The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หลักเศรษฐกิจพอเพียง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Nuttaporn Monthein, 2021-11-09 04:30:37

หลักเศรษฐกิจพอเพียง

หลักเศรษฐกิจพอเพียง

หลักเศรษฐกจิ พอเพยี ง

ศศนิ า เสอื อนิ โท 6112404001163
ณฐั ภรณ์ มณเทียร 6112404001169

จริยา เตียซิว 6112404001183
กลุม่ เรียน 61057.122

รายงานฉบับนี้เป็นสว่ นหน่งึ ของการศึกษาวชิ าสารสนเทศเพื่อการศึกษาคน้ ควา้
ภาคเรยี นที่ 1 ปกี ารศึกษา 2564
มหาวทิ ยาลัยราชภัฏสุราษฎรธ์ านี



คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า โดยจุดประสงค์เพ่ือ
การศึกษาหาความรู้ในการพัฒนาความรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พระราชดำริว่าด้วย
เศรษฐกิจพอเพียง ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนว
พระราชดำริ ประเทศไทยกับเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริพอเพียง และ
ตวั อย่างเศรษฐกจิ พอเพียง ผู้จดั ทำ ได้เลอื กหัวขอ้ นใี้ นการทำงาน เน่ืองจากเปน็ เรอ่ื งทน่ี ่าสนใจ รวมถงึ
เป็นการส่งเสริมแล้ว เผยแพร่ข้อมูลของหลักเศรษฐกิจพอเพียง ให้เยาวชนได้รู้จักและอนุรักษ์ไว้สืบ
ทอดตอ่ ไป

ในการจัดทำรายงาน ประกอบสื่อประเภทต่างๆ ผู้จัดทำขอขอบคุณผู้ให้ความรู้ และแนวทาง
การศึกษา เพื่อนๆ ทกุ คนทีใ่ ห้ ความช่วยเหลือมาโดยตลอด ผู้จัดทำหวงั ว่ารายงานฉบับน้ีจะให้ความรู้
และเปน็ ประโยชนแ์ กผ่ ู้อา่ นทุกๆ ทา่ น

คณะผู้จัดทำ

สารบญั ข

เร่อื ง หน้า

คำนำ ก
สารบัญ ข
สารบัญรปู ภาพ ค
สารบัญตาราง ง
ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง 1
พระราชดำริวา่ ด้วยเศรษฐกจิ พอเพยี ง 2
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพยี ง 2
2
ความพอประมาณ 2
ความมีเหตผุ ล 2
ภมู คิ ุ้มกนั 3
เงอื่ นไขความรู้ 3
เง่ือนไขคุณธรรม 3
เศรษฐกจิ พอเพียงกับทฤษฎใี หม่ตามแนวพระราชดำริ 5
ประเทศไทยกบั เศรษฐกจิ พอเพียง 5
การดำเนนิ ชวี ติ ตามแนวพระราชดำริพอเพียง 6
ตวั อยา่ งเศรษฐกิจพอเพียง 6
ทฤษฎใี หม่ คือ 7
ความสำคญั ของทฤษฎีใหม่ 7
ทฤษฎีใหมข่ น้ั ต้น 7
ทฤษฎีใหมข่ ัน้ สอง 8
ทฤษฎใี หม่ขั้นสาม 8
หลักการและแนวทางสำคัญ 12
บรรณานกุ รม

สารบญั รูปภาพ ค

ภาพที่ หน้า

1.ความหมายเศรษฐกิจพอเพียง 3
2.ทฤษฎใี หม่ 6

หลกั เศรษฐกิจพอเพยี ง

1.ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง

"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะ
แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชายไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์
ทางเศรษฐกจิ และเมอ่ื ภายหลงั ได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพ่ือใหร้ อดพน้ และสามารถดำรงอยู่ได้
อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เศรษฐกิจพอเพียง เป็น
ปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับ
ชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะ
การพฒั นาเศรษฐกจิ เพ่ือให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภวิ ัตน์ ความพอเพียงหมายถงึ ความพอประมาณ ความ
มเี หตุผล รวมถึงความจำเปน็ ที่จะต้องมีระบบภูมคิ ุ้มกนั ในตวั ท่ดี พี อสมควรต่อการมี ผลกระทบใดๆ อัน
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรู้ ความรอบคอบ และความ
ระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และ
ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าท่ีของรัฐ นักทฤษฎีและ
นักธรุ กิจในทกุ ระดบั ใหม้ ีสำนกึ ในคณุ ธรรม ความซื่อสตั ยส์ จุ รติ และใหม้ ีความรอบรู้ท่ีเหมาะสม ดำเนนิ
ชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลก
ภายนอกได้เป็นอยา่ งดี

ต่างชาติ และดำรงเอกราชอยู่ได้ ซึ่งส่วนหนึ่งคือ การเปิดเสรีการค้ากับต่างประเทศมากข้ึน
ส่งผลให้ข้าวกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญของไทย รัฐบาลต้องขยายพื้นที่เพาะปลูก เพิ่มปริมาณ
ผลผลติ ข้าวในเขตพ้ืนทร่ี าบลมุ่ แม่น้ำเจ้าพระยา ท่ีมีความอุดมสมบรู ณ์มากที่สุดปจั จบุ นั การปลูกข้าวใน
ประเทศไทย คงมเี พยี งขา้ วเมล็ดป้อมท่ีพบมากในภาคเหนือ และภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ ขณะท่ีข้าว
เมลด็ ยาว พบมากในภาคกลางและภาคใต้ ทีม่ ีความอดุ มสมบูรณ์มากที่สุด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี
พ้นื ท่ปี ลูกข้าว คดิ เป็น 45 % ของพื้นท่ีเพาะปลูกทั้งประเทศ สว่ นใหญ่ปลกู ขา้ วหอมมะลิ 105 ซึ่งเป็น
ข้าวคุณภาพดีที่สุดของโลก ข้าวที่ปลูกในพื้นที่แถบนี้จึงมักปลูกไว้เพื่อขาย รองลงมาคือ ภาคกลาง
และภาคเหนือ ที่พื้นที่เพาะปลูกเท่ากันประมาณ 25% ทุกวันนี้ไทยเป็นแหล่งปลูกข้าวที่ผลิตออกสู่
ตลาดโลกมากที่สดุ และเป็นศนู ย์กลางของการศกึ ษาวิจยั พันธขุ์ า้ วซ่ึงแสดงใหเ้ ห็นถึงบทบาทของผู้สร้าง
ตำนานแหง่ อารยธรรมธญั ญาหาร ของมนุษยชาติ

2

2.พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกจิ พอเพียง

“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน
พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลัก
วิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความ
เจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจข้ันท่ีสงู ขน้ึ โดยลำดับตอ่ ไป...”

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทาน
มานานกว่า 30 ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบน
พื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้าง
ภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้อง
มี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซง่ึ จะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชวี ติ อยา่ งแทจ้ รงิ

พระบรมราโชวาทนี้ ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็น
หลักแต่ เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ใน
เบ้อื งตน้ ก่อน เมอื่ มพี ้ืนฐานความม่นั คงพรอ้ มพอสมควรแลว้

3.ความหมายของเศรษฐกจิ พอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ

1.) ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีท่ีไม่น้อยเกนิ ไปและไม่มากเกนิ ไป โดยไม่เบียดเบยี น
ตนเองและผ้อู ่นื เชน่ การผลติ และการบรโิ ภคท่ีอยใู่ นระดับพอประมาณ
2.) ความมีเหตุผล หมายถึง การตดั สนิ ใจเกย่ี วกับระดับความพอเพยี งน้ัน จะต้องเป็นไปอยา่ งมี
เหตุผล โดยพจิ ารณาจากเหตุปจั จยั ทเ่ี ก่ยี วข้อง ตลอดจนคำนงึ ถงึ ผลทคี่ าดว่าจะเกดิ ข้นึ จากการกระทำ
นนั้ ๆ อย่างรอบคอบ
3.) ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะ
เกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเปน็ ไปได้ของสถานการณต์ ่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตโดยตรง ต่อมา
กลายเปน็ กระทรวงพานิชการในสมยั รชั กาลท่ี 5 และเป็นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบนั ข้าว
ในวิถีชีวิตของคนไทยนั้นผูกพันธ์กันมาช้านาน ก่อให้เกิดวัฒนธรรม ขึ้นอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นใน
เรื่องของภาชนะ อาหาร พิธีกรรมต่างๆ ซึ่งนับว่าข้าวมจี ติ วิญญาณในการดำรงชีวติ ตามวิถีไทย เครื่อง
ไม้ เครือ่ งมอื ตา่ งๆ ตามภมู ปิ ญั ญาดั้งเดิม มคี วามเชื่อในดา้ นพธิ ีกรรม ในการทำนาคร้ังแรกในบางพื้นที่
ยงั มพี ิธกี รรม ตามความเชื่อดั้งเดมิ

3

โดยมี เงอ่ื นไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อย่ใู นระดับพอเพียง ๒ ประการ ดงั นี้
4.) เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความ
รอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความ
ระมัดระวังในการปฏบิ ัติ
5.) เงือ่ นไขคณุ ธรรม ท่ีจะตอ้ งเสริมสร้าง ประกอบดว้ ย มคี วามตระหนักใน คุณธรรม มีความซ่ือสัตย์
สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใชส้ ติปัญญาในการดำเนนิ ชีวติ

ภาพที่ 1 ความหมายของเศรษฐกจิ พอเพยี ง
ที่มา https://www.hii.or.th/wiki84/index.php?title

4.เศรษฐกจิ พอเพยี งกับทฤษฎใี หมต่ ามแนวพระราชดำริ

เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่
ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผัน
แปรของธรรมชาติ หรือการ เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่างๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมี
เหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซง่ึ
กนั และกนั และความสามัคคี

4

เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบ
แนวคดิ ทช่ี บ้ี อกหลกั การและแนวทางปฏบิ ัตขิ องทฤษฎีใหม่ ในขณะท่ี แนวพระราชดำรเิ กี่ยวกับทฤษฎี
ใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่าง
การ ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพืน้ ที่ที่เหมาะสม ทฤษฎีใหม่ตาม
แนวพระราชดำริ อาจเปรยี บเทยี บกับหลกั เศรษฐกิจพอเพียง ซง่ึ มอี ยู่ 2 แบบ คือ แบบพนื้ ฐานกบั แบบ
กา้ วหนา้ ได้ดงั นี้

ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบ
พื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกร ที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่ง
น้ำฝนและประสบความเส่ียงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แมก้ ระทั่งสำหรบั การปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมี
ข้อสมมติว่า ท่ีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าว จากการแก้ปัญหาความเสี่ยง
เรื่องน้ำจะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่นๆ
สนองความตอ้ งการพื้นฐานของครอบครวั รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ทีจ่ ะใช้เป็นค่าใช้จา่ ย
อื่นๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว
อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจาก
ชุมชน ราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับ
องค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการ
สนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่างๆ รวมตัวกันในลักษณะ
เครือข่ายวิสาหกิจ กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่างๆ มีความพอเพียงขั้น
พื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของ
การไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะ
สามารถทำให้ ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวสิ าหกิจนน้ั ๆ เกิดความพอเพียงในวถิ ปี ฏบิ ตั อิ ย่างแทจ้ ริง

ความพอเพยี งในระดับประเทศ เปน็ เศรษฐกิจพอเพยี งแบบก้าวหน้า ซง่ึ ครอบคลุมทฤษฎีใหม่
ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่าววิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ในประเทศ เช่น
บรษิ ัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบนั วิจยั เป็นต้น

5

5.ประเทศไทยกับเศรษฐกจิ พอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้ผู้ผลิต หรือผู้บริโภค พยายามเริ่มต้นผลิต หรือบริโภคภายใต้
ขอบเขต ข้อจำกัดของรายได้ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ไปก่อน ซึ่งก็คือ หลักในการลดการพึ่งพา เพิ่มขีด
ความสามารถในการควบคุมการผลิตได้ด้วยตนเอง และลดภาวะ การเสี่ยงจากการไม่สามารถควบคมุ
ระบบตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เศรษฐกิจพอเพียงมิใช่หมายความถึง การกระเบียดกระเสียนจน
เกินสมควร หากแต่อาจฟุ่มเฟือยได้เป็นครั้งคราวตามอัตภาพ แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศ มักใช้จ่าย
เกินตัว เกินฐานะที่หามาได้ เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปสู่เป้าหมายของการสร้างความมั่นคง
ในทางเศรษฐกจิ ได้ เช่น โดยพ้ืนฐานแล้ว ประเทศไทยเปน็ ประเทศเกษตรกรรม เศรษฐกิจของประเทศ
จึงควรเน้นท่ีเศรษฐกิจการเกษตร เน้นความมั่นคงทางอาหาร เป็นการสร้างความมั่นคงให้เป็นระบบ
เศรษฐกิจในระดับหนึ่ง จงึ เป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดความเส่ียง หรอื ความไม่ม่ันคงทางเศรษฐกิจใน
ระยะยาวได้ เศรษฐกิจพอเพยี ง สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ทกุ สาขา ทุกภาคของเศรษฐกิจ ไม่
จำเป็นจะตอ้ งจำกดั เฉพาะแตภ่ าคการเกษตร หรอื ภาคชนบท แม้แตภ่ าคการเงนิ ภาคอสงั หาริมทรัพย์
และการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ โดยมีหลักการที่คล้ายคลึงกันคือ เน้นการเลือกปฏิบัติอย่าง
พอประมาณ มเี หตุมผี ล และสร้างภูมิคุ้มกนั ใหแ้ ก่ตนเองและสงั คม

6.การดำเนนิ ชวี ติ ตามแนวพระราชดำรพิ อเพียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าใจถึงสภาพสังคมไทย ดังนั้น เมื่อได้พระราชทานแนว
พระราชดำริ หรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคำนึงถึงวิถีชีวิต สภาพสังคมของประชาชน
ดว้ ย เพ่อื ไมใ่ ห้เกดิ ความขัดแยง้ ทางความคดิ ที่อาจนำไปสคู่ วามขัดแยง้ ในทางปฏิบัติได้
แนวพระราชดำริในการดำเนินชวี ติ แบบพอเพยี ง
1. ยึดความประหยดั ตดั ทอนคา่ ใช้จ่ายในทกุ ดา้ น ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชวี ิต
2. ยดึ ถือการประกอบอาชีพด้วยความถกู ต้อง ซ่ือสตั ย์สจุ รติ
3. ละเลิกการแกง่ แยง่ ผลประโยชน์และแขง่ ขันกนั ในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
4. ไม่หยุดนิ่งทีจ่ ะหาทางใหช้ ีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝห่ าความรู้ให้มรี ายได้
เพมิ่ พูนขนึ้ จนถึงขั้นพอเพียงเปน็ เปา้ หมายสำคญั
5. ปฏิบตั ิตนในแนวทางทด่ี ี ลดละสงิ่ ชว่ั ประพฤตติ นตามหลกั ศาสนา

6

7.ตวั อย่างเศรษฐกจิ พอเพยี ง

1.) ทฤษฎีใหม่ คือ ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงที่เด่นชัด
ทส่ี ุด ซ่งึ พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยูห่ วั ได้พระราชทานพระราชดำรินี้ เพอ่ื เปน็ การชว่ ยเหลอื เกษตรกรท่ี
มักประสบปัญหาทั้งภัยธรรมชาติและปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการทำการเกษตร ให้สามารถ
ผา่ นพ้นชว่ งเวลาวกิ ฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไมเ่ ดือดรอ้ นและยากลำบากนัก

ความเสีย่ งทเี่ กษตรกร มกั พบเปน็ ประจำ ประกอบดว้ ย
1. ความเส่ยี งด้านราคาสินค้าเกษตร
2. ความเสี่ยงในราคาและการพ่ึงพาปจั จยั การผลติ สมัยใหม่จากต่างประเทศ
3. ความเสี่ยงด้านนำ้ ฝนทิง้ ชว่ ง ฝนแล้ง
4. ภัยธรรมชาติอน่ื ๆ และโรคระบาด
5. ความเสี่ยงด้านแบบแผนการผลิต
6. ความเสยี่ งด้านโรคและศัตรพู ืช
7. ความเส่ียงด้านการขาดแคลนแรงงาน
8. ความเสี่ยงด้านหนีส้ ินและการสูญเสยี ท่ดี ิน
ทฤษฎใี หม่ จึงเปน็ แนวทางหรอื หลกั การในการบรหิ ารการจัดการท่ีดินและนำ้ เพื่อการเกษตร
ในที่ดินขนาดเลก็ ให้เกดิ ประโยชน์สูงสุด

ภาพที่ 2 ทฤษฎีใหม่
ทมี่ า https://www.hii.or.th/wiki84/index.php?title

7

2.) ความสำคัญของทฤษฎใี หม่

1. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็กออกเป็นสดั ส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของ
เกษตรกรซ่ึงไม่เคยมีใครคดิ มาก่อน

2. มีการคำนวณโดยใช้หลักวิชาการเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียงต่อการ
เพาะปลูกไดอ้ ยา่ งเหมาะสมตลอดปี

3. มีการวางแผนท่ีสมบูรณแ์ บบสำหรบั เกษตรกรรายยอ่ ย โดยมถี ึง 3 ขน้ั ตอน

3.) ทฤษฎใี หมข่ ้นั ต้น

ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 ซึ่งหมายถึง พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง
ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง
ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้
เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็น
อาหารประจำวัน หากเหลอื บรโิ ภคก็นำไปจำหน่าย พ้ืนทีส่ ว่ นทสี่ ่ี ประมาณ 10% เป็นทอ่ี ยู่อาศัย เล้ียง
สัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรอื นอน่ื ๆ

4.) ทฤษฎใี หม่ขน้ั ทส่ี อง

เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง
คอื ให้เกษตรกรรวมพลงั กันในรูป กลุ่ม หรอื สหกรณ์ รว่ มแรงรว่ มใจกนั ดำเนินการในดา้ น

1. การผลติ (พนั ธพ์ุ ชื เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ) เกษตรกรจะตอ้ งร่วมมือในการผลิต โดยเร่ิม ต้ังแต่
ข้ันเตรียมดิน การหาพนั ธพ์ุ ืช ปยุ๋ การจัดหาน้ำ และอ่ืนๆ เพอื่ การเพาะปลูก

2. การตลาด (ลานตากขา้ ว ยุ้ง เครื่องสขี ้าว การจำหนา่ ยผลผลติ ) เมอื่ มผี ลผลิตแลว้ จะต้องเตรยี มการ
ต่างๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้ง
รวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดีและลดค่าใช้จ่ายลง
ดว้ ย

3. การเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ) ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่
ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่างๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่
พอเพียง

8

4. สวสั ดกิ าร (สาธารณสุข เงนิ กู้)แต่ละชุมชนควรมสี วัสดภิ าพและบริการทจี่ ำเปน็ เชน่ มีสถานีอนามัย
เม่ือยามป่วยไข้ หรอื มีกองทนุ ไวก้ ยู้ มื เพ่ือประโยชนใ์ นกจิ กรรมต่างๆ ของชุมชน

5.การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศกึ ษา) ชุมชนควรมบี ทบาทในการสง่ เสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพ่ือ
การศกึ ษาเล่าเรยี นใหแ้ กเ่ ยาวชนของชมชนเอง

6. สังคมและศาสนา ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว
โดยกิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วน
ราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนนั้ เป็นสำคัญ

5.) ทฤษฎีใหม่ขนั้ ทสี่ าม

เม่ือดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่
ขัน้ ท่สี ามตอ่ ไป คือตดิ ตอ่ ประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหลง่ เงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้าน
เอกชน มาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคาร หรือ
บรษิ ัทเอกชนจะไดร้ ับประโยชน์รว่ มกนั กลา่ วคอื

1.เกษตรกรขายขา้ วได้ราคาสงู (ไม่ถูกกดราคา)

2. ธนาคารหรือบริษัทเอกชนสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและ
มาสีเอง)

3. เกษตรกรซ้ือเคร่ืองอุปโภคบรโิ ภคได้ในราคาตำ่ เพราะรวมกันซ้ือเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์
ราคาขายสง่ )

4. ธนาคารหรือบริษัทเอกชน จะสามารถกระจายบุคลากร เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ให้
เกดิ ผลดยี ่งิ ขึ้น

6.) หลักการและแนวทางสำคัญ

1. เป็นระบบการผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับ ที่ประหยัด
ก่อน ทั้งนี้ ชุมชนต้องมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำนองเดียวกับการ
“ลงแขก” แบบด้ังเดมิ เพ่ือลดค่าใชจ้ ่ายในการจ้างแรงงานดว้ ย

2. เนื่องจากข้าวเป็นปัจจัยหลักที่ทุกครัวเรือนจะต้องบริโภค ดังนั้น จึงประมาณว่าครอบครัวหนึ่งทำ
นาประมาณ 5 ไร่ จะทำให้มขี ้าวพอกนิ ตลอดปี โดยไมต่ ้องซื้อหาในราคาแพง เพอ่ื ยดึ หลักพ่ึงตนเองได้
อย่างมีอสิ รภาพ

9

3. ต้องมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วงได้อย่างพอเพียง ดังนั้น จึง
จำเปน็ ตอ้ งกนั ที่ดนิ ส่วนหนงึ่ ไว้ขดุ สระนำ้ โดยมหี ลักวา่ ต้องมีนำ้ เพียงพอที่จะเพาะปลกู ได้ตลอดปี ทั้งน้ี
ได้พระราชทานพระราชดำริเป็นแนวทางว่า ต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อการเพาะปลูก 1 ไร่
โดยประมาณ ฉะนั้น เมื่อทำนา 5 ไร่ ทำพืชไร่ หรือไม้ผลอีก 5 ไร่ (รวมเป็น 10 ไร่) จะต้องมีน้ำ
10,000 ลูกบาศกเ์ มตรต่อปี

ดังนั้น หากตั้งสมมติฐานว่า มีพื้นที่ 5 ไร่ ก็จะสามารถกำหนดสูตรคร่าวๆ ว่า แต่ละแปลง
ประกอบด้วย- นาข้าว 5 ไร่

- พชื ไร่ พชื สวน 5 ไร่

- สระน้ำ 3 ไร่ ขุดลึก 4 เมตร จุน้ำได้ประมาณ 19,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำที่เพียง
พอที่จะสำรองไว้ใชย้ ามฤดแู ล้ง

- ที่อยู่อาศัยและอื่นๆ 2 ไร่ รวมทั้งหมด 12 ไร่ แต่ทั้งนี้ ขนาดของสระเก็บน้ำขึ้นอยู่กับสภาพภูมิ
ประเทศและสภาพแวดล้อม ดงั นี้

- ถ้าเป็นพื้นที่ทำการเกษตรอาศัยน้ำฝน สระน้ำควรมีลักษณะลึก เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำระเหยได้มาก
เกินไป ซึ่งจะทำใหม้ นี ้ำใชต้ ลอดท้ังปี

- ถา้ เป็นพ้นื ที่ทำการเกษตรในเขตชลประทาน สระน้ำอาจมลี ักษณะลึก หรอื ตืน้ และแคบ หรือกว้างก็
ได้ โดยพจิ ารณาตามความเหมาะสม เพราะสามารถมีน้ำมาเตมิ อยู่เร่ือยๆ

การมีสระเก็บน้ำก็เพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างสม่ำเสมอทั้งปี (ทรงเรียกว่า Regulator หมายถึงการ
ควบคุมใหด้ ี มีระบบนำ้ หมนุ เวียนใชเ้ พอ่ื การเกษตรได้โดยตลอดเวลาอย่างต่อเน่ือง) โดยเฉพาะอยา่ งยิ่ง
ในหน้าแล้งและระยะฝนท้ิงช่วง แต่มิได้หมายความว่า เกษตรกรจะสามารถปลูกข้าวนาปรงั ได้ เพราะ
หากนำ้ ในสระเกบ็ น้ำไม่พอ ในกรณมี ีเขอื่ นอยบู่ รเิ วณใกล้เคียงก็อาจจะต้องสบู น้ำมาจากเข่ือน ซึง่ จะทำ
ให้นำ้ ในเข่อื นหมดได้ แตเ่ กษตรกรควรทำนาในหน้าฝน และเม่อื ถึงฤดแู ล้ง หรอื ฝนทิง้ ช่วงให้เกษตรกร
ใช้น้ำที่เก็บตุนนั้น ให้เกิดประโยชน์ทางการเกษตรอย่างสูงสุด โดยพิจารณาปลูกพืชให้เหมาะสมกับ
ฤดูกาล เพื่อจะได้มผี ลผลิตอื่นๆ ไวบ้ รโิ ภคและสามารถนำไปขายได้ตลอดท้งั ปี

4. การจัดแบ่งแปลงที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณและ
คำนึงจากอัตราการถือครองที่ดินถัว เฉลี่ยครัวเรือนละ 15 ไร่ อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรมีพื้นที่ถือ
ครองน้อยกว่านี้ หรือมากกว่านี้ ก็สามารถใช้อัตราส่วน 30:30:30:10 เป็นเกณฑ์ปรับใช้ได้ กล่าวคือ
ร้อยละ 30 ส่วนแรก ขุดสระน้ำ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯลฯ ได้ด้วย)
บนสระอาจสร้างเลา้ ไกแ่ ละบนขอบสระนำ้ อาจปลูกไม้ยนื ตน้ ท่ีไม่ใชน้ ำ้ มากโดยรอบ ได้

10

รอ้ ยละ 30 ส่วนท่ีสอง ทำนา ร้อยละ 30 สว่ นท่สี าม ปลกู พืชไร่ พืชสวน (ไมผ้ ล ไมย้ นื ต้น ไมใ้ ช้สอย ไม้
เพื่อเป็นเช้ือฟืน ไม้สร้างบ้าน พืชไร่ พืชผัก สมุนไพร เป็นต้น) ร้อยละ 10 สุดท้าย เป็นที่อยู่อาศยั และ
อื่นๆ (ทางเดิน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้
ประดับ พืชสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น) อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวเป็นสูตร หรือหลักการ
โดยประมาณเท่านน้ั สามารถปรบั ปรุงเปล่ียนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยข้นึ อย่กู ับสภาพของพ้ืน
ทดี่ ิน ปรมิ าณน้ำฝน และสภาพแวดลอ้ ม เช่น ในกรณีภาคใตท้ ่ีมีฝนตกชกุ หรอื พ้ืนท่ีท่ีมแี หล่งน้ำมาเติม
สระได้ต่อเน่อื ง ก็อาจลดขนาดของบอ่ หรอื สระเกบ็ น้ำใหเ้ ล็กลง เพอ่ื เกบ็ พืน้ ท่ีไว้ใช้ประโชนอ์ นื่ ต่อไปได้

5. การดำเนินการตามทฤษฎีใหม่ มีปัจจัยประกอบหลายประการ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ
สภาพแวดลอ้ มของแตล่ ะท้องถน่ิ ดงั นัน้ เกษตรกรควรขอรบั คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ดว้ ย และทส่ี ำคัญ
คือ ราคาการลงทุนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขุดสระน้ำ เกษตรกรจะต้องได้รับความ
ช่วยเหลือจากส่วนราชการ มลู นิธิ และเอกชน

6. ในระหว่างการขุดสระน้ำ จะมีดินที่ถูกขุดขึ้นมาจำนวนมาก หน้าดินซึ่งเป็นดินดี ควรนำไปกองไว้
ต่างหากเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชต่างๆ ในภายหลัง โดยนำมาเกลี่ยคลุมดินชั้นล่างที่เป็น
ดินไมด่ ี หรอื อาจนำมาถมทำขอบสระนำ้ หรอื ยกร่องสำหรับปลูกไมผ้ ลก็จะได้ประโยชนอ์ กี ทางหน่ึง

บรรณานกุ รม

12

บรรณานุกกรม

เศรษฐกิจพอเพียง. (2564). [ออนไลน]์ . เขา้ ถงึ ไดจ้ าก : https://www.chaipat.or.th/site_
content/item/3579-2010-10-08-05-24-39.html [2564, กันยายน 30]

เศรษฐกิจพอเพียง. (2552). [ออนไลน]์ . เข้าถงึ ไดจ้ าก : https://www.hii.or.th/wiki84
/index.php?title [2564, กันยายน 30]


Click to View FlipBook Version