The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

แผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2564รวมปก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by qaudru, 2021-03-24 04:22:29

แผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2564รวมปก

แผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2564รวมปก

ปงี บประมาณ

งานประกันคณุ ภาพการศกึ ษา

งานประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา
มหาวทิ ยาลัยราชภฏั อุดรธานี

แผนปฏบิ ตั กิ าร
งานประกันคณุ ภาพการศึกษา
ประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564

งานประกนั คุณภาพการศึกษา
กองนโยบายและแผน สำนกั งานอธิการบดี

มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั อุดรธานี

คำนำ

การประกนั คณุ ภาพการศกึ ษาต้องมแี นวทางการจดั กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตาม
วงจรคุณภาพ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน (Plan) การดำเนินงานและเก็บข้อมูล (Do) การ
ประเมินคุณภาพ (Check / Study) และการเสนอแนวทางการปรับปรุง (Act) กระบวนการวางแผนการการ
ประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการนำผลการประเมินปีก่อนหน้านี้มาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนโดยต้องเก็บ
ข้อมูลตั้งแต่เดือนมิถุนายน แผนปฏิบัติการงานประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ได้นำเสนอกรอบ ทิศทาง การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติ งานของ
บุคลากร หน่วยงาน ในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา อีกทั้งเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้บริหารใน
การตัดสนิ ใจ วางแผนพฒั นาคณุ ภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยต่อไป

สารบัญ

หน้า
คำนำ
สารบญั
สว่ นที่ 1 ข้อมูลพืน้ ฐาน.............................................................................................................................1

ประวตั ิความเปน็ มา................................................................................................................................... 1
ปรชั ญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ....................................................................................................................... 6
โครงสร้างการบรหิ ารงานงานประกนั คุณภาพการศึกษา ............................................................................ 6
โครงสรา้ งงานประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา.................................................................................................... 7
นโยบายการประกันคุณภาพการศกึ ษา ...................................................................................................... 8
ระบบและกลไกการประกนั คุณภาพการศึกษา......................................................................................... 10
สว่ นที่ 2 แผนการประกันคณุ ภาพการศึกษา ...........................................................................................11
แผนยทุ ธศาสตร์และการเชอื่ มโยง............................................................................................................ 11
แผนปฏบิ ัติการงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ................................................................. 13
แผนปฏิบัตงิ านประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ..................................................................................... 23
ปฏทิ นิ การประกันคุณภาพการศกึ ษา ปีการศึกษา 2563 ......................................................................... 25
ข้นั ตอนการดำเนินงานประเมินคณุ ภาพการศึกษา มหาวทิ ยาลัยราชภัฏอดุ รธานี..................................... 28
สว่ นที่ 3 การนำแผนสู่การปฏบิ ตั ิ............................................................................................................29

ส่วนที่ 1
ข้อมลู พื้นฐาน

ประวตั ิความเป็นมา

ตามที่คณะกรรมการสภาสถาบันราชภัฏได้ประกาศนโยบายและแนวทางประกันคุณภาพการศึกษา
ของสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2539 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 6 มาตรา
47,48,49,50 และ 51 กำหนดให้สถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพ ประกอบด้วยระบบประกันคุณภาพ
ภายในและภายนอก ซึ่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและให้มีผู้รับผิดชอบในการกำหนดแนวทางการ
ดำเนินงานด้านการควบคุม ตรวจสอบและประเมินคุณภาพ ตลอดจนการรายงาน และการเผยแพร่ผลการ
ดำเนินงานส่สู าธารณชนเพ่ือนำไปสกู่ ารพัฒนาคณุ ภาพมาตรฐานและเพ่ือรองรบั การประเมินจากภายนอก

ในปี พ.ศ. 2540-2544 สถาบันให้มีหน่วยงานประกันคุณภาพการศึกษาโดยเป็นส่วนหนึ่งของสำนัก
ส่งเสริมวิชาการโดยมีรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการเป็นประธานและผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการเป็น
เลขานกุ ารและมีคณบดี รองคณบดี และผแู้ ทนของแตล่ ะคณะเป็นกรรมการ

ในปี พ.ศ. 2545 สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษาได้รับการแต่งตั้งเป็นหน่วยงานภายในเพื่อการ
บริหารงานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคล่องตัว มีบุคลากรประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนัก
คณาจารย์จากคณะต่าง ๆ คณะละ 1 คน เป็นกรรมการดำเนินงาน และมีนักวิชาการประกันคุณภาพประจำ
สำนกั งาน 1 คน โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลเร่ืองการประกันคุณภาพการศึกษาต้ังอยู่
ที่ชั้น 3 อาคารเฉลมิ พระเกยี รติ (อาคาร 1) สถาบนั ราชภัฎอุดรธานี

ในปี พ.ศ. 2547 สถาบันราชภัฏอุดรธานี ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ทำให้มีการ
ปรับปรุงหน่วยงานทั้งระบบให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงาน
ประกันคุณภาพการศึกษา ได้ปรับเปลี่ยนเป็นงานประกันคุณภาพการศึกษา สังกัดกองนโยบายและแผน ตาม
มติสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2550 ตั้งแต่ 14 กรกฎาคม 2550 โดยมี ผู้
อำนวยกองนโยบายและแผน เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบและมีบคุ ลากรในการดำเนินงานประกัน ซึ่งเป็นนักวิชาการ
ประกนั คณุ ภาพ จำนวน 1 คน

ในปี พ.ศ. 2548 งานประกันคุณภาพการศึกษาได้มภี าระงานเพิ่มข้ึนโดยมีภารกจิ เรือ่ งการดำเนินงาน
ในส่วนการปฏิบัติงานความคำรับรองการปฏิบัติราชการ (ก.พ.ร.) จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรเพิ่มเติมดังนั้น งาน
ประกันคุณภาพการศึกษา จึงมีนักวิชาการ เพิ่ม 2 คน โดยรับผิดชอบในภารกิจงานประกันคุณภาพการศึกษา
และการปฏิบัติงานตามคำรบั รองการปฏิบตั ิราชการ เป็นตน้ มา

ในปี พ.ศ. 2554 งานประกันคุณภาพการศึกษาได้มีการปรับเปลี่ยน ในเรื่องเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ
และการเชื่อมโยงตัวบ่งชี้ของงาน ก.พ.ร. สกอ. และ สมศ. เพื่อให้เกิดความสอดคล้องในการปฏิบตั ิงาน อีกทั้ง
มหาวิทยาลัยได้ยกเลิกการดำเนินงาน PMQA เพื่อมุ่งเน้นผลงานด้านประกันคุณภาพในมีมาตรฐานทั่วทั้ง
มหาวิทยาลัย

 แผนปฏบิ ัติการงานประกันคณุ ภาพการศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 /// หนา้ 2 

ในปี พ.ศ. 2556 งานประกันคุณภาพการศึกษา ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานให้
เหมาะสมและสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยมีภารกิจในการ
ดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และภายนอก งานปฏิบัติตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ การ
พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีมาตรฐานสูงสุด ภายใต้การกำกับของรองอธิการบดี
(รองศาสตราจารยส์ มชาย ช่ืนวัฒนาประณธิ ิ) เปน็ ต้นมา

ในปี พ.ศ. 2557 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้มีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การประกัน
คุณภาพการศกึ ษาภายใน เป็นรอบทสี่ าม (พ.ศ.2557-2562) มีการประเมินคณุ ภาพการศกึ ษา สามระดบั ได้แก่
ระดับหลักสูตร ระดับคณะ และระดับสถาบัน โดยมีองค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตาม
พันธกิจ 4 ด้านของสถาบันอุดมศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ประกอบด้วย 6
องค์ประกอบได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต องค์ประกอบที่ 3
นักศึกษา องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน และ
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ประกอบด้วย 5
องค์ประกอบได้แก่ องคป์ ระกอบที่ 1 การผลติ บัณฑติ องคป์ ระกอบท่ี 2 การวิจยั องคป์ ระกอบท่ี 3 การบริการ
วิชาการ องคป์ ระกอบที่ 4 การทำนุบำรงุ ศิลปะและวัฒนธรรม และองคป์ ระกอบที่ 5 การบริหารจัดการ การ
ประกนั คณุ ภาพการศกึ ษาภายใน ระดบั สถาบนั ประกอบด้วย 5 องคป์ ระกอบได้แก่ องคป์ ระกอบท่ี 1 การผลิต
บัณฑิต องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุง
ศิลปะและวฒั นธรรม และองค์ประกอบที่ 5 การบรหิ ารจัดการ

การประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2556 เป็นปีแรกที่มีทดลองให้มีการประเมินคุณภาพ
การศกึ ษาระดับสาขาวชิ า เพอื่ เปน็ การเตรยี มการรับการประเมินเกณฑ์รอบสามของสกอ. การประเมนิ คุณภาพ
การศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2556 กำหนดให้มกี ารประเมินระหวา่ งวันที่ 1–3 กรกฎาคม 2557 การประเมิน
คุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ สำนัก สถาบันโดยคณะกรรมการประเมนิ คณุ ภาพการศกึ ษาภายในที่ผ่าน
การอบรมการประเมินคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จากมหาวิทยาลัย
ราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยมหาวิทยาลัยราชภฏั ร้อยเอ็ด และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวม 7
ท่าน และจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 26 ท่าน รวมคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
ทั้งหมด 33ท่าน การประเมินได้กำหนดให้หน่วยงานในมหาวิทยาลัยรับการประเมินทั้งหมด 12 หน่วยงาน
ได้ผลการประเมิน ดังนี้ ระดับคณะ 1. คณะครุศาสตร์ (4.36 อยู่ในระดับ ดี) 2. คณะเทคโนโลยี (4.20 อยู่ใน
ระดับ ดี) 3. คณะวิทยาศาสตร์ (4.32 อยู่ในระดับ ดี) 4. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (4.27 อยู่ใน
ระดับ ดี) 5. คณะวิทยาการจัดการ (4.29 อยู่ในระดับ ดี) ระดับสำนัก สถาบัน 1. สำนักวิชาการศึกษาทั่วไป
(3.05อยใู่ นระดับ พอใช)้ 2. สำนักวิทยบรกิ ารและเทคโนโลยสี ารสนเทศ (4.01อยใู่ นระดับ ดี) 3. สำนักสง่ เสรมิ
วิชาการและงานทะเบียน (3.32อยู่ในระดับ พอใช้) 4. สำนักศิลปะและวัฒนธรรม(4.17อยู่ในระดับ ดี) 5.
สำนกั งานอธิการบดี (4.36 อยู่ในระดบั ด)ี 6. สถาบันวจิ ัยและพัฒนา (4.61อยู่ในระดบั ดีมาก)
7. สำนักงานโครงการบณั ฑิตศกึ ษา (4.20 อยใู่ นระดบั ด)ี

 แผนปฏบิ ตั กิ ารงานประกันคุณภาพการศกึ ษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 /// หนา้ 3 

ในปี พ.ศ. 2558 มีการเปลี่ยนแปลงสำหรับงานประกันคุณภาพการศึกษา 2 ด้านคือ ด้านที่หนึ่งการ
ประกนั คุณภาพการศึกษา ปีการศกึ ษา 2557 นับเป็นปีแรกท่มี หาวทิ ยาลัย ใชร้ ะบบเปิด-ปิดภาคการศึกษาตาม
อาเซียน คือ เปิดการศึกษาวันที่ 1 สิงหาคม และปิดการศึกษาในวันที่ 31 กรกฎาคม ของปีถัดไป ดังนั้นปี
การศึกษา 2557 เปิดการศึกษาในวันท่ี 1 สิงหาคม 2557 และปดิ ภาคการศกึ ษาในวนั ท่ี 31 กรกฎาคม 2558
ด้านที่สองด้านแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ใหม่ เป็นแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ราชภัฏอดุ ร พ.ศ.2558-2562 สง่ ผลใหย้ ุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ของงานประกันคุณภาพการศึกษาเปลี่ยนไป และมี
เพิ่มมาตรการ 2 ข้อ จากเดิมงานประกันคุณภาพการศึกษาดำเนินงานตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1.6 การ
ประกนั คุณภาพการศกึ ษา กลยุทธ์มีจำนวน 7 ข้อ คือ 1) พัฒนาระบบประกนั คุณภาพในระดบั องคก์ รนักศึกษา
2) สรา้ งความเข้าใจและความรว่ มมอื ดา้ นประกนั คณุ ภาพการศึกษา 3) พัฒนาระบบงาน 5 ส ภายใน
มหาวิทยาลัย 4) พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในมหาวิทยาลัย ให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐาน 5) พัฒนา
ระบบสารสนเทศ เพอื่ สนับสนนุ งานดา้ นประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย 6) ส่งเสรมิ การจัดกิจกรรมนักศึกษา
ตามนโยบายของรัฐ “สถานศกึ ษา 3 ดี (3D)” และ 7) พฒั นาอาจารยใ์ หม้ ีองค์ความรู้และทักษะปฏิบัติงานเพื่อ
การพัฒนาสถานศึกษา 3 ดี (3D) เปลี่ยนเป็น ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การบริหารจัดการเพ่ือเพิ่มศักยภาพและ
ประสิทธิภาพในการแข่งขัน กลยุทธ์ที่ 6.3 : พัฒนาระบบการประเมินผลและการประกันคุณภาพการศึกษาสู่
ระบบมาตรฐาน และมี มาตรการ 1 พัฒนาระบบกลไกการบริหารและการดำเนินงานประเมินและประกัน
คณุ ภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และมาตรการ 2 สร้างความตระหนักและให้ความรู้ความเข้าใจด้านการ
ประกนั คุณภาพการศกึ ษาแกน่ กั ศึกษา บุคลากรและศษิ ย์เกา่

ในปี พ.ศ. 2559 ตรงกบั ปกี ารศึกษา 2558 (1 สงิ หาคม 2558 – 31 กรกฎาคม 2559) เปน็ ปกี ารศกึ ษา
ที่สองที่มหาวิทยาลัยประเมินตามเกณฑ์รอบสาม(พ.ศ.2557-2562) ของสำนักงานคณะกรรมการการ
อุดมศึกษา ในปีการศึกษา 2558 มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการประเมินตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
การศึกษา และส่งผลการประเมินในระบบฐานข้อมูลสกอ. (CHE QA Online) ภายใน 120 วัน หลังสิ้นปี
การศึกษา ก็คือภายในเดือนพฤศจิกายน 2559 ซึ่งผลการประเมินคุณภาพการศึกษามีดังนี้ ผลการประเมิน
หลักสูตรจำนวนทั้งสิ้น 72 หลักสูตร ผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐาน จำนวน 43 หลักสูตร ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
จำนวน 29 หลักสูตร ผลการประเมินระดับคณะ 1. คณะวิทยาศาสตร์ (3.96 คะแนน) 2. คณะเทคโนโลยี
(3.87 คะแนน) 3. คณะครุศาสตร์ (2.78 คะแนน) 4. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (2.55 คะแนน) 5.
คณะวิทยาการจัดการ (2.35 คะแนน) และบัณฑิตวิทยาลัย (3.08 คะแนน) ผลการประเมินระดับสถาบัน
คะแนนประเมนิ คณุ ภาพอยูใ่ นระดบั ดี มผี ลคะแนนเท่ากับ 3.73 คะแนน

ในปี พ.ศ. 2560 ตรงกับปีการศึกษา 2559 (1 สิงหาคม 2559 – 31 กรกฎาคม 2560) มีการ
เปล่ียนแปลงผู้บริหารระดับรองอธิการบดีที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา คือ ดร.วิบูล เป็นสุข รอง
อธิการบดี แทนรองศาสตราจารยส์ มชาย ช่นื วฒั นาประณิธิ เนื่องจากหมดวาระการดำรงตำแหน่ง และนบั เป็น
ปีการศึกษาที่สามที่มหาวิทยาลัยประเมินตามเกณฑ์รอบสาม(พ.ศ.2557-2562) ของสำนักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา ในปีการศึกษา 2559 มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการประเมินตามระบบและกลไกการประกัน
คณุ ภาพการศึกษา และส่งผลการประเมินในระบบฐานขอ้ มูลสกอ. (CHE QA Online) ภายใน 120 วนั หลงั ส้ิน

 แผนปฏิบัติการงานประกันคณุ ภาพการศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 /// หน้า 4 

ปีการศึกษา ก็คือภายในเดือนพฤศจิกายน 2560 ซึ่งผลการประเมินคุณภาพการศึกษามีดังนี้ ผลการประเมิน
หลักสูตรจำนวนทั้งสิ้น 82 หลักสูตร ผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐาน จำนวน 76 หลักสูตร ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
จำนวน 6 หลักสูตร ผลการประเมินระดบั คณะ 1. คณะเทคโนโลยี (4.57 คะแนน) 2. คณะวทิ ยาศาสตร์ (4.23
คะแนน) 3. คณะครุศาสตร์ (4.18 คะแนน) 4. คณะวิทยาการจัดการ (3.92 คะแนน) และ 5. คณะ
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (3.82 คะแนน) ผลการประเมินระดับสถาบัน คะแนนประเมินคุณภาพอยู่ใน
ระดับดี มผี ลคะแนนเทา่ กับ 4.43 คะแนน

ในปี พ.ศ. 2561 ตรงกับปีการศึกษา 2560 (1 สิงหาคม 2560 – 31 กรกฎาคม 2561) มีการ
เปล่ยี นแปลงผู้บริหารระดบั รองอธิการบดที ่รี บั ผิดชอบงานประกันคณุ ภาพการศึกษา จาก ดร.วบิ ลู เป็นสุข รอง
อธกิ ารบดี เปน็ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาตชิ าย ม่วงปฐม เน่อื งจาก ดร.วิบลู เปน็ สุข รองอธกิ าร พ้นวาระการ
ดำรงตำแหน่งรองอธิการ ปีการศึกษา 2560 มหาวิทยาลัยดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์
รอบสาม (พ.ศ.2557-2562) ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำเนินการการประกันคุณภาพ
การศึกษาตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา และส่งผลการประเมินในระบบฐานข้อมูลสกอ.
(CHE QA Online) ภายใน 120 วัน หลังสิ้นปีการศึกษา ก็คือภายในเดือนพฤศจิกายน 2560 ซึ่งผลการ
ประเมินคุณภาพการศกึ ษามีดังน้ี ผลการประเมินหลักสูตรจำนวนทัง้ สิ้น 81 หลักสูตร ผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐาน
จำนวน 78 หลักสูตร ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 3 หลักสูตร ผลการประเมินระดับคณะ 1. คณะ
วิทยาศาสตร์ (4.44 คะแนน) 2. คณะเทคโนโลยี (4.35 คะแนน) 3. คณะครุศาสตร์ (4.35 คะแนน) 4. คณะ
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (4.05 คะแนน) และ 5. คณะวิทยาการจัดการ (4.02 คะแนน) ผลการประเมนิ
ระดับสถาบัน ผลประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ ผลการดำเนินระดับดมี าก จำนวน 3 องค์ประกอบ
ไดแ้ ก่ องคป์ ระกอบคะแนนประเมนิ คณุ ภาพอยู่ในระดับดี มีผลคะแนนเทา่ กับ 4.34 คะแนน

ปี พ.ศ.2562 ตรงกับปีการศึกษา 2561 (1 สิงหาคม 2561 – 31 กรกฎาคม 2562) มีผู้ช่วย
ศาสตราจารย์ ดร. ชาติชาย ม่วงปฐม รองอธิการบดี เป็นผู้บริหารที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา
มหาวิทยาลัยดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์รอบสาม (พ.ศ.2557-2562) ของสำนักงาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษาตามระบบและกลไกการประกัน
คณุ ภาพการศกึ ษา และส่งผลการประเมินในระบบฐานข้อมลู สกอ. (CHE QA Online) ภายใน 120 วนั หลังส้ิน
ปีการศึกษา ก็คือภายในเดือนพฤศจิกายน 2561 ซึ่งผลการประเมินคุณภาพการศึกษามีดังนี้ ผลการประเมิน
หลักสูตรจำนวนทั้งสิ้น 82 หลักสูตร ผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐาน จำนวน 80 หลักสูตร ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
จำนวน 2 หลักสูตร คอื หลกั สตู รบริหารธรุ กิจบัณฑิต สาขาวชิ าการจัดการท่องเที่ยว และหลักสูตรวิทยาศาสตร
บัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ผลการประเมินระดับคณะ 1. คณะ
เทคโนโลยี (4.49 คะแนน) 2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (4.35 คะแนน) 3. คณะครุศาสตร์ (4.27
คะแนน) 4. คณะวิทยาการจัดการ (4.06 คะแนน) และ 5. คณะวิทยาศาสตร์ (4.06 คะแนน) ผลการประเมิน
ระดับสถาบัน ผลประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ ผลการดำเนินระดับดี มีผลคะแนนเท่ากับ 4.31
คะแนน

 แผนปฏบิ ตั กิ ารงานประกันคณุ ภาพการศกึ ษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 /// หน้า 5 

ปี พ.ศ.2563 ตรงกบั ปีการศึกษา 2562 (1 มถิ นุ ายน 2562 - 31 พฤษภาคม 2563) มกี ารปรับเปลี่ยน
และเพิ่มเติมดังนี้ 1) ปรับรอบระยะเวลาปีการศึกษา จากเดิมปีการศึกษาเริ่มวันที่ 1 สิงหาคม สิ้นสุดวันที่ 31
กรกฎาคม นับปี พ.ศ.ที่เริ่มต้นเป็นปีการศึกษา เป็นเริ่มวันที่ 1 มิถุนายน สิ้นสุด 31 พฤษภาคม นับปี พ.ศ.ที่
เริ่มต้นเป็นปีการศึกษา 2) ผู้บริหารรับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีผู้ช่วย
ศาสตราจารย์ ดร. ชาติชาย ม่วงปฐม รองอธิการบดี เพียงท่านเดียว เพิ่ม ดร.วิบูล เป็นสุข และรอง
ศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย พิลาไชย รองอธิการบดี รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา โดยแบ่งความ
รับผิดชอบดังนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาติชาย ม่วงปฐม และดร.วิบูล เป็นสุข รับผิดชอบการประกัน
คุณภาพการศึกษาระดับคณะและระดับสถาบัน รองศาสตราจารย์ ดร.ฤทธิชัย พิลาไชย รับผดิ ชอบงานประกัน
คุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร และ 3) ประเมินระดับคณะมีเพิ่ม 1 คณะ คือคณะพยาบาลศาสตร์ ในการ
ประเมินคุณภาพการศึกษาปีการศึกษา 2562 ครั้งแรกมหาวิทยาลัยได้กำหนดให้มีประเมินระดับหลักสูตร
ระหว่างวันที่ 1-20 พฤษภาคม 2563 หน่วยงานระดับคณะประเมินระหว่างวันที่ 8-12 มิถุนายน 2563 และ
ระดบั สถาบันประเมินระหว่างวนั ท่ี 3-4 กันยายน 2563 แต่เน่ืองจากสถานการณ์การระบาดโรคตดิ เชือ้ ไวรัสโค
โรนา 2019 (COVID – 19) มหาวิทยาลัยได้ตระหนักและดำเนินการตามมาตรการป้องกันตามนโยบายของ
รัฐบาลและจังหวัดอย่างเคร่งครัด จึงได้เปลี่ยนแปลงกำหนดการประเมินเป็นระดับหลักสูตรประเมินระหว่าง
วันที่ 1-31 กรกฎาคม 2563 หน่วยงานระดับคณะประเมินระหว่างวันที่ 24-31 กันยายน 2563 และระดับ
สถาบันประเมนิ ระหว่างวันที่ 24-25 กันยายน 2563 มีหลักสูตรที่รบั การประเมิน จำนวน 93 หลักสูตร ระดับ
ปริญญาตรี 75 หลักสูตร ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู 1 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 14 หลักสูตร
และระดับปริญญาเอก 3 หลักสูตร มีหลักสูตรที่ผ่านการประเมิน จำนวน 89 หลักสูตร คือ ระดับปริญญาตรี
จำนวน 72 หลักสตู ร ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวชิ าชีพครู 1 หลกั สูตร ระดับปริญญาโท 13 หลักสูตร และ
ระดบั ปรญิ ญาเอก 3 หลักสตู ร หลักสูตรท่ไี มผ่ า่ นการประเมิน จำนวน 4 หลักสูตร คือ 1) หลกั สูตรวิทยาศาสตร
บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนกิ ส์ 2) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยเี ครื่องกล 3)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเวียดนามเพื่อธุรกิจการท่องเที่ยว และ 4) หลักสูตรครุศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา เหตุผลที่ไม่ผ่านการประเมิน เนื่องจากคุณสมบัติอาจารย์ประจำ
หลักสูตร ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2548 ผลประเมินระดับคณะมีผลการประเมิน ดังนี้ 1)
คณะครุศาสตร์ มีผลการดำเนินงานระดับดี โดยมีคะแนน 4.40 2) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีผล
การดำเนนิ งานระดับดี โดยมคี ะแนน 4.08 3) คณะวทิ ยาการจัดการ มผี ลการดำเนินงานระดับดี โดยมีคะแนน
4.18 4) คณะวิทยาศาสตร์ มีผลการดำเนินงานระดับดี โดยมีคะแนน 4.21 6) คณะเทคโนโลยี มีผลการ
ดำเนินงานระดับดีมาก โดยมีคะแนน 4.46 และ 6) คณะพยาบาลศาสตร์ มีผลการดำเนินงานระดับดี โดยมี
คะแนน 3.94 ผลการประเมินระดับสถาบัน ผลประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ ผลการดำเนินระดบั
ดี มีผลคะแนนเท่ากบั 4.38 คะแนน

 แผนปฏิบัตกิ ารงานประกนั คุณภาพการศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 /// หนา้ 6 

ปรัชญา วิสยั ทัศน์ พนั ธกจิ
ปรชั ญา

ประกนั คุณภาพการศึกษาเพื่อพฒั นานำพาองคก์ รสูค่ วามเป็นเลิศ
วิสัยทัศน์

ระบบและกลไกขับเคล่ือนการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา สูม่ าตรฐานคณุ ภาพการศึกษาทวั่ ท้งั องค์กร
พันธกจิ

1. พัฒนาระบบและกลไกการประกนั คุณภาพการศึกษาอยา่ งตอ่ เน่ือง
2. พฒั นามาตรฐานและตวั บ่งชี้การประกนั คณุ ภาพการศึกษา
3. ดำเนนิ การตามระบบและกลไกการประกนั คณุ ภาพการศึกษาในทุกระดับ
4. ใหม้ กี ารประเมินคุณภาพการศกึ ษาทกุ ระดับ

โครงสร้างการบริหารงานงานประกนั คุณภาพการศกึ ษา

มหาวิทยาลัย

สำนักงานอธกิ ารบดี

กองนโยบายและแผน

งานประกันคุณภาพการศกึ ษา

งานบริหารท่ัวไป งานประกันคณุ ภาพการศึกษา งานพัฒนาระบบและกลไก งานระบบสารสนเทศและ
ประกนั คุณภาพการศึกษา ประชาสัมพันธ์

 แผนปฏิบัตกิ ารงานประกันคุณภาพการศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 /// หนา้ 7 

โครงสร้างงานประกนั คณุ ภาพการศึกษา

งานประกันคณุ ภาพ
การศกึ ษา

งานบรหิ ารทว่ั ไป งานประกนั คุณภาพ งานพัฒนาระบบและกลไก งานระบบฐานขอ้ มูล
การศกึ ษา การประกนั คุณภาพ สารสนเทศและ
- งานธรุ การ/งานสารบรรณ การศึกษา ประชาสัมพนั ธ์
- งานการเงนิ พัสดุ ครุภณั ฑ์
- งานประสานงานและ - งานควบคุม ตดิ ตาม ตรวจสอบ - งานพฒั นาระบบและกลไกการ - งานระบบฐานขอ้ มูลการประกัน
บริการ ประเมินคณุ ภาพการประกัน ประกันคณุ ภาพการศกึ ษา คณุ ภาพการศึกษา
- งานจดั การประชมุ คณุ ภาพการศึกษาภายใน - งานพฒั นามาตรฐาน ตวั บ่งชี้ - งานขอ้ มลู สารสนเทศดา้ นการประกนั
- งานควบคมุ ตดิ ตาม ตรวจสอบ เกณฑ์ การประกนั คณุ ภาพ คณุ ภาพการศึกษา
ประเมินคุณภาพการศกึ ษา การศึกษา - งานเผยแพร่ประชาสมั พนั ธก์ ารประกนั
ภายนอก - งานจดั ทาคมู่ ือการประกนั คณุ ภาพการศึกษา
- งานควบคมุ ตดิ ตาม ตรวจสอบ คุณภาพการศึกษา
รายงานผลการดาเนนิ งานตาม - งานส่งเสริมและพัฒนา บคุ ลากร
คารับรองการปฏิบัตริ าชการ และนกั ศึกษาด้านการประกนั
- งานเตรยี มการประเมนิ คณุ ภาพ คณุ ภาพการศกึ ษา
การศึกษาภายในและภายนอก - จัดทาแผนการประกันคุณภาพ
- งานประสาน รวบรวม เอกสาร การศกึ ษา
หลกั ฐานการประเมนิ คณุ ภาพ
การศึกษาภายในและภายนอก
-งานจัดทารายงานผลการ
ประเมินคุณภาพการศึกษา

 แผนปฏบิ ตั กิ ารงานประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 /// หน้า 8 

นโยบายการประกนั คุณภาพการศึกษา

เพื่อให้การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นไปตาม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 หมวด 6 มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา 47-51 และสอดคล้องกับ
กฎกระทรวงว่าด้วย ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏ
อุดรธานี จึงเห็นสมควรกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษาของ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
อุดรธานี ดงั ต่อไปน้ี

นโยบายข้อท่ี 1 จัดใหม้ ีการประกนั คุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานปกติ มงุ่ สู่
วัฒนธรรมคณุ ภาพ

นโยบายข้อที่ 2 พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศกึ ษา พัฒนามาตรฐานตวั บง่ ชี้ อย่าง
ต่อเนือ่ ง มุ่งสู่ความเปน็ เลศิ คู่คณุ ธรรม

นโยบายขอ้ ท่ี 3 จัด ให้บุคลากรภายในมหาวทิ ยาลยั และผ้มู ีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการประกนั
คณุ ภาพการศึกษา

นโยบายขอ้ ที่ 4 สร้างและพัฒนาเครือข่ายการประกันคณุ ภาพการศึกษาทุกระดบั ท้ังภายในและ
ภายนอกมหาวทิ ยาลัย

นโยบายขอ้ ที่ 5 พฒั นา ควบคมุ ตดิ ตาม และประเมินผล ทกุ ระดับ และนำผลประเมินมาปรบั ปรุง
เปน็ รปู ธรรมชดั เจน

นโยบายข้อท่ี 6 พฒั นาระบบสารสนเทศ ฐานขอ้ มลู การประกันคุณภาพการศึกษาอย่างครอบคลมุ ทุก
องค์ประกอบและทกุ ระดบั

นโยบายขอ้ ท่ี 7 เผยแพร่ขอ้ มลู สารสนเทศและผลการดำเนินงานประกนั คณุ ภาพการศึกษาต่อ
สาธารณชนภายในและภายนอก

แนวทางปฏบิ ตั กิ ารประกันคุณภาพการศึกษา
เพอื่ ให้การปฏบิ ัติงานประสบความสำเร็จตามนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภฏั อุดรธานี มหาวิทยาลัย

ได้กำหนดแนวปฏิบตั กิ ารประกันคณุ ภาพการศึกษา ดงั น้ี
1) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกระดับดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาทุกกระบวนการทำงานท่ี

ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
2) ส่งเสรมิ และสนับสนนุ ให้บุคลากรในหน่วยงานมีความรู้ ความเข้าใจในระบบและกลไกการประกัน

คณุ ภาพการศึกษาตามมาตรฐาน
3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรภายในและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการ

ประกันคณุ ภาพทุกกระบวนการ

 แผนปฏิบตั ิการงานประกันคณุ ภาพการศกึ ษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 /// หน้า 9 

4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้การสร้างและพัฒนาเครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษา และจัดให้มี
เวทีในการแลกเปล่ยี นเรียนรรู้ ะหวา่ งเครอื ขา่ ย

5) สง่ เสรมิ และสนบั สนุนใหน้ ำผลการพัฒนา ควบคมุ ตดิ ตามและประเมินผล สู่การปรับปรุงอย่างเป็น
รูปธรรมและชดั เจน

6) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศ และฐานข้อมูล การประกันคุณภาพ
การศึกษาอย่างครอบคลุม และจดั ทำสารสนเทศเผยแพร่ตอ่ สาธารณชนท้ังภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

7) สนับสนุนงบประมาณให้ทุกหน่วยงาน สามารถดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อเพิ่ม
ประสิทธภิ าพและประสิทธิผลในการบรหิ ารและจดั การ

 แผนปฏิบัตกิ ารงานประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 /// หนา้ 10 

ระบบและกลไกการประกนั คุณภาพการศกึ ษา

การเตรยี มการ การดำเนินการ การรายงาน

1. เตรยี มความพรอ้ มของบคุ ลากร 1. วางแผนการปฏบิ ัติงาน (P) รวบรวมรายงานประเมินตนเอง
สร้างความตระหนัก นโยบายการประกันคณุ ภาพฯ สังเคราะห์รายงานประเมนิ
พัฒนาความร้แู ละทกั ษะ แผนปฏบิ ตั ริ าชการ ตนเอง
2. แตง่ ตง้ั กรรมการที่รบั ผิดชอบ กำหนดตวั บง่ ชีแ้ ละเป้าหมาย จดั ทำรายงานประเมินตนเอง
กำหนดการประเมิน รายงานตนเองในระบบ CHE QA
กำหนดแนวทางการดำเนินงาน
กำหนดระยะเวลา
กำหนดงบประมาณ
กำหนดผรู้ ับผดิ ชอบ

2. ดำเนนิ การตามแผน (D)

ส่งเสริม สนับสนนุ
กำกับ ตดิ ตาม
จัดส่งิ อำนวยความสะดวก

สนับสนนุ ทรัพยากร

ใหค้ วามรู้ คำแนะนำ

3. ตรวจสอบประเมินผล (C)
ติดตาม/ตรวจสอบ
วิเคราะห์ขอ้ มูล
วางกรอบแนวทางการประเมนิ
การประเมนิ

4. นำผลการประเมนิ มาปรบั ปรุงงาน (A)
ปรับปรุงการปฏบิ ตั ิงาน
วางแผน
จดั ทำขอ้ มูลสารสนเทศ

สว่ นท่ี 2
แผนการประกนั คุณภาพการศกึ ษา

แผนยทุ ธศาสตร์และการเช่ือมโยง

แผนยุทธศาสตรม์ หาวิทยาลัยราชภัฏอดุ รธานี พ.ศ. 2562-2566 มียุทธศาสตร์ทีใ่ ช้ขบั เคล่ือนการ
ดำเนนิ งานเพ่ือใหบ้ รรลุวัตถุประสงคต์ ามเปา้ หมายทีก่ ำหนดจำนวน 4 ยุทธศาสตร์ ประกอบดว้ ย

ยุทธศาสตร์ท่ี 1 : การพฒั นาท้องถ่ิน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ผลติ และพัฒนาครู
ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 3 : การยกระดับคณุ ภาพการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การพฒั นาระบบการบริหารจดั การ

งานประกันคุณภาพการศึกษานำแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเป็นกรอบในการดำเนินงานประกัน
คุณภาพการศึกษา สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ กลยุทธ์ปรับปรุงพัฒนา
ระบบบริหารจัดการโดยเฉพาะฐานข้อมูลงบประมาณและบุคลากรให้ทันสมัย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพโปร่งใส
และมีธรรมาภิบาล เชื่อมโยงยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย กลยุทธ์ สู่โครงการงานประกันคุณภาพการศึกษา แสดง
เป็นแผนภาพได้ดังนี้

 แผนปฏิบตั ิการงานประกนั คุณภาพการศึกษา ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 /// หนา้ 12 

ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ปรัชญา ผู้นำทางปัญญา พัฒนาคน พฒั นาชาติ

วสิ ัยทัศน์ มหาวทิ ยาลัยราชภฏั อดุ รธานี เปน็ ศนู ยก์ ลางการศึกษาและวจิ ยั ผลิตจิตอาสา พฒั นาท้องถ่ิน

ยุทธศาสตร์ ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 1 : ยุทธศาสตรท์ ่ี 2 : ยุทธศาสตรท์ ่ี 3 : ยทุ ธศาสตรท์ ่ี 4 :
การพฒั นา ผลติ และพัฒนา การยกระดับ การพฒั นาระบบ
ทอ้ งถิน่ ครู คณุ ภาพ การบริหาร
การศึกษา จดั การ

กลยุทธ์ กลยุทธ์ :ปรับปรงุ
โครงการ
พัฒนาระบบบริหาร
จัดการโดยเฉพาะ
ฐานข้อมูล
งบประมาณและ
บุคลากรใหท้ นั สมัย
รวดเร็ว มี
ประสิทธภิ าพ
โปร่งใส และมีธรร
มาภิบาล

โครงการส่งเสรมิ การดำเนินงานประกนั คณุ ภาพการศึกษา
โครงการประเมินคุณภาพการศกึ ษา
โครงการสนบั สนุนและพัฒนาการประกนั คณุ ภาพการศึกษา

 แผนปฏบิ ัติการงานประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 /// หนา้ 13 

แผนปฏิบตั ิการงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งานประกันคุณภาพการศึกษา ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน
800,000 บาท งานประกันคุณภาพการศึกษานำงบประมาณที่ได้รับจัดสรรดำเนินโครงการเพื่อสนอง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ของมหาวทิ ยาลยั รายละเอียด ดงั นี้

โครงการ/รายการ งบประมาณ รวม
แผ่นดิน เงินรายได้

แผนงาน : แผนงานพน้ื ฐานด้านการพฒั นาและเสรมิ สรา้ ง
ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
ผลผลติ : ผู้สำเร็จการศึกษาด้านสงั คมศาสตร์

ยทุ ธศาสตรท์ ี่ 4 : การพัฒนาระบบบรหิ ารจัดการ

กลุยทุ ธ์ท่ี 4 : ปรับปรงุ พัฒนาระบบบรหิ ารจัดการโดยเฉพาะ 100,000 100,000 200,000
ฐานขอ้ มูลงบประมาณและบุคลากรให้ทนั สมยั รวดเรว็ มี
ประสทิ ธภิ าพ โปร่งใส และมธี รรมาภิบาล - 300,000 300,000
200,000 100,000 300,000
1) โครงการส่งเสริมการดำเนินงานประกนั คณุ ภาพ
การศกึ ษา 300,000 500,000 800,000

2) โครงการประเมินคุณภาพการศกึ ษา
3) โครงการสนับสนุนและพัฒนาการประกันคุณภาพ
การศึกษา

รวมทั้งสน้ิ

 แผนปฏบิ ตั กิ ารงานประกันคุณภาพการศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 /// หน้า 14 

โครงการท่ี 1 สง่ เสริมการดำเนนิ งานประกนั คุณภาพการศึกษา

หลกั การและเหตุผล
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 48 ให้

หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกัน
คุณภาพภายในเปน็ ส่วนหน่ึงของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนนิ การอยา่ งตอ่ เนื่อง โดยมีการจัดทำ
รายงานประจำปเี สนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เก่ียวขอ้ งและเปดิ เผยตอ่ สาธารณชน เพื่อนำไปสูก่ าร
พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพ่ือรองรบั การประกนั คณุ ภาพภายนอก

การประกันคุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561
หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาแต่
ละระดับและประเภทการศกึ ษา โดยมีกลไกในการควบคุมตรวจสอบระบบบริหารคณุ ภาพที่สถานศึกษาจัดขนึ้
เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนว่าสถานศึกษานั้ นสามารถ
จัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และบรรลุเป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัดหรือ
หนว่ ยงานทีก่ ำกับดูแล

มหาวทิ ยาลยั ไดด้ ำเนินงานการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา และไดใ้ หค้ วามสำคัญกบั การประกันคุณภาพ
การศึกษาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2545 และกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 เพื่อให้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็น
กระบวนการทจ่ี ะผลิตบณั ฑติ ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา สรา้ งความเช่อื ม่นั ใหแ้ ก่ใชบ้ ัณฑติ และจดั ให้
มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร รายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษาให้กับบุคลากรหน่วยงานภายใน
มหาวิทยาลัย หน่วยงานภายนอก และสาธารณชนได้รบั รู้

เพื่อให้การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาบรรลุเป้าหมาย บรรลุวัตถุประสงค์ และ
ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานประกันคุณภาพการศึกษาจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการในการ
ดำเนินงานตามกรอบทิศทางและตัวบ่งชี้ที่กำหนดตามเกณฑม์ าตรฐานเพื่อใหบ้ รรลคุ วามสำเร็จการดำเนินงาน
อย่างตอ่ เนอ่ื ง
วตั ถปุ ระสงค์

1) เพื่อการดำเนินงานการประกนั คุณภาพการศึกษาใหม้ ีบรรลเุ ป้าหมาย บรรลวุ ัตถปุ ระสงค์ และ
ดำเนนิ งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2) เพื่อบรหิ าร จัดการ การดำเนนิ งานของงานประกนั คุณภาพการศึกษา

 แผนปฏิบตั ิการงานประกนั คุณภาพการศึกษา ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 /// หน้า 15 

ตวั ชี้วดั หนว่ ยนบั เปา้ หมาย
ตัวช้ีวัด
คร้ัง 17
เชงิ ปริมาณ ครัง้ 17
- จำนวนการประชมุ การดำเนินงานประกนั คุณภาพการศกึ ษา คร้งั 2
- จำนวนผลิตเอกสารประกอบการประชมุ รายการ 1
- จำนวนติดตามดำเนินงานประกนั คุณภาพการศึกษา
- จำนวนครุภณั ฑ์

ผลท่ีคาดวา่ จะไดร้ บั
1) การประกันคุณภาพการศึกษาบรรลเุ ป้าหมาย บรรลุวตั ถุประสงค์ และดำเนินงานมีประสิทธภิ าพ
2) มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั อุดรธานไี ดร้ บั การยอมรบั ในด้านการจดั การศกึ ษาท่ดี ีมีมาตรฐาน
3) บุคลากรภายในหน่วยงานมคี วามรแู้ ละความเขา้ ใจด้านการประกันคุณภาพการศกึ ษาเพ่มิ ขนึ้
4) การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏบิ ตั ิงานประจำวนั

งบประมาณ 200,000 บาท

- งบประมาณเงนิ แผน่ ดิน 100,000 บาท

- งบประมาณเงนิ รายได้ 100,000 บาท

1) งบดำเนนิ งาน 70,000 บาท

รายการ งบประมาณ (บาท) คำชี้แจง
แผน่ ดนิ รายได้

1. คา่ ตอบแทน ใชส้ อยและวัสดุ 70,000

1.1 คา่ ใช้สอย - 30,000 - ค่าอาหารวา่ งและเคร่ืองดมื่

- คา่ ถ่ายเอกสาร

- ค่าจ้างเหมาบรกิ าร

1.2 ค่าวสั ดุ - 40,000 - วสั ดุคอมพิวเตอร์

- วสั ดสุ ำนักงาน

- วัสดไุ ฟฟา้ วิทยุ

2) งบลงทุน 30,000 บาท

รายการ งบประมาณ (บาท) คำชีแ้ จง
แผ่นดนิ รายได้ - จัดหาครุภณั ฑ์ จำนวน 1 รายการ

1. ค่าครภุ ณั ฑ์ 30,000

1.1 ค่าครุภณั ฑ์ 30,000

 แผนปฏิบตั ิการงานประกันคณุ ภาพการศกึ ษา ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 /// หนา้ 16 

3) งบเงินอดุ หนุน 100,000 บาท

รายการ งบประมาณ (บาท) คำชแ้ี จง
แผ่นดนิ รายได้
- คา่ อาหารว่างและเคร่ืองดืม่
1. งบเงนิ อุดหนนุ 100,000 - คา่ ถ่ายเอกสาร
- ค่าจ้างเหมาบรกิ าร
1.1 ค่าใชส้ อย 45,000 - - วัสดคุ อมพวิ เตอร์
- วัสดสุ ำนักงาน
1.2 คา่ วสั ดุ 55,000 - - วัสดุไฟฟ้าวิทยุ

 แผนปฏิบตั กิ ารงานประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 /// หน้า 17 

โครงการที่ 2 ประเมนิ คุณภาพการศึกษา

หลักการและเหตุผล
ประกาศกระทรวงศึกษาธกิ าร เรอื่ งมาตรฐานการอดุ มศกึ ษา พ.ศ.2561 มาตรฐานที่ 5 ด้านการบริหาร

จัดการ (5.3) กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษามีระบบประกันคุณภาพ มีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินและ
พัฒนาการจดั การศึกษาระดับหลักสูตร คณะ และสถาบันที่มปี ระสิทธิภาพและประสิทธิผล มีการกำกับใหก้ าร
จัดการศึกษาและการดำเนินงานตามพันธกิจเป็นไปตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษาอย่าง
ต่อเนื่อง สอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษากรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
แห่งชาติ และมาตรฐานอ่ืน ๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

การประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของความหมายการประกันคุณภาพการศึกษา ตาม
กฎกระทรวงเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ที่ว่าการประกันคุณภาพการศึกษา หมายความว่า
การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละร ะดับและ
ประเภทการศึกษา โดยมีกลไกในการควบคุมตรวจสอบระบบบริหารคุณภาพที่สถานศึกษาจัดขึ้น เพื่อให้เกิด
การพัฒนาและสร้างความเชอ่ื ม่ันใหแ้ ก่ผู้มสี ว่ นเกย่ี วข้องและสาธารณชนว่าสถานศึกษานั้นสามารถจัดการศึกษา
ไดอ้ ย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และบรรลุเปา้ ประสงค์ของหนว่ ยงานต้นสงั กัดหรอื หนว่ ยงานที่กำกับ
ดูแล

มหาวิทยาลัยกำหนดให้มีการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 3 ระดับ คือ ระดับ
หลักสูตร ระดับคณะ/หน่วยงานเทียบเท่าคณะ และระดับสถาบัน โดยมีองค์ประกอบการประกันคุณภาพ
การศึกษาภายในตามพันธกิจ 4 ด้านของมหาวิทยาลัย ได้แก่ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การให้บริการวิชาการ
แกส่ ังคม และการทำนบุ ำรุงศิลปะและวฒั นธรรม และเพิ่มเติมด้านการบริหารจัดการ กำหนดใหม้ ีการประเมิน
คุณภาพการศกึ ษาและจัดส่งรายงานผลการประเมนิ ตนเองให้แกห่ นว่ ยงานต้นสังกัดเปน็ ประจำปีทุกปี

วัตถุประสงค์
เพ่ือประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดบั หลักสูตร ระดับคณะ หนว่ ยงานเทียบเท่าคณะ และระดบั

สถาบัน

 แผนปฏิบตั กิ ารงานประกันคณุ ภาพการศกึ ษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 /// หน้า 18 

ตวั ชีว้ ัด หน่วยนับ เป้าหมาย
ตวั ช้วี ดั
หลกั สูตร 95
เชงิ ปริมาณ หนว่ ยงาน 6
- จำนวนหลกั สูตรทีร่ บั การประเมนิ หนว่ ยงาน 8
- จำนวนคณะทร่ี บั ประเมิน หน่วยงาน 1
- จำนวนหนว่ ยงานเทยี บเท่าคณะท่รี บั ประเมิน 100
- จำนวนหน่วยงานระดับสถาบันที่รับประเมิน เลม่ 50
- รายงานการประเมินตนเอง เลม่
- รายงานสรปุ ผลการประเมนิ คุณภาพการศึกษา ดี
เชิงคุณภาพ ระดับ
- ภาพรวมผลการประเมินคุณภาพการศกึ ษา

ผลท่คี าดว่าจะไดร้ ับ
1) หนว่ ยงานระดับหลักสูตร ระดับคณะ และหนว่ ยงานเทียบเท่า มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษา

ภายในดีขน้ึ เม่ือเทยี บกบั ผลการประเมินปที ผี่ ่านมา
2) ภาพรวมผลการประเมนิ คุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับดี
3) ดำเนนิ การตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา

 แผนปฏิบตั กิ ารงานประกนั คุณภาพการศกึ ษา ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 /// หน้า 19 

งบประมาณ 300,000 บาท

- งบประมาณแผ่นดิน - บาท

- งบประมาณเงนิ รายได้ 300,000 บาท

1) งบดำเนนิ งาน 300,000 บาท

รายการ งบประมาณ (บาท) คำชีแ้ จง
แผน่ ดนิ รายได้

1. คา่ ตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ - 300,000

1.1 คา่ ตอบแทน - 150,000 - ค่าตอบแทนคณะกรรมการประเมนิ ระดับคณะ

หนว่ ยงานเทยี บเท่าระดบั สถาบัน

1.2 ค่าใช้สอย 110,000 - คา่ เดินทางคณะกรรมการประเมิน

- คา่ เดินทางศิษย์เก่า ผ้ใู ชบ้ ัณฑติ และผมู้ สี ว่ นได้

ส่วนเสยี

- คา่ ที่พักคณะกรรมการประเมนิ

- คา่ อาหาร อาหารว่างและเครอื่ งดม่ื

- ค่าจา้ งถา่ ยเอกสาร

- ค่าจ้างเหมาบริการ

1.3 คา่ วัสดุ 40,000 - วัสดุคอมพวิ เตอร์

- วัสดุสำนักงาน

- วัสดงุ านบ้านงานครัว

 แผนปฏบิ ัตกิ ารงานประกันคณุ ภาพการศกึ ษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 /// หนา้ 20 

โครงการท่ี 3 สนับสนุนและพฒั นาการประกนั คุณภาพการศกึ ษา

หลกั การและเหตุผล
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กำหนด

จุดมุ่งหมาย และหลักการของการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพและมาตรฐาน โดยกำหนดรายละเอียดไว้ใน
หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาซ่ึงประกอบด้วย “ระบบการประกันคุณภาพภายใน”
และ “ระบบการประกันคุณภาพภายนอก” เพื่อใช้เป็นกลไกในการผดุงรักษาคุณภาพและมาตรฐานของ
สถาบันอุดมศึกษา ประกอบกับกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 กำหนดให้
สถาบันอุดมศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถ านศึกษาโดยการกำหนดมาตรฐาน
การศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละดับ พร้อมทั้งจัดทำแผนพัฒนาการจัด
การศกึ ษาของสถานศกึ ษาท่ีมงุ่ คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้

การควบคุม การติดตามตรวจสอบ และประเมิน เป็นระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา
ของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้ขับเคลื่อนการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยตามมาตรฐาน
การศึกษา ซึ่งต้องเชื่อมโยงคุณภาพการศกึ ษาต้ังแต่ระดับ หลักสูตร ระดับคณะ จนถึงระดบั มหาวิทยาลัยอย่าง
มีประสิทธิภาพและประสทิ ธิผล ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย และกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา
อย่างต่อเนอื่ ง

งานประกันคุณภาพการศึกษาเป็นหน่วยงานที่ต้องส่งเสริมและสนับสนุนระบบและกลไกการประกัน
คุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยในทุกมิติ เพื่อให้ดำเนินการการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่องบรรลุ
วัตถปุ ระสงค์ เปา้ หมายการประกันคุณภาพการศกึ ษา เพอ่ื สะทอ้ นคณุ ภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย

วตั ถุประสงค์
1) เพ่ือสง่ เสรมิ สนับสนนุ การประกันคุณภาพการศึกษา
2) เพ่อื พฒั นาบคุ ลากร งานประกันคณุ ภาพการศึกษา
3) เพอ่ื เพ่ิมผปู้ ระเมนิ คณุ ภาพการศึกษา
4) เพ่ือแลกเปลี่ยนเรยี นร้กู ารประกันคุณภาพการศึกษา
5) เพื่อพฒั นาระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศการประกนั คณุ ภาพการศึกษา
6) เพอ่ื พฒั นามาตรฐานการศึกษา แผนการจัดการศกึ ษา และตัวบง่ ช้กี ารประกันคณุ ภาพการศกึ ษา

 แผนปฏิบัตกิ ารงานประกันคุณภาพการศกึ ษา ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 /// หนา้ 21 

ตัวช้ีวัด หนว่ ยนับ เปา้ หมาย
ตัวช้ีวัด
คน 150
เชิงปรมิ าณ
- จำนวนบุคลากรทีเ่ ขา้ รบั การอบรมความรู้การประกนั คุณภาพ คน 5
การศึกษา คน 3
- จำนวนบุคลากรเข้ารับการอบรมหลักสูตรผูป้ ระเมินคุณภาพ ระบบ 1
การศกึ ษา ระดบั หลักสูตร คณะ สถาบนั กจิ กรรม 2
- จำนวนบุคลากรงานประกนั คุณภาพการศึกษาท่ไี ดร้ ับการพัฒนา
- จำนวนระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพการศึกษา เครอื ข่าย 1
- จำนวนกิจกรรมการส่งเสริม สนับสนนุ การประกันคุณภาพ ครง้ั 100
การศึกษาตามองคป์ ระกอบ และตัวบง่ ชี้ ครง้ั 10
- จำนวนเครือขา่ ยการประกันคณุ ภาพการศึกษา คร้งั 1
- จำนวนคมู่ ือการประกนั คณุ ภาพการศึกษา
- จำนวนการประชุมกำกับ ติดตามการประกนั คุณภาพการศึกษา ครง้ั 5
- จำนวนศกึ ษาดูงานประกันคณุ การศึกษา เล่ม 3
- การพฒั นาเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐาน
การอุดมศกึ ษา ระดบั ดี
- คมู่ อื ปฏบิ ตั งิ านหลักงานประกันคุณภาพการศึกษา
เชิงคุณภาพ
- ระดับความรู้ ความเข้าใจการประกนั คณุ ภาพการศึกษาของ
บุคลากรภายในมหาวทิ ยาลัย

ผลทคี่ าดว่าจะได้รบั
1) บคุ ลากรภายในมหาวิทยาลัยมีความรู้ ความเข้าใจและพัฒนางานดา้ นประกันคุณภาพการศกึ ษาให้

เกิดคณุ ภาพและประสทิ ธภิ าพมากข้ึน
2) สร้างวฒั นธรรมทีด่ แี ก่องค์กรมหาวิทยาลยั ราชภฏั อุดรธานี
3) เกดิ เครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษา แลกเปลยี่ นเรยี นรู้ การประกันคณุ ภาพการศกึ ษา
4) มีระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพการศึกษา
5) มีมาตรฐานการศึกษา แผนการจัดการศึกษา และตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษา
6) มคี ่มู ือปฏบิ ัติงานหลักงานประกนั คุณภาพการศึกษา

 แผนปฏบิ ัติการงานประกันคุณภาพการศึกษา ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 /// หนา้ 22 

งบประมาณ 300,000 บาท
- งบประมาณแผน่ ดนิ 200,000 บาท
- งบประมาณเงนิ รายได้ 100,000 บาท

1) งบดำเนินงาน 100,000 บาท

รายการ งบประมาณ (บาท) คำชแี้ จง
แผ่นดิน รายได้

1. คา่ ตอบแทน ใชส้ อยและวสั ดุ - 100,000

1.1 ค่าตอบแทน - 17,000 - คา่ สมนาคุณวทิ ยากร

1.2 ค่าใชส้ อย 70,000 - ค่าใชจ้ า่ ยในการเดินทางไปราชการ

- ค่าทพ่ี ักวิทยากร

- คา่ อาหาร อาหารวา่ งและเครื่องดม่ื

- คา่ เอกสารประกอบโครงการ

- ค่าจ้างเหมาบริการ

1.3 คา่ วสั ดุ 13,000 - วสั ดุคอมพิวเตอร์

- วสั ดสุ ำนักงาน

2) งบเงินอุดหนนุ 200,000 บาท

รายการ งบประมาณ (บาท) คำชแี้ จง
แผน่ ดิน รายได้

1. ค่าตอบแทน ใชส้ อยและวัสดุ 200,000 -

1.1 ค่าตอบแทน 30,000 - - คา่ สมนาคุณวทิ ยากร

1.2 คา่ ใช้สอย 125,000 - - ค่าใช้จ่ายในการเดนิ ทางไปราชการ

- คา่ ท่ีพักวิทยากร

- คา่ อาหาร อาหารวา่ งและเครื่องดื่ม

- คา่ เอกสารประกอบโครงการ

1.3 คา่ วสั ดุ 45,000 - - วสั ดุคอมพวิ เตอร์

- วัสดสุ ำนกั งาน

 แผนปฏิบัติการงานประกนั คณุ ภาพการศึกษา ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 /// หนา้ 23 

แผนปฏบิ ตั ิงานประจำปงี บประมาณ พ.ศ. 2564

ระยะเวลา

โครงการ/กิจกรรม 2563 2564

ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. ม.ี ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

1. การดำเนนิ งานประกันคุณภาพการศึกษา

1) ประชุมคณะกรรมการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา
2) ประเมินคณุ ภาพการศึกษาภายใน

3) พัฒนาบคุ ลากร
4) ค่มู ือการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา

5) รายงานประเมินตนเอง

2 ถา่ ยทอดความร้กู ารประกนั คณุ ภาพการศึกษา

1) อบรมใหค้ วามรู้การประกนั คุณภาพการศกึ ษา

3. ระบบและกลไกการประกนั คณุ ภาพการศึกษา

3.1. การควบคุมคณุ ภาพ

1) ประกาศนโยบายการประกันคณุ ภาพฯ

2) ประกาศตัวบง่ ช้ี ค่าเปา้ หมาย

3) รายงานผลตามแผนปฏิบตั กิ าร

4) วเิ คราะห์แผนปฏิบัตกิ าร
5) จัดทำแผนปฏบิ ัตกิ าร

3.2 การตรวจสอบคุณภาพ

1) ประชมุ คณะกรรมการบรหิ ารมหาวทิ ยาลัย

2) ประชมุ สภามหาวิทยาลยั

3) ตดิ ตามการดำเนินงานประกนั ฯ

3.3 การประเมนิ คณุ ภาพ

1) ประกาศกำหนดการประเมิน

2) จดั ทำแบบฟอร์มประเมินฯ

3) สังเคราะห์ข้อมลู พ้ืนฐาน
4) สงั เคราะหร์ ายงานประเมินตนเอง

5) รายงานผลในระบบ CHE QA Online

4. พฒั นาระบบและกลไกการประกนั คุณภาพการศกึ ษา

1) พฒั นาระบบสารสนเทศการประกนั คณุ ภาพฯ

2) พัฒนาฐานขอ้ มลู การประกนั คณุ ภาพฯ

3) พัฒนาเว็บไซด์การประกนั คณุ ภาพฯ

5. สนบั สนนุ ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศกึ ษา

1) การจัดทำข้อมูล FTES

2) ประชุมคณะกรรมการตุน้ ทุนตอ่ หนว่ ย
3) การสง่ เสรมิ สนบั สนนุ การขน้ึ TQR

4) สง่ รายงานต้นทุนตอ่ หน่วยระดับคณะ

5) ประชมุ คณะกรรมการจัดการความรู้

6) รายงานผลตามแผนการจัดการความรู้

7) วเิ คราะหแ์ ผนการจัดการความรู้

 แผนปฏิบัตกิ ารงานประกันคณุ ภาพการศึกษา ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 /// หน้า 24 

ระยะเวลา

โครงการ/กิจกรรม 2563 2564

ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

8) จดั ทำแผนการจดั การความรู้

9) ตดิ ตามผลการดำเนนิ งานการจัดการความรู้

10) อบรมการจดั การความรู้

11) นำเสนอการจดั การความรู้

12) แตง่ ต้ังคณะกรรมการบรกิ ารวิชาการแกส่ ังคม

13) ประชุมคณะกรรมการบรกิ ารวชิ าการ

14) จดั ทำแผนบริการวิชาการแก่สังคม

15) ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนบรกิ ารวิชาการฯ

16) สรุปผลการดำเนินงานตามแผนบรกิ ารวิชาการฯ

17) แตง่ ต้ังคณะกรรมการบรหิ ารความเสีย่ งฯ

18) ประชุมคณะกรรมการบริหารความเส่ยี งฯ

19) จดั ทำแผนบริหารความเสย่ี งฯ

20) ติดตามผลการจัดการความเสยี่ งฯ

21) สรปุ ผลการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงฯ

5. เครอื ขา่ ยการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา

1) ศึกษาดูงาน

6. เผยแพรก่ ารประกันคุณภาพการศกึ ษา

1) ข่าวสารงานประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา

7. พฒั นาคปู่ ฏิบตั ิงานหลัก

1) จดั ทำคูม่ อื ปฏบิ ัติงานหลกั

8. ดำเนนิ งานทีร่ บั ผิดชอบ

1) จัดส่งรายช่อื ตามแบบฟอร์ม (ITA) สำนกั งาน ป.ป.ช.

2) ดำเนินการตอบแบบสำรวจใชห้ ลกั ฐานเชิงประจกั ษ์

Evidence-Based และจัดส่งให้สำนักงาน ป.ป.ช. พรอ้ ม

หลกั ฐานประกอบการตอบ

3) ประชุมคณะกรรมการแผนการเพิ่มประสิทธภิ าพ

4) รวบรวมแผนการเพม่ิ ประสทิ ธภิ าพ

 แผนปฏบิ ตั กิ ารงานประกนั คณุ ภาพการศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 /// หนา้ 25 

ปฏิทินการประกันคณุ ภาพการศกึ ษา ปีการศึกษา 2563

งานประกันคุณภาพการศึกษาได้กำหนดปฏิทินการประกันคุณภาพการศกึ ษา ปีการศึกษา 2563 เพ่ือ

เป็นแนวทางในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ทั้งระดับหลักสูตร ระดับคณะ ระดับสำนัก/

สถาบนั หรอื หนว่ ยงานเทียบเทา่ ระดับสถาบนั และโรงเรียนสาธติ ฯ ดังน้ี

ที่ ระยะเวลา กจิ กรรม ผรู้ ับผดิ ชอบ

1 เม.ย. 64 หลักสูตรจดั ทำรายงานประเมินตนเอง(SAR) หลักสูตร

2 เม.ย. 64 หลกั สตู รทาบทามคณะกรรมการประเมนิ ฯ หลักสตู ร

3 7 วนั กอ่ นประเมนิ ฯ บนั ทึกรายงานประเมินตนเอง(SAR) ในระบบ CHE QA Online หลกั สตู ร

4 7 วนั ก่อน หลกั สูตรสง่ รายงานประเมนิ ตนเอง(SAR) ดงั น้ี หลักสูตร

ประเมินฯ 1) มหาวทิ ยาลยั (งานประกันคุณภาพฯ) จำนวน 1 เลม่

2) คณะทห่ี ลกั สูตรสงั กัด จำนวน 1 เล่ม

3) คณะกรรมการประเมนิ ฯ จำนวน 3 เล่ม

5 1-31 พ.ค. 64 ประเมนิ ฯ ระดับหลักสตู ร หลกั สูตร/คณะ

6 7 วนั หลงั ประเมินฯ หลักสูตรส่งผลการประเมินตนเองในระบบ CHE QA Online หลักสตู ร

7 7 วันหลังประเมนิ ฯ หลักสูตรส่งรายงานประเมินตนเอง(SAR) หลังประเมินฯ พร้อม CD หลักสูตร

ดังนี้

1) มหาวิทยาลัย(งานประกันคุณภาพฯ) จำนวน 1 ชดุ

2) คณะที่หลกั สูตรสงั กัด จำนวน 1 ชดุ

8 ม.ิ ย. 64 หลกั สตู รรายงานผลการประเมนิ ใหค้ ณะกรรมการประจำหนว่ ยงาน หลักสูตร/

เพ่อื พจิ ารณาและนำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำ คณะ

หนว่ ยงานมาปรบั ปรงุ จัดทำแผนพัฒนาคณุ ภาพ (Improvement

Plan) ให้ดีขนึ้ อย่างต่อเนื่อง

9 มิ.ย. 64 มหาวทิ ยาลยั /คณะ/สำนัก สถาบนั หรือหนว่ ยงานเทียบเท่าคณะ/ มหาวิทยาลยั /
คณะ/สำนัก
โรงเรียนสาธติ ฯ ทาบทามคณะกรรมการประเมนิ ฯ
สถาบันหรอื

หนว่ ยงาน

เทยี บเท่า

คณะ/โรงเรยี น

สาธติ

10 ม.ิ ย. 64 คณะสงั เคราะห์รายงานประเมินตนเอง (SAR) ระดบั หลกั สูตร คณะ

11 ม.ิ ย. 64 คณะ/สำนัก สถาบนั หรือหนว่ ยงานเทียบเท่าคณะ จัดทำรายงานการ คณะ/สำนัก

ประเมนิ ตนเอง (SAR) สถาบัน หรือ
หน่วยงาน

เทยี บเท่าคณะ

 แผนปฏบิ ตั กิ ารงานประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 /// หนา้ 26 

ท่ี ระยะเวลา กจิ กรรม ผูร้ ับผดิ ชอบ

12 7 วนั ก่อน คณะบันทึกรายงานการประเมินตนเอง(SAR) ในระบบ CHE QA คณะ

ประเมินฯ Online

13 7 วันกอ่ น คณะ/สำนัก สถาบันหรือหน่วยงานเทียบเท่าคณะ ส่งรายงานการ คณะ/สำนัก

ประเมินฯ ประเมินตนเอง (SAR) ดงั น้ี สถาบันหรือ
1) มหาวิทยาลยั (งานประกนั คุณภาพฯ) จำนวน 1 เลม่ หน่วยงาน
2) คณะกรรมการประเมินฯ จำนวน 3 เล่ม เทยี บเทา่

14 7-11 ม.ิ ย. 64 ประเมินฯ สำนัก สถาบันหรือหนว่ ยงานเทยี บเท่าคณะ/โรงเรยี น สำนัก/

สาธติ ฯ สถาบันหรือ

หน่วยงาน

เทียบเท่า

คณะ/โรงเรียน

สาธติ ฯ

15 2-6 ส.ค. 64 ประเมนิ ฯ ระดับคณะ คณะ

16 7 วนั หลงั ประเมินฯ คณะสง่ ผลการประเมินตนเองในระบบ CHE QA Online คณะ

17 7 วันหลัง คณะ/หน่วยงานเทียบเท่าส่งรายงานการประเมินตนเอง (SAR)หลัง คณะ/สำนัก/

ประเมินฯ ประเมินพร้อม CD กับมหาวิทยาลัย(งานประกันคุณภาพฯ) จำนวน สถาบัน หรือ

1 ชดุ หนว่ ยงาน

เทียบเท่า

18 ส.ค. 64 คณะ/สำนัก สถาบนั หรือหน่วยงานเทียบเท่าคณะ รายงานผลการ คณะ/สำนัก

ประเมนิ ให้คณะกรรมการประจำหน่วยงานเพ่ือพิจารณาและนำ สถาบนั หรอื

ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำหนว่ ยงานมาปรบั ปรุงจัดทำ หน่วยงาน

แผนพฒั นาคุณภาพ (Improvement Plan) ใหด้ ขี ึ้นอยา่ งต่อเนือ่ ง เทยี บเทา่ คณะ

19 ส.ค. 64 - มหาวิทยาลัยนำผลการประเมินคุณภาพทกุ หลักสตู รและทุกคณะท่ี งานประกนั ฯ

ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารมหาวทิ ยาลัยเสนอสภา

สถาบนั เพ่ือพิจารณา

- นำผลการประเมนิ และข้อเสนอแนะจากสภาสถาบนั มาปรับปรงุ

หลกั สตู รและการดำเนนิ งานของคณะให้มคี ุณภาพดีขน้ึ อยา่ งต่อเนื่อง

20 ส.ค. 64 มหาวทิ ยาลยั สงั เคราะหร์ ายงานประเมนิ ตนเอง(SAR) คณะกรรมการ

สังเคราะห์ฯ

21 ส.ค. 64 มหาวิทยาลัยจดั ทำรายงานประเมินตนเอง(SAR) คณะกรรมการ

สังเคราะห์ฯ

22 7 วันกอ่ น บนั ทกึ รายงานการประเมนิ ตนเอง(SAR) ระดบั สถาบัน ในระบบ งานประกันฯ

ประเมนิ ฯ CHE QA Online

 แผนปฏบิ ตั ิการงานประกันคุณภาพการศกึ ษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 /// หน้า 27 

ที่ ระยะเวลา กิจกรรม ผรู้ ับผดิ ชอบ

23 7 วันก่อน มหาวทิ ยาลัยฯ ส่งรายงานการประเมนิ ตนเอง (SAR) คณะ งานประกันฯ

ประเมนิ ฯ กรรมการฯ จำนวน 5 ชุด

24 9-10 ก.ย. 64 ประเมินฯ ระดับสถาบัน งานประกันฯ

25 ก.ย. 64 สง่ ผลการประเมนิ ฯ ปกี ารศึกษา 2563 ผา่ น ระบบ CHE QA Online งานประกันฯ

 แผนปฏิบัติการงานประกันคุณภาพการศกึ ษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 /// หนา้ 28 

ขน้ั ตอนการดำเนินงานประเมินคณุ ภาพการศกึ ษา มหาวิทยาลยั ราชภัฏอุดรธานี

กอ่ นการประเมิน จดั ทำ SAR /จดั เตรยี มเอกสาร
หลกั ฐาน

ทาบทาม/ประสานคณะกรรมการ

แต่งตงั้ คณะกรรมการ ประสานและส่งกำหนดการให้
ประเมนิ คณะกรรมการประเมิน

ระหว่างการประเมิน กรอกขอ้ มลู ในระบบ CHE QA Online และสง่ USER
และ Password ให้ประธานคณะกรรมการ
หลงั การประเมนิ
จดั ส่ง SAR ให้ผูป้ ระเมิน 7 วัน กอ่ นการ
สง่ รูปเล่ม SAR ฉบับหลงั ประเมินให้ ประเมิน
งานประกนั คณุ ภาพ 1 เล่ม พรอ้ ม
เตรยี มสถานท่ี อาหาร และเครอ่ื งดมื่
CD 1 แผ่น
รับการประเมินคุณภาพการศกึ ษา

คณะกรรมการประเมินแจ้งผลการประเมนิ
และส่งแบบรายงานผลการประเมินให้
หลักสตู ร

ปรับปรงุ รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษา
(SAR) ตามผลคะแนนจากข้อเสนอแนะ
คณะกรรมการประเมินฯ

สง่ ผลประเมนิ ในระบบ CHE QA Online

จัดทำแผนพฒั นาคณุ ภาพ (Improvement
plan)

ส่วนท่ี 3
การนำแผนสูก่ ารปฏบิ ัติ

การนำแผนการประกันคุณภาพการศึกษาไปดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดถือเป็นขั้นตอน
สำคัญ ซึ่งต้องเกิดจากความร่วมมือจากทุกหน่วยงานและบุคลากรทุกคนในมหาวิทยาลัย ดังนั้น เพื่อให้
แผนการประกันคณุ ภาพการศึกษามีความสอดคล้องกนั ในระดับนโยบายจนถงึ ระดบั ปฏบิ ัตกิ าร ตลอดจนมีแนว
ทางการดำเนินงานทีส่ นบั สนุนซง่ึ กนั และกันควรดำเนนิ การ ดงั น้ี

การบรหิ าร
1. ระดับนโยบาย ประกาศนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางและแนวปฏิบัติในการ
ดำเนนิ งานประกนั คุณภาพการศกึ ษา
2. ระดับขับเคลื่อนแผน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัย เพื่อทำ
หน้าที่ นำนโยบายไปปฏิบัติ รวมทั้งติดตามความก้าวหน้า และนำเสนอข้อแนะนำ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคใน
การนำนโยบายไปสู่การปฏบิ ตั ิเสนอตอ่ มหาวิทยาลัย
3. ระดับปฏิบัติการ ประกอบด้วย บุคลากรของมหาวิทยาลัยทุกคน จะต้องรับทราบนโยบายการประกัน
คุณภาพการศกึ ษา และนำไปปฏบิ ัตใิ นส่วนทต่ี นมีความเกี่ยวขอ้ ง

การขบั เคลื่อนแผนปฏบิ ตั ิการงานประกันคณุ ภาพการศกึ ษา ในระดับตา่ งๆ ดังนี้
1. ระดบั มหาวิทยาลยั เพอื่ ให้มกี ารดำเนนิ การประกนั คุณภาพการศึกษาเป็นไปตามนโยบาย

การประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ควรกำหนดเป็นกรอบของแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยและ
คณะ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และใช้เป็นกรอบและแนวทางในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ และดูแล
รบั ผดิ ชอบโครงการ/กิจกรรมในการส่งเสรมิ และพฒั นาบคุ ลากรในภาพรวมเพื่อให้เกิดผลเปน็ รูปธรรม

2. ระดับคณะ/หน่วยงาน เพื่อให้มีการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติในระดับคณะ/
หน่วยงาน โดยผลักดันให้นโยบายประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย เป็นส่วนหนึ่งของแผน
ยุทธศาสตร์ของคณะ/หน่วยงาน รวมทั้งเป้าหมาย มาตรการ และแนวทางไปดำเนินการจัดทำโครงการ/
กิจกรรมเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และการมีส่วนร่วมในโครงการ/กิจกรรมที่มหาวิทยาลัยดำเนินการใน
ภาพรวม

3. ระดับบคุ คล ใหค้ ณะ/หน่วยงานนำตวั ชว้ี ดั ของการประกนั คณุ ภาพการศกึ ษาไปกำหนดในกรอบ
การประเมนิ ผลระดับบุคคล เพ่ือวัดผลงานระดับบุคคลและนำไปสู่การเปน็ สว่ นหน่ึงของการพจิ ารณาความดี
ความชอบระดบั บุคคล หรือการต่อสัญญาจา้ งต่อไป

 แผนปฏบิ ัติการงานประกันคณุ ภาพการศกึ ษา ปงี บประมาณ พ.ศ. 2564 /// หน้า 30 

แนวทางการติดตามประเมนิ ผล
1. แต่งตั้งคณะกรรมการการประกันคุณภาพการศึกษา ทำหน้าที่กำกับติดตามการดำเนินงานตาม

แผนการประกนั คุณภาพการศกึ ษา
2. มกี ารประเมนิ ผลตามเป้าหมายของแผนการประกนั คุณภาพการศึกษา
3. มหาวิทยาลัยและคณะ/หน่วยงานนำแผนการประกันคุณภาพการศึกษาไปบูรณาการร่วมกับการ

จัดทำแผนปฏิบตั ริ าชการประจำปขี องมหาวิทยาลยั และแผนปฏบิ ัตริ าชการประจำปีของคณะ/หน่วยงาน
4. นำตัวชี้วัดการประกนั คุณภาพการศกึ ษาไปกำหนดเปน็ ส่วนหน่ึงในการประเมินรายบุคคล
5. มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสำหรับการประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานในระดับ

ปฏิบตั ิการ ตามระยะเวลาท่ีกำหนดให้มกี ารประเมินฯ เพอื่ นำผลการประเมนิ มาปรบั ปรงุ
6. ทบทวนแผนการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานและ

ปรบั ปรงุ แผนฯ

ระบบและกลไกการประกนั คุณภาพการศกึ ษา

การเตรียมการ การดาเนนิ การ การรายงาน
1. เตรยี มความพร้อมของบคุ ลากร 1. วางแผนการปฏบิ ัติงาน (P)
รวบรวมรายงานประเมนิ ตนเอง
สรา้ งความตระหนัก นโยบายการประกนั คุณภาพฯ สังเคราะห์รายงานประเมินตนเอง
พฒั นาความรูแ้ ละทกั ษะ แผนปฏิบตั ริ าชการ จัดทารายงานประเมินตนเอง
2. แตง่ ตั้งกรรมการทร่ี บั ผิดชอบ กาหนดตัวบง่ ชีแ้ ละเปา้ หมาย รายงานตนเองในระบบ CHE QA
กาหนดการประเมนิ
กาหนดแนวทางการดาเนนิ งาน
กาหนดระยะเวลา
กาหนดงบประมาณ
กาหนดผู้รับผดิ ชอบ

2. ดาเนินการตามแผน (D)
ส่งเสริม สนบั สนนุ
กากับ ตดิ ตาม
จดั ส่งิ อานวยความสะดวก

สนับสนนุ ทรพั ยากร

ให้ความรู้ คาแนะนา

3. ตรวจสอบประเมนิ ผล (C)
ตดิ ตาม/ตรวจสอบ
วิเคราะห์ขอ้ มลู
วางกรอบแนวทางการประเมิน
การประเมนิ

4. นาผลการประเมนิ มาปรับปรงุ งาน (A)
ปรับปรุงการปฏบิ ัตงิ าน
วางแผน
จดั ทาขอ้ มลู สารสนเทศ

งานประกันคุณภาพการศกึ ษา กองนโยบายและแผน

64 ถ.ทหาร ต.หมากแข้ง อ.เมอื ง จ.อดุ รธานี 41000


Click to View FlipBook Version