The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ketsaraporn3011, 2019-06-17 07:51:54

Unit 7

Unit 7

บทท่ี 7

โรคทเี่ กดิ จากเช้อื จุลินทรีย์

ครูคัธรียา มะลิวัลย์

แผนกวชิ าสัตวศาสตร์
วิทยาลยั เกษตรและเทคโนโลยฉี ะเชงิ เทรา

ใบความรู้ที่ 7

โรคทเ่ี กิดจากเชือ้ จุลนิ ทรีย์

หัวข้อเรือ่ ง
1. ลักษณะของโรคติดต่อ
2. การเขา้ สู่ร่างกายของเชอ้ื โรค
3. การแพร่ระบาดของเชอ้ื โรค
4. ระยะตดิ ต่อของโรค
5. ชนดิ ของเช้อื โรค

จุดประสงค์การเรยี นรู้(นาทาง)
1. เพ่อื ให้มีความรแู้ ละเข้าใจเกี่ยวกบั ลกั ษณะของโรคตดิ ต่อ
2. เพอื่ ใหม้ ีความรู้และเขา้ ใจเกยี่ วกับการเขา้ สูร่ ่างกายของเชือ้ โรค
3. เพือ่ ใหม้ ีความรแู้ ละเข้าใจเกย่ี วกับการแพรร่ ะบาดของเช้ือโรค
4. เพอ่ื ใหม้ ีความร้แู ละเข้าใจเกี่ยวกับระยะตดิ ต่อของโรค
5. เพอื่ ให้มีความรแู้ ละเขา้ ใจเก่ยี วกบั ชนิดของเช้อื โรค

จดุ ประสงคก์ ารเรียนรู้(ปลายทาง)
1. บอกความหมายและลักษณะของโรคตดิ ต่อได้
2. อธิบายการแพร่ระบาดและการตดิ ตอ่ ของเช้ือโรคได้
3. อธบิ ายระยะติดต่อของโรคได้
4. บอกชนดิ ของเช้ือโรคได้

เน้อื หาการสอน

โรค (disease) หมายถึง ความไม่สบาย หรือสภาวะผิดปกติของร่างกาย โรคสามารถแบ่งได้เป็น
2 ประเภท

โรคติดต่อ หมายถึง โรคที่มีสาเหตุมาจากการได้รับเช้ือโรคเข้าสู่ร่างกาย และสามารถติดต่อไปสู่
บุคคลอ่นื ๆ ได้ เชน่ โรคไทฟอยด์ โรควัณโรค โรคหวดั เปน็ ต้น

โรคไม่ติดต่อ หมายถึง โรคที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย และไม่สามารถติดต่อไปสู่บุคคล
อืน่ ๆ ได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหติ สูง เปน็ ต้น

เช้ือโรค (disease) หมายถึง ส่ิงมีชีวิตท่ีอาศัยในร่างกายสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แล้วเป็นสาเหตุให้เกิดโรค
ต่างๆ กับโฮสต์

7.1 ลักษณะของโรคตดิ ต่อ
โรคตดิ ต่อมีลกั ษณะ ดงั ตอ่ ไปน้ี
1) โรคตดิ ต่อเกดิ จากเช้ือโรคชนิดเดยี วกัน
2) อาการที่ปรากฏของโรคตอ้ งเหมือนกัน แตอ่ าจมคี วามรนุ แรงแตกตา่ งกันไป
3) โรคท่ีเกดิ อาจติดตอ่ มาจากสัตว์ทีป่ ่วย หรือตดิ ต่อจากผูป้ ่วยที่สามารถนาโรคได้
4) โรคสามารถแพร่ระบาดได้รวดเร็ว ผ้ปู ว่ ยสามารถสร้างภมู ิคมุ้ กันโรคได้
5) สามารถปอ้ งกนั โรคได้ดว้ ยการกระตนุ้ ร่างกายใหส้ รา้ งภูมิคุ้มกัน

7.2 การเขา้ ส่รู า่ งกายของเช้อื โรค
เช้ือโรคสามารถเข้าส่รู ่างกายไดห้ ลายทาง ดงั ต่อไปนี้
1) ทางปาก เช้ือโรคหรอื ชีวพิษท่ีเชื้อโรคสร้างขึ้นสามารถเข้าสรู่ ่างกายพร้อมอาหารและ

น้า เชน่ โรคบดิ มตี ัว โรคบดิ ไมม่ ตี วั โรคไทฟอยด์ โรคทอ้ งรว่ งอยา่ งรุนแรง (อหวิ าตกโรค) เปน็ ต้น
2) ทางจมูก เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายทางจมูกได้โดยการหายใจเอาอากาศท่ีมีเชื้อ

โรคเข้าไป เชน่ ไข้หวดั ไข้หวดั ใหญ่ 2009 โรคปอดบวม และวัณโรค เปน็ ตน้
3) ทางผิวหนัง เช้ือโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่มีบาดแผลหรือรอยฉีกขาด

เชน่ โรคฉหี่ นู (Leptospirosis) โรคบาดทะยกั เป็นต้น
4) ทางระบบสืบพันธุ์ เช้ือโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายทางระบบสืบพันธ์ุ โดยเชื้อโรคจะ

ติดตอ่ ได้ง่ายด้วยการมเี พศสัมพันธ์ เชน่ โรคเอดส์ โรคซฟิ ิลิส โรคเริม โรคหนองใน โรคตับอกั เสบจากไวรัส
เป็นต้น

5) ทางรก ในระหว่างที่มารดาต้ังครรภ์ หากมารดาได้รับเชื้อโรคหรือมีเช้ือบางชนิดใน
ร่างกายของมารดาก่อนต้ังครรภ์ เชื้อโรคสามารถถ่ายโอนไปสู่ทารกในครรภ์ได้โดยทางรก เช่น โรคซิฟิลิส
โรคหัดเยอรมนั เป็นตน้

6) การถ่ายเลือด ในการให้เลือดแก่ผู้ป่วย อาจเกิดการแพร่ระบาดของโรคได้ หากใน
เลือดมีเชือ้ โรคหรอื ชีวพษิ ของเชอ้ื โรคปนเปื้อนอยู่ เช่น โรคเอดส์ โรคตบั อกั เสบจากไวรัส โรคซิฟิลิส และ
โรคหนองใน เปน็ ต้น

7.3 การแพรร่ ะบาดของเช้ือโรค
เช้ือโรคติดต่อบางชนิดทาให้เกิดโรคแพร่ระบาดได้ต้องมีพาหะนาโรค หรือเช้ือโรคบางชนิด

สามารถติดต่อได้โดยตรงไม่ต้องมีพาหะนาโรค หรืออาจมีส่ิงของเป็นตัวกลางทาให้เกิดการแพร่ระบาด
สามารถแบง่ การแพร่ระบาดได้เป็น 3 วิธี ไดแ้ ก่

1) การแพร่ระบาดโดยการสัมผัส (contact transmission) เป็นการแพร่กระจายของเชื้อโรค
จากโฮสต์ตวั หน่ึงไปยังโฮสตอ์ กี ตัวหน่งึ โดยแบง่ ออกได้ 3 วธิ ี คอื

(1) การแพร่ระบาดโดยการสัมผัสโดยตรง (direct contact transmission) เช่น การ
ระบาดจากคนสู่คน ซึ่งอาจเกิดจากการสัมผัสร่างกาย การจูบ การมีเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อท่ีสามารถแพร่

ระบาดดด้วยวิธีนี้ โรคหูดจากเชื้อไวรัส (warts) โรคเริม โรคหนองใน โรคตับเอกสับบีจากไวรัส และ
โรคเอดส์ เป็นต้น นอกจากนี้การแพร่ระบาดอาจเกิดจากการถูกกัด เช่น โรคพิษสุนัขบ้า การเกาหรือการ
สมั ผสั เช่น โรคกลาก เปน็ ตน้ และยังรวมถงึ การแพรเ่ ช้ือโรคจากแม่สทู่ ารกในครรภ์โดยผา่ นทางรก

(2) การแพร่ระบาดโดยการสัมผัสทางอ้อม (indirect contact transmission) เป็นการ
แพร่ระบาดจากโฮสต์ตัวหน่ึงไปยังโฮสต์อีกตัวหน่ึง โดยอาศัยส่ิงไม่มีชีวิตซึ่งเกิดจากการประมาท เลินเล่อ
เช่น เข็ม แปรงสีฟัน กระดาษทิชชู เงิน ผ้าอ้อม แก้วน้าด่ืม ผ้าปูที่นอน ของเล่น เครื่องมือทางการแพทย์
เปน็ ตน้

(3) การแพร่ระบาดโดยการหยดของเหลวที่มีเช้ือโรค (droplet transmission) เช่น
หยดเมือกที่มาจากเย่ือบุปาก (mucus droplet) อาจจะออกจากร่างกายผู้ที่เป็นโรคโดยการหายใจ
ไอหรอื จาม เช่น ไข้หวัด และไข้หวดั ใหญ่ ซ่ึงบางครง้ั เรยี กวา่ การแพร่ระบาดทางอากาศ

2) การแพร่ระบาดโดยมีตวั พา (vehicle transmission) การแพร่ระบาดของเชอื้ โรคโดยมีตวั พา
สามารถแบ่งได้ 3 ทาง ดงั ต่อไปนี้

(1) การแพร่ระบาดทางอากาศ (airborne transmission) โดยรวมถึงการแพร่ระบาด
ของเช้ือโรคไปยังโฮสต์โดยละอองของเหลว (aerosol) ซึ่งละอองของเหลวอาจมีฝุ่นอยู่ด้วยโดยเชื้อโรคมา
จากการไอ การจาม หรือระบบเครื่องปรับอากาศ การกวาด การถูทาความสะอาดพ้ืน การเปล่ียนเสื้อผ้า
หรอื อาจมาจากการเผาห่วงเขี่ยเช้อื ในห้องปฏบิ ตั กิ ารทางจุลชวี วทิ ยา นอกจากนี้ยงั มสี ปอร์ของฟังไจดว้ ย

การแพรร่ ะบาดทางอากาศ เป็นการตดิ ต่อหรือแพร่กระจายของโรคท่สี าคัญท่ีสุด เชอ้ื โรค
หลายชนิดล่องลอยอยู่ทั่วไปในอากาศหรือปะปนอยู่กับฝุ่นละอองเช่นเช้ือโรคจากผู้ป่วยท่ีไอจามหรือบ้วน
เสมหะ ซึ่งสามารถแพรเ่ ชื้อส่อู ากาศ เม่ือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงหรอื คนทว่ั ไปหายใจเอาเชอ้ื โรคเข้าสูร่ ่างกาย จึงทา
ให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้ เช่น ไข้หวัดธรรมดา ไขห้ วัดใหญ่ วณั โรคปอด ปอดบวม คอตีบ
หดั หัดเยอรมนั เปน็ ต้น

(2) การแพร่ระบาดทางน้า (waterborne transmission) เชื้อโรคบางชนิดอาศัยอยู่ใน
น้าจึงสามารถเข้าสู่ร่างกายทางปากจากการรับประทาน ดื่มน้า ดื่มนม ท่ีมีเช้ือโรคหรือพิษของเช้ือโรค
ปะปนอยู่ ก่อให้เกิดโรคติดต่อระบบทางเดินอาหารได้ โรคที่ระบาดทางน้าที่สาคัญ ได้แก่ โรคท่ีเกี่ยวกับ
ระบบทางเดนิ อาหาร โรคบิดมตี ัว โรคอหวิ าตกโรค โรคโปลิโอ เปน็ ต้น

(3) การแพร่ระบาดทางอาหาร (food-borne transmission) การติดต่อและการ
แพร่กระจายของเชื้อโรค อาจเนื่องมาจากมีเชื้อโรคอยู่ในอาหารน้ันอยู่แล้ว หรือเกิดการติดเชื้อจากการ
บรรจุ การขนส่ง การปรุง การเสิร์ฟ การจาหน่าย ฯลฯ นอกจากนี้ ภาชนะหรือข้าวของเคร่ืองใชข้ องผู้ปว่ ย
เซ่น เครอ่ื งใช้ในการรับประทานอาหาร อาจติดเชื้อและสามารถแพร่กระจายเช้ือโรคสู่ผู้อื่นได้เช่นเดียวกัน
เมือ่ มีการใชส้ ่ิงของร่วมกนั หรือเมื่อผูป้ ่วยขับถา่ ยอุจจาระที่มเี ช้ือโรคลงพื้นดินและมีแมลงวนั มาตอมแล้วไป
ตอมอาหาร เช้อื โรคก็สามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อ่นื ทางระบบทางเดินอาหารได้

3) การแพร่ระบาดโดยมีพาหะนาเชื้อโรค (vector transmission) พาหะนาเช้ือโรคส่วนใหญ่
ไดแ้ ก่ พวกแมลง ทาให้เช้ือโรคสามารถแพร่จากโฮสต์ชนิดหนึ่งไปยงั อีกชนิดหนงึ่ ได้ สามารถแบ่งพาหะเป็น
2 ประเภท

(1) ตัวนาโรคชวี ภาพ (biological vector) พาหะนาเชอื้ โรคชนดิ น้ีทาหนา้ ที่แพรก่ ระจาย
และเพ่ิมจานวนเชื้อโรค ในระยะที่เช้ือโรคอาศัยอยู่ในร่างกายของมัน ซ่ึงได้แก่ พวกแมลงต่างๆ เช่น ยุง
หมัด เหา เห็บ แมลงดูดเลือด และไร เป็นต้น เม่ือเชื้อโรคเพ่ิมปริมาณในโฮสต์ท่ีเป็นแมลง แล้วเชื้อโรคจะ
อาศัยต่อมบริเวณน้าลายหรือในลาไส้ของโฮสต์เหล่าน้ัน ดังนั้นเม่ือแมลงกัดโอสต์ตัวใหม่เช้ือโรคก็จะแพร่
ระบาด หรือเชือ้ โรคอาจปนเปอ้ื นออกมากับอจุ จาระของแมลง

(2) ตัวนาโรคเชิงกล (mechanical vector) แป็นพาหะสาหรับนาพาเช้ือโรคไปยังโฮสต์
ตัวใหม่ เช่น เช้ือโรคอาศัยท่ีบริเวณเท้า หรือส่วนอื่นๆ ของร่างกายพาหะ ซึ่งพาหะประเภทน้ี ได้แก่
แมลงวันบ้าน แมลงสาบ จะเป็นพาหะเช้ือแบคทีเรีย salmonella และ shigella ไปยังน้าด่ืมหรืออาหาร
หรือเกาะตามผิวหนังของโฮสต์ เมอื่ แบคทีเรียเหล่านี้เข้าสู่ระบบทางเดินอาหารของโฮสต์ จะทาให้มีอาการ
ของโรคแสดงข้นึ มา จะใชร้ ะยะเวลานานหรือส้นั ขึ้นอย่กู ับระยะฟักตวั ของเชื้อโรคน้นั ๆ

7.4 ระยะตดิ ตอ่ ของโรค

เม่ือร่างกายได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จะทาให้เชื้อโรคมีการเจริญเปล่ียนแปลงต่างๆ เกิดข้ึน

ภายในร่างกาย แบง่ ได้เป็น 5 ระยะ ดงั นี้

1) ระยะฟักตัว (incubation period) เป็นช่วงเวลาที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจนกระทั่งปรากฏ

อาการของโรค เชื้อโรคจะมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของโฮสต์ เพ่ือการเจริญเติบโตและ

เพ่ิมจานวนอยา่ งรวดเรว็ เชื้อโรคแตล่ ะชนิดมกี ารฟักตัวแตกต่างกันขึ้นอยูก่ ับเวลาท่ใี ช้ในการเพ่ิมจานวนแต่

ละรนุ่ และบริเวณทีเ่ กดิ การติดเชือ้ เช่น โรคซิฟิลิส ใช้เวลา 1.5-3 สัปดาห์ โรคเอดส์ (AIDS) ใช้เวลา 1-8 ปี

เป็นตน้

ตารางที่ 7.1 ระยะฟกั ตัวของโรค

โรค ระยะฟักตวั ของโรค

โรคอาหารเป็นพิษจาก salmonella < 1 วนั

ไขห้ วัด 1 วัน

โรคท้องร่วงอย่างรุนแรง (อหิวาตกโรค) 2 วนั

โรคบาดทะยัก 5-105 วนั

โรคซิฟิลสิ 1.5-3 สปั ดาห์

โรคตับอกั เสบ บี จากไวรสั 70-100 วนั

โรคเอดส์ 1->8 ปี

โรคเรื้อน 10-30 ปี

ที่มา : เสาวนติ ย์ (2553)

2) ระยะเริ่มมีอาการของโรค (prodromal period) จะเป็นระยะเวลาส้ันๆ อาการจะไม่รุนแรง
เช่น อาการไม่ค่อยสบายตัว ปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งจะเป็นอาการก่อนที่จะไม่สบาย อย่างไรก็ตามอาจไม่พบ
ระยะนใี้ นบางโรค

3) ระยะไม่สบาย หรอื ระยะเปน็ โรค (illness) เปน็ ระยะท่ีมีความรนุ แรงมากท่ีสดุ อาการของโรค
ทุกอย่างจะปรากฏให้เห็นในระยะนี้ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะทางานไม่เต็มที่ ร่างกายอยู่ในภาวะ
อันตราย

4) ระยะที่ร่างกายมีอาการดีข้ึน (decline) ระยะน้ีร่างกายจะมีอาการดีขึ้นกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
อย่างช้าๆ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายหรือยารักษาโรคสามารถกาจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้
แล้ว ซง่ึ โดยทั่วไปแลว้ ระบบภมู ิคมุ้ กนั ของรา่ งกายจะสูงทสี่ ดุ ในระยะนี้

5) ระยะพักฟน้ื (convalescent period) เป็นระยะท่ีผปู้ ว่ ยหายจากโรค เน้ือเยอ่ื และระบบตา่ งๆ
ได้รับการซ่อมแซมและกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ระยะเวลาของระยะนี้ข้ึนอยู่กับความเสียหายของร่างกาย
ธรรมชาตขิ องเชื้อโรคและบริเวณท่ีตดิ เชื้อ รวมทั้งสภาพโดยรวมของสุขภาพผู้ป่วย เชน่ โรคอาหารเปน็ พิษ
จาก staphylococcus aureus ใช้เวลาประมาณ 1 วัน โรคท่ีเกี่ยวกับระบบน้าเหลือง (lyme disease)
ใชเ้ วลาประมาณ 1 ปี

ในทุกระยะเชื้อโรคสามารถติดต่อไปสู่ผู้อื่นได้ คนส่วนใหญ่ไม่ระมัดระวัง แม้แต่ระยะฟักตัวของ
โรคและระยะพักฟืน้ กส็ ามารถตดิ ต่อไปสูผ่ อู้ ่ืนได้เช่นเดียวกนั

7.5 ชนิดของเช้อื โรค
จลุ นิ ทรยี ์ที่เปน็ สาเหตขุ องโรคในคนทสี่ าคญั มีหลายชนิด ได้แก่
1) แบคทีเรีย โรคท่ีเกิดจากเช้ือแบคทีเรีย ได้แก่ โรคกาฬโรค โรคท้องร่วงอย่างรุนแรง

(อหิวาตกโรค) โรคซิฟิลิส โรคหนองใน โรควัณโรค โรคปอดบวม โรคบิดไม่มีตัว โรคบาดทะยัก โรคเรื้อน
โรคแอนแทรกซ์ โรคฉีห่ นู ฯลฯ

2) รา หรือฟังไจ โรคท่ีเกิดจากเชอื้ รา ไดแ้ ก่ โรคกลาก โรคเกล้อื น โรคแอสเพอรจ์ ลิ โลซีส ฯลฯ
3) โปรโตซัว โรคท่เี กดิ จากเช้ือโปรโตซัว ไดแ้ ก่ โรคมาเลเรีย โรคบิดมตี วั โรคเหงาหลบั ฯลฯ
4) รกิ เกตเซีย โรคที่เกดิ จากเชือ้ รกิ เกตเซยี ไดแ้ ก่ โรครากสาดใหญ่ โรค Q-fever ฯลฯ
5) ไวรัส โรคท่ีเกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ โรคพิษสุนัขบ้า โรคเอดส์ โรคโปลิโอ ไข้หวัด โรคคางทูม
โรคอสี กุ อีใส โรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคตับอกั เสบ โรคไขเ้ ลือดออก ฯลฯ


Click to View FlipBook Version