The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การอนุรักษ์ดินและน้ำ ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินที่ลุ่ม-ที่ดอน-ที่สูง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by griengsakku, 2023-05-09 05:03:19

การอนุรักษ์ดินและน้ำ ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินที่ลุ่ม-ที่ดอน-ที่สูง

การอนุรักษ์ดินและน้ำ ป้องกันการชะล้างพังทลายของดินที่ลุ่ม-ที่ดอน-ที่สูง

1 การอนรุักษด์ ินและน้ําป้องกนการชะลั ้างพังทลายของดินที่ลุ่ม-ที่ดอน-ที่สูง กรมพัฒนาที่ดิน มีภารกิจและความรับผิดชอบโดยตรงในการอนุรักษ์ดินและน้ํา รวมทั้งป้องกัน การเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน ที่ดินของชาติได้ทําการศึกษาทดสอบและเปรียบเทียบ เพื่อหาระบบและวิธีการ อนุรักษ์ดินและน้ําที่เหมาะสมมาใช้ในบ้านเรา ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2506 เป็นต้นมา ตลอดระยะเวลา 51 ปีที่ ดําเนินการมา กรมพัฒนาที่ดินได้ศึกษาวิจัย คัดเลือกและพัฒนาระบบวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ําให้เหมาะสมกับ สภาพปัญหา การใช้ที่ดิน สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของประเทศมาโดยตลอด จนปัจจุบันอาจจะกล่าวได้ว่า กรมพัฒนาที่ดินได้พบระบบและวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ําที่เหมาะสมสําหรับประเทศไทย คํานิยามของ ระบบอนุรักษ์ดินและน้ํา คือ “การผสมผสานวิธีการป้องกันการชะล้างพังทลาย ของดิน รวมทั้งวิธีการเก็บกักน้ําและความชุ่มชื้นไว้ในพื้นที่เพื่อให้การใช้ประโยชน์ที่ดินเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และยั่งยืนนาน” เปรียบเทียบระหว่างพนทื้ที่ไดี่้รบการอนัรุกษัด์ ินและน้ํา กบพันทื้ที่ี่ถกชะลู้างพังทลาย ปัจจุบัน งานด้านการอนุรักษ์ดินและน้ํา ได้มีการนํามาตรการทั้งวิธีกลและวิธีพืชมาใช้โดย มาตรการและวิธีการที่ใช้แตกต่างไปตามสภาพปัญหาของพื้นที่เช่น พื้นที่สูงที่มีความลาดชันระดับต่างๆ เกิด ปัญหาหน้าดินถูกชะล้างพังทลาย สูญเสียธาตุอาหารพืช และไม่สามารถกักเก็บน้ําไว้ได้กรมพัฒนาที่ดินได้นํา มาตรการทั้งวิธีกล เช่น การทําขั้นบันไดดิน คูรับน้ําขอบเขา คันดิน ฝายชะลอน้ํา และวิธีพืช เช่น การปลูกพืช คลุมดิน ปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกพืชสลับส่งเสริมการปลูกพืชเชิงอนุรักษ์แบบผสมผสาน รวมถึงการเขตกรรม เช่น การไถพรวนน้อยครั้ง หรือไม่ไถพรวน สามารถลดการสูญเสียหน้าดิน ลดการสูญเสียธาตุอาหารพืช และเก็บกัก น้ําได้ดีขึ้น มีการจัดการน้ําที่เหมาะสม และนําหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ํา โดยปลูกร่วมกับ มาตรการวิธีกล


2 ระบบอนุรักษ์ดินและน้ํา ที่กรมพัฒนาที่ดินได้พัฒนาและใช้ดําเนินการอยู่ในปัจจุบัน จําแนกไว้ เป็น 3 ระบบ คือ ระบบอนุรักษ์ดินและน้ําบนที่สูง ระบบอนุรักษ์ดินและน้ําบนที่ดอน และระบบอนุรักษ์ดินและ น้ําในที่ราบลุ่ม คือ 1. ระบบอนุรักษ์ดินและน้ําบนที่สูง ที่สูงคือ พื้นที่ที่อยู่สูงจากระดับน้ําทะเลตั้งแต่ 500 เมตร ขึ้นไป หรือมีความลาดเทมากกว่าร้อยละ 15 ส่วนมากเป็นพื้นที่ต้นน้ํา เป็นที่ป่า หรือพื้นที่ที่กรมพัฒนาที่ดิน จําแนกเป็น SLOPE COMPLEX 2. ระบบอนุรักษ์ดินและน้ําบนที่ดอน คือพื้นที่ลาดเชิงเขา มีระดับความสูงต่ํากว่า 500 เมตร จากระดับน้ําทะเล หรือมีความลาดเทตั้งแต่ร้อยละ 3-15 ส่วนมากใช้ประโยชน์เพื่อการปลูกพืชไร่ ไม้ผล และทุ่ง หญ้าเลี้ยงสัตว์ 3. ระบบอนุรักษ์ดินและน้ําในที่ราบลุ่ม ที่ราบลุ่มคือ พื้นที่ที่ต่ํากว่าและต่อเนื่องจากที่ลาดเชิง เขา มีความลาดเทไม่เกินร้อยละ 3 มีน้ําท่วมขังเป็นครั้งคราว ส่วนมากใช้ทํานา ปลูกผัก หรือไร่นาสวนผสม พื้นที่ ราบจะมีปัญหาการระบายน้ําซึ่งไหลบ่าจากที่ดอนที่สูงมารวมในที่ราบ รวมทั้งน้ําฝนและน้ําใต้ดินที่ตกหรือปรากฏ ในพื้นที่นั้นๆ การใชแถบหญ้ าแฝกในการอน ุ้รกษัด์ ินและนาร้ํ ่วมกบมาตรการวั ิธกลี


3 จากการสํารวจพื้นที่ที่มีปัญหาการชะล้างของประเทศไทย มีอยู่ทั้งสิ้น 108.870 ล้านไร่กรม พัฒนาที่ดินได้ดําเนินการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ํา โดยสํารวจออกแบบงานจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ําให้ เหมาะสมตามสภาพพื้นที่เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการชะล้างพังทลายของดินตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวม ทั้งสิ้น 30.919 ล้านไร่ยังคงมีพื้นที่ดังกล่าวเหลืออยู่อีก 77.951 ล้านไร่


4


5


6


7 กลุ่มแผนงาน กองแผนงาน กรมพฒนาทัดี่นิ แหล่งข้อมูล : กลุ่มวิจัยและพัฒนาการอนุรักษ์ดินและน้ําเพื่อการเกษตร สวจ.


Click to View FlipBook Version