The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

สำนักงานคลังจังหวัดลำปาง ได้จัดทำเอกสารประกอบการนำเสนอที่ประชุมกรมการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการ จังหวัดลำปาง ประจำเดือนธันวาคม 2565 ครั้งที่ 12/2565 วันที่ 29 ธันวาคม 2565

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by klangtwo2, 2022-12-28 21:04:40

สำนักงานคลังจังหวัดลำปาง ได้จัดทำเอกสารประกอบการนำเสนอที่ประชุมกรมการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการ จังหวัดลำปาง ประจำเดือนธันวาคม 2565 ครั้งที่ 12/2565 วันที่ 29 ธันวาคม 2565

สำนักงานคลังจังหวัดลำปาง ได้จัดทำเอกสารประกอบการนำเสนอที่ประชุมกรมการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการ จังหวัดลำปาง ประจำเดือนธันวาคม 2565 ครั้งที่ 12/2565 วันที่ 29 ธันวาคม 2565

เอกสารประกอบ

การประชุมกรมการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการ

จังหวัดลำปาง

ครง้ั ที่ 12/2565 วันที่ 29 ธนั วาคม 2565

ณ หอประชมุ จงั หวัดลำปาง ด้านหลังศาลากลางจังหวัดลำปาง

สำ นั ก ง ำ น ค ลั ง จั ง ห วั ด ลำ ปสำำนักงงานคลงั จังหวัดลำปาง

สำนกั งานคลงั จงั หวัดลำปาง

สำนกั งานคลงั จงั หวัดลำปาง

สำนกั งานคลงั จงั หวัดลำปาง

สำนกั งานคลงั จงั หวัดลำปาง

สำนกั งานคลงั จงั หวัดลำปาง

สำนกั งานคลงั จงั หวัดลำปาง

สำนกั งานคลงั จงั หวัดลำปาง

ระเบียบวาระท่ี 3 เรอ่ื ง เพือ่ ทราบและพิจารณา
3.1 การใชจ้ ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2566

ข้อมูลท้ังหมดเปน็ ข้อมูลจากระบบ GFMIS ณ วนั ท่ี 23 ธันวาคม 2565
3.1.1 งบรวมส่วนราชการ (งบ Function)
รายจา่ ยภาพรวม ไดร้ ับจัดสรรงบประมาณ 5,535.68 ลา้ นบาท เบกิ จา่ ยจำนวน 1,140.61 ล้าน

บาท คิดเป็นร้อยละ 20.60 ต่ำกว่าเปา้ หมายร้อยละ -11.40 อยูล่ ำดบั ท่ี 62 ของประเทศ ก่อหน้ผี กู พันในระบบ
จำนวน 710.15 ล้านบาท รวมใช้จ่าย 1,850.76 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.43 ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ
-0.65 อยลู่ ำดับท่ี 70 ของประเทศ ประกอบดว้ ย

รายจ่ายประจำ ได้รับจัดสรรทั้งสิ้นจำนวน 1,606.43 ล้านบาท เบิกจ่ายจำนวน 932.48 ล้าน
บาท คิดเป็นร้อยละ 58.05 สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 23.05 อยู่ลำดับที่ 73 ของประเทศ ก่อหนี้ผูกพันในระบบ
11.22 ล้านบาท รวมใช้จ่าย จำนวน 943.71 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 58.75 สูงกว่าเปา้ หมายร้อยละ 23.42
อยลู่ ำดบั ท่ี 73 ของประเทศ

รายจ่ายลงทุน ได้รับจัดสรรงบประมาณ 3,929.25 ล้านบาท เบกิ จา่ ยจำนวน 208.13 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 5.30 ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ -13.70 อยู่ลำดับที่ 46 ของประเทศ ก่อหนี้ผูกพันในระบบ
698.92 ล้านบาท รวมใช้จ่าย 907.05 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 23.08 ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ -5.88
อยู่ลำดับท่ี 70 ของประเทศ โดยรายจา่ ยลงทนุ ระบสุ ถานะดำเนนิ การ ดงั น้ี

3.1.2 เงนิ กันไวเ้ บกิ เหล่ือมปี พ.ศ. 2565
ได้รับจัดสรรงบประมาณ จำนวน 1,611.18 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 561.34 ล้านบาท คิดเป็น

รอ้ ยละ 34.84

สำนกั งานคลงั จงั หวัดลำปาง

3.1.3 ปฏทิ ินการเบิกจา่ ยและใชจ้ า่ ยรายจา่ ยลงทนุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

3.2 รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลงั จงั หวดั ลำปาง
รายงานประมาณการเศรษฐกจิ จังหวัดลำปาง ปี 2565

“เศรษฐกจิ จังหวัดลำปางปี 2565 คาดวา่ จะขยายตัวร้อยละ 5.2 ผลจากแรงขับเคล่ือน
การขยายตัวทางเศรษฐกิจด้านการผลิตและการใชจ้ ่าย ปรับตวั ดขี ้ึนจากที่ขยายตวั ร้อยละ 2.9 ในปีกอ่ น

ขยายตัวจากทีป่ ระมาณการครง้ั ก่อนท่ีคาดว่าขยายตวั ร้อยละ 4.7
และคาดวา่ มีแนวโนม้ ขยายตัวรอ้ ยละ 5.7 ในปี 2566”

1.เศรษฐกิจจงั หวดั ลำปาง ในปี 2565

ด้านอุปทาน (ด้านการผลิต) ในปี 2565 คาดว่าจะขยายตวั ร้อยละ 5.4 ปรับตวั ดขี ึ้นจากทีป่ ระมาณการ
ในครั้งก่อน ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.8 จาก ภาคอุตสาหกรรม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.8 ปรับตัวดีข้ึน
จากท่ปี ระมาณการในครัง้ ก่อน ทคี่ าดวา่ จะขยายตัวรอ้ ยละ 9.7 สะทอ้ นจากความต้องการใช้ปริมาณหนิ ปูนก่อสร้าง
และหินปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น จากปัจจัยหนุนการขยายตัวของภาคการก่อสร้างภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศ
สอดคล้องกับพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างรวม และยอดขายวัสดุและอุปกรณ์การก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ปัจจัยลบ
ต่อภาคการก่อสร้างที่เผชิญความท้าทายจากต้นทุนก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้น ทั้งต้นทุนแรงงาน และวัสดุก่อสร้าง
โดยเฉพาะเหล็กและปูนซีเมนต์ สำหรับการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม และภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรม
ขยายตัว จากภาวการณ์ผลิตภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดที่ฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่มีแนวโน้ม
ปรับตัวดีขึน้ ภาคเกษตรกรรม คาดว่าจะขยายตวั ร้อยละ 4.6 ปรับตวั ดขี ้นึ จากทปี่ ระมาณการในคร้ังก่อน ท่ีคาดว่า
จะขยายตัวร้อยละ 4.5 เนื่องจากมีปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อภาคเกษตร ได้แก่ สถานการณ์น้ำมีปริมาณเพียงพอต่อ

สำนกั งานคลงั จังหวัดลำปาง

การเพาะปลูกสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการผลิต ราคาสนิ ค้าเกษตรท่ีสำคญั อยู่ในเกณฑ์ดี และการดำเนินนโยบาย
และมาตรการภาครัฐด้านการส่งเสริม สนับสนุนให้ความช่วยเหลือเกษตรกร แม้ว่าจะมีปัจจัยเสี่ยงจากปัจจัยการ
ผลิตท่ีมรี าคาสงู ขน้ึ รวมทงั้ ความต้องการสินค้าการเกษตรจากตลาดภายในประเทศและตา่ งประเทศ ไดแ้ ก่ ขา้ วโพด
เล้ียงสัตว์และมนั สำปะหลังเพือ่ ใชเ้ ป็นส่วนประกอบของอาหารสตั ว์ จึงส่งผลให้เกษตรกรมีความต้องการขยายพ้ืนที่
เพาะปลูก/เพิ่มรอบการปลูกมากขึ้น และเอาใจใส่ในการบำรุงดูแลผลผลิตพืช ทำให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มข้ึน
ภาคบริการ คาดว่าขยายตัวร้อยละ 3.2 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ประมาณการในครั้งก่อน ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ
3.1 พิจารณาจากปริมาณสินเชื่อรวม พื้นที่ให้อนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ปัจจัยสนับสนุนมาจากกิจกรรม
ทางเศรษฐกิจของภาคเอกชน ทั้งการฟื้นตัวในภาคบริการและการขยายตัวต่อเนื่องในภาคการผลิต อันเป็นผลจาก
การฉีดวัคซีนที่แพร่หลายมากขึ้น และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 ด้านการใช้ไฟฟ้าภาคบริการ และภาษมี ูลคา่ เพ่ิมหมวดโรงแรมและภตั ตาคารท่ีเพ่ิมขนึ้ ส่วนหนึ่งมาจากการ
ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ การประชุม อบรมและการสัมมนา ประกอบกับจังหวัดลำปาง
มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยดึงเม็ดเงิน และกระตุ้นการใช้จ่ายในจังหวัดลำปาง
ส่งผลใหจ้ ำนวนนักท่องเท่ยี วทเ่ี ขา้ มาในจงั หวดั จำนวนผูเ้ ข้าพกั และรายไดจ้ ากผู้เยย่ี มเยือนเพิม่ ขนึ้ รวมท้ังมาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลต่างๆ เช่น มาตรการเพิ่มค่าใช้จ่ายแก่ผู้มีรายได้น้อย โดยการเพิ่มวงเงินในบัตร
สวสั ดิการแหง่ รัฐ โครงการคนละคร่งึ เพ่ือกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภาคครัวเรือน โครงการเราเที่ยวด้วยกัน จึงเป็น
แรงขบั เคลอื่ นทีช่ ่วยพยงุ ใหภ้ าคบรกิ ารของจังหวัดลำปางใหส้ ามารถกลบั มาฟ้ืนตัว

ด้านอุปสงค์ (ด้านการใช้จ่าย) ในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.7 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ประมาณการ
ในครั้งก่อนที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 โดย การบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.2 ปรับตัวดี
ขึ้นจากที่ประมาณการในครั้งก่อน ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.9 สะท้อนจากยอดขายรถยนต์ของบริษัทขายรถ
และภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดขายส่งขายปลีก โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศอาทิ
โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็น
พิเศษ โครงการคนละคร่ึง และภาคการท่องเทีย่ วทีฟ่ น้ื ตัวไดด้ อี ย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นแรงสนับสนุนสำคัญต่อการฟื้น
ตัวของการบริโภค ซึ่งส่งผลให้พฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น การลงทุน
ภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.9 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ประมาณการในครั้งก่อนทีค่ าดว่าจะขยายตัวร้อยละ
4.7 จากพนื้ ทไี่ ด้รับอนุญาตก่อสร้างรวม สนิ เชอื่ เพอ่ื การลงทุน และยอดขายวัสดุและอุปกรณ์การก่อสร้างท่ีเพ่ิมขึ้น
ตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในประเทศ ขณะที่บทบาทนโยบายการคลังมีส่วนช่วยบรรเทาผลกระทบจาก
สถานการณ์ราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสงู โดยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในทุกภาคส่วนให้เป็นไป
อยา่ งทว่ั ถงึ อกี ทง้ั ยงั ช่วยรบั มอื กบั ความผนั ผวนของเศรษฐกิจโลก ผา่ นการใชจ้ ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี และ
การใช้จ่ายเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รวมทั้งงบลงทุนของหน่วยงานภาครัฐที่คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง การใช้จ่ายภาครัฐ คาดว่าจะ
ขยายตัวร้อยละ 4.4 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ประมาณการในครั้งก่อน ท่ีคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.3 เป็นผลจาก
มาตรการคลังด้านการใช้จ่ายภาครัฐสนับสนนุ ใหม้ ีเม็ดเงินจากระบบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
2565 จากงบอดุ หนุนเฉพาะกิจ-อปท. และงบกลาง เพอื่ เป็นคา่ ใช้จา่ ยในการดำเนินโครงการเพม่ิ ประสิทธิภาพการ
บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง และรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณี

สำนกั งานคลงั จังหวดั ลำปาง

ฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานราชการเฉพาะกิจ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ลงสู่ระบบเศรษฐกิจให้รวดเร็วมาก
ยง่ิ ขน้ึ รวมท้ัง เพื่อสนบั สนุนการฟนื้ ตวั ของเศรษฐกิจหลังการแพรร่ ะบาดของเช้ือไวรัส โคโรนา 2019 ในการก่อหนี้
ผูกพนั และการเบิกจ่ายเงนิ ใหเ้ ปน็ ไปตามเปา้ หมายท่ีกำหนด

เสถียรภาพทางเศรษฐกจิ

ด้านรายไดเ้ กษตรกรในปี 2565 คาดวา่ จะขยายตัวร้อยละ 10.8 ปรบั ตัวดีขน้ึ จากท่ีประมาณการในคร้ัง
ก่อน ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 9.0 เป็นผลมาจากความต้องการของสินค้าทางการเกษตรเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคา
ผลผลิตทางการเกษตรดีขึ้น ทำให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ
5.1 ต่อปี ทรงตัวจากที่ประมาณการในครั้งก่อน ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.1 ตามราคาพลังงานที่ปรับเพิ่มขึ้น
ส่งผลให้ต้นทุนการผลติ ภายในประเทศทีส่ ูงขึ้น และกระจายตัวในหมวดสินค้าทีห่ ลากหลายขึน้ ได้แก่ หมวดอาหาร
และเครื่องดื่ม หมวดข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ หมวดผักและผลไม้ เป็น
สำคญั การจ้างงาน คาดว่าจะขยายตวั ร้อยละ 5.2 ปรบั ตวั ดีขน้ึ จากที่ประมาณการในครงั้ ก่อนท่ีคาดว่าจะขยายตัว
ร้อยละ 4.7 ตามมาตรการการสรา้ งแรงจงู ใจให้ภาคธรุ กิจในการจ้างงานต่อเนือ่ ง ทงั้ ภาคอตุ สาหกรรมและบริการ

ปจั จัยสนบั สนุนทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2565 ของจงั หวัดลำปาง
1. จังหวดั ลำปางมจี ำนวนผู้ฉีดวัคซนี ท่ีมากขน้ึ และจำนวนของผู้ท่ีเข้ารับเข็มกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง ช่วยลด
ความสญู เสียและการฟ้นื ฟูชีวิตของประชาชนและการฟื้นฟเู ศรษฐกิจใหก้ ลบั มาโดยเร็ว
2. การผอ่ นคลายมาตรการควบคุมของภาครัฐ สง่ ผลใหภ้ าคเศรษฐกจิ ในจังหวัดปรับตัวเขา้ สู่ภาวะปกติมาก
ข้ึน
3. ภาครฐั มีมาตรการเยียวยา กระตุ้นและฟ้ืนฟเู ศรษฐกิจอยา่ งต่อเนื่อง เพ่ือบรรเทาผลกระทบจากการแพร่
ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อาทิ มาตรการด้านการเงิน มาตรการภาษี มาตรการชดเชยรายได้ มาตรการเสริม
สภาพคลอ่ งใหผ้ ปู้ ระกอบการ และมาตรการสง่ เสริมและกระตนุ้ การท่องเท่ียวในประเทศ ฯลฯ
4. มาตรการของรัฐในการเพิ่มประสิทธิภาพและเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีเม็ด
เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกจิ โดยเรว็ และเป็นไปตามเปา้ หมายที่รฐั บาลกำหนด
ปัจจยั เสี่ยงทางเศรษฐกจิ ในปี พ.ศ. 2565 ของจังหวัดลำปาง
1. ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ของการกลายพันธ์ุของเช้ือไวรัสที่จะมีผล
ต่อประสทิ ธิภาพของวัคซนี
2. ภาระหนสี้ นิ ครวั เรือนและธรุ กิจทีย่ ังอย่ใู นระดบั สูงจะเป็นอุปสรรคต่อการฟ้ืนตวั และมีแนวโนม้ เพมิ่ สูงขนึ้
3. ผูป้ ระกอบการไม่มคี วามเช่ือม่ันและกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลกที่หดตัว
รนุ แรง
4. การเพิ่มขึ้นของการว่างงานและการเพิ่มขึ้นของภาระหนี้ครัวเรือนและธุรกิจ เป็นข้อจำกัด
ต่อการฟน้ื ตัวของเศรษฐกจิ
5. การเพิ่มขึ้นของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อตามการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ใน
ตลาดโลก

รายงานภาวะเศรษฐกจิ การคลังจงั หวัดลำปาง ประจำเดอื นพฤศจกิ ายน 2565

สำนักงานคลงั จงั หวัดลำปาง

เศรษฐกิจจังหวัดลำปางในเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยรวมขยายตัว ร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบจาก
ช่วงเดือนเดียวกันกับปีก่อน ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัว ร้อยละ 5.4 สะท้อนจากเครื่องช้ี
เศรษฐกิจดา้ นอุปทาน ทมี่ กี ารขยายตวั ในภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการด้านอปุ สงค์ ขยายตัว
ตามการบรโิ ภคภาคเอกชน การลงทนุ ภาคเอกชน และการใช้จา่ ยภาครัฐ สำหรับเสถยี รภาพทางเศรษฐกิจ อตั ราเงิน
เฟ้อเพิ่มขึ้นจากดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ในขณะที่ด้านการจ้างงาน ขยายตัวจากความต้องการแรงงาน
เพ่ิมขึ้น

เศรษฐกิจด้านการผลิต พบว่า ขยายตัวร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบจากช่วงเดือนเดียวกันกับปีก่อน
ขยายตัวในอัตราทเ่ี พิ่มข้ึนจากเดือนก่อนท่ีขยายตัว รอ้ ยละ 6.0 พิจารณาจากดชั นี ภาคเกษตรกรรม ขยายตัว ร้อย
ละ 10.1 เมื่อเทียบจากช่วงเดือนเดียวกันกับปีก่อน ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มข้ึนจากเดือนก่อนที่ขยายตัว ร้อยละ
9.6 จากปริมาณผลผลิตข้าวเหนียวนาปี และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและปริมาณ
นำ้ ฝนเหมาะสม ประกอบกบั ราคาที่อยู่ในเกณฑ์ดี จากความต้องการของตลาดท่มี ีอย่างต่อเน่ือง โดยเฉพาะข้าวโพด
เลี้ยวสัตว์ ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ จึงจูงใจให้เกษตรกรมีการดูแลแปลงปลูกและควบคุมโรคและ
แมลงมากขึ้น ทำให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้น ด้านผลผลิตปศุสัตว์เพิ่มขึ้น ตามจำนวนกระบือ โคและไก่ ตามความ
ต้องการบริโภคสินค้าปศุสัตว์ที่มีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดการฟาร์มที่ได้มาตรฐานและการเฝ้าระวังโรคอย่าง
เข้มงวด อย่างไรก็ตาม เกษตรกรยังมีความกงั วลในเร่ืองต้นทนุ การผลิตท่ีเพิ่มสูงข้ึน ทัง้ ราคาวัตถุดิบ และอาหารสัตว์
ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบจากช่วงเดือนเดียวกันกับปีก่อน ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นจาก
เดอื นกอ่ นที่ขยายตัว รอ้ ยละ 9.0 สะทอ้ นจากปริมาณหินอุตสาหกรรม (หนิ ปูนก่อสรา้ ง) และหนิ อตุ สาหกรรม (หิน
ปูนซีเมนต์) ขยายตัวจากปัจจัยการขยายตัวภาคการก่อสร้างทัง้ ภาครัฐ และเอกชน สอดคล้องกับยอดขายวัสดแุ ละ
อุปกรณ์การก่อสร้าง และพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างรวมทีเ่ พิ่มข้ึน ด้านปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม และ
ภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมขยายตัว จากภาวการณ์ผลิตภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดที่ฟื้นตัว ตามภาวะ
เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ภาคบริการ ขยายตัวร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดือน
เดียวกันกับปีก่อน ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัว ร้อยละ 3.9 พิจารณาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม
หมวดโรงแรมและภัตตาคาร และยอดขายสินค้าในห้างสรรพสินค้าในจังหวัดที่เพิ่มขึ้น ตามภาคการท่องเที่ยว
ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับจังหวัดลำปางมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น กิจกรรมท่องเที่ยว "สัมผัสลม
หนาวชมฝนดาวตก" "งานบุญตามรอยศรทั ธา ไหว้สาอรยิ สงฆเ์ จ้าหลวงพ่อเกษม เขมโก ประจำปี 2565" กิจกรรม
ย้อนวันวานตามรอยประวัติศาสตร์ "พาช้างไปหาน้อง ณ บ้านหลุยส์" งาน Night At The Museum "พิศ...
พิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน ตอนมหัศจรรยด์ นิ แดนไดโนเสาร์ทะลโุ ลก" งานประเพณสี ังฆเติ๋น กจิ กรรมพเิ ศษทรปิ สุดฟินอิน
แม่เมาะกับงานเทศกาลเที่ยวแม่เมาะ (Half Day Trip) งาน "บินดาวบนฟ้า ตระการตาดาวบนดินผ่อเมืองเขลางค์
ต๋ามผางประทีป" กิจกรรม DIY ทำสะเปาน้อยลอยน้ำ เป็นต้น รวมทั้งได้รับอนิสงค์จากการเปิดประเทศ
การผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) และมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว
ภายในประเทศของภาครัฐ ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยดึงเม็ดเงิน และกระตุ้นการใช้จ่ายในจังหวัดลำ ปาง ส่งผลให้
จำนวนนักทอ่ งเท่ยี วทีเ่ ข้ามาในจงั หวดั และรายได้จากผู้เยีย่ มเยือนเพม่ิ ขนึ้

เศรษฐกิจด้านการใช้จ่าย พบว่า ขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบจากช่วงเดือนเดยี วกันกับปีก่อนขยายตวั
ในอตั ราทลี่ ดลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัว รอ้ ยละ 4.0 จากการบริโภคภาคเอกชน ขยายตัว รอ้ ยละ 4.9 เม่ือเทียบ
จากช่วงเดือนเดียวกันกับปีก่อน ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัว ร้อยละ 4.2 สะท้อนจาก
ภาษีมูลค่าเพิ่มการขายส่ง ขายปลีก และยอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้น หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติด

สำนกั งานคลงั จังหวดั ลำปาง

เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คลี่คลายลง ประกอบกับรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการรักษาระดับการบริโภค
ภายในประเทศหลายมาตรการ อาทิ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการเพิ่มกำลังซ้ือ
ให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ซึ่งได้มีส่วนในการสนับสนุนอุปสงค์ภายในประเทศและลดภาระ
ค่าใช้จ่ายของประชาชน รวมทั้งเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน ส่งผลให้
กิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการใช้จ่ายภายในประเทศมีแนวโน้มปรับดีขึ้นต่อเนื่อง การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว
ร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบจากช่วงเดือนเดียวกันกับปีก่อน ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัว ร้อยละ
4.0 จากสินเชื่อเพื่อการลงทุน ตามการลงทุนเพื่อการผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรม และการลงทุนก่อสร้างที่ขยายตัว
สะท้อนจากพื้นที่อนุญาตก่อสร้างรวม และยอดขายวัสดุและอุปกรณ์การก่อสร้างปรับตัวดีขึ้น การใช้จ่ายภาครัฐ
ขยายตัว ร้อยละ 4.1 เมอื่ เทียบจากช่วงเดือนเดียวกันกับปีกอ่ น ขยายตวั ในอัตราท่ีเพมิ่ ข้นึ จากเดือนก่อนที่ขยายตัว
ร้อยละ 3.9 ตามการเบกิ จา่ ยรายจ่ายประจำ และรายจ่ายลงทนุ ของส่วนราชการท่ีเพ่ิมขึ้น ตามมาตรการใช้จ่ายเงิน
ภาครฐั ในการเร่งรัดการเบิกจา่ ยเงินให้เป็นไปตามเปา้ หมายทก่ี ำหนด ดา้ นรายไดเ้ กษตรกร พบวา่ ขยายตวั ร้อยละ
17.2 เมื่อเทียบจากช่วงเดือนเดียวกันกับปีก่อน ขยายตัวในอัตราท่ีเพ่ิมขึ้นจากเดือนก่อนท่ีขยายตัว ร้อยละ 16.3
จากราคาสนิ คา้ เกษตรอยใู่ นเกณฑ์ดี

ด้านการเงนิ พจิ ารณาจาก ปริมาณเงนิ ฝากรวม ขยายตัว รอ้ ยละ 5.8 เมอื่ เทยี บจากชว่ งเดือนเดยี วกันกับ
ปีก่อน ขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัว ร้อยละ 4.5 เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของการบริโภค
ภายในประเทศและการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ ส่งผลต่อความ
ต้องการสินเชื่อ ทำให้สถาบันการเงินระดมเงินฝากเพิ่มขึ้น สถาบันการเงินหลายแห่งยังมีการออกผลิตภัณฑ์เงิน
ฝากใหม่ เพื่อล็อกต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่จะปรับตัวเพ่ิมข้ึนในระยะถัดไป ปรมิ าณสนิ เชื่อรวม ขยายตัว ร้อยละ 0.5
เม่ือเทยี บจากช่วงเดือนเดยี วกันกับปีก่อน ขยายตัวในอตั ราทเี่ พิ่มข้นึ จากเดือนก่อนที่ขยายตัว รอ้ ยละ 0.3 จากการ
ฟืน้ ตวั ของสนิ เชือ่ ภาคธุรกจิ เพอ่ื ใช้เปน็ เงินทนุ หมนุ เวียนสำหรบั ดำเนินกจิ การ เป็นสำคญั สอดคล้องกับกจิ กรรมทาง
เศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น โดยธุรกิจในภาคการผลิตต้องการสินเชื่อเพื่อผลิตสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น สำหรับรองรับต้นทุน
การผลิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลก และสินเชื่อภาคครัวเรือน โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่ออุปโภค
บรโิ ภคอน่ื และสนิ เชอื่ บัตรเครดติ โดยเศรษฐกจิ ทฟ่ี น้ื ตวั ส่งผลให้ความเชอื่ มั่นของผบู้ รโิ ภคและความต้องการใช้จ่าย
เพื่อการบริโภคปรับดีขึ้น ทำให้ครัวเรือนต้องการสนิ เชือ่ เพิม่ ขึ้น เพื่อสนับสนุนสภาพคล่องในช่วงที่คา่ ครองชีพปรบั
สงู ขนึ้ ประกอบกับแรงสนับสนุนของสินเชอื่ ฟื้นฟขู องธนาคารแหง่ ประเทศไทย

เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบจากช่วงเดือนเดียวกัน
กับปีก่อน ) ตามอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงาน และหมวดอาหารสด สำหรับการจ้างงาน ขยายตัว ร้อยละ 1.1 เมื่อ
เทียบจากชว่ งเดอื นเดยี วกันกบั ปกี อ่ น โดยภาพรวมทยอยฟื้นตวั ตามภาวะเศรษฐกจิ ทั้งภาคอตุ สาหกรรมและบรกิ าร

สำนักงานคลงั จงั หวดั ลำปาง

3.3 นโยบายภาครฐั
ครม.อนุมตั เิ พิ่มเงินสวสั ดิการแห่งรัฐ 200 บาท ระยะเวลา 1 เดือน

ครม.อนุมัติเพิ่มเงินสวัสดิการแห่งรัฐ 200 บาท ระยะเวลา 1 เดือน แก่ผู้ถือบัตรกว่า 13 ล้านคน คาดใช้งบ
ราว 2.6 พนั ลา้ นบาท

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.)มีมติเห็นชอบ
เพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวน 200 บาท เป็นระยะเวลา 1 เดือนโดยจะได้รับเงินในเดือน ม.ค. 2566 คาด
ใชง้ บประมาณจํานวน 2.6 พนั ลา้ นบาท สำหรับ ผูท้ ม่ี รี ายได้ไม่ถึง 3 หม่ืนบาทต่อปี จะได้รบั เงินเพิ่มในบัตรสวัสดิการ
จาก 300 บาท เป็น 500 บาท ส่วนผู้ที่มีรายได้เกิน 3 หมื่นบาท แต่ไม่เกิน 1 แสนบาท จะได้รับเงินเพิ่มในบัตร
สวสั ดิการจาก 200 บาท เปน็ 400 บาท

“ผู้ถือบัตรที่ได้รับสิทธิ์จะมีจำนวนกว่า 13 ล้านคน ใช้งบประมาณ 2.6 พันล้านบาท โดยใช้งบจากกองทุน
สวสั ดกิ ารแห่งรฐั ซง่ึ ปจั จบุ ันมอี ยูก่ ว่า 5 หม่นื ลา้ นบาท”

ของขวัญปี ใหม่ พ.ศ. 2566 ของกระทรวงการคลงั และหน่วยงานทเี่ กี่ยวข้อง

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีวาการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบการดำเนินมาตรการ/โครงการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจภายใต้ สังกัด
กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อมอบเป็นของขวัญปี ใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชนโดยมี
รายละเอยี ด ดังน้ี

1. มาตรการภาษีและค่าธรรมเนยี ม จำนวน 5 มาตรการ ไดแ้ ก่
1.1 มาตรการ “ช้อปดีมีคืน ปี 2566” มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาการบริโภคในประเทศ สนับสนุน
ผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษี รวมถึงส่งเสริมการผลิตสินค้าท้องถิ่นและการอ่าน อีกทั้งส่งเสริมให้ ผู้ประกอบการ
เข้าสู่ระบบภาษีและการใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ โดยกาหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
แตไ่ มร่ วมถงึ ห้างหนุ้ สว่ นสามัญหรือคณะบุคคลท่ีมิใช่นิติบคุ คล หกั ลดหยอ่ นค่าซือ้ สนิ ค้าหรือ คา่ บรกิ ารเท่าทีไ่ ดจ้ ่ายเป็น
ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการสำหรับการซื้อสินค้าหรือการรับบริการในราชอาณาจักรให้กับผู้ประกอบการจดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงค่าซื้อหนังสือและค่าบริการหนังสือที่อยู่ในรูปของข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
และค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว ตั้งแต่วันท่ี1
มกราคม ถึงวนั ที่ 15 กุมภาพนั ธ์ 2566 ตามจำนวนทจี่ ่ายจรงิ แต่ไมเ่ กิน 40,000 บาท โดยแบ่งเป็น
(1) ค่าซอื้ สินคา้ หรอื คา่ บรกิ าร จำนวนไม่เกิน 30,000 บาท จะต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรปู ในรูปแบบ กระดาษ
หรือใบกํากับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับ อิเล็กทรอนิกส์
(e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากร และ
(2) ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ จำนวนไม่เกิน 10,000 บาท จากส่วนที่เกิน (1) จะต้องมีใบกำกับภาษี
เต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผานระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น ทั้งนี้
ไม่รวมถึงค่าสินค้าและบริการบางชนิด ได้แก่ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์ ค่าซื้อยาสูบ ค่าซื้อ รถยนต์ รถจักรยานยนต์
และเรือ ค่าซื้อหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ค่าบริการจัดนําเที่ยว ค่าที่พักในโรงแรม ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา
ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต และค่าบริการ สำหรับบริการที่มีข้อตกลงการ
ให้บริการระยะยาว (ซึ่งเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2566 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 แม้จะจ่าย

สำนักงานคลงั จังหวดั ลำปาง

ค่าบริการในช่วงระยะเวลามาตรการ) และค่าเบี้ยประกนวินาศภัย โดยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไป
ตามทอี่ ธิบดกี รมสรรพากรประกาศกาหนด

1.2 มาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2566 (มาตรการลดภาษีที่ดินฯ) มีวัตถุประสงค์เพ่ือ
ลดภาระภาษที ดี่ ินและส่งิ ปลูกสรา้ ง (ภาษีทด่ี ินฯ) ให้แกผ่ ู้เสยี ภาษี เนือ่ งจาก 1) สนับสนุนการฟ้ืนตัวทางเศรษฐกิจอย่าง
ตอ่ เน่ืองหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2) ส้ินสุดระยะเวลาการ
ยกเว้นภาษีให้แก่เจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างซึง่ เป็นบุคคลธรรมดาและใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมและ
การบรรเทาภาษีกรณีผู้เสียภาษีที่ดินฯ ที่มีภาระภาษีที่ดินฯ มากกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบํารุงท้องที่ในปี
2562 ในชว่ ง 3 ปี แรกของการจัดเก็บภาษที ่ีดินฯ (2563-2565) และ 3) มีการเพ่ิมข้ึนของราคาประเมินทุนทรัพย์
ที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างในปี 2566 ซึ่งใช้เป็นฐานในการคํานวณภาษีที่ดินฯ โดยมาตรการดังกล่าวจะให้ลดภาษีใน
อัตรารอ้ ยละ 15 ของจำนวนภาษที ่ีคํานวณได้ สำหรบั การจดั เก็บภาษที ด่ี ินฯ ของปี ภาษี พ.ศ. 2566 ยกตัวอยา่ ง เชน่
กรณมี ที ดี่ นิ และส่ิงปลูกสร้างมลู คา่ 1 ลา้ นบาท ใชป้ ระกอบกิจการ เชน่ รา้ นขายของชํา รา้ นตดั ผม รา้ นขายอาหารตาม
สั่ง โรงงาน อาคารสำนักงาน เป็นต้น ปกติจะมีภาระภาษี 3,000 บาท แต่จะได้รับการลดภาษีจากมาตรการลดภาษี
ที่ดินฯ 450 บาท คงเหลือภาษีที่ต้องชําระ 2,550 บาท และตัวอย่างกรณีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับลดภาษีใน
อัตราร้อยละ 50 ของจำนวนภาษีที่คํานวณได้อยู่แล้ว เช่น โรงผลิตไฟฟ้า เขื่อน เป็นต้น จะได้รับการลดภาษีในอัตรา
ร้อยละ 15 ของจำนวนภาษีท่ีคํานวณได้หลังจากไดร้ ับการลดภาษรี ้อยละ 50 แลว้ อย่างไรก็ดี ท่ีดินหรือส่ิงปลูกสร้าง
ที่ได้รับการลดภาษีร้อยละ 90 แล้ว เช่น สวนสัตว์ สวนสนุก สถานที่เล่นกีฬา เป็นต้น จะไม่ได้รับการลดภาษีตาม
มาตรการลดภาษี ท่ดี นิ ฯ เพิ่มเตมิ อีก

1.3 มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยปี 2566 (มาตรการลด
ค่าธรรมเนียมฯ) มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและลดภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
ส่งเสรมิ การซ้ือขายอสังหาริมทรัพย์เพ่ือสร้างความม่ันคงในทางเศรษฐกิจ รวมถึงชว่ ยรกั ษาระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ในภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเน่ืองกับภาคอสังหาริมทรัพย์ และสนับสนุนการฟื้นตัว ทางเศรษฐกิจหลังจาก
สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยมาตรการดังกล่าวจะให้ลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จาก
ร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 1 และค่าจดทะเบียนการจํานองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม ร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01
(เฉพาะการโอนและจดจํานองในคราวเดียวกัน) สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว
อาคารพาณิ ชย์ และห้องชุ ด (ทั้งบ้านมือ 1 และมือ 2) เฉพาะที่ มีราคาซื้อขาย และราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน
3 ล้านบาท และวงเงนิ จาํ นองไม่เกิน 3 ล้านบาท ตอ่ สัญญา โดยไมร่ วมถึง กรณกี ารขายเฉพาะสว่ น ต้งั แต่วนั ที่กฎหมาย
มผี ลใช้บังคบั ถงึ วันท่ี 31 ธนั วาคม 2566

1.4 มาตรการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิต สำหรับนำ้ มันเชื้อเพลิง เคร่อื งบินไอพ่นที่นําไปใช้เป็นเชื้อเพลิง
สำหรับอากาศยานภายในประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนบั สนุนการท่องเที่ยวและบริการให้มกี าร ฟื้นตัวอย่างตอ่ เน่อื ง
ตามนโยบายของรัฐบาล และบรรเทาผลกระทบการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและสายการบิน
ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยลดอัตราภาษีตามปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับ
เครอื่ งบินไอพ่นท่ีใช้บินในประเทศ จากลิตรละ 4.726 บาท เหลอื ลิตรละ 0.20 บาท โดยมผี ลบงั คับใชต้ ้ังแต่วันที่ 1
มกราคม 2566 ถงึ วันที่ 30 มถิ ุนายน 2566

1.5 มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ ตามพระราชบัญญัติภาษี
สรรพสามิต พ.ศ. 2560 มวี ัตถุประสงค์เพ่ือเปน็ การลดภาระของผู้ประกอบการที่ไดร้ ับใบอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และ
ไพ่ให้สามารถฟื้นตัวได้อยางต่อเนื่องภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยให้สิทธิยกเว้น

สำนักงานคลงั จังหวัดลำปาง

ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ ประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 สําหรับผู้ประกอบการที่ประสงค์จะ
ประกอบกจิ การต่อเน่ือง ณ สถานประกอบการเดิม ประเภทใบอนญุ าตเดิม ที่ย่ืนคาํ ขอระหวางวันท่ี 1 มกราคม 2566
ถึงวันท่ี 31ธนั วาคม 2566

2. มาตรการ/โครงการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้จัดทำโครงการ
ของขวัญปี ใหม่ปี 2566 ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อเสริมสภาพคล่อง ลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยและ
เสริมสร้างวินัยทางการเงินให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ ประกอบด้วย มาตรการคืนเงินหรือลดอัตราดอกเบี้ย
สินเช่ืออัตราดอกเบย้ี พิเศษ รางวลั พิเศษของสลากออมสนิ การลดคา่ งวดการผ่อนชําระ และการยกเวน้ ค่าดำเนินการค้ำ
ประกนสินเชอ่ื รวมทัง้ สนิ้ 15 โครงการ (เอกสารแนบ) ได้แก่

ธนาคารออมสนิ จำนวน 2 โครงการ ไดแ้ ก่
2.1 โครงการวินัยดี มีเงิน เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจให้กับลูกค้าทีม่ ีวินัยทางการเงิน สำหรับลูกค้าวงเงนิ กูไ้ ม่เกิน
200,000 บาท มีประวัติการชําระหนี้ดี ไม่น้อยกว่า 3 ปี จะได้รับเงินรายละ 500 บาท ซึ่งสามารถกดรับสิทธิผ่าน
MyMo ไดภ้ ายในวนั ที่ 25 ธันวาคม 2565
2.2 โครงการสลากออมสิน ดิจิทัล 2 ปี ฉลองปี ใหม่ 2566 เพื่อส่งเสริมการออมผ่านสลากออมสินพิเศษ
ดิจิทัล สำหรับผู้ฝากสลากออมสินพิเศษ 2 ปี ทั้งใบสลากและดิจิทัล ในระหว่างวันที่ 2 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 31
มกราคม 2566 โดยเพิ่มรางวัลพิเศษรางวัลละ 1ล้านบาท จำนวน 12 รางวัล สำหรับงวดวันที่ 30 ธันวาคม 2565
และอกี 12 รางวลั สำหรับงวดวันที่ 1 กมุ ภาพันธ์ 2566
ธนาคารเพ่อื การเกษตรและสหกรณก์ ารเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 4 โครงการ ได้แก่
2.3 โครงการชาํ ระดีมีคนื ปี บญั ชี 2565 สำหรบั ลูกคา้ เกษตรกรท่ีเป็นหนี้ปกติ ณ ปีบัญชี 2565 จำนวน 3
ล้านราย โดยเมื่อชําระดอกเบี้ยตามสัญญาที่มีสิทธิ์จะได้รับการคืนดอกเบี้ยเงินกู้เข้าบัญชีเงินฝากตาม หลักเกณฑ์และ
เง่อื นไขที่ ธ.ก.ส. กำหนดระยะเวลาดำเนนิ โครงการตั้งแตว่ นั ท่ี 1 มถิ ุนายน 2565 และสิน้ สดุ วันท่ี 31 มีนาคม 2566
หรอื เม่อื ครบกำหนดวงเงนิ ที่ ธ.ก.ส. กำหนด
2.4 โครงการลดดอกเบี้ยแก้หนี้ภาคครัวเรือน ปีบัญชี 2565 สำหรับลูกค้าสินเชื่อที่มีสถานะเป็นหน้ีNPL
หรือปรบั ปรุงโครงสร้างหนี้ ท้ังนี้ การลดอตั ราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามหลกั เกณฑ์และเงื่อนไขที่ ธ.ก.ส. กำหนด ระยะเวลา
ดำเนินโครงการต้งั แตว่ ันท่ี 1 มิถุนายน 2565 ถงึ วนั ท่ี 31 มีนาคม 2566
2.5 มาตรการเสริมสภาพคล่องและฟ้ืนฟูลูกค้า ปี บญั ชี 2565 โดยลกู ค้าเกษตรกรที่เป็นหน้ีปกติ ณ ปีบัญชี
2565 สามารถขอยน่ื กสู ินเชอื่ เพิ่มเติมได้
2.6 มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อเพื่อการปรับตวั ) ปีบัญชี 2565 โดยลูกค้า
เดมิ และลกู คา้ ใหม่สามารถย่ืนขอสินเชอื่ โดยไดร้ บั อัตราดอกเบีย้ พิเศษ ท้ังนต้ี ้องยน่ื ขอภายในวันท่ี 9 เมษายน 2566
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จำนวน 1 โครงการ คอื
2.7 โครงการของขวญั ปี ใหม่ 2566 เพอื่ ส่งเสรมิ วินยั ทางการเงิน สำหรับลกู คา้ ธอส. เพอื่ ส่งเสริมการมีวินัย
ทางการเงินในการผ่อนชําระเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย เติมกําลังซื้อเพื่อให้เกิดการใช้จ่ายหมุนเวียน ในระบบเศรษฐกิจ
ภายในประเทศช่วงเทศกาลปีใหม่ และประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าดาวน์โหลดและใช้งาน Application “GHB ALL” หรือ
“GHB ALL GEN” สำหรับการจ่ายชําระหน้ีเงินกู้ โดยได้รับเงินรายละ 1,000 บาท ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 ถึง
เดือนกุมภาพันธ์ 2566

สำนักงานคลงั จังหวัดลำปาง

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) จำนวน 3 มาตรการ/
โครงการ ได้แก่

2.8 ผ่อนดี มีคืน เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยของ ธพว. ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500,000 บาท และมี
ประวัติการชําระดี โดยได้รับบัตรกำนัลฟรี มูลค่าสุงสุด 300 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนธันวาคม
2565 ถงึ วนั ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566

2.9 มาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุน สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีวงเงิน
สินเชื่อไม่เกิน 50 ล้านบาท โดยได้รับบัตรเติมน้ำมัน มูลค่าสูงสุด 5,000 บาท เมื่อได้รับอนุมัติสินเชื่อระยะเวลา
ดำเนินโครงการต้งั แต่เดือนธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566

2.10 ส่งเสริมช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบ SMEs โดยลูกค้าสามารถซื้อสินค้าราคาพิเศษจาก SME D
Market (ส่วนลดสูงสุดร้อยละ 20 มากกว่า 300 รายการสินค้า) ภายในเดือนธันวาคม 2565 ธนาคารเพื่อการ
สง่ ออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย จำนวน 2 มาตรการ

2.11 มาตรการจ่าย All in 1 โดยลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ที่เข้าร่วม 1 ใน 3 มาตรการ ดังนี้ 1) มาตรการ
สินเชื่อ EXIM Personal Biz 2) มาตรการสินเชื่อเพื่อผู้ส่งออกป้ายแดง และ 3) มาตรการสินเชื่อ EXIM Shield
Financing จะได้รับอัตราดอกเบีย้ สงู สดุ ไม่เกินร้อยละ 6.60 ตอ่ ปี ระยะเวลา 6 เดือน

2.12 มาตรการรับเงินคนื รอ้ ยละ 2 ของดอกเบี้ยจ่ายสะสม โดยลูกคา้ ทเี่ ขา้ รว่ มมาตรการปรับปรุง โครงสร้าง
หนอี้ ย่างย่งั ยนื ของ EXIM BANK จะได้รับเงนิ คืนรอ้ ยละ 2 ของดอกเบ้ยี จ่ายสะสม เป็นระยะเวลา 2 เดอื น

ธนาคารอสิ ลามแหง่ ประเทศไทย (ธอท.) จำนวน 1 โครงการ คือ
2.13 สินเช่อื ไอแบงคย์ ืนหน่ึง ประกอบด้วย 1) สินเชื่อเพื่อท่ีอยู่อาศัย 2) โครงการสินเชื่อ Top Up และ 3)
โครงการสินเชื่อบ้านแลกเงิน โดยลูกค้าทั่วไปที่เข้าร่วม 1 ใน 3 โครงการนี้จะได้รับอัตรากำไรพิเศษ ระยะเวลาดำเนิน
โครงการตง้ั แตว่ นั ท่ี 1 พฤศจกิ ายน 2565 ถงึ วันที่ 28 กมุ ภาพันธ์ 2566

บรรษทั ประกนั สนิ เช่ืออตุ สาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จำนวน 2 มาตรการ ได้แก่
2.14 มาตรการยกเวน้ คา่ ดำเนินการคำ้ ประกันสินเชื่อสำหรบั ผูป้ ระกอบการ SMEs โดย ผู้ประกอบการ SMEs
ทีส่ ง่ คาํ ขอให้ บสย. คำ้ ประกันภายใต้โครงการ ดังนี้ 1) Bilateral Phase 7 (BI7) 2) Portfolio Guarantee Scheme
(PGS) ระยะพิเศษ Soft Loan Extra และ 3) Thai Credit Guarantee Corporation Risk Based Pricing (TCG
RBP) จะได้รบั การยกเว้นค่าดำเนินการคำ้ ประกันสินเช่ือ ระยะเวลาดำเนนิ โครงการตั้งแต่วันท่ี 1 ถงึ วนั ที่ 31 มกราคม
2566
2.15. มาตรการสำหรับลูกหน้ี บสย. สำหรบั ลูกหนี้ที่ประนอมหนี้กับ บสย. แลว้ และคา้ งชําระไม่เกิน 3 งวด
จะไดร้ ับการลดค่างวด ระยะเวลาดำเนินโครงการตงั้ แต่วันท่ี 1 มกราคม ถงึ วันที่ 30 มนี าคม 2566

3. มาตรการ/โครงการอ่ืน จำนวน 7 มาตรการ/โครงการ (เอกสารแนบ) ได้แก่
3.1 โครงการเที่ยวปีใหม่สุขใจไปกับพิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ เพื่อมอบเป็นของขวัญปี ใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่
ประชาชน

สำนกั งานคลงั จังหวัดลำปาง

กรมธนารักษ์เปิดใหป้ ระชาชนท่วั ไปได้เข้าชมพิพิธภณั ฑ์เหรียญกษาปณานรุ ักษ์ พิพิธบางลำพู พิพิธภัณฑ์ธนา
รักษ์ จังหวัดเชียงใหม่ พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดสงขลา และพิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดขอนแก่น โดยไม่เก็บค่าเข้า
ชม ระหวางวันที่ 3 ถงึ วันท่ี15 มกราคม 2566

3.2 โครงการสนับสนุนตลาดทุนและเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนลดภาระแก่ผู้ประกอบธุรกิจ
เพอ่ื ความสุขท่มี ่นั คงของทุกภาคส่วน

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรพั ย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ดำเนินโครงการสนับสนุน
ตลาดทนุ และเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต อย่างยังยืน รวมทั้งลดภาระแก่ผปู้ ระกอบธุรกิจ รวมถึงโครงการที่จะช่วย
ลดภาระต้นทนุ ทเ่ี กินความจำเป็นให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจในสภาพแวดล้อมการแขง่ ขันทีร่ ุนแรงข้ึน และเศรษฐกิจท่ีชะลอ
ตัวในปจั จุบนั เพ่ือให้สามารถเตบิ โตได้อยางยั่งยืน ดงั น้ี

(1) การยกเว้นค่าธรรมเนียมเพื่อส่งเสริมการจัดตั้งและบรหิ ารจัดการกองทุนรวมเพือ่ ความยั่งยืน (SRI Fund)
โดยยกเว้นค่าธรรมเนียมการจัดตั้งกองทุนรวม 100,000 บาทต่อกองทุนรวม และยกเว้น ค่าธรรมเนียมการแก้ไข
โครงการจัดการกองทนุ รวม ไม่เกิน 5,000 บาท ตอ่ กองทนุ รวม โดยจะมีผลตั้งแตว่ ันที่ 1 มกราคม 2566

(2) การยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจสำหรับผู้ประกอบธุรกจิ ท่ีแจ้งยตุ ิการ ประกอบธรุ กิจ 50,000
บาทตอ่ ราย โดยจะมีผลต้ังแตว่ ันที่ 1 มกราคม 2566

(3) การยกเวน้ คา่ ธรรมเนียมเพ่ือสนับสนุนการออกตราสารหน้กี ลุ่มความยงั ย่ืน โดยจะขยายเวลาเพิ่มเติม 3 ปี
เริ่มตั้งแต่วันท่ี 1 มิถนุ ายน 2565 ถึงวนั ท่ี 31 พฤษภาคม 2568

(4) การยกเว้นค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้ทวนสอบ/ผู้ให้การรับรอง ข้อมูลก๊าซเรือน
กระจก ตามที่ชําระจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง มีผลจนถึงสิ้นปี 2566 และอยู่ระหว่าง
เตรียมขยายระยะเวลาต่อไปอีก 3 ปี

3.3 โครงการส่งเสริมให้ประชาชนและผู้ลงทนุ มีศกั ยภาพในการสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดี และมีภูมิคุ้มกัน
ไม่ถูกหลอกลวง

สำนักงาน ก.ล.ต. ให้ความสำคัญและมีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการเงิน (Financial Literacy)
เพ่อื สง่ เสรมิ ให้ประชาชนและผลู้ งทุนมีศักยภาพในการสร้างสุขภาพทางการเงินทีด่ ี และมภี ูมคิ ุ้มกนั ไมถ่ ูกหลอกลวง ใน
ยุคท่ีการหลอกลวงมมี ากข้ึนและมรี ูปแบบท่ีหลากหลาย ดงั น้ี

(1) สำนักงาน ก.ล.ต. เดินสายติดอาวุธคนไทย ระวังภัยกลโกง โดยจัดให้ปี 2566 เป็นปีแห่งการรณรงค์ให้
ความรู้ผู้ลงทุนในการระวังภัยกลโกงการลงทุน เผยแพร่ความรู้ให้กระจายเข้าถึงประชาชนทั่วทุกภูมิภาค โดยเริ่มจาก
การจัดทำศูนย์รวมความรู้ภัยกลโกงการลงทุนบนเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. ภายใต้ชื่อ โครงการ “SCAM CENTER
รูท้ ันภยั กลโกง” (จะเริม่ ให้บรกิ ารตั้งแตว่ นั ที่ 1 มกราคม 2566 เปน็ ต้นไป)

(2) โ ค ร ง ก า ร ห ล ั ก ส ู ต ร เ ร ี ย น รู้ อ อ น ไ ล น ์ e-learning “ก . ล . ต . Crypto Academy”
(www.seccryptoacademy.com) เพือ่ เป็นแหล่งความรู้เก่ียวกับสินทรัพยด์ ิจทิ ัล รวมถึงความเส่ียงและข้อควรระวังที่
เกย่ี วข้องแบบครบวงจร โดยจะเรมิ่ ให้บรกิ ารตั้งแตว่ ันท่ี 1 มกราคม 2566 เป็นตน้ ไป

(3) โครงการเครื่องมือเปรียบเทียบกองทุนรวม “SEC Fund Check” เพื่อให้ประชาชนมีเครื่องมือที่สามารถ
ค้นหาขอ้ มลู เกี่ยวกบั กองทุนรวมได้อย่างครบถ้วน เปน็ กลางพร้อมคุณสมบัติท่ี ง่ายตอ่ การใช้งาน สามารถเปรียบเทียบ
กองทุนในหลายมิติ โดยจะเริม่ ใหบ้ ริการในเดือนพฤศจิกายน 2565

(4) โครงการ “แนวทางวางแผนการเงินและการจัดการเงินกองทุนสํารองเลีย้ งชีพหลัง เกษยี ณ” โดยจะจัดทำ
เปน็ การเสวนาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เกยี่ วกับแนวทางวางแผนการเงินและการจดั การเงินทุนสํารองเล้ยี งชีพหลังเกษียณ

สำนกั งานคลงั จงั หวัดลำปาง

รวมถึงเรื่องภาษีที่เกี่ยวข้อง โดยมีระยะเวลาดำเนินการช่วงประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนถึงช่วงครึ่งแรกของเดือน
ธันวาคม 2565

3.4 โครงการกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) สำหรับเทศกาลปี ใหม่ 2566 สำนักงาน
คณะกรรมการกำกบั และสง่ เสรมิ การประกอบธรุ กจิ ประกันภยั (สำนักงาน คปภ.) ได้จดั ทำกรมธรรม์ประกันภยั รายย่อย
(ไมโครอินชัวรันส์) สำหรับเทศกาลปีใหม่ 2566 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการ
บริหารความเสี่ยง และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย ด้วยเบี้ยประกน
ภยั ที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของผู้เอาประกันภยั ในการเดินทางท่องเทีย่ ว หรือกลบั ภูมิลำเนาในชว่ งเทศกาลสำคัญ ที่มี
วันหยุดต่อเนื่อง เช่น เทศกาลปี ใหม่ สงกรานต์ เป็นต้น จึงได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ให้การคุ้มครองใน
ระยะเวลาสั้น 30 วัน ด้วยเบี้ยประกันภัย 10 บาท 3.5 มาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงินเพื่อเป็นของขวัญปี ใหม่ พ.ศ.
2566

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้จัดเตรียมมาตรการของขวัญปี ใหม่ปี 2566 ให้กับผู้กู้ยืม
เงนิ กองทนุ เงนิ ให้กู้ยืมเพอื่ การศึกษา ดงั นี้

(1) ขยายระยะเวลามาตรการลดหยอนหนี้ จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เป็นสิ้นสุด วันที่ 30
มถิ นุ ายน 2566 รวมระยะเวลา 6 เดอื น ดงั นี้ (1) ลดเงนิ เพม่ิ ร้อยละ 100 กรณผี ูก้ ู้ยมื เงินทกุ กลุ่มชาํ ระหนป้ี ดิ บัญชีใน
คราวเดียว (2) ลดเงินเพมิ่ ร้อยละ 80 กรณผี กู้ ้ยู มื เงินกลุ่มก่อนฟ้องคดีมาชําระหน้ีคา้ งทั้งหมดให้มสี ถานะ ปกติ (ไม่ค้าง
ชําระ) (3) ลดหยอ่ นเงินต้น ร้อยละ 5 กรณีชําระหน้ีปิดบัญชีในคราวเดียว สำหรบั ผ้กู ้ยู มื เงินท่ีอยู่ระหว่างการชําระเงิน
คืนกองทุนและมิได้เป็นผู้ผิดนัดชําระหนี้หรือเคยเป็นผู้ผิดนัดชําระหนี้ (4) ลดอัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ 1 ต่อปี
เป็นร้อยละ 0.01 ต่อปี ให้กับผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างการชําระเงินคืนกองทุน และมิได้เป็นผู้ผิดนัด ชําระหนี้หรือเคย
เป็นผู้ผิดนัดชําระหนี้และ (5) ลดเบี้ยปรับเหลือร้อยละ 0.5 ต่อปี กรณีผู้กูยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี และไม่สามารถ
ชาํ ระหนไี้ ด้ตามกาหนด

(2) ชะลอการฟอ้ งร้องดำเนินคดีกบั ผู้กยู้ มื เงนิ และผคู้ ้ำประกนั ที่ผิดนดั ชาํ ระหน้ีประจำปี 2563 ปี 2564และ
ปี 2565 จากเดิมภายในวนั ท่ี 31 มีนาคม 2566 เปน็ ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 เว้นแตค่ ดที จี่ ะขาดอายุความ

(3) ชะลอการบังคับคดีสำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ผิดนัดไม่ชําระหนี้ตามคําพิพากษาไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม
2566 เวน้ แตค่ ดที ใ่ี กลส้ ้นิ สดุ ระยะเวลาการบังคบั คดี

(4) งดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้กู้ยืมเงิน และผู้ค้าประกันที่กองทุนได้ยึดทรัพย์ไว้จนถึงวันที่ 31
ธนั วาคม 2566 โดยผู้กูย้ มื เงินและผคู้ ้ำประกนั จะต้องร่วมกับกองทุนของดการขายทอดตลาดต่อกรมบังคับคดี

(5) มาตรการลดอัตราดอกเบี้ยให้ผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างการชําระเงินคืนกองทุนกลุ่มก่อนฟ้องคดีที่มี
สถานะปัจจุบันไม่เป็นผู้ผิดนัดชําระหนี้ โดยลดอัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ 1 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.5 ต่อปี เริ่มมีผล
ตง้ั แต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถงึ วันท่ี 30 มถิ นุ ายน 2566

3.6 มาตรการของขวัญปีใหม่ปี 2566 ให้กับลูกค้ารายย่อยที่ไม่มีหลักประกัน/ผู้ค้ำประกันบริษัท บริหาร
สนิ ทรัพย์ ธนาคารอสิ ลามแหง่ ประเทศไทย จํากดั (บสอ.) จดั ทำมาตรการของขวัญปีใหม่ปี 2566 ใหก้ ับลูกค้ารายย่อย
ที่ไม่มีหลักประกัน/ผู้ค้ำประกัน เพื่อช่วยเหลือลกู ค้าและผู้ค้ำประกันให้ปลดหน้ีได้ ดังนี้ (1) ลดเบี้ยปรับ ร้อยละ 100
ชาํ ระเพียงเงนิ ต้น กรณีปิดบญั ชี (2) ลดเบีย้ ปรบั ร้อยละ 100 ชาํ ระเงนิ ตน้ พร้อมดอกเบ้ีย 3 เดือน กรณีผ่อนชําระไม่
เกิน 6 เดอื น (3) พิจารณาผอ่ นปรนตามความสามารถของลกู คา้ /ผคู้ ้ำประกนั กรณผี ่อนชาํ ระเกิน 6 เดือน

3.7 โครงการ “ชม ชิม ชอ็ ป ยาสบู เชยี งราย”

สำนกั งานคลงั จงั หวัดลำปาง

การยาสูบแห่งประเทศไทย (ยสท.) จัดทำโครงการ “ชม ชิม ช็อป ยาสูบเชียงราย” เพื่อมอบเป็น ของขวัญปี
ใหม่ ให้ประชาชนชาวเชียงรายได้มพี ื้นที่ค้าขายสินค้า/พืชผลทางการเกษตร และกระตนุ้ เศรษฐกิจของจังหวดั เชียงราย
ระหวา่ งวันที่ 29 ธนั วาคม 2565 ถงึ วันท่ี 29 มกราคม 2566 ณ สวนตุงและโคมนครเชยี งราย จังหวัดเชยี งราย

สำนักงานคลงั จงั หวดั ลำปาง

สำนกั งานคลงั จงั หวัดลำปาง


Click to View FlipBook Version