The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือทหารต้านภัย COVID19 กรมสรรพาวุธทหารบก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ict.ordn, 2020-05-08 03:16:48

คู่มือทหารต้านภัย COVID19

คู่มือทหารต้านภัย COVID19 กรมสรรพาวุธทหารบก

Keywords: สพ.ทบ.,ทบ.,กรม,สรรพาวุธทหารบก,คู่มือทหารต้านภัย COVID19

_

คำปรารภจาก ผบ.ทบ.

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด–๑๙ ที่ขยายตัวเป็นวงกว้างในปัจจุบัน กองทัพบกใน
ฐานะหน่วยงานด้านความมั่นคง มีหน้าที่ในการเตรียมกำลังพล บุคลากรทางแพทย์ และยุทโธปกรณ์ทุก
ประเภท ให้มีความพร้อมในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชน
รวมถึงการควบคุม พิทักษ์ ปกป้องกำลังพล และครอบครัวของกองทัพบก ที่นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดใน
เวลาน้ี ดงั น้นั กำลงั พลทุกนายจำเปน็ ต้องมีความรู้เก่ยี วกับมาตรการปอ้ งกันโรคโควดิ –๑๙ เพื่อให้สามารถ
รับมือกับการแพร่ระบาดโรคโควิด–๑๙ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถปฏิบัติตนในสถานการณ์
ดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ผมมีความห่วงใยสวัสดิภาพ และสุขภาวะของกำลังพลทุกนาย จึง
ได้จัดทำคู่มือทหารต้านโควิด-๑๙ ขึ้นมา เพื่อให้กำลังพลทุกนายได้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตัว เพ่ือ
ป้องกันตนเองและครอบครัวให้รอดพ้นจากสถานการณ์ดังกล่าว สุดท้ายน้ี ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กำลัง
พลทุกนายและครอบครัวของกองทัพบก จะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ปลอดภัยจากโรคโควิด ๑๙
ตลอดจนสามารถเป็นกำลังสำคัญของกองทัพบก ในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในสถานการณ์วิกฤติ
ของบา้ นเมือง ดังปณธิ านท่ีวา่ “ทหารเปน็ ท่พี ึ่งของประชาชนในทกุ โอกาส”

คำนำ

คู่มือทหารต้านภัยโควิด-๑๙ เป็นคมู่ ือการป้องกนั การระบาดของโรคโควดิ -๑๙ สำหรบั บุคคล ฉบับ
แรกที่ออกในปี ๒๕๖๓ เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบนั โรคโควิด-๑๙ มีการระบาดอย่างรุนแรงไปทั่วโลก เป็น
โรคที่มีอาการรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วไปยังบคคลอื่นๆ ก่อนที่บุคคลท่ีติด
โรคจะมีอาการเจ็บป่วยหรือผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างย่ิงการอยใู่ กล้ชดิ กับผู้อื่น หรือมกี จิ กรรมรวมกันเป็นหมู่
มาก ผู้บังคับบัญชาได้มีความห่วงใยผู้ใต้บังคับบัญชา จึงได้มีคำสั่งให้ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-๑๙
กองทัพบก จัดทำคู่มอื ฯ เล่มนี้ขึน้ เพื่อให้กำลังพลท่ีกำลังปฏบิ ัตงิ านในสถานที่ หรือพื้นทีป่ ฏิบตั ิการตา่ งๆ
รวมไปถึงครอบครัวในชุมชนค่ายทหาร มีความปลอดภัยจากโรคโควิด-๑๙ รวมทั้งสามารถใช้ชีวิตได้
ตามปกติ และมีความพร้อมท่จี ะปฏบิ ตั ิภารกิจภายนอกหน่วยไดอ้ ย่างมน่ั ใจ

สุดท้ายนี้ ขอให้กำลังพลทุกนายติดตามสถานการณ์ ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลและปฏิบัติ
ตามคำสั่งของกองทพั บกทไี่ ด้ส่งั การไปแลว้ รวมทง้ั ปฏิบัติตามคู่มอื เล่มน้ีอย่างเคร่งครัด

สารบัญ

บทท่ี ๑ ตระหนกั รู้
บทท่ี ๒ การปอ้ งกันตนเอง
บทท่ี ๓ วินัยทหารตา้ นโควิด-๑๙ (COVID-19)
บทท่ี ๔ การเตรียมตัวออกปฏิบตั ิการ
บทท่ี ๕ อปุ กรณป์ อ้ งกันร่างกายส่วนบุคคล และการทำความสะอาด
บทที่ ๖ มาตรการปอ้ งกนั การแพร่ระบาดโรคโควิด-๑๙ ของกองทัพบก

ภาคผนวก ก คำถามการประเมินความเสีย่ ง สำหรบั เจ้าหน้าที่ทหารทอี่ อกปฏบิ ตั ิหนา้ ที่
ภาคผนวก ข
ในการคัดกรองภายในหน่วย หรือสถานที่ทไ่ี ด้รบั มอบหมาย
การติดตามขอ้ มูลข่าวสารการปฏิบัตขิ องกองทพั บก

บทท่ี ๑ ตระหนักรู้

ลกั ษณะเชอ้ื กอ่ โรค

โควิด-๑๙ เป็นเชื้อไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอท่ีมีเปลือกหุ้ม มีชื่อว่า ไวรัสซาร์โควีทู (SARS-CoV-2)
ภาษาไทยเรยี กว่า ไวรสั ระบบทางเดินหายใจเฉยี บพลนั รุนแรงชนิดท่ี ๒ ซ่งึ กอ่ โรคในระบบทางเดินหายใจ
และระบบทางเดนิ อาหาร ติดต่อไดง้ ่ายผ่านการไอ จาม เกิดละอองเสมหะ ละอองน้ำมกู นำ้ ลาย ตรวจพบ
ไดท้ งั้ ในเลือด นำ้ มูก นำ้ ลาย เสมหะ และสามารถตรวจเจอได้จากอุจจาระดว้ ย

ใครเสีย่ งตอ่ การติดโรค ?
๑. ทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย ที่สัมผัสเชื้อแล้วเกิดโรคได้ทั้งหมด เชื้อนี้เป็นเชื้ออุบัติใหม่ ไม่เคย

เกดิ ขนึ้ มาก่อนและคนเกือบท้งั หมดยงั ไม่มภี ูมิตา้ นทานตอ่ โรคน้ี วัยแรงงานจะมีความเส่ียงสูงในการสัมผัส
โรค ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคและเสียชีวิต สำหรับคนเป็นเบาหวาน ความดัน หัวใจ คนอ้วน
และหญงิ ตง้ั ครรภ์ มคี วามเสี่ยงสูงเพิ่มมากข้ึน

๒. ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยหรือดูแลผู้ป่วย แล้วไม่ปอ้ งกันตัวเอง ไม่รักษาความสะอาดส่วนบุคคล ผู้ท่ี
ทำงาน พักอาศัย เดินทางท่องเที่ยว หรือ กลับจากพื้นที่ที่มีรายงานการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงคนที่พักอาศยั ร่วมกันคนเหล่าน้ี

๓. ผทู้ ่ไี มป่ ้องกนั ตัวเองในระหว่างระบาด เชน่ ไม่สวมหน้ากากอนามยั หรือหนา้ กากผ้า เม่ือต้องไป
ยังสถานที่ที่มีผู้คนหนาแน่น หรือขณะเดินทาง ไม่ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาด หรือลูบมือด้วยเจล
แอลกอฮอลท์ ีม่ ีความเขม้ ข้นท่ี ๗๐%

๔. ผไู้ มเ่ ว้นระยะหา่ งระหว่างบุคคลในสงั คม และหรอื ไมง่ ดการพบปะ พูดคยุ รวมตัว จับกลุ่มร่วม
ทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง มีโอกาสติดโรคมากขึ้น มีการเดินทางไปในที่ชุมชน เช่น สนามมวย สถาน
บันเทงิ รา้ นอาหาร หา้ งสรรพสินคา้ วดั ตลาดสด โบสถ์ มสั ยดิ ทำให้มโี อกาสตดิ มากข้ึน

ลักษณะของโรคและการดำเนินโรค
การรับเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ปาก เยื่อบุตา ซึ่งเข้าโดยสัมผัสโดยตรง หรือจับของรอบตัว

เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได กำแพง เสารถไฟฟ้า โต๊ะ เก้าอี้ ไมโครโฟน ตู้เอทีเอ็ม โทรศัพท์มือถือ
ที่ปนเป้ือนกบั ตัวโรค แล้วนำเขา้ มาขย้ีตา ป้ายจมูก ทำให้เกิดโรคมากขึ้น จะแสดงอาการของโรคระหว่าง
๒ - ๑๔ วัน ท้งั นี้คนสว่ นใหญ่มักจะแสดงอาการของโรคประมาณ ๑๑ วันขึน้ ไป และแสดงอาการของโรค
เร็วท่สี ดุ ประมาณ ๒ วนั เมือ่ รบั เชอื้ เข้าไปแลว้ เชื้อไวรัสโคโรนาชนดิ นี้จะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ลงสู่
ปอด ทำให้เซลล์เนื้อปอดที่ติดเชื้อเกิดการเกาะกลุ่มกัน และทยอยตายลง และยังแพร่กระจายไปยัง
อวยั วะสำคัญได้แก่ สมอง ลำไส้ และ ไต เปน็ เหตุให้เมด็ เลือดขาวถกู ทำลาย สง่ ผลใหเ้ นือ้ ปอดอกั เสบอย่าง
รุนแรง จนไมส่ ามารถขยายตวั ตามการหายใจเข้าออกได้ จนเป็นเหตุให้มโี อกาสเสียชีวติ ในทสี่ ดุ

อาการและอาการแสดง

อาการของโรคนคี้ ล้ายกับอาการแสดงของโรคไขห้ วัดใหญ่ คือ อาการหลัก ไข้ ไอแห้ง ปวดเม่อื ย
เนื้อเม่อื ยตัว ปวดศีรษะ คัดจมกู มนี ้ำมูก เจบ็ คอ หอบเหน่อื ย แน่นหน้าอก อ่อนเพลยี คล่ืนไส้ อาเจยี น
ทอ้ งเสีย ดังนนั้ จึงไม่สามารถแยกโรคไดจ้ ากโรคไขห้ วดั ใหญ่ ถ้ารว่ มกับอาการ โอกาสเสี่ยงยง่ิ เปน็ มากข้นึ
แตจ่ ะสามารถแยกได้จากการตรวจ ซึ่งการตรวจไดจ้ ากการเกบ็ สารคดั หลั่งจากในจมูก ชอ่ งหลงั จมกู และ
คอ แลว้ นำไปตรวจแลป เรียกวา่ พซี อี าร์ (PCR) ซ่ึงจะทราบผลไดป้ ระมาณ ๑ วนั

บทท่ี ๒ การป้องกันตนเอง

การป้องกันตนเองเป็นเกราะกำบงั ท่ดี ีทีส่ ดุ ด้วยการใชอ้ ุปกรณ์ปอ้ งกนั ตนเอง อปุ กรณป์ ้องกัน
การเข้าของเช้ือ หนา้ กากอนามัยมแี บบที่ใชแ้ ลว้ ทง้ิ กับหนา้ กากอนามัยท่เี ป็นผา้ ซ่งึ ต้องซกั ทำความสะอาด
บอ่ ยครั้ง และกรองโรคได้ โดยหนา้ กากอนามัยสวมถูกวิธี ดังนี้
วิธีการสวมหนา้ กากอนามัยอย่างถูกต้อง
๑. ทำความสะอาดมือกอ่ นใส่หน้ากาก
๒. หันดา้ นท่มี สี ีออกขา้ งนอก หนั ด้านสีขาวเข้าตัว
๓. จับสายจากด้านข้างแลว้ คลอ้ งที่หลงั หู
๔. กดแกนโลหะด้านบนให้แนบกบั หน้า
๕. ดึงหน้ากากด้านล่างให้ถงึ ใตค้ าง

การถอดก็เช่นกัน ควรถอดให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการสัมผัสเชื้อและทุกครั้งต้องล้างมือเมื่อถอด และถ้า
เปน็ ไปได้ควรตัดท้ิงป้องกนั คนอืน่ นำไปใชใ้ หม่

ข้นั ตอนการถอดหนา้ กากอนามยั อยา่ งถกู ต้อง
1. ใช้นิ้วเก่ียวสายคลอ้ งเพื่อทิง้ ลงถงั ขยะ
2. ห้ามสัมผสั หน้ากากโดยตรง
3. หากสัมผสั หน้ากากที่ใช้แล้ว ให้ลา้ งมอื ใหส้ ะอาด

การลา้ งมอื ๗ ขั้นตอน ดว้ ยสบู่และน้ำสะอาด หรือการลูบมือดว้ ยเจลแอลกอฮอล์
การปอ้ งกันตนเองหลงั การไปสัมผัส จับสงิ่ ต่าง ๆ คือ การลา้ งมือ ควรล้างใหส้ ะอาดและต้องมสี บู่

ลา้ งมือโดยทำการล้าง ๗ ขน้ั ตอน หลักจำง่าย ๆ คือ หนา้ – หลัง – กลาง – ปน้ั – โป้ง – ปลาย - ข้อ

การใช้มาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing โซ-เชยี ล-ดิส-แทน-ซิ่ง) เรียกงา่ ย ๆ
ว่าเว้นระยะห่างให้ไกลโรค ใช้ในเวลาที่ต้องพบปะพูดคุย ประชุม เดินตามท้องถนน ห้างสรรพสินค้า
ตลาดสด ในรถโดยสาร ต่อแถว โดยกำหนดการจัดระเบียบพื้นที่/สถานที่ กิจกรรม ระยะห่างระหว่าง
บคุ คล และเวลาตามแนวทาง ดงั นี้

(๑) การเว้นระยะห่างระหวา่ งบุคคลอยทู่ อี่ ยา่ งนอ้ ย ๑ - ๒ เมตร จะนั่งหรอื ยนื กเ็ วน้ ระยะหา่ ง โดย
เว้นท้งั ทางด้านหนา้ และด้านข้าง

(๒) หลกี เล่ียงการสมั ผัสทางกายภาพ และการเข้าร่วมกิจกรรมที่มีคนหมู่มาก
(๓) หลกี เล่ยี งการเดินทางออกนอกบา้ น คา่ ย หรอื การใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
(๔) กำหนดวิธีบริหารจดั การการทำงาน เช่น การจัดผลัดในการทำงาน และการเหล่ือมเวลาการทำงาน

สุขอนามัยที่ตอ้ งทำเป็นประจำ คอื
- การทานอาหารกับคนทวั่ ไป ต้องใชช้ ้อนกลาง ปอ้ งกันการปนเป้ือนนำ้ ลาย ไม่ใช้ชอ้ นสอ้ มร่วมกบั
ใคร ควรเป็นช้อนส้อมของตวั เอง
- ควรรับประทานอาหารท่ีปรงุ สกุ ใหม่ ไมก่ นิ อาหารดิบ ไมค่ วรทานอาหารที่ต้ังทิ้งไวน้ าน
- การลา้ งมอื ทุกคร้ังก่อนและหลงั จบั สิ่งของทีส่ ัมผัสบ่อย ๆ หรือมีคนสมั ผัสมาก

- ไมใ่ ชข้ องใชร้ ว่ มกับคนอ่ืน เช่น เสื้อผา้ ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหนา้
- ไมเ่ ล่นสมั ผสั ใบหนา้ ไมส่ ัมผัสจมูก ตา ของคนอื่น
- ก่อนเข้าห้องนำ้ มีการล้างมือทำความสะอาดกอ่ นทำกจิ และเมื่อเสรจ็ กจิ ต้องทำความสะอาด
ปิดฝาโถสว้ ม และล้างมอื ทกุ ครง้ั ทอ่ี อกจากหอ้ งน้ำ
- การปดิ ป้องการไอ จาม ท่ถี ูกต้อง

- ถ้าเผลอไปสัมผัสกับฝุ่น สารระเหย ทำให้ระคายเคืองจมูกและจามออกมา ควรยกแขนขึ้นใช้
ข้อศอก หรือขอ้ พับปดิ จมกู และปากให้เรียบร้อย
- ในช่วงที่มีการระบาดของโรค ควรพักอยู่กับหน่วย อยู่ในกองร้อย ในค่ายทหาร งดสังสรรค์และ
การปฏิสัมพันธก์ ับคนหมู่มาก
- ให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายแบบเดี่ยวหรือกลุม่ ไม่ควรพูดคยุ และงดเล่นกีฬา
ทเี่ ป็นทีม

- หลีกเลี่ยงการออกนอกบริเวณที่พักอาศัยในบ้านพักของทางราชการโดยไม่จำเป็น หากเดิน
ทางออกนอกที่พัก ต้องกลบั เข้าบ้านพกั ไม่เกินเวลา ๒๑๐๐

- ห้ามเดินทางขา้ มเขตจงั หวัด เว้นการเดินทางไปปฏิบัติหน้าท่ีราชการ การสับเปล่ียนกำลงั ของหนว่ ย
และการลากจิ ที่จำเป็นเรง่ ดว่ นฉกุ เฉิน ใหร้ ายงานโดยตรงตอ่ ผบู้ งั คับบญั ชาของตนเอง

- ให้รักษาวินัยในการปฏิบัติตาม รปจ. เพื่อป้องกันโรคที่ ทบ. สั่งการไว้แล้วอย่างเคร่งครัด เช่น
การรักษาระยะห่างระหว่างกันอย่างน้อย ๒ เมตร มีอุปกรณ์ภาชนะกระติกน้ำดื่มส่วนตัว การกระจายที่
นั่ง แบ่งผลัดรับประทานอาหาร การออกกำลังกายกลางแจ้ง/กลางแดด กิจกรรมใดที่ต้องรวมพลเป็น
จำนวนมากให้พิจารณาแบ่งเป็นผลัดเพอ่ื ลดความแออดั

พบกำลงั พล หรอื เพ่ือนทหารต้องสงสัยว่าเป็นโรคโควิด-๑๙ ให้รายงานผบู้ งั คบั บญั ชาทนั ที

บทท่ี ๓
วินยั ทหารตา้ นโควิด - ๑๙ (COVID-19)

๑. รโู้ รคกระจา่ ง

ศึกษาหาความรู้เร่ืองโรคโควิด-๑๙ ให้กระจ่างชดั เชน่ เป็นเชือ้ ที่ไม่ชอบอากาศร้อน และแสงแดด
ถกู ทำลายไดง้ ่ายด้วยความร้อน น้ำสบู่ หรือ แอลกอฮอล์ ๗๐%

เชื้อสามารถแพร่กระจายทางละอองน้ำลาย (ที่เกิดจาก การไอ จาม ระยะ 1 เมตร) และเชอ้ื ติดอยู่
ตามพ้นื ผิวสัมผสั ทั่วไปเป็นเวลานาน คนมาสมั ผัสกจ็ ะติดเช้ือต่อกนั ไปเร่ือยๆ

๒. ล้างต้องให้เกลีย้ ง

๒.๑ หมั่นล้างมือใหส้ ะอาดด้วยน้ำสบู่ หรือ เจลแอลกอฮอล์ใหส้ ะอาดทส่ี ดุ (ทำใหเ้ ป็นนิสัย)

๒.๒ หม่ันล้างมอื ให้สะอาดดว้ ยน้ำสบู่ ๒๐ วนิ าที หรอื ล้างด้วยเจลแอลกอฮอล์แล้วถูมือจนแห้ง กอ่ น
และหลังรับประทานอาหาร หลงั เข้าหอ้ งน้ำ หรือหลังการสัมผัสส่ิงของ ผิวพื้นสัมผัสในทสี่ าธารณะ

๓. เลี่ยงต้องเป็นกฎ

๓.๑ เลี่ยงใช้มือท่ีไม่สะอาดสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก แม้ว่าจะสวมหน้ากากอนามัยแล้วก็ตาม

๓.๒ เลี่ยงไปในทค่ี นแออัด หรือชมุ นุมกนั เป็นจำนวนมาก หลีกเลี่ยงการใชย้ านพาหนะปรับอากาศ
พยายามนั่งห่างกัน และใส่หนา้ กากอนามัยตลอดเวลา รักษาระยะห่างจากผ้อู ่ืน ๑ - ๒ เมตร เสมอ

๓.๓ เลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย หรือ สัมผัสพื้นผิวสาธารณะ ของใชส้ ่วนรวม เช่น ลกู บดิ ประตู โตะ๊ เกา้ อี้
ปมุ่ กดลิฟต์ ฯลฯ หลังสมั ผัสควรล้างมือใหส้ ะอาดดว้ ยน้ำสบู่ 20 วินาที หรือล้างด้วยเจลแอลกอฮอล์ แล้วถู
มอื จนแหง้

๔. ลดทุกความเส่ยี งการแพรร่ ะบาด
๔.๑ สวมหนา้ กากอนามัยเม่ือไปในพ้นื ทีแ่ ออดั ทีป่ ระชุม ทช่ี มุ นมุ ชน
๔.๒ เมอื่ มอี าการไอ หรือ จาม ใหป้ ดิ ปากด้วยข้อพบั แขน
๔.๓ หมน่ั เช็ดทำความสะอาดของใชส้ ่วนตวั อยูเ่ สมอ เชน่ โทรศพั ท์ กระเป๋า แว่นตา
๔.๔ เมอื่ มอี าการผิดปกติให้สวมหน้ากากอนามยั ต้องรายงาน ผบช. และรบี ไปพบแพทย์

๕. รักษาสขุ ภาพรา่ งกายใหแ้ ข็งแรงอยู่เสมอ
๕.๑ รบั ประทานอาหารทส่ี ะอาด ปรุงสกุ ใหม่ ไม่ทานอาหารดิบ
๕.๒ ใช้ช้อน ส้อม ถุงใส่ช้อนสอ้ มสว่ นตัว ก่อน/หลังใช้ ต้องล้างทำความสะอาดเช็ดให้แห้ง เก็บใส่

ถงุ สว่ นตวั
๕.๓ ใชแ้ ก้วน้ำดื่ม หรือกระตกิ น้ำสว่ นตัว (หากไม่มี ให้ใชก้ ระตกิ นำ้ สนามในอัตราของหนว่ ย)
๕.๔ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นออกกำลังกายกลางแจ้ง อย่างน้อย ๓ ครั้ง/สัปดาห์ (ครั้งละไม่

นอ้ ยกวา่ ๓๐ นาท)ี หลีกเลีย่ งการออกกำลังกายเป็นหมู่คณะ โดยเฉพาะในสถานท่ีปดิ เช่น ห้องยิม กรณี
ออกกำลังกายในหอ้ งยมิ รกั ษาระยะห่างอยา่ งน้อย ๒ เมตร

๕.๕ เอาใจใส่สังเกตอาการผดิ ปกติของรา่ งกาย หากไมส่ บาย มอี าการครั่นเนอ้ื ครัน่ ตัว มีไข้ ไอ จาม
เจบ็ คอ หรอื ปวดเมื่อยออ่ นเพลียมาก ใหส้ วมหนา้ กากอนามยั รายงานให้ ผบช. ทราบและรบี ไปพบแพทย์

ข้อเน้นยำ้

๑. ให้กำลังพลปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ตามประกาศของ
กระทรวงสาธารณสุข และวินัยทหารต้านโควิด-๑๙ อยา่ งเครง่ ครดั

๒. ให้ความร่วมมือ และต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม โดยการอยู่ประจำหน่วย
(โดยเฉพาะพลทหารกองประจำการ) เพื่อเป็นการปอ้ งกันและควบคมุ การแพรร่ ะบาดของเชื้อโรค

๓. มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม เป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างเคร่งครัดในทุกโอกาส และให้งดการ
รวมกลุม่ โดยไมจ่ ำเป็น หากมคี วามจำเป็นใหเ้ ว้นระยะห่าง ๒ เมตร

๔. กำลังพลทหารกองประจำการ และกำลงั พลทุกระดับที่ไดล้ าพักไปแลว้ เมื่อกลับมาขอให้ร่วมมอื
กับหน่วยในการแจ้ง/บันทึกประวัติการเดินทาง การพำนักอาศัย และการพบปะสัมพันธ์กับบุคคล/
สถานที่ จากนั้นจะต้องถูกกักกัน โดยแยกตัวออกจากกำลังพลส่วนใหญ่เป็นเวลา ๑๔ วัน เพื่อเฝ้าสังเกต
อาการ หากพบอาการปว่ ยจะถูกส่งตวั ตรวจรักษาทันที

๕. หมั่นทำความสะอาดพื้นที่ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ส่วนตัวและส่วนรวม ด้วยน้ำและสารทำความ
สะอาดอย่างสมำ่ เสมอ

๖. ให้กำลังพลออกกำลังกายกลางแจ้งเป็นประจำสม่ำเสมอ ไม่เล่นกีฬาประเภทเป็นทีม เช่น
ฟตุ บอล ตะกรอ้ เป็นตน้

๗. สิ่งสำคัญท่ีจะเป็นกลไกเอาชนะเชื้อโรคร้าย และทำให้เราสามารถฟันฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปได้ คือ
ความมีวนิ ัยในตนเอง ไม่เหน็ แกต่ ัวปิดบังโรค รจู้ กั ปรบั พฤตกิ รรมของตนเองใหส้ อดคล้องกบั สถานการณ์ที่
เปลี่ยนแปลงไป และการเอาใจใส่สอดส่องดูแลความทุกข์สุขของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และ
ครอบครวั อยา่ งใกลช้ ิด

บทที่ ๔ การเตรยี มตัวออกปฏบิ ตั กิ าร

กอ่ นปฏบิ ตั ภิ ารกิจ
๑. สำรวจตนเองวา่ มสี ขุ ภาพร่างกายพรอ้ มทจี่ ะปฏิบตั ิงานหรอื ไม่ ควรวดั อุณหภูมริ า่ งกายว่าปกติ

หรือไม่ ถ้าไม่ปกติ (มากกว่า ๓๗.๓ องศาเซลเซียส) ใหแ้ จ้งผูบ้ งั คบั บญั ชาทันที
๒. ประเมินภารกิจ ลักษณะงาน และพื้นที่ที่ต้องไปปฏิบัติงาน เพื่อจัดเตรียมความพร้อมอุปกรณ์

สำหรบั ปฏิบัติงานใหเ้ หมาะสมกับภารกิจ และเพียงพอ เช่น หน้ากากอนามยั (อาจมหี นา้ กากสำรอง) กระ
บงั หนา้ (แผน่ ใส) ใชป้ อ้ งกนั ใบหนา้ ถุงมือยาง ชุด/เส้อื กนั ฝน แอลกอฮอล์เจล ชดุ ของใชส้ ่วนตวั คู่มอื ทหาร
ต้านภยั โควิด-๑๙ อาหาร น้ำดื่ม ฯลฯ

๓. ตรวจสอบอปุ กรณป์ อ้ งกันตนเองให้เรียบรอ้ ย (ห้ามใชอ้ ปุ กรณ์ส่วนตัวรว่ มกับคนอ่ืน) และมีการ
ทบทวน/ซกั ซ้อมความเข้าใจ/ฝึกซ้อมการปฏบิ ัติหน้าที่

๔. สำรวจผู้ร่วมงาน ถา้ มีอาการไข้ ไอ เจบ็ คอ มีนำ้ มูก ใหร้ ายงานผูบ้ ังคบั บญั ชาพจิ ารณางดออก
ปฏิบตั งิ าน
ระหว่างปฏบิ ัติภารกจิ

๑. ระมัดระวงั หลกี เลย่ี งการสัมผสั ส่ิงของทมี่ ีจดุ สมั ผัสร่วม หรือของสาธารณะทใ่ี ช้ร่วมกัน
๒. ล้างมืออยา่ งถูกต้องด้วยสบแู่ ละนำ้ หรอื ใช้เจลแอลกอฮอล์ทกุ ครั้งหลังสัมผัสสง่ิ ของผอู้ นื่ หรือ
สมั ผัสสิ่งแวดล้อม
๓. เมือ่ มือเปอ้ื นสิ่งสกปรก หรือละอองสารคัดหล่ัง ต้องลา้ งมือด้วยสบู่และน้ำทุกครง้ั
๔. สวมหนา้ กากอนามยั ทกุ คร้งั ระหว่างปฏบิ ัติงาน และหา้ มจับสว่ นใด ๆ ของหนา้ กาก เมื่อใส่แลว้
หรอื เมอ่ื หน้ากากอนามยั มีความชื้นหรอื สกปรก ใหท้ ิ้งลงถุงขยะตดิ เชือ้ ทนั ที ทัง้ นี้การใช้แอลกอฮอลพ์ น่
บนหน้ากากอนามัยไม่เกิดประโยชน์ในการป้องกนั โรค
๕. ล้างมือบ่อยๆ และล้างทุกคร้งั เมื่อจบการปฏบิ ตั ิภารกจิ
๖. หลกี เลี่ยงการอยู่ในที่แออัด ปิดทบึ ควรอยู่ในท่ีมีอากาศถา่ ยเทได้ดี ไม่ควรเปิด
เคร่อื งปรับอากาศ หรืออยู่ร่วมกับคนอ่นื ในหอ้ งปรบั อากาศเปน็ ระยะเวลานาน
๗. หลีกเลีย่ งการอยู่ใกลก้ ับผอู้ นื่ มากจนเกินไป ให้รักษาระยะห่าง เช่น การลาดตระเวนควรห่างกัน
อย่างนอ้ ย ๒ เมตร
หลังปฏิบตั ิภารกจิ
๑. ถอดหน้ากากและอุปกรณ์ปอ้ งกนั ตนเองใหถ้ ูกวธิ ี และทำความสะอาดชดุ อุปกรณ์ปอ้ งกนั
๒. ล้างมืออยา่ งถกู วิธีทุกครงั้ ก่อนและหลังถอดชดุ อปุ กรณ์แตล่ ะชิ้น
๓. เมื่อกลับจากปฏิบตั ภิ ารกจิ ให้ถอดชดุ ทีส่ วมใส่ ซักเสอ้ื ผา้ แล้วอาบน้ำ สระผมทกุ ครัง้
๔. พักผอ่ นให้เพยี งพอ และจดั เวลา/วงรอบการพกั ผ่อนให้ผูใ้ ต้บังคับบญั ชาให้มากขึ้นกว่าปกติ

บทท่ี ๕
อปุ กรณ์ป้องกนั ร่างกายสว่ นบุคคล และการทำความสะอาด

หลักการใช้อปุ กรณ์ป้องกนั รา่ งกายส่วนบคุ คล
๑. อุปกรณป์ ้องกันรา่ งกาย ควรใชต้ ามระดับภารกจิ และเมื่อจบภารกิจแล้ว ใหถ้ อดออกทันที
๒. เลือกใช้ขนาดที่พอดี ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายที่มีขนาดเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลดีในด้าน

การป้องกัน และสะดวกต่อการปฏบิ ตั งิ าน
๓. อุปกรณท์ ีใ่ ช้แลว้ ทง้ิ ไม่ใหน้ ำกลบั มาใชใ้ หม่
๔. อุปกรณ์ทีส่ ามารถใช้ซ้ำได้ ตอ้ งทำความสะอาดก่อน และหลงั การใชง้ านทุกคร้งั

อุปกรณ์อืน่ ๆ : เทปกาว กรรไกร ถุงขยะ

การเลือกใชอ้ ุปกรณป์ อ้ งกันร่างกายตามระดบั ภารกิจ แบ่งเปน็ 3 ระดบั ดงั นี้
ระดับ ๑ ใสห่ น้ากากอนามยั สำหรับภารกิจท่ัวไปทไี่ ม่ตอ้ งสมั ผัสผ้คู นมาก เช่น การเข้าเวรยาม สายตรวจ
ระดบั ๒ ใส่หน้ากากอนามัย ถุงมือยาง และกระบงั หน้า สำหรับภารกจิ ทีต่ อ้ งสัมผัสผคู้ นจำนวนมาก
เช่น การตงั้ ดา่ นตรวจ/สกดั จดุ คัดกรอง การพบปะช่วยเหลอื ประชาชน กิจกรรมชว่ ยเหลอื สังคมต่าง ๆ
ระดบั ๓ ใส่หน้ากากอนามัย ถุงมือยาง กระบงั หนา้ ชุดกนั ฝน และรองเท้ายาง สำหรับภารกิจการทำ
ความสะอาด การทำความสะอาดในสถานท่ที ว่ั ไป หรือทำความสะอาดเพือ่ ฆ่าเช้ือในสถานทสี่ งสยั การ
ระบาดเบอื้ งต้น
หมายเหตุ สามารถยืดหยุน่ ปรับใช้อุปกรณ์เพิ่มได้ตามภารกิจเฉพาะ ตามที่ผู้บังคับบัญชาเห็นสมควร
หรอื ตามคำแนะนำของบคุ ลากรทางการแพทย์

อุปกรณ์ปอ้ งกันสว่ นบุคคล ภารกิจทั่วไป ภารกิจตั้งด่าน ภารกจิ ทำความสะอาด
ระดับ1 ระดับ2 ระดับ3

หนา้ กากอนามยั

ถงุ มอื ยางใชแ้ ล้วทิ้ง เตรยี มไป ใชเ้ มือ่ ต้อง
สมั ผสั สงิ่ ปนเป้อื น

ถุงมอื ยางแบบหนา

กระบงั หน้า(Face Shield/เฟซชลิ ด์)

ผ้ากันฝนใส

รองเท้ายาง

สารทำความสะอาดและน้ำยาฆา่ เชือ้
๑. น้ำยาฟอกขาวสามารถใช้สำหรบั ทำความสะอาดพื้นผิวได้ โดยผสมในอตั ราส่วนดังน้ี

• พนื้ ผิวท่ัวไป ใช้น้ำยาฟอกขาวเจือจาง ๑ สว่ นในนำ้ ๙๙ สว่ น (ความเขม้ ข้น 0.05% หรอื เท่ากับ 500 ppm)
• พืน้ ผวิ ทม่ี ีนำ้ มกู น้ำลาย เสมหะ สารคัดหลั่งของผู้ปว่ ย เช่น ห้องสุขา โถสว้ ม ใช้นำ้ ยาฟอกขาวเจือจาง ๑ ส่วนในน้ำ
๙ สว่ น (ความเข้มข้น 0.5%) ราดทงิ้ ไว้อยา่ งน้อย ๑๕ นาที

๒. สำหรบั พื้นผิวท่ีเป็นโลหะ สามารถใช้ แอลกอฮอล์ ๗๐% ทำความสะอาดได้
๓. สิ่งแวดลอ้ มทเ่ี ป็นวัสดุผ้า ทอี่ าจปนเปือ้ นดว้ ยเชือ้ โควดิ -๑๙ เชน่ เสอ้ื ผา้ ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอน ควรทำ
ความสะอาดก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ โดยใชน้ ้ำทอ่ี ุณหภูมิ ๗๐ องศาเซลเซียส และผงซักฟอกในครัวเรือนได้

แนวทางการทำความสะอาดสำหรับพื้นที่สัมผสั เช้อื โควดิ -๑๙ ในอาคารสถานท่ี
๑. ควรปิดกั้นบริเวณพื้นที่หรือพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อ ก่อนดำเนินการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ เพ่ือ
ป้องกนั ไม่ให้บคุ คลท่ไี ม่เกยี่ วข้องมโี อกาสสมั ผัสกบั เชื้อ
๒. ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันร่างกายที่ใช้ทำความสะอาด (ระดับ ๓) ขณะทำความสะอาดพื้นที่หรือ
พื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อ ระหว่างทำความสะอาด หากถุงมือชำรุดเสียหายมีรอยรั่ว ให้ถอดถุงมือออก และ
สวมถุงมือคู่ใหม่ทันที ควรกำจัดและทิ้งอุปกรณ์แบบใชแ้ ล้วทิ้งหลงั จากทำความสะอาดเสร็จสิ้น และควร
ล้างมอื ดว้ ยสบูแ่ ละน้ำทันทีหลงั จากถอดอปุ กรณ์ป้องกันร่างกาย
๓. เลอื กใชอ้ ุปกรณ์ทำความสะอาดท่มี ดี า้ มจบั เพอื่ สมั ผัสโดยตรงกบั พืน้ ผวิ ให้น้อยทส่ี ดุ
๔. เปดิ ประตู หนา้ ต่าง ระบายอากาศ เมอ่ื ใช้นำ้ ยาฆ่าเชอ้ื หรือนำ้ ยาฟอกขาว (เช่น ไฮเตอร์ คลอรอ็ กซ)์
๕. ทำความสะอาดพน้ื ด้วยน้ำยาฆา่ เช้อื หรือน้ำยาฟอกขาวทเี่ ตรยี มไว้
๖. เช็ดทำความสะอาด บริเวณที่มีการสัมผัสบ่อยๆ (เช่น ปุ่มกด, ราวจับ, ลูกบิดประตู, ที่วางแขน, พนัก
พงิ ท่ีนัง่ , โตะ๊ , รีโมท, คยี บ์ อร์ด, สวิตช์ไฟ ฯลฯ ) เปิดประตหู นา้ ต่างใหอ้ ากาศถา่ ยเท
๗. ทำความสะอาดห้องน้ำ รวมถึงสุขภัณฑ์ และพื้นผิวในห้องน้ำโดยการราดน้ำยาฟอกขาวทิ้งไว้อย่าง
น้อย ๑๕ นาที แลว้ ล้างทำความสะอาดพน้ื อกี คร้งั ด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาลา้ งห้องนำ้ ตามปกติ
๘. เช็ดพ้นื ผวิ ท่ีอาจปนเปอื้ น ดว้ ยน้ำยาฟอกขาว หรือ แอลกอฮอล์ 70% ตามความเหมาะสมของวัสดุ
๙. ซกั ทำความสะอาด ผา้ มา่ น ผ้าหม่ ผ้าปทู ี่นอน ปลอกหมอน ม้งุ กรณที ่ซี ักด้วยนำ้ ร้อน ใช้ผงซักฟอกใน
น้ำที่อณุ หภูมิ ๗๐ องศาเซลเซยี ส เปน็ เวลาอย่างนอ้ ย ๒๕ นาที
๑๐. ท้ิงอปุ กรณ์ทำความสะอาดที่ทำจากผ้าและวัสดดุ ูดซับ เชน่ ผ้าถพู น้ื ผ้าเชด็ หลังจากทำความสะอาด
และฆา่ เชอื้ ในแต่ละพืน้ ที่ โดยสวมถงุ มอื และนำอปุ กรณท์ ิ้งใสถ่ งุ ขยะตดิ เชอ้ื รัดปากถงุ ให้มดิ ชดิ
๑๑. ทำการฆ่าเชื้ออปุ กรณ์ทำความสะอาดที่ตอ้ งนำกลบั มาใช้ใหม่ โดยการแชใ่ นนำ้ ยาฟอกขาว
๑๒. ทำความสะอาดถังถูพน้ื โดยแชใ่ นน้ำยาฟอกขาวหรือล้างในนำ้ ร้อน

๑๓. การทำความสะอาดพื้นผิว ให้ใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ไม่ควรพ่นด้วยสเปรย์เนื่องจากจะเป็นการสร้าง
ละอองทำใหเ้ สมหะ นำ้ มกู นำ้ ลายทีต่ กอยู่บนพื้นผิวฟุ้งกระจายข้ึนมาได้ ควรหลีกเล่ียงการสร้างละอองใน
ระหว่างการทำความสะอาด ควรใชว้ ิธีการเชด็ ทำความสะอาดพ้นื หรอื พ้นื ผิวในแนวนอนแทน
๑๔. เม่อื ทำความสะอาดเรียบรอ้ ยแล้ว ควรหลีกเลยี่ งการใช้พน้ื ท่ใี นวันถดั ไปเป็นเวลา ๑ วนั
๑๕. ทำการกำจัดขยะตดิ เชื้ออยา่ งถูกตอ้ งและเหมาะสม

บทท่ี ๖
มาตรการปอ้ งกันการแพรร่ ะบาดโรคโควิด-๑๙ ของกองทพั บก



ภาคผนวก ก

คำถามการประเมนิ ความเสย่ี ง สำหรับเจา้ หน้าทที่ หารที่ออกปฏิบัติหน้าทใ่ี นการคัดกรองภายในหนว่ ย

หรอื สถานที่ท่ีไดร้ บั มอบหมาย

คำถาม ใช่ ไมใ่ ช่
1.ทา่ นมีอาการต่อไปน้หี รือไม่ ?
มีไข้ ไอ เจบ็ คอ
นำ้ มูกไหล
เหนื่อยหอบเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว
2.ท่านมีประวัติเดินทางมาจากประเทศจนี , ญ่ีปุน่ , สิงคโปร์, เกาหลีใต้,
ฮ่องกง, ไต้หวัน, มาเก๊า, อเมริกา, อิตาลี, อิหร่าน, สเปน, ฝรั่งเศส ,
เยอรมนั หรอื ในพื้นทีท่ ่มี ีการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา สายพันธใ์ุ หม่
2019 ในช่วงเวลา 14 วัน ก่อนเริม่ ปว่ ย ใชห่ รือไม่ ?
3.ภายใน 1 เดือนทผ่ี ่านมา มีคนใกล้ชดิ หรือคนในครอบครัวท่รี ่วม
อาศัยอยกู่ บั ท่าน เดินทางไปประเทศท่มี กี ารระบาด (ประเทศจนี ,
ญ่ปี ุน่ , สิงคโปร์, เกาหลีใต,้ ฮอ่ งกง, ไตห้ วนั , มาเกา๊ , อเมรกิ า, อติ าลี,
อหิ รา่ น, สเปน, ฝรั่งเศส, เยอรมนั ) อย่างต่อเน่ืองหรือไม่?
4.คนใกลช้ ดิ หรอื คนในครอบครวั รว่ มอาศัยอยู่กับทา่ น มีประวัตไิ ข้
ร่วมกับอาการระบบทางเดนิ หายใจ เช่น ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจเร็ว
หรอื หายใจเหน่อื ย หรือ หายใจลำบาก หรือไม่
5.ไปแหล่งทีม่ ีการประกาศว่าเป็นพน้ื ท่ีเสยี่ ง เชน่ สนามมวย วัด มัสยิด
โบสถ์ครสิ ต์ สถานบนั เทิง สถานที่แออดั /ปิด ฯลฯ
หากมีตอบว่าใช่ ตงั้ แต่ 1 ข้อขนึ้ ไป ให้ตดิ ตอ่ เจา้ หนา้ ท่ีเสนารักษ์/หน่วยงานควบคมุ โรคจงั หวัด ท่ีเก่ยี วข้องเพือ่
ดำเนินการสอบสวนโรคต่อไป

ภาคผนวก ข
การตดิ ตามข้อมลู ขา่ วสารการปฏิบตั ิของกองทพั บก

บันทึก
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................

บนั ทึก
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................

บันทกึ
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................
..........................................................................................................................................


Click to View FlipBook Version