The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การศึกษาคำศัพท์สำคัญเกี่ยวพหุวัฒนธรรม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Theethawat, 2022-12-02 07:04:59

การศึกษาคำศัพท์สำคัญเกี่ยวพหุวัฒนธรรม

การศึกษาคำศัพท์สำคัญเกี่ยวพหุวัฒนธรรม

Keywords: พหุวัฒนธรรม

คำศัพท์สำคัญ
เกี่ยวกับ
แนวคิดและทฤษฎีพหุวัฒนธรรมศึกษา

จัดทำโดย นายธีร์ธวัช นภาคีรีรมย์ รหัสนักศึกษา 630210026

คำนำ

E-book คำศัพท์สำคัญเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีพหุวัฒนธรรมศึกษา
เล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนวิชา 100316 พหุวัฒนธรรมศึกษากับการ
จัดการศึกษาบนฐานชุมชน จัดทำขึ้นเพื่ออธิบายความหมายของคำศัพท์
ทางพหุวัฒนธรรมที่สำคัญเเละจำเป็นต่อการเรียนรู้ในรายวิชานี้

ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า E-book เล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ
ไม่มากก็น้อย หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

ธีร์ธวัช นภาคีรีรมย์

สารบัญ

เรื่อง หน้า

คำนำ ก

สารบัญ ข

คำศัพท์ 1-20

วัฒนธรรม (Culture) 1
พหุวัฒนธรรมนิยม (Multiculturalism) 2
อนุรักษนิยม (Conservatism) 3
เสรีนิยม (Liberalism) 4
ทฤษฏีเชิงวิพากษ์ (Critical Theory) 5
อุดมการณ์ (Ideology) 6
การกลืนกลาย (Assimilation) 7
กระบวนทัศน์ (Paradigm) 8
ความเท่าเทียม (Equality) 9
ความเสมอภาค (Equity) 10
คนชายขอบ (Marginal people) 11
การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม (Cultural reproduction) 12
ความเป็นธรรมทางสังคม (Social justice) 13
การเหมารวม (Stereotype) 14
ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ (Power relations) 15
ความเป็นอื่น (Otherness) 16
การเลือกปฏิบัติ (Discrimination) 17
ความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) 18
ความสามารถที่แตกต่าง (Differently abled) 19
หลักสูตรแฝง (Hidden curriculum) 20

เเหล่งอ้างอิง 21-23

1.วัฒนธรรม (Culture)

คือ ทุกสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นภูมิปัญญา
ที่ผู้คนในแต่ละสังคมรุ่นก่อนๆ คิดสร้างสรรค์ และพัฒนาขึ้นจากของเดิม
แล้วถ่ายทอดสืบต่อมายังคนรุ่นหลัง โดยผ่านทางกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ

วัฒนธรรมจึงนับเป็นภูมิปัญญาหรือมรดกทางสังคมอย่างหนึ่ง

ตัวอย่างของวัฒนธรรมสำคัญ ได้แก่ ภาษา ธรรมเนียม
ประเพณี ศีลธรรม กฎหมาย วิถีการดำเนินชีวิต
ศาสนา เครื่องมือเครื่องใช้ ศิลปะวิทยาการ
การปกครอง รวมถึงอุปกรณ์ที่เป็นวัตถุหรือ

สิ่งประดิษฐ์ โดยวัฒนธรรมต่างๆ นั้นสามารถปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงได้ เพื่อให้สอดคล้องกับกาลสมัย

อ้างอิง
วัฒนธรรมชุบแป้ งทอด ไทยพีบีเอส.(2022,17 กรกฎาคม ). วัฒนธรรมไทย? [Video]. YouTube.

https://www.youtube.com/watch?v=IPLqFtV-_Xw

2.พหุวัฒนธรรมนิยม
(Multiculturalism)

เป็นอุดมการณ์ชนิดหนึ่งที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของชุมชนที่มี
ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ในทางการเมืองหมายถึงการยอมรับหรือเคารพ

ความแตกต่าง ของวัฒนธรรมที่หลากหลายในสังคม นโยบายที่ส่งเสริม
การดํารงอยู่ซึ่งความหลากหลายทาง วัฒนธรรมและหลีกเลี่ยงการทําให้
วัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งมีสถานะที่สูงกว่าวัฒนธรรมอื่น เน้นความเท่าเทียม

(การเข้าถึงทรัพยากร การศึกษา การพัฒนา
ยุติการกีดกันและการลิดรอนสิทธิ มนุษยชน)

อ้างอิง
อาจารย์ ดร.พิสิษฏ์ นาสี./(2563)./การศึกษาพหุวัฒนธรรม Multicultural Education./

เชียงใหม่ :คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3.อนุรักษนิยม
(Conservatism)

หมายถึง คติ จารีต ทัศนะทางการเมืองที่ต้องการรักษาสิ่งต่าง ๆ ที่ดํารงอยู่ไว้
เช่นเดิม ด้วยความเชื่อที่ว่าสิ่ง ๆ นั้นดีงามในตัวหรือดีกว่า ทางเลือกแบบอื่น ๆ
เป็นสิ่งที่มั่นคงปลอดภัยและไว้วางใจรักใคร่ แนวคิดอนุรักษนิยมจึงเป็นทัศนะ

ต่อ สังคมวัฒนธรรม การเมือง (วิทยากร เชียงกูล, 2543)
เช่น มุ่งรักษาประเพณีหรือมรดกตกทอด อาทิ ความเชื่อ ธรรมเนียมปฏิบัติ
นิยมการจรรโลง ระบบอาวุโสและชนชั้น โดยแนวคิดนี้จะให้ความสําคัญกับ

วัฒนธรรมทั่วไป เช่น อาหาร เครื่องแต่งกาย ดนตรี งานฝีมือ การละเล่น
ภาษา เทศกาล เป็นต้น

อ้างอิง
อาจารย์ ดร.พิสิษฏ์ นาสี.(2563).การศึกษาพหุวัฒนธรรม Multicultural Education.

เชียงใหม่ :คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

4.เสรีนิยม (Liberalism)

เป็นแนวคิดที่เน้นการยอมรับและชื่นชมความหลากหลายทางวัฒนธรรม
หากแต่ยังอยู่ในระดับผิวเผิน โดยมุ่งเน้นที่กิจกรรมสร้างความเข้าใจ
ระหว่างกลุ่ม การลดความขัดแย้งเพื่อให้คนกลุ่มใหญ่และคนกลุ่มน้อย
อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข โดย ผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมการยอมรับ และ

การเคารพความแตกต่างทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม ประเพณี ภาษา เป็นต้น
ดังนั้น วัฒนธรรมที่ได้รับการส่งเสริมจึงมักเป็นสิ่งที่จับต้องได้ (tangible
culture) หรือ เป็นสิ่งตายตัว สามารถจําแนกแยกแยะความแตกต่างได้ง่าย

ตัวอย่างที่ได้รับความนิยมเช่นการ นําเสนอแบบ 3F โมเดล คือ
Food หรือ อาหารและวัฒนธรรมการกิน
Fashion หรือเครื่องแต่งกาย และของตกแต่งร่างกาย และ
Festival หรืองานเทศกาล การแสดงและการละเล่นต่าง ๆ




อ้างอิง
อาจารย์ ดร.พิสิษฏ์ นาสี./(2563)./การศึกษาพหุวัฒนธรรม Multicultural Education./

เชียงใหม่ :คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

5.ทฤษฏีเชิงวิพากษ์
(Critical Theory)

ทฤษฏีใช้เป็นหลักในการศึกษาวิจัย และวิพากษ์วิจารณ์การสื่อสาร
ภายในองค์กร การสื่อสารสาธารณะ การสื่อสารมวลชน การสื่อสารระหว่าง
ประเทศ หรือการสื่อสารของโลก สามารถใช้เป็นพื้นฐานความคิดของการสร้าง
สมมติฐานในงานวิจัย และการแสวงหาแนวหรือประเด็นในการวิพากษ์วิจารณ์สื่อ

หรือการสื่อสารโดยนักวิชาการ หรือนักวิจารณ์สื่อ (media critics)

อ้างอิง
บ้านจอมยุทธ.com.(2543). ทฤษฎีแนววิพากษ์ (Critical theory). สืบค้น 1 ธันวาคม 2565.

จาก https://www.baanjomyut.com/library/communication_theory/01_2.html

6.อุดมการณ์
(Ideology)

เป็นกลุ่มของความเชื่อหรือปรัชญาที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลยึดถือ และเป็น
หลักการที่วางระเบียบไว้เป็นแนวปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้






อ้างอิง
อุดมการณ์ . (2021, January 17). In https://shorturl.asia/be9O0

7.การกลืนกลาย
(Assim
ilation)



กระบวนการที่ผู้ย้ายถิ่นหรือชนกลุ่มน้อยรับความเชื่อ ค่านิยม และแบบแผน
พฤติกรรมของเจ้าของถิ่นหรือคนกลุ่มใหญ่ไว้ และในที่สุดได้ผสมกลมกลืนไป

กับชนกลุ่มใหญ่ในสังคมนั้น เช่น ชาวมอญที่ปรับความเป็นอยู่ ประเพณี
วัฒนธรรมให้กลืนกลายเข้ากับชุมชนไทยชุมชนจีนที่ผสมผสานพิธีกรรม
แบบไทยเข้าไปในประเพณีของจีนชาวมุสลิมที่ก่อสร้างมัสยิดบางหลวงให้มี

รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบไทย



อ้างอิง
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.(2564).การกลืนกลาย Assimilation (Facebook).
URL https://www.facebook.com/RatchabanditThai/posts/4406128249445236/

8.กระบวนทัศน์
(Paradigm)

คือ กรอบความคิดหรือแนวทางทั่วไปที่ใช้ในการมองโลก หรือหมายถึง ระบบคิด
วิธีคิด หรือแบบของการคิดที่ใช้เป็นแนวในการศึกษาวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรือเป็นแนวในการจัดระบบในสังคม ตัวอย่างเช่น รัฐบาลพยายามเปลี่ยน
กระบวนทัศน์ของสังคมไทยที่เกี่ยวกับสุขภาพ โดยส่งเสริมการออกกำลังกาย
และการรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย มากกว่าปล่อยให้เจ็บป่วยแล้ว
ไปรักษากับแพทย์



อ้างอิง
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา Office of the Royal Society.(2550). กระบวนทัศน์ . สืบค้น 1

ธันวาคม 2565. จาก https://shorturl.asia/ycbm2

9.ความเท่าเทียม(Equality)


เป็นมุมมองที่ถือว่าบุคคลทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน
โดยมิได้พิจารณาหรือคำนึงถึงข้อแตกต่างของแต่ละบุคคล





อ้างอิง
ธนาชัย สุนทรอนันตชัย/(2546)./ความเท่าเทียม ความเสมอภาค และความเป็นธรรมทางสังคม กับการจัก
สวัสดิการของไทย./วารสารวิชาการ/เลขหน้าที่ 57-58 /URL file:///C:/Users/Acer%20NITRO%205/Desktop/

ความเท่าเทียม+ความเสมอภาค+และความเป็นธรรมทางสังคม.pdf

10.ความเสมอภาค(Equity)

คือความเท่าเทียมกันในสิทธิและเสรีภาพ โดยเฉพาะความเท่าเทียมกันใน
การดำรงชีวิตอย่างสงบและการแสวงหาความสุข ความเสมอภาคมีความ
หลากหลาย มีพื้นฐานมาจากของความคิดที่ว่าไม่มีผู้ใดด้อยกว่าผู้อื่นในโอกาส

หรือสิทธิมนุษยชน

อ้างอิง
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. สิทธิมนุษยชนกับความเท่าเทียมทางเพศ. สืบค้น 1 ธันวาคม 2565.

จาก https://www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/ewt_dl_link.php?nid=9623

11.คนชายขอบ
(Marginal people)

หมายถึง คนที่อยู่ห่างไกลจากสังคม มักหมายถึงผู้ที่ไม่ได้รับการดูแลไม่ได้รับ
บริการหรือความคุ้มครองจากรัฐอย่างที่คนอื่นๆได้รับ คนชายขอบต่างจากคน
หลังเขาตรงที่คนหลังเขาเน้นการไม่รับรู้ข่าวสาร จึงกลายเป็นคนที่ไม่ทันสังคม

ไม่ทันโลก แต่คนชายขอบเน้นคนที่มีอิสระ มีพฤติกรรม ความคิด หรือ
วัฒนธรรมของตนเองและพยายามให้สังคมยอมรับกลุ่มของตนเอง





อ้างอิง
พัชรีกล่อมเมือง.(2562).คนชายขอบ: ชาวไทยเชื้อสายมลายูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้.วารสารวิชาการ.

(มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี),ปีที่ 8 ฉบับที่ 2,เลขหน้า 5.
จาก file:///C:/Users/Acer%20NITRO%205/Downloads/ali_thaijo,+%23%23default.groups.name.editor%23%23,+1-10.pdf

12.การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม
(Cultural reproduction)



เป็นกระบวนการที่รองรับความยั่งยืนและเป็นหลักประกันความต่อเนื่องของ
วัฒนธรรม เมื่อเกิดวัฒนธรรมขึ้นต้องผลิตเพื่อสืบทอดวัฒนธรรม ถ้าวัฒนธรรม
ที่กำเนิดขึ้นมาใหม่ไม่ได้รับการผลิตซ้ำ วัฒนธรรมใหม่นั้นก็จะมีอายุเพียงสั้นๆ

แล้วก็สูญหายไป แนวคิดนี้เกิดมาจากการผลิตซ้ำด้านวัตถุแบบทุนนิยม
(Materials Reproduction) การผลิต แรงงาน เช่น การหาคนงานรุ่นใหม่

ทดแทนและการผลิตด้านความคิดจิตสำนึกอุดมการณ์







อ้างอิง
ดวงพร คงพิกุล.(2012). การผลิตซ้ำทุนทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษา. โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

13.ความเป็นธรรมทางสังคม
(Social justice)

คือ แนวคิดที่ว่าด้วยความเป็นธรรมในทุกมิติของสังคม มิใช่เพียงแค่มิติทาง
ด้านกฎหมายเท่านั้น ซึ่งความเป็นธรรมทางสังคมในตัวของมันเอง ก็ตีความได้
หลายความหมาย อาจหมายถึงการปฏิบัติต่อกันอย่างเป็นธรรม หรือการแบ่งปัน
กันอย่างเป็นธรรมก็ได้ ประเด็นเรื่องความเป็นธรรมทางสังคมนั้น เป็นทั้งปัญหา

ทางปรัชญาและมีความสำคัญในมิติต่าง ๆ เช่น การเมือง ศาสนา และสังคม
ปัจเจกบุคคลอาจต้องการอยู่ในสังคมที่มีความเป็นธรรมทั้งนั้น อย่างไรก็ดี
แต่ละคนอาจมีอุดมการณ์เกี่ยวกับ “ความเป็นธรรมในสังคม” ที่แตกต่างกัน

อ้างอิง
ป่ าสาละ.(2013). Social Justice. สืบค้น 1 ธันวาคม 2565. จาก http://www.salforest.com/glossary/social-justice

14.การเหมารวม(Stereotype)

คือทัศนคติจากประสบการณ์ที่เคยเจอ ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งมีต่อคนอีกกลุ่มหนึ่ง
เช่น เชื้อชาติ ศาสนา การเมือง เพศ ไปจนถึงกลุ่มการชอบที่เป็น sub-culture
ของสังคม จนกลายเป็นมาตรฐานในการตัดสิน และเชื่อไปว่าพวกเขาเป็นแบบ
นั้นเหมือนกันหมด ทั้งที่ยังไม่รู้จักตัวตนจริงๆ โดยอาจเป็นได้ทั้งในทางที่ดี และ
ไม่ดี แต่แนวคิดของการเหมารวมส่วนใหญ่มักมาพร้อมอคติ จนกลายเป็นการ

เหมารวมยกเข่ง ที่ไม่ค่อยยุติธรรมกับบางคนที่ไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป

URbancreature.com(2020). ภายนอกเหมือน แต่ในใจไม่ใช่ เมอื่้อาง‘
อกิงารเหมารวม’ สร้างบาดแผลให้ผู้บริสุทธิ์. สืบค้น 1 ธันวาคม 2565.
จาก http://www.salforest.com/glossary/social-justice

15.ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ
(Power relations)

คือการที่ผู้คนมีอำนาจในการครอบงำบังคับผู้อื่นให้มีพฤติกรรมตามสิ่งที่
ผู้มีอำนาจนั้นต้องการ ซึ่งจะเป็นความสัมพันธ์ที่บุคคลหนึ่งมีอำนาจใน

รูปแบบทางสังคมเหนืออีกบุคคลหนึ่ง และสามารถให้บุคคลอื่นทำในสิ่งที่
ตนต้องการได้ไม่ว่าจะด้วยการบังคับให้เชื่อฟังหรือด้วยวิธีที่บังคับน้อยกว่า

หรือแม้แต่วิธีที่ละเอียดอ่อนกว่า

อ้างอิ

IGI Global published Book (2022). What is Power Relation. สืบค้น 1 ธันวาคม 2565. จาก https://shorturl.asia/3kGtY

16.ความเป็นอื่น(Otherness)

คือ การมองคนอื่นที่ไม่ใช่พวกของตนว่าเป็นคนด้อยค่าหรือศัตรู ซึ่งเป็น
ผลมาจากการสร้างระบบความคิดผ่านบทเรียนประวัติศาสตร์ที่มีคนไทย
เป็นคนเอก มีกลุ่มคนเมียนมาเป็นตัวร้ายและผลจากความรุนแรงเชิงโครงสร้าง

นโยบายการดำเนินการควบคุมแรงงานข้ามชาติ





อ้างอิง
แรงงานข้ามชาติชาวเมียนจิรมาาภทีร่ ถณู์กกไพฎรหเมถื่าอยนใ.น(2ส5ถ6า3น).ก“าครวณ์าโมคเปว็ิดน-อื1่น9
.”(แนิลสิะตกคารณเขะ้สาัถงึคงสมวศัสาดสิกตาร์รภทาาคงสวัิชงคาสมังขคอมงวิทยาและมานุษยวิทยา

สาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยนเรศวร).

17.การเลือกปฏิบัติ
(Discrimination)

หมายถึง “การกระทำใด ๆ โดยการกีดกันแบ่งแยกจำกัด หรือการปฏิบัติใด ๆ
ต่อบุคคล หรือกลุ่มคนโดยไม่เท่าเทียมกันและไร้เหตุผลอันเป็นการปฏิบัติที่
แตกต่างกันในสถานการณ์เดียวกัน อันทำให้บุคคลได้รับสิทธิน้อยกว่าสิทธิที่
ตนพึงได้ โดยมีมูลเหตุจูงใจ (Motive)เนื่องจากเหตุความแตกต่างทางถิ่น
กำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะ
ของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม

และความคิดเห็นทางการเมือง”

ชนกานต์ สังสีแก้ว. ความผิดฐานเลือกปฏิบัติ OFFENอC้าEงOอิ
งF DISCRIMINATION. (หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
สาขากฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร).

18.ความเท่าเทียม(Equality)

กลุ่มคนซึ่งมีอัตลักษณ์ทางเพศ รสนิยมทางเพศ หรือการแสดงออกทางเพสที่
แตกต่างไปจากสรีระของคน ซึ่งเป็นความชอบที่หลากหลายเฉพาะบุคคล

เฉกเช่นเดียวกับการชื่นชอบสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันทั่วไป เช่น รูป รส กลิ่น สี
รสนิยมต่างๆ โดยไม่ได้เกิดจากความผิดปกติจากส่วนใดส่วนหนึ่ง
ของร่างกายแต่อย่างใด

อ้างอิง
โรงพยาบาลเปาโลเกษตร.(2565). LGBTQ ความหลากหลายที่ไม่แตกต่างในสังคม.

จากhttps://shorturl.asia/Wfmz0.

19.ความสามารถที่แตกต่าง
(Differently abled)

คือคำที่มักจะถูกอธิบายในแง่ของการขาดการทำงานตามปกติของกระบวนการ
ทางร่างกายหรือจิตใจ นอกจากนี้ยังหมายถึงความยากลำบากในการเรียนรู้หรือ
ความยากลำบากในการปรับตัวเข้ากับสังคม ซึ่งเชื่อมโยงกับการเจริญเติบโต
และพัฒนาการตามปกติของบุคคล ซึ่งคนเหล่านี้จะทำบางอย่างที่คนอื่นทำไม่ได้

หรือทำยาก และรวมถึงการมีความสามารถที่แตกต่างกันด้วย

Social Justice Department. Diffอe้rาeงอnิtงl
y Abled. สืบค้น 1 ธันวาคม 2565.
จาก http://sjd.kerala.gov.in/beneficiary-info.php?benef_sl=NHNWOHVxUiN2eQ==

20.หลักสูตรแฝง
(Hidden curriculum)

เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้กำหนดแผนการเรียนรู้เอาไว้ล่วงหน้า
และเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่โรงเรียนไม่ได้ตั้งใจจะจัดให้ แต่จะ
เป็นหลักสูตรที่ช่วยให้ครู และนักการศึกษาได้แง่คิด และเข้าใจสัจธรรม

เกี่ยวกับการเรียนรู้ในเรื่องเจตคติ ค่านิยม พฤติกรรม คุณธรรม
และจริยธรรมของนักเรียน



วิชาหลักสูตร. หลักสูตรแฝง (Hiddenอ้าCงuอิrงriculu
m). สืบค้น 1 ธันวาคม 2565.

จาก http://thirayu1999.blogspot.com/p/blog-page_20.ht

เเหล่งอ้างอิง

- วัฒนธรรมชุบแป้งทอด ไทยพีบีเอส.(2022,17 กรกฎาคม ). วัฒนธรรมไทย?
[Video]. YouTube./https://www.youtube.com/watch?v=IPLqFtV-_Xw

- อาจารย์ ดร.พิสิษฏ์ นาสี./(2563)./การศึกษาพหุวัฒนธรรม Multicultural
Education./ เชียงใหม่ :คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

- บ้านจอมยุทธ.com.(2543). ทฤษฎีแนววิพากษ์ (Critical theory). สืบค้น 1
ธันวาคม 2565.จาก
https://www.baanjomyut.com/library/communication_theory/01_2.html

- อุดมการณ์. (2021, January 17). In
Wikipedia.https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8
%94%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%
B9%8C

- สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.(2564).การกลืนกลาย Assimilation
(Facebook).URL
https://www.facebook.com/RatchabanditThai/posts/4406128249445236/

- สำนักงานราชบัณฑิตยสภา Office of the Royal Society.(2550). กระบวนทัศน์.
สืบค้น 1 ธันวาคม 2565. จาก https://shorturl.asia/ycbm2

- ธนาชัย สุนทรอนันตชัย/(2546)./ความเท่าเทียม ความเสมอภาค และความเป็น
ธรรมทางสังคม กับการจักสวัสดิการของไทย./วารสารวิชาการ/เลขหน้าที่ 57-58 /URL
file:///C:/Users/Acer%20NITRO%205/Desktop/ความเท่าเทียม+ความเสมอ
ภาค+และความเป็นธรรมทางสังคม.pdf

- สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. สิทธิมนุษยชนกับความเท่าเทียมทางเพศ. สืบค้น 1
ธันวาคม 2565. จาก
https://www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/ewt_dl_link.php?nid=9623

เเหล่งอ้างอิง

- พัชรี กล่อมเมือง.(2562).คนชายขอบ: ชาวไทยเชื้อสายมลายูในสามจังหวัด
ชายแดนภาคใต้.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี),ปีที่ 8 ฉบับที่ 2,เลขหน้า
5.จาก
file:///C:/Users/Acer%20NITRO%205/Downloads/ali_thaijo,+%23%23defau
lt.groups.name.editor%23%23,+1-10.pdf

- ดวงพร คงพิกุล.(2012). การผลิตซ้ำทุนทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษา
โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,คณะพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).
- ป่าสาละ.(2013). Social Justice. สืบค้น 1 ธันวาคม 2565. จาก
http://www.salforest.com/glossary/social-justice
- URbancreature.com(2020). ภายนอกเหมือน แต่ในใจไม่ใช่ เมื่อ ‘การเหมารวม’
สร้างบาดแผลให้ผู้บริสุทธิ์. สืบค้น 1 ธันวาคม 2565. จาก
http://www.salforest.com/glossary/social-justice
- IGI Global published Book (2022). What is Power Relation. สืบค้น 1
ธันวาคม 2565. จาก https://shorturl.asia/3kGtY
- จิราภรณ์ ไพรเถื่อน.(2563). “ความเป็นอื่น” และการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมของ
แรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาที่ถูกกฎหมายในสถานการณ์โควิด-19. (นิสิตคณะ
สังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา สาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัย
นเรศวร).
- ชนกานต์ สังสีแก้ว. ความผิดฐานเลือกปฏิบัติ OFFENCE OF
DISCRIMINATION. (หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายอาญา คณะ
นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร).

เเหล่งอ้างอิง

- โรงพยาบาลเปาโลเกษตร.(2565). LGBTQ ความหลากหลายที่ไม่แตกต่างใน
สังคม. จากhttps://shorturl.asia/Wfmz0.

- Social Justice Department. Differently Abled. สืบค้น 1 ธันวาคม 2565. จาก
http://sjd.kerala.gov.in/beneficiary-info.php?
benef_sl=NHNWOHVxUiN2eQ==

- วิชาหลักสูตร. หลักสูตรแฝง (Hidden Curriculum). สืบค้น 1 ธันวาคม 2565.
จาก http://thirayu1999.blogspot.com/p/blog-page_20.html

Thank you
ขอบคุณ
ครับ


Click to View FlipBook Version