The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

หน้าหมอน

หน้าหมอน

หมอนหน้าจกแมแ่ จม่

แมอ่ ุ๊ยคาป้อ(ออ่ ง) ไชยเกตุ
แม่ครเู ย็บหมอนหนา้ จก

ฝอยทอง สมบตั ิ ผู้รวบรวม

หมอนหน้าจกแมแ่ จ่ม

1. ท่ีมาของหมอนหน้าจก และหมอนอืน่ ๆ
หมอนมอี ยคู่ มู่ นุษยชาติมานานแสนนาน จนยากจะประมาณเวลาแน่นอน

ได้ถูก... เช่นเดียวกับหมอนหน้าจกแม่แจ่ม แม่อุ๊ยแม่หม่อนหลาย ๆ คนพูด
เหมือน ๆ กันวา่ เกิดมาก็ถูกแม่บังคับให้เรียนทอจกหน้าหมอนให้เป็น เพราะเป็น
พื้นฐานของการทอตีนจก เม่ือทอหน้าหมอนเป็นแล้วก็ง่ายต่อการเรียนทอตีนจก
ลายพื้นฐาน เช่น ลายละกอน ลายหงส์สามฯ แล้วถึงจะเรียนทอลายท่ียากข้ึนเป็น
ลำดับต่อ ๆ ไป ปัจจุบันโรงเรียนบ้านทัพ โรงเรียนบ้านแม่ศึก และโรงเรียน
ชุมชนตำบลท่าผา ก็ให้เด็กระดับประถมศึกษา ปีที่ 4 เรียนทอจกหน้าหมอน ข้ึน
ระดับประถมศึกษาปีท่ี 5-6 ถึงจะสอนทอตีนจก นับว่าการจกหน้าหมอนของ
ผูห้ ญิงแมแ่ จม่ เปน็ ครขู องช่างทอตนี จก โดยมแี ม่ยา่ แมห่ ญงิ พื้นบา้ นฐานถน่ิ ทั้งหลาย
ในแมแ่ จม่ เป็นครูผ้ถู า่ ยทอด

หมอนหนา้ จกแม่แจ่ม 1

ผู้หญิงแม่แจ่มสมัยโบราณต้องปลูกฝ้ายทกุ ครวั เรือน เรยี กว่า “ไฮฝ่ ้าย” ทำไปพร้อม ๆ กบั ไร่ข้าว ไร่พริก เพ่ือเก็บไว้ใช้ทั้งปี
เพราะไม่มขี าย โดยเฉพาะฝ้ายต้องใช้ทำเคร่อื งนุ่งห่มของทุกคนในครอบครวั ตั้งแต่ เส้ือ กางเกง ซิ่น ผ้าหม่ มุ้ง หมอน ผ้าปูที่นอนฯ
และผ้าสบง จีวรฯของพระสงฆ์ก็ใช้ผ้าฝ้ายเมืองทอขึ้นมาใช้เอง ฝ้ายพื้นเมืองที่แม่แจ่ม มี 2
ชนิด คือ ฝา้ ยสีขาว และฝ้ายสีน้ำตาลอ่อน เรียกว่า ฝ้ายก่อน ผู้ชายเท่านั้นที่มีโอกาสได้ใช้ผา้ ที่
ทอดว้ ยฝ้ายก่อนเพราะหายาก สำหรับหมอนของผู้ชายก็พิเศษกว่าของผูห้ ญิง เชน่ หมอนหน้า
จก หมอนหน้าแดง ถ้าเป็นสมัยน้ีก็จะกลายเป็นความไม่เท่าเทียมกัน แต่สมัยก่อน แม้สมัย
ปัจจุบันผู้หญิงชาวบ้านท่ัวไปในแม่แจ่มก็ยังให้ความนับถือผู้ชายว่า “เป็นผู้มีบุญ”ถึงได้เกิดเป็น

ผชู้ าย ทั้งนอี้ าจเป็นเพราะอิทธิพลของพทุ ธศาสนาผมผสานกับความเช่ือด้ังเดิมที่สืบเน่ืองกันมา
ของชาวล้านนาว่าผู้ชายบวชได้ แต่ผู้หญิงบวชไม่ได้ถึงแม้ในประวัติศาสตร์พุทธศาสนา
พระพุทธเจา้ จะอนญุ าตใหผ้ ้หู ญิงบวชได้ ภิกษุณีหลายรูปสมัยพทุ ธกาลกบ็ รรลุอรหันต์ได้เหมอื น
พระภิกษุ แต่กว่าพุทธศาสนาจะแพร่มาถึงอาณาจักรล้านนา การบวชผู้หญิงให้เป็นภิกษุณีก็
ขาดหายไปเสียแลว้ จงึ มีความเช่อื ตกค้างกันมาในสงั คมว่าผู้ชายมบี ุญกวา่ ผหู้ ญงิ เพราะโอกาส
บรรลธุ รรมมีมากกวา่ ผู้หญงิ

หมอนหน้าจกแม่แจ่ม 2

เนื่องด้วยแม่แจ่มต้ังอยู่ในหุบเขา การติดต่อกับโลกภายนอกเป็นไปด้วย
ความลำบาก อาหารการกิน เครื่องมือเคร่ืองใช้ทุกอย่างจึงต้องทำขึ้นมาเอง อาศัย
ทรัพยากรธรรมชาติท่ีมีมากมายในท้องถ่ิน สั่งสมกันมาจากรุ่นสู่รุ่น...น่าเสียดายท่ี
ปจั จุบันงานจักสานเรมิ่ หาคนทำยาก เครื่องมือเก่ียวกับการทอผ้า เช่น ก่ีเร่ิมมีก่ีที่ทำ
จากเหล็ก บะกวกั ก็ใช้กระป๋องนมผงแทน เผี่ยนปั่นฝา้ ยเคยเห็นในงานตีนจกมีเผ่ียน
แบบใหมข่ องบา้ นสองธาร อีกหนอ่ ยคงเหน็ เผย่ี นแบบใหมเ่ ขา้ มาแทนท่ี

หมอนหนา้ จกแม่แจ่ม 3

2. ประเภทของหมอนในแมแ่ จม่
1. “หมอนหก”เป็นหมอนที่คนแม่แจ่มนิยมเย็บไว้ใช้

ในครวั เรือน บ้านไหนที่ทอหน้าจกไม่เป็นก็ใช้ผ้าสแี ดงทำหน้า
หมอน หรือใช้ผ้าเมืองย้อมเปลือกไม้(ตอนเด็กเห็นแม่ย้อม
เพราะแม่ทอจกไม่เป็น) ก็สวยไปอีกแบบ...หมอนหกสมัย
โบราณใบสูงใหญ่และส้ันไม่เหมาะที่ใช้หนุน แต่ก็นิยมใช้กัน
แบบน้ัน ส่วนใหญ่ผู้ชายใช้หนุน หมอนหกใบเล็กเย็บให้
ผู้หญงิ และลูก ๆ ใช.้ .

2. “หมอนเป๊ิบ” หมายถึงหมอนที่ไม่กลม ไม่มีเหลี่ยม คือหมอนแบบที่คนท่ัวไปใช้
แต่คนแม่แจ่มท่เี ปน็ ชาวบา้ นไมค่ อ่ ยใชเ้ ขาว่า “มันหนนุ บ่าม่วนหลวงล้ำ” หนนุ หมอนหนา้ จกใบ
เล็กลงดีกว่า ซ่ึงดีจรงิ ๆ เพราะใช้เองใบพอดี ๆ ยาวหน่อยแบบกล้ิงไป – มาได้สะดวก เคยส่ง
ใบพอดี ๆ แบบท่ีว่าให้พ่อครูมาลา คำจันทร์ ท่านนอนบนแหย่ง คงใช้ได้อยู่ถ้านุ่นมันยุบก็ยัด
เข้าไปเพ่ิมเติมได้เพราะเย็บมอื ทุกขน้ั ตอน

หมอนหน้าจกแม่แจ่ม 4

3. “หมอนงัว” พ่อเป็นพอ่ ค้าววั ตา่ ง ใชห้ มอนรองหลังวัวก่อนเอาต่างวางเพื่อป้องกันไม่ให้หลังวัวกระทบกับไม้คานของตา่ ง
วัว วัว 1 ตัวใชห้ มอน 1 คู่ แปลกมากหมอนงวั ผ้ชู ายเป็นคนเย็บเอง พ่อ
ก็ตัดเย็บเองใช้ผ้าฝ้ายเมืองทอหนา ๆ แม่เป็นคนทอ ท่ีพ่อเย็บเองคง
เพราะต้องเย็บแน่น ๆ ใช้ฝ้ายเส้นใหญ่ ๆ หนาปึกเลย ต้องใช้แรงในการ
เย็บ การดึงฝ้ายดึงแน่นกว่าเย็บหมอนอื่น ๆ พอวัวต่างหยุดเดินทางก็เก็บ
หมอนไว้อย่างดี พ่อใชห้ มอนงัวหนุนเวลานอนเลน่ เจ้าของวัวต่างหลาย
ๆ คนก็ใช้หมอนงัวหนุนเวลานอนเล่น...ลองดูแล้วแข็งโป๊กเลยเหมาะท่ีจะ
เอาขเ่ี ลน่ มากกวา่ แตพ่ ่อไมใ่ หใ้ ชข้ ่ีเหตุผล คอื วัวเป็นววั ตวั ผู้ ผูห้ ญงิ ขีห่ มอนจะเป็นบาป...ผ้หู ญงิ เสยี เปรียบแม้แต่กับวัวตัวผู้

4. “หมอนสามเหลี่ยม” ใช้ในพิธีกรรม เช่น งานบวช งานกฐิน ไม่นิยมนำหมอน
สามเหล่ยี มมาใชห้ นนุ หรือนั่งพงิ

หมอนหนา้ จกแม่แจม่ 5

5. “หมอนเก้า” ท่ีแม่แจ่มเยบ็ หมอนเก้ามีรูตรงกลางรูเดียวอกี เก้า
ช่องเย็บทึบติดหน้า และใช้ในพิธีกรรมเช่นเดียวกับหมอนสามเหลี่ยม
หมอนเก้าและหมอนสามเหลี่ยมไม่เย็บเก็บไว้ท่ีบ้านเหมือนหมอนหก เมื่อ
จะใช้ในพธิ กี รรมถึงเย็บเพือ่ ใช้ และถวายวัดไมน่ ำกลับมาอีก

คนแมแ่ จ่มไม่ใชห้ มอนข้าง จึงไม่มีการเย็บหมอนข้าง อาจจะมีเด็ก
และคนร่นุ ใหม่ทใ่ี ชห้ มอนข้างโดยซ้ือมาจากท่อี ่ืน

หมอนหนา้ จกแม่แจ่ม 6

3. ความสำคัญ และประโยชน์ใชส้ อยของหมอนหน้าจก
1.ใช้หนุนนอนตามปกติสำหรับผู้ใหญ่ท้ังชาย และหญิง เด็ก ๆ ปัจจุบันไม่ใช้

หมอนหนา้ จก หรือหมอนหก ใช้หมอนธรรมดา “หมอนเปิ๊บ”

2. ใช้ในพิธีทำบุญสืบชะตา โดยใช้คู่กับเสื่อ ที่
เรียกวา่ “สาดใหมห่ มอนใหม่

หมอนหน้าจกแม่แจ่ม 7

3. ใชใ้ นพธิ ที ำบญุ ขนึ้ บา้ นใหมค่ ่กู ับเสอ่ื ใหม่ ท่นี อนใหม่ ที่เรยี กว่า “เตียมสะลใี หม่ สาดใหม่ หมอนใหม่เอาไว้ข้นึ เฮือนใหม”่
หมอนหนา้ จกแมแ่ จ่ม 8

4. ใช้ใส่สังฆ์เก๊า หรือ สังฆ์เค็ด เวลาจะทำบุญอุทิศ
ส่วนกศุ ลให้ผูล้ ่วงลบั ซ่ึงในสังฆ์เกา๊ จะใสเ่ ส่อื ใหม่ หมอนใหม่ ผ้า
สบง กรรมวาจา+ธรรม และเคร่ืองครัวอื่น ๆ เหมือนสังฆทาน
ทั่วไป ที่ขาดไม่ได้ คือ ข้าวสาร เกลือ พริกแห้ง อาหารแห้ง
ขนม สวยดอก หอ่ หมากห่อพลู

สำหรับผู้ท่ีเตรียมหมอนไว้ใส่สังฆ์ตอนตัวเองตาย จะเตรียมหมอนหน้าจกไว้คนละไม่น้อยกว่า 15 ใบ ใส่ในสังฆ์ให้ครบทุก
สงั ฆทานสำหรบั พระสงฆ์ และใส่ใน “เฮอื นตาน” แล้วแตม่ มี ากก็ใส่มาก มนี ้อยก็ใส่นอ้ ย ในงานนญี้ าติ พี่น้องอาจจะนำหมอนมาฮอม
ใส่เฮอื นตานดว้ ย (สำหรบั ตัวเองกเ็ ตรยี มหมอนไว้ 15 ใบ)

หมอนหน้าจกแม่แจ่ม 9

นอกจากใช้ใส่สังฆ์ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้คนตายแล้ว ยังใช้ใส่สังฆ์สำหรับทำบุญอื่น ๆ เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน
งานบวชพระ บวชเณรก็ใช้หมอนหน้าจกมากที่สุด เมื่อทำบุญยกยอดฉัตรพระเจดีย์วัดพระธาตุดอยฮวก ท่านพระครูธีร์นวัช ญาณ
สิทฺวาตี ก็ใชห้ มอนหนา้ จกเป็นสังฆทานถวายพระสงฆร์ ่วมร้อยใบ

หมอนหน้าจกแมแ่ จม่ 10

5. ใช้เปน็ สินค้าค่กู ับผ้าตีนจก ปจั จบุ ันหมอนหนา้ จกได้กลายเป็นสินค้าท่ีสรา้ งรายได้ให้กับผู้หญงิ สูงอายุของแมแ่ จ่ม(สายใต้)
ท้ังทอหน้าหมอน เยบ็ หมอน คือทุกข้ันตอนทำดว้ ยมือจนเสร็จเปน็ หมอนหน้าจก ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ ร้านค้า
ในแม่แจ่มก็ซ้อื หมอนหน้าจกจากคนแก่ในหมู่บ้านทอ้ งฝาย บา้ นทัพ บ้านไร่ และบ้านอื่น ๆ ในตำบลท่าผา อาจจะถงึ บ้านพร้าวหนุ่ม
บา้ นกองแขก และบา้ นอมขูด เพอ่ื บรกิ ารลูกค้า

หมอนหนา้ จกแม่แจม่ 11

6. ใช้เป็นของฝากให้แก่ญาติมิตรต่างแดนที่เข้าไป
แม่แจ่ม แบบหยิบง่ายใช้สะดวก พอใจทั้งผู้ให้และผู้รับ ทุก
รา้ นค้าผ้าพ้ืนเมืองในแม่แจ่มจึงมีหมอนหน้าจกวางขายเพ่ือ
บริการท้ังคนแม่แจ่มที่ต้องการซื้อเพื่อใช้เป็นของฝาก และ
ใชน้ พธิ กี รรมตา่ ง ๆ ท่กี ลา่ วแลว้ ทั้งคนภายนอกที่เข้ามาซื้อ
เอง ส่วนใหญ่จะเป็นหมอขนาดเล็กแบบพกพาไดส้ ะดวกใช้
หนุนคอเวลานั่งรถทางไกล...

7. ใชร้ ับรองแขก หรือญาติพ่ีน้องท่ีมาเยี่ยมเยียน โดยเฉพาะเม่ือมีคนป่วยหนักอยู่ในบ้านจะมีญาติพ่ีน้องเพื่อนบ้านมานอน
เป็นเพื่อนให้กำลังใจกัน และเมื่อมีงานศพ งานข้ึน
บ้านใหม่ก็จะมีญาติพี่น้องมานอนช่วยงาน หมอน
หน้าจกจึงต้องมีไว้ทุกบ้านเรือน มากน้อยแล้วแต่
เจา้ ของบ้านเตรยี มไว้

หมอนหน้าจกแม่แจม่ 12

8. ใช้ตกแต่ง ปัจจุบนั เม่ือมีงานเทศกาลผ้าตนี จกแม่แจม่ หมอนหน้าจกก็ยังมีบทบาทคู่กับซิ่นตีนจก คือ ใช้ตกแต่งบนรถใน
ขบวนแห่ผ้าตีนจก และบางปีเห็นผู้เดินขบวนก็ถอื หมอนหน้าจกสวย ๆ คนละใบเดินกันหลายสิบคน แม้เมื่อมีงานปอยหลวง ปอย
เข้าสังฆ์และมีเฮือนช่างซอ ก็มีหมอนหน้าจกวางไว้ให้ช่างซอใช้พิง หรือวางมือวางแขน นับว่าหมอนหน้าจกมีประโยชน์มากมาย
สำหรับคนแม่แจม่

หมอนหนา้ จกแมแ่ จ่ม 13

4. ข้ันตอนการเยบ็ หมอนหน้าจก
ปี พ.ศ.2550 เคยใช้ตบู ถวั่ เนา่ ริมถนนหน้าบา้ นแม่เลิศเป็นที่

เรียนเยบ็ หมอนหน้าจก แม่ดี บุญเทยี ม เป็นคนจำได้และเล่าให้ฟัง
ว่ายาย(ฝอยทอง)เคยซอ้ื ผ้าดิบมาใหเ้ รยี นเยบ็ หมอนกับแมอ่ ่อง (แมอ่ ยุ๊
คำป้อ ไชยเกตุ) มีแม่เลิศช่วยสอนด้วย นักเรียนโคร่งมี แม่ฝอยทอง
สมบัติ แม่ดี บุญเทียม แม่แก้วนา จนั ต๊ะมงั แม่จันทร์ทา นิปุณะ
แม่ผ่องพรรณ วเิ ศษคุณ เร่ิมจำได้แล้วการสอนของแม่ครูใช้วิธกี ะ ๆ
(คาดคะเน) เอาซ่ึงไม่ถนัดสำหรับคนเคยเรียนแบบต้องใช้สายวัด ๆ
ดนิ สอขีด ๆ เป็นช่อง ๆ แล้วถึงจะเย็บ คนอื่น ๆ เขาเรียนตามแม่ครู
สอน ความชำนาญต่างกันเย็บไปเย็บมาก็ไม่เป็นหมอน แม่อ่องก็ว่า “โทะ ๆ เมาเยียะหยั่งอั้นเมื่อใดจะแล้วบ่าตันก๋ิน” พอกลับ
หมอนครงั้ สดุ ท้ายไม่เปน็ หมอน แม่อ่องด่าไปหวั เราะไป “ผะหญาปึกฮะบา่ ถา้ เฮียนหละคา้ นสอน” อ้าปากหวั เราะ
เข้าล็อคพอดี เร่ิมข้ีเกียจเรียน...แค่เห็นหัวแม่มือแม่อ่องงอก้องหง้อง(หงิกงอ) ก็ท้อแล้ว...ครั้งน้ันสอบตกหลายคน เหลือแม่ดี แม่
แกว้ นา แมเ่ ลศิ ท่ีเยบ็ หมอนขายตลอดมา...

หมอนหน้าจกแม่แจ่ม 14

ขั้นตอนการเย็บหมอนพอสังเขป เขาใช้ไม้ตอกวัดขนาดของหมอน เช่น เล็ก กลาง ใหญ่ ใช้ไมข้ นาดหมอนวัด ตัดตวั หมอน
ไส้หมอน เท่าจำนวนทีจ่ ะเยบ็

เริม่ เย็บไสห้ มอนติดกนั ก่อน 2 ชิ้น ต้องวางใหถ้ กู ...
ใชไ้ ม้ขนาดตัวหมอนวดั ผ้าตวั หมอนทตี่ ัดเตรียมไว้ พบั ใหเ้ ปน็ รอย... นำไสห้ มอนที่เย็บไวแ้ ล้วมาเย็บตดิ ตวั หมอน ตอนนส้ี ำคัญ
ต้องวางใหถ้ ูกถึงจะเยบ็ ไสส้ ่วนอืน่ ๆ ตดิ ตวั หมอนเปน็ ชว่ ง ๆ งง ๆ มากแต่คนชำนาญเขาจบั ๆ กรดี ๆ เยบ็ ๆ แป๊บเดยี วถงึ ช่วงสุดทา้ ย
...นำรมิ 2 ดา้ นออ้ มตวั หมอนไส้หมอนเยบ็ ติดกนั ...จบกลบั ดา้ นกลายเปน็ ตวั หมอนทีพ่ ร้อมจะติดหนา้ ...
ใชผ้ า้ ขาวที่ตัดไว้แลว้ เรยี กวา่ “หนา้ พาง” นา่ จะเป็นหนา้ พราง คอื ตดิ พราง ๆ ไว้เพือ่ ยดั นุ่น ตดิ ด้านเดียวก่อน
ยัดนุ่นในช่อง ๆ ที่เรียกว่า ไส้ ยัดให้พอดี ๆ ไม่หลวมหรือแน่นเกินไป ถ้าหลวมหมอนก็จะยุบเร็ว ถ้าแน่นก็จะแข็งหนุนไม่
สบาย เมอื่ ยดั นนุ่ เสร็จแล้วก็เย็บตดิ หนา้ พรางอกี ด้านหนึ่ง เปน็ รูปหมอนแลว้
นำผ้าสีแดงท่ีตัดเป็นเส้นยาว ๆ กว้างประมาณ 3 นิ้ว เรียกว่า “สอ” ไม่รู้ความหมายน่าจะเป็นภาษาของคนเย็บหมอนมา
ต้ังแต่แม่อุ๊ยแม่หม่อน นำผ้าสีแดงน้ีเย็บติดกับหน้าจกท่ีทอเตรียมไว้ เย็บติดท้ัง 4 ด้าน กลับออกมาพับริมผ้าสีแดง นำไปสวมตัว
หมอนเยบ็ ติดตวั หมอนใหส้ วยงามทง้ั 2 ดา้ น
นำผ้าเส้ือหมอน (ปลอกหมอน)ที่ทอไวม้ าวัดรอบตัวหมอน เผ่ือเยบ็ ตะเข็บ เยบ็ ตะเขบ็ แบบเข้าถ้ำ นำไปใส่ตวั หมอน กวา่ จะ
เสร็จทกุ ขนั้ ตอนคนนง่ั ดูยงั เหนื่อยแทน

หมอนหน้าจกแม่แจม่ 15

หมอนหนา้ จกแมแ่ จม่ 16

หมอนหนา้ จกแมแ่ จม่ 17

5. ช่ือลายหมอนหน้าจก ดูช่ือลายจากรูปที่ติดไว้ อาจจะมีซ้ำ ๆ ซ่ึงเป็นลายเดียวกันแต่ใส่ฝ้ายจกต่างกัน ลายจึงปรากฏ
แตกต่าง และบางรายบางคนใส่ฝา้ ยซ้อน บางคนไม่ซ้อน แลว้ แต่คนทอจะชอบแบบไหนตามจนิ ตนาการของผู้ทอ…

ช่อื ลาย กุดกบ, กุดขอเบ็ด, กุดผักแว่น, กุดลาว, กุดบะเต้า,กุดสามเสา, โกมหัวหมอน, ขอกะแจ๋, ดอกจันน์, ดอกจนั น์แปดกลีบ,
ดอกจันน์ซอ้ น, ดอกจันน์หน้อย, ดอกจันน์นุสรา(คุณนสุ รานำมาทอ) ดอกสาดหลวง, ดอกสาดหน้อย, ลายสามสิบสองเงื่อน, และลาย
รูปสัตว์ต่าง ๆ ท่ีวาดเป็นรูปสัตวแ์ ล้วนำมาทอ เช่น ช้าง ม้า ไก่ นก หมา แม่งป่องฯ ผู้ท่ีเริ่มทอรปู สัตว์คือ แม่เต็ม ศรีเท่ียง บ้านยาง
หลวง โดยมพี อ่ หนาน...(สามแี มเ่ ต็ม)เป็นคนวาดรปู ให้ เก่งท้ังสองคนเลยน่ายกยอ่ งมาก (ถงึ แก่กรรมทัง้ สองคน)

ลายกุดกบ กุดขอเบด็ กดุ บะเต้า
หมอนหน้าจกแมแ่ จ่ม 18

กุดลาว 1 กุดลาวไม่มขี อ กดุ สามเสา

โกมหวั หมอน โกมหวั หมอน (2) โกมหัวหมอน (3)
หมอนหน้าจกแมแ่ จ่ม 19

ขอกะแจ๋ ขอกะแจ๋ (2) ต้องถาม

ดอกจันน์ ดอกจันน์ (2) ดอกจันน์ (3)
หมอนหนา้ จกแมแ่ จ่ม 20

ดอกจันน์ 8 กลีบ ดอกจันน์ซ้อน ดอกจนั น์หนอ้ ย

ดอกจนั นน์ สุ รา ดอกสาดหน้อย ดอกสาดหลวง
หมอนหนา้ จกแม่แจม่ 21

สดุ ทา้ ยเพ่ิมเติมชื่อผู้เยบ็ หมอน และสถานทีข่ ายหมอนเท่าทที่ ราบในขณะน้ี นอกจากรา้ นคา้ ท่วั ๆ ไป...
1. แม่เลิศ คำมาวนั โรงทอผ้าบ้านไร่ เบอร์โทร.มลทา 095 698 3063
2. แม่ดี บญุ เทยี ม บ้านไร่ เบอรโ์ ทร.บวั ไข 097 3560003
3. แม่แก้วนา จนั ต๊ะมงั บ้านไร่ เบอรโ์ ทร.มาลยั 088 416 8794
4. แม่คำปอ้ กลู นันท์ บา้ นเหลา่ ป่ากอ่ โทร.081 024 4828
(อาจจะมีบา้ นอืน่ ทเ่ี ย็บหมอน แตไ่ ม่มขี อ้ มูล)

หมอนหนา้ จกแมแ่ จม่ 22

เขียนเร่ืองหมอนหน้าจกทำให้คิดถึง “ตูบถั่วเน่าบ้านไร่” เพราะเป็นสถานท่ีแรกที่
รวมกลุ่มถ่ัวเน่าบ้านไร่ กลุ่มทอผ้าตีนจกบ้านไร่ และเกิดศูนย์การเรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรม
ประเพณีของแม่แจ่ม ก็เกิดจากตูบเล็ก ๆ ริมถนนหน้าบ้านพ่อทน – แม่เลิศ คำมาวัน และ
สถานที่ตรงนัน้ ใกลก้ ับน้ำแม่แจ่ม พ่อทน คำมาวัน, พอ่ อน่ิ คำ นิปณุ ะ, พอ่ เปี้ย บญุ เทยี ม ช่วยกัน
ทำตูบน้อยปูฟาก มุงตองตึง ผู้หญิงช่วยกันถางหญ้ารอบ ๆ เพ่ือใช้เป็นสถานท่ีทำถั่วเน่าร่วมกัน
พ้ืนดินที่เหลือพ่อทนกับแม่เลิศปลูกผักพ้ืนบ้านทุกชนิดไว้เก็บกินด้วยกัน ช่วงว่างจากการรอถั่ว
เน่าสุกก็นำงานเย็บหมอน เย็บว่อม ทำคัมภีรห์ ่อธรรม มาทำร่วมกัน สมาชิกกลุ่มถั่วเน่า มีแม่
เลิศ ในฐานะเจ้าของสถานที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม แม่จันทร์ทา, แม่ดี, แม่มุก, ผ่องพรรณ, สุรีย์, แม่
แก้วนา วันไหนมีแมอ่ ุ๊ยต๊ิบ บญุ เทียม แม่อุ๊ยสา ทานา แม่อุ๊ยคำป้อ (อ่อง) ไชยเกตุ มาแอว่ หา
ก็จะมีการเล่าเจยี้ จ๊อย ซอ เล่นกนั สนุกสนานมาก พ่อบุญ วงศ์ซอื่ พ่ออ่ินคำ, พ่อทน,พ่อหนานติ๊บ
ก็ชอบมาน่ังคุยด้วย มีเรื่องเล่าเยอะแยะมากมายท้ังตอนท่ีไปทำไร่โหล่งปง ตอนไปทำไร่ฝิ่น....
เสียดายตอนนี้ทุกคนแยกย้ายกลับไปทำงานอยู่ในบ้านของแต่ละคนเพราะอายุมากขึ้น มีแต่แม่
เลิศ ยังมีสาวทอผ้าหลายคนอยู่ในบ้าน...จากความสุขตอนนั้นทำให้มีความผูกพันแบบแยกกันไม่
ออกต้องไป มา หา สกู่ ันจนถงึ ปจั จบุ ัน

หมอนหนา้ จกแม่แจ่ม 23


Click to View FlipBook Version