัดเลือกพันธุ์สัตว์เป็นเคร่ืองมือท่ีมีความสาคัญในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การ
คัดเลือกพันธุ์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับปรุงพันธ์ุ ผลจากการคัดเลือกพันธ์ุสัตว์ก่อให้เกิดประโยชน์
หลายประการ ไดแ้ ก่
1) ได้สัตวท์ ี่มลี ักษณะดพี ึงประสงค์ของผ้เู ลยี้ ง
2) กาจัดลกั ษณะผิดปกติทีถ่ า่ ยทอดทางพนั ธุกรรม
3) ชว่ ยประหยัดเงินตราออกนอกประเทศอันเนื่องมาจากการซ้ือพนั ธ์ุสัตว์
4) ประโยชน์อ่ืนๆ เชน่ ได้พนั ธ์ุสตั วท์ ่ีมีลักษณะตามมาตรฐานคงทป่ี ระจาพันธ์ภุ ายหลัง
การคัดเลือกพันธ์ุสัตวแ์ ละผสมพันธุ์อย่างต่อเน่ือง และผู้เล้ียงหรือเจ้าของฟาร์มก็จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
เนอ่ื งจากสัตว์เลย้ี งในฟารม์ ของตนทผี่ ่านการคดั เลอื กแลว้ ใหผ้ ลผลิตดกี วา่ เดมิ
2. หลักการคัดเลอื กพนั ธุส์ ัตว์
การปรับปรุงพันธ์ุสัตว์ให้ได้สตั ว์ท่ีมีลักษณะดีเด่นตามความต้องการของมนุษย์ จาเป็นต้อง
อาศัยการคัดเลือกพนั ธุ์ ซ่ึงสามารถทาได้หลายแบบดังนี้
1) การคัดเลือกจากบันทึกลักษณะของตัวมันเอง หรือการคัดเลือกความสามารถของ
สัตว์ทั้งฝูง (Individual selection or Mass selection) การคัดเลือกแบบน้ีพิจารณาจากลักษณะที่
ปรากฏภายนอกของสตั ว์ อาศยั การดูลักษณะรปู ร่าง โครงสรา้ งของรา่ งกาย สีขน การมีเขา เปน็ ต้น และ
สมรรถนะการให้ผลผลิตโดยถือว่าเป็นค่าโดยประมาณของความสามารถทางพันธุกรรม เช่น พิจารณา
คดั เลอื กพันธ์จุ ากการให้ผลผลติ เช่น ปรมิ าณน้านม การใหไ้ ข่ อตั ราการเจรญิ เติบโต การคดั เลอื กโดยวิธี
น้ีต้องพยายามควบคุมอิทธิพลท่ีเกิดจากสภาพแวดล้อมให้คงที่ สัตว์ตัวใดดีที่สุดก็จะถูกเก็บไว้ทาพันธุ์
ต่อไป การคัดเลอื กโดยดูจากลักษณะของตวั สตั ว์ ทาได้ 2 อย่าง ดงั นี้
(1) คัดเลือกโดยดูลักษณะรูปร่างและโครงสร้างของร่างกายเป็นเกณฑ์ ถ้าตัวไหน
รปู ร่างรปู ทรงหรือโครงสรา้ งได้ตามทีต่ ั้งใจกจ็ ะคัดเลอื กไวส้ าหรับทาพนั ธต์ุ อ่ ไป ลักษณะของโคเนื้อทดี่ ี
ในประเทศไทย ได้แก่ โคพันธ์ุกบินทร์บุรี โคพันธุ์ตาก เป็นต้น ซ่ึงมีลาตัวยาวและไม่ลึกมากจนเกินไป
ลักษณะแนวหลังตรง แนวท้องตรง และขนานกบั พ้ืน ไหลห่ นา สะโพกกวา้ งกลมและยาว
ภาพท่ี 6.1 โคพันธ์ุกบนิ ทร์บรุ ี
(2) คัดเลือกโดยดูจากสมรรถภาพของสตั ว์เป็นเกณฑ์ ตัวอยา่ งเช่น ถา้ สัตว์ตัวใดมีความ
สมบูรณ์พันธ์ุสูงหรือมีความสามารถให้ลูกได้ดี ก็จะถูกคัดเลือกไว้สาหรับทาพันธ์ุต่อไป ความแตกต่าง
สังเกตจากลักษณะความสมบูรณ์ของเต้านม (ก) เป็นโคท่ีมีความสมบูรณ์พันธุ์ต่า และ (ข) เป็นโคท่ีมี
ความสมบูรณ์พนั ธ์ุสงู
ภาพท่ี 6.2 เปรียบเทียบลักษณะโคเน้ือทม่ี ีความสมบูรณ์พันธ์ุตา่ และความสมบูรณ์พันธุ์สูง
วธิ ีการคอื คัดเลือกจากสัตว์ที่เลีย้ งดูในสภาพทใี่ กล้เคยี งกันใหม้ ากทส่ี ุด อนึ่งการคดั เลือกโดยวิธีนี้
จะเกิดผลดเี มื่อ
- ลักษณะท่ีคัดเลอื กนน้ั มีอัตราพันธกุ รรมสูง
- ลักษณะท่ีคดั เลือกน้นั ต้องปรากฏออกมาหรือวดั ได้ในขณะท่ีสตั ว์นน้ั มีชีวติ อยู่
- ลักษณะทค่ี ดั เลือกนน้ั ตอ้ งปรากฏในสัตว์ทง้ั 2 เพศ
ข้อดีของการคัดเลือกจากบันทึกลักษณะของตัวมันเอง คือง่ายต่อการคัดเลือกพันธ์ุสัตว์
เนื่องจากเป็นการพิจารณาลักษณะของสัตว์ท่ีต้องการคัดเลือกโดยตรง ไม่ต้องไปค้นหาข้อมูลจากจาก
แหลง่ อืน่ มาประกอบการคัดเลือก
ข้อจากดั ของการคัดเลือกจากบนั ทึกลักษณะของตัวมันเอง มีดงั นี้
- ลักษณะท่ีถูกจากัดโดยเพศ เช่น การให้นา้ นม การให้ไข่และความสามารถในการเป็น
แม่ ซึง่ เป็นลกั ษณะที่แสดงออกในสตั วเ์ พศเมยี เพียงเพศเดยี ว
- ลักษณะท่ีต้องการคัดเลือกมีค่าอัตราทางพันธุกรรมต่า การพิจารณาลักษณะท่ี
ปรากฏในการคดั เลอื กสตั ว์แต่ละตวั นั้นเป็นค่าทีบ่ ่งบอกคุณคา่ การผสมพันธ์ุที่ไมด่ ีนัก เนอื่ งจากลกั ษณะมี
ความผันแปรที่เกิดการจากปจั จยั ของสง่ิ แวดลอ้ มมาก จึงควรใชว้ ิธีการคัดเลอื กวธิ อี ื่น
- ลักษณะท่ีแสดงออกเม่อื สัตว์ถึงวัยเจรญิ พันธ์ุ เช่น การให้ผลผลิตนา้ นม การใหไ้ ข่และ
ความสามารถในการเปน็ แม่
- ลักษณะทต่ี อ้ งการสามารถวัดไดห้ ลังจากการฆ่าสตั ว์ตัวนนั้ เช่น เปอรเ์ ซ็นตซ์ าก
2) การคดั เลอื กจากบันทกึ พันธุ์ประวัติ (Pedigree selection)
เปน็ การคัดเลอื กโดยพิจารณาจากบันทึกพันธุ์ประวัตขิ องสัตว์ ดังน้ันในการคดั เลือกจงึ ต้อง
มีบันทึกพันธ์ุประวัติที่สมบูรณ์ เช่น การพิจารณาคัดเลือกแม่สุกรทดแทนในฝูง เราก็จะพิจารณาจาก
พันธ์ุประวัติของบรรพบุรุษของแม่สุกร ในการใช้บันทึกพันธุ์ประวัติมักพิจารณาย้อนหลัง 2 ชั่วอายุ คือ
พอ่ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย
พันธุ์ประวัติ (pedigree) หมายถึง ระเบียนหรือสมดุ บนั ทกึ สมรรถภาพและคุณสมบตั ิ
ของบรรพบุรุษ พันธุ์ประวัติของสัตว์แต่ละตัวจะมีความสัมพันธ์กับสัตว์ที่เราทาการคัดเลือก มีข้อดีและ
ขอ้ บกพรอ่ งดังน้ี
(1) ข้อดีของพันธปุ์ ระวัติ สามารถทานายคณุ สมบัตแิ ละสมรรถภาพในการผลิตของสัตว์ท่ี
มีอายุน้อยหรือสัตว์ท่ียังไม่สามารถให้ผลผลิตได้ สัตว์เล้ียงบางตัวไม่สามารถแสดงคุณสมบัติหรือ
สมรรถภาพท่ีดีออกมาได้ เน่ืองจากปัจจัยบางอย่าง ลักษณะกรรมพันธ์ุที่แสดงออกมาในเพศเดียว เช่น
การให้น้านมในโคนม และการให้ไข่ในไก่ไข่ ซ่ึงเป็นลักษณะเฉพาะตัวของเพศเมีย สามารถทานาย
ลักษณะดังกล่าวจากการดูพันธ์ุประวัติได้ นอกจากน้ียังใช้ประกอบการคัดเลือกลักษณะท่ีมีอัตรา
พันธกุ รรมต่า และใชใ้ นการคัดเลือกลักษณะที่ไมพ่ ึงประสงค์ออกจากฝูงได้
(2) ข้อบกพร่องของพันธุ์ประวัติ ตามกฎของเมนเดล สัตวท์ ่ีมีพันธป์ุ ระวัติดีอาจจะให้ลูกมี
ท้ังลักษณะดีและไม่ดี พันธุ์ประวัติท่ีถูกต้องและสมบูรณ์เท่านั้นท่ีจะนามาใช้ในการคัดเลือกอย่างได้ผล
การคัดเลอื กลักษณะท่ีมอี ัตราพันธกุ รรมสูง ไมม่ ีความจาเปน็ ต้องใช้พันธป์ุ ระวตั ิ
การคดั เลือกโดยใชพ้ นั ธุ์ประวตั จิ ะให้ผลดีกต็ ่อเมอ่ื
- ลกั ษณะทีค่ ดั เลือกน้ันมอี ตั ราพนั ธกุ รรมตา่
- ลกั ษณะทีค่ ัดเลอื กนั้นปรากฏผลออกมาในชวี ิตตอนหลงั เช่น การให้ลกู
- ลักษณะที่คัดเลือกนั้นแสดงออกเฉพาะในสัตว์เพศใดเพศหน่ึง เช่น การให้นม
การให้ไข่
- พนั ธ์ปุ ระวตั มิ กี ารบันทกึ ไวอ้ ยา่ งละเอยี ดถูกต้อง
ร่นุ ปจั จบุ ัน รุ่นพอ่ แม่ รนุ่ ปู่ย่า
พ่อ
พอ่
แม่
สตั วท์ ต่ี อ้ งการคดั เลอื ก
พ่อ
พันธุกรรมที่ถูกถา่ ยทอดในรนุ่ ปัจจุบนั แม่
50 % แม่
25 %
ภาพที่ 6.3 พนั ธ์ุประวัตขิ องสัตว์ทแี่ สดงความสมั พนั ธ์ของบรรพบรุ ษุ
3) การคดั เลือกโดยพจิ ารณาจากญาตพิ ่นี อ้ ง (Relative selection)
การคัดเลือกโดยวธิ ีนี้จะพิจารณาจากญาติพนี่ ้องของสัตว์นั้น เช่น พี่ น้อง ลูกพี่ ลกู น้อง เป็น
ต้น เนื่องจากเราไม่สามารถใช้ข้อมูลจากสัตว์ตัวน้ัน จากบรรพบุรุษ หรือจากลูกมาพิจารณาได้ การ
คัดเลือกวิธีนี้ควรใช้กับลักษณะของสัตว์ที่จะต้องฆ่าเพื่อศึกษาข้อมูล เช่น คุณภาพซาก ซึ่งลักษณะ
ดงั กล่าวไม่อาจวัดได้เมื่อสัตวน์ ้นั มชี ีวติ อยู่ จาแนกข้อดีและขอ้ เสยี ของการคดั เลอื กได้ดงั นี้
(1) ข้อดีของการคัดเลือกโดยพิจารณาจากญาติพี่น้อง มีประโยชน์ในการคัดเลือกลกั ษณะท่ี
แสดงออกเฉพาะในสัตวเ์ พศเมีย และลักษณะทไ่ี ม่สามารถวัดได้เมื่อสัตว์ยังมชี ีวติ อยู่ การคัดเลือกวธิ นี ี้ทา
ไดง้ ่ายและรวดเร็ว เพียงศกึ ษาข้อมูลของญาติพี่น้องกส็ ามารถทานายสตั ว์นนั้ ได้
(2) ข้อเสียของการคัดเลือกโดยพิจารณาจากญาติพ่ีน้อง ถ้าบันทึกลักษณะและสมรรถภาพ
ของญาติพี่น้องทาไม่ถูกต้อง จะทาให้การคัดเลือกผิดพลาดได้มาก และหากความเป็นญาติห่างกันมาก
โอกาสคดั เลือกได้สตั ว์ที่ดียอ่ มมนี อ้ ย
การคดั เลอื กโดยอาศยั ข้อมลู จากญาติพ่นี อ้ งจะใหผ้ ลดีกต็ ่อเม่ือ
- ลักษณะที่คัดเลอื กนน้ั มีอัตราพันธกุ รรมตา่
- ลักษณะที่คดั เลอื กนัน้ ไมอ่ าจวัดไดเ้ ม่ือสัตวน์ ัน้ ยงั มีชวี ิตอยู่ เช่น คุณภาพซาก
- ลักษณะท่ีคดั เลอื กนั้นเปน็ ลักษณะทีแ่ สดงออกเฉพาะในสัตว์เพศใดเพศหนึง่
- ญาติพ่ีน้องท่ีใกล้ชิดกันมากจะให้ข้อมูลท่ีใกล้เคียงกว่าญาติพี่น้องท่ีห่างออกไป เช่น
ข้อมูลจากพ่ีน้องพ่อแมเ่ ดียวกันจะดีกว่าข้อมูลจากพ่นี ้องที่เกิดจากพ่อเดียวกันแต่ต่างแม่หรือแม่เดียวกัน
แต่ต่างพ่อ
- สตั ว์ทมี่ ีจานวนพนี่ ้องมากจะดีกวา่ สตั ว์ทมี่ จี านวนพ่ีนอ้ งน้อย
ภาพท่ี 6.4 ความสัมพนั ธ์ของพน่ี ้องท่รี ่วมพ่อแม่เดยี วกัน
ภาพท่ี 6.5 ความสมั พันธ์ของพ่นี ้องท่รี ่วมพ่อแต่ต่างแม่กัน
4) การคัดเลอื กโดยพิจารณาจากลกู (Progeny selection)
เป็นการคัดเลือกโดยพิจารณาจากความสามารถของลูก ส่วนใหญ่ใช้ในการพิจารณา
คัดเลือกพ่อพันธ์ุ ความสามารถของลูกที่เกิดขึ้นนับเป็นความสามารถที่ได้รับการถ่ายทอดลักษณะจาก
พ่อโดยตรง โดยเฉพาะลักษณะที่แสดงออกในเพศใดเพศหนึ่ง เช่น การคัดเลือกพ่อพันธ์ุโคนม โดยการ
นาพอ่ โคนมทีจ่ ะคัดเลือกไปผสมกับแม่โคจานวนหลายตัว แล้วดูความสามารถในการใหน้ มของลูกโคเพศ
เมยี ทเ่ี กดิ ข้นึ เพือ่ นามาพิจารณาตัดสนิ ตอ่ ไป มขี ้อดแี ละข้อเสียดงั ตอ่ ไปน้ี
(1) ข้อดีของการคัดเลือกโดยพิจารณาจากลูก มีประโยชน์ในการคัดเลือกพ่อพันธ์ุที่ไม่
สามารถแสดงผลผลิตออกมาได้ เช่น การให้น้านม การให้ไข่ เป็นต้น ใช้ในการคัดเลือกลักษณะที่
จาเป็นตอ้ งฆ่าสัตว์ เช่น ลักษณะคุณภาพซาก เป็นต้น จะเป็นตวั บง่ บอกถึงความสามารถในการถ่ายทอด
ลักษณะต่างๆ จากพ่อไปยงั ลกู
(2) ข้อเสียของการคัดเลือกโดยพิจารณาจากลูก ใช้เวลานานในการทดสอบจึงทาให้
เสียโอกาสที่จะได้รับผลประโยชน์จากสัตว์ตัวน้ัน บางโอกาสการรอทดสอบลูกปรากฏว่าลูกตายก่อนจะ
ได้ข้อมูล ใช้ทุนสูงมากในการทดสอบและต้องควบคุมสิ่งแวดล้อมในการเลี้ยงดูให้คล้ายกันซึ่งกระทาได้
ยาก
การคดั เลือกโดยอาศยั ขอ้ มลู จากลกู จะให้ผลดกี ็ตอ่ เม่อื
- ลกั ษณะทคี่ ดั เลือกนนั้ เปน็ ลักษณะท่แี สดงออกเฉพาะในสตั วเ์ พศใดเพศหนึง่
- ลกั ษณะที่คดั เลือกน้ันไม่อาจวดั ไดเ้ ม่ือสัตวน์ น้ั ยงั มชี ีวิตอยู่
- ข้อมูลจากลกู จานวนมากตวั จะดีกวา่ ลกู จานวนน้อยตวั
- ใช้ในการคัดเลือกเพ่ือการผสมพันธ์แุ บบสลับพ่อสลับแม่ในการสรา้ งสายพนั ธุ์ใหม่
3. วธิ กี ารคดั เลือกพันธสุ์ ัตว์
ในการคัดเลือกสัตว์ไว้ทาพันธ์ุอาจจะคัดเลือกสัตว์โดยพิจารณาจากลักษณะท่ีต้องการเพียง
ลักษณะเดียว หรอทาการคัดเลือกโดยพิจารณาจากลักษณะที่ต้องการหลายลักษณะพร้อมๆ กันก็ได้
ขึ้นอยู่กับนักปรับปรุงพันธุ์ว่าต้องการปรับปรุงลักษณะใดบ้าง แต่ในทางปฏิบัตินักปรับปรุงพันธ์ุจะ
คัดเลือกลักษณะที่ต้องการหลายลักษณะมากกว่าทาการคัดเลือกเพียงลักษณะใดลักษณะเดียวเท่านั้น
เน่อื งจากเป็นการประหยัดเวลาและคา่ ใชจ้ ่ายในการปรับปรุงพนั ธ์ุ
1) การคดั เลือกทีละลักษณะ (tandem selection method)
เป็นการคัดเลือกลักษณะที่สาคัญมากท่ีสุดเพียงลักษณะเดียวก่อน เมื่อถึงเป้าหมาย
ท่ีต้ังไว้แล้ว จึงทาการคัดเลือกลักษณะอื่นต่อไป วิธีการนี้ง่ายและสะดวกต่อการปฏิบัติ แต่มีข้อเสีย คือ
การคัดเลือกพันธุ์สัตว์เป็นไปอย่างช้า ๆ ต้องใช้เวลานานและอาจไม่ประสบผลสาเร็จ ถ้าลักษณะท่ี
คัดเลอื ก 2 ลกั ษณะมีค่าสหสมั พันธ์ทางลบ เช่น ปริมาณนา้ นมกับเปอร์เซ็นต์ไขมนั ในนม เป็นต้น
ตวั อย่างเชน่ การคัดเลือกลกั ษณะการใหน้ า้ นมและเปอรเ์ ซ็นต์ไขมันในน้านมของโคนม
ข้ันตอนที่ 1 การคัดเลือกลักษณะการให้น้านมของโคนม โดยตั้งเป้าหมายไม่น้อยกว่า 20
กิโลกรมั ต่อวนั
ขั้นตอนท่ี 2 การคัดเลือกลักษณะเปอร์เซ็นต์ไขมันในน้านมของโคนม โดยต้ังเป้าหมายไม่ต่า
กวา่ 4.2 เปอรเ์ ซ็นต์
2) การคดั เลือกหลายลักษณะพร้อมกนั (independent culling level method)
เป็นการคัดเลือกตั้งแต่สองลักษณะข้ึนไปพร้อมกัน โดยการต้ังมาตรฐานต่าสุดของแต่ละ
ลกั ษณะเอาไว้ ถา้ สตั ว์ตวั ใดมีลักษณะหรอื คณุ สมบัตทิ ่ีตอ้ งการสงู กว่าระดับมาตรฐาน ก็คัดไว้ทาพันธ์ุ แต่
ถ้าสัตว์ตัวใดไม่ได้ระดับมาตรฐานตามกาหนดเพียงลักษณะเดียวก็จะถูกคัดท้ิงไป การคัดเลือกและการ
ปรับปรุงพันธ์ุเร็วกว่าวิธีแรก แต่มีข้อเสียคือถ้ามีลักษณะหน่ึงลักษณะใดต่ากว่ามาตรฐานเพียงเล็กน้อยก็
จะถกู คัดทิง้ ทันที
ตัวอย่างเช่น การคัดเลือกโคนมโดยตั้งมาตรฐานไวด้ ังนี้ ปรมิ าณนา้ นมไม่ต่ากว่า 20 กิโลกรัมต่อวัน และ
เปอร์เซ็นต์ไขมันในนา้ นมไม่ต่ากว่า 4.2 เปอรเ์ ซ็นต์
การคัดเลือกหลายลักษณะพร้อมๆ กัน โดยกาหนดมาตรฐานหรือเกณฑ์ข้ันต่าของแต่ละลักษณะ
เอาไว้ หากสัตว์ตัวใดมีลักษณะใดลักษณะหน่ึงมีค่าต่ากว่ามาตรฐานที่กาหนดไว้ สัตว์ตัวนั้นก็จะไม่ได้รับการ
คดั เลอื กไวท้ าพนั ธ์ุ เชน่ เจา้ ของฟารม์ ตั้งเกณฑเ์ อาไวว้ า่ สกุ รที่จะคัดเลือกไว้ทาพันธ์จุ ะต้องมนี ้าหนักหย่านมและ
อัตราการเจริญเติบโตหลังหย่านมไม่ต่ากว่า 10 กก. และ 0.5 กก.ต่อวัน ตามลาดับ ในกรณีเช่นน้ีแม้สุกรตัว
หนึ่งจะมีอัตราการเจริญเติบโตหลังหย่านมสูงมากถึง 0.6 กก.ต่อวัน แต่เนื่องจากสุกรตัวนั้นมีน้าหนักหย่านม
เพยี ง 9.5 กก. (ซ่ึงต่ากว่าเกณฑ์ทก่ี าหนดไว้เพยี ง 0.5 กก.) สกุ รตัวนั้นก็จะไม่ได้รบั การคัดเลือกไว้ทาพนั ธ์ุ เป็น
ตน้
การคัดเลือกวิธีนี้ใช้กันมากในกรณีของ การคัดเลือกสัตว์เพ่ือการประกวดหรือแข่งขัน ซึ่งข้อเสียท่ี
สาคัญ (ดังตัวอย่างข้างต้น) คือ ลักษณะท่ีดีอาจจะถูกคัดทิ้ง (หรือไม่ได้รับการพิจารณา) โดยเฉพาะอย่างย่ิง
ลักษณะที่เกิดข้ึน (หรือแสดงออก) ในช่วงหลังของชีวิต เช่น สุกรท่ีมีน้าหนักหย่านมต่าจะถูกคัดท้ิงไป โดยที่ผู้
เลี้ยงไม่มีโอกาสที่จะทราบว่าหากเล้ียงต่อไปสุกรนั้นอาจจะมีอัตราการเจริญเติบโตสูง หรือมีปริมาณเนื้อแดง
มากก็ได้ นอกจากนี้สภาพแวดล้อมช่ัวคราว (เช่น อาหาร การจัดการ) อาจจะทาให้การคัดเลือกโดยวิธีน้ี
ผิดพลาดได้ง่าย ดังจะพบอยู่เสมอว่าสัตว์ท่ีจะถูกส่งไปประกวดแข่งขันมักจะได้รับการเล้ียงดูเป็นอย่างดีก่อน
การประกวด ท้ังนี้เพ่ือให้ได้สัตว์ท่ีมคี ุณลักษณะตามท่คี ณะกรรมการประกวดกาหนดไว้ ฉะน้ันในบางครง้ั สัตว์
ทีช่ นะการประกวดอาจจะชนะเพราะสภาพแวดล้อมชว่ ยก็เป็นได้
3) การคัดเลือกโดยใช้คะแนนรวมหรือดัชนีการคัดเลือก (Total score method or Index
method) วิธีนี้เป็นการคัดเลือกหลายลักษณะพร้อมๆ กัน โดยใช้คะแนนรวม (total score) มีการให้
น้าหนักความสาคัญ (weight) ของแต่ละลักษณะท่ีรวมอยู่ในดัชนีคัดเลือก โดยใช้ข้อมูลท้ังทางด้าน
พันธุกรรมและทางเศรษฐกิจประกอบการคัดเลือก สัตว์ตัวใดที่มีคะแนนรวมมากกว่าก็จะได้รับการ
คัดเลือกไวท้ าพนั ธ์ุ
การคัดเลือกจากคะแนนรวมของลักษณะอาศัยการคิดค่าของแต่ละลักษณะที่ต้องการวัด
ออกมาเป็นคะแนน แล้วนาผลรวมของลกั ษณะต่างๆ มาใชเ้ ปน็ เกณฑ์ในการคัดเลือก เพอื่ ป้องกันในการ
ท่ีสัตว์บางตัวมีลักษณะสาคัญหลายลักษณะดี แต่อาจบกพร่องในบางลักษณะ ดังน้ันเมื่อนาเอาค่าเฉล่ีย
ของลักษณะทั่วๆ ไป มารวมกันจะมคี วามถูกต้องมากกว่าวิธีท่ีสอง วิธีนี้เป็นการคัดเลือกท่ีได้ผลดกี ว่าทั้ง
สองวิธที ี่กลา่ วมาแลว้ แต่มีขอ้ เสียกค็ ือ การสรา้ งสมการคะแนนรวมของลักษณะ
โดยท่ัวไปแล้วการคัดเลือกโดยใช้ดัชนกี ารคัดเลือกจะดีกว่าวิธีการกาหนดเกณฑ์มาตรฐาน และ
วิธกี ารกาหนดเกณฑม์ าตรฐานจะดกี วา่ วธิ กี ารคัดเลอื กทีละลักษณะ
4. การคัดเลือกสตั ว์เพือ่ ใช้ปรบั ปรุงพันธ์ุ
การคัดเลือกสัตว์เพ่ือใช้ปรับปรุงพันธุ์ เป็นการคัดเลือกลักษณะของสัตว์ท่ีจะคัดไว้เป็น
พ่อพนั ธุ์ แมพ่ นั ธุ์ สัตวแ์ ตล่ ะชนิดมกี ารคัดเลือก ดังน้ี
1) ลักษณะของไก่เนื้อท่ีจะคดั ไวเ้ ปน็ พ่อพนั ธุ์ แม่พนั ธุ์ มดี ังนี้
(1) มีลกั ษณะตรงตามพนั ธุ์
(2) มีลกั ษณะแสดงถงึ การให้เนอ้ื เพมิ่ มากขึ้น เชน่ ขาใหญ่ อกใหญ่
(3) เจริญเติบโตเร็ว
(4) อตั ราการเปลีย่ นอาหารเปน็ เนื้อไม่เกิน 2.0
(5) สามารถผสมตดิ ไดง้ ่าย ไขม่ ีเปอรเ์ ซ็นต์การฟกั ออกสงู
(6) มผี วิ หนงั สเี หลอื งเขม้ หรอื สีตรงตามความต้องการของผู้บริโภค
(7) มีรา่ งกายแขง็ แรง สมบรู ณ์ ไม่พกิ าร
2) ลกั ษณะของไกไ่ ข่ที่จะคัดไวเ้ ปน็ พ่อพันธ์ุ แม่พันธุ์ มีดังน้ี
(1) มลี ักษณะตรงตามพันธุ์
(2) มคี ุณสมบตั ิของไกไ่ ข่ครบ
(3) ใหไ้ ขด่ ก ฟองโต และให้ไขน่ าน
(4) ไม่ตน่ื ตกใจงา่ ย
(5) สามารถผสมติดไดง้ ่าย ไขม่ เี ปอร์เซน็ ต์การฟักออกสงู
(6) มรี ่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ไม่พกิ าร
3) ลักษณะของสกุ รที่จะคดั ไว้เปน็ พอ่ พนั ธุ์ แม่พันธ์ุ มีดงั น้ี
(1) มีลักษณะตรงตามพนั ธ์ุ
(2) ได้จากครอกที่คลอดไม่ต่ากว่า 9 ตัว และมีชีวิตรอดจนถึงหย่านม
ไม่ต่ากว่า 8 ตวั
(3) มีเต้านมไม่ต่ากว่า 12 เต้า ส่าหรับสุกรพันธุ์เนื้อ และไม่ต่ากว่า 14 เต้า
สาหรบั สกุ รพันธ์เุ บคอน โดยวางเรยี งเปน็ ระเบียบไดร้ ะยะหา่ งเท่าๆ กนั เตา้ นมไมบ่ อดหรอื พกิ าร
(4) มนี ้าหนักเมอื่ 5 เดือนครึง่ หรือ 165 วัน หนกั 80-90 กิโลกรัม
(5) ความหนาของไขมันสันหลังเมื่อหนัก 80-90 กิโลกรัม น้อยกว่า 20
มิลลเิ มตร สาหรับสุกรพนั ธุ์เบคอน และนอ้ ยกว่า 24 มลิ ลิเมตร สาหรบั สกุ รเนอื้
(6) อัตราการเปลยี่ นอาหารเปน็ เนอ้ื ไม่เกนิ 3.0
(7) ขาและข้อเท้าแข็งแรง กระดกู โตสมส่วน ไมเ่ ล็กหรือโตเกินขนาด
(8) มคี ุณภาพซากดี โดยดูจากพน่ี อ้ งท้องเดียวกัน
4) ลกั ษณะของโคเนื้อท่จี ะคัดไวเ้ ป็นพ่อพนั ธ์ุ แมพ่ ันธุ์ มดี ังน้ี
(1) มีลักษณะตรงตามพันธุ์
(2) มีน้าหนักแรกคลอดไม่น้อยกว่าน้าหนักแรกคลอดมาตรฐานของแต่ละ
พันธุ์
(3) มีน้าหนักเมื่อหย่านมไม่น้อยกว่าน้าหนักหย่านมมาตรฐานของแต่ละพันธ์ุ
(4) เปน็ โคจากฝูงที่มอี ัตราการตกลกู ตามปกติ
(5) มีคุณภาพซากดี มีกลา้ มเน้อื มาก เช่น เนื้อสนั
(6) มีอตั ราการเจรญิ เติบโตดี ประสทิ ธภิ าพการใชอ้ าหารสงู
(7) มีความสมบรู ณ์พนั ธ์ุสูงและผสมติดง่าย
(8) มรี ปู ร่างเหมาะที่จะเป็นโคเน้ือ
(9) มสี ขุ ภาพแข็งแรง ไม่มลี กั ษณะพกิ ารของรา่ งกาย
5) ลักษณะของโคนมทจี่ ะคดั ไว้เป็นพ่อพันธ์ุ แม่พนั ธ์ุ มีดงั น้ี
(1) มลี กั ษณะตรงตามพนั ธุ์
(2) มรี ูปรา่ งลักษณะของโคนม
(3) สามารถผสมพนั ธ์ไุ ดต้ งั้ แต่อายุ 2 ปี ผสมติดงา่ ย และให้ลูกทุกปี
(4) มีอตั ราการตกลกู เป็นปกตติ ามระยะเวลาอนั สมควร
(5) สามารถให้ผลผลิตสูงท้ังปริมาณน้านมและเปอร์เซ็นต์ไขมันในน้านม
(6) ในพอ่ โค ลกู ท่ีเกิดจากพอ่ โคจะต้องให้ปริมาณน้านมดีทุกตัว
(7) ในแม่โค ต้องมีเต้านมขนาดใหญ่ รูปกระทะ ไม่หย่อนยาน การกระจาย
ของหัวนมห่างกันพอสมควร หัวนมปกติทุกหัวสามารถจับรีดได้สะดวก เส้นเลือดที่มาเลี้ยงเต้านมมี
ขนาดใหญ่
(8) มีสขุ ภาพสมบรู ณ์ แขง็ แรง ไม่มลี ักษณะพกิ ารทางรา่ งกาย
เอกสารอา้ งองิ
จรัส สว่างทพั . 2553. เทคนิคการปรับปรงุ พันธุสตั ว์. พมิ พ์ครัง้ ที่ 2. สาขาวชิ าสตั วศาสตร์
คณะเทคโนโลยกี ารเกษตร มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏบุรรี มั ย์, บุรรี ัมย์.
ชาญชยั รอดอนันต์. 2532. การผสมพนั ธ์ุสัตว์. ภาควชิ าสตั วศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ บางพระ.
สถาบนั เทคโนโลยรี าชมงคล, ชลบรุ .ี
เถลิงศักด์ิ อังกุรเศรณี. 2553. การปรับปรงุ พันธุสัตว์. ภาควชิ าสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลยั สงขลานครนิ ทร์.
บุญชอบ เฟื่องจันทร์. 2535. การปรับปรงุ พันธุสตั ว์. คณะวิชาสัตวศาสตร์ วทิ ยาลัยเกษตรกรรมชลบุรี,
ชลบุร.ี
บญุ เริ่ม บญุ นิธ.ิ 2549. การปรับปรงุ พันธุสตั ว์. คณะวิชาสตั วศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี
นครราชสีมา. นครราชสีมา.
พงษช์ าญ ณ ลาปาง. 2547. หลักพ้ืนฐานเกย่ี วกับการปรับปรุงพันธุ, น. 203 - 239. ในฝ่ายวชิ าการ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, บรรณาธกิ าร. การปรบั ปรงุ พันธุและการสบื พันธุสัตว์.
สานกั พิมพ์มหาวทิ ยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธริ าช, นนทบรุ ี.
สกี ุน นุชชา. 2554. การปรบั ปรงุ พันธุสตั ว์. คณะวชิ าสัตวศาสตร์ วทิ ยาลยั เกษตรและเทคโนโลยีตรัง.
ออนไลน์ : สืบคน้ ได้จาก www. Seekun.net/c-km-an-imp.html . 15 กันยายน 2561.
สมเกียรติ สายธนู. 2537. หลักการปรับปรุงพันธุสตั ว์. พิมพ์ครง้ั ที่ 1. ภาควิชาสตั วศาสตร์
คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ม.ป.ท.
สมชัย จนั ทร์สวา่ ง. 2530. การปรับปรุงพนั ธุสตั ว์. ภาควชิ าสตั วบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร กรุงเทพฯ.