The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี

การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี

Ver 1.0 รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในการควบคุม ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี จัดท ำโดย กลุ่มงำนพัฒนำระบบด้ำนทัณฑวิทยำ กองทัณฑวิทยำ กรมรำชทัณฑ์ พ.ศ. 2566


ก ค าน า สืบเนื่องจากกรมราชทัณฑ์ ได้มอบหมายกองทัณฑวิทยาให้ท าการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบ ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นจากการคุมขังผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีโดยมีต้นแบบจากการวิจัยเรื่อง “The Socioeconomic Impact of Pretrial Detention: a Global Campaign for Pretrial Justice Report” ของ UNDP ในการนี้ กองทัณฑวิทยาจึงได้มอบหมายให้คณะวิจัยท าการศึกษาในหัวข้อ “การศึกษาผลกระทบ ทางเศรษฐกิจและสังคมในการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี” ซึ่งเป็นการวิจัยที่ไม่ใช้งบประมาณ (การเก็บข้อมูลใช้งบด าเนินการของกองทัณฑวิทยา) โดยได้มีการเสนอผลการศึกษาต่อกรมราชทัณฑ์ ไปตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2566 แล้ว ในระหว่างด าเนินการศึกษา คณะผู้วิจัยพบอุปสรรคหลายประการไม่เฉพาะแต่เรื่อง งบประมาณ แต่ทั้งในเรื่องกลุ่มตัวอย่างที่ไม่หลากหลายอันเนื่องมาจากผู้ต้องขังส่วนใหญ่เป็นผู้ต้องขังในคดี ยาเสพติดให้โทษ ซึ่งส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลในเรื่องรายได้ซึ่งอาจมีรายได้ที่ไม่ถูกกฎหมายปะปนอยู่ รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลผู้ต้องขังของกรมราชทัณฑ์ ที่เมื่อน าออกมาประมวลผลแล้ว ปรากฏว่ามีการบันทึกข้อมูลที่ผิดพลาดจ านวนมากจนมีตัวอย่างที่ใช้การไม่ได้สูงกว่าที่ควรจะเป็น ท าให้ คณะผู้วิจัยต้องใช้เวลาพอสมควรในการเรียบเรียงข้อมูลใหม่ อย่างไรก็ดี เมื่อท าการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา ทั้งหมดแล้วกลับได้ผลที่น่าทึ่งเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ ไม่เพียงแต่ทราบถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจซึ่งมีจ านวนสูง เกินกว่าที่คาดหมายอย่างมากแล้ว ยังปรากฏประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจแฝงไว้ในตัวของข้อมูลที่ได้มา โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเรื่องโอกาสในการต่อสู้คดีของจ าเลย และบางประเด็นก็มีความลุ่มลึกพอที่จะตั้งเป็นสมมติฐานส าหรับ การวิจัยในหัวข้ออื่นได้อีก ซึ่งเป็นผลที่น่าพอใจอย่างมากส าหรับการศึกษานี้ ท้ายสุดนี้ ด้วยข้อจ ากัดทางด้านงบประมาณและเวลา ทางคณะผู้วิจัยต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ส าหรับความไม่สมบูรณ์หรือข้อสรุปที่อาจมีข้อสงสัยหรือโต้แย้งเพิ่มเติม และหวังว่าจะได้ก าหนดภารกิจศึกษา ในหัวข้ออื่นที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต กองทัณฑวิทยา กันยายน 2566


ข สำรบัญ หน้า ค าน า ก สารบัญ ข บทคัดย่อ ง บทที่ 1 บทน า 1 1. ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา 1 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2 3. ขอบเขตการศึกษาวิจัย 2 4. กลุ่มเป้าหมาย 2 5. วิธีการด าเนินงานวิจัย 2 6. นิยามศัพท์ 3 7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3 บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรมและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4 1. แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 4 1.1 ภาพรวมของกระบวนการพิจารณาคดีอาญาในประเทศไทย 4 1.2 ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี 5 1.3 สถานการณ์การควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีในบริบทประเทศไทย 9 1.4 สถานการณ์การควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีในบริบทต่างประเทศ 12 1.5 ผลกระทบของการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีในเรือนจ า 14 2. ระเบียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 16 2.1 ข้อก าหนดมาตรฐานขั้นต่ าแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง 16 (ข้อก าหนดแมนเดลา ข้อก าหนด 111 -120 หน้า 29 -30) 2.2 ข้อก าหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการ 17 ที่มิใช่การคุมขังส าหรับผู้กระท าผิดหญิง (ข้อก าหนดกรุงเทพ)


ค หน้า 2.3 มาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการควบคุมผู้ต้องขัง (กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม) 17 เรื่อง : มาตรฐานการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี 3. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 19 บทที่ 3 ผลการศึกษาและบทวิเคราะห์ 21 3.1 ภาพรวมของสัดส่วนผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี 21 3.2 ผลการศึกษาด้านประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูล 23 3.3 ผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์ผู้ต้องขัง 28 3.4 ผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์เจ้าพนักงานเรือนจ า 31 3.5 ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี 33 บทที่ 4 บทสรุปและข้อเสนอแนะ 34 4.1 บทสรุป 34 4.2 ข้อเสนอแนะ 36 บรรณานุกรม 37


ง บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในการควบคุมผู้ต้องขัง ระหว่างพิจารณาคดี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นจากการควบคุม ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี และเพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมผู้ต้องขัง ระหว่างพิจารณาคดี ซึ่งเป็นการศึกษาที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Mixed - Method research) โดยเป็นการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบในด้านต่าง ๆ จากการควบคุมผู้ต้องขังระหว่าง พิจารณาคดี ด้วยวิธีการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi - structured interview) และเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงสถิติที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีจากระบบข้อมูลผู้ต้องขังและ แบบสอบถาม (Questionnaire) กับผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีทั่วประเทศและผู้ปฏิบัติหน้าที่ในเรือนจ า ตลอดจนการศึกษาเอกสารส าคัญที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาที่ส าคัญพบว่า การคุมขังระหว่างพิจารณาคดีส่งผลกระทบต่อตัวผู้ต้องขังระหว่าง พิจารณาคดีหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสุขภาพจิตซึ่งเป็นผลมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการต่อสู้คดี และการปรับตัวให้เข้ากับกฎ ระเบียบและวิถีชีวิตของเรือนจ า รวมถึงความสัมพันธ์กับครอบครัวที่แย่ลง เนื่องจากตัวผู้ต้องขังสูญเสียโอกาสในการดูแลครอบครัวและถูกตีตราจากสังคมว่าเป็นผู้กระท าผิดแม้ว่าจะยังไม่ ถูกตัดสินว่ามีความผิด นอกจากนี้ การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีตามมาตรฐานสากล/ข้อก าหนด ของกรมราชทัณฑ์ท าได้อย่างไม่ครบถ้วน (เช่น การแยกนักโทษเด็ดขาดออกจากผู้ต้องขังระหว่างฯ การไว้ทรงผม การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารภายนอกที่เป็นปัจจุบัน การฝึกวิชาชีพตามความสนใจและ/หรือให้ท างานรับจ้างด้วย ความสมัครใจ และการใช้เครื่องพันธนาการ) อาจท าให้ภาพลักษณ์ในระดับประเทศหรือระหว่างประเทศ ของกรมราชทัณฑ์ขัดต่อการส่งเสริมการด าเนินงานตามหลักสิทธิมนุษยชน ด้วยเหตุข้างต้น หน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรม ควรมีท่าทีสนับสนุนการปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดีเป็นอันดับแรก เพราะเป็น ส่วนที่เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจมากที่สุด และการใช้สถานที่อื่นแทนเรือนจ า หรือการผลักดันให้เกิดเรือนจ า เอกชน ต้องเอื้อต่อการประกอบอาชีพของจ าเลยระหว่างพิจารณาคดี เนื่องจากผลการศึกษาชี้ว่าผู้ต้องขัง ระหว่างพิจารณาคดีมีความกังวลใจในเรื่องการสูญเสียอาชีพมากกว่าความเป็นอยู่ในเรือนจ า ทั้งนี้ ผลที่เกิดขึ้น จะช่วยลดจ านวนประชากรผู้ต้องขัง ตลอดจนเป็นการส่งเสริมหลักนิติธรรมของรัฐ การปฏิบัติตามหลักการ ด้านสิทธิมนุษยชน และการลดต้นทุนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการควบคุมประชากรดังกล่าวไว้ในสถานที่ คุมขังต่อไป


1 บทที่ 1 บทน ำ 1. ควำมเป็นมำและควำมส ำคัญของปัญหำ ปัจจุบัน กรมราชทัณฑ์ควบคุมผู้ต้องราชทัณฑ์จ านวนทั้งสิ้น 261,401 ราย แบ่งเป็น นักโทษ เด็ดขาด จ านวน 210,314 ราย ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี จ านวน 49,273 ราย เยาวชนที่ฝากขัง จ านวน 23 ราย ผู้ถูกกักกัน จ านวน 54 ราย และผู้ต้องกักขัง จ านวน 1,737 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2565) แม้ว่าสัดส่วนของผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีไม่ได้มากนักเมื่อเปรียบเทียบ กับนักโทษเด็ดขาด (คิดเป็นร้อยละ 18.85 ของจ านวนผู้ต้องขังทั้งหมด) แต่การควบคุมประชากรกลุ่มนี้ไว้ในเรือนจ า กลับส่งกระทบต่อการอ านวยความยุติธรรมทั้งในระดับปัจเจกและสังคมระดับประเทศอย่างมีนัยส าคัญ กล่าวคือ ในระดับปัจเจก มีบุคคลจ านวนไม่น้อยที่สูญเสียอาชีพและรายได้ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น จากการสู้คดี อีกทั้งยังสูญเสียสถานะทางสังคม สิทธิประโยชน์ และเสรีภาพในการใช้ชีวิตบางประการ เช่น โอกาสทางการศึกษา ความสัมพันธ์ กับครอบครัว/เพื่อนฝูง เป็นต้น ในส่วนของผลกระทบระดับประเทศ การควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีย่อมมีต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ ไม่ว่าเป็นการเขียนงานที่มีส่วนร่วม ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ หรือค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มขึ้นในการดูแลประชากรกลุ่มนี้ จากข้อมูล ของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมราชทัณฑ์ พบว่าค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ต้องขังต่อคนต่อปีเฉลี่ยอยู่ที่ 22,000 บาท ดังนั้น การดูแลผู้ต้องขัง ระหว่างพิจารณาคดี 49,273 ราย ตลอดระยะเวลาหนึ่งปี จะต้องใช้เงิน กว่า 100 ล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้นับว่าเป็นค่าเสียโอกาสที่สามารถน าไปใช้พัฒนาประเทศในด้านอื่น ๆ ได้ เช่น การแพทย์ การศึกษา หรือการรักษาความปลอดภัยของสังคมส่วนรวม เป็นต้น นอกจากนี้ การใช้วิธีการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ยังเป็นการละเมิดหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ (Presumption of Innocence) ซึ่งได้บัญญัติรับรองไว้ในมาตราที่ 29วรรค 2ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน กรมราชทัณฑ์ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานบังคับโทษให้เป็นไปตามค าพิพากษาของศาล นอกจากจะมีหน้าที่คุมขังนักโทษเด็ดขาดหลังค าพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ยังมีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องหาหรือจ าเลย ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์ผู้ต้องขังล้นเรือนจ าท าให้การแยกคุมขังผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีออกจากนักโทษ เด็ดขาดและการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีไม่สามารถเป็นไปตามหลักกฎหมาย และข้อก าหนด ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ โดยกรณีดังกล่าวมักเกิดขึ้นในเรือนจ าที่มี โครงสร้าง ทางกายภาพเป็นเรือนจ าแดนเดียว ไม่สามารถแบ่งพื้นที่เป็นการเฉพาะส าหรับผู้ต้องขังแต่ละกลุ่มได้ จึงท าให้ ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีต้องถูกคุมขังร่วมกับนักโทษเด็ดขาด อีกทั้งมาตรฐานการปฏิบัติต่าง ๆ ยังมี ความคล้ายคลึงกัน ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพเนื่องจากประชากรกลุ่มนี้ยังถือว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ ยิ่งไปกว่านั้น ผลการศึกษาจ านวนไม่น้อยพบว่าการควบคุมผู้ต้องขังทั้งสองกลุ่มไว้ด้วยกันยังเป็น การเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการถ่ายถอดพฤติกรรมอาชญากร รวมถึงอาจถูกล่วงละเมิดหรือท าร้ายร่างกายได้ ซึ่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์ได้ตระหนักถึงผลกระทบของการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีไว้ในเรือนจ า ไม่ว่าจะเป็นด้านปัจเจกบุคคล ด้านการบริหารงานราชทัณฑ์ รวมถึงด้านการอ านวยความยุติธรรมของ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมไทย


2 ด้วยเหตุนี้ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ จึงได้มอบหมายให้กองทัณฑวิทยาศึกษาถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้นจากการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีและเสนอแนวทางลดผลกระทบดังกล่าว เพื่อเป็น องค์ความรู้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้แก่กรมราชทัณฑ์และหน่วยงานอื่นในกระบวนการยุติธรรมไทย กองทัณฑวิทยา โดยกลุ่มงานพัฒนาระบบด้านทัณฑวิทยา จึงได้จัดท าโครงการ “การศึกษาผลกระทบ ทางเศรษฐกิจและสังคมในการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี” โดยมุ่งหวังว่าผลการศึกษาที่ได้จะแสดง ให้เห็นถึงความส าคัญของหลักการควบคุมตัวผู้ต้องหาในเรือนจ าระหว่างรอการพิจารณาคดีเป็นวิธีการสุดท้าย (Pretrial detention as a last resort) ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจะช่วยลดจ านวนประชากรผู้ต้องขัง ตลอดจนเป็นการ ส่งเสริมหลักนิติธรรมของรัฐ การปฏิบัติตามหลักการด้านสิทธิมนุษยชน และการลดต้นทุนทางเศรษฐกิจ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการควบคุมประชากรดังกล่าวไว้ในสถานที่คุมขังต่อไป 2. วัตถุประสงค์ของกำรวิจัย 2.1 เพื่อศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นจากการควบคุมผู้ต้องขังระหว่าง พิจารณาคดี 2.2 เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมผู้ต้องขังระหว่าง พิจารณาคดี 3. ขอบเขตกำรศึกษำวิจัย ขอบเขตงานวิจัยหรือหัวข้อที่ศึกษาเกี่ยวข้องกับผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยแบ่งเป็นสองระดับ ได้แก่ ระดับปัจเจก และระดับสังคม/ประเทศ ดังนี้ 3.1 ระดับปัจเจก เป็นการศึกษาผลกระทบด้านรายได้/อาชีพ ความเป็นอยู่ ค่าใช้จ่าย ในการ ต่อสู้คดี โอกาสทางการศึกษา ความสัมพันธ์กับครอบครัว/เพื่อนฝูง/สังคมภายนอก รวมถึงสิทธิและเสรีภาพ เป็นต้น 3.2 ระดับสังคม/ประเทศ เป็นการศึกษาผลกระทบด้านต้นทุนทางเศรษฐกิจของรัฐ ในการ ควบคุมดูแลผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี การปฏิบัติตามหลักกฎหมาย มาตรฐานระหว่างประเทศ และ หลักการด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง 4. กลุ่มเป้ำหมำย กลุ่มประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีทั่วประเทศ และผู้ปฏิบัติหน้าที่ ในเรือนจ า 5. วิธีกำรด ำเนินงำนวิจัย การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี เป็นการศึกษาที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Mixed - Method research) มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 5.1 เชิงคุณภาพ เป็นการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบในด้านต่าง ๆ จากการควบคุม ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ด้วยวิธีการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi - structured interview)


3 5.2 เชิงปริมาณ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงสถิติที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี จากระบบข้อมูลผู้ต้องขังและแบบสอบถาม (Questionnaire) เช่น ข้อมูลทางประชากรศาสตร์ (Demographic information) ระยะเวลาที่ถูกควบคุมตัวในเรือนจ า เป็นต้น 6. นิยำมศัพท์ ผู้ต้องขัง หมายถึง บุคคลที่ถูกขังอยู่ในเรือนจ า ได้แก่ นักโทษเด็ดขาด คนต้องขัง และคนฝาก ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี หมายถึง บุคคลที่ถูกขังอยู่ในเรือนจ าโดยที่ยังไม่มีค าพิพากษา ถึงที่สุด เรือนจ า หมายถึง ที่ซึ่งใช้ควบคุมกักขังผู้ต้องขัง กับทั้งสิ่งที่ใช้ต่อเนื่องกัน และให้หมายความ รวมตลอดถึงที่อื่นใดที่รัฐมนตรีได้ก าหนดและประกาศในราชกิจจานุเบกษาวางอาณาเขตไว้โดยชัดเจน 7. ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ 5.1 กรมราชทัณฑ์และหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทราบถึงผลกระทบที่เกิดจากการ ควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี 5.2 กรมราชทัณฑ์และหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทราบถึงแนวทางการแก้ไขผลกระทบ ที่เกิดจากการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี


4 บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรมและผลงำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในการควบคุมผู้ต้องขัง ระหว่างพิจารณาคดี” ผู้ศึกษาได้วางกรอบแนวคิดในการศึกษาวรรณกรรมและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็น แนวทางในการศึกษา ดังนี้ 1. แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2. ระเบียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1. แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 1.1 ภำพรวมของกระบวนพิจำรณำคดีอำญำในประเทศไทย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สามารถแบ่งขั้นตอนการด าเนินคดีอาญา ได้เป็นสามขั้นตอนหลัก คือ 1.1.1 ขั้นตอนก่อนการพิจารณาคดีในศาล ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่การที่ผู้เสียหายร้องทุกข์จนถึง ก่อนการฟ้องคดีอาญา ได้แก่ 1.1.1.1 การร้องทุกข์หรือกล่าวโทษของผู้เสียหาย 1.1.1.2 การค้นและการจับของเจ้าหน้าที่ต ารวจหรือพนักงานฝ่ายปกครอง 1.1.1.3 การสอบสวนของพนักงานสอบสวน 1.1.1.4 การส่งส านวนการสอบสวนไปที่พนักงานอัยการ โดยขั้นตอนนี้จะเป็นการด าเนินการของผู้เสียหายของเจ้าหน้าที่ต ารวจ พนักงาน ฝ่ายปกครอง พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการเป็นหลัก โดยมีการใช้อ านาจของศาลในเรื่องที่ต้องละเมิด สิทธิเสรีภาพของประชาชน ได้แก่ การค้น การจับและการขัง (ระหว่างสอบสวน) ผู้ที่ถูกจับกุมด าเนินการ ตามขั้นตอนนี้จะอยู่ในสถานะของ “ผู้ต้องหา” ซึ่งตามมาตรา 2 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้ค านิยามว่า หมายความถึงบุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระท าความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล 1.1.2 ขั้นตอนกระบวนพิจารณาในศาล ซึ่งเริ่มตั้งแต่การไต่สวนมูลฟ้องไปจนถึงการฎีกา ได้แก่ 1.1.2.1 การฟ้องคดีอาญาต่อศาล 1.1.2.2 การไต่สวนมูลฟ้อง 1.1.2.3 การประทับฟ้องหรือพิพากษายกฟ้อง (ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง) 1.1.2.4 การสืบพยาน 1.1.2.5 การพิพากษาและการสั่ง 1.1.2.6 การอุทธรณ์และฎีกา ขั้นตอนนี้จะเป็นการด าเนินการโดยศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา โดยผู้ต้องหา ซึ่งเข้าสู่กระบวนการนี้ จะถูกเรียกว่า “จ าเลย” ซึ่งมาตรา 2 ได้ให้ค านิยามว่า หมายความถึงบุคคลซึ่งถูกฟ้อง ต่อศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระท าความผิด


5 1.1.3 ขั้นตอนหลังการพิจารณาคดีในศาล ได้แก่ 1.1.3.1 การบังคับตามค าพิพากษา 1.1.3.2 การอภัยโทษ เปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาและลดโทษ ส าหรับขั้นตอนนี้ ตัวของจ าเลยซึ่งศาลพิพากษาให้ประหารชีวิตหรือจ าคุกจะถูกส่งมาอยู่ ที่เรือนจ า ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์ในการปฏิบัติเป็นหลัก 1.1.4 ผู้ต้องหาหรือจ าเลยเริ่มเข้าสู่เรือนจ าตั้งแต่ขั้นตอนใด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า เมื่อได้ตัวผู้ต้องหาหรือจ าเลย ในระยะใดระหว่างสอบสวนไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ศาลจะออกหมายขัง ผู้ต้องหาหรือจ าเลยไว้ตามมาตรา 87 หรือมาตรา 88 ก็ได้ และให้น าบทบัญญัติในมาตรา 66 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม จึงหมายความว่าในกรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับกุมและอยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวน หากศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวและออกหมายขัง ผู้ต้องหาก็จะเริ่มเข้าสู่เรือนจ าตั้งแต่ขั้นตอนนี้ และอาจ อยู่ในเรือนจ าไปจนกระทั่งศาลมีค าพิพากษาให้จ าคุกจนกระทั่งพ้นโทษ กรณีจึงจ าเป็นต้องพิจารณาว่าค าว่า “ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา” ในประเทศไทยนี้ควรเริ่มนับตั้งแต่ขั้นตอนใด และต้องนับถึงขั้นตอนใด จึงจะเป็น กลุ่มผู้ต้องขังที่เหมาะสมที่จะน ามาวิจัยในงานวิจัยนี้ 1.2 ผู้ต้องขังระหว่ำงพิจำรณำ 1.2.1 ความหมายของผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา เป็นที่น่าฉงนว่าค าว่า “ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี” หรือ “ผู้ต้องขังระหว่าง พิจารณา” นั้น เป็นค าที่ใช้เป็นทางการในหนังสือราชการ และเป็นที่เข้าใจไปในทางเดียวกันทั้งระหว่าง ผู้ปฏิบัติงานในกรมราชทัณฑ์ด้วยกัน หรือแม้แต่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐอื่น ว่าหมายถึงผู้ซึ่งถูกขังอยู่ ในเรือนจ าก่อนที่ศาลจะมีค าพิพากษาหรือก่อนที่จะมีหมายจ าคุกเมื่อคดีถึงที่สุด แต่เมื่อได้ท าการตรวจค้นหรือ ตรวจสอบกฎหมายกลับไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดของกรมราชทัณฑ์ หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณา คดีอาญาใดของศาลที่ให้นิยาม หรือกล่าวถึงค าว่า “ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา” ว่ามีความหมายหรือขอบเขต เพียงใด ทั้งที่เป็นค าที่ก าหนดสถานะทางกฎหมายให้กับบุคคลซึ่งโดยหลักการแล้วจะต้องมีกฎหมายรับรอง หรือแม้แต่ในฐานะค าศัพท์ทั่วไปค าว่า “ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา” นี้ ก็ไม่ปรากฏค าแปลในพจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งมีเพียงค าว่า ผู้ต้องกักขัง ผู้ต้องขัง ผู้ต้องโทษ และผู้ต้องหาเท่านั้น ดังนั้น การที่งานวิจัยชิ้นนี้จะสามารถด าเนินกระบวนการวิจัยต่อไปได้ จึงมี ความจ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องก าหนดความหมายของค าว่า “ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา” ให้ได้เสียก่อน โดยจะพิจารณาบริบทที่เกี่ยวข้อง 3 ประเด็น ได้แก่ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 ประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา และกรณีอื่น ดังนี้ 1.2.1.1 พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 ได้ให้นิยามของค าว่า ผู้ต้องขัง หมายความรวมถึง นักโทษเด็ดขาด คนต้องขัง และคนฝาก ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีค านิยามแตกต่างกัน คือ “นักโทษเด็ดขาด” หมายความว่า บุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามหมายจ าคุก ภายหลังค าพิพากษาถึงที่สุดและให้หมายความรวมถึงบุคคลซึ่งถูกขังไว้ตาม ค าสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษด้วย “คนต้องขัง” หมายความว่า บุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามหมายขัง


6 “คนฝาก” หมายความว่า บุคคลซึ่งถูกฝากให้ควบคุมไว้ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายอื่นโดยไม่มีหมายอาญา จากค านิยาม จะพบว่าพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ ได้แบ่งประเภทของ ผู้ต้องขังไว้ 3 ประเภท โดยอาศัยอ านาจในการสั่งขังเป็นเกณฑ์ ดังนี้ 1) นักโทษเด็ดขาด จะใช้หมายจ าคุกภายหลังค าพิพากษาถึงที่สุด (หมายจ าคุกเมื่อคดีถึงที่สุด) เป็นเกณฑ์ อนึ่ง การที่กฎหมายใช้ค าว่าหมายจ าคุกภายหลังค าพิพากษาถึงที่สุดนั้น เพื่อให้รวมถึงผู้ซึ่งศาลพิพากษาประหารชีวิตด้วย ซึ่งในการประหารชีวิตจะมีการทุเลาการบังคับโทษตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 247 เพื่อด าเนินการขอพระราชทานอภัยโทษ ตามมาตรา 259 - 267 ระหว่างนั้นผู้ต้องค าพิพากษาจะถูกจ าคุกไว้จนกว่าจะได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือถูกประหาร ชีวิต จึงใช้ถ้อยค าดังกล่าว ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่าการที่จะเป็นนักโทษเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ได้ จะต้องเป็นกรณีที่กระบวนพิจารณาของศาลได้สิ้นสุดลงแล้วเท่านั้น ในส่วนของค าว่าค าพิพากษาถึงที่สุด หรือคดีถึงที่สุด คือเมื่อใดนั้น เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 15 ได้แก่ กรณีที่ 1 ถึงที่สุดในวันที่อ่านค าพิพากษา ได้แก่ ค าพิพากษาศาลฎีกา ค าพิพากษาศาลอุทธรณ์กรณีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกา และค าพิพากษาศาลชั้นต้นกรณีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ กรณีที่ 2 ถึงที่สุดเมื่อพ้นก าหนดระยะเวลาอุทธรณ์หรือฎีกาหรือขอให้ พิจารณาใหม่ แต่ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์หรือฎีกาหรือขอให้พิจารณาใหม่ ส าหรับค าสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษนั้น หมายถึงค าสั่งที่ไม่ใช่ ค าสั่งศาลที่ลงโทษจ าเลย เช่น ค าสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติซึ่งมีสถานะเป็นรัฏฐาธิปัตย์ให้ประหารชีวิตและ จ าคุกจ าเลยในความผิดฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองและมีไว้เพื่อขายซึ่งยาเสพติดให้โทษ เป็นต้น 1 ซึ่งปัจจุบัน กรมราชทัณฑ์ไม่มีผู้ต้องขังตามค าสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษในความควบคุมแล้ว 2) คนต้องขัง จะใช้หมายขังเป็นเกณฑ์ ซึ่งหมายขังตามพระราชบัญญัติ นี้หมายถึง หมายขังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งศาลเป็นผู้สั่ง โดยการที่ศาลจะออกหมาย ขังนี้จะเป็นไปตามมาตรา 71 ซึ่งวรรคหนึ่งบัญญัติว่า เมื่อได้ตัวผู้ต้องหาหรือจ าเลย ในระยะใดระหว่างสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจ าเลยไว้ตามมาตรา 87 หรือมาตรา 88 ก็ได้ และให้น าบทบัญญัติในมาตรา 66 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และวรรคสองบัญญัติว่า หมายขังคงใช้ได้อยู่จนกว่า ศาลจะได้เพิกถอน โดยออกหมายปล่อยหรือหมายจ าคุกแทน ดังนั้น ผู้ที่จะเป็นคนต้องขังตามพระราชบัญญัตินี้ จะต้องเป็นผู้ต้องหาหรือจ าเลย กล่าวคือ พ้นขั้นตอนของการจับกุมแล้ว และคดีอยู่ระหว่างสอบสวน ไต่สวน มูลฟ้องหรือพิจารณา โดยที่ยังไม่มีการพิพากษาให้จ าคุกหรือให้ปล่อยตัว โดยในทางปฏิบัติกรมราชทัณฑ์จะ แบ่งกลุ่มคนต้องขังตามประเภทของหมายขังที่ศาลออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1 คำ สั่งของหวัหนำ้คณะปฏิวตัิฉบบัที่13ลงวนัที่2 พฤศจิกำยน 2520


7 ก) คนต้องขังระหว่างสอบสวน (หมายขังระหว่างสอบสวน) ข) คนต้องขังระหว่างพิจารณา (หมายขังระหว่างไต่สวนมูลฟ้องหรือ พิจารณา) ค) คนต้องขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกา (หมายจ าคุกระหว่างอุทธรณ์ ฎีกา) ซึ่งมีข้อสังเกตว่าแม้ว่าหมายศาลจะใช้ค าว่าหมายจ าคุกระหว่างอุทธรณ์ฎีกา แต่ตามพระราชบัญญัติ ราชทัณฑ์จัดให้อยู่ในกลุ่มของคนต้องขัง เนื่องจากศาลยังไม่มีค าพิพากษาถึงที่สุดนั่นเอง 3) คนฝาก จะใช้การถูกคุมขังโดยไม่มีหมายขังหรือหมายจ าคุก ไม่ว่า จะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือตามกฎหมายอื่น เช่น อ านาจของผู้อ านวยการสถานพินิจ ที่จะส่งบุคคลที่อยู่ในความควบคุมที่ไม่ใช่เด็กไปควบคุมไว้ในเรือนจ าตาม มาตรา 41(4) แห่งพระราชบัญญัติ ศาลเยาวชนและ ครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 เป็นต้น 1.2.1.2 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก าหนดขั้นตอนการ ด าเนินคดีอาญาไว้ 3 ขั้นตอน คือขั้นตอนก่อนการพิจารณาคดีใน ขั้นตอนการพิจารณาและพิพากษา ขั้นตอน หลังการพิจารณาคดี การที่จะพิจารณาถึงความหมายของผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีโดยค านึงถึงบริบทของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานี้ได้ จ าเป็นต้องพิจารณาถึงกระบวนการที่นับว่าคดีเข้าสู่การพิจารณา ของศาลจนกระทั่งคดีถึงที่สุดว่าครอบคลุมขั้นตอนหรือกระบวนการใดบ้าง โดยพิจารณาได้ดังนี้ 1) ศาลเริ่มพิจารณาคดีอาญาเมื่อใด มาตรา 162 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติว่า ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้วให้ศาลจัดการสั่งดังต่อไปนี้ (1) ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ให้ไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าคดีนั้นพนักงาน อัยการได้ฟ้องจ าเลยโดยข้อหาอย่างเดียวกันด้วยแล้วให้จัดกันตามอนุมาตรา (2) (2) ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ไม่จ าเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องก่อนก็ได้ ไม่มีการไต่สวนมูลฟ้องดังกล่าวแล้ว ถ้าจ าเลยให้การรับสารภาพให้ศาล ประทับฟ้องไว้พิจารณา และมาตรา 167 บัญญัติว่า ค่าปรากฎว่าคดีมีมูล ให้ศาลประทับฟ้องไว้ พิจารณาต่อไปเฉพาะกระทงที่มีมูล ถ้าคดีไม่มีมูล ให้พิพากษายกฟ้อง จากถ้อยค าของกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่า คดีอาญาจะเริ่มนับว่า อยู่ระหว่างพิจารณาตั้งแต่ศาลประทับฟ้องไว้พิจารณา โดยกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ จะต้องมีการไต่สวนมูลฟ้อง ก่อน ส่วนในกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ศาลจะให้ไต่สวนมูลฟ้องหรือไม่ก็ได้


8 2) คดีอาญาสิ้นสุดการพิจารณาเมื่อใด เมื่อศาลได้ประทับฟ้องไว้พิจารณาตามมาตรา 167 แล้ว คดีก็จะเข้าสู่ กระบวนพิจารณาของศาล โดยในขั้นตอนนี้ศาลจะด าเนินการสืบพยานตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 172 – 181 โดยกระบวนการโดยสังเขปได้แก่ การก าหนดวันตรวจพยานหลักฐาน (มาตรา 173/1 – 173/2) การแถลงเปิดคดีของโจทก์ การสืบพยานโจทก์ การแถลงเปิดคดีของจ าเลย การสืบพยานจ าเลย (มาตรา 174) โดยในกรณีที่จ าเลยรับสารภาพ และข้อหาในความผิดซึ่งจ าเลยรับสารภาพ นั้นกฎหมายก าหนดอัตราโทษอย่างต่ าไว้ให้จ าคุกไม่เกิน 5 ปี ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานก็ได้ (มาตรา 176) และเมื่อด าเนินกระบวนพิจารณาเสร็จแล้ว มาตรา 182 วรรคสองบัญญัติว่า ให้อ่านค าพิพากษาหรือ ค าสั่งในศาลโดยเปิดเผยในวันเสร็จการพิจารณา หรือภายในเวลา 3 วันนัดแต่เสร็จคดี ถ้ามีเหตุอันสมควร จะเลื่อนไปอ่านวันอื่นก็ได้ แต่ต้องจดรายงานเหตุนั้นไว้ ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า ค าว่าระหว่างพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจึงมีระยะเวลาตั้งแต่ศาลประทับฟ้อง (รับฟ้อง) จนถึงก่อนอ่านค า พิพากษาเท่านั้น ซึ่งเป็นคนละกรณีกับค าว่าค าพิพากษาถึงที่สุด อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในแง่มุมการใช้อ านาจของศาลจะพบว่าศาล มีอ านาจตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มแรกของการด าเนินคดีอาญา คือ ขั้นตอนการค้นและจับ โดยมาตรา 57 แห่งประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา วรรคหนึ่งบัญญัติว่า ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา 78 มาตรา 79 มาตรา 80 มาตรา 92 และมาตรา 94 แห่งประมวลกฎหมายนี้ จะจับ ขัง จ าคุก หรือค้นในที่รโหฐานหาตัวคน หรือสิ่งของต้องมีค าสั่งหรือหมายของศาลส าหรับการนั้น และวรรคสองบัญญัติว่า บุคคลซึ่งต้องขังหรือจ าคุก ตามหมายศาล จะปล่อยไปได้ก็เมื่อมีหมายปล่อยของศาล ซึ่งจุดนี้ท าให้สรุปได้ว่ากระบวนการใช้อ านาจของ ศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่การเริ่มด าเนินคดี ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการ พิจารณาคดีของศาลซึ่งเริ่มตั้งแต่การประทับฟ้องจนถึงก่อนอ่านค าพิพากษาเท่านั้น 1.2.1.3 กรณีอื่น กฎแมนเดลา (Mandela Rules) ส่วนที่ 2C ใช้ค าว่า Prisoners under arrest or awaiting trial ซึ่งหมายถึงผู้ต้องขังที่ถูกจับกุมหรือรอการพิจารณาคดี และนิยามไว้ในข้อ 111 2 1. ก าหนดว่าผู้ต้องขังที่ยังไม่ตัดสินคดี (untried prisoners) หมายความว่า บุคคลซึ่งถูกจับและขังในข้อหาทาง อาญาไม่ว่าจะเป็นสถานที่ขังของต ารวจหรือเรือนจ า แต่ยังไม่ได้รับการพิจารณาหรือมีค าพิพากษา และ 2. ก าหนดว่าผู้ต้องขังที่ยังไม่ต้องค าพิพากษาอันเป็นที่สุดให้เป็นผู้กระท าผิดต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ และต้องได้รับการปฏิบัติเช่นนั้น ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงบริบทของผู้ต้องขังในความควบคุมของ กรมราชทัณฑ์แล้วจะหมายถึงคนต้องขังตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 นั่นเอง 2 Rule 111 1. Persons arrested or imprisoned by reason of a criminal charge against them, who are detained either in police custody or in prison custody (jail) but have not yet been tried and sentenced, will be referred to as “untried prisoners” hereinafter in these rules. 2. Unconvicted prisoners are presumed to be innocent and shall be treated as such. 3. Without prejudice to legal rules for the protection of individual liberty or prescribing the procedure to be observed in respect of untried prisoners, these prisoners shall benefit from a special regime which is described in the following rules in its essential requirements only


9 นอกจากนี้ค าว่าผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีนี้ยังเป็นค าที่ใช้เป็นปกติ ในทางวิชาการซึ่งปรากฏในงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ต่าง ๆ โดยจะมีความเข้าใจตรงกันว่าหมายความถึง ผู้ต้องขัง ซึ่งถูกคุมขังตั้งแต่ในชั้นสอบสวนจนถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกา 3 4 5 1.2.1.4 สรุปความหมายของค าว่า “ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา” จากการพิจารณาในแง่มุมที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ เพื่อก าหนดนิยาม ของค าว่า “ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา” ในงานวิจัยนี้ ปรากฏว่าค าว่า “ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา” ตามกฎ แมนเดลา ข้อ 111 นั้นตรงกับค านิยามของคนต้องขัง ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 ในส่วนของ ขณะที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บัญญัติไว้ชัดเจนว่าส่วนที่ถือว่าอยู่ระหว่างการ พิจารณาของศาลคือตั้งแต่ศาลประทับฟ้อง (รับฟ้อง) จนถึงก่อนอ่านค าพิพากษา ซึ่งตรงกับผู้ต้องขังซึ่งคดีอยู่ ระหว่างการพิจารณาเท่านั้น และเมื่อพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ ซึ่งต้องการประเมินความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจระหว่างที่ถูกขังอยู่ในเรือนจ าแล้ว จ าเป็นต้องมีการพิจารณาถึงหลักการด้านสิทธิมนุษยชนในด้าน ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย การนิยามค าว่า “ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา” ในงานวิจัยนี้จึงควรก าหนดตามแนวทาง ของกฎแมนเดลา ซึ่งตรงกับค าว่า “คนต้องขัง” ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 และอ้างอิงกับ หลักการสิทธิมนุษยชนที่ก าหนดว่าผู้ต้องขังที่ยังไม่ต้องค าพิพากษาอันเป็นที่สุดให้เป็นผู้กระท าผิดต้อง สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ซึ่งมีขอบเขตกว้างกว่าการอ้างอิงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 1.3 สถำนกำรณ์กำรควบคุมผู้ต้องขังระหว่ำงพิจำรณำคดีในบริบทประเทศไทย 1.3.1 การใช้มาตรการคุมขังระหว่างพิจารณาคดีในประเทศไทย การควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือจ าเลยในเรือนจ าเป็นมาตรการที่ถูกน ามาใช้ ในกระบวนการยุติธรรมเพื่อป้องกันการหลบหนี การเข้าไปข้องเกี่ยวกับพยานในเหตุการณ์ หรือการก่อ ภยันตรายอื่น ๆ ต่อสังคม โดยการควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือจ าเลยไว้ในเรือนจ าแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ (1) การฝากขัง เป็นกระบวนการที่พนักงานสอบสวนร้องขอให้ศาลควบคุมตัว บุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระท าความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้อง (ผู้ต้องหา) ไว้ระหว่างที่ท าการรวบรวมพยานหลักฐาน ในคดี ก่อนสรุปความเห็นให้พนักงานอัยการร่างค าฟ้องและส่งให้ศาลพิจารณาต่อไป โดยประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 87 ได้ระบุเกี่ยวกับการฝากขังไว้ว่า “... ในกรณีความผิดอาญาที่ได้กระท าลงมีอัตราโทษจ าคุกอย่างสูงไม่เกินหกเดือน หรือ ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ ศาลมีอ านาจสั่งขังได้ครั้งเดียว มีก าหนดไม่เกินเจ็ดวัน ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจ าคุกอย่างสูงเกินกว่าหกเดือนแต่ไม่ถึงสิบปี หรือปรับเกินกว่าห้าร้อยบาท หรือทั้งจ าทั้งปรับ ศาลมีอ านาจสั่งขังหลายครั้งติด ๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่ เกินสิบสองวัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกินสี่สิบแปดวัน 3 กรมรำชทัณฑ์, โครงกำรศึกษำวิจัยเรื่อง “ระยะเวลำในกำรถูกคุมขังของผู้ต้องขังระหวำงพิจำรณำคดี ่”, 2547 4 โอภำส ปภำตินันท์ ปัญหำกำรละเมิดสิทธิมนุษยชนของผตู้อ้งขงัระหวำ่งพจิำรณำคดีกบักำรใช้เครื่องพนัธนำกำรระหวำ่งกำรควบคุมตวั ออกไปพิจำรณำคดีภำยใต้พระรำชบัญญัติรำชทัณฑ์ พ.ศ. 2560, คณะนิติศำสตร์ มหำวิทยำลัยธรรมศำสตร์, 2563, หน้ำ 21 5 วนิดำไชยเชนตรตี,ขอ้ควำมคิดเกี่ยวกบัมำตรกำรควบคุมผตู้อ้งขงักบัศกัด์ิศรีควำมเป็นมนุษย,์วำรสำรศำลรัฐธรรมนูญ ปีที่5เล่มที่15, 2546, หน้ำ 101


10 ในกรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจ าคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไป หรือจะมีโทษ ปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม ศาลมีอ านาจสั่งขังหลายครั้งติดๆ กันได้ แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกินสิบสองวัน และรวมกัน ทั้งหมดต้องไม่เกินแปดสิบสี่วัน...” กล่าวคือ ศาลสามารถฝากขังผู้ต้องหาไว้ในเรือนจ าได้สูงสุดไม่เกิน 7 ครั้ง แต่ละครั้ง ต้องไม่เกิน 12 วัน รวมฝากขังได้ทั้งสิ้นไม่เกิน 84 วัน ซึ่งผู้ถูกฝากขังในชั้นสอบสวนจะถูกเรียกว่า “ผู้ต้องขัง ระหว่างสอบสวน” (ผู้ต้องขังหมายฟ้า) อย่างไรก็ดี ผู้ต้องหามีสิทธิคัดค้านการฝากขังของพนักงานสอบสวนได้ โดยต้องแสดงให้ศาลเห็นถึงการไม่มีเหตุให้ควบคุมตัว เช่น มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งไม่หลบหนี ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ พยานหลักฐาน และไม่ก่อให้เกิดภยันตรายต่อสังคม เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ต้องหายังมีสิทธิขอยื่นรับการประกัน ตัวด้วยวิธีการวางหลักทรัพย์หรือสาบานตนแทนการวางหลักทรัพย์ แม้ว่าศาลจะท าตามค าร้องฝากขังของ พนักงานสอบสวน ทั้งนี้ หากศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว ผู้ต้องหาจะถูกน าตัวไปฝากขังที่เรือนจ าตาม ระยะเวลาที่ระบุในมาตรา 87 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และจนถึงช่วงเวลาดังกล่าวหาก อัยการยังไม่สั่งฟ้องคดี ผู้ต้องหาจะได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจ า โดยอัยการจะเรียกตัวมาฟังค าสั่งคดีอีกครั้ง ภายหลัง (2) การคุมขังระหว่างพิจารณาคดี เป็นกระบวนการที่อัยการด าเนินการฟ้องคดี ต่อศาลเรียบร้อยแล้ว โดยศาลจะออกหมายขังจ าเลย ซึ่งจ าเลยจะไม่มีสิทธิคัดค้านการคุมขังในชั้นนี้ แต่ยัง สามารถยื่นค าร้องขอรับการประกันตัวได้ ทั้งนี้ หากศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว จ าเลยจะถูกคุมขังในเรือนจ า จนกว่าจะได้รับอนุญาตให้ประกันตัวหรือศาลพิพากษายกฟ้อง จ าเลยซึ่งถูกควบคุมตัวในชั้นระหว่างพิจารณา คดีแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ “ผู้ต้องขังระหว่างไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดี” (ผู้ต้องขังหมายเขียว) และ “ผู้ต้องขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกา” (ผู้ต้องขังหมายเหลือง) จากการอธิบายกระบวนการควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือจ าเลยระหว่างพิจารณาคดี จะเห็นได้ว่าแนวคิดในการด าเนินคดีอาญาของประเทศไทยมีลักษณะผสมผสานระหว่างการด าเนินคดีอาญา ในรูปแบบนิติธรรม หรือ Due Process of Law ซึ่งเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจ าเลยในรูปแบบ การปล่อยตัวชั่วคราว (การให้ประกันตัว) และการด าเนินคดีอาญาในรูปแบบการควบคุมอาชญากรรม หรือ Crime Control ซึ่งเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในสังคมหากมิได้คุมขังผู้ต้องหาหรือจ าเลยไว้ใน เรือนจ า แต่โดยส่วนใหญ่การด าเนินคดีอาญาในลักษณะที่สองจะปรากฏให้เห็นมากกว่าลักษณะแรก เนื่องจาก ระบบการด าเนินคดีอาญาในประเทศไทยยังคงเป็นระบบกล่าวหา (Accusatorial System) ที่มุ่งเน้นการ ควบคุมอาชญากรรมเป็นหลัก โดยเมื่อศึกษาสถิติผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีของกรมราชทัณฑ์ ตั้งแต่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 - 2565 (ตารางที่ 1) จะพบว่าผู้ต้องขังระหว่างฯ ในแต่ละปีมีผู้ต้องขังระหว่าง พิจารณาคดีอยู่ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 20 ของจ านวนผู้ต้องราชทัณฑ์ทั้งหมด โดยเป็นผู้ต้องขังระหว่าง อุทธรณ์ฎีกามากที่สุด รองลงมาคือระหว่างสอบสวน และระหว่างไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีตามล าดับ สัดส่วนดังกล่าวสามารถตั้งข้อสังเกตได้ ดังนี้


11 (1) การที่ผู้ต้องขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกามีสัดส่วนมากที่สุดแสดงให้เห็นถึง ความสามารถในการต่อสู้คดีของจ าเลยที่น้อย กล่าวคือจ าเลยเลือกที่จะสารภาพมากกว่าต่อสู้คดีประการหนึ่ง และการด าเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเร็วกว่าในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาอีกประการหนึ่ง (2) การที่ผู้ต้องขังระหว่างสอบสวน มีจ านวนมากกว่าผู้ต้องขังระหว่างไต่สวน มูลฟ้องหรือพิจารณาคดี แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ศาลจะใช้วิธีการคุมขังผู้ต้องหาตามค าขอของพนักงาน สอบสวน มากกว่ามีค าสั่งปล่อยชั่วคราว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการใช้หลักการ Bail, not Jail ของศาล ในปัจจุบัน ตารางที่ 1ตารางแสดงจ านวนผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2565 ปีงบ ประมาณ จ านวนผู้ต้องขังระหว่างฯ รายประเภท (คน) รวมทุก ประเภท (คน) ร้อยละ ของจ านวน ผู้ต้อง ราชทัณฑ์ อุทธรณ์-ฎีกา ไต่สวน-พิจารณา สอบสวน ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง พ.ศ. 2561 28,235 3,989 9,234 1,679 19,686 2,591 65,414 17.8 พ.ศ. 2562 25,480 3,688 8,694 1,510 17,310 2,253 58,935 16.2 พ.ศ. 2563 29,001 3,796 10,018 1,654 16,457 2,126 63,052 17.5 พ.ศ. 2564 21,664 2,682 12,107 1,946 13,132 1,668 53,199 18.6 พ.ศ. 2565 26,467 3,287 6,202 1,104 11,193 1,345 49,598 18.9 1.3.2. การควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีในเรือนจ าไทย มาตรา 29 วรรค 2 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ระบุไว้ว่า “ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจ าเลยไม่มีความผิด และก่อนมี ค าพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระท าความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระท าความผิด มิได้” ดังนั้น หากตีความตามกฎหมายดังกล่าวจะท าให้ทราบว่าการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดี และนักโทษเด็ดขาดนั้นต้องมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิทธิ เสรีภาพ หรือประโยชน์ต่าง ๆ เช่น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน การถูกแยกคุมขังจากนักโทษเด็ดขาด การติดต่อบุคคลภายนอก เป็นต้น นอกจากนี้ การน ามาตรการคุมขังระหว่างพิจารณาคดีมาใช้ควรเป็นวิธีการสุดท้ายในการด าเนินคดีอาญา ทั้งนี้ เนื่องจากการคุมขังระหว่างพิจารณาคดีก่อให้เกิดความเสียหายในหลายมิติ โดยเฉพาะความสูญเสียทาง เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในรูปแบบของการสูญเสียรายได้ ดังนั้น ยิ่งผู้ต้องหาหรือจ าเลยมาถูกคุมขังไว้ในเรือนจ านาน เท่าไหร่ก็ย่อมก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้มากขึ้นตามระยะเวลาที่ถูกคุมขัง


12 1.4 สถำนกำรณ์กำรควบคุมผู้ต้องขังระหว่ำงพิจำรณำคดีในบริบทต่ำงประเทศ 1.4.1 การใช้มาตรการคุมขังระหว่างพิจารณาคดีในต่างประเทศ การใช้มาตรการคุมขังระหว่างพิจารณาคดีในต่างประเทศต่างประเทศเป็นไป เพื่อวัตถุประสงค์เช่นเดียวกันกับในประเทศไทยคือเพื่อป้องกันการหลบหนี การเข้าไปข้องเกี่ยวกับพยาน ในเหตุการณ์ หรือการก่อภยันตรายอื่น ๆ ต่อสังคมของผู้ต้องหาหรือจ าเลย จากการศึกษารายงานของ World Prison Brief Project เกี่ยวกับสถานการณ์การคุมขังผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีทั่วโลก ซึ่งตีพิมพ์ใน ปี ค.ศ. 2020 พบว่า (1) มีผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจ าทั่วโลกประมาณ 3 ล้านคน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวอาจมากกว่านี้ เนื่องจากผู้จัดท าไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลจาก 9 ประเทศ ได้แก่ ภูฏาน จีน คิวบา อิเควทอเรียลกินี เอริเทรีย มัลดีฟส์ เกาหลีเหนือ หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา และโซมาเลีย ได้ (2) ประเทศที่มีจ านวนประชากรผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีมากที่สุด 20 อันดับแรก ได้แก่ ประเทศ จ านวนผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี (คน) 1. สหรัฐอเมริกา 482,200 2. อินเดีย 323,000 3. บราซิล 253,000 4. ฟิลิปปินส์ 141,000 5. ตุรกี 100,000 6. รัสเซีย 96,000 7. เม็กซิโก 79,000 8. บังคลาเทศ 71,000 9. อินโดนีเซีย 64,000 10. ไทย 60,000 11. อิหร่าน 56,000 12. ไนจีเรีย 51,000 13. เอธิโอเปีย 49,000 14. ปากีสถาน 48,000 15. แอฟริกาใต้ 47,000 16. อาร์เจนตินา 43,000 17. โคลอมเบีย 37,000 18. เปรู 35,000 19. เวเนซูเอลา 35,000 20. โมรอคโค 32,000


13 (3) ประเทศส่วนใหญ่มีอัตราส่วนผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีตั้งแต่ร้อยละ 10 - ร้อยละ 40 ของจ านวนประชากรผู้ต้องขังทั้งหมด แต่ประเทศในทวีปแอฟริกาและเอเชียใต้เกินกว่าครึ่งหนึ่ง มีอัตราผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีมากกว่าร้อยละ 40 ของจ านวนประชากรผู้ต้องขังทั้งหมด (4) ประเทศที่มีอัตราผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีมากที่สุด 20 อันดับแรก เมื่อ เทียบกับประชากรในประเทศ 100,000 คน ได้แก่ ประเทศ อัตราผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีต่อประชากร 100,000 คน 1. หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา 195 2. กาบอง 193 3. ปารากวัย 186 4. กวม 182 5. บาร์เบโดส 177 6. หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน 175 7. ตรินิแดดและโตเบโก 174 8. ปานามา 170 9. คูราเซา 169 10. แองกวิลลา 167 11. นามิเบีย 161 12. บาฮามาส 159 13. เอลซัลวาดอร์ 157 14. แอนติกาและบาร์บูดา 155 15. เซนต์ลูเซีย 149 16. สหรัฐอเมริกา 148 17. สาธารณรัฐโดมินิกัน 37,000 18. เปรู 35,000 19. เวเนซูเอลา 35,000 20. โมรอคโค 32,00


14 (5) ตั้งแต่ ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา จ านวนผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีทั่วโลกเพิ่ม สูงขึ้นถึงร้อยละ 30 โดยทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนียเป็นทวีปที่มีจ านวนผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีเพิ่มขึ้น สูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 225.1 ตามด้วยทวีปอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.5 และทวีปเอเชีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.7 ตามล าดับ 1.4.2 การควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีในเรือนจ าต่างประเทศ การคุมขังผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีในแต่ละประเทศมีระยะเวลาที่ แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพในการพิจารณาคดีของศาลหรือ กฎหมายที่ก าหนดกรอบระยะเวลาในการรวบรวมหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาคดีต่อไป ในหลาย ประเทศโดยเฉพาะประเทศในทวีปยุโรปจะมีการก าหนดระยะเวลาคุมขังที่ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น อังกฤษและ เวลส์ที่ก าหนดระยะเวลาในการคุมขังระหว่างพิจารณาไว้ที่ 112 วัน ถึง 182 วัน ทั้งนี้ หากยังไม่มีการพิจารณา คดีของศาลภายในระยะเวลาดังกล่าว ผู้ต้องหาหรือจ าเลยสามารถขอรับการประกันตัวได้ หรือเนเธอร์แลนด์ที่ ก าหนดระยะเวลาคุมขังระหว่างพิจารณาคดีไว้ไม่เกิน 104 วัน ซึ่งหลังจากระยะเวลานี้จะต้องก าหนดให้มีการ ฟังค าพิจารณาจากศาลเป็นครั้งแรก อย่างไรก็ดี ยังมีหลายประเทศที่กฎหมายไม่ได้ก าหนดระยะเวลาที่ชัดเจนในการ ควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือจ าเลย อีกทั้งกระบวนการพิจารณาคดียังล่าช้า ส่งผลให้ผู้ต้องหาหรือจ าเลยต้องถูกคุม ขังในเรือนจ าเป็นระยะเวลานาน ยกตัวอย่างเช่น ไนจีเรียที่ผู้ต้องขังระหว่างใช้เวลาในเรือนจ าเฉลี่ย 3.7 ปี ก่อนที่จะมีการตัดสินความผิด 1.5 ผลกระทบของกำรควบคุมผู้ต้องขังระหว่ำงพิจำรณำคดีในเรือนจ ำ การควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือจ าเลยในเรือนจ าระหว่างกระบวนการพิจารณาคดี ส่งผล กระทบในหลากหลายมิติ เช่น การสูญเสียอาชีพ/รายได้ ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่แย่ลง การถูกจ ากัด อิสรภาพในการด าเนินชีวิต ค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มสูงขึ้นในการดูแลผู้ต้องขัง การแพร่ระบาดของโรคในเรือนจ า และสังคมภายนอก ตลอดจนการละเมิดหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การอธิบาย ผลกระทบของการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีในเรือนจ าเข้าใจได้โดยง่าย ผู้วิจัยได้แบ่งผลกระทบ ดังกล่าวออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับปัจเจก และระดับประเทศ ดังนี้ 1.5.1 ระดับปัจเจก การคุมขังระหว่างพิจารณาคดีก่อให้เกิดผลกระทบต่อตัวผู้ต้องหา หรือจ าเลย ดังนี้ (1) ความสัมพันธ์กับครอบครัวที่แย่ลง การถูกคุมขังในเรือนจ าส่งผลให้ผู้ต้องหา หรือจ าเลยต้องแยกกันอยู่กับครอบครัว ถึงแม้ว่าผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีจะได้รับการอนุญาตให้ติดต่อ ครอบครัวได้ขณะที่อยู่ในเรือนจ า แต่ผู้ต้องขังหลายรายยังประสบกับปัญหาในการติดต่อกับครอบครัวเนื่องจาก ถูกคุมขังในเรือนจ าที่ไกลจากภูมิล าเนา (2) การสูญเสียอาชีพ/รายได้จากการศึกษาพบว่าผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 20-40 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุของวัยท างาน ดังนั้น การถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีท า ให้ประชากรกลุ่มดังกล่าวสูญเสียอาชีพและรายได้ และนอกจากนี้อาจส่งผลกระทบต่อครอบครัวอีกด้วย หาก สมาชิกในครอบครัวต้องหารายได้เพิ่มเติมเพื่อมาทดแทนรายได้ของของผู้ต้องขังที่หายไประหว่างที่ถูกคุมขัง


15 (3) การสูญเสียโอกาสทางศึกษา ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีบางรายยังอยู่ในวัย ศึกษาเล่าเรียน ดังนั้น การถูกคุมขังในเรือนจ าอาจส่งผลให้การศึกษาไม่ต่อเนื่อง (4) ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นระหว่างที่ถูกคุมขัง เช่น ค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาคดี หรือทนายความ หรือในบางประเทศที่รัฐไม่ได้จัดสรรปัจจัยพื้นฐานในการด ารงชีวิตให้กับผู้ต้องขังอย่างเพียงพอ ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีอาจจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วยตนเอง เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม เครื่องนอน เป็นต้น (5) สุขกายและสุขภาพจิตที่แย่ลง การถูกคุมขังในเรือนจ าย่อมแตกต่างจากการใช้ ชีวิตแบบปกติในสังคมทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากการใช้ชีวิตในเรือนจ าจะต้องอยู่ร่วมกับคนจ านวนมาก อีกทั้ง สภาพแวดล้อมที่ไม่ได้ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น มีการใช้ก าลัง มีการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ ฯลฯ ย่อมส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพกายและ/หรือสุขภาพจิตไม่มาก็น้อย โดยจากผลการศึกษาพบว่าผู้ต้องขังเข้า ใหม่มักจะประสบกับปัญหาการปรับตัวให้เข้ากับความเป็นอยู่ในเรือนจ าจนก่อให้เกิดความเครียดหรือวิตก กังวลและมีปัญหาสุขภาพตามมา 1.5.2 ระดับประเทศ นอกจากการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีในเรือนจ า จะส่งผลกระทบต่อตัวผู้ต้องหาหรือจ าเลยแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อประเทศอีกด้วย โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อ ประเทศมีดังต่อไปนี้ (1) การสูญเสียบุคลากรในตลาดแรงงาน การสูญเสียบุคลากรในตลาดแรงงาน เป็นผลกระทบที่เกี่ยวเนื่องกับการสูญเสียอาชีพและรายได้ในระดับปัจเจก และหากวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐกิจ มหภาคจะพบว่าแรงงานในตลาดที่ลดลงนั้นย่อมส่งผลให้อัตราการว่างงานสูงขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาความยากจน ตามมา (2) ค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มสูงขึ้น การใช้มาตรการคุมขังระหว่างพิจารณาคดีท าให้ จ านวนผู้ต้องขังในเรือนจ าเพิ่มขึ้น ซึ่งจ านวนผู้ต้องขังที่เพิ่มขึ้นย่อมส่งผลให้งบประมาณในการดูแลผู้ต้องขัง เพิ่มขึ้นตามมา จากข้อมูลของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมราชทัณฑ์ ค่าใช้จ่ายตามความจ าเป็นพื้นฐาน (Unit Cost) ของผู้ต้องขังชายอยู่ที่ 21,931 บาท/คน/ปี และของผู้ต้องขังหญิงอยู่ที่ 22,165 บาท/คน/ปี ดังนั้น หากค านวณต้นทุนทางเศรษฐกิจของรัฐที่เกิดจากการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 - 2565 จะพบว่ารัฐมีค่าใช้จ่ายในภารกิจดังกล่าวเกือบ 1,200 ล้านบาท/ปี (3) การละเมิดหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน ถึงแม้ว่ากฎหมายจะอนุญาต ให้มีการใช้วิธีคุมขังระหว่างพิจารณาคดีได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วมาตรการดังกล่าวไม่ควรถูกน ามาใช้เกิน ความจ าเป็น เนื่องจากเป็นการละเมิดบรรทัดฐานระหว่างประเทศและหลักสิทธิมนุษยชน จากการศึกษา ยังพบว่าการคุมขังระหว่างพิจารณาคดีส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อผู้ต้องหาหรือจ าเลยที่มีฐานะยากจนเนื่องจาก ไม่สามารถหาหลักทรัพย์มาประกันตัวได้


16 2. ระเบียบข้อกฎหมำยที่เกี่ยวข้อง 2.1 ข้อก ำหนดมำตรฐำนขั้นต่ ำแห่งสหประชำชำติว่ำด้วยกำรปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง (ข้อก ำหนดแมนเดลำ ข้อก ำหนด 111 - 120 หน้ำ 29-31) ค. ผู้ต้องขังระหว่ำงสอบสวนและระหว่ำงกำรพิจำรณำ ข้อก ำหนด 111 1. บุคคลที่ถูกจับกุมหรือคุมขังเนื่องจากถูกตั้งข้อหาทางอาญาซึ่งอยู่ระหว่างการคุมขัง ของต ารวจหรือถูกฝากขังในเรือนจ าแต่ยังไม่ได้รับการพิจารณาคดีและมีค าพิพากษาลงโทษ ให้ถือว่าเป็น “ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาค” ตามที่กล่าวถึงในข้อก าหนดนี้ 2. ผู้ต้องขังที่ยังไม่ต้องค าพิพากษาอันเป็นที่สุดให้เป็นผู้กระท าผิดต้องสันนิฐานไว้ก่อนว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ และต้องได้รับการปฏิบัติเช่นนั้น 3.โดยไม่เป็นการเสียหายต่อข้อก าหนดตามกฎหมายเพื่อคุ้มครองเสรีภาพของบุคคล หรือกระบวนการปฏิบัติส าหรับผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา ต้องจัดให้ผู้ต้องขังเหล่านี้ได้รับประโยชน์จากระบบ การดูแลพิเศษ ซึ่งเป็นไปตามข้อก าหนดที่เป็นองค์ประกอบที่จ าเป็นดังต่อไปนี้ ข้อก ำหนด 112 1. ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาต้องขังแยกจากนักโทษเด็ดขาด 2. ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาที่เป็นเยาชน ให้ขังแยกจากผู้ใหญ่และโดยหลักการแล้วควร ควบคุมตัวโดยหน่วยงานที่แยกต่างหากออกไป ข้อก ำหนด 113 ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาจะต้องนอนแยกกันแต่ละห้องโดยค านึงถึงประเพณีวัฒนธรรม ในท้องถิ่นที่แตกต่างกันที่เกี่ยวกับสภาพอากาศ ข้อก ำหนด 114 โดยค านึงถึงข้อจ ากัดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของหน่วยงาน ผู้ต้องขังระหว่าง พิจารณาอาจสามารถสั่งอาหารจากภายนอกเข้ามาได้โดยต้องจ่ายเงินเอง ทั้งนี้โดยผ่านฝ่ายบริหารเรือนจ า หรือครอบครัวหรือเพื่อน หากไม่จัดหาอาหารมาเอง ฝ่ายบริหารเรือนจ าต้องเป็นผู้จัดอาหารให้ ข้อก ำหนด 115 ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาต้องได้รับอนุญาตให้สวมเสื้อผ้าตนเองที่มีความสะอาดและ เหมาะสมเสมอ หากบุคคลดังกล่าวสวมชุดของเรือนจ า ต้องให้เป็นชุดที่มีความแตกต่างจากชุดที่จัดให้ กับนักโทษเด็ดขาด ข้อก ำหนด 116 ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาจะต้องได้รับโอกาสในการท างานเสมอ แต่ต้องไม่ถูกก าหนดให้ ต้องท างาน กรณีที่เลือกจะท างานต้องได้รับค่าจ้างจากงานที่ท า ข้อก ำหนด 117 ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาต้องได้รับอนุญาตให้สามารถจัดหาหนังสือ หนังสือพิมพ์ เครื่องเขียนและอุปกรณ์ด้านอาชีพอย่างอื่นที่สอดคล้องกับประโยชน์ในการบริหารงานยุติธรรม หลักความปลอดภัย และความสงบเรียบร้อยในเรือนจ า โดยต้องออกค่าใช้จ่ายเองหรือมีบุคคลอื่นออกค่าใช้จ่ายให้


17 ข้อก ำหนด 118 ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาต้องได้รับอนุญาตให้พบและรับการรักษาจากแพทย์หรือทันต แพทย์ของตน หากมีเหตุผลสนับสนุนมากเพียงพอ และหากบุคคลดังกล่าวสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเองได้ ข้อก ำหนด 119 1. ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีทุกคนมีสิทธิได้รับแจ้งโดยพลันเกี่ยวกับเหตุผลที่ตนถูก ควบคุม และเกี่ยวกับข้อกล่าวหาที่มีต่อตน 2. กรณีที่ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาไม่มีที่ปรึกษากฎหมายที่ตนเลือก เขาย่อมมีสิทธิได้รับ การช่วยเหลือให้มีที่ปรึกษากฎหมายโดยศาลหรือหน่วยงานอื่นในทุกคดีที่ต้องการเพื่อประโยชน์แห่ง ความยุติธรรม โดยที่ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาไม่ต้องจ่ายเงินหากไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะจ่ายได้ กรณี ที่มีการปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงที่ปรึกษากฎหมาย จะต้องสามารถให้หน่วยงานอิสระพิจารณาทบทวนการปฏิเสธ ดังกล่าวได้โดยไม่ชักช้า ข้อก ำหนด 120 1. สิทธิและแบบแผนที่ก ากับดูแลการเข้าถึงที่ปรึกษากฎหมายหรือผู้ให้ความช่วยเหลือ ด้านกฎหมายเพื่อช่วยในการต่อสู้คดีให้กับผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาให้อยู่ใต้ภายใต้หลักการเดียวกับที่กล่าวถึง ในข้อก าหนด 61 2. เมื่อมีการร้องขอ ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาต้องได้รับอุปกรณ์เครื่องเขียนส าหรับ เตรียมเอกสารเพื่อการต่อสู้คดีของตน รวมทั้งการเขียนใบสั่งการอย่างเป็นความลับเพื่อส่งมอบให้กับที่ปรึกษา กฎหมายหรือผู้ให้การช่วยเหลือด้านกฎหมายของตน 2.2 ข้อก ำหนดสหประชำติว่ำด้วยกำรปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมำตรกำรที่มิใช่กำรคุมขัง ส ำหรับผู้กระท ำผิดหญิง (ข้อก ำหนดกรุงเทพ) ข. ผู้ต้องขังระหว่ำงสอบสวนหรือระหว่ำงพิจำรณำ ข้อก ำหนดที่ 56 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพึงตระหนักถึงความเสี่ยงที่ผู้หญิงอาจถูกล่วงละเมิดขณะถูกควบคุม ตัวช่วงก่อนและระหว่างการพิจารณาคดี ดังนั้น จึงควรมีการก าหนดมาตรการที่เหมาะสมไว้ในนโยบายและ แนวทางปฏิบัติเพื่อประกันความปลอดภัยให้กับผู้หญิงในช่วงเวลาดังกล่าว (ดูข้อก าหนดที่ 58 ซึ่งกล่าวถึง มาตรการทางเลือกนอกเหนือจากการควบคุมตัวช่วงก่อนและระหว่างพิจารณคดี) 2.3 มำตรฐำนกำรปฏิบัติงำนด้ำนกำรควบคุมผู้ต้องขัง (กรมรำชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม) เรื่อง : มำตรฐำนกำรปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่ำงพิจำรณำคดี กำรปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่ำงกำรพิจำรณำคดีออกจำกผู้ต้องขังเด็ดขำด เรือนจ า/ทัณฑสถาน กลุ่มเป้าหมาย คือ เรือนจ าทุกแห่งที่ควบคุมการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ระหว่างการพิจารณาคดี จ านวน 131 แห่ง ไม่นับรวม สถานกักขังจ านวน 5 แห่ง (เนื่องจากเป็นสถานที่ควบคุมผู้ต้องกักขัง) สถานกักกัน จ านวน 1 แห่ง (เนื่องจากเป็นสถานที่ควบคุมผู้ต้องกักกัน) ทัณฑสถานเปิด 5 แห่ง (เนื่องจากไม่มีผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี) ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ จ านวน 1 แห่ง (เนื่องจากทัณฑสถานโรงพยาบาล ราชทัณฑ์เป็นสถานที่ควบคุมเพื่อการรักษา)


18 2.3.1 การแบ่งแยกทางกายภาพ ให้ด าเนินการแยกการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่าง การพิจารณาคดีออกจากผู้ต้องขังเด็ดขาด โดยมีแนวทางในการด าเนินการดังนี้ 2.3.1.1 เรือนจ า/ทัณฑสถาน ที่มีลักษณะกายภาพเป็นหลายแดน ให้ก าหนด แดนใดแดนหนึ่งเป็นพื้นที่ส าหรับการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีเป็นการเฉพาะ และแยกพื้นที่ในการ ปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีออกจากผู้ต้องขังเด็ดขาดอย่างชัดเจน 2.3.1.2 เรือนจ า/ทัณฑสถาน ที่มีลักษณะกายภาพเป็นแดนเดียว ให้ก าหนดการ ด าเนินการ ดังนี้ (1) ตามแนวทางด าเนินการจัดแบ่งพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนด้วยวิธีการกั้น พื้นที่โดยใช้ Block Zone เพื่อแบ่งพื้นที่ควบคุมผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีแยกออกจากผู้ต้องขังเด็ดขาด (2) ได้ใช้ความพยายามถึงที่สุดแล้ว หากการจัดแบ่งพื้นที่ตาม แนวทางข้างต้นยังไม่อาจกระท าได้อย่างน้อยต้องแยกห้องนอนผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีกับนักโทษ เด็ดขาดออกจากกันเป็นสัดส่วน 2.3.2 การแบ่งแยกทางการปฏิบัติ 2.3.2.1 การแต่งกาย – นักโทษเด็ดขาดให้สวมเสื้อสีฟ้า กางเกงหรือผ้าถุง สีกรมท่า ส่วนผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีจะสวมใส่เครื่องแต่งกายด้วยชุดสีน้ าตาลหรือชุดสีลูกวัวตาม ระเบียบกรมราชทัณฑว่าด้วยเครื่องแต่งกายส าหรับผู้ต้องขัง พ.ศ. 2538 2.3.2.2 การตัดผม – การตัดผมผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีกับนักโทษ เด็ดขาดให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการตัดผมผู้ต้องขัง พ.ศ. 2565 2.3.2.3 การเยี่ยมการติดต่อของบุคคลภายนอกกับผู้ต้องขัง (1) การเยี่ยมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ กรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการเยี่ยม การติดต่อของบุคคลภายนอก และการเข้าดูกิจการหรือติดต่องานกับเรือนจ า พ.ศ. 2561 (2) ทนายความเข้าพบผู้ต้องขังเกี่ยวกับคดี – ทนายความหรือผู้จะเป็น ทนายความรายใดที่จะขอเข้าพบผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างสอบสวนหรือไต่สวนมูลฟ้องให้ทนายความรายนั้น ยื่นส าเนาใบอนุญาตให้เป็นทนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความ เพื่อเป็นหลักฐานประกอบค าร้องขอ พบผู้ต้องขังภายในเรือนจ าด้วย ส าหรับทนายความรายใดที่ผู้ต้องขังได้แต่งตั้งและคดีเข้าสู่กระบวนการพิจารณา ของศาลแล้ว ทนายความรายนั้นต้องยื่นส าเนาใบแต่งทนายความที่ศาลประทับรับไว้ในส านวนคดีให้เป็น ทนายความของผู้ต้องขัง ประกอบค าร้องขอพบผู้ต้องขังภายในเรือนจ าด้วย เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ต้องขังยังไม่ แต่งตั้งทนายความ ในกรณีมีเหตุพิเศษอันเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งทนายความ เช่น การถอนตัวของ ทนายความ การเสียชีวิตของทนายความ หรือการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นใหม่ผู้บัญชาการเรือนจ าอาจพิจารณา อนุญาตให้ทนายความเข้าพบผู้ต้องขังโดยไม่ต้องมีใบแต่งทนายความหรือใบแต่งทนายความที่ศาลประทับรับไว้ ในส านวนคดี ให้เป็นทนายความของผู้ต้องขังนั้นมาแสดงก็ได้ 2.3.2.4 การมอบหมายงานและการงานของผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดี (1) การมอบหมายงานให้ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีท า เจ้าพนักงาน เรือนจ ามีอ านาจสั่งให้ผู้ต้องขังท างานอย่างหนึ่งอย่างใดภายในเรือนจ าได้ ดังนี้


19 - ท างานรักษาความสะอาดหรืองานสุขาภิบาลของเรือนจ า - ท างานบ ารุงรักษาเรือนจ า - ท างานอื่นใดเพื่อประโยชน์ของทางราชการ (2) ผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีจะต้องไม่ถูกบังคับให้ท างาน ในลักษณะแรงงานรับจ้าง กรณีผู้ต้องขังเลือกจะท างานจะต้องมีหลักฐานแสดงความประสงค์หรือสมัครใจ ท างาน 2.3.3 ด้านกฎหมาย “ผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดี” หมายถึง ผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการพิจารณา คดีของศาลชั้นต้น “ผู้ต้องขัง” หมายความรวมถึงนักโทษเด็ดขาด คนต้องขัง และคนฝาก “คนฝาก” หมายความว่า บุคคลซึ่งถูกฝากให้ควบคุมไว้ตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายอื่นโดยไม่มีหมายอาญา กรณีที่ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีไม่มีที่ปรึกษากฎหมาย ให้เรือนจ าช่วยเหลือ ให้มีที่ปรึกษากฎหมาย โดยประสานงานกับหน่วยงานด้านกฎหมาย อาทิ ส านักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและ ช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี สภาทนายความประจ าจังหวัดหรือส านักงานยุติธรรมจังหวัดเพื่อ ขอรับการสนับสนุนวิทยากรเข้ามาอบรม ให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีอย่างสม่ าเสมอ เพื่อที่จะให้ค าปรึกษา แนะน าทางคดี 3. ผลงำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง (1) ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านอาชญาวิทยา, กรมราชทัณฑ์ (2547, บทคัดย่อ) ศึกษาวิจัยเรื่อง “ระยะเวลาในการถูกคุมขังชองผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษา ระยะเวลาเฉลี่ยในการถูกคุมขัง หลักการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี และผลกระทบของระยะเวลา ในการถูกคุมขังของผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงส ารวจ (Survey Research) ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร และการวิจัยภาคสนาม โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทะเบียนประวัติ ผู้ต้องขังของนักโทษเด็ดขาด จ านวน 6,884 คน เพื่อหาระยะเวลาเฉลี่ยในการถูกคุมขังของผู้ต้องระหว่าง พิจารณาคดีสูงสุดในพื้นที่แต่ล่ะภาคจ านวน 5 แห่ง ได้แก่ เรือนจ าพิเศษกรุงเทพมหานคร ทัณฑสถานหญิงกลาง เรือนจ ากลางเชียงราย เรือนจ ากลางสุราษฎร์ธานี และเรือนจ ากลางนครราชสีมา นอกจากนั้นได้ด าเนินการ สัมภาษณ์ข้อมูลในเชิงลึกกับผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีเพื่อจัดท าเป็นกรณีศึกษา (Case Study) จ านวน 5 คน ผลการศึกษาวิจัยพบว่าระยะเวลาเฉลี่ยในการถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดี โดยภาพรวมทั้ง หญิงและชายเท่ากับ 1 ปี 2 เดือน ซึ่งค่าเฉลี่ยโดยรวมเพศหญิงจะมีระยะเวลาที่ถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดี ยาวนานกว่าเพศชายในทุกคดีซึ่งน่าจะมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากเพศหญิงมักปฏิเสธการกระท าผิดและต่อสู้คดี ในขณะที่เพศชายยอมรับสารภาพเพื่อไม่ให้เสียเวลาในการต่อสู้คดี นอกจากนั้น ยังพบว่า ผู้ต้องขังคดียาเสพติด มีระยะเวลาเฉลี่ยยาวนานกว่าคดีอื่น ๆ


20 (2) ขนิษฐา ขาเมระนิยะ (2542, บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่อง “การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในระหว่าง พิจารณาคดี ศึกษาเฉพาะกรณี เรือนจ ากลางอุดรธานี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนในการปฏิบัติต่อ ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ศึกษาปัญหาความต้องการ และทัศนะของผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ต่อการ ควบคุมของเจ้าหน้าที่เรือนจ า รวมถึง แสวงหาแนวทางในการสงเคราะห์ และปฏิบัติต่อการควบคุมของ เจ้าหน้าที่เรือนจ า ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีจากจ านวน 127 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็น เพศชายคิดเป็นร้อยล่ะ 59.80 ซึ่งกลุ่มประชากรตัวอย่างส่วนใหญ่จะมีอายุเฉลี่ย 21 - 30 ปี คิดเป็นร้อยล่ะ 31 นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยล่ะ 97.60 สถานภาพการสมรสโสด คิดเป็นร้อยล่ะ 42.50 ระดับการศึกษาส่วน ใหญ่ส าเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็นร้อยล่ะ 52 มีอาชีพ เป็นลูกจ้างเอกชนถึงร้อยละ 44.10 และมีรายได้ ต่อเดือนต่ ากว่า 4,000 ร้อยล่ะ 61.40 ภาระรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในครอบครัว เป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมดถึงร้อย ล่ะ 44.90 ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี เป็นผู้มีหนี้สินร้อยล่ะ 74 เหตุผลที่กระท าผิด เนื่องจากสภาพแวดล้ม ร้อยล่ะ 45.40 และมีประวัติการกระท าผิดถูกจับครั้งแรกมากที่สุดร้อยละ 89 ประเด็นวิเคราะห์คือ ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีส่วนใหญ่ซึ่งถูกจับกุมครั้งแรกเชื่อฟังและ ปฏิบัติตามกฎระเบียบของเรือนจ า ในการปรับตัวเข้ากับเรือนจ า ในระยะแรกนั้นจะเข้าใจระเบียบและเคารพ ต่อ กฎ กติกา ที่วางเอาไว้ แม้ว่าจะถูกขังร่วมกับนักโทษเด็ดขาดและผู้ต้องขังมีความต้องการในการ รักษาพยาบาลเวลาเจ็บป่วย เรือนจ ากลางอุดรธานี จะมีพยาบาลและแพทย์ เข้ามาดูแลผู้ต้องขังระหว่าง พิจารณาคดีอยู่สม่ าเสมอ นอกจากนี้แล้วอยากเข้ารับการศึกษาต่อในสายสามัญ เพราะต้องการมีความรู้ หลังจากได้รับการปล่อยตัวผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ต้องการที่จะท ากิจกรรมร่วมกันในตอนเช้า ออกก าลัง กาย และเล่นเกมส์ สร้างความสามัคคีก่อนนอน และเรือนนอนในปัจจุบันมีความสะอาดเหมาะสม ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ร้อยล่ะ 78.40 พึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เรือนจ า และข้อปฏิบัติของเรือนจ า แต่สิ่งที่ทุกคนต้องการคือ การได้รับการปล่อยตัวออกไปสู่สังคมภายนอก มูลเหตุจูง ใจในการกระท าผิดเกิดจากปัญหาทางเศรษฐกิจ รายได้ไม่พอเพียงในครอบครัว ท าให้เกิดความคิดชั่ววูบ และ กระท าความผิด ความต้องการส าคัญหลังกลับเข้าสู่สังคมภายนอกคือ เงินทุนในการประกอบอาชีพ และ ต้องการได้รับค าปรึกษาจากนักสังคมสงเคราะห์ รวมถึง การยอมรับจากคนในสังคม


21 บทที่ 3 ผลกำรศึกษำและบทวิเครำะห์ ส าหรับเนื้อหาในบทนี้ คณะผู้วิจัยได้ท าการรวบรวมข้อมูลทั้งในด้านปริมาณ โดยอาศัยการ วิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลผู้ต้องขัง (17 ระบบ) ของกรมราชทัณฑ์ และด้านคุณภาพ โดยได้ท าการลงพื้นที่ สัมภาษณ์ผู้ต้องขังและเจ้าพนักงานเรือนจ าที่เกี่ยวข้อง และแบ่งเป็น 5 หัวข้อ ได้แก่ 1. ภาพรวมของสัดส่วนผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี 2. ผลการศึกษาด้านประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูล 3. ผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์ผู้ต้องขัง 4. ผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์เจ้าพนักงานเรือนจ า 5. ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ดังนี้ 3.1 ภำพรวมของสัดส่วนผู้ต้องขังระหว่ำงพิจำรณำคดี จากการศึกษาสถิติผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 - 2565 พบว่าผู้ต้องขังระหว่างฯ ในแต่ละปีมีผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีอยู่ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 16 - 18 ของ จ านวนผู้ต้องราชทัณฑ์ทั้งหมด โดยเป็นผู้ต้องขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกามากที่สุด รองลงมาคือระหว่างสอบสวน และระหว่างไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีตามล าดับ ตารางที่ 1 ตารางแสดงจ านวนผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2565 ปีงบประมาณ จ านวนผู้ต้องขังระหว่างฯ รายประเภท (คน) รวมทุก ประเภท (คน) ร้อยละ ของจ านวน ผู้ต้อง ราชทัณฑ์ อุทธรณ์-ฎีกา ไต่สวน-พิจารณา สอบสวน ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง พ.ศ. 2561 28,235 3,989 9,234 1,679 19,686 2,591 65,414 17.8 พ.ศ. 2562 25,480 3,688 8,694 1,510 17,310 2,253 58,935 16.2 พ.ศ. 2563 29,001 3,796 10,018 1,654 16,457 2,126 63,052 17.5 พ.ศ. 2564 21,664 2,682 12,107 1,946 13,132 1,668 53,199 18.6 พ.ศ. 2565 26,467 3,287 6,202 1,104 11,193 1,345 49,598 18.9 นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาฐานความผิดตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2565 จะพบว่าโดย เฉลี่ยแล้วผู้ต้องขังระหว่างฯ มากกว่าร้อยละ 70 เป็นผู้ต้องหาคดียาเสพติด และที่เหลือเป็นคดีทั่วไป


22 ตารางที่ 2 ตารางแสดงฐานความผิดที่โจทก์ฟ้องแยกเป็นคดียาเสพติดและคดีทั่วไป ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 - 2565 ปีงบประมาณ คดียาเสพติด คดีทั่วไป จ านวนผู้ต้องขังระหว่างฯ จ านวน ร้อยละ จ านวน ร้อยละ ทั้งหมด (คน) พ.ศ. 2561 48,519 74.2 16,895 25.8 65,414 พ.ศ. 2562 44,309 75.2 14,626 24.8 58,935 พ.ศ. 2563 48,883 77.5 14,169 22.5 63,052 พ.ศ. 2564 41,163 77.4 12,036 22.6 53,199 พ.ศ. 2565 34,634 69.8 14,964 30.2 49,598 จากการศึกษาในเรื่องนี้ สามารถสรุปเป็นข้อสังเกตได้ดังนี้ 3.1.1 การที่สัดส่วนของผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ต้องขังทั้งหมดไม่ เปลี่ยนไปอย่างมีนัยส าคัญ สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการใช้ดุลพินิจปล่อยชั่วคราวของศาลว่าไม่ได้เปลี่ยนไป มากนัก 3.1.2 ในระหว่างผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาด้วยกัน การที่ผู้ต้องขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกามี สัดส่วนมากที่สุดสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัย 2 ประการ คือ 3.1.2.1 ความสามารถในการต่อสู้คดีของจ าเลยที่น้อย กล่าวคือจ าเลยเลือกที่จะ สารภาพมากกว่าต่อสู้คดี และ 3.1.2.2 การด าเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเร็วกว่าในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกา (ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่จ าเลยจะรับสารภาพในศาลชั้นต้นมากกว่าสู้คดี) 3.1.3 การที่ผู้ต้องขังระหว่างสอบสวน มีจ านวนมากกว่าผู้ต้องขังระหว่างไต่สวนมูลฟ้องหรือ พิจารณา สะท้อนให้เห็นถึงปัจจัย 2 ประการ 3.1.3.1 พนักงานสอบสวนใช้ระยะเวลาด าเนินการในชั้นสอบสวนนานกว่าศาลชั้นต้น พิจารณา ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ศาลมีอ านาจสั่งขังหลายครั้งรวมกัน ทั้งหมดไม่เกิน 84 วัน 3.1.3.2 จากข้อสรุป 3.3.1 สามารถอนุมานได้ว่า การด าเนินกระบวนพิจารณาในศาล ชั้นต้นมีแนวโน้มที่จะใช้ระยะเวลาด าเนินการไม่เกิน 84 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาสูงสุดที่ศาลจะขังไว้ระหว่าง สอบสวน 3.1.4 เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของจ านวนผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาทั้ง 3 ประเภทซึ่ง เป็นผู้ต้องขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกามากที่สุด รองลงมาคือระหว่างสอบสวน และระหว่างไต่สวนมูลฟ้องหรือ พิจารณาคดีน้อยที่สุดแล้ว สามารถสะท้อนภาพของผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาว่าควรจะเป็นกลุ่มที่พนักงาน สอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานมีประสิทธิภาพพอที่จะท าให้ผู้ต้องหาหรือจ าเลยรับสารภาพ ส่งผลให้ศาล ชั้นต้นใช้เวลาสืบพยานน้อย และศาลมีแนวโน้มที่จะใช้วิธีการคุมขังผู้ต้องหาหรือจ าเลยที่รับสารภาพ มากกว่ามี ค าสั่งปล่อยชั่วคราว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการใช้หลักการ Bail not Jail ของศาลในปัจจุบันอีกทอดหนึ่ง


23 3.2 กำรวิเครำะห์ในด้ำนประชำกรศำสตร์จำกฐำนข้อมูล จากการศึกษาประชากรผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จ านวน ทั้งสิ้น 47,589 คน ซึ่งเป็นข้อมูลในระบบฐานข้อมูลผู้ต้องขัง และได้ท าการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาที่ เกี่ยวข้องกับข้อมูลด้านเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ 3.2.1 เพศ จากการศึกษาพบว่าร้อยละ 90 ของประชากรผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา เป็นเพศชาย 3.2.2 อำยุเฉลี่ยของผู้ต้องขังระหว่ำงพิจำรณำ อยู่ที่ 35 ปี ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 25-44 ปี (ร้อยละ 68.3) รองลงมาคือ ช่วงอายุ 18 - 24 ปี (ร้อยละ 13.7) และ 45 - 54 ปี (ร้อยละ 12.8) ตามล าดับ โดยผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาที่อายุน้อย ที่สุด คือ 18 ปี และมากที่สุดคือ 91 ปี 3.2.3 ระยะเวลำถูกขังโดยเฉลี่ย อยู่ที่ 4 เดือน 3.2.4 กำรศึกษำ 3.2.4.1 ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาร้อยละ 98 ได้รับการศึกษาก่อนถูกจับกุม 3.2.4.2 สัดส่วนของผู้ต้องขังที่ได้รับการศึกษาก่อนถูกจับกุมจะผกผันกับระดับ การศึกษาที่ได้รับ กล่าวคือ มีผู้ที่จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาร้อยละ 44 ระดับมัธยมศึกษาอยู่ที่ร้อยละ 43.9 ระดับอาชีวศึกษา/อนุปริญญา ร้อยละ 7.1 ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 2.7 และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 0.3 ตามล าดับ 3.2.5 อำชีพ ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปมากที่สุด ร้อยละ 61.1 รองลงมาคือ อาชีพเกษตรกร ร้อย ละ 14.2 และค้าขาย ร้อยละ 8.2 ตามล าดับ 3.2.6 รำยได้ ได้ท าการศึกษาฐานข้อมูลผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาในคดีความผิดทั่วไป จ านวน 9,292 คน เกี่ยวกับรายได้ โดยจ าแนกรายได้เป็น 6 ช่วงชั้น ได้แก่ ไม่เกิน 9,000 บาท (น้อยกว่าค่าจ้างแรงงาน ขั้นต่ า) 9,001 – 15,000 บาท (ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ าส าหรับคนไม่จบปริญญาจนถึงจบปริญญาตรี) 15,001 – 30,000 บาท (มากกว่าค่าจ้างแรงงานขั้นต่ าจนถึงสูงกว่ารายได้เฉลี่ยครัวเรือนเล็กน้อย) 30,001 – 50,000 บาท 50,001 – 100,000 บาท และมากกว่า 100,000 บาท พบว่า ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 9,000 - 15,000 บาท (ร้อยละ 61) ซึ่งเป็นช่วงของค่าจ้างแรงงานขั้นต่ า พบว่า 3.2.6.1 ผู้ต้องขังส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ในช่วงชั้นที่ 2 (9,001 – 15,000 บาท) มากที่สุด ถึงร้อยละ 61 (5,669 คน) รองลงมาคือ ช่วงชั้นที่ 1 (ต่ ากว่า 9,000 บาท) ร้อยละ 21.8 (2,029 คน) และช่วง ชั้นที่ 3 (15,001 - 30,000 บาท) ร้อยละ 12.2 (1,137 คน) ตามล าดับ ในขณะที่ผู้ต้องขังที่มีรายได้ในช่วงชั้นที่ 4-6 รวมกันมีเพียงร้อยละ 4.91 (457 คน) 3.2.6.2 เมื่อน าผู้ต้องขังที่มีรายได้ในช่วงชั้นที่ 1 – 3 ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่มาหา รายได้เฉลี่ย พบว่าจะมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 10,600 บาท/คน 3.2.6.3 จากผลของรายได้เฉลี่ยตาม 3.2.5.2 สามารถสะท้อนถึงความสัมพันธ์ดังนี้


24 (1) ความสัมพันธ์ระหว่างการกระท าความผิดและโอกาสทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ ยิ่งมีรายได้น้อยก็จะมีโอกาสกระท าผิดและอยู่ในเรือนจ ามากขึ้น (2) ความสามารถในการต่อสู้คดีที่ขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ การ ที่สัดส่วนของผู้ต้องขังที่มีรายได้ในช่วงชั้นที่ 4 – 6 มีจ านวนน้อยมาก อาจสะท้อนค่าใช้จ่ายในการประกันตัว และจ้างทนายความเพื่อสู้คดีที่สูง จนคนในช่วงชั้นที่ 1 – 3 เลือกที่จะไม่ประกันตัวหรือถึงขั้นไม่ต่อสู้คดี ซึ่ง สัมพันธ์กับระยะเวลาในการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่สั้น หมายเหตุ ไม่นับรวมข้อมูลของผู้ต้องขังคดียาเสพติด (ฐานผลิต น าเข้าหรือส่งออก ผลิต น าเข้าหรือส่งออกเพื่อจ าหน่าย จ าหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจ าหน่าย) เนื่องจากมีจ านวนเงินที่อาจ เป็นรายได้ที่ผิดกฎหมายปะปน ไม่เหมาะสมที่จะน ามาค านวณความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ตารางที่ 3 ตารางแสดงข้อมูลทางประชากรศาสตร์ของผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดี ประจ าปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (จ านวนประชากร 47,589 คน) ข้อมูลทางประชากรศาสตร์ จ านวน (คน) ร้อยละ หมายเหตุ 1. เพศ ชำย หญิง รวม 42,577 5,012 47,589 89.5 10.5 100 2. อายุ (ปี) 18 - 24 25 - 34 35 - 44 45 - 54 55 - 64 มากกว่า 65 รวม 5,223 14,059 11,983 4,868 1,566 405 38,104 13.7 36.9 31.4 12.8 4.1 1.1 100 -ข้อมูลที่น ามาใช้วิเคราะห์ได้ 38,104 คน -ข้อมูลที่น ามาใช้วิเคราะห์ไม่ได้ (missing values) 9,485 คน


25 ข้อมูลทางประชากรศาสตร์ จ านวน (คน) ร้อยละ หมายเหตุ 3. ระดับการศึกษา ไม่ได้ศึกษา ประถมศึกษำ มัธยมศึกษำ อาชีวศึกษา/อนุปริญญา ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี รวม 660 14,479 14,436 2,332 885 103 32,895 2.0 44.0 43.9 7.1 2.7 0.3 100 -ข้อมูลที่น ามาใช้วิเคราะห์ได้32,895 คน -ข้อมูลที่น ามาใช้วิเคราะห์ไม่ได้ (missing values) 14,694 คน 4. อาชีพ ว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ นักเรียน/นักศึกษา รับจ้ำงทั่วไป เกษตรกรรม/กสิกรรม ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว รับราชการ รัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัท/ลูกจ้าง อาชีพอิสระ อื่น ๆ 2,689 100 19,940 4,640 2,681 524 135 17 979 390 556 32,651 8.2 0.3 61.1 14.2 8.2 1.6 0.4 0.1 3.0 1.2 1.7 100 -ข้อมูลที่น ามาใช้วิเคราะห์ได้ 32,651 คน -ข้อมูลที่น ามาใช้วิเคราะห์ไม่ได้ (missing values) 14,938 คน


26 ข้อมูลทางประชากรศาสตร์ จ านวน (คน) ร้อยละ หมายเหตุ 5. รายได้ต่อเดือน (บาท) ต่ ากว่า 9,000 9,000 - 15,000 15,001 - 30,000 30,001 - 50,000 50,001 - 100,000 มากกว่า 100,000 รวม 2,029 5,669 1,137 202 147 108 9,292 21.8 61.0 12.2 2.2 1.6 1.2 100 -ข้อมูลที่น ามาใช้วิเคราะห์ มีจ านวนทั้งสิ้น 9,292 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในคดีทั่วไป ไม่ นับรวมคดียาเสพติด เนื่องจากเป็น รายได้ ที่ผิดกฎหมาย ไม่สะท้อน ให้เห็นถึงความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจ 3.2.7 ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงอำชีพและรำยได้ พบว่า 3.2.7.1 ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีจะประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปมากที่สุด (ร้อยละ 59.3) รองลงมาคือค้าขาย (ร้อยละ 10) โดยทั้งสองกลุ่มมีสัดส่วนรวมกันอยู่ที่ ร้อยละ 69.3 ของผู้ต้องขัง ระหว่างพิจารณาทั้งหมด 3.2.7.2 ผู้ต้องขังกลุ่มที่มีรายได้ต่ ากว่า 9,000 บาท จะเป็นกลุ่มที่ว่างงานในสัดส่วนสูง ที่สุด (ร้อยละ 42.9) 3.2.7.3 ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีใน 4 ช่วงชั้นแรกรวมกัน (ต่ ากว่า 9,000 – 50,000 บาท) กลุ่มที่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปจะมีสัดส่วนสูงที่สุด และในช่วงชั้นที่ 5 และ 6 รวมกัน (50,001 - มากกว่า 100,000 บาท) กลุ่มที่ประกอบอาชีพค้าขายจะมีสัดส่วนสูงที่สุด 3.2.7.4 การที่กลุ่มที่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปและค้าขาย ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่กระจาย ตัวในสัดส่วนที่สูงของทุกช่วงชั้น อาจสะท้อนให้เห็นถึงความผิดทางอาญาตามกฎหมายที่มีจ านวนมากเกินไป ท าให้คนทุกกลุ่มรายได้มีโอกาสเป็นผู้กระท าผิดและอยู่ในเรือนจ า ตารางที่ 4ตารางแสดงอาชีพหลัก 3 อันดับแรก ในแต่ละช่วงรายได้ (กลุ่มตัวอย่าง 9,229 คน) ช่วงรายได้ต่อเดือน (บาท) อาชีพหลัก 3 อันดับแรก รายได้เฉลี่ย ต่อเดือน (บาท) 1. ต่ ากว่า 9,000 (2,029 คน) อันดับ 1 ว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ (ร้อยละ 42.9 ) อันดับ 2 รับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 31.3) อันดับ 3 เกษตรกรรม/กสิกรรม (ร้อยละ 13.6) - 4,788 5,472 2. 9,000 - 15,000 (5,669 คน) อันดับ 1 รับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 74.1) อันดับ 2ค้าขาย(ร้อยละ 7.7) 10,822 12,072


27 อันดับ 3 เกษตรกรรม/กสิกรรม (ร้อยละ 7.6) 10,542 3. 15,001 -30,000 (1,137 คน) อันดับ 1 รับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 47.9) อันดับ 2 ค้าขาย (ร้อยละ 18.7) อันดับ 3 พนักงานบริษัท/ลูกจ้าง (ร้อยละ 8.7) 21,651 24,343 21,128 4. 30,001 -50,000 (202 คน) อันดับ 1 รับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 30.7) อันดับ 2ค้าขาย (ร้อยละ 22.8) อันดับ 3ธุรกิจส่วนตัว (ร้อยละ 15.8) 43,828 45,283 47,688 5. 50,001 - 100,000 (147 คน) อันดับ 1 ค้าขาย(ร้อยละ 29.9) อันดับ 2รับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 26.5) อันดับ 3ธุรกิจส่วนตัว (ร้อยละ 26.5) 80,682 78,513 87,692 6. มากกว่า 100,000 (108 คน) อันดับ 1 ธุรกิจส่วนตัว (ร้อยละ 35.2) อันดับ 2 ค้าขาย(ร้อยละ 26.9) อันดับ 3รับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 23.1) 1,236,579 419,310 450,960 3.2.8 ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการถูกคุมขัง ประเมินได้ดังนี้ 3.2.8.1 ค่าใช้จ่ายที่เป็นจ านวนที่ค านวณได้แน่นอน ได้แก่ (1) ความสูญเสียรายได้จากการที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ คิดโดยน าค่าเฉลี่ย รายได้ที่ 10,600 บาท ของประชากรส่วนใหญ่ มาคูณกับระยะเวลาถูกขังโดยเฉลี่ย 4 เดือน จะได้ค่าความ สูญเสียรายได้ที่ 42,400 บาท (2) ค่าใช้จ่ายที่รัฐออกงบประมาณ ได้แก่ ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคที่จ าเป็นซึ่ง อ้างอิงจากอัตราที่กรมราชทัณฑ์ขอรับการจัดสรรงบประมาณจากกระทรวงการคลัง โดยผู้ต้องขังชายจะอยู่ที่ 21,931 บาท/คน/ปี และของผู้ต้องขังหญิงอยู่ที่ 22,165 บาท/คน/ปี 3.2.8.2 ค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถค านวณได้แน่นอน ได้แก่ (1) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทนายความและการด าเนินคดี ซึ่งจากฐานข้อมูลต่ าสุด อยู่ที่ 5,000 บาท และสูงสุดที่ 4,000,000 บาท (2) ค่าใช้จ่ายอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาลหากเจ็บป่วย ค่าเดินทางมาเยี่ยมของ ญาติ ซึ่งการศึกษานี้ไม่ได้เก็บข้อมูลในส่วนนี้


28 ส าหรับการศึกษานี้จะพิจารณาเฉพาะในส่วนของค่าใช้จ่ายตาม 3.2.8.1 ซึ่งเป็นจ านวน เงินที่แน่นอนเท่านั้น โดยเมื่อน าค่าใช้จ่ายตาม 3.2.8.1 (1) และ (2) มาค านวณจะพบว่าในการด าเนินคดีกับ จ าเลย 1 คน จะมีความสูญเสียอยู่ที่เดือนละ 12,428 บาท ส าหรับผู้ชาย และ 12,447 บาท ส าหรับผู้หญิง และ เมื่อคูณกับระยะเวลาถูกขังเฉลี่ย 4 เดือน จะพบว่าในการด าเนินคดีจนถึงที่สุด จะมีความสูญเสีย 49,710 บาท ส าหรับผู้ชาย และ 49,788 บาท ส าหรับผู้หญิง 3.3 ผลกำรศึกษำจำกกำรสัมภำษณ์ผู้ต้องขัง ผู้ศึกษาได้ท าการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างส าหรับการศึกษาเชิงคุณภาพ รวมทั้งสิ้น 132 คน ประกอบด้วยผู้ต้องขังระหว่างไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา (หมายเขียว) ในคดีทั่วไปที่มีตัวอยู่ จ านวน 96 คน และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในเรือนจ า จ านวน 36 คน จากเรือนจ า/ทัณฑสถาน 11 แห่ง โดยใช้แบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interview) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากการ สัมภาษณ์ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปก่อนต้องโทษ ข้อมูลเกี่ยวกับคดี และ ข้อมูลเกี่ยวกับการถูกคุมขังในเรือนจ า ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบในด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการคุมขัง ระหว่างพิจารณาคดี ตลอดจนการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ของเรือนจ า/ทัณฑสถาน สรุปได้ ดังนี้ 3.3.1 ข้อมูลทั่วไปก่อนต้องโทษ 3.3.1.1 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเพศชาย ร้อยละ 65.6 เพศหญิง ร้อยละ 36.4 มากกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในช่วงวัยท างาน (25 - 44 ปี) (ร้อยละ 66.7) และส่วนใหญ่มีสถานะโสด (ร้อยละ 36.5) 3.3.1.2 กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 70 จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (แบ่งเป็นระดับ มัธยมศึกษา ร้อยละ 39.6 และระดับประถมศึกษา ร้อยละ 32.3) ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป (ร้อย ละ 35.4) และมีรายได้ต่อเดือนประมาณ 10,000 - 20,000 บาท (ร้อยละ 49) 3.3.1.3 ร้อยละ 74 ของกลุ่มตัวอย่าง มีภาระรับผิดชอบสมาชิกในครอบครัว คิดเป็น เงินตั้งแต่ 1,500 - 100,000 บาท/เดือน นอกจากนี้ เกือบครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างมีภาระหนี้สิน ตั้งแต่ 500 - 2,000,000 บาท (ร้อยละ 49) 3.3.2 ข้อมูลเกี่ยวกับคดี 3.3.2.1 ลักษณะความผิดที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ (ร้อยละ 59.8) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคดีฉ้อโกง มีความเกี่ยวข้องกับการพนันออนไลน์ รองลงมาคือ ความผิดเกี่ยวกับ ชีวิตและร่างกาย (ร้อยละ 15) และความผิดตามพระราชบัญญัติการกระท าความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ร้อย ละ 6.5) ตามล าดับ 3.3.2.2 ร้อยละ 19.8 ของกลุ่มตัวอย่างเคยกระท าผิดซ้ า ส่วนใหญ่เป็นการกระท าผิด ซ้ าครั้งที่ 2 (นับรวมครั้งนี้) โดยการกระท าผิดครั้งแรกส่วนมากเป็นฐานความผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 3.3.2.3 ส าหรับการคุมขังในครั้งนี้ ระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่กลุ่มตัวอย่างถูกคุมขังอยู่ที่ 6 เดือน ระยะเวลาน้อยที่สุดอยู่ที่ 1 เดือน และระยะเวลานานที่สุดอยู่ที่ 3 ปี ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ถูกคุมขัง มาแล้วเป็นระยะเวลา 1 - 6 เดือน


29 3.3.3 ข้อมูลเกี่ยวกับการถูกคุมขังในเรือนจ า 3.3.3.1 ผลกระทบด้านอาชีพ/รายได้ (1) การถูกคุมขังในเรือนจ าส่งผลให้ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี สูญเสีย รายได้ตั้งแต่ 4,000 บาท ถึง 10 ล้านบาท โดยกลุ่มอาชีพที่มีการสูญเสียรายได้โดยเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจส่วนตัว รับจ้างทั่วไป และค้าขาย (2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้แสดงความคิดเห็นว่าการสูญเสียรายได้ไม่ เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อตนเอง แต่ยังส่งผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัว เนื่องจากตนเป็นแหล่งรายได้หลัก ของครอบครัว นอกจากนี้ สมาชิกในครอบครัวจ าต้องหารายได้เพิ่มเติมเพื่อน ามาทดแทนรายได้ที่ขาดหายไป รวมถึงสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดี เช่น ค่าทนายความ เป็นต้น 3.3.3.2 ผลกระทบด้านการเข้าถึงที่ปรึกษาทางกฎหมาย/ทนาย (1) กลุ่มตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 90 ได้รับการแจ้งเกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึงที่ ปรึกษาทางกฎหมาย/ทนายความ และมากกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการแจ้งสิทธิดังกล่าวได้พบที่ ปรึกษาทางกฎหมาย/ทนายความ ทั้งนี้ ตั้งแต่ถูกคุมขังได้มีโอกาสพบที่ปรึกษาทางกฎหมาย/ทนายความโดย เฉลี่ยแค่ 1 ครั้ง (2) ค่าใช้จ่ายในการจ้างที่ปรึกษาทางกฎหมาย/ทนายความเป็นเงินโดยเฉลี่ย คนละ 320,000 บาท โดยค่าจ้างฯ สูงสุดอยู่ 4 ล้านบาท ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นคือครอบครัวของกลุ่มตัวอย่าง ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนดังกล่าว บางครอบครัวต้องขายทรัพย์สินเพื่อน าเงินมาจ่ายเป็นค่าที่ปรึกษาทาง กฎหมาย/ทนายความ 3.3.3.3 ผลกระทบด้านการศึกษา (1) เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มิได้เป็นนักเรียน/นักศึกษาและอยู่ในช่วง วัยท างาน การถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีจึงไม่ส่งผลกระทบต่อโอกาสด้านการศึกษา (2) เมื่อสอบถามถึงความต้องการศึกษาขณะถูกคุมขังในเรือนจ า กลุ่มตัวอย่าง กว่าร้อยละ 50 มิได้สนใจที่จะเลือกศึกษาต่อ เพราะต้องการด าเนินการเรื่องการต่อสู้คดีมากกว่า อีกทั้งจบ การศึกษามาแล้ว จึงไม่มีความจ าเป็นที่จะต้องศึกษาต่อ 3.3.3.4 ผลกระทบด้านความสัมพันธ์กับครอบครัว/เพื่อนฝูง/สังคมภายนอก (1) ร้อยละ 30 ของกลุ่มตัวอย่างไม่มีครอบครัวหรือคนใกล้ชิดมาเยี่ยมตั้งแต่ ถูกคุมขังในเรือนจ า จึงท าให้ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ส่วนใหญ่ในกลุ่มตัวอย่างนี้ไม่ได้รับเงินฝาก อย่างไรก็ ดี มีผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี บางรายได้รับเงินฝากผ่านระบบเงินฝากผู้ต้องขังถึงแม้จะไม่มีญาติมาเยี่ยมก็ ตาม (2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับเงินฝากต่อเดือนอยู่ที่ 1,000 - 5,000 บาท ซึ่งเป็นจ านวนเงินที่เพียงพอต่อการใช้สอยในเรือนจ า/ทัณฑสถาน (3) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าการคุมขังระหว่างพิจารณาคดีไม่ส่งผล กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและครอบครัว/เพื่อนฝูง/สังคมภายนอก ซึ่งสอดคล้องกับข้อค้นพบที่ว่า กลุ่มคนเหล่านี้มักจะมีญาติมาเยี่ยมเป็นประจ า อีกทั้งยังมีการฝากเงินให้ใช้ในเรือนจ า/ทัณฑถาน (4) ส าหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบ การคุมขังระหว่างพิจารณาคดีท าให้ ความสัมพันธ์กับครอบครัว/เพื่อนฝูง/สังคมภายนอกแย่ลงเนื่องจากมีความห่างเหิน สูญเสียโอกาสในการดูแล ครอบครัว ตลอดจนถูกสังคมตีตราทั้งที่ยังไม่ถูกตัดสินว่ากระท าผิด


30 3.3.3.5 ผลกระทบด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ประสบปัญหาสุขภาพกายระหว่างที่ถูกคุมขังใน เรือนจ า หากมีอาการเจ็บป่วยก็เป็นอาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างรู้สึกว่าความเป็นอยู่ ในเรือนจ าอยู่ในระดับที่ดี มีการจัดสิ่งจ าเป็นขั้นพื้นฐานให้ตามความเหมาะสม เช่น อาหารตามหลักโภชนาการ จ านวน 3 มื้อ น้ าดื่มสะอาด ห้องนอนสะอาดและอากาศถ่ายเท เครื่องแต่งกาย และการเข้าถึงการรักษาพยาบาล เป็นต้น (2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าการถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีส่งผล กระทบต่อสุขภาพจิต ซึ่งเป็นความกังวลที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้คดี ความเป็นห่วงครอบครัว การสูญเสียรายได้/ หนี้สินที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตในเรือนจ า โดยเฉพาะการปฏิบัติตามตารางกิจวัตร ประจ าวันของเรือนจ า 3.3.3.6 การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ตามมาตรฐานสากลและ ข้อก าหนดของกรมราชทัณฑ์ ผลการสอบถามผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี เกี่ยวกับการได้รับการปฏิบัติ โดยค านึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ดังนี้ ตารางที่ 5 ตารางแสดงการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีตามมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติโดยเคารพถึงศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์/มาตรฐานสากล การด าเนินการ หมายเหตุ 1. การแยกคุมขังจากนักโทษเด็ดขาด - เรือนจ า/ทัณฑสถานกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่แยกแดนผู้ต้องขังระหว่าง พิจารณาคดี โดยชัดเจน - อย่างไรก็ดีเนื่องจากจ านวนผู้ต้องขัง ที่เพิ่มขึ้นท าให้เรือนจ า/ทัณฑสถานบาง แห่งไม่สามารถ แยกแดนได้ จึงได้ด าเนินการ แยกห้องขังแทน 2. การแต่งกายและทรงผม การแต่งกายแตกต่าง แต่ทรงผมเหมือน นักโทษเด็ดขาด 3. การสั่งซื้ออาหารที่นอกเหนือจาก อาหารที่เรือนจ าจัดให้โดยต้อง รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ได้รับอนุญาต โดยเป็นการสั่งซื้อจาก ร้านค้าสวัสดิการผู้ต้องขังของเรือนจ า/ ทัณฑสถาน 4. การปฏิบัติโดยค านึงถึงหลักความ เชื่อและความแตกต่างทางศาสนา ใช่ เช่น ได้รับอนุญาตให้ศึกษาหลักค า สอนทางศาสนา หรือประกอบศาสนกิจ เป็นต้น


31 การปฏิบัติโดยเคารพถึงศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์/มาตรฐานสากล การด าเนินการ หมายเหตุ 5. การฝึกวิชาชีพตามความสนใจและ/ หรือให้ท างานรับจ้าง ด้วยความสมัครใจ ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากยังไม่มี สถานะเป็นนักโทษเด็ดขาด เรือนจ า/ทัณฑสถานบางแห่งอนุญาต ให้ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ฝึกวิชาชีพได้และมีการจ่ายเงิน รางวัล 6. การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารภายนอกที่ เป็นปัจจุบัน สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจาก ภายนอกได้ แต่จะต้องเป็นข้อมูล ข่าวสารที่เรือนจ า/ทัณฑสถานก าหนด เท่านั้น ประเภทของข้อมูลข่าวสารที่ กลุ่มตัวอย่างได้รับ เช่น รายการเรื่อง เล่าชาวเรือนจ า รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์จดหมายจากญาติ เป็น ต้น 7. การประเมินความเสี่ยงหลังจากรับ ตัวเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย หรือการ ประเมินสภาพจิตอื่นๆ เพื่อป้องกัน ความเครียดที่อาจเกิดขึ้นขณะถูก ควบคุมตัว ในเรือนจ า/ทัณฑสถาน ได้ รับก า รป ระเมินด้ วย วิธีก า รท า แบบทดสอบ หรือมีนักจิตวิทยา/นัก สังคมสงเคราะห์ ท าการ ประเมิน/ให้ค าปรึกษา 8. การใช้เครื่องพันธนาการ ถูกใส่เมื่อถูกน าตัวออกไปนอกเรือนจ า เช่น ส่งป่วยโรงพยาบาล ไปศาล เป็น ต้น กลุ่มตัวอย่างที่เป็นหญิงส่วนใหญ่จะ ไม่ถูกใส่เครื่องพันธนาการแม้ว่าจะมี การควบคุมตัวออกไปนอกเรือนจ า 9. การเข้าเยี่ยมของญาติและ ที่ปรึกษาทางกฎหมาย/ทนาย ได้รับอนุญาต เรือนจ า/ทัณฑสถานจะก าหนด ตารางเวลาเยี่ยม/ขอเข้าพบ เช่น - ที่ปรึกษาทางกฎหมาย/ทนาย สามารถเข้าพบผู้ต้องขังระหว่าง พิจารณาคดี ได้ทุกเว้น เว้น วันหยุดราชการ - ในส่วนของการเยี่ยมญาติ ขึ้นอยู่ กับการบริหารจัดการของแต่ละ เรือนจ า/ทัณฑสถาน 3.4 ผลกำรศึกษำจำกกำรสัมภำษณ์เจ้ำพนักงำนเรือนจ ำ ได้สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในเรือนจ า 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้อ านวยการเรือนจ า/ ผู้อ านวยการทัณฑสถาน ผู้อ านวยการส่วน และเจ้าหน้าที่ระดับหัวหน้าฝ่าย/เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับ ผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีรวมทั้งสิ้น 36 ราย โดยแบบสัมภาษณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นลักษณะปลายเปิด (Open-ended) ประกอบด้วยข้อค าถาม 3 ข้อ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น ดังนี้ (1) ปัญหา/อุปสรรคในการควบคุม ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี (2) แนวทางการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี และ (3) ผู้ต้องสงสัยกลุ่มที่ ไม่ควรถูกควบคุมในเรือนจ าระหว่างรอการพิจารณาคดี สรุปได้ดังนี้


32 3.4.1 ปัญหา/อุปสรรคที่พบในการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 3.4.1.1 ด้านผู้ต้องขัง เช่น ปัญหาการปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตและกฎ/ระเบียบของ เรือนจ า ท าให้เกิดความเครียดและวิตกกังวล บางรายมีพฤติการณ์ท าร้ายตนเองและพยายามฆ่าตัวตาย ปัญหา โรคประจ าตัว/โรคติดต่อ บางรายมีอาการป่วยจิตเวช เป็นต้น 3.4.1.2 ด้านกายภาพเรือนจ า เช่น ไม่มีพื้นที่ส าหรับแยกคุมขังผู้ต้องขังระหว่าง พิจารณาคดี ออกจากนักโทษเด็ดขาดได้อย่างสมบูรณ์ โครงสร้างทางกายภาพของเรือนจ าที่ทรุดโทรมส่งผลต่อ ความเป็นอยู่ของผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีเป็นต้น 3.4.1.3 ด้านงบประมาณ ได้แก่ งบประมาณในการดูแลผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ไม่เพียงพอกับจ านวนผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดีที่เพิ่มมากขึ้น และขาดแคลนเทคโนโลยีที่น ามาใช้ สนับสนุนภารกิจด้านการควบคุม โดยเฉพาะกล้องวงจรปิด 3.4.1.4 ด้านเจ้าหน้าที่ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการ ปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี โดยเฉพาะมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง และจ านวนเจ้าหน้าที่ไม่สมดุลกับ จ านวนผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี 3.4.1.5 ด้านมาตรการ/นโยบาย/กฎหมาย การก าหนดนโยบายจากส่วนกลาง การ บังคับใช้กฎหมายใหม่ รวมถึงมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง มีจ านวนมาก ท าให้เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาในการท า ความเข้าใจเพื่อน าไปปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี มาตรการหรือแนวทางปฏิบัติบางประการเข้มงวด เกินไปส าหรับผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ซึ่งตามหลักกฎหมายผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ยังถือว่าเป็นผู้ บริสุทธิ์ แต่ในทางปฏิบัติผู้ต้องขังกลุ่มนี้ได้รับประโยชน์น้อยกว่านักโทษเด็ดขาด 3.4.2 ข้อเสนอแนะในการควบคุมผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาคดี แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 3.4.2.1 ด้านการบริหารจัดการ เช่น การแจ้งสิทธิต่าง ๆ กฎ/ระเบียบ รวมถึงการใช้ ชีวิตในเรือนจ า ให้ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ทราบตั้งแต่ขั้นตอนรับตัว การจัดโปรแกรมเฉพาะส าหรับ ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี และมีกิจกรรมผู้ต้องขังท าระหว่างวันเพื่อคลายความเครียด เป็นต้น 3.4.2.2 ด้านเจ้าหน้าที่ เช่น จัดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับกฎหมายและ มาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี รวมถึงฝึกทักษะส าคัญด้านการควบคุม เช่น การ สังเกตเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการท าร้ายร่างกาย/ฆ่าตัวตาย การให้ค าปรึกษาแก่ผู้ต้องขังเพื่อคลายความวิตก กังวล เป็นต้น 3.4.2.3 ด้านกายภาพเรือนจ า ได้แก่ การจัดสรรพื้นที่ภายในเรือนจ าเพื่อแยกผู้ต้องขัง ระหว่างพิจารณาคดี ออกจากนักโทษเด็ดขาด หรือจัดให้มีสถานที่ที่ควบคุมผู้ต้องขังระหว่างโดยเฉพาะ 3.4.2.4 ด้านมาตรการ/นโยบาย/กฎหมาย ได้แก่ การผลักดันให้ศาลใช้มาตรการอื่น แทนการคุมขังระหว่างรอการพิจารณาคดี เช่น การปล่อยตัวชั่วคราว การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) ฯลฯ และการก าหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ให้ชัดเจน เพื่อเป็น แนวทางการปฏิบัติงานส าหรับเจ้าหน้าที่ 3.4.2.5 ด้านงบประมาณ ได้แก่ การจัดสรรงบประมาณการดูแลผู้ต้องขังระหว่าง พิจารณาคดี ให้สอดคล้องกับจ านวนผู้ต้องขังและภารกิจที่เกี่ยวข้อง และการน าเทคโนโลยีมาใช้ในภารกิจด้าน การควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีเช่น การติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อสอดส่องดูแลผู้ต้องขังระหว่าง พิจารณาคดี หรือการใช้ระบบพิจารณาคดีผ่านโปรแกรมออนไลน์เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปศาล ฯลฯ


33 3.4.3 ผู้ต้องสงสัยในลักษณะความผิดหรือกลุ่มที่ไม่ควรถูกควบคุมตัวในเรือนจ าระหว่างรอ การพิจารณาคดี เช่น คดีลหุโทษ ผู้ต้องหากลุ่มเปราะบาง (เช่น ตั้งครรภ์ ป่วยจิตเวช ชรา เยาวชนที่ก าลัง ศึกษา) ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี ที่อยู่ในชั้นสอบสวน (พนักงานสอบสวนฝากขังระหว่างรวบรวม พยานหลักฐาน) และคดียาเสพติดที่เป็นผู้เสพ หรือครอบครองในปริมาณไม่มาก เป็นต้น 3.5 ผลกระทบทำงเศรษฐกิจและสังคมในกำรควบคุมผู้ต้องขังระหว่ำงพิจำรณำคดี จากผลการศึกษา 3.1 – 3.4 คณะผู้ศึกษาสามารถสรุปผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมใน การควบคุมผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีได้ดังนี้ 3.5.1 ผลกระทบทางเศรษฐกิจ 3.5.1.1 ในระดับผลกระทบรายบุคคล พบว่า การด าเนินคดีกับจ าเลย 1 คนจะมี ผลกระทบทางเศรษฐกิจแบบค านวณได้แน่นอนอยู่ที่เดือนละ 12,428 บาท ส าหรับผู้ชาย และ 12,447 บาท ส าหรับผู้หญิง และหากด าเนินคดีจนศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จะมีความสูญเสียทางเศรษฐกิจ/คน/คดีอยู่ที่ 49,710 บาท ส าหรับผู้ชาย และ 49,788 บาท ส าหรับผู้หญิง 3.5.1.2 ในระดับผลกระทบมหภาค จะมีผลกระทบเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจต่อ เดือนอยู่ที่จ านวนผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา X ค่าความสูญเสียรายเดือน เช่น ณ วันที่ 25 กันยายน 2566 มีผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาชาย 46,959 คน หญิง 6,672 คน สามารถค านวณผลกระทบทางเศรษฐกิจได้ = (46,959 X 12,428) + (6,672 X 12,447) = 666,633,825 บาทในเดือนกันยายน โดยหากจ านวนผู้ต้องขัง ระหว่างพิจารณาคดีคงอยู่ในระดับนี้จากนโยบายการปล่อยชั่วคราวของศาลตามผลการศึกษา 3.1 เราจะพบว่า การขังผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีในประเทศไทยสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้ประม าณ 7,999,605,909 บาทต่อปี ซึ่งร้อยละ 85 ของจ านวนความสูญเสียดังกล่าวเกิดจากการไม่ได้ท างานระหว่างถูก ขัง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีหรือค่าใช้จ่ายของผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องขังที่ต้องใช้จ่ายในการมา เยี่ยมเยียนผู้ต้องขังที่เรือนจ า 3.5.2 ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ผลการศึกษาพบว่าการคุมขังระหว่างพิจารณาคดีส่งผลกระทบต่อตัวผู้ต้องขังระหว่างฯ หลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสุขภาพจิตซึ่งเป็นผลมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการต่อสู้คดีและการปรับตัว ให้เข้ากับกฎ/ระเบียบและวิถีชีวิตของเรือนจ า รวมถึงความสัมพันธ์กับครอบครัวที่แย่ลงเนื่องจากตัวผู้ต้องขัง สูญเสียโอกาสในการดูแลครอบครัวและถูกตีตราจากสังคมว่าเป็นผู้กระท าผิดแม้ว่าจะยังจะไม่ถูกตัดสินว่ามี ความผิด นอกจากนี้ การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังระหว่างฯ ตามมาตรฐานสากล/ข้อก าหนดของกรมราชทัณฑ์ได้อย่างไม่ ครบถ้วน (เช่น การแยกนักโทษเด็ดขาดออกจากผู้ต้องขังระหว่างฯ การไว้ทรงผม การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ภายนอกที่เป็นปัจจุบัน การฝึกวิชาชีพตามความสนใจและ/หรือให้ท างานรับจ้างด้วยความสมัครใจ และการใช้ เครื่องพันธนาการ) อาจท าให้ภาพลักษณ์ในระดับประเทศหรือระหว่างประเทศของกรมราชทัณฑ์ขัดต่อการ ส่งเสริมการด าเนินงานตามหลักสิทธิมนุษยชน


34 บทที่ 4 บทสรุปและข้อเสนอแนะ 4.1 บทสรุป จากผลการศึกษาในบทที่ 3 คณะผู้วิจัยสามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ 4.1.1 แนวทำงกำรปล่อยชั่วครำวของศำลในช่วง 5 ปีที่ผ่ำนมำไม่ได้เปลี่ยนไปมำกนัก จากการศึกษาวิเคราะห์ใน 3.1 สัดส่วนของผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 16 – 18 ของผู้ต้องขังทั้งหมด และจะคงอยู่ระดับนี้เนื่องจากไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยส าคัญของสถิติ แม้แต่ในช่วงที่ศาลผลักดันการปล่อยชั่วคราวโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) ในปี 2562-2563 ก็ตาม ซึ่ง ท าให้เราได้ค่าคงที่ส าหรับการประมาณการจ านวนผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาในอนาคต 4.1.2 จ ำเลยที่ศำลสั่งขังระหว่ำงพิจำรณำมีแนวโน้มจะเป็นคนกลุ่มที่รับสำรภำพเป็นส่วนใหญ่ ปกติแล้วขั้นตอนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีการสืบพยานจะเป็นขั้นตอนในการค้นหา ข้อเท็จจริง จึงใช้ระยะเวลานานกว่าขั้นตอนของการอุทธรณ์ฎีกาที่ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติแล้ว แต่การที่ปรากฏว่า สัดส่วนผู้ต้องขังระหว่างระหว่างอุทธรณ์ฎีกามีมากที่สุดแสดงว่าจ าเลยส่วนใหญ่ให้การรับสารภาพ เมื่อจ าเลย รับสารภาพ มีผลให้ระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นใช้พิจารณาคดีน้อยลง ท าให้ประชากรผู้ต้องขังระหว่าง ไต่สวน-พิจารณา มีน้อยกว่าระหว่างอุทธรณ์ฎีกา 4.1.3 กำรที่ระยะเวลำในชั้นไต่สวน-พิจำรณำน้อยกว่ำชั้นสอบสวนท ำให้อนุมำนได้ว่ำ ศำลชั้นต้นจะใช้เวลำไม่เกิน 84 วันโดยเฉลี่ยในกำรพิจำรณำพิพำกษำคดี และกำรที่ระยะเวลำชั้น ไต่สวน-พิจำรณำน้อยกว่ำชั้นอุทธรณ์ฎีกำ ท ำให้ประเมินได้ว่ำระยะเวลำที่ศำลชั้นต้นอำจจะใช้เวลำ พิจำรณำพิพำกษำไม่เกินระยะเวลำระหว่ำงอุทธรณ์ฎีกำตำมกฎหมำย คือ 30 วัน ส ำหรับคดีที่จ ำเลย รับสำรภำพและไม่ต้องสืบพยำนมำก ขณะที่พนักงำนสอบสวนเองก็อำจใช้ระยะเวลำไม่เกิน 30 วันในคดี ที่ผู้ต้องหำรับสำรภำพ ตำมสัดส่วนของผู้ต้องขังระหว่ำงสอบสวนที่น้อยกว่ำระหว่ำงอุทธรณ์ฎีกำ และ กำรด ำเนินคดีอำญำที่ใช้เวลำน้อยที่สุดควรอยู่ที่ประมำณ 3 เดือน การศึกษาภาพรวมสัดส่วนผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาเปรียบเทียบกัน สะท้อนความเชื่อมโยง กับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 147 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ในเรื่องระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์ฎีกา คือภายใน 30 วันนับแต่ศาลชั้นต้นอ่านค าพิพากษา ซึ่งเป็น ค่าคงที่ และการที่สัดส่วนของผู้ต้องขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกามีจ านวนมากที่สุดสะท้อนว่าการด าเนินการในชั้น สอบสวนและการพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยเฉลี่ยจะต้องน้อยกว่าค่าคงที่คือ 30 วัน จุดนี้ท าให้สรุปได้ว่า ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาส่วนใหญ่เลือกที่จะรับสารภาพตั้งแต่ชั้นสอบสวน ท าให้กระบวนการรวบรวม พยานหลักฐานและการสืบพยานสั้นลง เกิดข้อสรุปต่อมาว่าในคดีที่มีการรับสารภาพตั้งแต่ชั้นสอบสวน จะสิ้นสุดกระบวนการ (คดีถึงที่สุด) ไม่เกิน 3 เดือน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่กระบวนการยุติธรรมไทย จะท าได้


35 4.1.4 ผู้ต้องขังระหว่ำงพิจำรณำส่วนใหญ่เป็นวัยใช้แรงงำนและขำดแคลนโอกำสในกำร เข้ำถึงกำรศึกษำที่มีคุณภำพ ผลการศึกษาในหัวข้อ 3.2 แสดงให้คณะวิจัยเห็นว่าร้อยละ 81 ของผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา อยู่ในช่วงอายุ 25-54 ปี ซึ่งเป็นวัยที่ใช้แรงงาน และร้อยละ 88 จบการศึกษาต่ ากว่าระดับอนุปริญญา อย่างไรก็ดี เนื่องจากมีการบ่งชี้ว่าร้อยละ 98 ได้รับการศึกษาก่อนถูกขัง จึงท าให้เกิดข้อสรุปของการไม่ได้รับ การศึกษาที่มีคุณภาพมากกว่าการไม่ได้รับการศึกษา 4.1.5 ผู้ต้องขังระหว่ำงพิจำรณำส่วนใหญ่ประกอบอำชีพรับจ้ำงทั่วไปก่อนถูกขัง และส่วน ใหญ่มีรำยได้อยู่ในระดับค่ำจ้ำงแรงงำนขั้นต่ ำ ซึ่งผลการศึกษาสอดคล้องกันไม่ว่าจะใช้วิธีการอิงกลุ่มโดยแบ่งเป็นช่วงชั้นรายได้ตาม 3.2.6.1 หรือน าประชากรส่วนใหญ่มาหารายได้เฉลี่ยตาม 3.2.6.2 4.1.6 ผู้ต้องขังระหว่ำงพิจำรณำในคดีควำมผิดทั่วไปมีแนวโน้มที่จะใช้ระยะเวลำนำนกว่ำ คดียำเสพติดให้โทษ และมำกกว่ำกึ่งหนึ่งมีภำระหนี้สิน ผลการศึกษาด้วยวิธีการสัมภาษณ์ในข้อ 3.3.2 พบว่าผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาที่มิใช่ คดียาเสพติด มีระยะเวลาถูกคุมขังเฉลี่ยอยู่ที่ 6 เดือน มากกว่าภาพรวมทั้งหมดที่ถูกคุมขังเฉลี่ย 4 เดือน และส่วนใหญ่มีภาระหนี้สิน 4.1.7 ผลกระทบทำงเศรษฐกิจในส่วนของภำครัฐจำกกำรคุมขังระหว่ำงพิจำรณำ แม้จะ ค ำนวณเฉพำะค่ำสูญเสียรำยได้จำกกำรประกอบอำชีพ และค่ำใช้จ่ำยพื้นฐำนที่รัฐออกให้ระหว่ำงถูกขัง ซึ่งเป็นผลกระทบที่ค ำนวณได้แน่นอน ก็ยังมีผลกระทบอยู่ที่เกือบ 8,000 ล้ำนบำทต่อปี ผลการศึกษาตามข้อ 3.5.1 ยังบ่งชี้ว่า ผลกระทบเกือบ 8,000 ล้านบาทนั้น ร้อยละ 85 หรือ ประมาณ 6,800 ล้านบาท เกิดจากการไม่ได้ประกอบอาชีพ ซึ่งคิดในอัตราอ้างอิงของผู้ต้องขังกลุ่มที่ประกอบ อาชีพสุจริตแล้ว ส่วนอีกประมาณ 1,200 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายที่รัฐต้องเสียอันเนื่องมาจากการถูกคุมขัง ระหว่างพิจารณา กล่าวอีกนัยหนึ่ง หากใช้วิธีประเมินรายได้ของผู้ต้องขังในคดียาเสพติดให้โทษซึ่งมีสัดส่วน ประมาณร้อยละ 70 ของกลุ่มตัวอย่าง ตัวเลขผลกระทบอาจจะสูงถึงหลายหมื่นล้านบาท 4.1.8 ผลกระทบในส่วนที่ก ำหนดแน่นอนไม่ได้ เช่น ค่ำทนำยควำม ค่ำใช้จ่ำยของญำติ พี่น้อง ค่ำดอกเบี้ยผิดนัด อำจมีจ ำนวนสูงกว่ำผลกระทบที่ก ำหนดได้แน่นอน ผลการศึกษาตาม 3.3.3.2 ชี้ว่า เฉพาะค่าทนายความส าหรับผู้ที่สู้คดีเฉลี่ยอยู่ที่ 320,000 บาท มากกว่าค่าคงที่ของค่าใช้จ่ายที่เป็นจ านวนที่ค านวณได้แน่นอนตาม 3.2.8.1 ถึง 14 เท่า แต่เนื่องจากการศึกษา นี้เป็นการศึกษาโดยไม่ใช้งบประมาณ จึงไม่ได้ท าการศึกษาในส่วนนี้ 4.1.9 กำรถูกคุมขังระหว่ำงพิจำรณำเกิดผลกระทบทำงสังคมในเรื่องกำรสูญเสียอำชีพ มำกที่สุด จากข้อ 3.3.3 ผู้ต้องขังส่วนใหญ่ยังได้รับการติดต่อเยี่ยมเยียน รวมถึงได้รับการดูแลในเรื่อง ปัจจัยพื้นฐานในเกณฑ์ดี แต่มีความกังวลได้เรื่องการสูญเสียอาชีพ และเป็นห่วงเรื่องภาระหนี้สิน อย่างไรก็ดี ในมุมมองของเจ้าพนักงานเรือนจ ายังพบว่าผู้ต้องขังยังมีปัญหาในเรื่องการปรับตัว ให้เข้ากับกฎระเบียบของเรือนจ า


36 4.1.10 สรุปผลกระทบทำงเศรษฐกิจและสังคม 4.1.10.1 การขังผู้ต้องขัง 1 คนในเรือนจ าระหว่างพิจารณา จะมีความสูญเสียทาง เศรษฐกิจประมาณ 22,000 บาทต่อเดือน แต่โดยเฉลี่ยความสูญเสียต่อ 1 คดีจะอยู่ที่ประมาณ 49,700 บาท ขณะที่ในภาพเศรษฐกิจระดับมหภาค รัฐจะได้รับผลกระทบอยู่ที่ 8,000 ล้านบาท/ปี 4.1.10.2 การขังผู้ต้องขัง 1 คนในเรือนจ าระหว่างพิจารณา จะมีผลกระทบทาง สังคมในเรื่องการสูญเสียอาชีพ ความกังวลเกี่ยวกับการต่อสู้คดี เป็นห่วงครอบครัวและภาระหนี้สินส าหรับ ตัวผู้ต้องขังเอง และมีปัญหาในเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับกฎระเบียบของเรือนจ าในมุมมองของเจ้าพนักงาน เรือนจ า 4.2 ข้อเสนอแนะ คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ 4.2.1 หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ควรมีท่าทีสนับสนุนการปล่อยชั่วคราวระหว่าง พิจารณาเป็นอันดับแรก เพราะการสูญเสียอาชีพจากการถูกขังเป็นส่วนที่เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจมากที่สุด 4.2.2 การใช้สถานที่อื่นแทนเรือนจ า หรือการผลักดันให้เกิดเรือนจ าเอกชน ต้องเอื้อต่อการ ประกอบอาชีพของจ าเลยระหว่างพิจารณา เนื่องจากผลการศึกษาชี้ว่าผู้ต้องขังระหว่างพิจารณามีความกังวลใจ ในเรื่องการสูญเสียอาชีพมากกว่าความเป็นอยู่ในเรือนจ า 4.2.3 รัฐควรมีมาตรการจัดการหนี้สินของจ าเลยในช่วงถูกคุมขังระหว่างพิจารณา เช่น ออกกฎหมาย กฎ ระเบียบไม่ให้ถือว่าผิดนัดและให้เจ้าหนี้หยุดการทวงถามและคิดดอกเบี้ย 4.2.4 การช่วยเหลือจ าเลยในการเข้าถึงโอกาสในการต่อสู้คดีต้องดีกว่าปัจจุบัน เพราะสัดส่วน จ านวนผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาจากฐานข้อมูลชี้ไปในทิศทางว่าผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาเลือกรับสารภาพ มากกว่าสู้คดี 4.2.5 ควรค านวณงบประมาณส าหรับผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาแยกออกจากนักโทษเด็ดขาด โดยอ้างอิงจากการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล


37 บรรณำนุกรม วรชาติ เกลี้ยงแก้ว, “การควบคุมผู้กระทาความผิดในชั้นปล่อยชั่วคราวด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์,” ดุลพาห, เล่ม 2, ปีที่ 62, น. 108-109 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2558). ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านอาชญาวิทยา ส านักวิจัยและพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์ กรมราชทัณฑ์ (๒๕๔๗) โครงการศึกษาวิจัย “ระยะเวลาในการถูกคุมขังของผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดี” ภายใต้การ สนับสนุนของส านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โอภาส ปภาตินันท์ ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีกับการใช้ เครื่องพันธนาการ ระหว่างการควบคุมตัวออกไปพิจารณาคดีภายใต้ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560, คณะนิ ติ ศ า ส ต ร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563, หน้า 21 วนิดา ไชยเชนตรตี, ข้อความคิดเกี่ยวกับมาตรการควบคุมผู้ต้องขังกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, วารสารศาล รัฐธรรมนูญ ปีที่ 5 เล่มที่ 15, 2546, หน้า 101 ค าสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 13 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2520 Berry, D. & English, P. (2011) . The Socioeconomic Impact of Pretrial Detention: a Global Campaign for Pretrial Justice Report. Open Society Foundations: UNDP, New York, NY. Msiska, C. , Mhanga V. , & Redpath, J (2011) Pre-Trial Detention Custody Time Limits Ensuring Compliance in Malaw. i Accessed from https://www. prisonstudies.org/sites/default/files/ resources/downloads/malawi_custody_time_limit_report__january_2013.pdf Walmsley, R. (2020). World Pre-trial/Remand Imprisonment List fourth edition. Accessed from https://www. prisonstudies.org/sites/ default/files/resources/ downloads/world_pretrial_list_4th_edn_final.pdf


Click to View FlipBook Version