ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ
โรคโควิด
(COVID 19)
คำนำ
หนังสืออิเล็กโทรนิกส์เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่ง
ของวิชาคอมพิวเตอร์ชั้น ม.6/3 เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้เรื่องสัตว์โลก
ใต้มหาสมุทรและได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน
ผู้จัดทำหวังว่า หนังสืออิเล็กโทรนิกส์นี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านหรือ
นักเรียนที่กำลังหาข้อมูลนี้เรื่องนี้อยู่ หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็
ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
จัดทำโดย
นางสาว นริสรา ศิริปี
สารบัญ
เรื่อง หน้า
ต้นกำเนิดของไวรัส 1
การแพร่เชื้อ 2
อาการของโควิด 3
เหตุการณ์ระบาดเป็นวงกว้าง 4
กลุ่มเสี่ยง 5
ภูมิคุ้มกัน 6
มาตรการระดับบุคคล 7
มาตรการทางสาธารณสุข 8
ต้นกำเนิดของไวรัส
• ต้นตอของเชื้อไวรัสน่าจะมาจากการที่ไวรัสจากสัตว์
ตัวกลางระบาดมาสู่คน
• ผู้ป่วยรายแรกเท่าที่ทราบกัน เริ่มมีอาการตั้งแต่ 1
ธันวาคม และไม่มีความเชื่อมโยงกับตลาดต้อง
สงสัยในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน อต่ผู้ป่วยหลายราย
อาจมีมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนหรือก่อน
หน้านั้น
• มีการเก็บตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมในตลาดไปส่ง
ตรวจและพบเชื้อไวรัสและพบมากที่สุดในบริเวณที่
ค้าสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม
• ตลาดอาจเป็นต้นกำเนิดของไวรัส หรืออาจมี
บทบาทในการขยายวงของการระบาดในระยะเริ่ม
แรก
การแพร่เชื้อ
• โรคโควิด19 นี้โดยหลักแล้วแพร่จากคนสู่คนผ่านทางฝอย
ละอองจากจมูกหรือปากซึ่งขับออกมาเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม
เรารับเชื้อได้จากการหายใจเอาละอองเข้าไปจากผู้ป่วยหรือ
จากการเอามือไปจับพื้นผิวที่มีฝอยละอองเหล่านั้นแล้วมา
จับตามใบหน้า
• ระยะเวลานับจากการติดเชื้อและการแสดงอาการ (ระยะ
ฟักตัว) มีตั้งแต่ 1-14 วัน และมีค่าเฉลี่ยอยู่ 5-6 วัน เกิน
97% ของผู้ป่วยเริ่มมีอาการภายใน 14 วัน
อาการของโควิด
อาการทั่วไป
• มีไข้
• ไอ
• อ่อนเพลีย
• สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส
อาการที่พบไม่บ่อยนัก
• เจ็บคอ
• ปวดศีรษะ
• ปวดเมื่อยเนื้อตัว
• ท้องเสีย
• มีผื่นบนผิวหนัง
• ตาแดงหรือละคายเคืองตา
อาการรุนแรง
• หายใจลำบากหรือหายใจถี่
• สูญเสียความสามารถในการพูดหรือเคลื่อนไหว
• เจ็บหน้าอก
เหตุการณ์ระบาดเป็นวงกว้าง
เหตุการณ์ระบาดเป็นวงกว้างเกิดเมื่อคนหนึ่งคนแพร่เชื้อไวรัสไปสู่
คนกลุ่มใหญ่ผิดปกติ สถานการณ์ที่จะทวีความรุนแรงของการระบาด
เป็นวงกว้างรวมถึง
• การชุมนุมขนาดใหญ่
• ประชากรสูงอายุ
• ประชากรไร้ถิ่นฐาน
• การสัมผัสโรคจากต่างประเทศ
• ความหนาแน่นของเขตเมือง
• ระบบสาธารณสุขไม่เข้มแข็ง
• รัฐบาลขาดความโปร่งใส
• สื่อขาดเสรีภาพ
กลุ่มเสี่ยง
เสี่ยงต่ำ
งานวิจัยระบุว่า เด็กและหนุ่มสาว ติดเชื้อและแพร่เชื้อ
ได้ อย่างไรก็ตามเด็กมักไม่มีอาการรุนแรง
เสี่ยงสูง
ความเสี่ยงต่ออาการรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้นตามอายุและ
ในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบา
หวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ
เรื้อรังและโรคมะเร็ง
ภูมิคุ้มกัน
ระยะสั้น
• ลดลงอย่างต่อเนื่อง
• ผู้ป่วยอาจยังแพร่เชื้อได้แม้มีอาการดีขึ้น สิ่งนี้มีนัยสำคัญต่อ
การควบคุมป้องกันโรคในบริบทสถานพยาบาลและในการดูแลผู้
ป่วย ผู้ป่วยบางรายยังคงต้องแยกกักตัวเองต่อที่บ้านหลังจากได้
รับการดูแลแล้ว
ระยะยาว
• ขณะนี้ ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอเกี่ยวกับประสิทธิภาพหรือระยะเวลา
ของภูมิคุ้มกันที่สร้างจากสารแอนติบอดี้ที่จะรับประกันความเที่ยง
ตรงของสิ่งที่เรียกว่า "พาสปอร์ตภูมิคุ้มกัน" หรือ "ใบรับประกันว่า
ไม่มีความเสี่ยง"
• มีข้อกังวลว่า ผู้คนอาจเข้าใจว่าตนเองมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อครั้ง
ที่สองและละเลยการปฏิบัติตามคำแนะนำทางสุขภาพ ซึ่งอาจเป็นการ
เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการระบาดต่อเนื่อง
มาตรการระดับบุคคล
• การรักษาสุขอนามัยของมือและมารยาทในการไอและจามเป็น
สิ่งสำคัญที่ควรทำตลอดเวลาและเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะป้องกันตัว
เองและผู้อื่นได้
• เมื่อเป็นไปได้ รักษาระยะอย่างน้อย 1 เมตร จากผู้อื่น เนื่องจาก
ผู้ติดเชื้อบางรายอาจยังไม่แสดงอาการหรือมีอาการไม่รุนแรงดัง
นั้นการเว้นระยะห่างจากทุกคนสำคัญมากหากคุณอยู่ในพื้นที่ที่มี
การระบาดของโรคโควิด19
มาตรการทางสาธารณสุข
• การกักกัน คือ การจํากัดกิจกรรมต่างๆ หรือการแยกผู้ที่ไม่ป่วย
แต่อาจมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด19 จุดประสงค์คือ
เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในห้วงเวลาที่คนเริ่มมีอาการ
การแยกกัก หมายถึง การแยกผู้ป่วยที่มีอาการของโรคโควิด 19
• และอาจแพร่เชื้อได้จึงทําเพื่อป้องการป้องกันการแพร่ระบาดของ
โรค
• การเว้นระยะ คือ การอยู่ห่างกันและกัน องค์การอนามัยโลกแนะ
นําให้เว้นระยะอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่น ส่วนนี้เป็นมาตรการ
ทั่วไปที่ทุกคนควรทําถึงแม้ว่าจะแข็งแรงดี
• การติดตามผู้สัมผัสโรคทําเพื่อระบุหาคนที่อาจมีประวัติสัมผัส
โรคเพื่อจะแยกกักออกไปโดยเร็ว