The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี (พระนางเรือล่ม) อัครมเหสีใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ฯ พระราชธิดา เสด็จธิวงคตในอุบัติเหตุเรือพระที่นั่ง เรือพระประเทียบ ล่มที่บางพูด อ. ปากเกร็ด จ. นนทบุรี ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระราชวังบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา สาเหตุที่เรือล่มเป็นเพราะนายท้ายเรือพระประเทียบเมาเหล้า ขณะที่แล่นแซงเรือลำอื่นก็ได้เกิดอุบัติเหตุเรือล่ม ทั้ง ๆ ที่พระองค์ทรงว่ายน้ำเป็น แต่ทรงห่วงพระราชธิดา จึงเข้าไปช่วยและสิ้นพระชนม์ไปพร้อมกัน แม้ในบริเวณนั้นจะมีชาวมอญกำลังขุดทรายอยู่ แต่ไม่มีใครกล้าเข้าไปช่วย เพราะเกรงกลัวกฎมณเฑียรบาล ที่ห้ามให้ผู้ใดแตะต้องพระวรกายของพระมเหสี มิฉะนั้นจะถูกประหารทั้งตระกูล ได้มีพิธีถวายพระเพลิงศพเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2423 ในงานนี้มีการแจก หนังสือสวดมนต์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้พิมพ์แจกเพื่อเป็นพระราชกุศล จำนวน 10,000 เล่ม นับเป็นหนังสืองานศพเล่มแรกของไทย นอกจากนั้นรัชกาลที่ 5 ยังทรงได้สร้างอนุสาวรีย์พระนางเรือล่มไว้ที่พระราชวังบางปะอินด้วย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kangsadarn.ta, 2023-05-01 03:59:29

31 พฤษภาคม วันคล้ายวันทิวงคต สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี

31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี (พระนางเรือล่ม) อัครมเหสีใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ฯ พระราชธิดา เสด็จธิวงคตในอุบัติเหตุเรือพระที่นั่ง เรือพระประเทียบ ล่มที่บางพูด อ. ปากเกร็ด จ. นนทบุรี ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระราชวังบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา สาเหตุที่เรือล่มเป็นเพราะนายท้ายเรือพระประเทียบเมาเหล้า ขณะที่แล่นแซงเรือลำอื่นก็ได้เกิดอุบัติเหตุเรือล่ม ทั้ง ๆ ที่พระองค์ทรงว่ายน้ำเป็น แต่ทรงห่วงพระราชธิดา จึงเข้าไปช่วยและสิ้นพระชนม์ไปพร้อมกัน แม้ในบริเวณนั้นจะมีชาวมอญกำลังขุดทรายอยู่ แต่ไม่มีใครกล้าเข้าไปช่วย เพราะเกรงกลัวกฎมณเฑียรบาล ที่ห้ามให้ผู้ใดแตะต้องพระวรกายของพระมเหสี มิฉะนั้นจะถูกประหารทั้งตระกูล ได้มีพิธีถวายพระเพลิงศพเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2423 ในงานนี้มีการแจก หนังสือสวดมนต์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้พิมพ์แจกเพื่อเป็นพระราชกุศล จำนวน 10,000 เล่ม นับเป็นหนังสืองานศพเล่มแรกของไทย นอกจากนั้นรัชกาลที่ 5 ยังทรงได้สร้างอนุสาวรีย์พระนางเรือล่มไว้ที่พระราชวังบางปะอินด้วย

Keywords: 31 พฤษภาคม,วันคล้ายวันทิวงคต,สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี,พระนางเรือล่ม,วัดกู้

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ที่มาแห่งนาม “สวนสุนันทา” สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา กุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี หรือที่ ชาวบ้านเรียกพระนามว่า สมเด็จ พระนางเรือล่ม (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423) มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้า สุนันทากุมารีรัตน์” เป็นพระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา ประสูติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 เป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรกใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนางเธอ พระองค์เจ้าสุนันทา กุมารีรัตน์ทิวงคตด้วยอุบัติเหตุเรือพระ ประเทียบล่ม ณ ตำบลบางพูด อำเภอปาก เกร็ด จังหวัดนนทบุรี พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ โสภางคทัศ นิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารี พระราชธิดา และพระราชบุตรในพระครรภ์ซึ่งยังไม่ทราบว่าเป็นพระราช โอรสหรือพระราชธิดาอีกด้วย ระหว่างการตามเสด็จฯพระบรมราชสวามีแปรพระราชฐานไปประทับยัง พระราชวังบางปะอิน ภายหลังการสิ้นพระชนม์ ทรงได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ดำรงพระฐานันดรศักดิ์พระอัครมเหสีพระองค์ แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นพระมาตุจฉาฝ่ายพระชนนีในสมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร, พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระราชประวัติ พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระนางเจ้า สุนันทากุมารีรัตน์ พระ บรมราชเทวี เป็นพระเจ้า ลูกเธอพระองค์ที่ 50 ใน พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว และ ลำดับที่ 3 ในสมเด็จพระ ปิยมาวดี ศรีพัชรินทร มาตา พระราชสมภพใน พระบรมมหาราชวัง เมื่อ วันเสาร์ เดือน 12 แรม 12 ค่ำ ปีวอก เวลา 5โมง เช้า 40 นาที ซึ่งตรงกับ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 โดยได้รับพระราชทานพระนามจากสมเด็จพระราชบิดาว่า พระเจ้าลูก เธอ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระราชหัตเลขามีดังนี้ "ศุภมัสดุ สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยามผู้บิดา ขอตั้งนามบุตรี หญิงซึ่งประสูติแต่เปี่ยมเป็นมารดา ในวันเสาร์ เดือน 12 แรม 12 ค่ำ ปีวอก โทศก นั้นว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้า สุนันทากุมารีรัตน์" ซึ่งคำว่า “สุนันทา” นั้น เป็นนามของพระมเหสี 1 ใน 4 พระองค์ของพระอินทร์ นอกจากนี้ ยัง ได้รับพระราชทานพรเป็นภาษามคธซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรง พระนิพนธ์แปลเป็นภาษาไทยไว้ว่า“พระองค์เจ้าองค์นี้ ทรงนามว่า “สุนันทากุมารีรัตน์” อย่างนี้ดังนี้ “จงอย่ามีโรค จงมีความสุข ปราศจากความทุกข์และความวุ่นวายเถิด พระองค์เจ้าหญิงนั้นจง มั่งคั่งด้วยทรัพย์มาก มีโภคมาก มียศและบริวารไม่แปรผัน ขอพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ กับทั้งอารักขเทวดา จงช่วยอภิบาลรักษา พระองค์เจ้าหญิงสุนันทากุมารีรัตน์นั้นให้พ้นภัยจาก อันตรายเป็นนิตย์ ขอความสัมฤทธิ์จงมีแก่พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เทอญ” พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 4 ที่มา : https://anowl.co/anowlrod/fromthepast/fromthepast07/


ทรงมีพระเชษฐา พระขนิษฐา และพระอนุชาร่วมพระชนนี 6 พระองค์ ตามลำดับดังนี้ ๑.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย ๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ๓. สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ๔. สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ๕. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ๖.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ในพระราชหัตถเลขา ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีไปถึงพระองค์เจ้าปัทมราชนั้นมีตอน หนึ่งว่า"ปีนี้กระหม่อมฉันมีบุตรชายอีก 2 คน บุตรหญิง 1 บุตรชาย 2 คนนั้น คนหนึ่งชื่อเจริญรุ่งราษี เป็นน้องมารดาเดียวกับชายทองกองทองแถม ออกเมื่อเดือน 4 อีกคนหนึ่งชื่อสวัสดิประวัติ ออกเมื่อ พระราชโอรสและพระราชธิดาในรัชกาลที่ 4 (จากซายไปขวา) พระองคเจาสวางวัฒนา, พระองคเจาสุนันทากุมารีรัตน, พระองคเจาอุไทยวงศ และพระองคเจาอุณากรรณอนันตนรไชย (ภาพจากประชุมภาพประวัติศาสตรแผนดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว) ที่มา : https://www.silpa-mag.com/history/article_37274


เดือน 10 มารดาชื่อหุ่น มิใช่เมขลา เสด็จไม่ทรงรู้จักดอก ด้วยเป็นคนใหม่ หญิงคนหนึ่งนั้นชื่อ สุนันทา กุมารีรัตน์ เป็นน้องมารดาเดียวกับชายอุณากรรณ และชายเทวัญอุทัยวงศ์ ออกเมื่อเดือน 12" พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานทรัพย์สิน และพระบรมราโชวาทให้แก่ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ดังต่อไปนี้…ผู้พระบิดาของพระองค์ เจ้าหญิงสุนันทากุมารีรัตน์ บุตรี จะขอสั่งสอนผู้บุตรไว้ว่า พระองค์เจ้าหญิงสุนันทากุมารีรัตน์เอ๋ย พ่อขอสั่งแก่ตัวเจ้าไว้ ทรัพย์ที่มี หางว่าวผูกติดกับหนังสือนี้ "มีตราของพ่อผูกปิดไว้เป็นสำคัญเท่านี้ พ่อให้แก่เจ้าคนเดียว ตัวเจ้าเมื่อโต ใหญ่ อายุได้ 16 ปีแล้ว จงคิดอ่านเอาเป็นทุนทำมาหากินแลเลี้ยงตัวต่อไป แลใช้สอยตามสมควรเถิด แต่ พ่อขอเสียเป็นอันขาดทีเดียว คิดถึงคำพ่อสั่งให้มากนักหนา" "อย่าเล่นเพื่อนกับใครเลย มีผัวมีเถิด แต่อย่าให้ปอกลอกเอาทรัพย์ของเจ้าไปได้นัก จงรักษาทุน ของพ่อให้ไว้นี้ เป็นเกียรติยศชั่วลูกชั่วหลาน เอาแต่กำไรใช้สอย เจ้าจงอย่าเล่นเบี้ย เล่นโด เล่นหวยเลย เป็นอันขาด แลอย่าทำสุรุ่ยสุร่ายใช้เงินทองง่ายไม่คิดหน้าคิดหลัง จงคิดอ่านทำมาหากิน ตริตรองให้ดี อย่าให้นักเลงคนโกงมักหลอกลวงได้จะเสียทรัพย์ด้วย อายเขาด้วย" "เมื่อสืบไปภายหน้า นานกว่าจะสิ้นอายุตัวเจ้า ตัวเจ้าจะตกเป็นข้าแผ่นดินใดใดเท่าใด ก็จงอุต สาหตั้งใจทำราชการแผ่นดินให้ดี อย่ามีความเกียจคร้านแชเชือนแลเป็นอย่างอื่นๆ บรรดาที่ไม่ควรเจ้า อย่าทำ อย่าประพฤติให้ต้องตำหนิติเตียนตลอดถึงพ่อด้วย ว่าสั่งสอนลูกไม่ดี จงเอาทรัพย์ที่พ่อให้ไว้นี้ เป็นกำลังตั้งเป็นทุน เอากำไรใช้การบุญ แลอุดหนุนตัวทำราชการแผ่นดินเทอญ" "ถ้าทรัพย์เท่านี้พ่อให้ไว้ ไปขัดขวางฤๅร่อยหรอไปด้วยเหตุมีผู้ข่มเหงผิดๆ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เจ้าจงเอาหนังสือคำสั่งของพ่อนี้ กับคำประกาศที่ให้ไว้ด้วยนั้น ให้เจ้านายแลท่านผู้ใหญ่ข้างในข้างหน้าดู ด้วยกันให้หลายแห่งปฤกษาหารือ อ้อนวอนขอความกรุณาเมตตา แลสติปัญญาท่านทั้งปวงให้ อนุเคราะห์โดยสมควรเถิด เล่าความเล่าเหตุที่เป็นอย่างไรนั้น ให้ท่านทั้งปวงฟังโดยจริงๆ พูดจาให้ เรียบร้อยเบาๆ อย่าทำให้ท่านที่เป็นใหญ่ในแผ่นดินขัดเคืองกริ้วกราดชิงชังได้ จงระวังความผิดให้มาก" "อย่างตามใจมารดาแลคนรักมาก ทรัพย์นี้ของพ่อให้เจ้าดอก ไม่ใช่มารดาเจ้าแลคนอื่นเข้าทุน ด้วย จงคิดถึงพ่อคนเดียวให้มาก เจ้าเกิดเมื่อพ่อสูงอายุแล้ว พ่อไม่ประมาทจึงจัดแจงให้ไว้แต่เดิม ถ้าพ่อ ยังมีชีวิตอยู่ อันตรายมีแก่เจ้าก่อน ถ้าอายุถึง 16 ปีแล้วสั่งให้ใคร พ่อจะให้ผู้นั้นถ้ายังไม่ถึงกำหนดฤๅ ไม่ได้สั่ง พ่อขอเอาคืน จะทำบุญให้ทาน ถ้าพ่อมีชีวิตและอำนาจไปนาน ทำมาหาได้ ก็จะเพิ่มเติมให้อีก แล้วจะแก้หางว่าง" พระบรมราโชวาทนี้ พิมพ์ด้วยแผ่นหิน พระราชทานพร้อมกับเงิน 100 ชั่ง


พระนางเธอในรัชกาลที่ 5 ภายหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เจ้าสุนันทา กุมารีรัตน์ซึ่งขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 8 ปี จึง เปลี่ยนพระฐานันดรศักดิ์จาก “พระเจ้าลูกเธอ” เป็น พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าสุนันทา กุมารีรัตน์ และได้ถวายตัวรับราชการเป็นพระ ภรรยาเจ้าเมื่อพระชนมายุประมาณ 15 – 16 พรรษา ในเวลาไล่เลี่ยกับพระองค์เจ้าสุขุมาล มารศรี พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา และพระองค์เจ้า เสาวภาผ่องศรี ทั้งสี่พระองค์ดำรงพระอิสริยยศ เป็นพระนางเธอ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์มีพระสิริโฉม งดงาม พระสติปัญญาฉลาดเฉียบแหลม จึงได้รับ พระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศขึ้น เป็น "พระอัครมเหสี" และยังเป็นที่โปรดปรานสนิท เสน่หายิ่งกว่าพระอัครมเหสีองค์อื่นๆ พระองค์เจ้าสุนันทาฯ ทรงรับราชการรับใช้สนองพระเดชพระคุณ ชิดใกล้เป็นที่สนิทเสน่หาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยิ่งนัก ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตามเสด็จและรับใช้ ใกล้ชิดดั่งเป็นปิยมหาราชินีเสมอ นอกจากทรงมีพระรูปโฉมงดงามแล้ว ก็ยังทรงมีพระสติปัญญาฉลาด ล้ำ ทรงมีพระอัธยาศัยจริงจังเด็ดขาด ปฏิบัติข้อราชการและรับสั่งด้วยความเฉียบคมชัดเจนเสมอเป็นที่ ประจักษ์แก่หมู่ข้าหลวงชาววังทั่วไปซึ่งเล่าขานกันว่าพระอุปนิสัยรับสั่งเฉียบคมนี้ทรงมีตั้งแต่ยังทรงพระ เยาว์แล้ว ทำให้พระองค์เป็นที่นับถือในพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพาร และทรงเป็นที่สนิท เสน่หาในพระราชสวามียิ่งนัก ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2421 พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ประสูติพระราชธิดาพระองค์ แรกของพระองค์ โดยเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 21 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้มีพระตำหนิเด่นชัด คือ มีติ่งที่พระกรรณข้างขวามาแต่แรกประสูติ จึง พระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ โสภางคทัศนิย สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์


ลักษณ์ อรรควรราชกุมารี ในการประสูติพระราชธิดาครั้งนี้ ทรงบันทึกไว้ในจดหมายเหตุพระราชกิจ รายวัน ดังต่อไปนี้ "…เวลา 5 ทุ่ม 11 นาที กับ 25 วินาที พระองค์เจ้าสุนันทาประสูติพระราชบุตรี รกติดอยู่ ประมาณ 15 นาทีจึงออก เราอยู่ที่วังสมเด็จกรมพระ สมเด็จกรมพระกับเราเข้าไป รับสั่งให้เราแขวน กระโจมอย่างคราวก่อน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงนั้น มีติ่งที่ริมพระกรรณข้างขวาหน้าออกมา ตรงพระปราง ติ่งนั้นยาวประมาณ 3 กระเบียดน้อย เมื่อเรากลับออกมากับสมเด็จกระนั้น ฝนตกเวลา 7 ทุ่ม 45 มินิต ถึงบ้าน" และเนื่องในการประสูติคราวนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงบันทึกไว้ในจดหมายเหตุ พระราชกิจรายวันว่า "เราถวายสายนาฬิกาเพชรทรงซื้อราคา 15 ชั่ง พระราชทานพระองค์เจ้าสุนันทาประสูติ กับ รับสั่งให้เติมแหวนที่ทรงซื้อเงินพระคลังข้างที่อีก 2 วง ที่ราคาวงละ 19 ชั่ง รวม 38 ชั่ง ขายเงินงวดตาม ธรรมเนียม" ทิวงคต เมื่อวันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราช โองการให้แต่งเรือพระที่นั่งเพื่อเสด็จ ประพาสพระราชวังบางปะอินพร้อม พระมเหสีทุกพระองค์ เจ้าจอมมารดา เจ้าจอม และข้าราชบริพาร โดยก่อน วันเสด็จพระราชดำเนินนั้น พระองค์ เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ทรงพระสุบิน (ฝัน) ความว่า พระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง กรรณาภรณ์เพชรรัตน์ฯ ทรงพระดำเนินข้ามสะพานแห่งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณา ภรณ์เพชรรัตน์ฯ ทรงพลัดตกน้ำลงไป พระองค์สามารถคว้าพระหัตถ์เอาไว้ได้ แต่พระหัตถ์ของสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอฯ ก็ลื่นหลุดจากพระหัตถ์พระองค์ไป พระองค์ทรงคว้าพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯ จนทรงตกลงไปในน้ำด้วยกันทั้งสองพระองค์ พระองค์ได้เล่าความในพระสุบินให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี และเจ้านายที่ใกล้ชิดฟัง แต่ก็มิได้ทรงกราบบังคมทูลให้พระราชสวามีทรง ทราบ และได้ตามเสด็จฯ ประพาสพระราชวังบางปะอินตามพระราชประสงค์ คุ้งน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณตำบลบางพูด ใกล้กับหน้าวัด เกาะพญาเจ่ง สถานที่เกิดเหตุเรือพระประเทียบล่ม


ในวันเสด็จฯ นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เคลื่อน ขบวนเรือต่าง ๆ ออกไปก่อนในเวลาประมาณ 2 โมงเช้า โดยพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ประทับบนเรือเก๋งกุดันโดยมีเรือปานมารุตซึ่งเป็นเรือ กลไฟจูงเรือพระประเทียบ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสร็จพระราชกิจแล้วจึง ได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยเรือพระที่นั่งโสภาณภควดีตามไป เมื่อขบวนเรือพระที่นั่งไปถึงบางตลาดนั้น จมื่นทิพเสนากับปลัดวังซ้ายลงมากราบทูลว่า “เรือพระที่นั่งพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ซึ่งเรือปาน มารุตจูงไปนั้นล่มที่บางพูด องค์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ แลพระชนนี สิ้นพระชนม์” หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าจึงได้ทรงไล่เลียงกรมหมื่นอดิศรอุดมเดช พระ ยามหามนตรี และผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ โดยพระยามหามนตรีทูลว่า “เรือราชสีห์ซึ่งจูงเรือพระองค์เจ้า สุขุมาลมารศรีนั้นนำหน้าไปทางฝั่งตะวันออก โดยมีเรือโสรวารซึ่งพระยามหามนตรีไปจูงเรือพระองค์ เจ้าเสาวภาผ่องศรีตามไปเป็นที่สองในแนวเดียวกัน ส่วนเรือยอร์ชของกรมหลวงวรศักดาพิศาล ซึ่งจูง เรือกรมพระสุดารัตนราชประยูรไปทางฝั่งตะวันตกแล่นตรงกันกับเรือราชสีห์ หลังจากนั้น เรือปาน มารุตแล่นสวนขึ้นมาช่องกลางห่างเรือโสรวารประมาณ 10 ศอก พอเรือปานมารุตแล่นขึ้นไปใกล้ เรือ ราชสีห์ก็เบนหัวออก เรือพระประเทียบเสียท้ายปัดไปทางตะวันออก ศีรษะเรือไปโดนข้างเรือโสรวารน้ำ เป็นละลอกปะทะกัน กดศีรษะเรือพระประเทียบจมคว่ำลง” อย่างไรก็ตาม กรมหมื่น อดิศรอุดมเดชกล่าวว่า “เป็น เพราะเรือโสรวารหนีตื้นออกมา จึงเป็นเหตุให้เรือปานมารุตแล่น ห่างกว่า 10 ศอก” ซึ่งกรมหมื่น อดิศรอุดมเดชและพระยามหา มนตรีต่างซัดทอดกันไปมา หลังจากนั้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้านายขึ้นไปไล่เลียงคนอื่น ๆ ดู แล้วจึงได้ความว่า พระองค์เจ้า สุนันทากุมารีรัตน์ก็ทิวงคตพร้อม ด้วยพระราชบุตรในพระครรภ์ เรือพระประเทียบที่ล่ม ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดกู้


พระชนม์ 5 เดือนเต็ม ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าทรงเสียพระทัยยิ่งนัก และเนื่องจาก เหตุการณ์นี้ทำให้มหาชนถวายพระนามพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ว่า “สมเด็จพระนางเรือล่ม” เหตุเรือพระประเทียบล่มนี้ ในกาลต่อมากลายเป็นที่เล่าขานกันทั่วไปว่าพระยามหามนตรีได้ ออกคำสั่งห้ามผู้ใดลงไปช่วยเหลือ ด้วยเป็นการขัดต่อกฎมนเทียรบาลที่ห้ามให้ผู้ใดแตะต้องพระวรกาย ของพระมเหสี มิฉะนั้นจะถูกประหารทั้งตระกูล ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด ในความเป็นจริงแม้กฎมนเทียร บาลกรุงศรีอยุธยาจะมีบทบัญญัติกล่าวไว้เช่นนั้น แต่ในสมัยนั้นก็มิได้ยึดถือเป็นข้อปฏิบัติกันแล้ว และ พระยามหามนตรีก็ได้ดำน้ำลงไปพาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯ ออกจากเก๋งเรือที่จม แต่มิทันการจะช่วย รักษาพระชนม์ชีพพระศพของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ฯ ตั้งบำเพ็ญพระราชกุศลที่หอธรรมสังเวชภายในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่วันทิวงคต โดยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทาน พระโกศทองใหญ่ซึ่งเป็นพระโกศ สำหรับทรงพระบรมศพของ พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัครมเหสี และพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ ให้ทรง พระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารี รัตน์ฯ ซึ่งถือเป็นการพระราชทานพระ เกียรติยศแก่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา กุมารีรัตน์ฯ เป็นอย่างยิ่ง หลังจากนั้น ได้มีการจัดการพระราชพิธีพระราชทาน เพลิงพระศพทั้ง 2 พระองค์ขึ้น ณ กลาง ทุ่งพระเมรุ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2424 และพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราช ดำเนินขึ้นพระราชทานเพลิงพระศพ ใน วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2424 ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพใน ครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้จัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์รวมพระสูตร และพระปริตต่าง ๆ สำหรับ พระโกศพระศพ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และ พระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์


พระราชทานแด่อารามต่าง ๆ เพื่อเป็นพระราชกุศลในวันถวายพระเพลิงพระศพ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มี การจัดพิมพ์หนังสือแจกในงานศพ และยังคงเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน (งานออกพระเมรุพระราชทานเพลิง พระศพ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา กุมารีรัตน์ และ พระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์) ของที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์ เพ็ชรรัตน์ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ปราสาท Aglie' (Castello di Aglie') เมืองตูริน ประเทศ อิตาลี ที่มา : http://www.reurnthai.com ตู้สังเค็ดงานพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ พ.ศ.๒๔๒๔ ลักษณะเป็นตู้ไม้ ประดับลวดลายด้วยลายดอกพุดตาน เครือเถา ด้วยวิธีกระแหนะลาย ตัวลายทำด้วยตะกั่ว ลง รักปิดทองล่องเขียว ตรงกลาง มีอักษรพระนาม ส ภาย พระชฎากลีบ มีริบบิ้นจารึกข้อความว่า ในการพระศพ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ แลสมเด็จพระเจ้า ลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ ที่มา : https://culture.ssru.ac.th/news/view/news738


การเฉลิมพระนามาภิไธย การสิ้นพระชนม์ของพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์นั้นทำให้ เกิดปัญหาในการออกพระนามในประกาศทางราชการ เนื่องจากยังไม่มี การสถาปนาฐานันดรศักดิ์แห่งพระมเหสีอย่างเป็นทางการแต่ประการ ใด ดังนั้น จึงมีการออกพระนามเป็นลำดับ ดังนี้ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2423 นั้น กรมหมื่นนเรศรเข้าไปเฝ้ากราบ บังคมทูลด้วยพระนามพระองค์เจ้าสุนันทา ว่า สมเด็จกรมพระฯ (สมเด็จ เจ้าฟ้าฯ กรมพระบำราบปรปักษ์) จะทรงออกตราเกณฑ์ไม้ ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ “สมเด็จพระนางเจ้า อย่างสมเด็จพระนาง โสมนัส” ดังนั้น จึงออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2423 มีรับสั่งให้กรมหมื่นนเรศร ไปทูลสมเด็จกรมพระว่า พระนามนั้นให้ใช้แต่ “สมเด็จพระนางเธอ” เนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้านั้นไว้ใช้สำหรับการแปลเป็นคำอังกฤษว่า ควีน ดังนั้น จึงออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเธอสุนันทากุมารีรัตน์ และใช้ภาษาอังกฤษว่า Princess ส่วนสมเด็จพระนางเจ้านั้นให้ใช้กับคำ ว่า Queen ในภาษาอังกฤษ โดยให้ใช้เป็นสมเด็จพระนางเจ้าตามด้วยชื่อ และต่อท้ายด้วยพระราชเทวี ต่อมาในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2423 ให้เปลี่ยนพระนามเป็นจาก “สมเด็จพระนางเธอ” เป็น "สมเด็จพระนางเจ้า" (Queen) สุนันทากุมารีรัตน์ หลังจากนั้น พระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี พร้อมกับสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี พระราชกรณียกิจ จากเอกสารต่างประเทศได้บันทึกไว้ว่าพระองค์ตรัสภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วฉะฉาน และทรงกล้าเข้าสังคมซึ่งแตกต่างจากบุคลิกลักษณะของฝ่ายในโดยมาก ในสมัยก่อน ทำให้ทรง สามารถแบ่งเบาพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการต้อนรับขับสู้ ชาวต่างประเทศเมื่อทรงออกมหาสมาคม ขณะดำรงตำแหน่ง พระนางเธอ หรือ Queen อย่างสมพระ เกียรติ ดังจะเห็นได้จากบันทึกของนายพลยูลิสซีส เอส. แกรนต์ อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา พระสัญลักษณ์ประจำพระองค์ : พระนามาภิไธยย่อ "ส" ภายใต้มงกุฎ ขัตติยนารี ที่ด้านใต้ของพระราชานุสาว รีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระราชวังบางปะอิน


ที่ได้เดินทางเข้ามาในปี พ.ศ. 2422 มีความว่า "เมื่อข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวนั้น ภรรยาของ ข้าพเจ้าก็ได้รับการต้อนรับและสนทนาวิสาสะอย่างอบอุ่นเป็นกันเองจากพระราชินี" พระราชมรดก หลังจากสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีเสด็จทิวงคต พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดการแบ่งพระราชทรัพย์มรดกของสมเด็จ พระนางเจ้าฯ ในพระบรมโกศ ให้แก่บรรดาพระญาติ (ของพระนางเอง) โดยพระองค์พระราชทานเครื่อง ยศสำหรับผู้หญิงให้แก่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย พระราชธิดาในพระองค์และ พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระราชเทวี (พระยศขณะนั้น) ซึ่งเป็นพระขนิษฐภคินีในสมเด็จพระนางเจ้าฯ ดังนั้นทูลกระหม่อมหญิงพาหุรัดฯ จึงเป็นพระนัดดาอันสนิทในสมเด็จพระนางเจ้าฯ ในพระบรมโกศที่ได้ ทรงเลี้ยงดูกันมา ซึ่งมีรายการดังต่อไปนี้ -เครื่องยศพานหมากทองคำลงยาราชาวดี -ผอบทองคำลงยาราชาวดีปริกประดับเพชร -จอกหมากทองคำลงยาราชาวดี -ซองพลูทองคำลงยาราชาวดี -ตลับขี้ผึ้งรูปผลลิ้นจี่ประดับทับทิมมีสายสร้อยห้อยแขวน-ไม้ควักหูจิ้มฟันประดับเพชรบ้างเล็กน้อย -หีบหมากทองคำลงยาราชาวดี หลังเป็นลายสระบัว มีมงกุฎกษัตรียประดับเพชรพลอยบ้าง -ตลับเครื่องในทองคำลงยาราชาวดี หลังประดับมรกต เพชรสามใบเถา -พานทองคำลงยาราชาวดี สำหรับรองหีบหมาก -ขันครอบทองคำลงยาราชาวดี จอกลอย และพานรอง -ขันล้างหน้าทองคำลงยาราชาวดีพานรอง -กาน้ำร้อยหูหิ้วมีถาดรองทองคำลงยาราชาวดี -กระโถนเล็กทองคำลงยาราชาวดี -โต๊ะเงินสำหรับเครื่องคาวและหวาน


แต่หีบหลังประดับเพชรมีตลับสามใบเถานั้น ทรงมอบให้แก่พระนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภา ผ่องศรี ซึ่งเป็นพระขนิษฐภคินีในสมเด็จพระนางเจ้าฯ ส่วนสิ่งของอื่น ๆ นั้น พระองค์ทรงแบ่งออก พระราชทานให้แก่พระเชษฐา พระขนิษฐา พระอนุชา และพระนัดดาของพระนาง ได้แก่ สมเด็จพระนาง เจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี, พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระราชเทวี, สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย, สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า มหาวชิราวุธ, พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ และพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ ส่วนของที่พระองค์ทรงให้คืน พระคลัง ได้แก่ กล่องจุลจอมเกล้า 1 ใบ และหีบกะไหล่โปร่ง 1 ใบ พระราชานุสรณ์ ถึงแม้จะมิเคยมีหลักฐานที่แน่ชัดว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง สนิทเสน่หาโปรดปรานพระเมเหสี หรือเจ้าจอมผู้ใดเป็นพิเศษ แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นประจักษ์แจ้ แห่งความอาลัยรักต่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ โดยตลอดรัชสมัยของพระองค์ ได้ทรงสร้างสิ่ง ระลึกถึงไว้มากกว่าผู้ใด ซึ่งแต่ละแห่งล้วน เป็นสถานที่แห่งความระลึกถึงของทั้งสอง พระองค์ และถาวรวัตถุอันเป็นประโยชน์ ต่อสาธารณะชน ดังนี้ ๑.สุนันทานุสาวรีย์ณ สุสานหลวง วัดราชบพิธ สถิตมหาสีมาราม เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยม ย่อ มุมไม้สิบสอง แต่ละด้านมีซุ้มเป็นจัตุรมุข ยอด สถูปประดับด้วยโมเสคทอง ประตูทั้งสี่ด้านเป็น ไม้ปิดทองฝังลายกระจกสี ภายในบรรจุพระราช สรีรางคาร สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 พระชนมายุ 20 พรรษา)พระสรีรางคาร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ โสภางคทัศ นิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารี (12 สิงหาคม พ.ศ. 2421 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 พระชันษา 3 ปี) สุนันทานุสาวรีย์ ณ สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม


๒.พระอนุสาวรีย์หินอ่อนสีขาวยอดปรางค์พร้อมคำจารึก ณ สวนสราญรมย์อนุสาวรีย์สมเด็จพระ นางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ในสวนสราญรมย์ เดิมนั้นเป็นพระราชอุทยานของพระราชวังสราญรมย์ พระราชวังที่รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น สำหรับตัวอนุสาวรีย์นั้น สร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๒๖ ณ บริเวณที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ เคยทรงพระสำราญ เมื่อครั้งยังทรงมีพระ ช น ม ์ ช ี พ อ ย ู ่ ตั ว อนุสาวรีย์ทำด้วยหิน อ่อนสีขาว มียอดเป็น ปรางค์เป็นที่บรรจุ พระอัฐิ และมีคำ จารึกแสดงความ ทุกข์โทมนัส ของ พระองค์บนแผ่นหิน อ่อน ไว้ว่า “ระฦกแห่ง สมเด็จพระนางเจ้า สุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี แล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์โสภางค์ทัศนิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารี” อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้น โดย พระราชโองการแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ใน จุลศักราช ๑๒๔๒ (พ.ศ. ๒๔๒๓) ๓.สุนันทานุสาวรีย์เป็นสถูปของพระนางเรือล่ม อยู่ในบริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัด จันทบุรี สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2424) เพื่อเป็นที่ระลึกแก่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารี รัตน์ พระบรมราชเทวี ภายในบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร (เถ้ากระดูก) ของสมเด็จพระนางเจ้าฯด้วย เนื่องจากพระองค์ท่านเคยเสด็จประพาส น้ำตกพลิ้ว เมื่อ พ.ศ. 2417 และทรงโสมนัส ชื่นชม ความงาม ธรรมชาติของน้ำตกพลิ้วยิ่งนัก การที่โปรดให้สร้างอนุสาวรีย์รูปปิรามิด ก็ด้วยทรงพระราชดำริว่า "ทำ เป็นรูปอื่นอาจไม่คงทนถาวร เพราะตั้งอยู่กลางป่าเขาลำเนาไพร อันไม่มีผู้ดูแล ฉะนั้น เมื่อปิรามิดของ อียิปต์ยืนยงคงทนได้ฉันใด ปิรามิดน้อยนี้ก็คงจะยืนยงคงทนอยู่เช่นกัน ณ ท่ามกลางป่าและเสียงไหลริน อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ในสวนสราญรมย์ ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา กุมารีรัตน์ สวนสราญรมย์


ของธารพลิ้ว" ทรงพระราชทานนามว่า "สุนันทานุสาวรีย์" (ปรากฏในพระราชหัตถเลขาฉบับที่ 4 คราว เสด็จประพาสทะเลตะวันออก ปีมะเมีย พ.ศ. 2425) ๔.พระอนุสาวรีย์หินอ่อนยอดหกเหลี่ยมทรงสูงบนฐานรูปสี่เหลียม พร้อมคำจารึก ณ พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ ที่พระราชวังบางปะอิน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา โดยหลังจากที่รัชกาลที่ 5 ได้มีพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชทาน เพลิงพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และพระศพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า กรรณาภรณ์ ก็ได้ทรงโปรดฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์หินอ่อนขึ้น เพื่อเป็นที่รำลึกถึงด้วยความอาลัยรัก พร้อม ทั้งจารึกคำไว้อาลัยที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นด้วยพระองค์เอง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้ที่ อนุสาวรีย์นั้นด้วย โดยมีข้อความดังนี้... “ที่ระลึกถึงความรัก แห่ง สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีอรรคมเหสี อันเสด็จทิวงคตแล้ว ซึ่งเธอเคยมาอยู่ในสวนนี้ โดยความสุขสบาย และเป็นที่เบิกบานใจ พร้อม ด้วยผู้ซึ่งเป็นที่รัก และที่สนิทอย่างยิ่งของเธอ อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้น โดย จุฬาลงกรณ์บรมราช ผู้เป็นสามี อันได้รับความเศร้าโศกเพราะความทุกข์อันแรงกล้าในเวลานั้นแทบจะถึงแก่ชีวิตถึง กระนั้นก็ยังมิได้หักหาย จุลศักราช ๑๒๔๓ (พ.ศ. ๒๔๒๔) อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ ณ น้ำตกพริ้ว จังหวัดจันทบุรี ที่มา : https://www.tnews.co.th/variety/323815


พร้อมทั้งได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดพระราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2426 ซึ่งตรงกับ วันที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เสด็จทิวงคตครบรอบ 3 ปี ๕.พระเจดีย์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดเกาะพญาเจ่ง ณ บางพูด จังหวัดนนทบุรี ในบริเวณไม่ใกล้ไม่ไกลจากวัดเกาะพญาเจ่งแห่งนี้เป็นสถานที่เกิดเหตุเรือพระที่นั่งของสมเด็จ พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์ล่ม ทำให้พระองค์ พร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าในพระครรภ์สิ้นพระชนม์พร้อมด้วยพระพี่เลี้ยง เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 เหตุการณ์ในครั้งนี้ยังความโทมนัสยิ่งมาสู่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึง ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสรณ์สถานของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ ขึ้นริมฝั่งแม่น้ำ เจ้าพระยาด้านทิศเหนือของวัดอนุสรณ์สถานแห่งนี้มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาท ส่วนยอดเป็นเจดีย์ ทรงระฆัง ภายใน ประดิษฐานรูปพระสงฆ์ 4 องค์หันหลังชนกัน ซึ่งทั้ง 4 องค์อยู่ในอิริยาบถที่คล้ายแต่ไม่ เหมือนกัน องค์หนึ่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย องค์หนึ่งขัดสมาธิราบปางสมาธิ องค์หนึ่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยแต่อีกมือถือตาลปัตร และองค์หนึ่งขัดสมาธิเพชรปางสมาธิ ทำไมถึงทำเป็นรูปพระสาวก 4 องค์หันหลังชนกัน ทำไมไม่ทำเป็นพระพุทธรูป 4 องค์หันหลังชนกัน แถมยังทำให้แต่ละองค์มีความ อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ ที่พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มา : https://www.tnews.co.th/variety/323815


แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ มันน่าจะต้องมีเหตุผลเบื้องหลัง ในหนังสือ สมเด็จพระนางเรือล่ม ของ คุณณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2503 ให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจ เลยจะขอยก ข้อความทั้งหมดดังนี้ “ในเจดีย์ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 องค์ก่อด้วยปูน หันพักตร์ไปสู่แม่น้ำทางทิศตะวันตก คงทรง สร้างอุทิศพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ทรงสร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระเศียรมียอดแหลม ทางด้านใต้ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระเศียรยอดแหลม เข้าใจว่าคงสร้างอุทิศสมเด็จพระ เจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ ทางด้านเหนือ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยเหมือน แต่พระเศียรจะทำเป็นยอดแหลมเหมือน องค์ที่กล่าวมาแล้วหรืออย่างไร ดูไม่ถนัดเพราะชำรุด ดูคล้ายจะเป็นเศียรยอดหัวจุก เข้าใจว่าคงทรง อุทิศแด่เจ้าฟ้าในพระครรภ์ “อีกองค์หนึ่งด้านทิศตะวันออกเป็นพระพุทธรูปนั่งสมาธิแบบดังกล่าวมา แต่พระเศียรไม่มียอด แหลม เป็นแบบพระสาวก เข้าใจว่าทรงอุทิศให้ยายพระพี่เลี้ยง (แก้ว) คนเลี้ยงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้า ฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ ดังปรากฏว่าได้ตายด้วยกันในครั้งกระนั้น” พระเจดีย์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดเกาะพญาเจ่ง ณ บางพูด จังหวัดนนทบุรี ที่มา : https://readthecloud.co/wat-ko-phaya-jeng/


นั่นหมายความว่า มีความเป็นไปได้ที่รูปลักษณ์ที่ปรากฏในปัจจุบันกับที่เคยเป็นก่อนการบูรณะ จะแตกต่างกับสภาพที่ปรากฏในปัจจุบัน และความแตกต่างนี้ อาจจะต้องการสร้างเพื่อุทิศให้แก่ผู้ที่ได้ จากไปจากเหตุการณ์นั้นทั้ง 4 ก็ได้ ซึ่งถือว่าน่าสนใจทีเดียว ส่วนใครจะเชื่อ หรือไม่เชื่อ หรือคิดเห็นแบบ ไหน ก็สุดแท้แต่วิจารณญาณ ด้านหน้าเจดีย์องค์นี้ยังมีแผ่นไม้ที่มีคำจารึกพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ความว่า “ลาภยศใดใดไม่พึงปราถน์ นางใดใครปรารถน์พี่ไม่ข้อง นางเดียวนางในหทัยปอง นางน้องแนบในหทัยเรา ตราบขุนคีรีข้น ขนาดสลาย แลแม่ รักบ่หายตราบหาย หกฟ้า สุริจันทร์ขจาย จากโลก ไปฤๅ ไฟแล่นล้าสี่หล้า ห่อนล้างอาลัย” พระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๕ ๖.ศาลพระนางเรือล่ม วัดกู้หรือวัดพระนางเรือล่ม ริมน้ำเจ้าพระยา อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี วัดกู้ นั้นตามข้อสันนิษฐานที่เปลี่ยนชื่อว่า วัดกู้ น่าจะมาจากคำเรียกขานของชาวบ้านในย่านนี้ เพราะว่าในวันที่ 31 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2423 ครั้งนั้นเรือพระที่นั่งสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประภาส ทางชลมารค ณ พระราชวังบางปะอิน เมืองอยุธยากรุงเก่า พอเรือพระที่นั่งถึงหน้าวัดเกาะพญาเจ่ง เกิด เหตุการณ์เรือพระที่นั่งล่มลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์สิ้นพระชนม์ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์โสภางคทัศนิยลักษณ์อรรควร ราชบุรี พระราชธิดาและพระราชบุตรในพระครรภ์ ซึ่งยังไม่ทราบว่าเป็นพระราชบุตรหรือพระธิดา ด้วย เหตุผลนี้น่าจะเปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดกู้หรือวัดพระนางเรือล่ม เพราะว่าได้กู้เรือพระที่นั่งและพระศพ บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัดนี้ก่อนที่จะอัญเชิญพระศพเข้าเมืองหลวงกรุงรัตนโกสินทร์


ซึ่งศาลสมเด็จพระ นางเจ้าสุนันทากุมารี รัตน์ฯ หรือที่ชาวบ้าน เรียกกันว่า "ศาลพระ นางเรือล่ม" ตั้งอยู่ที่ วัดกู้ บริเวณริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบางพูด อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี สร้างขึ้นใน บริเวณที่เชื่อกันว่ากู้ เรือพระประเทียบ ของสมเด็จพระนาง เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ตัวศาลนั้นจำลองแบบจากศาลาจตุรมุขของพระที่นั่งไอศวรรย์ ทิพยอาสน์ที่พระราชวังบางปะอิน ๗.โรงเรียนสุนันทาลัย หรือโรงเรียนราชินีในปัจจุบัน พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างตึกใหญ่ 2 ตึก บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลปากคลองตลาด ตาม แบบสถาปัตยกรรม ตะวันตก ได้แก่ "LOYAL SEMINARY" สุนันทาลัยที่ แม่น้ำ และสุนันทาลัยฝั่งใต้ (ปัจจุบัน ถูกรื้อถอนเพื่อสร้างเป็นห้องประชุมอาคารสว่างวัฒนา) เพื่อใช้เป็น สถานศึกษาสำหรับสตรีและเป็นการอุทิศพระราชกุศลพระราชทานแด่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารี รัตน์ พระบรมราชเทวี ซึ่งพระนางสนพระทัยในด้านการศึกษาเป็นพิเศษ โดยโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระราช ทรัพย์ส่วนพระองค์อันเป็นพระมรดกของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ในการก่อสร้างในปี พ.ศ. ศาลพระนางเรือล่ม วัดกู้ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ที่มา : http://www.asiamorningnews.net/?p=58860


2423 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินวางศิลาก่อฤกษ์อาคารพร้อมทั้ง พระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า "โรงเรียนสุนันทาลัย" และเปิดการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2435 ปัจจุบัน บริเวณโรงเรียนสุนันทาลัยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนราชินี ตึกสุนันทาลัย เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น ทาสีขาว ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบนีโอ คลาสสิก (Neo Classic) ด้านหน้ามีมุขเป็นรูปมงกุฎยื่นออกมา ประดับด้วยลวดลายปูนปั้น ส่วนยอด ประดับด้วยปูนปั้นเป็นรูปตราแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ 5 มีประตูใหญ่ ออกมาสู่มุขที่เป็นเฉลียงรูปโค้ง ซุ้ม ประตูทำเป็นรูปโค้งรองรับด้วยเสาโครินเธียน ประดับด้วยตุ๊กตาปั้นตั้งอยู่ในช่อง ส่วนยอดอาคารมี หลังคาโดม ซึ่งต่อมาสูญหายไป สันนิษฐานว่าถูกรื้อไประหว่างการบูรณะอาคาร ภายหลังจึงได้ จัดสร้างขึ้นใหม่ในปีพ.ศ. 2547 (ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/โรงเรียนราชินี) ๘.สวนสุนันทา พระราชวังดุสิต เป็นเขตพระราชฐานภายใน บริเวณของพระราชวังดุสิต ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ พักผ่อนพระอิริยาบถแทนการเสด็จ ประพาสหัวเมือง พระองค์มีพระ ราชประสงค์ให้สวนนี้มีลักษณะเป็น สวนป่า จึงโปรดเกล้าฯ ให้หาพันธุ์ ไม้ดอกไม้ผลที่ดีและหาได้ยาก นานาชนิดมาปลูกไว้ในสวนแห่งนี้ ด้วย ที่มาของชื่อสวนแห่งนี้มาจาก ชื่อสวนของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ซึ่งมีชื่อว่า "สุนันทา อุทยาน" และพระนามของสมเด็จ พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระ บรมราชเทวี พระมเหสีซึ่งเป็นที่รัก ยิ่งของพระองค์ นอกจากนี้พระองค์ ยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักขึ้นเพื่อเตรียมไว้เป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายใน โดยทรงมีพระราช


ประสงค์เพื่อพระราชทานแก่บรรดาพระมเหสี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และเจ้าจอมสำหรับเป็นที่ประทับ หลังจากพระองค์สวรรคต แต่เนื่องจากพระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อน การสร้างจึงยังไม่แล้วเสร็จตาม พระราชประสงค์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์จึง โปรดให้สร้างต่อจนแล้วเสร็จ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ ได้ทรงพระราชดำริว่า สถานที่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในคับแคบ ไม่เหมาะสมจะเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน จึงโปรดให้สร้างพระตำหนักและตึกในบริเวณสวนสุนันทาขึ้นอีกหลายหลัง แล้วโปรดให้เป็นที่ประทับ ของพระมเหสี เจ้าจอมมารดา เจ้าจอมและพระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระที่นั่งนงคราญสโมสร Nongkran Samosorn Palace” ที่มา : https://www.facebook.com/lovesiamoldbookFanclub/พระที่นั่งสถาปัตย์เวนีเชี่ยนกอธิค


จำนวน 32 ตำหนัก ซึ่งมีพระตำหนักองค์สำคัญๆ 4 หลังได้แก่ พระตำหนักสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรม ราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า พระตำหนักสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี และพระตำหนักพระวิ มาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา แต่ทว่าพระตำหนัก สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงนั้นได้มีการหยุดการก่อสร้างเมื่อมี การก่ออาคารมาถึงฐานอันเนื่องมาจากทรงโปรดที่จะประทับที่พระตำหนักพญาไท จึงได้มีการแก้แบบ และก่อสร้างเป็นท้องพระโรงมีนามว่า พระที่นั่งนงคราญสโมสร ส่วนสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราช เทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เสด็จมา ประทับที่พระตำหนักในช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะเสด็จไปประทับที่วังของพระราชโอรสเป็นการถาวร โดยพระราชทานพระตำหนักเป็นที่ประทับแก่เจ้านายที่อยู่ในความดูแลของพระองค์ จึงทำให้พระวิมาดา เธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เป็นองค์ประธานของสวน สุนันทาจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2472 (ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/ วังสวนสุนันทา/) ตำหนักสายสุทธานพดลในสวนสุนันทาเดิม ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์อาคารสายสุทธานภดล และแหล่งเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรมสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่มา : https://www.facebook.com/257684798101037/posts/เล่าเรื่องสวนสุนันทา ที่มา : https://ssru.ac.th/news-detail.php?id=832


๙.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ระหว่างที่พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราช ปดิวรัดายังทรงพระชนม์อยู่นั้น บรรดาขุนนาง ข้าราชการ ผู้มีบรรดาศักดิ์นิยมนำบุตรี และหลานของตน มาถวายตัวต่อพระวิมาดาเธอ เป็นจำนวนมาก พระวิมาดาเธอ จึงทรงให้สร้าง "โรงเรียนนิภาคาร" ขึ้น ภายในสวนสุนันทา สอนตามหลักสูตรการศึกษาในสมัยนั้น รวมทั้งอบรมจริยา มารยาท การฝีมือ ให้ เป็นกุลสตรี ครั้นถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มี การเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ในสวน สุนันทาหวั่นเกรงภัยจากการเมือง จึงได้ทยอยกันออกไปจากสวน สุนันทาจนหมดสิ้น บางพระองค์ได้ เสด็จออกไปอยู่หัวเมืองและหลาย พระองค์เสด็จลี้ภัยการเมืองไปอยู่ ต่างประเทศ โรงเรียนนิภาคารจึง เลิกดำเนินการไปโดยปริยาย นับแต่นั้นมาสวนสุนันทาที่เคยงดงามก็ถูกทอดทิ้ง ขาดการดูแลเอาใจใส่ ตำหนักต่างๆ ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก พื้นที่ภายในรกร้างว่างเปล่า ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เห็นว่า สวนสุนันทาถูกทอดทิ้งรกร้างอยู่มิได้ ทำประโยชน์ จึงเห็นสมควรให้ นายกรัฐมนตรีได้ใช้ประโยชน์ เป็นที่อยู่ อาศัยของรัฐมนตรีและผู้แทนราษฎร แต่สภาผู้แทนราษฎรขอเพียงพื้นที่ ภายนอกกำแพงติดถนนสามเสนสร้าง เป็นบ้านพักของสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรเท่านั้น คณะรัฐมนตรีจึงลงมติ เห็นสมควรว่า ควรใช้สถานที่นี้ให้เป็น ประโยชน์แก่การศึกษาและมอบให้ กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ดำเนินการจัดตั้งให้เป็นสถานศึกษาของชาติ และ


สถานที่ศึกษานี้ให้ชื่อโดยคงชื่อเดิมของสถานที่ เพื่อเป็นอนุสรณ์ โดยขนานนามว่า "โรงเรียนสวนสุนันทา วิทยาลัย" เริ่มเปิดการศึกษามาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัยจึงได้ ยกฐานะขึ้นเป็น "วิทยาลัยครูสวน สุนันทา" ตามพระราชบัญญัติ วิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ต่อมาเมื่อ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "สถาบัน ราชภัฏ" เป็นชื่อสถาบันการศึกษาในสังกัดกรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งยังได้พระราชทาน ตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ แต่ยังไม่เป็นทางการ เนื่องจากยังไม่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ และเมื่อได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ สถาบันราชภัฏ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูสวนสุนันทาจึงมีชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏ สวนสุนันทา" อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ได้ประกาศใช้ ในราชกิจจานุเบกษา มีผลให้สถาบันราชภัฏสวนสุนันทายกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา)


๑๐.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม ปี พ.ศ. 2558 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนัน ทา ในคราวประชุมวาระพิเศษ ครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ได้มีมติเห็นชอบจัดตั้งศูนย์การศึกษา จังหวัดนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ให้เป็น ส่วนงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีมีชื่อ ภาษาไทยว่า “ศูนย์การศึกษาจังหวัดนครปฐม” ศูนย์ การศึกษาจังหวัดนครปฐม เป็นสถานศึกษาที่มีการให้ การศึกษาเฉพาะด้านทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ด ้ า น ก า ร ศ ึ ก ษ า น า น า ช า ต ิ ด ้ า น ก า ร ภ า พ ย น ต ร์ ศิลปะการแสดง และสื่อใหม่ โดยการจัดการศึกษาในทุก วิทยาลัยนั้นมีการจัดการศึกษาให้เกิดการเรียนรู้โดยใช้สื่อที่ เป็นสากล สำหรับโครงสร้างพื้นฐานศูนย์การศึกษาจังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการคำนึงถึง คุณค่าของความสำคัญทางสภาพแวดล้อมภายในที่ร่มรื่นและสวยงามดังที่ปรากฏในมหาวิทยาลัยราช ภัฏสวนสุนันทา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยตอบสนองต่อประโยชน์ใช้สอยของพื้นที่ในการเป็น สถาบันการศึกษาที่ต้อง รองรับกิจกรรมการศึกษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้นในอนาคต ต่อมาปี พ.ศ. 2563 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา ในคราว ประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 มีมติเห็นชอบให้ยกฐานะ “ศูนย์การศึกษาจังหวัด นครปฐม” เป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม” โดยมีรองอธิการบดีวิทยาเขต นครปฐม เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบ การบริหารงานของวิทยาเขตนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม มีการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วยสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม ที่มา : https://npt.ssru.ac.th/th


และสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ใช้พื้นที่ในการจัดการเรียนการสอน) และ 4 วิทยาลัย ดังนี้ 1.วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน 2.วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ 3.วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ 4.วิทยาลัยการเมืองและการปกครอง


Click to View FlipBook Version