The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by bbkub_beer, 2022-02-11 02:27:10

เห็ดนางฟ้า

เห็ดนางฟ้า

เหด็ นางฟา้ และการเพาะเหด็ นางฟ้า

เห็ดนางฟ้า จัดเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่สำคัญที่นิยมรับประทานมากไม่แพ้กว่าเห็ดนางรม และเห็ดฟาง
เนื่องจาก เห็ดชนิดนี้สามารถเพาะได้ง่าย มีเวลาในการเพาะสั้น ดอกเห็ดออกจำนวนมาก ดอกเห็ดให้เนื้อนุ่ม
สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนดิ อาทิ แกงเลียง และตม้ ยำ เปน็ ตน้
• ช่ือวิทยาศาสตร์ : Pleurotus sajor-caju (Fr.) Sing.
• ชือ่ สามญั :

– Sarjou-caju Mushroom
– Grey oyster mushroom
– Indian mushroom
• ชือ่ ทอ้ งถ่นิ :
– เห็ดนางฟ้า
– เหด็ แขก
• ถ่ินกำเนิด : แถบเทอื กเขาหมิ าลัย ประเทศอนิ เดีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ดอกเห็ดนางฟ้าจะมีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดเป๋าฮื้อ และดอกเห็ดนางรม และคล้ายกับเห็ดนางรม

มากจนเกือบแยกไม่ออก แต่สีของขอบดอกของเห็ดนางฟ้าจะอ่อนกว่าเห็ดนางรม ในขณะที่เห็ดนางรมขอบ
ดอกจะมีสีคล้ำมากกว่า ส่วนตัวดอกเห็ดนางฟ้าจะบางกว่าเห็ดนางรม และมีครีบอยู่ชิดกันมากกว่า และเมื่อ
เทยี บกับเห็ดเป๋าฮอ้ื พบว่า กา้ นดอกของเห็ดนางฟา้ จะค่อนอยูต่ รงกลางดอกมากกว่าดอกของเห็ดเป๋าฮื้อที่เยื้อง
ไปอยู่รมิ ขอบดอกด้านใดดา้ นหน่ึง และกา้ นดอกของเห็ดนางฟ้าจะเล็กกว่าก้านดอกของเห็ดเปา๋ ฮ้ืออย่างชัดเจน
สว่ นเห็ดนางฟา้ อีกชนิด คือ เหด็ นางฟ้าภฐู าน เปน็ เห็ดท่นี ำเข้ามาจากประเทศภฐู าน ซึ่งปัจจุบนั กำลงั เปน็ ท่ีนิยม
เช่นกัน

โดยดอกเห็ดนางฟ้าอาจออกเปน็ ดอกเดย่ี วหรือออกเป็นกระจุกแนน่ มกี ้านดอกส้นั สขี าว ไม่มีวงแหวน
ดอกเหด็ ออ่ นมสี ีขาว เม่อื แก่มากสมี สี ีขาวอมสนี ้ำตาลอ่อน มเี ส้นใยค่อนข้างละเอยี ด

ประโยชน์เหด็ นางฟา้
1. เห็ดนางฟ้านิยมนำดอกเห็ดสดมาประกอบอาหาร เช่น เห็ดนางฟ้าชุบแป้งทอด ต้มยำเห็ดนางฟ้า

และหอ่ หมกเหด็ นางฟา้ เป็นต้น

สรรพคณุ ทางยา
– ช่วยป้องกันโรคมะเรง็
– ลดไขมนั ในเส้นเลือด

คณุ คา่ ทางอาหาร (100 กรมั )
– น้ำ (กรมั ) 90.27
– แคลอรี (กิโลแคลอรี่) 33.32
– ไขมนั (กรมั ) 0.07
– คารโ์ บไฮเดรต (กรมั ) 4.47
– โปรตนี (กรมั ) 3.38
– ใยอาหาร (กรมั ) 0.47
– แคลเซียม (มิลลกิ รมั ) 1.90

– เหลก็ (มลิ ลกิ รัม) 0.85
– ฟอสฟอรสั (มิลลกิ รมั ) 87.44
– วติ ามินบี 1 (มลิ ลกิ รมั ) 0.006
– วติ ามนิ บี 2 (มลิ ลกิ รัม) 0.08

ทม่ี า : สุนนั ท์ และคณะ (2529)(1)

• แร่ธาตุ (minerals)
แคลเซยี ม (Ca ) : 20 มิลลกิ รมั /กรัม
ฟอสฟอรัส (P) : 760 มิลลกิ รัม/กรัม
โปแตสเซียม (K) : 3,260 มิลลิกรัม/กรัม
เหลก็ (Fe) : 124 (ppm)
แคดเมียม (Cd) : 0.3 (ppm)
สงั กะสี (Zn) : 12 (ppm)
ทองแดง (Cu) : 12.2 (ppm)

ตะกั่ว (Pb) 3.2 : (ppm)

• กรดอะมโิ น (มลิ ลิกรัม/กรัม ของ crude protein nitrogen)
Isoleucine : 78
Leucine : 68.1
Lysine : 73.5
Methionine + Cystine : 62.5
Phenylalanine + Tyrosine : 137.8
Threonine : 88
Tryptophan : 91
Valine : 76.1

ทีม่ า : Oei (1991)(2)

ข้ันตอน และวิธกี ารเพาะเหด็ นางฟ้า
โรงเรอื น และวสั ดุเพาะ

1. โรงเรือน
สำหรับเห็ดนางฟ้าจะใช้โรงเรือนที่วางเป็นรูปตัวเอ และควรมีอากาศถ่ายเทดีพอสมควร มีแสงตาม
ความต้องการของเห็ด จะสังเกตได้คือ เมื่อเดินทางเข้าในโรงเห็ดแล้วควรจะหายใจสะดวก ไม่อับชื้นหรือร้อน
เกินไปโครงสร้างของโรงเรือนทำ ได้ 2 แบบ แบบแรกเป็น โรงเรือนชั่วคราว ใช้วัสดุไม่ถาวร ลงทุนไม่มาก เสา
ทำ ดว้ ยไม้ไผ่ หรอื เสาเขม็ หลังคามงุ ดว้ ยจากหรอื หญ้าคา อายุการใชง้ านประมาณ 3 – 4 ปี

โรงเรือนถาวร เป็นโรงเรือนสังกะสีหรือกระเบื้องลอน แต่อาจมีปัญหาเรื่องความร้อน จึงควรทำ
หลังคาให้สูงขึ้น และควรมีท่อนำ้ พาดบนหลงั คาเพือ่ ปลอ่ ยน้ำรดลงมาในเวลาที่อุณหภูมสิ ูงมาก อายุการใชง้ าน
ประมาณ 10 ปีขึน้ ไป

2. การจดั วางกอ้ นเช้ือเหด็ นางฟ้าในโรงเรือน
โรงเรือนน้ีภายในทำเปน็ แผงสำหรับวางก้อนเชือ้ ไมจ่ ำเป็นต้องกำหนดเปน็ รปู แบบตายตัว สามารถวาง
เห็ดได้มาก นิยมใช้ไม้ไผป่ ระกอบกันเปน็ รูปตัวเอ (A) หรือรปู สามเหลีย่ มทรงสูง แล้ววางกอ้ นเชื้อซ้อนทับกันไป
หันปากถงุ ออกทางด้านขา้ งช้นั ทง้ั สองด้าน ทำช่องระบายอากาศขนาด 40 x 60 เซนตเิ มตร จำนวน 1– 2 ช่อง
สำหรับระบายอากาศด้วยการวางถุงก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าจะวางในแนวนอน เช่น การวางในแนวนอนโดยวาง
ซอ้ นกนั บนแผงรปู ตัวเอ ประมาณ 3 – 5 ก้อน หรือวางซ้อนกันบนพ้ืนโรงเรือน ดอกเห็ดจะโผลอ่ อกมาทางปาก
ถงุ

3. วัสดเุ พาะ และสารอาหาร
วสั ดุท่ีนิยมใชเ้ ปน็ วัสดหุ ลักในการเพาะเหด็ นางฟา้ คือ ขเี้ ลื่อยไมย้ างพารำ เนือ่ งจากสามารถนำมาใช้ได้
เลย โดยไม่ตอ้ งหมัก เกบ็ รักษางา่ ย สามารถเก็บไวใ้ นสภาพแห้งๆ กไ็ ด้ หรอื ทงิ้ อยู่กลางแจ้งเปียกน้ำ เปียกฝนก็
ได้

การใสอ่ าหารเสริม
ในการทำก้อนเชื้อ มักนิยมเติมแร่ธาตุอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารเสริมที่เห็ดสามารถนำไปใช้ได้

โดยตรงในกองขี้เลื่อยหมักหรือขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน เพื่อให้เส้นใยเดินเร็ว และให้ผลผลิตสูงขึ้น อาหารเสริมที่ใช้
ได้แก่

1. รำละเอียด อุดมไปด้วยโปรตีนและวติ ามินบี ซ่ึงเปน็ ท่ตี อ้ งการของเหด็ มาก
2. ปูนขาว และยิบซม่ั ปนู ขาวช่วยลดความเป็นกรด และยปิ ซ่มั ช่วยลดความเปน็ ด่าง เพ่อื ให้วัสดุเพาะ
มีสภาพเปน็ กลาง หรือค่าของกรดดา่ งอยใู่ นระดบั 6.5 – 7.2
3. ดีเกลอื ชว่ ยกระตนุ้ การเจริญเติบโตของเส้นใย และเรง่ การเกดิ ดอกเห็ด

สตู รส่วนผสมก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า
– ขเ้ี ลอ่ื ยไมย้ างพารำแหง้ 100 กิโลกรัม
– รำละเอียด 5 กโิ ลกรัม
– ปนู ขาว 1 กโิ ลกรมั
– ยบิ ซ่ัม 2 กโิ ลกรมั
– ดีเกลอื 0.2 กิโลกรัม
– ความช้ืน (น้ำ) 50 – 60 เปอรเ์ ซน็ ต์

ขน้ั ตอนการเพาะนางฟา้ ในถุงพลาสติก
1. การผลิตหัวเชอื้ บริสุทธ์ิ
2. การผลิตหัวเช้ือบนเมลด็ ขา้ วฟ่าง
3. การผลติ กอ้ นเช้ือเหด็ นางฟา้
4. การบม่ เส้นใยเห็ดนางฟา้
5. การเปิดดอกเห็ดและการดูแลรักษา

1. การผลติ หัวเช้ือบรสิ ุทธิ์
คือ การนำเอาดอกเห็ดหรือสปอร์มาเพาะให้เห็ดเจริญขึ้น เป็นเส้นใย เพื่อใช้ขยายพันธุ์ไปทำ หัวเช้ือ

ต่อไป โดยจะเล้ยี งเสน้ ใยเหด็ บนวุ้นPDA
– อุปกรณ์ที่จะใช้ในการแยกเชื้อเห็ด ประกอบด้วย เข็มเขี่ยเชื้อ ตะเกียงแอลกอฮอล์ และตู้เขี่ยเช้ือ

เวลาใชก้ ็ยกสง่ิ ของตา่ งๆ ทีต่ อ้ งการเข้าไปไว้ภายในแลว้ ปดิ ชอ่ งเสยี ไมใ่ ห้ลมพดั เขา้ ไป แต่ด้านบนของตคู้ วรมีช่อง
ใหอ้ ากาศหรอื ลมรอ้ นระบายออกได้เลก็ น้อย ก่อนใชง้ านจะตอ้ งเช็ดตู้ฆา่ เชอื้ ภายในใหท้ ัว่ ดว้ ยแอลกอฮอล์

– การคัดเลือกดอกเห็ดมาทำพันธุ์ เลือกดอกเห็ดที่มีลักษณะสมบูรณ์ เป็นดอกที่โตแข็งแรง ดอกใหญ่
น้ำหนักดอกมาก เนื้อแน่น ก้านดอกมีลักษณะแข็งแรงหรือโคนต้นหนา อายุประมาณ 3 วัน หรือก่อนปล่อย
สปอร์ 1 วนั ดอกเหด็ ทจ่ี ะนำ มาแยกเชื้อน้อี ยา่ ให้เปียกนำ้ เปน็ อนั ขาด ซึ่งถ้าเปน็ ดอกที่เพิ่งเกบ็ เอามาจากแปลง
ใหม่ๆ ย่งิ ดี

การทำอาหารวนุ้ PDA
สูตรอาหารเลยี้ งเช้อื เหด็ มอี ยดู่ ้วยกันหลายสตู รแตกต่างกนั ออกไป แตใ่ นการเลย้ี งเชือ้ เหด็ นางฟ้า นิยม
ใชส้ ตู ร PDA สูตรนซี้ งึ่ มาจากภาษาอังกฤษโปเตโต้ เด๊กโทรส อะกา้ ร์ มีวธิ ีการทำ ทง่ี ่าย และสว่ นผสม ดังนี้
– มนั ฝรง่ั ปอกเปลือกห่ันเปน็ ช้นิ เล็กๆ แลว้ ต้มเอาแต่นำ้ 200 – 300 กรัม
– นำ้ ตาลเด๊กโทรสหรอื กลโู คลิน 20 – 40 กรมั
– วนุ้ 15- 20 กรัม
– น้ำสะอาด 1 ลติ ร

วิธเี ตรยี มสารอาหาร PDA
– ชั่งมันฝรั่งประมาณ 250 กรัม นำมาปอกเปลือกแล้วหั่นเป็นชิ้น ขนาดเท่ากับลูกเต๋า นำลงต้มในนำ้
ประมาณ 1.2 ลติ ร ต้มดว้ ยไฟทีอ่ ่อนๆ และใหน้ ้ำ เดอื ดประมาณ 15 นาที มนั ฝรั่งก็จะสกุ พอนมิ่
– กรองเอาแต่น้ำออกมา และต้มต่อไปพร้อมกับเติมวุ้นผง จำนวน 15 กรัม กวนจนวุ้นละลายหมด
ประมาณ 10 นาที
– เติมน้ำตาลเด๊กโทรส จำนวน 20 กรัมลงไป คนให้ละลาย แล้วตวงให้ได้ จำนวน 1 ลิตรพอดีหรือ
ใกล้เคียง
– นำนำ้ มนั ฝรัง่ มากรอกใสใ่ นขวดแบนที่แหง้ และสะอาด ใส่ใหส้ ูงกวา่ กน้ ขวดเพียง 2 – 3 เซนตเิ มตร
– อุดขวดด้วยจุกสำลเี อากระดาษหุ้มแลว้ ใช้สายยางรดั
– นำขวดอาหารไปนึ่งในหม้อนึ่งความดัน ให้มีความดันไอน้ำจำนวน 15 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว นาน
ประมาณ 20 นาที
– นำ ออกมาวางเรียงกัน ทิ้งไว้ให้วุ้นเกือบเย็น นำ ขวดอาหารวุ้นมาเอียงนอนลงให้วุ้นแผ่กว้าง เพื่อ
เพิ่มพน้ื ท่ีผิววุ้นในถา่ ยอาหารว้นุ เลยกงึ่ กลางขวดเลก็ นอ้ ย
– ใช้ไม้บางๆ รองปากขวดให้สูงเหนือจากพื้นเล็กน้อยในขณะที่เอนและควรระวังไม่ให้วุ้นถูกกับสำลี
โดยตรง

วิธกี ารเขย่ี เนอื้ เย่ือ

ก่อนทำการแยกเนื้อเย่ือ ควรล้างมือฟอกสบู่ใหส้ ะอาด และเชด็ มือใหแ้ หง้ และเตรยี มอุปกรณ์ตา่ งๆ ไว้
ในตู้เขย่ี เชื้อแล้ว คือ ดอกเห็ดท่ีจะใช้แยกเนือ้ เยือ่ ขวดอาหารวุน้ PDA เข็มเข่ียเชื้อ และตะเกยี งแอลกอฮอล์

– เอาเข็มเขี่ยจุ่มแอลกอฮอล์ แล้วลนไฟบนปลายเข็มเขี่ยร้อนแดง ทิ้งไว้ให้เย็นในอากาศประมาณ 10
วินาที

– ขณะที่รอให้เข็มเย็น ใช้มืออีกข้างหนึ่งและนิ้วส่วนที่เหลือจากจับเข็มเขี่ยจับดอกเห็ดขึ้นมาฉีก จาก
ขอบดอกลงมาตามแนวยาว ให้ดอกเห็ดแยกออกเป็นสองซีก โดยต้องไม่ให้ส่วนของมือหรือสิ่งใดๆ ไปแตะต้อง
สัมผสั กา้ นดอก และส่วนกลางดอกเห็ด บรเิ วณเน้อื เยอื่ ท่ีเพ่งิ ฉกี ออกมา

– ใช้เข็มเขี่ยตัดเนื้อเย่ือ ดอกเห็ดออกมาเป็นชิ้นเล็กๆ ตรงส่วนที่อยู่ระหว่างบริเวณก้านดอกกับหมวก
ดอก ซึ่งเป็นส่วนท่ีเนือ้ เยอ่ื สมบูรณ์ท่ีสดุ

– วางดอกเห็ดแล้วเปลี่ยนมาจับเอาขวดวุ้น PDA แทน ซึ่งขวดวุ้น PDA ใช้มือจับขวดวุ้น PDA ให้ก้น
ขวดอย่ใู นอุ้งมอื เคลอ่ื นขวดวนุ้ เข้าไปหามอื ที่จบั เขม็ เขย่ี

– ใช้นิ้วก้อยกับฝ่ามือที่จบั เข็มเขีย่ จับเอาจุกสำลีที่ปากขวดดึงออกเบาๆนำ ปากขวดลนไฟกับตะเกียง
แอลกอฮอล์ เพ่ือ ฆ่าเชือ้ และเผาสำลีท่ีติดอยู่

– นำเอาเชื้อเห็ดสอดเข้าไปในขวด วางลงบนผิวกลางอาหารวุ้น ลนไฟที่คอปากขวดอีกครั้งหนึ่ง แล้ว
ปดิ จุกสำลไี วเ้ ชน่ เดิม

– นำขวดเชื้อไปเก็บไวใ้ นห้องที่มีอุณหภูมิปกติ เพื่อรอใหเ้ สน้ ใยเจริญเต็มอาหารวุ้น หรอื ประมาณ 7 –
10 วนั เสน้ ใยเห็ดนางฟ้ากจ็ ะเจรญิ เต็มผวิ หน้าวนุ้ ไม่ควรเกบ็ ไว้นานกว่าน้ีเพราะจะเหนียวแก่อ่อนตวั ลง ถ้าเชื้อ
หมดอายุ ต้องเริ่มต้นเข่ยี เนื้อเยื่อ จากดอกเหด็ ใหม่

การขยายเชอื้ วุ้น
ใช้อุปกรณ์ตัดเอาเส้นใยในอาหารวุ้นในพื้นที่ประมาณ 1 ตารางเซนติเมตร แล้วเขี่ยลงบนผิวหน้าขวด
วุ้นเปล่า ขวดอื่น แต่ไม่ควรถ่ายเชื้อต่อเกิน 5 – 6 ครั้ง เพราะจะทำ ให้ลักษณะของดอกเห็ดที่ได้ไม่ตรงตาม
พันธุ์เดมิ และเช้อื ตายง่าย เน่ืองจากเชือ้ อ่อนลง

2. การทำหัวเชอ้ื เห็ดนางฟา้ บนเมล็ดข้าวฟ่าง
การทำเมล็ดข้าวฟ่าง
– นำ เมล็ดข้าวฟา่ งมาต้มจนสกุ นม่ิ พอดีอย่าให้ถงึ กับเละ
– นำ ไปใสต่ ะแกรงกรองเอานำ้ ออกให้หมด ผงึ่ แดดพอแห้ง

– กรอกเมล็ดข้าวฟ่างที่แห้งแล้วใส่ขวด เพียงครึ่งขวดหรือประมาณ 2 ใน 3 ของขวด เพื่อช่วยให้เสน้
ใยเจริญได้รวดเรว็ การกรอกเมล็ดข้าวฟา่ งใสข่ วด ควรใชก้ รวย สวมปากขวดจะชว่ ยให้กรอกได้ง่ายขนึ้ และเพ่ือ
ป้องกนั ไม่ใหเ้ มล็ดขา้ วฟา่ งเปอ้ื นปากขวด ถ้าหากเป้อื นปากขวดกค็ วรเชด็ ปากขวดให้สะอาดและแห้ง

– ใช้สำลีอุดปากขวดให้แน่นพอดี ใช้กระดาษหุ้มทับสำลีอีกชั้นหนึ่งแล้วรัดด้วยยาง เพื่อ ป้องกันสำลี
เปยี กเวลานึง่

– นำขวดเชื้อไปนึ่งด้วยหม้อนึ่งความดัน ให้มีความดันไอน้ำ จำนวน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว นาน 25
นาที แลว้ ทงิ้ ใหเ้ ย็น

การถา่ ยเชอ้ื เห็ดจากอาหารวนุ้ ลงในขวดเมลด็ ขา้ วฟ่าง
ขวดเมล็ดข้าวฟ่างท่ีนง่ึ เรยี บร้อยแล้ว จะยงั เปน็ เพยี งเมลด็ พชื ท่ตี ม้ แล้วเทา่ น้นั ถ้าหากยังไมใ่ ส่เชื้อเห็ดลง
ไป เราจงึ ต้องนำเอาเช้ือเหด็ นางฟ้าจากขวดอาหารวนุ้ ทไ่ี ดค้ ดั เลอื ก และเตรียมไวแ้ ล้ว นำมาถา่ ยเช้ือหรือต่อเช้ือ
ในเมลด็ ขา้ วฟา่ งเสยี กอ่ น จึงนำ ไปใช้ได้
การเขี่ยเชื้อจากอาหารวุ้นลงในขวดเชื้อ การปฏิบัติก็ทำได้เช่นเดียวกับการทำอาหารวุ้น คือ ต้องทำ
ภายในตู้เขี่ยเช้ือ โดยเลือกขวดเชื้อทีเ่ ส้นใยเจริญเตม็ ผวิ หน้าวุ้นใหม่ๆใช้เข็มเขี่ยลนไฟให้ร้อนแดงตัดเอาอาหาร
วุ้นที่มีเส้นใยติดมาด้วยให้ชิ้นมีขนาด 1 ตารางเซนติเมตร วางลงในขวดเชื้อ ตรงกลางเมล็ดข้าวฟ่าง ใช้วิธีเอน
ขวดให้เมล็ดข้าวฟ่างเอนกระจายลงแบนราบเล็กน้อย แล้วจึงวางวุ้นลงไปตรงกลาง พอตั้งขวดเมล็ดข้าวฟ่างก็
จะกลบช้นิ วนุ้ ตรงกลางขวดพอดี ใช้สำลีอุดปากขวด แลว้ ใชก้ ระดาษปิดทบั รัดดว้ ยยาง

นำขวดเชื้อไปวางเก็บไวใ้ นห้องที่มีอุณหภมู ิปกติ และมืด ประมาณ 8- 12 วัน เส้นใยจะเจริญเต็มขวด
เมล็ดพืช เชื้อที่เส้นใยเจริญเต็มขวดใหม่ๆ อยู่ในระยะที่แข็งแรง เหมาะที่จะนำไปใช้งาน ไม่ควรเก็บไว้นาน
เกนิ ไป เพราะจะทำ ให้เช้ืออ่อนลง และมโี อกาสท่ีเชื้อจะมเี ชื้อปนได้

อย่างไรก็ตาม การทำหัวเชื้อนี้สำหรับบางฟาร์ม ที่ผลิตก้อนเชื้อเพื่อเพาะเอาดอกเห็ดแล้ว อาจทำเอง
หรอื ไม่ต้องทำก็ได้ เพราะเน่อื งจากในปัจจบุ ันนี้มีผ้ทู ำ หวั เชื้อทีม่ คี ุณภาพดจี ำหน่ายอยู่ทว่ั ไป และราคาก็ไม่แพง
นัก การซื้อมาใช้โดยไม่ต้องทำ เองก็เป็นวิธีที่สะดวก แต่ควรที่จะได้มีการตรวจสอบคุณภาพของเชื้อให้
สมำ่ เสมอดว้ ย

3. การทำถุงเชอื้ เห็ดนางฟา้
อปุ กรณ์ที่จะต้องใช้มี ถุงร้อนขนาด 7×11 นวิ้ หรอื 9×12 นวิ้ หรือใหญ่กวา่ นี้ คอขวดพลาสติกทำจาก

พลาสติกทนรอ้ น สำลี ยางรดั กระดาษห้มุ สำลี และช้อนตัก
การทำถงุ เช้อื

– นำขี้เลื่อยไมเ้ น้ืออ่อนหรอื ขี้เลื่อยไม้ยางพารำ ผสมด้วยปูนขาวประมาณ 1-2 เปอร์เซ็นต์ รำละเอียด
ประมาณ 3 – 5 เปอร์เซน็ ต์ อย่างไรก็ตามสว่ นผสมน้บี างฟาร์มอาจแตกตา่ งกนั ออกไป ตามความเหมาะสมหรือ
อาจมีสว่ นผสมอ่ืนๆ เพมิ่ เตมิ กไ็ ด้

– การหมักปุ๋ยเม่อื ครบกำหนด 1 คืนแล้ว วันรุ่งขึ้นจึงเตมิ รำละเอียดตามอัตราสว่ น หรอื อาจเติมดีเกลือ
ลงไปดว้ ย การผสมนำ้ สำหรบั เห็ดนางฟา้ อาจตอ้ งผสมน้ำ ใหช้ นื้ ปกตไิ ม่ใหแ้ ห้งหรอื แฉะเกนิ ไป

– บรรจใุ นถงุ พลาสติก เกอื บเต็มถงุ หรือประมาณ 1 – 1.2 กิโลกรัม เว้นปากถุงไว้สำหรับสวมคอขวด
พลาสติก เพื่อการเขี่ยเชื้อ เมื่อใส่ปุ๋ยหมักลงในถุงแล้วให้ยกถุงกระทุ้งเบาๆเพ่ือให้ขีเ้ ลื่อยแนน่ หรืออาจใช้มือกด
ลงไป บางฟาร์มเหด็ มเี ครื่องบรรจุถุง ก็นำ มาใชไ้ ด้ เม่ือปุย๋ แนน่ แล้วก็รวบปากถุงและใช้คอขวดสวมลงไป ใช้มือ
ดงึ ถงุ ใหต้ งึ แล้วรวบปากถุงลงมา ด้านนอกใชย้ างรดั ใหแ้ นน่ ก็จะทำ ให้ปากถงุ กอ้ นเช้ือแคบลงมีขนาดเท่ากับคอ
ขวด มันจะคงรปู รา่ งเชน่ นีเ้ รอ่ื ยไป เพอ่ื ใช้สำหรับให้มที ี่ว่างของอากาศสำหรับเขี่ยเชอื้ เหด็ ลงไป

– ใชไ้ มป้ ลายแหลมเจาะรปู ยุ๋ จากคอขวดให้ลึกลงเกือบก่ึงกลางถุง เพอ่ื ให้
เชื้อเห็ดที่ใส่ลงไปเจริญได้จากบรเิ วณกลางถุงหรอื อาจไมเ่ จาะก็ได้ หากไม่เจาะเสน้ ใยเหด็ ก็จะเจริญ
จากด้านบนลงมา เช่นเดียวกบั การทำ หัวเช้ือในเมล็ดขา้ วฟา่ ง ท้งั นกี้ แ็ ลว้ แตก่ ารปฏิบตั ขิ องแตล่ ะฟารม์

– ใชส้ ำลอี ุด แลว้ หมุ้ ด้วยกระดาษและรดั ด้วยยาง หรืออาจใชฝ้ าครอบสำลี
แทนกระดาษกไ็ ด้ เพื่อ ไมใ่ หส้ ำลเี ปยี กในเวลานึ่ง สำลีท่ีเปียกอาจนำ เชื้อราตา่ งๆ เข้ามาในถุงได้งา่ ย

การน่ึงฆา่ เชื้อถงุ ปยุ๋
เมื่อเตรียมถุงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันหรือหม้อนึ่งลูกทุ่ง เพื่อฆ่าเช้ือ

ต่างๆ ที่เป็นศัตรูเห็ด เวลาในการนึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของหม้อนึ่งและจำนวนก้อนเชื้อ อาจนึ่งเพียง 2 ชั่วโมง
สำหรับการนึ่งเชื้อจำนวนน้อยและนึ่ง 4- 6 ชั่วโมง สำหรับเชื้อจำนวนมาก การนึ่งเชื้อจำนวนมากต้อง
ระมดั ระวัง และแน่ใจว่าสามารถน่ึงฆ่าเช้ือได้ทว่ั ถึง หลงั จากนึ่งเรยี บร้อยแลว้ นำก้อนเชื้อออกมาวางเรียงกันให้
เยน็ สนิทดเี สียก่อน เพื่อรอการเขี่ยเช้ือเหด็ นางฟา้ จากเมลด็ ขา้ วฟ่างลงถงุ ต่อไป

การเขี่ยเชือ้ เห็ดจากหัวเชอื้ ลงในถุงก้อนเชื้อ
ก้อนเช้ือที่ไดจ้ ากการน่ึงฆ่าเช้ือดว้ ยหม้อนง่ึ ความดันเรยี บร้อยแลว้ จงึ นำเอาหวั เช้ือเห็ดนางฟ้าในเมล็ด

ข้าวฟ่างที่ทำขน้ึ หรือซื้อเตรยี มไวล้ ่วงหน้า มาเขย่ี ลงไปในก้อนเชื้อโดยปฏบิ ัติ ดังน้ี
– วางกอ้ นเชื้อเรยี งกนั เปน็ แถว
– แกะเอากระดาษที่หุ้มปิดสำลีออกให้หมด แต่ยงั คงจุกสำลีไวโ้ ดยไม่ตอ้ งเปดิ และระวังไม่ให้สำลีหลุด

ออกมาจากคอขวด

– เช็ดมือด้วยแอลกอฮอล์ให้ท่ัว นำขวดหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่าง ที่คัดเลือกไว้แล้วเขย่าในขณะที่ยังปิดจุก
สำลีอยู่ เพอ่ื ให้เมล็ดขา้ วฟา่ งกระจาย

– ถอดจกุ สำลีทีข่ วดเมลด็ ข้าวฟ่างออก
– นำปากขวดไปลนไฟจากตะเกียงแอลกอฮอล์ ใช้มอื อกี ขา้ งหนงึ่ เปิดจุกสำลีก้อนเชื้อ แล้วเทหัวเช้ือลง
ไปในถุงประมาณ 10-20 เมล็ด จากนั้นจึงรีบปิดจุกสำลีทันที ไม่ต้องใช้กระดาษปิดทับ ถุงต่อไปก็ทำ
เช่นเดยี วกนั ทุก 3-4 ถงุ ใหล้ นปากขวดด้วยไฟจากตะเกียงแอลกอฮอล์ ทงั้ นี้ เมือ่ เปดิ ขวดหัวเชอื้ แลว้ กเ็ ข่ียเชื้อ
ให้หมด แต่หากเหลือไม่ควรนำกลับมาใชใ้ หม่ เพราะเชอ้ื ในขวดอาจตายแล้วหรอื เช้อื มีความอ่อนแอหัวเชื้อหน่ึง
ขวด สามารถเพาะใส่ถุงได้ประมาณ 50-60 ถุง และสำหรับ เห็ดนางฟ้าบางแห่งจะใช้หัวเชื้อมากกว่านี้ คือ
ประมาณ 25-30 ก้อน ตอ่ เชอื้ หน่ึงขวด ทั้งนี้เพ่ือใหเ้ ชอ้ื เจริญเรว็ และเช้ือเสยี น้อย

4. ขัน้ ตอนการบ่มเสน้ ใยเห็ดนางฟ้า
ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า หลังจากที่เขีย่ เชื้อแล้ว จะนำก้อนเชื้อนี้ไปบ่มเก็บไว้ในหอ้ งที่มีอุณหภูมิปกติ หรือ

ในโรงบ่มที่ทำ ไวโ้ ดยเฉพาะ ไมม่ ลี มโกรกและโรงเรือนควรมีแสงสว่างน้อย เพ่ือ รอใหเ้ ส้นใยเจริญเติบโตเต็มถุง
ใช้เวลาประมาณ 2–3 สปั ดาห์ ระยะบม่ ที่มาตรฐานคือ ประมาณ 22–28 วัน ยกเวน้ ฤดหู นาวใชเ้ วลาเพยี ง 15–
20 วนั เท่านนั้ ก้อนเช้อื ทด่ี ีเส้นใยเหด็ จะเจริญอย่างสม่ำเสมอเป็นสีขาวทวั่ ทั้งก้อน หากเส้นใยเดินชะงักหรือไม่
เดินลงมา ซ่ึงอาจจะเกิดจากมเี ชื้อราขนึ้ ปะปนจากการนึ่งไม่ท่วั ถงึ หรือในระหวา่ งการเขี่ยเช้อื ซึ่งแสดงว่าเชอ้ื เสีย
ลักษณะก้อนเชอ้ื ทแี่ ฉะบริเวณกน้ ถุง ก็เปน็ กอ้ นเช้อื ท่ีเสยี แล้วเช่นกนั ควรคดั ออกทิง้ ไป

การบ่มเชื้อ จะลำเลียงก้อนเชื้อจากห้องเขี่ยเช้ือเข้ามายังโรงบ่มนี้ นำก้อนเชื้อไปวางเรียงบนชั้นจนเต็ม จะวาง
ทางตั้งสำหรับชัน้ วางท่ีถาวร หรือวางแนวนอนสำหรับชั้นแบบเสาคู่ซึง่ ไม่ควรเกิน 3 ก้อน เพราะจะทำ ให้ก้อน
เชื้อทอี่ ย่ตู รงกลางมีความร้อนสงู เกินไป จนเป็นผลเสยี ภายหลังได้

การดูแลก้อนเชื้อในโรงบ่มนี้ นอกจากการรักษาความสะอาดตรวจสอบอุณหภูมิเพื่อ ควบคุมให้
อุณหภูมิสม่ำเสมอหรือไม่ให้สูงเกินกว่า 25–30 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงกว่านี้หรือจนคาดว่าอาจเป็น
ผลเสียต่อการเจรญิ เตบิ โตของเส้นใยเหด็ โดยเฉพาะในฤดูร้อน ควรทำการลดอณุ หภูมลิ งโดยการรดนำ้ ตามพ้ืน
ผนงั หลงั คาโรงเรอื น หรืออาจจะระบายอากาศออกครั้งละประมาณ 10 นาที กพ็ อ ในทางตรงกนั ข้าม ท้องถ่ิน
ที่อากาศค่อนข้างหนาว หรือในฤดูหนาว ซึ่งอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส จะทำ ให้การเจริญเติบโตของ
เสน้ ใยเห็ดชา้ ลง ดังนนั้ โรงบ่มก้อนเชื้อเหด็ ในสภาพทอ้ งถิน่ แบบนี้ ควรหาทางบภุ ายในโรงเรือนดว้ ยผ้าพลาสติก

หลงั จากบม่ เช้ือเห็ดไปได้สักระยะหนึ่ง หรอื ประมาณ 10 วัน ใหค้ อยตรวจดทู ุกวันถ้าพบว่าก้อนเช้ือถุง
ใดเสียหาย มีเชื้อราเขียว รำดา เข้าทำ ลายข้างๆ ถุงหรือก้นถุง อาจเกิดจากการที่ถุงพลาสติกแตกตามตะเข็บ
หากพบการเสียหายเกิดจากปากถุง โดยมีเชื้อราอย่างเดียวกันแทบทุกถุง สาเหตุอาจเกิดจากหัวเชื้อข้าวฟ่าง

เสีย แล้วแพร่เชื้อราไปทุกถุง แต่ถ้าเกิดการเสียหายบางถุง และเชื้อราไม่เหมือนกัน สาเหตุเกิดจากอากาศ
ภายนอก และภายในสกปรก มีแหล่งเชื้อราต่างๆ สะสมอยู่มากต้องรักษาความสะอาดบริเวณรอบโรงบ่ม และ
ภายในโรงบ่มใหส้ ะอาด

5. ขัน้ ตอนการเปิดดอกเหด็
สำหรับลักษณะของวิธีการเปิดถุงเพ่ือให้เห็ดออกดอก และลักษณะของการวางถุงก้อนเช้ือในโรงเรือน

สามารถทำได้หลายวธิ ี คือ
– เปิดจากสำลีให้ออกดอกเห็ดที่ปากถุง ดึงจุกสำลีออกวางถุงในแนวนอนกับพื้นโดยวางซ้อนกันบน

แผงรปู ตวั เอ หรอื วางซ้อนกนั บนพ้ืนโรงเรือน พน่ ละอองนำ้ เปน็ ฝอยละเอียดเห็ดจะเกดิ แลว้ โผล่ออกมาทางปาก
ถุงได้เอง วิธีนน้ี ิยมทำ กันมากกวา่ วิธีอน่ื สามารถให้ผลผลติ เหด็ ได้หลายรุ่น การวางกอ้ นเชอื้ ซ้อนกันในลักษณะ
นี้ เมื่อเก็บผลผลิตได้ 2-3 รุ่น ก้อนเชื้อจะยุบตัวลงมาทำ ให้ถุงเชื้อแน่นอยู่ตลอดเวลา เส้นใยเห็ดสามารถส่ง
อาหาร เพื่อทำ ให้เกิดดอกเห็ดใหม่ได้อีกหลายครั้ง แต่การวางก้อนเชื้อแบบนี้มีข้อเสียคือ ก้อนเชื้อชั้นล่างๆ
มักจะถูกทำลายด้วยรำเมือกหรือเน่าเปื่อยก่อน เพราะถูกทับมากเกินไป ดังนั้นการวางก้อนเชื้อซ้อนกันจึงไม่
ควรวางเกิน 12 ถุง

– พับปากถุง หลังจากที่เอาคอขวดออกแล้ว เปิดปากถุงพับลงมา ม้วนปากถุงให้อยู่ในระดับเดียวกับ
วัสดุเพาะหรือก้อนเชื้อ อาจวางก้อนเชื้อเห็ดได้ทั้งในแนวนอนหรือแนวตั้งบนชั้นวางติดๆ กัน วิธีนี้จะเกิดดอก
เห็ดครั้งละหลายดอก แต่ดอกเล็กลง เพราะแย่งอาหารกัน การวางบนชั้นลักษณะเช่นนี้ อาจทำให้จำนวนถุง
เชื้อมีน้อย จึงเก็บความชื้นได้น้อย แต่อากาศหมุนเวียนได้ดีจึงต้องคอยรักษาความชื้นในโรงเรือนไม่ให้แห้งเร็ว
เกินไป

– ตัดปากถุง เป็นการเปิดปากถุงโดยใช้มีดโกนปาดปากถุงออก ตรงส่วนของคอขวด เมื่อตัดออกไป
แล้วจะเหลือถุงพลาสติกหุ้มก้อนเชื้อส่วนบนอยู่บางส่วน การเปิดวิธีนี้ จะได้ดอกเห็ดน้อยกว่าวิธีแรก แต่น้ำ
หนักดอกเห็ดจะดีกวา่

– กรีดข้างถุง นำก้อนเชื้อมาถอดเอาคอขวด และจุกสำลีออก รวบปากถุงรัดยางให้แน่น ใช้มีดคมๆ
กรีดข้างถุงให้เป็นแนวยาวประมาณ 5 – 10 แถว หรือกรีดแบบเฉียงเล็กน้อยยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร
หรือกรีดเป็นกากบาทเป็นจุดเล็กๆ ก็ได้ อาจวางถุงบนช้ันทางแนวนอน แล้วกรีดดา้ นก้นถุงอีกดา้ นหนึ่งหรือจะ
ไมว่ างบนช้นั แตใ่ ชเ้ ชือกรดั ปากถุงใหแ้ น่น แขวนไว้ในแนวตั้งสลับสูงบ้างต่ำบ้าง ระยะห่างของถุงประมาณ 5-7
เซนติเมตร

– การเปลือยถุง แกะเอาถุงพลาสติกออกหมดทั้งก้อน แล้วเอาก้อนเชื้อวางลงใส่ในแบบไม้หรือใน
ตะกร้า รดน้ำ ให้เปียกทั่วทั้งก้อน เวลาเกิดดอกเห็ดจะได้เกิดทุกส่วน คือ ด้านบน และด้านข้างแต่ต้องรักษา

ความช้นื ในโรงเรอื นให้สงู มาก เพราะก้อนเชอ้ื จะสูญเสยี ความชนื้ อยา่ งรวดเร็ว แบบนเี้ กดิ ดอกเหด็ ไดเ้ รว็ เกิดขึ้น
รอบก้อนแตห่ มดไปเร็ว และดอกเหด็ เล็กมาก เพราะแยง่ อาหารกัน

– เพาะแบบแขวนหลักการเดยี วกับการวางก้อนเช้ือในแนวนอนแต่ไมจ่ ำเป็นต้องทำชั้นใดๆ ใช้เชือกไน
ล่อนทำ ขึ้นพิเศษ 4 เส้น ผูกติดกันด้านหัวท้าย ส่วนตรงกลางใส่แผ่นพลาสติกแข็ง เจาะรูร้อยเชือกทั้ง 4 เส้น
ถ่างห่างออกจากกัน เอาก้อนเชื้อวางซ้อนกันได้หลายถุง แขวนห้อยจากคานด้านบน พื้นเรือนเพาะจึงสะอาด
ศตั รเู หด็ มีน้อย การเกบ็ ดแู ลรกั ษาทำ ไดง้ ่าย เปิดใหเ้ กดิ ดอกเห็ดทางหัวหรือท้ายก่อน

ปัจจยั การผลิต และการดูแลรักษา
โดยธรรมชาติในการเจริญเติบโตของเห็ดนางฟ้า นับตั้งแต่เกิดดอก จนกระทั่งพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้

จะใช้เวลาประมาณ 5 – 7 วัน การเกิดดอกเห็ดก็คือ การที่เส้นใยได้มีการเปลี่ยนรูปมาอัดตัวกันสร้างดอกเห็ด
ขน้ึ เม่อื อยู่ในสภาพแวดล้อมเหมาะสมผลผลิตและคุณภาพของดอกเหด็ จะดหี รอื ไม่ ขึน้ อยูก่ ับปจั จยั ตา่ งๆ ดังนี้

1. อณุ หภมู ิ
อณุ หภมู ิทเี่ หมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดนางฟ้า คือ ประมาณ 24- 26 องศาเซลเซียส ดอกเห็ด
จะออกดอกเรว็ มาก อาจกลา่ วได้วา่ เห็ดนางฟ้าข้ึนได้ดใี นหน้าฝนดีพอสมควรในหน้าร้อนดีมากในหนา้ หนาว ไม่
หนาวจัดจนเกินไป ถ้าหนาวจัดก็จะชะงักการเจริญเติบโตและสีซีด ดังนั้น ภาคกลางและภาคใต้ ปลูกได้ทุกฤดู
ตลอดปี ภาคเหนอื และภาคอีสานจะให้ผลดใี นฤดฝู น
2. อากาศ
เห็ดเป็นจุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเวลาเกิดดอกเห็ดจะต้องการออกซิเจน
มาก ท้ังระยะเปน็ ดอกเหด็ และระยะเป็นเสน้ ใย

3. ความช้ืน
จุลินทรยี ท์ ัว่ ๆ ไปชอบความชื้นสงู แต่สำหรับเห็ด เมื่อเทียบกันแล้วก็ทนแล้งได้ดีกวา่ จลุ ินทรียอ์ ื่น การ
เพม่ิ ความชน้ื ในวัตถเุ พาะทำ ไดโ้ ดยการรดนำ้ แต่ตอ้ งระวังมิใหม้ ากเกนิ ไปเพราะจะทำ ให้เสน้ ใยชะงกั การเจริญ
หรอื เปยี กเกินไป ความชนื้ ในอากาศ ทำ ได้โดยการพน่ ละอองนำ้ ในอากาศ
นำ้ ที่ใช้รดควรเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารเคมี และส่ิงสกปรกปนเป้ือน เช่น นำ้ ฝน น้ำ คลอง น้ำ บ่อ
และน้ำ บาดาล น้ำ ที่ใช้รดเห็ดนางฟ้าควรเป็นกลาง ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ที่เหมาะควรเป็นประมาณ 7
ถ้าสามารถ นำ น้ำ ตัวอย่างประมาณ ไปตรวจวิเคราะห์ที่หน่วยงานด้านเกษตร เช่น กรมวิชาการเกษตร กรม
ทีด่ ิน เพื่อขอคา แนะนำ ได้กจ็ ะเปน็ การดียิ่ง
4. แสง
เห็ดทกุ ชนิดไมส่ ามารถปรุงอาหารเองได้ ต้องอาศัยอาหารจากพืชต่างๆ ดังนัน้ แสงจึงไม่มีความจำเป็น
ต่อการเจริญเติบโตของเห็ด โดยเฉพาะในระยะที่เส้นใยกาลังลามทั่วก้อนหากมีแสงสว่างมากจะทำ ให้เส้นใย
เจริญเติบโตช้าลง ฉะนั้นในระยะของการบ่มก้อนเช้ือเพื่อเล้ียงเส้นใย ควรทำในโรงเรือนที่มีแสงสว่างน้อยที่สุด
อย่างไรก็ตามแสงก็มีความจำเป็นในการกระตุ้นให้เส้นใยรวมตัวกันเพื่อให้เกิดดอกเห็ดได้เร็วขึ้น ในระยะเห็ด
ออกดอกหากมีแสงน้อยเกินไปหรือไม่เพียงพอ จะทำ ให้ดอกเห็ดไม่สมบูรณ์ได้ เห็ดนางฟ้าถ้าถูกแสงแดดส่อง
บา้ งกเ็ จริญ เอนเข้าหาแสง ในช่วงน้จี งึ ต้องการแสงปานกลาง แสงท่เี หมาะคือ ขนาดพอทีจ่ ะอ่านหนังสือออกก็
พอ และแสงสีน้ำ เงนิ จะมผี ลตอ่ การออกดอกของเห็ดมากกวา่ สีอ่ืน

5. ความสะอาด
เมอื่ เปดิ ปากถงุ และนำกอ้ นเช้ือไปวางบนชั้นในโรงเพาะแล้ว สง่ิ ที่ตอ้ งเอาใจใส่ระมัดระวงั มากท่สี ุด คือ
ความสะอาด โรงเรือนที่ไม่สะอาดจะเป็นแหล่งสะสมเช้ือโรค ท่ีเป็นผลเสียต่อเห็ดได้ เช่นโรงเรือนที่มีโรค และ
แมลงศตั รูเห็ด แลว้ ระบาดทำ ใหก้ ้อนเช้ือ และดอกเห็ดเสียหายหมดทง้ั โรงเรอื น

การเก็บเกยี่ วและการจดั การหลงั การเกบ็ เกย่ี ว
เมื่อเอาถุงก้อนเชื้อมาเปดิ รดน้ำ และมีการดูแลรักษาที่ถกู ต้องเหมาะสม จะเกิดดอกเห็ดเล็กๆ ภายใน

เวลาประมาณ 2 – 3 สปั ดาห์ ขณะท่ีกำลังเกิดเป็นดอกเห็ดเล็กๆ น้ี หากดแู ลในเร่อื งของความชนื้ ไดด้ ี ดอกเห็ด
ก็จะโตเต็มที่ภายใน 4–5 วัน ส่วนมากจะเก็บได้ ในวันที่ 4 ถ้าทิ้งไว้นานกวา่ น้ัน ดอกเห็ดจะสร้างสปอรอ์ อกมา
เป็นผงสีขาวละเอียด หลุดร่วงหล่นลงด้านล่าง ดอกเห็ดที่สร้างสปอร์ไปแล้วคุณภาพจะด้อยลง คือ เหนียวขึ้น
และรสชาดกจ็ ะขม

ลักษณะของดอกเห็ดที่แก่พอจะเก็บเกี่ยวได้ สังเกตจากก้านของดอกเห็ดจะหยุดการเจริญเติบโต
ทางด้านความยาว หมวกดอกเริ่มคลี่ออกมาประมาณครึ่งหนึ่ง แล้วเริ่มสร้างสปอร์บ้าง ขอบดอกจะหนา และ
รวมตวั เข้าหากนั

เมื่อเจริญโตเต็มที่แล้วขอบดอกจะคลี่ออก และบางลงกว่าเดิม เป็นระยะที่ควรเก็บเกี่ยวได้ ไม่ควร
ปล่อยให้โตไปมากกว่านี้ จนกระทั่งปลายหมวกดอกคลีบ่ านเต็มที่ เพราะระยะนี้ดอกเห็ดจะสร้างสปอร์มากทำ
ให้ความหนาแนน่ ของเนอื้ เห็ดลดลง ท้งั ยังดูดอมนำ้ มากข้นึ จะช้ำง่ายเม่ือนำไปจำหน่าย

การเก็บดอกเห็ดควรเก็บในตอนเช้ามดื ให้ใช้มือดึงที่โคนออกมาเบาๆ ไม่ควรใช้มีดตัด เพราะเศษเห็ด
ที่ติดอยู่กับก้อนเชื้อจะเน่า เกิดเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค เมื่อเก็บดอกเห็ดมาแล้ว จึงใช้มีดหรือกรรไกรตัดเอา
ส่วนโคนที่มีเศษขี้เลื่อยติดมาวางเห็ดคว่ำไว้ในตะกร้าที่สะอาดแต่ละตะกร้าไม่ควรใส่ดอกเห็ดลงไปมากเกินไป
หรอื ไมค่ วรใส่เกิน 5 กิโลกรัม/ตะกร้า เพื่อไม่ให้น้ำ หนัก ของดอกเหด็ กดทับกันจนเสยี หาย

ดอกเห็ดนางฟ้าเก็บรักษาได้ไม่ทนมากนัก ควรจะใช้ทำอาหารให้หมดภายใน 1–2 วัน หลังจากที่ตัด
ออกมา เพราะเหด็ ชนิดน้ีเกบ็ ไม่ทน มกั จะเห่ียวแม้จะแช่ตูเ้ ยน็ ก็ตาม การเกบ็ เห็ด ถา้ เกบ็ ในอุณหภูมหิ อ้ ง คือ ไม่
เข้าตู้เย็น การวางบนใบตองสด เรียงดอกเห็ดบางๆ ก็สามารถเก็บไว้ได้ระยะหนึ่ง ถ้าเก็บในตู้เย็นก็ควรเอาใส่
ถงุ พลาสติกอย่างขุน่ ขย้ีแล้วสเปรย์นำ้ ให้มหี ยดเลก็ ๆ ติดภายในเอาดอกเห็ดใส่ถุงรดั ดว้ ยยางหรือเยบ็ ปากถงุ ไว้

ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าสูตรธรรมดาขนาดน้ำ หนัก 1 กิโลกรัม จะให้ผลผลิตครั้งละ 50–60 กรัม แต่ละ
ก้อนจะให้ผลผลิตประมาณ 4–5 รุ่น แต่ละรุ่นมีช่วงห่างระหว่างการเกิดดอกประมาณ 30–40 วัน ได้น้ำหนัก
รวมกระทั่งหมดอายุ ประมาณ 3–4 ขดี

การดูแล และเก็บเห็ดนางฟ้าจะใช้เวลาประมาณ 2-4 เดือน หรือจนหมดอายุอาหารในก้อนจึงนำรุ่น
ใหม่เขา้ มาเพาะแทน รวมทง้ั ก้อนเชอ้ื บางก้อนที่เน่าเสียไปอย่างรวดเรว็ กวา่ ก้อนอ่ืนๆใหแ้ ยกออกไปแลว้ นำ รุ่น
ใหม่เข้ามาแทนเช่นกัน ก้อนเชื้อที่หมดสภาพหรือหมดอายุแล้ว จะมีน้ำหนักเบา บางก้อนจะเละมีสีดำคล้ำ ถึง
ระยะน้อี าจนำออกมาทั้งหมด จากนัน้ จงึ ล้างโรงเรอื นใหส้ ะอาดกอ่ นนำ ก้อนเชื้อรนุ่ ใหม่เขา้ ไปเพาะต่อไป

ทีม่ า (บญุ สง่ วงศ์เกรียงไกร, 2543)(3)

เอกสารอ้างอิง


Click to View FlipBook Version