The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ลายผ้าอัตลักษณ์ลำปาง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by สนง. วัฒนธรรม ลำปาง, 2022-11-01 05:16:14

ลายผ้าอัตลักษณ์ลำปาง

ลายผ้าอัตลักษณ์ลำปาง

ลายละกอนไส้ หมู

ลายผ้าอัตลักษณ์
จังหวัดลำปาง

บทนำ

จังหวัดลำปาง ได้ดำเนินการศึกษาสืบค้นและจัดทำข้อมูลลายผ้า

อัตลักษณ์ลำปางเพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของ

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง

ที่ทรงพระวิริยะอุตสาหะปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการส่งเสริมเรื่อง "ผ้า

ไทย” และสิ่งทอท้องถิ่น ที่เกือบสูญหายไปให้กลับมาได้รับการยอมรับอย่าง

แพร่หลาย ตลอดจนส่งเสริมยกระดับผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาทางด้าน

วัฒนธรรมให้มีความโดดเด่น สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และนำไปสู่การ

พัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชน ให้ดียิ่งขึ้น

โดยมีคณะกรรมการคัดเลือกลายผ้าอัตลักษณ์ลำปางซึ่งประกอบไป

ด้วยหัวหน้า ส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัดลำปางโดยมี นายสิธิชัย จินดา

หลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางเป็นประธาน พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้

เชี่ยวชาญ นักวิชาการเกี่ยวกับเรื่องผ้า และอาภรณ์ ของจังหวัดลำปาง และ

ดินแดนล้านนา ได้ทำการศึกษา และร่วมกันคัดเลือกลายที่เป็น อัต

ลักษณ์ของจังหวัดลำปาง เพื่อพัฒนาเป็นลายผ้าที่แสดงถึงความเป็นอัต

ลักษณ์ของจังหวัดลำปาง และสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ภูมิปัญญา

วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์อันโดดเด่น

ในโอกาสที่สมาคมแม่บ้านมหาดไทย ได้ขอพระราชทานพระราช
วโรกาสเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี โดยนำคณะที่ปรึกษา
คณะกรรมการบริหารสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด และ
นายกเหล่ากาชาดจังหวัด/ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด ทูลเกล้าฯ
ถวายผ้าลายประจำจังหวัด เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๓
มิถุนายน ๒๕๖๕ จังหวัดลำปางจึงได้จัดทำข้อมูลประวัติความเป็นมา เกี่ยว
กับลายผ้าอัตลักษณ์ลำปางขึ้น เพื่อประกอบการทูลเกล้าฯ ถวายผ้าลาย
ประจำจังหวัดลำปาง ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสมบูรณ์ต่อไป

จังหวัดลำปาง
มิถุนายน ๒๕๖๕

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง

สารบัญ

๑ ความเป็นมาของ ๑๙ ตัวอย่างผลงาน
จังหวัดลำปาง ในปัจจุบัน

๔ อัตลักษณ์ผ้าลำปาง ๒๒ ภาคผนวก

๘ ลายละกอนไส้หมู

๑๒ การประยุกต์ใช้
ลายละกอนไส้หมู

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง

จังหวัดลำปาง

จังหวัดลำปาง เป็นจังหวัดที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์มากว่า ๑,๓๐๐ ปี
ดังปรากฏหลักฐานกล่าวระบุชื่อของเมืองโบราณซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองมา
ตั้งแต่ยุคสมัยหริภุญชัย คือ เมืองเขลางค์นคร ต่อมาในยุคสมัยล้านนา ได้เปลี่ยนเป็น
เมืองนคร หรือ เมืองนครชัย และเมืองละกอน จนกระทั่งเข้าสู่ยุครัตนโกสินตอนต้น
จึงปรากฏใช้คำว่า ละกอนลำปาง หรือ นครลำปาง นอกจากนี้ยังพบตำนานท้องถิ่น
ที่กล่าวถึงชื่อเมืองอีกมากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นได้แก่ตำนานวัดศรีล้อมเวียงดิน ที่กล่าว
ถึงชื่อเมืองแห่งนี้ว่า “กุกกุฏนคร” แปลว่า เมืองไก่ซึ่งมีที่มาจากพระอินทร์ได้แปลง
กาย มาเป็นไก่ขาวเพื่อให้พระพุทธเจ้าตื่นบรรทมและออกบิณฑบาตร จึงเป็นที่มา
ของตราประจำจังหวัดลำปาง คือ “ไก่ขาว”

ตามตำนานกล่าวว่าเมืองเขลางค์นคร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๒๒๓ โดยสุพรหมฤาษี
เพื่อให้เจ้าอนันตยศ โอรสพระนางจามเทวีเป็นผู้ปกครองคู่กับเมืองหริภุญชัย
(ลำพูน) ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ได้ถูกผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของ
อาณาจักรล้านนา เป็นช่วงเวลากว่า ๒๐๐ ปี จนกระทั่งล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของ
พม่า ในช่วงปลาย พุทธศตวรรษที่ ๒๓ "เจ้าทิพย์ช้าง" ผู้เป็นวีรบุรุษในการกอบกู้
บ้านเมืองจากสงครามภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระยาสุลวะลือชัยสงคราม
ปกครองเมืองลำปาง ครองนครลำปางในปี พ.ศ. ๒๒๗๙ และเป็นต้นราชสกุลทิพย์
จักรวงศ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขับไล่พม่าออกจากล้านนา

ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๓ สมัยรัชกาลที่ ๕ อนุสาวรีย์เจ้าพ่อทิพย์ช้าง
ได้มีการปฏิรูปหัวเมืองล้านนาขึ้นใหม่โดยการจัด
ระเบียบการปกครองเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล ๑
โดยเมืองนครลำปางได้ขึ้นอยู่กับมณฑลพายัพซึ่ง
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้แยกเป็นมณฑลมหา
ราษฎร์ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ภายหลังได้มีประกาศ
ยกเลิกมณฑลทั่วราชอาณาจักร เมืองนครลำปาง
จึงมีฐานะเป็น "จังหวัดลำปาง" ตามพระราช
บัญญัติระเบียบบริหารราชการอาณา จักรสยาม
พ.ศ. ๒๔๗๖ เป็นต้นมา

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง

คำขวัญจังหวัดลำปาง ตราประจำจังหวัดลำปาง
ถ่านหินลือชา
รถม้าลือลั่น สัญลักษณ์รูปไก่ขาวยืนอยู่ในซุ้มประตูโขง
วัดพระธาตุลำปางหลวง อันมีที่มาจากตำนานเมือง
เครื่องปั้ นลือนาม
งามพระธาตุลือไกล วัดศรีล้อมเวียงดิน หรือตำนานกุกกุฏนคร
เป็นสัญลักษณ์สำคัญที่ปรากฏอยู่
ฝึกช้างใช้ลือโลก
ในดวงตราแผ่นดินในศาลากลางเมืองนครลำปาง
ตั้งแต่สมัยเริ่มเปลี่ยนที่ทำการเมืองจาก
"เค้าสนามหลวง" เป็นศาลากลาง
เมืองนครลำปางขึ้นในสมัยเริ่มสร้าง
ศาลากลางหลังแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒
ซุ้มประตูโขงที่วัดพระธาตุลำปางหลวง

เป็นศิลปกรรมล้านนาที่งดงามและสมบูรณ์
ที่สุดในภาคเหนือ นอกจากนี้

วัดพระธาตุลำปางหลวงยังเป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง
องค์พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ของพระพุทธเจ้า เป็นที่เคารพสักการะ
ของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก



ดอกไม้ประจำจังหวัดลำปาง ต้นไม้ประจำจังหวัดลำปาง
"ดอกธรรมรักษา" "ต้นขะจาว"

ธรรมรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก อวบน้ำ มีลำต้นใต้ดิน ต้นขะจาวเป็นไม้ยืนต้นสูง ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง
เรียกว่า เหง้า ลักษณะคล้ายกับกล้วย ลำต้นสูงประมาณ เปลือกสีน้ำตาลปนเทา มีต่อมระบายอากาศเป็นจุด
๒เมตร เจริญเติบโตโดยการแตกหน่อออกมาเป็น กลมเล็ก ๆ สีขาวมองเห็นได้ง่าย เรือนยอดเป็นพุ่ม
กอ ลักษณะใบคล้ายใบกล้วย เรียงสลับกัน มีสีเขียว ผิว รูปไข่กว้างค่อนข้างทึบ ใบเป็นใบเดี่ยวรูปรีป้อม
เรียบเป็นมัน โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ก้านใบมีขน
ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกขนาดเล็ก
ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ผลเป็นรูปโล่แบน มีปีกบางล้อมรอบ



อัตลักษณ์ผ้าลำปาง

ยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง :

จังหวัดลำปางกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย สื่อสะท้อนทางด้าน
ความนิยมของการแต่งกายของสตรีในราชสำนักสยาม ตั้งแต่ช่วงรัชกาลที่ ๕
เป็นต้นมา ซึ่งวัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีทั้งในราชสำนักและสตรีชาวบ้าน
มีการเปลี่ยนแปลงไปจากการนุ่งผ้าแถบและโจงกระเบนไปสู่การนุ่งเสื้อในแบบ
เสื้อแพรไหมลูกไม้ตัดแบบตะวันตกจนกระทั่งในช่วงรัชกาลที่ ๖ การแต่งกาย
เปลี่ยนแปลงไป สตรีในราชสำนักสยามมีความนิยมแต่งกายด้วยการนุ่งผ้าซิ่น
สวมเสื้อแพรโปร่งบาง ซึ่งเป็นรูปแบบที่เป็นพระราชนิยม โดยในช่วงนั้นการนุ่ง
ผ้าซิ่นของสตรีในราชสำนักสยามมักนิยมนุ่งผ้าซิ่นลายเชิงเป็นหลัก จะเห็นได้ว่า
ผ้าซิ่นล้านนาก็ยังคงแฝงอยู่ในวัฒนธรรมของราชสำนักสยามนับตั้งแต่ยุคสมัย
ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเรื่อยมา ทั้งยังมีการผสมผสานรูปแบบในการ
แต่งกายที่หลากหลายมากขึ้น เช่น มีการสวมชุดกิโมโนตามแบบญี่ปุ่นแต่นุ่งผ้า
ซิ่นต๋าแบบล้านนา หรือใช้ผ้าซิ่นแทนกระโปรงในรูปแบบของตะวันตก เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการนุ่งผ้าตีนจกของชาว
ล้านนา โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดลำบางนั้น คือ ความนิยมในการนุ่งซิ่นต๋า
มากกว่าการนุ่งผ้าซิ่นตีนจก

พระราชชายาเจ้าดารารัศมี สถานีรถไฟนครลำปาง
ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง


นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจ ยังส่งผลให้วัฒนธรรม
การแต่งกายมีการเคลื่อนตัวเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย จากเดิมที่มีการทอผ้าเพื่อใช้
ในครัวเรือน เมื่อมีเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามาอำนวยความสะดวกในเรื่อง
ของการทอให้ง่ายมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการค้าขายที่จากเดิมใช้เส้นทางการค้า
แบบวัวต่างม้าต่างและการล่องเรือ สู่ยุคของการใช้รถไฟเข้ามาอำนวยสะดวกใน
การขนส่งมากยิ่งขึ้น ในช่วงปี ๒๔๕๙ เส้นทางรถไฟสายเหนือได้เดินทางมาถึง
นครลำปาง ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายจากกรุงเทพมหานครเข้ามาสู่ท้องถิ่น
มากยิ่งขึ้น กระแสความนิยมของสินค้าและเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับรถไฟ
ส่งผลการลดบทบาทและความนิยมต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การ ที่จะนุ่ง
ตีนจกแบบดั้งเดิมเป็นเรื่องที่ยุ่งยากทำให้เสื่อมถอยความนิยมไป

ส่งผลให้คนหันมานิยมซิ่นตามากขึ้นจากเดิมที่เป็นแค่สีพื้น ๆ ที่ใส่ในชีวิต
ประจำวันกลายเป็นซิ่นที่สามารถใส่ออกงานได้ทุกโอกาส ปรับเปลี่ยนเพียงวัสดุ
ที่ใช้เท่านั้น เช่น หากอยู่ในบ้านอาจเป็นเพียงการนุ่งซิ่นผ้าฝ้ายทั่วไป แต่หากไป
ร่วมกิจกรรมสำคัญอาจเปลี่ยนเป็นชิ้นไหมแทน ความนิยมในการนุ่งซิ่นตีนจกจึง
ลดลง ผู้ทอหันมาทอผ้าซิ่นตามากยิ่งขึ้น ทำให้การถ่ายทอดในเรื่องของเทคนิค
การจกถูกเลือนหายไปขาดการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับรุ่นต่อไป

อัตลักษณ์แห่งผ้าของจังหวัดลำปาง

อัตลักษณ์แห่งผ้าของจังหวัดลำปางที่โดดเด่นประการหนึ่ง คือ ซิ่นตีนจกลำปาง
ทั้งนี้หลายคนคงนึกภาพไม่ออกว่าเป็นแบบไหน ซิ่นตีนจกลำปางนั้นแบ่งออกเป็นสอง
กลุ่ม คือ

๑. ซิ่นตีนจกที่ใช้ในราชสำนัก จะมี ๒. ซิ่นตีนจกที่ใช้ในกลุ่มชาวบ้านแถบ
ลักษณะคล้ายคลึงกับซิ่นตีนจกในราช ชานเมืองของลำปางนั้น จะมีความแตก
สำนักเชียงใหม่ เพราะลำปางและ ต่างจากซิ่นในราชสำนัก คือลวดลายบนดีน
เชียงใหม่นั้นมีความสัมพันธ์ทางเชื้อ จกจะไม่มีแบบแผนชัดเจน ขึ้นอยู่กับความ
สายราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซิ่นที่ใช้ในราช ชอบของผู้ทอ เน้นสีฉูดฉาด
สำนักของลำปางจึงนิยมสั่งทำจาก
เชียงใหม่เป็นหลักส่วน

แต่อย่างไรก็ตามลวดลายก็ยังมีเอกลักษณ์ของชาวไทยยวนตั้งเดิม
ที่มีจุดกำเนิดร่วมกันที่เมืองเชียงแสน

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๔

ซิ่นตีนจกลำปาง จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ
อ.ลอง จ.แพร่

ปัจจุบันซิ่นตีนจกของลำปางนับได้ว่าเป็นซิ่นตีนจกที่หาได้ยากที่สุด ผ้าซิ่นตีนจกที่เป็น
ผืนดั้งเดิมพบได้น้อยกว่าเมืองอื่น ๆ ในภาคเหนือ ผ้าซิ่นตีนจกลำปางนับได้ว่าเป็นผ้าซิ่นที่มี
เอกลักษณ์และมีความสวยงามเนื่องจากเป็นกลุ่มซิ่นที่ได้รับอิทธิพลทั้งจากเชียงแสนและจาก
ราชสำนักเชียงใหม่ โดยลวดลายส่วนใหญ่ของผ้าซิ่นรุ่นแรกนั้นจะอยู่ในกลุ่มซิ่นตระกูลเชียงแสน
โดยจะเน้นการจกลวดลายที่ไม่ค่อยถี่มากนักและจกบนผ้าพื้นสีแดงเป็นหลักและลดทอนในส่วน
ของเล็บซิ่นออกไป แตกต่างจากผ้าตีนจกของทางเชียงใหม่ที่จะจกลายให้ถี่จนเต็มเนื้อผ้า
นอกจากนี้เอกลักษณ์อีกประการหนึ่งของซิ่นตีนจกลำปางนั้นก็คือการจกลายที่เรียกว่าลาย
เครือกาบหมากหรือคั๊วะดอกเอื้อง ซึ่งเป็นกลุ่มลายที่พบในเขตพื้นที่เมืองลำปางและเมืองลอง
เท่านั้น เนื่องจากเมืองลองเป็นเมืองหนึ่งที่เคยขึ้นตรงต่อนครลำปางทำให้กลายเป็นแหล่งทอ
ตีนจกที่สำคัญให้กับเมืองลำปางตั้งแต่อดีตและได้มีการพัฒนาต่อยอดมาเรื่อย ๆ

เนื่องด้วยเป็นซิ่นที่ไม่ได้ใช้สวมใส่ในชีวิตประจำวันแต่จะใช้ในโอกาสพิเศษสำคัญเท่านั้น
ทำให้ไม่ได้มีการทอขึ้นบ่อย ๆ ขาดการสืบทอดและค่อย ๆ สูญหายไป

“ซิ่นตีนจกของลำปางนับได้ว่าเป็นตีนจกที่หายากที่สุด
ของเก่าพบได้น้อยมากกว่าเมืองอื่นมีความเป็นเอกลักษณ์และ
สวยงาม รุ่นแรกจะเป็นตีนจกตระกูลเชียงแสน และพัฒนามาเป็น

รุ่นต่อ ๆ มา เอกลักษณ์สำคัญของตีนลำปาง คือ
ลายเครือกาบหมาก หรือคั๊วะดอกเอื้อง

เมืองลองเป็นเมืองหนึ่งที่ขึ้นต่อนครลำปาง
เป็นแหล่งทอตีนจกให้กับลำปางในอดีตจนถึงปัจจุบัน”

ที่มา : ซิ่นตีนจกละกอน (ลำปาง) โดยบัวติ๊บ ผ้าซิ่นตีนจกเมืองลอง

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๕

อาจกล่าวได้ว่ารูปแบบเอกลักษณ์ของผ้าซิ่นลุ่มแม่น้ำปิงและวัง มีลักษณะ
ร่วมกันอยู่หลายประการภายใต้วัฒนธรรมไทยวน อีกทั้งมีความสัมพันธ์ของสังคม
และเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน หากแต่ในแต่ละท้องถิ่นยังสามารถสร้างความโดดเด่น
ในรายละเอียดของสีสัน ลวดลาย ตลอดจนเทคนิคการทอที่สลับซับซ้อนแตกต่างกันไป
นอกจากนี้ยังมีพัฒนาการของรูปแบบที่ได้รับความนิยมในแต่ละยุคสมัยแตกต่างกัน
อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการผลิตที่ได้ถดถอยในบาง
รูปแบบจนเลิกผลิตไปในที่สุด อีกทางหนึ่งก็ได้กลายเป็นวัตถุที่สูงค่าในความเป็น
โบราณวัตถุประเภทสิ่งทอที่มีความต้องการของผู้สนใจและสะสมของเก่า ถึงกระนั้น
สาเหตุดังกล่าวยังจะได้ผลักดันให้เกิดการผลิตซ้ำในงานสิ่งทอที่อิงอยู่กับรูปแบบ
ดั้งเดิมที่เคยมีการสร้างงานในท้องถิ่น ต่าง ๆ ขึ้นมาอีกวาระหนึ่งจึงนับได้ว่าในรอบ
สามทศวรรษที่ผ่านมานี้ การสืบสานงานสิ่งทอแพรพรรณในล้านนาได้มีการฟื้ นฟูและ
เผยแพร่กลับคืนขึ้นมาโดยกลุ่มช่างผู้ผลิต กลุ่มผู้บริโภคหน้าใหม่ ๆ จากผลงานของ
การสนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชน อีกทั้งคุณูปการของสื่อแขนงและประเภทต่าง ๆ
รวมถึงการสื่อสารที่ก้าวล้ำทัน สมัยในโลกดิจิตอลในเวลานี้

ลายตีนจกนครลำปาง
ที่มา : อาจารย์วิถี พานิชพันธ์ และ
พิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ อ.ลอง จ.แพร่

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๖

รูปแบบของซิ่นตีนจกนครลำปาง

รูปแบบของซิ่นตีนจกเมืองลำปางแม้จะมีลักษณะที่คล้ายกับเชียงใหม่ ลำพูน แต่ก็มีอัตลักษณ์
ที่แตกต่างออกไป เช่น การใช้สีซึ่งหากเป็นจกของเจ้านายจะใช้สีที่เหมือนกับแบบราชสำนัก
เชียงใหม่ แต่หากเป็นจกของชาวบ้านโดยทั่วไปจะมีการใช้ไหมล้วนและไหมผสมที่มีลักษณะ
โดดเด่น

ซิ่นตีนจกลำปาง จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ การเล่นสีในการจกซึ่งขึ้นอยู่กับความ
อ.ลอง จ.แพร่ พอใจของผู้ทอ สามารถปรับเปลี่ยนสีได้
ตามความชอบหรือความต้องการของ
ผู้ทอเอง โดยไม่ได้คำนึงถึงรูปแบบสี
ว่าจะต้องเหมือนกันตั้งแต่ต้นจนจบ
ซึ่งจะไม่พบเทคนิคการทอในลักษณะนี้
ในกลุ่มวัฒนธรรมอื่น นอกจากนี้ยังมีสี
ที่มักนิยมนำมาจกในผ้าของกลุ่มผ้าซิ่น
ลำปางมักจะเป็นสีน้ำเงิน คราม และ
สีเขียว(เขียวมะกอก) ซึ่งทำให้ลวดลาย
มีสี่สันที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ถือได้ว่า
เป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจนของซิ่นตีนจก
ลำปางอีกประการหนึ่ง โครงสร้างของ
รูปแบบการจกส่วนใหญ่จะเน้นการจก
ลายโคม ลายขัน และลายนกหรือลาย
หงส์กินน้ำร่วมต้น ลวดลายมีขนาดใหญ่
เนื่องจากลดทอนลายเครือให้มีขนาด
ลดลงเพื่อเพิ่มเนื้อที่ให้กับลายหลัก
ซึ่งถือเป็นโครงสร้างหลักในการจกลาย
ของผ้าซิ่นตีนจกลำปาง เอกลักษณ์
ที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งของซิ่นตีนจก
ลำปางที่ไม่เหมือนที่อื่นคือ ตัวซิ่นซึ่งโดย
ปกติจะเป็นซิ่นเหลืองละกอน ยังมีการ
ใช้สีที่เป็นคู่สีพิเศษกว่าเมืองอื่นโดยจะใช้
สีเขียวและสีแดง โดยให้สีแดงเป็นสีพื้น
และทอขวางด้วยสีเขียว ซึ่งเป็นความ
นิยมในกลุ่มผ้าซิ่นลำปาง

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๗

ลายละกอนไส้หมู

ลายอัตลักษณ์นครลำปาง

สัตภัณฑ์ลายละกอนไส้หมู ๘
วัดน้ำโจ้ ต.น้ำโจ้ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง

ลายละกอนไส้หมู

ลายไส้หมู ถือเป็นหนึ่งในกลุ่ม ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานที่มาของลาย
ลวดลายที่แสดงเอกลักษณ์ของศิลปะ ไส้หมูที่แน่ชัด แต่หลักฐานเก่าแก่ พบว่า
ลำปางอย่างชัดเจน ลายไส้หมูจัดอยู่ใน ลวดลายดังกล่าวเป็นที่นิยมในช่วงสมัย
กลุ่มลายขี้เมฆ หรือลายเมฆไหล ซึ่งเป็น เจ้าหลวงวรญาณรังสี หรือราวปลายพุท
เป็นกลุ่มลายที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะ ธศตวรรษที่ ๒๔ ถึงช่วงต้นพุทธศตวรรษ
แบบจีนที่เข้ามามีบทบาทอิทธิพลต่อ ที่ ๒๕ เป็นต้นมา ซึ่งในยุคดังกล่าว
รูปแบบศิลปะล้านนาและได้มีพัฒนาการ ถือเป็นยุคที่งานศิลปกรรมลำปางเจริญ
จนกลายเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตน จาก รุ่งเรืองเป็นอย่างมากโดยเฉพาะการ
รูปลักษณ์ของลวดลายในการขดม้วน ทำนุบำรุงพุทธศาสนา ส่งผลให้ลวดลาย
ไปมาในกรอบลายรูปแบบต่าง ๆ ถูก ไส้หมูไปปรากฏอยู่ตามอาคารศาสนสถาน
มองว่ามีรูปลักษณ์คล้ายกันกับไส้หมู โดยใช้ตกแต่งอาคารและเสนาสนะต่างๆ
แต่บทบาทการใช้งาน รวมถึง ภายในวัด อาทิ วิหาร อุโบสถ ธรรมมาสน์
สัญลักษณ์ที่ปรากฏยังคงอยู่ในบริบท อาสนะจองสังฆ์ สัตภัณฑ์ เป็นต้น
ของลายเมฆไหลเหมือนเดิม โดยพบการ
ใช้ลวดลายไส้หมูในพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำ
วังตั้งแต่ เขตพื้นที่อำเภอวังเหนือ ล่อง
ลงมา จนถึงพื้นที่เขตอำเถอเถินและ
แม่พริก นอกจากนี้ ยังพบหลักฐาน
ลวดลายไส้หมูปรากฏอยู่ในพื้นที่ชุมชน
อื่น ๆ ในจังหวัดพะเยา เชียงราย ซึ่ง
กลุ่มเหล่านี้ล้วนมีที่มาของชุมชนที่เชื่อม
โยงกับจังหวัดลำปางมาแต่ครั้งอดีตโดย
เฉพาะการอพยพโยกย้ายของผู้คนชาว
ลำปาง ในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๕
เป็นต้นมา หรืออำเภอลองและอำเภอวัง
ชิ้นเคยเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัด
ลำปางมาก่อนส่งผลให้ศิลปะและ
วัฒนธรรมรวมถึงร่องรอยลวดลายใส้หมู
ยังคงตกค้างอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวด้วย

ลายละกอนไส้หมู
หน้าบันวิหารวัดประตูป่อง อ.เมือง จ.ลำปาง

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๙

รูปแบบลวดลายส่วนใหญ่มักจะปรากฏกเป็นงานเทคนิคไม้แกะสลักปิดทอง
และงานไม้แกะสลักประดับกระจก นอกจากนี้ยังพบลายใส่หมูในรูปแบบลายคำ และ
งานปูนปั้ นประดับงานพุทธศิลป์ ซึ่งพบจำนวนไม่มากนัก นอกจากการนำไปใช้ประดับ
อาคารในพุทธศาสนาแล้วนี้ยังพบว่ามีการนำไปใช้ประดับอาคารบ้านเรือน โดยเฉพาะไม้
แกะสลักเหนือบานประตูของเรือนที่เรียกว่า หำยนต์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่ ส่วน
บุคคลภายในเรือนแบบล้านนาโบราณ ซึ่งเรือนในพื้นที่จังหวัดลำปางนั้นพบว่านิยมใช้
ลายใส้หมูในการแกะสลักเพื่อใช้เป็นหำยนต์เป็นจำนวนมากอีกทั้งการนำมาใช้ในการ
ตอกดุนลายเครื่องเงินแบบโบราณ เป็นตลับ พาน หรือข้าวของเครื่องใช้อื่น ๆ อีกด้วย

ลายละกอนไส้หมู
หน้าบันวิหารวัดเหล่าหลวง อ.เถิน จ.ลำปาง

ปัจจุบัน ยังสามารถพบลวดลายใส้หมูได้ตามโบราณสถานทั่วไปที่ยังคงเก็บรักษา
ตัวอาคารโบราณหรือชิ้นส่วนอาคารโบราณไว้เป็นจำนวนมาก อาทิ ลวดลายไส้หมู
บริเวณโก่งคิ้ววิหารวัดประตูป่อง สัตภัณฑ์ลายใส้หมูของวัดปงสนุกเหนือ และปงสนุกใต้
หรือวิหารลายไส้หมู่ที่วัดทุ่งม่านเหนือ ลายใส้หมูจากหำยนต์คุ้งเจ้าหลวงบุญวาทย์ ที่เก็บ
รักษาไว้ที่วัดเชียงราย และไม้แกะลายไส้หมูประดับอาคารในพิพิธภัณฑ์วัดพระแก้ว
ดอนเต้าสุชาดาราม อำเภอเมืองลำปาง วิหารลายไส้หมูที่สวยงามของวัดเหล่าหลวง
และวัดนาบ้านไร่ อำเภอเถิน หรืองานไม้แกะสลักหำยนต์ลายใส้หมูจากเรือนโบราณที่มี
ผู้นำมาบริจาคไว้ภายในพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุลำปางหลวง พิพิธภัณฑ์วัดพระเจดีย์ซาว
หลัง พิพิธภัณฑ์วัดพระเจ้าทันใจ เป็นต้น

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๑๐

ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง

1. รัฐบาลโดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายสืบสานงานศิลปวัฒนธรรมของ

ชาติตามพระราชปณิธาน ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรม

ราชชนนีพันปีหลวงในการส่งเสริมการใช้ผ้าไทย ผ้าพื้นถิ่นและการรณรงค์ส่งเสริมอัต

ลักษณ์ ความเป็นไทย พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการสืบสานงานศิลป

วัฒนธรรม ของชาติ อนุรักษ์ฟื้ นฟูผ้าทอชนิดต่าง ๆ ทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม ตลอดจน

ทรงส่งเสริมการผลิตการแปรรูป และจำหน่ายผ้าไทย ทำให้ประชาชนและชุมชนมีรายได้

มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่มีศักยภาพโดยเฉพาะ

การพัฒนาผ้าไทย การออกแบบลวดลายและแฟชั่น เพื่อยกระดับผ้าไทยสู่สากล

ภายใต้วิสัยทัศน์ “วัฒนธรรม ทำดี ทำงาน ทำเงิน” เพื่อส่งเสริมให้วัฒนธรรมสร้าง

เศรษฐกิจฐานราก สร้างงาน สร้าง รายได้แก่ชุมชนและประเทศ

จังหวัดลำปาง โดยคณะกรรมการคัดเลือกลายผ้าอัตลักษณ์ลำปางซึ่งประกอบไปด้วย
หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัดลำปางโดยมีนายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัด
ลำปาง เป็นประธาน พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการเกี่ยวกับเรื่องผ้า และ
อาภรณ์ของจังหวัดลำปาง และดินแดนล้านนา อาทิ อาจารย์วิถี พานิชพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน
ผ้าอัตลักษณ์ลำปาง อาจารย์โกมล พานิชพันธ์ เจ้าของพิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ และ ผู้
เชี่ยวชาญด้านเครื่องแต่งกายและอาภรณ์ล้านนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์เธียรชาย อักษรดิษฐ์ ผู้
เชี่ยวชาญด้านผ้าอัตลักษณ์ล้านนา และอาจารย์สิทธิพันธุ์ เหรา ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่อง แต่ง
กายและอาภรณ์ล้านนา ได้ทำการศึกษา และร่วมกันคัดเลือกลายที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด
ลำปาง เพื่อพัฒนาเป็นลายผ้าที่แสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดลำปาง และสะท้อน
ให้เห็นถึงวิถีชีวิต ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์อันโดดเด่น

ดังนั้น ลายละกอนไส้หมู จึงเหมาะสมในการเป็นลายอัตลักษณ์ของจังหวัดลำปาง
เป็นลวดลายของสกุลช่างลำปางที่ปรากฏเฉพาะในเขตลุ่มน้ำวัง ลักษณะของลวดลายต่อ
เนื่องตลอดชิ้นงาน ไม่ขาดช่วง และยังสามารถเลื่อนไหล ปรับรูปแบบให้มีความเป็นสากล
และร่วมสมัย สามารถนำไปใช้ต่อยอดในการผลิตผ้าได้หลากหลายเทคนิควิธี อาทิ เทคนิค
การจก การพิมพ์ลาย การปักทอ การมัดย้อม รวมถึงพัฒนาลวดลายให้สามารถนำไปใช้กับ
ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้

นอกจากนั้นแล้ว ยังได้มีการกำหนดสีอัตลักษณ์ลำปาง คือ สีแดงครั่ง สีเขียว
มะกอก และสีดินภูเขาไฟ ซึ่งสีแดงครั่งและสีเขียวมะกอก เป็นสีที่นิยมใช้บนผืนผ้าของจังหวัด
ลำปางมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากจังหวัดลำปางเป็นแหล่งปลูกครั่งจำนวนมาก และมีดินจาก
ภูเขาไฟแฝด คือ ภูเขาไฟดอยผาคอก-จำปาแดด และผาคอก-หินฟู ซึ่งไม่เหมือนที่ใดใน
ประเทศไทยอีกด้วย

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๑๑

การประยุกต์ใช้ลายละกอนไส้หมู

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๑๒

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๑๓

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๑๔

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๑๕

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๑๖

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๑๗

ออกแบบโดย ยุจเรศ สมมา ๑๘

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง

ตัวอย่างผลงานในปัจจุบัน

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๑๙

ลายละกอนไส้หมูในเครื่องเงินล้านนา

ลายละกอนไส้หมูที่ประดับบานประตูห้องนอนเจ้าบุญวาทย์วงศ์วานิตย์

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๒๐

ผ้าลายละกอนไส้หมูที่ทูลเกล้าฯ ถวาย

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๒๑

ภาคผนวก

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๒๒

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๒๓

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๒๔

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๒๕

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๒๖

ลายละกอนไส้หมู : ลายผ้าอัตลักษณ์จังหวัดลำปาง ๒๗


Click to View FlipBook Version