The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รวมเล่มการวิจัยในชั้นเรียนภายใต้สถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Rachapoom Somsamai, 2021-11-23 20:43:27

รวมเล่มการวิจัยในชั้นเรียนภายใต้สถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย

รวมเล่มการวิจัยในชั้นเรียนภายใต้สถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย

คำนำ

รวมมุมมองเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียนภายใต้
สถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคยเล่มนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ท่ี
สำคัญคือ เพื่อสะท้อนมุมมองการทำวิจัยในชั้นเรียนภายใต้
สถานการณ์ท่คี รเู ราส่วนใหญไ่ มค่ ุน้ เคย

มุมมองท่ีผมนำมาเขียนนั้นมีทั้งหมด 5 ประเด็น
เริ่มตั้งแต่ มุมมองการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ท่ี
ไม่คุ้นเคย , เป็นไปตามความหมาย ขอ งการวิจัย ,
Collaborative Classroom Research , 5 คำถามกอ่ นทำวิจัย
ในช้ันเรียนแบบร่วมมอื และปญั หาในช้นั เรียนที่ไม่คุ้นเคย

ทั้ง 5 เรือ่ งมีวัตถุดิบที่สำคัญ ได้แก่ การเป็นวิทยากร
บรรยายเร่ือง ความเชือ่ มโยงระหวา่ งการวัดและประเมินผลใน
ชั้นเรียน การวิจัยในชั้นเรียน กับการเขียนข้อตกลงในการ
พัฒนางานตามเกณฑ์ ว.PA และบทบาท หน้าท่ีของวิชาชีพ
ศึกษานเิ ทศก์ (ทีค่ วรเป็น)

จากวัตถุดิบนำไปสู่การเขียนเพื่อสะท้อนมุมมองท่ี
ควรเป็นในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย สถานการณ์ท่ีไม่คุ้นเคย
เช่น การเปล่ียนรูปแบบการสอนแบบ 360 องศา การผลิตสื่อ
การเรียนการสอนให้มีลักษณะที่สอดคล้องกับรูปแบบ
การสอน การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และ
ผู้ปกครอง การเตรียมตัวและเตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้สอน

การวิจัยในชั้นเรยี นภายใต้สถานการณ์ทไี่ ม่คุ้นเคย ก

การวดั และประเมนิ ผลการเรยี นรู้ และการพฒั นาผ้เู รยี นโดยใช้
การวจิ ยั ในช้ันเรียน

ผมหวังว่ามุมมองที่ผมเขียนออกมานั้น จะเป็น
ท า ง เ ล ื อ ก ท า ง ห น ึ ่ ง ใ ห ้ เ พ ื ่ อ น ค ร ู ไ ด้ ล อ ง น ำ ไ ป ป ร ั บ ใ ช้ ใ น
การพัฒนาผู้เรียนโดยใช้การวิจัยในชั้นเรียนเป็นฐาน
เพราะในสถานการณ์ที่เราคุ้นเคย เราสามารถทำวิจัยใน
ช้ันเรียนในแบบที่เราคนุ้ เคยได้

แต่ตอนนเี้ ป็นสถานการณ์ทเ่ี ราไมค่ ุน้ เคย ไม่คุ้นเคยท้ัง
เรื่องของ การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ การออกแบบ
การเรยี นรู้ และการวัดและประเมนิ ผลการเรียนรู้ เพราะฉะนัน้
การวจิ ยั ในช้ันเรยี นกค็ วรเปล่ยี นวิธีการดว้ ยเช่นกัน

ถึงแม้การวิจัยในชั้นเรียนควรเปลี่ยนวิธีการ แต่สิ่ง
สำคัญที่ผมพยายามสื่อสารเสมอคือ เราทำวิจัยทุกครั้ง
ต้องใช้ความรู้เรื่องการประเมินผลควบคู่เสมอ แล้วเราจะ
ประเมินอะไร ก็ให้ประเมินในเรื่องของความน่าเชื่อถือของ
ขั้นตอนการทำวิจัยว่า ถ้าเราทำแบบนี้แล้ว มันจะน่าเชื่อถือ
ไหม เพราะทุกอย่างเป็นไปตามความหมายของการวิจัยที่
กล่าวไว้ว่า การวิจัย หมายถึง กระบวนการในการหาความรู้
ความจริงท่เี ปน็ ระบบและเช่อื ถือได้

ขอเคารพด้วยจิตคารวะในความเพยี ร
นายรัชภมู ิ สมสมัย
ศึกษานเิ ทศก์

การวิจัยในชนั้ เรียนภายใต้สถานการณ์ทไ่ี มค่ ุ้นเคย ข

สารบญั

คำนำ หน้า
สารบญั ก
มุมมองการจัดการเรยี นการสอนในสถานการณท์ ี่ไม่คนุ้ เคย ค
เปน็ ไปตามความหมายของการวิจยั 1
Collaborative Classroom Research 8
5 คำถามก่อนทำวิจัยในช้ันเรียนแบบรว่ มมือ 13
ปัญหาในชน้ั เรียนทีไ่ มค่ ุน้ เคย 27
ประวตั ิผู้เขยี น 35
40

การวจิ ยั ในชัน้ เรียนภายใต้สถานการณ์ท่ีไม่คุน้ เคย ค

มมุ มองการจัดการเรยี นการสอน
ในสถานการณ์ทีไ่ มค่ นุ้ เคย

ศน.รัชภูมิ สมสมัย
www.youtube.com/sornorpoom

วนั ที่ 1 มิถุนายน 2564 ตอ้ งเป็นวันสำคัญอีกครั้งของวง
การศึกษาไทย ที่เราต้องบันทึกร่วมกันว่าเป็นวันแรกของ
ปีการศึกษา 2564 ซึ่งถ้าเป็นปีการศึกษาปกติต้องเป็นวันที่ 16
พฤษภาคม 2564

เหตุเนื่องจากผลของการแพรร่ ะบาดของไวรัส Covid 19
ประเด็นนี้ผมไม่ขอลงรายละเอียด พี่น้องเพื่อนครูทุกท่านทราบ
ข้อมูลในเร่ืองนพ้ี อสมควรแลว้ ครบั

แต่ประเด็นของบทความวันนี้ ผมขออนุญาตสะท้อน
มุมมองในประเด็นที่เกี่ยวกับ เมื่อกระบวนการเรียนการสอนไม่
เป็นแบบที่เราคุ้นเคย เราควรจัดการเรียนการสอนในลักษณะใด
ถึงจะเหมาะสมที่สุดซึ่งผมจะไม่เขียนถึงประเดน็ On site Online
หรือ On air แต่จะเขียนประเด็นไหน โปรดติดตามในย่อหน้า
ถัดไปครับ

เราควรจัดการเรียนการสอนในลักษณะใดถึงจะเหมาะสม
ที่สุด ประเด็นนี้ผมขอตั้งเหตุการณ์สำคัญอยู่ 2 ประเด็นสำคัญ
ดังน้ี

การวิจัยในช้ันเรียนภายใต้สถานการณท์ ่ีไม่คุน้ เคย 1

1.เงื่อนไขของ “ระยะเวลา” สำหรับการเปิดทำการเรยี น
การสอน กล่าวคือ เท่าท่ีผมติดตามข่าวนัน้ ภาคเรียนที่ 1 เวลา
เรยี นตามหลักสูตรจะหายไป 7 วัน ส่วนภาคเรยี นที่ 2 เวลาเรียน
ตามหลกั สูตรจะหายไป 12 วนั รวมแล้วหายไป 19 วัน ส่งผลให้ปี
การศึกษา 2563 โรงเรียนจะปิดภาคเรียนก็ประมาณปลาย ๆ
เดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายน 2564 (อากาศร้อน ภาวะ
ภัยแล้ง และฝุ่น PM 2.5) ทั้งนี้เพื่อให้มีเวลาเรียนครบ 200 วัน
หรอื ใกลเ้ คียงท่ีสุด

2.เท่าทีต่ ิดตามข่าว พบวา่ เม่ือถึงวนั ที่ 1 มิถนุ ายน 2564
โรงเรียนจะดำเนินการเปิดเพื่อทำการเรียนการสอนในลักษณะ
ต่าง ๆ เช่น 1.เปิดเรียนทุกวัน มาเรียนทุกคน อาจจะชดเชยเวลา
ในช่วงเย็น หรือชดเชยเวลาในวันเสาร์ / วันหยุดนักขัติฤกษ์ หรือ
2.เปิดเรียนทุกวัน มาเรียนทุกคน แต่แบ่งนักเรียนออกเป็น 2
กลุ่ม แล้วก็ให้นักเรียนมาแบบวัน เว้น วัน สลับกลุ่มกันไป หรือ
3.เปิดเรียนทุกวัน มาเรียนทุกคน แต่แบ่งนักเรียนออกเป็น 2
กล่มุ แล้วก็ใหน้ ักเรยี นมาแบบสปั ดาห์ เวน้ สัปดาห์ สลับกลมุ่ กนั

ซึ่งในลักษณะที่ 2 และ 3 นั้น ช่วงที่นักเรียนไม่ได้มา
โรงเรยี น นักเรียนกจ็ ะได้รับใบความรู้ ใบงานมาจากโรงเรยี นเพ่ือ
มาทำ และนำมาส่งในวนั หรือสปั ดาห์ถัดไป ถา้ โรงเรียนปรบั วิธีทำ
ใ ห ้ เป ็ น แ บ บ ห ้ อ ง เร ี ย น กล ั บ ด ้า น ( Flipped Classroom)
โดยสมบูรณ์ โรงเรียนกจ็ ะมีนวัตกรรมการเรียนการสอนรูปแบบ
ใหม่ หรือถ้าโรงเรียนไหนมีความพร้อมก็อาจจะเรียน online
แบบสด ๆ พร้อมกับเพอ่ื นที่อยู่ทีโ่ รงเรียน

การวจิ ัยในช้นั เรียนภายใต้สถานการณ์ท่ีไม่คุ้นเคย 2

และในลักษณะที่ 2 – 3 อาจต้องลดเงื่อนไขของเวลา
เรียนตามหลกั สตู รที่ 200 วัน

ทั้ง 3 ลักษณะก็ขึ้นกับความเหมาะสมของแต่ละโรงเรียน
ประเด็นนี้ผมเห็นด้วย เพราะโรงเรียนย่อมเข้าใจในสถานการณ์
ของตนเองมากที่สุด คงไม่มีโรงเรียนไหนที่อยากให้ Covid 19
กลับมาระบาดอีกคร้งั เราต้องเชื่อใจ มั่นใจในมาตรการดูแลความ
ปลอดภัยและมาตรการสาธารณสุขของแต่ละโรงเรยี นครบั

ย้อนกลับมาที่ชื่อบทความอีกครั้ง เมื่อครูเราเจอ
สถานการณ์ที่เราไม่คุ้นเคย แล้วเราจะสอนนักเรียนบนวิถีที่เรา
ค้นุ เคยอย่อู ีกหรอื ?

สิ่งสำคัญคือเวลาเรียนของนักเรียนมีจำกัด ลักษณะ
การสอนของครู และลักษณะการเรียนของนักเรียนแตกต่างไป
จากเดิม แต่เนื้อหาการเรียนการสอนตามหลักสูตร “เท่าเดิม”
แ ล ้ ว เ ร า ค ว ร อ อ ก แ บ บ ก า ร เ ร ี ย น ก า ร ส อ น อ ย ่ า ง ไ ร เ พ ื ่ อ ใ ห ้ มี
ประสิทธภิ าพมากท่ีสดุ มุมมองของผม ขอสะทอ้ นคิดเป็นขัน้ ตอน
ดงั ต่อไปนี้

1.กระทรวงศึกษาธิการต้องผ่อนคลายเรื่อง โครงสร้าง
เวลาเรียน และ มาตรฐาน ตัวชี้วัดที่ปรากฏในหลักสูตร ทั้งนี้เพอ่ื
ลดความกดดันที่ครูจะมีต่อนักเรยี น

2. ครทู ุกท่านระดมสมองร่วมกันเพื่อสกัดมาตรฐานและ

ตัวชี้วัดท่ีจำเป็นออกมาให้ได้มากที่สุดอาจจะใช้เกณฑ์ที่เราคุ้นเคย
คือ “มาตรฐานและตัวชี้วัดที่ต้องเรียน” และ “มาตรฐานและ
ตัวชี้วัดที่ควรเรียน” แต่ละโรงเรียนความเข้มข้นของมาตรฐาน
และตัวช้วี ัดท่สี กัดออกมาได้นน้ั ยอ่ มไม่เหมอื นกนั

การวิจยั ในช้นั เรยี นภายใต้สถานการณท์ ไี่ ม่คนุ้ เคย 3

3. ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนไปที่ “มาตรฐาน
และตวั ช้วี ัดที่ตอ้ งเรียน” เป็นลำดับแรกกอ่ น อาจจะทำในลักษณะ
ของการจัดกลุ่มมาตรฐานและตัวช้ีวัดที่คล้ายกัน (บูรณาการใน
ศาสตร์และข้ามศาสตร์) ออกมาเป็นหนว่ ยการเรียนรู้ทีม่ ุ่งเน้นให้
นักเรียนได้แสดงออกถึงการมีสมรรถนะ ทั้งนี้เพื่อเป็นการ
เตรยี มพร้อมให้กับตนเองสำหรับการปรับหลักสูตรเป็นหลักสูตร
ฐานสมรรถนะในอนาคต

Concept ของสมรรถนะคอื ผลรวมของ K + A + P
ประเด็นการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน
จะเชื่อมโยงไปสู่ลักษณะการสอนของครูและลักษณะการเรียน
ของนักเรียน ประมาณว่า นักเรียนต้องเรียนที่โรงเรียน ครูต้อง
ทำอยา่ งไร หรอื ถา้ นักเรียนต้องเรยี นที่บ้าน ครตู ้องทำอยา่ งไร
สำคัญมากกับลักษณะการสอนของครูและลักษณะ
การเรียนของนักเรียน เพราะจะเชื่อมโยงไปสู่การใช้พื้นที่รอบ ๆ
โรงเรียนเป็นฐานต่อไป (อัตลักษณ์เชิงพื้นที่) เช่น เมื่อจัดกลุ่ม
ตัวชี้วัดที่ต้องเรียนออกมาเป็นหน่วยการเรียนรู้นี้แล้ว พบว่า
หน่วยการเรียนรู้นี้จะมุ่งเน้นไปที่เรื่องของสมรรถนะด้านการ
แก้ปัญหา ครูเราก็ต้องมาช่วยกันกำหนดสถานการณ์จากพื้นที่
รอบ ๆ โรงเรียนว่ามีสถานการณ์ใดบ้างที่จะช่วยใหน้ ักเรียนได้เกิด
สมรรถนะดา้ นการแกป้ ญั หา
สถานการณ์จากพื้นที่รอบ ๆ โรงเรียนอาจเป็นทั้ง คนที่รู้
ในเรื่องนั้น ๆ หรือ หน่วยงาน องค์กร สถานที่ หรือ สถานการณ์
ต่าง ๆ กไ็ ด้ และ หนึง่ สถานการณ์อาจจะชว่ ยพัฒนาสมรรถนะอ่ืน
จากหนว่ ยการเรียนร้อู ื่นรว่ มด้วยกไ็ ด้

การวิจัยในชั้นเรยี นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย 4

เช่น นักเรียนระดับประถมศึกษา ควรใช้สถานการณ์ใน
การชว่ ยพ่อแม่ผปู้ กครองทำงานบา้ น

เช่น นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ควรใช้สถานการณ์ใน
ระดับชุมชน หรือ ข่าวสารเหตุบ้านการเมือง หรือโครงงานที่
แสดงออกถงึ สมรรถนะของนกั เรียน

4. ปรับระบบการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนที่เรา
คนุ้ เคย เปน็ การวัดและประเมนิ ผลในชั้นเรียนที่เราไม่คุ้นเคย หรือ
การวัดและประเมินผลฐานสมรรถนะ และประเมินเพื่อพัฒนา
สมรรถนะของนักเรียน ซึ่งหลักคิดง่าย ๆ ก็การประเมินดัง
กล่าวคือ กำหนดตวั ช้วี ัดร่วมกันกบั นกั เรียน (ถา้ ทำได้) ว่า ครจู ะรู้
ได้อย่างไรว่านักเรียนเกิดสมรรถนะด้านการแก้ปัญหาภายหลัง
จากทีเ่ ราเรียนหนว่ ยการเรียนร้นู ี้แล้ว?

เมื่อเรารู้ตัวชี้วัดสำหรับการประเมินสมรรถนะด้านการ
แก้ปัญหาแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือสร้างเครื่องมือที่สอดคล้องกับ
ลักษณะของตัวชี้วดั ดังกล่าว ตรงนใี้ ห้ครูใชห้ ลัก 4 ส. คือ ทดสอบ
สัมภาษณ์ สอบถาม และสังเกต เพราะการประเมินสมรรถนะนัน้
ครูเราต้องใช้เครื่องมือหลายชนิดหน่อยครับ สาเหตุเนื่องจาก
สมรรถนะคือผลรวมของ K + A + P เราจึงไม่สามารถทำการ
แยกประเมนิ เปน็ ด้าน K ดา้ น A และ ดา้ น P ได้

และเมื่อเรารู้แล้วว่า หน่วยการเรยี นรู้นี้เราจะใช้เคร่อื งมือ
ชนิดใดบ้าง ขั้นตอนต่อมาคือ จะให้ใครมาช่วยประเมนิ สมรรถนะ
ของนักเรียนได้บ้าง ซึ่งหลักการทั่ว ๆ ไปก็เช่น เพื่อนประเมิน
เพื่อน ผู้ปกครองประเมินบุตรหลาน นักเรียนประเมินตนเอง
หรือครูประเมินนักเรียน จุดสำคัญไม่ใช่อยู่ที่ผลการประเมิน

การวิจยั ในชนั้ เรยี นภายใต้สถานการณ์ทไ่ี มค่ ุ้นเคย 5

แต่จุดสำคัญอยู่ที่การสร้างความเข้าใจให้กับผู้ปกครองว่า
ประโยชน์ของการช่วยครูประเมินนั้นมีอะไรบ้าง และครูจะนำผล
การประเมินนัน้ ไปช่วยพัฒนานักเรียนตอ่ ไปได้อย่างไร? ประเด็นน้ี
ต้องสรา้ งความเขา้ ใจให้กบั ผูป้ กครองให้ชดั เจนก่อนครับ

และการวัดและประเมินผลในลักษณะนี้ ต้องลดการ
แข่งขัน ต้องลดการเปรียบเทียบ แต่ไปเพิ่มการช่วยเหลือกัน
การทำงานเปน็ ทีม จะเหมาะสมทีส่ ดุ

และ 5. กระทรวงศึกษาธิการต้องลดภาระงานของครู
เช่น อบรม ประชุม สัมมนา แข่งขัน ประกวดหรือการประเมิน
ต่าง ๆ และ ลดความกดดันที่มีต่อครู เช่น ผ่อนคลายเรื่อง
โครงสรา้ งเวลาเรยี น (จำเป็นไหมต้อง 200 วัน) และ มาตรฐาน
ตัวชี้วัดที่ปรากฏในหลักสูตร หรือ ผ่อนคลายเรื่องการทดสอบ
ระดับชาติ หรือ การประเมินในรูปแบบต่าง ๆ แล้วกลับมา
พิจารณาภาพความสำเร็จของการจัดการศึกษาในสถานการณ์
ที่ไม่ปกติว่าควรมีภาพความสำเร็จอย่างไร? มีตัวชี้วัดที่จบั ต้องได้
งา่ ย ๆ อยา่ งไร? เพอ่ื โรงเรียนจะได้ลดความกดดัน แตก่ ็ยังคงไวซ้ ่ึง
คณุ ภาพในระดบั ที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนด

ไว้ใจ เชอ่ื ใจ และวางใจโรงเรยี นให้มากกว่านี้ เพราะเราทุก
คนต้องยอมรับเงื่อนไขเดียวกันกอ่ นว่า ณ เวลาน้ีสถานการณ์มนั
ไม่ปกติ และเราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเมื่อไหร่จะกลับมาปกติ และ
ถ้ากลบั มาเป็นปกตแิ ลว้ วิถีของเราจะเปลีย่ นจากท่ีเราคุ้นเคยมาก
น้อยเพียงใด (New Normal) ดังนั้น หากเราทำเรื่องเดิม ๆ
ด้วยวธิ ีการแบบเดิม ๆ แตท่ ำในสถานการณ์แบบใหมแ่ ล้วคาดหวงั
ให้งานนั้นประสบผลสำเรจ็ เหมือนเดมิ ผมว่าไม่ถกู ตอ้ งครับ

การวิจัยในชนั้ เรยี นภายใต้สถานการณ์ท่ไี ม่คุ้นเคย 6

ในวิกฤติยอ่ มมโี อกาส
Covid 19 คือวิกฤติ แล้วเราจะใช้ประโยชน์จากวิกฤติน้ัน
ไปสร้างโอกาสในเรื่องของการปฏิรูปการศึกษาที่เรารอคอยมา
นานแสนนานให้ประสบผลสำเร็จ ได้อย่างไร? น่าจะเหมาะสม
มากกว่าครับ

การวิจัยในชน้ั เรียนภายใต้สถานการณ์ทไี่ ม่คนุ้ เคย 7

เปน็ ไปตามความหมายของการวจิ ัย

ศน.รชั ภูมิ สมสมยั
www.youtube.com/sornorpoom

ช่วงนี้ผมมโี อกาสได้อยู่ในแวดวงเรื่องการวิจยั ในชั้นเรียน
ทำให้ผมไดม้ ีโอกาสทบทวนความรู้ตัวเองในหลายเรอื่ ง โดยเฉพาะ
เร่ืองการวิจยั ในชั้นเรียน และการวัดผลในช้ันเรียน

เมื่อได้ทบทวนตนเองแล้ว จึงตกตะกอนความคิดได้ว่า
การวิจัยในชั้นเรยี นหรือการวิจัยทางการศึกษาที่เราทำ หรือที่เรา
พัฒนาขึ้นมานั้น เป้าหมายสุดท้ายแล้วคือการตอบโจทย์
ความหมายของคำวา่ การวิจัยนัน่ เอง

เพราะการวิจัยหมายถึง กระบวนการในการหาความรู้
ความจรงิ ทเี่ ปน็ ระบบและเชื่อถือได้

จากความหมายจะมี keyword อยู่ 2 ส่วนไดแ้ ก่ หนึง่ ตอ้ ง
เปน็ กระบวนการที่เปน็ ระบบ สองต้องเชอ่ื ถือได้

มาแลกเปลยี่ นในแตล่ ะสว่ นด้วยกัน
1.ตอ้ งเปน็ กระบวนการที่เป็นระบบ
กระบวนการที่เป็นระบบในความเขา้ ใจของผมคือขน้ั ตอน
การทำวจิ ยั ที่นำเสนอหรอื เขยี นเป็นขน้ั ตอนท่ีเราคุ้นเคยคือ 5 บท
รวมกับบรรณานุกรม ภาคผนวก ดังนี้
บทที่ 1 ความเป็นมา ความหมายโดยนัยคือ ทำไมเราถึง
ต้องทำวิจัยเรื่องนี้ ซึ่งในบทที่ 1 จะมีองค์ประกอบที่สำคัญดงั น้ี

การวิจยั ในชั้นเรยี นภายใต้สถานการณ์ทไี่ ม่คนุ้ เคย 8

ความเป็นมา วัตถุประสงค์ สมมติฐาน ขอบเขต นิยามศัพท์
เฉพาะ และประโยชนท์ ีไ่ ดร้ บั

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ความหมาย
โดยนัยคือ ถ้าเราจะทำวิจัยเรื่องนี้แล้ว เราจะต้องหาความรู้
อะไรบ้าง ซึ่งในบทที่ 2 จะมอี งคป์ ระกอบทีส่ ำคัญดังนี้ ส่วนท่ีเป็น
ทฤษฎี / ความรู้ท่ีตอ้ งใชใ้ นงานวิจยั ครง้ั นี้ และสว่ นที่เป็นงานวิจัย
ทเี่ ก่ยี วข้อง (คล้าย) กบั งานวิจยั ของเรา

บทที่ 3 วิธดี ำเนนิ การวิจยั ความหมายโดยนยั คอื เมอื่ เรา
ไปศึกษาความรู้จากบทที่ 2 แล้ว เราจะมาออกแบบงานวิจัยของ
เราได้อย่างไร ซึ่งในบทที่ 3 จะมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การสร้าง
และหาคุณภาพเครื่องมือ รูปแบบการวิจัย การเก็บรวบรวม
ข้อมลู และสถิติทใี่ ช้ในการวจิ ัย

บทที่ 4 ผลการวิจัย ความหมายโดยนัยคือ สิ่งที่เรา
ตัง้ เป้าไว้ตามวัตถุประสงคจ์ ากบทที่ 1 นั้น เราทำสำเรจ็ มากนอ้ ย
เพยี งใด ซึง่ ในบทที่ 4 จะมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ผลการวิจัยที่
สอดคล้องกับวัตถุประสงคท์ ี่ตั้งไว้

บทที่ 5 สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ ความหมาย
โดยนัยคือ ทำไมผลการวิจัยจากบทที่ 4 ถึงออกมาเป็นเช่นนั้น
ซึ่งในบทที่ 5 จะมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ส่วนสรุปผล
สว่ นอภิปรายผล และสว่ นข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม ภาคผนวก ความหมายโดยนัยคอื เปน็ สว่ น
ที่สนับสนุนว่าสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏในเอกสารทั้ง 5 บทนั้น มันมี
ท่ีมาท่ีไป (นะ) ไมไ่ ด้ลอยมาจากไหน

การวิจัยในชัน้ เรยี นภายใต้สถานการณท์ ไี่ มค่ ้นุ เคย 9

อนั น้ีคอื keyword ส่วนแรกจากการวิเคราะห์ความหมาย
ของคำว่า การวจิ ยั คือต้องทำเปน็ ระบบ

2.ตอ้ งเชอื่ ถอื ได้
ในส่วนของความน่าเช่ือถือนั้น เราจะมองไม่เห็นครับ
แต่เป็นเรื่องของความรู้สึก เป็นส่ิงที่ซ่อนอยู่ในเอกสารทั้ง 5 บท
ประมาณวา่ ไมม่ ีตัวตนแตส่ มั ผสั ได้
ตรงนีค้ ือประเด็นของบทความฉบับน้ี
เรามาลองไล่ประเด็นความนา่ เชื่อถือทสี่ อดแทรกในแต่ละ
บท (บางประเด็น) ของผมกันครบั
บทที่ 1 ความเปน็ มา ความน่าเชอ่ื ถอื จะสอดแทรกตัง้ แต่
ความเป็นมา ที่เราอยากทำวิจัยเรื่องนี้ มันมีต้นสาย
ปลายเหตุอย่างไร ต้นสายปลายเหตุนั้นมีน้ำหนักหรือ
ความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด และมีการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
หรือไม่
วตั ถุประสงค์ท่ีกำหนดมานั้น มีความสอดคล้องกับความ
เป็นมาไหม มีความสอดคล้องกับธรรมชาติของกลุ่มสาระไหม
มคี วามสอดคล้องกับนักเรยี นไหม และสามารถเป็นจริงได้ในทาง
ปฏิบตั ิไหม
ขอบเขตที่กำหนดมานั้นทั้งเรื่องของประชากร เนื้อหา
ตัวแปร และระยะเวลา มีความสมเหตุสมผล มีความน่าเชื่อถือ
มากน้อยเพียงใด
นยิ ามศพั ท์เฉพาะทกี่ ำหนดมานั้น เปน็ นิยามหรือขอ้ ความ
ที่สามารถแปรเปลี่ยนเป็นเครื่องมือที่สามารถวัดได้จริงไหม
สามารถจับต้องไดจ้ รงิ ไหม

การวจิ ัยในชนั้ เรยี นภายใต้สถานการณท์ ีไ่ ม่คนุ้ เคย 10

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ที่เราไปหาอ่าน
เอกสารและงานวิจยั ต่าง ๆ นน้ั มีความน่าเชอ่ื ถอื มากนอ้ ยเพยี งใด
เช่น มีอ้างองิ ในบรรณานกุ รมไหม เนื้อหาสอดคล้องกับเร่ืองวิจยั
ของเราไหม เล่มเอกสารท่ีค้นควา้ มีความใหม่เกา่ มากนอ้ ยเพียงใด
และเราได้สงั เคราะหค์ วามรู้จากสง่ิ ทเ่ี ราอ่านไดถ้ ูกตอ้ งเพยี งใด

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย ที่เราออกแบบมานั้นมีความ
น่าเชื่อถือเพียงใด เช่น การสุ่มกลุ่มตัวอย่างมีความถูกต้องตาม
หลักวิชาไหม เครื่องมอื ท่ีใช้ในการวิจัยสอดคลอ้ งกบั วัตถุประสงค์
ของงานวิจัยไหม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสามารถทำการวัดได้
ตรงกับธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้ไหม ขั้นตอนการสรา้ ง
เครอื่ งมอื ที่ใชใ้ นการวิจัยมีความถกู ต้องตามหลักวิชาไหม ข้ันตอน
การเก็บรวบรวมขอ้ มูล เก็บอย่างไร และเก็บเมื่อไหร่ สถิติที่ใช้ใน
การวิจัยนั้นสอดคล้องกับประชากร / กลุ่มตัวอยา่ งไหม สามารถ
เลือกใช้สถิติไดส้ อดคลอ้ งกับวตั ถุประสงค์ทก่ี ำหนดไว้ไหม

บทที่ 4 ผลการวิจัยที่นำเสนอมานั้นสอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ไหม มีการคำนวณค่าสถิติถูกไหม
การเลือกใช้สัญลักษณ์ทางสถิติ มีคะแนนดิบในภาคผนวกเพื่อไว้
ยืนยันไหม มกี ารแปลผลใตต้ ารางทถ่ี กู ไหม

บทที่ 5 มีการสรุปผลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ไหม
มกี ารอภปิ รายผลที่แสดงถึงเหตุผลได้ว่า เพราะอะไรผลการวิจัย
ในบทที่ 4 ถึงออกมาเป็นเช่นนั้น มีการหางานวิจัยอื่น ๆ มา
สนับสนุนเหตุผลที่เราให้ไว้ไหม และข้อเสนอแนะที่ให้เป็นไปได้
ในทางปฏบิ ัติไหม

การวิจัยในชน้ั เรยี นภายใต้สถานการณ์ท่ีไม่คนุ้ เคย 11

ส่วนใหญ่ท่ีผมเห็นคอื ทำงานเป็นระบบ แต่ไม่น่าเชื่อถอื
เช่น

พัฒนาทักษะการร้องเพลงโดยใช้แบบฝกึ ทักษะ สุดท้าย
เราอยากรู้ว่านักเรียนร้องเพลงได้ดีขึ้นไหม ซึ่งจริงแล้วควรให้
นักเรยี นมาร้องเพลงให้เราฟงั เราถงึ ประเมนิ เปน็ รายคน แต่ส่วน
ใหญจ่ ะใหน้ ักเรยี นไปทำขอ้ สอบแบบ ก ข ค และ ง (ไม่นา่ เชื่อถือ)
หรือนักเรียนอนุบาล 2 ให้ทำแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบมาตราสว่ นประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ขอ้

ทำวจิ ยั ทุกคร้ัง ต้องใช้ความรูเ้ รื่องการประเมินผลควบคู่
เสมอ แล้วเราจะประเมินอะไร ก็ให้ประเมินในเรื่องของความ
น่าเชื่อถือของขั้นตอนการทำวิจัยว่า ถ้าเราทำแบบนี้แล้ว มันจะ
น่าเชือ่ ถอื ไหม เพราะทุกอยา่ งเปน็ ไปตามความหมายของการวิจัย
ที่หมายถึง กระบวนการในการหาความรู้ความจริงที่เป็นระบบ
และเชอ่ื ถอื ได้

การวิจัยในชน้ั เรียนภายใต้สถานการณท์ ไ่ี ม่คุ้นเคย 12

Collaborative Classroom Research

ศน.รชั ภูมิ สมสมัย
www.youtube.com/sornorpoom

ปลายเดอื นตุลาคมสืบเน่ืองถึงต้นเดือนพฤศจกิ ายน ผมมี
โอกาสได้ร่วมแลกเปลีย่ นกับเพอ่ื นครูในประเด็น “ความเชื่อมโยง
ระหว่างการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน การวิจยั ในชั้นเรียน
กบั การเขยี นข้อตกลงในการพัฒนางานตามเกณฑ์ ว.PA”

เหตุที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นนี้ เพราะในส่วนตัวมี
ความเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า การเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน
ส่วนที่ 1 มีฐานจากการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน และ
การเขียนข้อตกลงในการพัฒนางานส่วนที่ 2 มีฐานจากการวิจัย
ในชน้ั เรยี น แตบ่ ทความวนั นี้ผมจะมงุ่ ไปทีส่ ว่ นที่ 2 ครบั

รายละเอียดเป็นดังนี้
เมือ่ ผมได้รับมอบหมายจากเพ่อื นครูให้ไปบรรยายในเร่ือง
ดังกล่าว ผมตั้งโจทย์กับตัวเองก่อนว่า เราจะทำอย่างไรให้การ
บรรยายในแตล่ ะครง้ั นัน้ มคี วามหมาย หรือมีคุณคา่ มากทส่ี ดุ
จากโจทย์ที่ผมตั้ง ผมเลยออกแบบเนื้อหาการบรรยาย
โดยใช้ข้อมูลจริงของเพื่อนครูเป็นฐานคิดสำคัญ ซ่ึงผมถือว่า
การออกแบบการบรรยายลักษณะนี้ เป็นการพัฒนาตนเองแบบ
กา้ วกระโดด (อกี ครัง้ )

การวจิ ัยในช้นั เรยี นภายใต้สถานการณ์ท่ไี ม่คนุ้ เคย 13

ข้ันตอนการออกแบบการบรรยาย โดยสังเขปเป็นดังน้ี
เริ่มตั้งแต่ ให้เพื่อนครูทำแบบสอบถามโดยใช้ google
form เพื่อสอบถามข้อมูลพื้นฐานเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียนที่
เพ่ือนครูจะทำในปกี ารศกึ ษา 2564 ตัวอยา่ งตามภาพ

ประเด็นคำถามที่ผมสอบถาม เช่น ข้อมูลพื้นฐานของ
เพื่อนครู / การวิจัยในชนั้ เรียนทีจ่ ะทำนั้นสอดคล้องกับกลุ่มสาระ
การเรียนรู้ใดบ้าง หรือสอดคล้องกับ KAP ใดบ้าง / การวิจัยใน
ชั้นเรียนที่จะทำนั้นมุ่งไปที่นักเรียนระดับชั้นใด / นวัตกรรมที่ใช้
สอดคล้องกับมาตรฐานตำแหน่งด้านการจัดการเรียนรู้เรื่องใด
มากที่สุด และเพื่อนครูใช้เครื่องมือประเภทใดในการตรวจสอบ
ผลลพั ธก์ ารเรียนรขู้ องนักเรยี น เป็นต้น

ประเด็นคำถามที่ผมถามนั้น จะเป็นคำถามพื้นฐานที่
เพื่อนครูทุกท่านต้องทราบอยู่แล้ว ถ้าหากตั้งใจจะทำวิจัยใน
ชน้ั เรยี นในเรื่องนั้นจรงิ

การวจิ ยั ในชนั้ เรียนภายใต้สถานการณท์ ่ีไมค่ นุ้ เคย 14

เมื่อเพื่อนครูได้กรอกคำตอบลงใน google form แล้ว
ผมได้นำ google data studio มาประยุกต์ใช้เพื่อให้ผมและ
เพื่อนครูมองเห็นสารสนเทศจากคำตอบที่เพื่อนครูได้กรอกมา
จริง ตวั อย่างตามภาพ

การวจิ ัยในช้ันเรยี นภายใต้สถานการณท์ ี่ไม่คุ้นเคย 15

สารสนเทศจาก google data studio จะเป็นข้อมูล
เชงิ ประจักษ์ ทั้งนเี้ พื่อสรา้ งความตระหนักร่วมกนั ถงึ ส่ิงท่ีเพื่อนครู
เรากำลังจะทำวิจยั ในชั้นเรยี นกบั นกั เรยี นในปีการศกึ ษา 2564

เปน็ สารสนเทศที่สะท้อนภาพรวมระดบั โรงเรยี นท้ังหมด
ตระหนักเพื่อกำหนดทิศทางการทำวิจัยในช้ันเรียน
ร่วมกันทั้งโรงเรียน ในแบบฉบับของเราเอง ผมไม่อยากให้เพ่ือน
ครูเราทำวิจัยในช้ันเรียนแบบ Ctrl C Ctrl V และ Ctrl P แต่อยาก
ให้ทำวิจัยในชั้นเรียนบนฐานของความจริง และบริบทของ
โรงเรยี นเรา
ยิ่งสถานการณ์การจัดการเรียนการสอนเป็นเช่นน้ี
ความจริง และบริบทของโรงเรียนคือสิ่งที่จำเป็นและสำคัญต่อ
การวางแผนการทำงานในทุก ๆ มิติ
ข้อมูลจริง ย่อมนำไปสู่สารสนเทศที่มีคุณภาพ สิ่งนี้คือ
concept สำคัญในการออกแบบหลักสูตรสำหรับการบรรยาย
ของผม
หลังจากนั้นผมได้นำข้อมูลจริงเหล่านั้นมาจัดกระทำ
เพิ่มเติมโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อนำเสนอให้
เห็นว่า การวิจัยในชั้นเรียนของเพื่อนครูทั้งโรงเรียนนั้นมีจุด
ใดบ้างที่ “ซ้อนทับ” และมีจุดใด บ้างที่ “มองข้าม” กันอยู่
ผลการวิเคราะห์เพม่ิ เตมิ ไดข้ ้อมูลตามตาราง ดงั นี้

การวิจัยในชนั้ เรียนภายใต้สถานการณท์ ไ่ี ม่คุ้นเคย 16

กล่มุ สาระกบั KAP

กลุ่มสาระ พทุ ธิ จิต ทกั ษะ บรู ณา รวม

พสิ ยั พสิ ยั พสิ ัย การ

(K) (A) (P)

ภาษาไทย 00 3 1 4

คณิตศาสตร์ 40 0 1 5

วิทยาศาสตร์ 3 4 2 3 12

ภาษาต่างประเทศ 1 0 4 0 5

สงั คมศึกษาฯ 21 0 25

สุขศกึ ษา 01 2 25

การงานอาชีพ 0 0 8 2 10

ศิลปะ 0 1 0 1 2

รวม 10 7 19 12 48

กลุ่มสาระกบั ระดับช้ัน

กลุ่มสาระ ม. ม. ม. ม. ม. ม. รวม
123456
ภาษาไทย
คณิตศาสตร์ 101110 4
วทิ ยาศาสตร์ 101111 5
ภาษาต่างประเทศ 2 2 1 2 2 3 12
101201 5

การวิจยั ในชัน้ เรียนภายใต้สถานการณท์ ี่ไมค่ นุ้ เคย 17

สงั คมศกึ ษาฯ 111110 5
สุขศกึ ษา 113000 5
การงานอาชพี 1 0 2 0 5 2 10
ศิลปะ 101000 2
9 4 11 7 10 7 48
รวม

กลุม่ สาระกบั ตวั ช้วี ดั ตามมาตรฐานตำแหนง่ (ดา้ นที่ 1)

กลุ่มสาระ จดั การ ส่ือการ จัด การวดั รวม
กจิ กรร จัดการ เรียน บรรยากา และ
ภาษาไทย มการ เรียนรู้ท่ี การ ประเมิน 4
คณติ ศาสตร์ เรียนรู้ เนน้ สอน ศท่ี ผลการ 5
วทิ ยาศาสตร์ ผู้เรียน ส่งเสรมิ เรยี นรู้ 12
ภาษาต่าง 1 เป็น 0 การเรยี นรู้ 5
ประเทศ 2 สำคัญ 3 0 5
สงั คมศกึ ษาฯ 5 4 0 0 5
สขุ ศกึ ษา 0 3 3 0 0 10
การงานอาชพี 0 0 0
1 3 3 0
1 2 1 0
3 0 0 1
1 1 0
1 0
7

การวจิ ยั ในชั้นเรียนภายใต้สถานการณท์ ไ่ี ม่คนุ้ เคย 18

ศลิ ปะ 200 0 02
รวม 15 17 14 1 1 48

จากคำตอบที่ครูกรอกผ่าน google form สู่การสร้าง
สารสนเทศด้วย google data studio และจดั กระทำขอ้ มูลโดยใช้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม
การวิจัยระดับโรงเรียนที่ผมใช้ชื่อว่า การวิจัยในชั้นเรียน
แบบรว่ มมอื (Collaborative Classroom Research)

ทำไมผมถึงตั้งชื่อน้ี เหตุผลสนับสนนุ คอื ตอนนี้โรงเรียน
ส่วนใหญจ่ ัดการเรียนการสอนแบบ Online / On hand เปน็ ส่วน
ใหญ่ และข้อค้นพบที่สำคัญประการหนึ่งของผม คือ เราใช้
ความคุ้นเคยจาก On site มาปรับใช้กับ Online / On hand
โดยเฉพาะเรื่อง การมอบหมายงาน/กิจกรรม การวัดและ
ประเมนิ ผลในชั้นเรียน และการวจิ ยั ในช้ันเรยี น

การมอบหมายงาน/กิจกรรม ผมได้สร้างการสื่อสารกับ
เพื่อนครูมาแลว้ ในประเด็น บูรณาการงาน ผสานตัวชี้วัด (เพื่อน
ครูรับชมไดท้ ี่ Youtube Channel : SORNORPOOM)

การวัดและประเมินผลในช้ันเรียน ผมได้สร้างการสื่อสาร
กับเพื่อนครูมาแล้วในประเด็น การประเมินการเรียนรู้ใน
ส ถ า น ก า ร ณ ์ ท ี ่ ไ ม ่ ค ุ ้ น เ ค ย ( download เ อ ก ส า ร ไ ด ้ ที่
www.sornorpoom.wordpress.com)

และครั้งนี้ การวิจัยในชัน้ เรยี น ผมคิดว่าผมจะสื่อสารกับ
เพื่อนครใู นประเด็น การวจิ ัยในชัน้ เรียนแบบรว่ มมอื

การวิจยั ในช้นั เรียนภายใต้สถานการณ์ท่ไี มค่ นุ้ เคย 19

เหตุผลที่ผมอยากสื่อสารประเด็นน้ี เพราะว่า การวิจัยใน
ชั้นเรียนมี concept ที่สำคัญคือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายใน
ชั้นเรียน และทุกเวทีที่ผมไปบรรยาย ผมจะอธิบายเพื่อนครูว่า
ขัน้ ตอนการวิจยั ในชนั้ เรียนหลกั ๆ แล้วมีทงั้ หมด 3 ขนั้ ตอน ได้แก่
ปัญหา วธิ ีแก้ ผลการแก้

ปญั หา ขอให้มงุ่ เนน้ ไปที่ K/A/P
วธิ แี ก้ ก็คอื นวตั กรรม อาจเป็นไดท้ ง้ั สอ่ื การเรยี นการสอน
หรอื วิธีการสอน
ผลการแก้ ก็พิจารณาวา่ K/A/P มีผลการพฒั นามากน้อย
เพยี งใด
ถ้าเป็นสถานการณ์ที่เราคุ้นเคย เราสามารถทำตาม 3
ข้นั ตอนนไ้ี ด้ทันที โดยไมต่ อ้ งมเี งอื่ นไขอะไร
แต่ตอนนีเ้ ราเป็นสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย เราสามารถทำ
ตาม 3 ขั้นตอนนี้ได้ แต่ต้องมีเงื่อนไขเป็นการเฉพาะนิดหน่อย
ตรงที่ว่า ถ้าครูสมชายทำวิจัยในชั้นเรียนกับนักเรียนชั้น ป.5/2
ครูสมหมายก็ทำวิจัยในชั้นเรียนกับนักเรียนชั้น ป.5/2 หรือ
ครูสมหญิงกท็ ำวิจยั ในช้ันเรียนกับนักเรยี นชัน้ ป.5/2 เชน่ กัน
นักเรียนชั้น ป.5/2 อาจเกิดคำถามว่า เรียนปกติฉัน
ก็เรียน งานปกติฉันก็ทำ แล้วฉันต้องมาทำงานเพิ่มเติมร่วมกับ
ครูทัง้ 3 ทา่ นอกี เหรอ สุดทา้ ยนักเรยี นช้นั ป.5/2 เกิดความเครยี ด
แน่นอนครบั
เราตั้งใจว่า เราจะทำวิจัยในชั้นเรียนเพ่ือพัฒนานักเรียน
แต่กลับกลายเป็นว่า ความตั้งใจของเรานั้นเป็นการสร้าง
ความเครยี ดให้กับนกั เรยี น และผ้ปู กครองแทน

การวิจัยในชน้ั เรียนภายใต้สถานการณท์ ี่ไมค่ ุ้นเคย 20

เงื่อนไขทเี่ พอื่ นครเู ราต้องช่วยกนั คดิ คือ เมอื่ เราทำวิจัยใน
ชั้นเรียนแล้ว เราจะทำอย่างไรนักเรียนถึงไม่เกิดความเครียด
จึงนำไปส่คู ำว่า การวิจัยในชัน้ เรียนแบบรว่ มมอื กล่าวคือ

ตวั อยา่ งที่ผมใช้ประกอบคำอธบิ าย ขอเร่ิมท่ตี ารางนี้

กลุม่ สาระ ม. ม. ม. ม. ม. ม. รวม
123456
ภาษาไทย 101110 4
คณิตศาสตร์ 101111 5
วทิ ยาศาสตร์ 2 2 1 2 2 3 12
ภาษาต่างประเทศ 101201 5
สงั คมศกึ ษาฯ 111110 5
สุขศึกษา
การงานอาชีพ 113000 5
ศิลปะ 1 0 2 0 5 2 10
101000 2
รวม 9 4 11 7 10 7 48

จากตาราง เพอ่ื นครจู ะพบว่า จุดท่ี “ซ้อนทบั ” เช่น เพือ่ น
ครูกลุ่มสาระ กอท. จะทำวิจัยในชั้นเรียนกับนักเรียนชั้น ม.5
จำนวนถึง 5 คน และจุดที่ “มองข้าม” เช่น เพื่อนครูกลุ่มสาระ
ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ กอท. และศลิ ปะ ไม่ได้
ทำวิจยั ในชั้นเรยี นกับนกั เรียนชัน้ ม.2 เป็นตน้

การวจิ ัยในชั้นเรียนภายใต้สถานการณท์ ่ไี ม่ค้นุ เคย 21

จะดีกว่าไหม ถา้ เพื่อนครกู ลุม่ สาระ กอท. มาคุยกนั หน่อย
ว่า เราจะทำวจิ ัยในชั้นเรียนกับนักเรียนชั้น ม.5 ในประเด็นใดดี?
ทำทุกประเด็นคงไม่ไหวในสถานการณ์แบบนี้ ผมคิดว่าเราควร
focus ประเด็นที่สำคัญมากกว่า เพื่อเราจะได้ทำวิจัยในชั้นเรียน
รว่ มกัน (ประเดน็ ทีท่ ้าทาย)

สำหรับนักเรียนชั้น ม.2 ก็น่าจะหาจุด focus เหมอื นกัน
กบั นักเรียนชัน้ ม.5

การทำวิจัยในชั้นเรียนแบบร่วมมือในนิยามของผม เร่ิม
ตั้งแต่ กำหนดประเด็นพัฒนาร่วมกัน หลังจากนั้นก็ออกแบบ
นวัตกรรมเพอ่ื พัฒนานักเรียนร่วมกนั คดิ วิธีว่าเราจะนำนวัตกรรม
นั้นไปสู่กิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกัน และสุดท้ายร่วมกัน
ออกแบบการประเมินผลการพัฒนาภายหลังเราใช้นวัตกรรมน้ัน
แล้ว

ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ น่าจะเหมาะสมกว่า ต่างคน
ต่างคิด ต่างคนต่างทำ ไม่เช่นนั้นจะเกิดผลเสียมากกวา่ เกิดผลดี
โดยเฉพาะประเด็นความเครียดของนกั เรยี นและผูป้ กครอง

ณ เวลานี้ เราก็ยังมองข้ามในประเด็นความเครยี ด แตเ่ รา
ยังมุ่งเน้นไปที่มาตรฐาน ตัวชี้วัด การสั่งงานแยกรายวิชา และ
การสอบเก็บคะแนนแยกรายวิชา

ทุกคนรู้วา่ นกั เรียนเครียด แต่เราก็ยังใช้ความคุน้ เคยจาก
Onsite มาปรบั ใชก้ ับ Online / On hand

แต่ก่อนที่โรงเรียนจะนำนวัตกรรมที่ชื่อว่า การวิจัยใน
ช้ันเรียนแบบร่วมมอื ไปใช้นั้น ผูบ้ ริหาร หรือทมี งานที่รับผิดชอบ
ต้องมีข้อมูลพื้นฐานในประเด็นทีเ่ กี่ยวข้องกับการวิจัยในชัน้ เรียน

การวจิ ยั ในชั้นเรียนภายใต้สถานการณท์ ี่ไมค่ นุ้ เคย 22

ของเพื่อนครทู ั้งโรงเรียนเสียก่อน เมือ่ มีข้อมูลพื้นฐานแล้วใหน้ ำ
ข้อมลู ดังกล่าวมาร่วมกันสังเคราะห์เพื่อหาจุดที่ “ซ้อนทับ” และ
จุดที่ “มองขา้ ม” ตรงนีอ้ าจจะมีขั้นตอนทีย่ ุ่งยากหนอ่ ย แต่ถ้าเรา
เข้าใจ สามารถใชไ้ ด้แบบยาวๆ

จุดที่ “ซ้อนทับ” และจุดที่ “มองข้าม” สามารถนำไป
กำหนดเปน็ ประเด็นท้าทายได้ กล่าวคือ

จดุ ที่ “ซ้อนทบั ” กำหนดเป็นประเด็นท้าทายของเพอ่ื นครู
ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ แต่ตอนเขียนแสดงผลลัพธ์การเรียนรู้
ผมคิดว่าสามารถเขยี นสะทอ้ นผลในมิติของเราได้

จุดที่ “มองข้าม” กำหนดเป็นประเด็นท้าทายของ
ผู้บริหาร หรือทีมงาน เพื่อท้าทายให้เพื่อนครูหันมาทำวิจัยใน
ชั้นเรียนในจุดที่ “มองข้าม” ได้ เป็นต้น

แล้วเราจะทำวิจัยในชั้นเรียนควบคู่ไปกับการประเมิน
วิทยฐานะ ว.PA โดยมีเป้าหมายเพือ่ พัฒนาโรงเรียน เพื่อพัฒนา
ครูผู้สอน เพื่อพัฒนาผู้เรียน หรือเพื่อรองรับการประเมินวิทย
ฐานะใหส้ งู ขึน้ ได้อย่างไร

ผมมีไอเดยี ครา่ ว ๆ ดงั น้ี

Concept ของการวจิ ัยคือ

ปญหา วิธีแก ผลการแก

การวจิ ยั ในช้ันเรยี นภายใต้สถานการณท์ ีไ่ ม่คนุ้ เคย 23

จาก Concept ดังกล่าวนำไปสู่ลักษณะงานวิจัยของ
ผู้บริหารดงั น้ี

ปญหา วธิ แี ก ผลการแก

ผเู รียน สงั เคราะห ผลลพั ธ
ขาด ขอ ตกลง การเรียนรู
ความรู ในการ
ทกั ษะ พฒั นา ของ
คณุ ลกั ษณ ของครทู งั้ ผูเรียนทง้ั
ะประจำ โรงเรียน โรงเรียน
วชิ า เพ่ือริเร่ิม
คุณลกั ษณ
ะอันพงึ และ
ประสงค พฒั นา
และ แนวทาง
สมรรถนะ ในการ
ที่สำคญั บริหาร
ตาม ของ

การวจิ ัยในชน้ั เรียนภายใต้สถานการณ์ท่ีไมค่ ุ้นเคย 24

จาก Concept ดังกล่าวนำไปสู่ลักษณะงานวิจัยของ
ครผู ูส้ อนดังน้ี

ปญหา วธิ แี ก ผลการแก
ขอตกลง
ผเู รยี นขาด พฒั นางาน ผลลัพธ
ความรู การเรยี นรู
ทักษะ ของผเู รียน
คุณลักษณ
ะประจำ ท่ีเรา
วิชา รบั ผดิ ชอบ
คุณลักษณ
ะอนั พงึ
ประสงค
และ
สมรรถนะ
ที่สำคัญ
ตาม
หลักสตู ร

การวิจยั ในชนั้ เรยี นภายใต้สถานการณท์ ไ่ี มค่ ้นุ เคย 25

พยายามมองงานท่ีรับผดิ ชอบให้เช่ือมโยงกัน และทุกจุด
ท่ีเช่ือมโยงกันนัน้ ตอ้ งมีกระบวนการวดั และประเมินผลในช้นั เรียน
กำกับอยเู่ สมอ

และที่สำคัญกระบวนการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน
และกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนเป็นสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนไปพร้อม
กัน แยกกันทำไมไ่ ด้

ทำไมเราถึงเลือกที่จะทำไข่เจียว (การวิจัยในชั้นเรียน)
และ ร้ไู ด้อย่างไรวา่ ไข่เจียวทเ่ี ราทำนัน้ มีรสชาตทิ ี่อร่อย (การวัดผล
ในชนั้ เรยี น)

การวจิ ัยในช้ันเรยี นภายใต้สถานการณท์ ีไ่ มค่ ุ้นเคย 26

5 คำถามก่อนทำวจิ ยั ในช้นั เรียนแบบร่วมมอื

ศน.รชั ภมู ิ สมสมยั
www.youtube.com/sornorpoom

บทความนี้ ผมขอเขียนต่อเน่ืองมาจากบทความล่าสุดที่มี
ชื่อว่า Collaborative Classroom Research หรือการวิจัยในชั้น
เรียนแบบร่วมมือ ซึ่งผมคิดว่าเป็นนวัตกรรมด้านการวิจัยในชน้ั
เรียนที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์
ปัจจบุ นั เป็นอยา่ งดี

ลดความเครยี ดของนักเรียน โดยการเรียนรู้จากชีวิตจริง
คอื สิง่ ที่ผมพยายามส่อื สารมาตลอด

ทั้งนี้เพื่อใหเ้ พื่อนครูเข้าใจในเน้ือหาของบทความเรื่อง 5
คำถามก่อนทำวิจัยในชั้นเรียนแบบร่วมมือมากยิ่งขึ้น ผมต้อง
รบกวนเพื่อนครูได้กลับไปอ่านบทความเรื่อง Collaborative
Classroom Research กอ่ น

รายละเอียดของบทความน้ี มดี ังตอ่ ไปน้ี
เ ป ้ า ห ม า ย ข อ ง ก า ร ว ิ จ ั ย ใ น ช ั ้ น เ ร ี ย น แ บ บ ร ่ ว ม มื อ
นอกเหนือจากเพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชั้นเรียนแล้ว
(Output) ผมคิดว่าเกิดผลกระทบเชิงบวก (Outcome) ต่ออีก
อยา่ งน้อย 3 ข้อ คือ
1. เป็นการลดความเครียดของนักเรียน และผู้ปกครอง
อนั เกิดจากภาระงานท่มี อบหมาย

การวจิ ยั ในชน้ั เรียนภายใต้สถานการณท์ ่ีไมค่ นุ้ เคย 27

2. เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเพื่อนครู และ
นักเรียนสำหรับการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ เพราะ
concept พื้นฐานประการหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนฐาน
สมรรถนะคือ การเชื่อมโยงความรู้หลาย ๆ ศาสตร์เข้าด้วยกัน
การวิจยั ในชน้ั เรียนแบบร่วมมอื กม็ ี concept เดยี วกนั

3. Learn for Life คือสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่า learn for
Test

เมื่อผู้บริหาร หรือทีมงานที่รับผิดชอบดำเนินการ
สังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานการวิจัยในช้ันเรียนของเพื่อนครูเพื่อหา
จุดที่ “ซอ้ นทับ” และจดุ ที่ “มองขา้ ม” เสรจ็ แล้ว

จุดที่ “ซ้อนทับ” ก็นำไปกำหนดเป็นประเด็นท้าทายของ
เพื่อนครู ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ แต่ตอนเขียนแสดงผลลัพธ์
การเรยี นร้ทู ี่พัฒนาขนึ้ ผมคิดว่าเราสามารถเขยี นสะทอ้ นผลในมติ ิ
ของเราได้

จุดที่ “มองขา้ ม” ก็นำไปกำหนดเป็นประเด็นท้าทายของ
ผู้บริหาร หรือทีมงาน เพื่อท้าทายให้เพื่อนครูหันมาทำวิจัยใน
ช้นั เรียนในจุดท่ี เพื่อนครสู ่วนใหญ่ “มองข้าม”

ไมว่ า่ จะเปน็ จุดท่ี “ซ้อนทับ” หรอื จดุ ท่ี “มองขา้ ม” เราก็มี
ขั้นตอนการวิจัยในชั้นเรียนเหมือนกัน ได้แก่ ปัญหา วิธีแก้
ผลการแก้

แต่อย่างที่ผมเน้นย้ำเสมอว่า ตอนนี้เราจัดการเรียนการ
สอนในสถานการณ์ที่เราไมค่ ุ้นเคย (On line / On hand) ดังน้ัน
ก่อนที่จะทำวิจัยในชั้นเรียนแบบร่วมมือ เราควรตั้งคำถามเพื่อ

การวจิ ยั ในชนั้ เรยี นภายใต้สถานการณท์ ี่ไม่คุน้ เคย 28

ถามตนเองก่อนว่า ถ้าเราทำวิจัยในชั้นเรียนแบบร่วมมือแล้ว
ผลลพั ธ์การเรียนรู้ของนักเรียนจะได้รับการพัฒนาได้จรงิ หรอื

รายละเอียดของคำถามสำหรับการถามตนเอง
มีอะไรบ้าง ลองอ่านไอเดียผม

1.เราจะกำหนดเป้าหมายในการพัฒนานักเรียน โดยมี
วธิ คี ิดอย่างไร

คำถามนี้ ผมมุ่งเน้นใหเ้ พ่อื นครูได้ลองคุยกบั เพือ่ นครูท่าน
อื่น ๆ ว่า เมือ่ การจดั การเรียนการสอนเป็นแบบน้ี เราควร focus
ประเด็นใดถึงจะเหมาะสมท่ีสุด (จะเอาบวก จะเอาลบ จะเอาคูณ
หรือจะเอาหารดี) ถ้าเราไป focus ทุกประเด็น (จะเอาทั้งบวก
ลบ คณู และหาร) ผมว่าคงไมไ่ หวทัง้ เพ่อื นครู และนกั เรียน

แต่หากเพ่อื นครู ยังต่างคนต่าง focus ไม่มีการพูดคุยกัน
ผมเกรงว่าสุดท้ายแล้วจะเหมือนการมอบหมายงาน ที่ต่างคน
ตา่ งมอบหมายงาน สดุ ทา้ ยเราจงึ เห็นข้อความเพื่อติดตามงานใน
group line ประจำช้นั /ประจำวชิ า เปน็ ประจำหลังอาหาร 4 เวลา

ตอ้ งถามตัวเองมากหนอ่ ยเมอ่ื สถานการณเ์ ปน็ แบบนี้
2.นวัตกรรมที่เราจะนำไปใช้พัฒนานักเรียน ควรมี
ลักษณะอย่างไร
คำถามนี้ ผมมุ่งเน้นไปที่ภายหลังจากเพื่อนครูได้
ตกตะกอนในประเด็นที่ต้องการพัฒนารว่ มกนั แลว้ ขั้นตอนต่อมา
คือ แล้วเราจะสร้างนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้พัฒนานักเรียนได้
อย่างไร ซึ่งนวัตกรรมอาจจะออกมาทั้งในรูปแบบของสื่อการ
เรยี นการสอน แรงจงู ใจ หรือเทคนิคการสอนก็ได้

การวิจัยในช้นั เรยี นภายใต้สถานการณ์ทไ่ี มค่ นุ้ เคย 29

ถ้าประเด็นที่เราต้องการพัฒนาเป็นความรู้ นวัตกรรมท่ี
สรา้ งขึ้นควรมลี ักษณะอย่างไร

ถ้าประเด็นที่เราต้องการพัฒนาเป็นทักษะ นวัตกรรมท่ี
สรา้ งขนึ้ ควรมีลักษณะอย่างไร

ห ร ื อ ถ ้ า ป ร ะ เ ด ็ น ท ี ่ เ ร า ต ้ อ ง ก า ร พ ั ฒ น า เ ป ็ น เ จ ต ค ติ
นวัตกรรมทีส่ ร้างข้นึ ควรมลี ักษณะอย่างไร

ทะเลาะกันให้จบ เพราะถ้าเราสร้างนวัตกรรมได้
สอดคล้องกับประเด็นที่เราต้องการพัฒนาแล้ว เราก็จะพอ
ตั้งสมมติฐานได้ว่า งานนี้สำเร็จอย่างแน่นอน เมื่อได้คำตอบ
ลกั ษณะของนวัตกรรมที่เราจะสร้างแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือร่วมกัน
ออกแบบ ร่วมกันคิด ร่วมกันสร้างนวัตกรรม ภายใต้เงื่อนไขคือ
สถานการณ์ที่เราไมค่ ุน้ เคย เป้าหมายปลายทางคือ ตอบโจทย์ใน
ประเดน็ ทตี่ อ้ งการพัฒนาใหไ้ ด้มากท่ีสุด

ตอ้ งถามตัวเองมากหน่อยเมื่อสถานการณ์เป็นแบบนี้
3.เราจะนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมานั้น ส่งไปถึงมือ
นกั เรียนได้อยา่ งไร
คำถามนี้สำคัญไม่น้อยกว่าคำถามจากข้อ 2 กล่าวคือ
ถ้าเป็นสถานการณ์ปกติ เพื่อนครูสามารถสร้างนวัตกรรมใน
ลักษณะใดก็ได้ เพราะนักเรียนเรียนรู้อยู่กับเรา เราสามารถนำ
นวตั กรรมทีเ่ ราสร้างขนึ้ สง่ ไปถงึ มือนักเรยี นได้ทนั ที
แต่ตอนนี้นักเรียนอยู่ห่างจากเราหลายสิบกิโลเมตร
บางคนก็เข้าเรียน บางคนก็เข้าเรียนบ้าง ไม่เข้าเรียนบ้าง หรือ
บางคนไมเ่ ข้าเรียนเลย คำถามคือ เราจะนำนวัตกรรมท่ีเราสร้าง
ข้ึนสง่ ไปถงึ มือนกั เรียนได้อยา่ งไร เท่าทีผ่ มเหน็ ใน fb ส่วนใหญ่จะ

การวจิ ยั ในชัน้ เรียนภายใต้สถานการณ์ท่ีไมค่ ุ้นเคย 30

ทำในลักษณะของ Learning Box ซึ่งตรงนี้ต้องถามตัวเองก่อน
ว่านักเรยี นเรามีศกั ยภาพในการเรยี นรู้แบบนี้ไหวไหม?

ผมคิดว่า น่าจะคล้าย ๆ กับการเรียนการสอนแบบ
On Hand (มีใบความรู้ มีใบงาน มีใบกิจกรรมในแฟ้มอย่าง
สวยงาม) ซึ่งผมเชื่อว่า เพื่อนครูมีคำตอบอยู่ในใจอยูแ่ ล้ววา่ ไดผ้ ล
จรงิ แทเ้ พยี งใด

สร้างนวัตกรรมได้ แต่ไม่สามารถนำนวัตกรรมนั้นไปถึง
มือนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ของนวัตกรรมที่
สร้างขึ้นจะสญู เปลา่ ไปทนั ที

ต้องถามตัวเองมากหนอ่ ยเมื่อสถานการณ์เปน็ แบบนี้
4.เราจะรู้ได้อย่างไรว่า นักเรียนมีผลการพัฒนาที่ดีข้ึน
จรงิ
คำถามนี้จะมุ่งเน้นไปในเร่ืองของความมีเหตผุ ลในการวัด
และประเมนิ ผลในช้นั เรยี น กล่าวคือ
ถ้าประเด็นที่เราต้องการพัฒนาเป็นความรู้ เราจะรู้ได้
อย่างไรว่าความรู้ของนักเรียนพัฒนาขึ้น คำว่ารู้ได้อย่างไรก็
หมายถึงว่า เราจะใช้เครื่องมอื ชนิดใดในการบอกว่า ความรู้ของ
นักเรยี นพฒั นาขึ้นจรงิ
ถ้าประเด็นที่เราต้องการพัฒนาเป็นทักษะ เราจะรู้ได้
อย่างไรว่าทักษะของนักเรียนพัฒนาขึ้น คำว่ารู้ได้อย่างไรก็
หมายถึงว่า เราจะใช้เครื่องมือชนิดใดในการบอกว่า ทักษะของ
นักเรยี นพฒั นาขึ้นจริง
หรอื ถา้ ประเด็นท่เี ราต้องการพฒั นาเปน็ เจตคติ เราจะรู้ได้
อย่างไรว่าเจตคติของนักเรียนพัฒนาขึ้น คำว่ารู้ได้อย่างไรก็

การวจิ ยั ในช้ันเรียนภายใต้สถานการณ์ทีไ่ มค่ ้นุ เคย 31

หมายถึงว่า เราจะใช้เครื่องมือชนิดใดในการบอกว่า เจตคติของ
นักเรยี นพฒั นาข้ึนจรงิ

และถ้าเราเลือกเครื่องมือได้สอดคล้องกับความรู้ ทักษะ
หรือเจตคตแิ ล้ว คำถามที่ต้องถามตัวเองต่อไปคือ แลว้ เราจะนำ
เคร่ืองมือนั้นไปถงึ มอื นกั เรียนไดด้ ้วยวิธีไหน?

แบบทดสอบ หรือแบบสอบถาม เราอาจใช้ google form
ได้ แตถ่ า้ เป็นแบบสมั ภาษณ์ หรือแบบสงั เกต เราจะทำอยา่ งไร

ตอ้ งถามตัวเองมากหน่อยเมอื่ สถานการณ์เป็นแบบนี้
5.เราจะสอนไป เก็บข้อมูลไป ในสถานการณ์แบบนีไ้ ด้
อย่างไร
คำถามนี้จะมุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดข้ึน
ระหว่างเรากำลังทำวิจัยในชั้นเรียน
ถ้าเป็นสถานการณ์ที่เราคุ้นเคย เราสามารถสังเกต
พฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจริงภายในชั้นเรียนของเราได้ทันที
เพราะนกั เรียนอยกู่ บั เรา
แต่ถ้าเป็นสถานการณ์ที่เราไม่คุ้นเคย เราจะสังเกต
พฤติกรรมการเรียนรผู้ า่ น Google Meet / MS Team / ZOOM /
Line Meeting ใหค้ รอบคลุมและทั่วถึงได้อย่างไร
ทำไมเราต้องสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ในระหว่างการ
ทำวิจยั ในชั้นเรยี นด้วยละ?
ทั้งนี้เพื่อเราจะได้ทราบว่า นักเรียนมีการตอบสนองต่อ
นวัตกรรมของเรามากน้อยเพยี งใด และเราสามารถนำพฤติกรรม
การเรียนรู้ที่เราสังเกตได้นั้นไปเขยี นอภิปรายผลการวิจัยในบทท่ี
5 ต่อไปได้

การวิจยั ในชัน้ เรยี นภายใต้สถานการณท์ ไ่ี ม่คุน้ เคย 32

ต้องถามตัวเองมากหน่อยเมื่อสถานการณเ์ ปน็ แบบนี้
ทั้ง 5 คำถามเป็นคำถามที่ผมค้นพบในระหว่างที่ผมนั่ง
เตรียมเนื้อหาเพื่อใช้บรรยายในหลักสูตรเรื่อง ความเชื่อมโยง
ระหว่างการวัดและประเมินผลในชน้ั เรียน การวิจยั ในชัน้ เรยี น กบั
การเขียนข้อตกลงในการพัฒนางานตามเกณฑ์ ว.PA และทั้ง 5
คำถาม ผมคิดว่าเป็นฐานสำคัญสำหรับการทำวิจัยในชั้นเรียน
ภายใต้สถานการณ์ทีเ่ ราไม่คุ้นเคย
จะทำวิจัยในชั้นเรียนประเด็นนี้ ก็ต้องถามตัวเองให้มาก
หน่อย
จะสร้างนวัตกรรมการเพื่อใช้พัฒนานักเรียน ก็ต้องถาม
ตวั เองให้มากหน่อย
จะนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นลงสู่การปฏิบัติจริง ก็ต้องถาม
ตวั เองใหม้ ากหน่อย
และจะรู้ได้อย่างไรว่า ผลลัพธ์การเรียนรู้มีการพัฒนาข้ึน
จรงิ หรือไม่ อย่างไร ก็ตอ้ งถามตัวเองให้มากหน่อย
สืบเนื่องไปถึงเรื่องที่ผมพยายามสื่อสารถึงเพื่อนครูมา
ตลอดว่า เราไม่ควรใช้ความคุ้นเคยจาก On site มาปรับใช้กับ
On line / On hand โดยเฉพาะเรื่อง การมอบหมายงาน/
กิจกรรม การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน และการวิจัยในช้ัน
เรยี น
การมอบหมายงาน/กิจกรรม ผมได้สร้างการสื่อสารกับ
เพื่อนครูมาแล้วในประเด็น บูรณาการงาน ผสานตัวชี้วัด
(เพ่ือนครูรบั ชมได้ที่ Youtube Channel : SORNORPOOM)

การวิจยั ในช้ันเรยี นภายใต้สถานการณ์ทไี่ มค่ ุน้ เคย 33

การวัดและประเมนิ ผลในชัน้ เรียน ผมได้สร้างการสื่อสาร
กับเพื่อนครูมาแล้วในประเด็น การประเมินการเรียนรู้ใน
ส ถ า น ก า ร ณ ์ ท ี ่ ไ ม ่ ค ุ ้ น เ ค ย ( download เ อ ก ส า ร ไ ด ้ ที่
www.sornorpoom.wordpress.com)

และการวิจัยในชั้นเรียน ผมได้สร้างการสือ่ สารกับเพื่อน
ครมู าแล้วในประเด็น การวิจัยในชนั้ เรียนแบบรว่ มมือ

เรามาช่วยกันลดความเครียดของนักเรียนไปด้วยกัน
ขอบคุณครบั

การวจิ ยั ในชั้นเรยี นภายใต้สถานการณท์ ี่ไมค่ นุ้ เคย 34

ปญั หาในชั้นเรยี นท่ีไมค่ ุ้นเคย

ศน.รัชภมู ิ สมสมัย
www.youtube.com/sornorpoom

บทความนี้เป็นบทความที่ผมเขียนขึ้น เพื่อเติมเต็มความ
สมบูรณ์ของบทความที่ผมเขียนไว้ก่อนหน้าจำนวน 2 บทความ
ได้แก่ Collaborative Classroom Research และ 5 คำถามก่อน
ทำวจิ ัยในชั้นเรียนแบบร่วมมอื เช่นเดิมครับ เพ่ือความเข้าใจมาก
ยิง่ ขึ้น ผมต้องขอรบกวนเพ่ือนครไู ด้ย้อนกลับไปอ่านบทความทั้ง
2 เรอ่ื งนี้ก่อน

เนื้อหาของบทความนี้เป็นการเก็บตกประเด็นปัญหาที่
เพื่อนครูได้กรอกข้อมูลเขา้ มาใน google form เพราะช่วงหลัง ๆ
มานี้ วิธีการบรรยายของผม ผมจะใช้ขอ้ มูลจริงท่ีเพ่ือนครูได้ตอบ
แบบสอบถามผ่าน google form เป็นฐานในการบรรยาย
(นวตั กรรมการบรรยายของผม)

แบบสอบถามผมถามเพื่อนครูในประเด็นเกี่ยวกับ
การวิจยั ในชนั้ เรยี นทีเ่ พื่อนครูจะทำในปีการศึกษา 2564

ตัวอย่างคำถามที่ผมสอบถามเพื่อนครู เช่น ข้อมูล
พื้นฐานของเพื่อนครู / การวิจยั ในชั้นเรียนที่จะทำนัน้ สอดคลอ้ ง
กับกลุม่ สาระการเรียนรู้ใดบ้าง หรอื สอดคล้องกับ KAP ใดบ้าง /
การวิจัยในชั้นเรียนที่จะทำนั้นมุ่งไปที่นักเรียนระดับชั้นใด /
นวัตกรรมที่ใช้สอดคล้องกับมาตรฐานตำแหน่งด้านการจัดการ

การวิจยั ในช้นั เรยี นภายใต้สถานการณ์ทไ่ี ม่คุน้ เคย 35

เรียนรู้เรื่องใดมากที่สุด และเพื่อนครูใช้เครื่องมือประเภทใดใน
การตรวจสอบผลลพั ธ์การเรยี นรู้ของนกั เรยี น เป็นต้น

บทความวันนี้ ผมเก็บตกในคำถามที่ว่า ให้เพื่อนครูระบุ
ประเด็นปัญหาที่พบเห็น หรือที่ต้องการแก้ไข เช่น นักเรียนไม่
ส่งงาน นักเรียนเขา้ สาย นักเรยี นไมเ่ ปดิ กลอ้ ง

ปัญหา คือ ผลของการจัดการเรียนการสอนหรือสิ่งที่
เกดิ ข้นึ จริงภายในชัน้ เรียนท่ไี มเ่ ป็นไปตามท่ีครูเราคาดหวงั หรอื ไม่
เป็นไปตามเป้าหมายที่เรากำหนดไว้ เช่น เราตั้งเป้าหมายว่า
นักเรียนชัน้ ป.6 ต้องคูณเลขสามหลักแบบมีทดได้ แต่เมือ่ เวลา
ผ่านไป 1 เดือน พบว่า มีนักเรียนชั้น ป.6 จำนวน 8 คนที่ไม่
สามารถคูณเลขสามหลักแบบมที ดได้ เพราะฉะนั้นนักเรียนท้ัง 8
คนต้องได้รบั การพัฒนาในเรื่องดังกล่าว

ถ้าเป็นสถานการณ์ที่เราคุ้นเคย ปัญหาที่พบในชั้นเรียน
เป็นไปได้ทั้งเรื่องของพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย เช่น
การไม่ตั้งใจเรียนก็เป็นปัญหา ไม่ส่งการบ้านก็เป็นปัญหา ไม่กิน
นมก็เป็นปัญหา ไม่กล้าแสดงออกก็เป็นปัญหา เข้าแถวช้าก็เป็น
ปัญหา ว่ายน้ำไม่คล่องก็เป็นปัญหา ลายมือไม่สวยก็เป็นปัญหา
ร้องเพลงไม่เพราะก็เป็นปัญหา ท่องสูตรคูณไม่ได้ก็เป็นปัญหา
และอ่นื ๆ อีกมากมายทเ่ี ปน็ ปัญหาที่เราพบได้ (ท่ัวไป) ในชั้นเรยี น

แตต่ อนน้ีเราอยภู่ ายใต้สถานการณ์ทเ่ี ราไม่คุน้ เคย ปัญหา
ที่เพื่อนครูพบก็ยังเป็นเรื่องของพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะ
พิสัย แตเ่ มือ่ พจิ ารณาดี ๆ พบว่า มปี ัญหาบางสว่ นทีเ่ ป็นปัญหาที่
เราไม่คุน้ เคย ตัวอยา่ งปญั หาท่เี ราไมค่ นุ้ เคย เช่น

การวิจัยในช้นั เรยี นภายใต้สถานการณท์ ไ่ี มค่ ้นุ เคย 36

- นกั เรยี นไมส่ ่งงาน ไม่เปิดกลอ้ ง ขาดการติดต่อ
- นักเรียนขาดปฏิสัมพันธ์ในการเรยี น เชน่ ไม่ตอบ

คำถาม เขา้ เรียนแตไ่ ม่เปิดกล้อง ไมเ่ ปดิ ไมค์
ไมต่ อบโต้
- การเรียนรูปแบบออนไลน์ทำใหน้ ักเรยี นขาดความ
รบั ผดิ ชอบ
- นักเรยี นอยู่กับตายายซงึ่ พอ่ แม่ไปทำงาน นักเรยี น
บา้ งคนทำงานไมเ่ รยี บรอ้ ย บางคนมงี านค้างมาก
- นกั เรียนไม่สง่ งาน และไม่ทำแบบทดสอบออนไลน์
- เดก็ ไมย่ อมทำงาน เวลาอยทู่ ีบ่ ้าน
- นกั เรียนไมย่ อมเขียนตามบทเรียนออนไลน์
- ผูป้ กครองไม่มีเวลา
- นกั เรยี นไมเ่ ข้าเรยี นออนไลน์ ขาดเรียนบอ่ ย
- การสอนแบบเดิมไมท่ ันยคุ สมัย และไมต่ อบสนองต่อ
ความต้องการของนักเรียน
- นกั เรยี นไมร่ ักษาความสะอาดรา่ งกายโดยเฉพาะมือ
และเล็บมอื ไม่ชอบล้างมือ ไมช่ อบสวมหนา้ กาก
อนามัย
- นกั เรยี นไม่เปิดกลอ้ ง ไม่เปิดไมค์
- เด็กติดโทรศัพทม์ ือถือ ผู้ปกครองไมส่ ามารถทำให้
เด็กหยดุ เล่นมอื ถือ
- นักเรียนไม่ได้เรยี นแบบออนไซดก์ ับครู ไมไ่ ดเ้ น้น
ทกั ษะการอ่านเขียนเหมอื นเรยี นทีโ่ รงเรียนกับครู

การวจิ ยั ในชัน้ เรียนภายใต้สถานการณ์ท่ีไมค่ ุ้นเคย 37

- นกั เรยี นไม่คอ่ ยตอบโต้ ในการเรยี นการสอน
- นกั เรยี นไม่มคี วามพรอ้ มในการเรยี นออนไลนใ์ นทกุ ๆ

หอ้ ง เนือ่ งจากเคร่อื งมอื อุปกรณ์ต่าง ๆ และ
การเข้าถงึ อินเทอร์เนต็

จากตัวอย่างที่ผมยกขึ้นมานั้น เป็นประเด็นปัญหาท่ี
เพื่อนครูได้กรอกข้อมูลเข้ามาใน google form ซึ่งเป็นปัญหาท่ี
เกดิ ขึ้นจรงิ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศกึ ษา 2564 ซึ่งอาจจะสืบเน่ือง
ต่อไปถึงภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 และผมก็เชื่อว่า
เพื่อนครคู ่อนประเทศไทยกพ็ บเจอปญั หาในลักษณะดังกลา่ ว

โจทย์คือ เมื่อเป็นปัญหาที่เราไม่คุ้นเคย แล้วเราจะ
แกป้ ญั หานั้นด้วยวิธีใดได้บ้าง

ผมก็ลองเข้าไปดูข้อมลู เพ่ิมเตมิ ท่ีครูได้กรอกขอ้ มลู เข้ามา
ใน google form ในประเด็นคำถาม ให้เพ่ือนครูระบุช่ือนวัตกรรม
ทจี่ ะนำไปใชแ้ ก้ปัญหา (ทีเ่ ราไมค่ ุน้ เคย)

ผมขออนุญาตแบ่งประเภทนวัตกรรมที่ครูจะนำไปใช้
แก้ปญั หาออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

ประเภทแรก นวัตกรรมท่ีเป็นส่ือการเรียนการสอน มีทั้ง
ที่เป็นแบบ paper เช่น ชุดฝึก , แบบฝึก , บทเรียนสำเร็จรูป
และแบบที่เป็น ICT เช่น เกมส์ , e-learning , clip vdo ,
google classroom , ขอ้ สอบออนไลน์ เปน็ ต้น

ประเภทสอง นวัตกรรมที่เป็นเทคนิคการสอน เช่น
บทบาทสมมติ , การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม , การจัดกิจกรรม
แบบกลมุ่ , การสอนแบบบารโ์ มเดล , การเสรมิ แรง เป็นต้น

การวิจยั ในช้นั เรียนภายใต้สถานการณ์ทีไ่ มค่ ุน้ เคย 38

ในขณะที่ผมบรรยาย ผมได้นำข้อมูลเหล่านี้นำเสนอให้
เพื่อนครูทั้งหมดได้เห็น โดยผมได้ประยุกต์ใช้ google data
studio ในการนำเสนอเป็นสารสนเทศภาพรวมระดับโรงเรียน
(จากขอ้ มูลเปลย่ี นเปน็ สารสนเทศ)

ในระหวา่ งนั้น ผมไดต้ งั้ คำถามชวนคดิ ใหก้ บั เพ่ือนครตู ่อไป
ว่า เม่อื เป็นปญั หาที่เราไมค่ ุน้ เคยแล้ว

1. นวัตกรรมที่ครูตั้งใจสร้างเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาใน
ชน้ั เรียนนัน้ ควรมีลกั ษณะอยา่ งไร

2. ครูจะนำนวัตกรรมที่ครูสร้างขึ้น ส่งไปถึงมือนักเรียน
ได้อยา่ งไร

3. ครูจะรู้ได้อย่างไรว่า ปัญหาที่เราไม่คุ้นเคยได้รับ
การแกไ้ ข ภายหลังจากเราใช้นวัตกรรมนั้นแลว้

ทั้ง 3 คำถาม เป็นคำถามที่ผมถามเพื่อให้เพือ่ นครูได้คิด
และให้เพื่อนครูได้ถามกับตัวเองให้มากหน่อย ก่อนที่จะลงมือทำ
วิจยั ในชั้นเรยี นภายใต้เง่อื นไข คอื สถานการณท์ ีเ่ ราไม่คุ้นเคย

ขอ้ สรุปที่ผมค้นพบ คือ ปัญหาที่เราไม่คุน้ เคย เราคงไม่
สามารถแก้ไขด้วยวิธีการที่เราคุ้นเคยได้ แต่เราจะแก้ปัญหาที่
เราไม่คุ้นเคยด้วยวิธีไหน หรือต้องทำอย่างไร ผมมีไอเดียอยู่ใน
บทความที่ผมเขียนมาก่อนหน้านี้ รบกวนเพื่อนครูทุกท่าน
ดว้ ยครับ ขอบคุณครบั

การวจิ ยั ในช้นั เรยี นภายใต้สถานการณ์ทีไ่ ม่ค้นุ เคย 39

ประวัติผเู้ ขียน

ช่อื -สกุล นายรัชภมู ิ สมสมัย

ท่ีอยู่ปัจจุบัน กล่มุ นิเทศ ติดตามและประเมินผล
สำนักงานศึกษาธิการจังหวดั เชยี งใหม่

ประวัติการศกึ ษา
พ.ศ 2545 ศึกษาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตรศ์ กึ ษา)

คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่
พ.ศ. 2549 ศกึ ษาศาสตรมหาบัณฑิต

(การวัดและประเมนิ ผลการศกึ ษา)
คณะศกึ ษาศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่

ความสนใจเฉพาะดา้ น
- การวัดและประเมนิ ผลในช้นั เรียน
- การวจิ ยั ในชัน้ เรียน

My Online
- www.sornorpoom.wordpress.com
- www.watponcmpeo.wordpress.com
- www.facebook.com/ศน.รชั ภูมิ สมสมัย
- www.youtube.com/sornorpoom
- Spotify : นกั เลา่ เรือ่ ง

การวิจัยในชัน้ เรียนภายใต้สถานการณท์ ่ีไม่คุ้นเคย 40




Click to View FlipBook Version