The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ตามรอยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ไปปราบฮ่อ ที่ล้านช้างหลวงพระบาง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Phadung Wannatong, 2023-04-09 02:12:17

ตามรอยนิราศหนองคาย: ฉบับย่าง-กาย หลวงพระบาง

ตามรอยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ไปปราบฮ่อ ที่ล้านช้างหลวงพระบาง

Keywords: ปราบฮ่อ

1 ตามรอยนิราศหนองคาย : ฉบับย่าง-กาย หลวงพระบาง Track of Journey to Nong Khai: walking through Luang Prabang edition ผดุง วรรณทอง* 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย Mahachulalongkornrajavidyalaya University บทคัดย่อ “พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 5) ทรงส่ง 2 แม่ทัพคู่อริ ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวง ประจักษ์ศิลปาคม กับจมื่นไวยวรนาถ ให้ยกทัพขึ้นไปปราบพวกจีนฮ่อ” อนุสนธิ จากการอ่านนิราศต้องห้าม ในกาลนั้น (นิราศหนองคาย) ภายหลังกลับกลายมาเป็นหนังสือดี 100 เล่ม ที่คนไทยควรอ่าน ในกาลนี้ ท าให้ ผู้เขียนเกิดตัณหา และฉันทะ อยากไปตามรอยเส้นทางเดินทัพของสยาม สายที่ 2 ทัพฝ่ายเหนือ โดยการน า ของแม่ทัพใหญ่ จมื่นไวยวรนาถ ยศในขณะนั้น หรือ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ยศครั้งสุดท้าย ในยุคปราบจีนฮ่อ ร.ศ. 121 กอรปกับได้รับมอบหมายจากผู้บริหาร คณะสังคมศาสตร์ มหาจุฬาฯ ให้ร่วมเป็น คณะไปสานต่อ ก่อเกื้อประชาสัมพันธ์หลักสูตร พูดแบบตรงไปตรงมา คือใช้เราให้ไปหาคนมาศึกษาต่อใน มจร. หลังจากขาดหายจ้อยไปในช่วงโควิด 19 การเดินทางตามรอยนิราศหนองคายครั้งนี้ เราได้ใช้พาหนะ คือ เฮือยนต์ (เครื่องบิน) ต่อด้วย ม้าเร็ว (รถไฟความเร็วสูง) จากสยาม เวียงจันทน์ วังเวียง แลหลวงพระบาง ซึ่งสอดคล้องกับการแก้ค าสาปที่ว่า “ช้างเผือก หินฟู งูใหญ่” เมื่อเกิดขึ้นแล้วไซร้ อาณาจักรล้านช้างจักรฮุ่งเฮือง ลบล้างค าสาปของท้าวสีโคตรบอง อนึ่ง การเดินทัพจะล าบาก และเหน็ดเหนื่อยมากแค่ไหน จะต้องผ่านดงพญาไฟ พบพานประสบกับฝนตกห่า ใหญ่ ลูกเห็บขนานเท่าบาตร และไข้ป่ามาราเรีย หรือไม่ โปรดติดตามอ่านต่อไปในเนื้อเรื่อง ค าส าคัญ: ตามรอย, นิราศหนองคาย, หลวงพระบาง Abstract “King Chulalongkorn (Rama 5) sent 2 enemy generals, namely, His Royal Highness Krom Luang Prachaksinlapakhom with Jamun Waiyawanat to raise an army to defeat the Chinese Yunnan” Continuation from reading Journey forbidden at that time (Nirat Nong Khai) later turned into 100 good books that Thai people should read at this time, causing the author to have passion and desire 1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะ สังคมศาสตร์


2 I want to follow the marching route of Siam, the 2 nd line, the northern army, led by the general Chamuenwaiwaranat, the rank at that time or Chao Phraya Surasakmontri (Jerm Saeng-Chooto) last rank In the era of Chinese Yunnan suppression, 121 BC and was assigned by the administrators Faculty of Social Sciences, Mahachulalongkornrajavidyalaya University to join as a faculty to continue Promote public relations for the course frankly That is, use us to find people to study in the MCU. After being missing during COVID-19 Traveling along the path of Journey to Nong Khai this time We have used a vehicle, which is Hueyon (airplane), followed by high-speed horse (high speed train) from Siam, Vientiane, Vang Vieng and Luang Prabang. This corresponds to the cure of the curse that “white elephant, giant snake floating stone” when it occurs. The Kingdom of Lan Xang will flourish. Remove the curse of Thao Sikhottabong. Incidentally, marching will be difficult. and how tired must pass through Dong Phaya Fai met with heavy rain hailstones as long as a bowl and wild malaria or not, please continue reading in the story. Keyword: Track, Journey to Nong Khai, Luang Prabang บทน า ສະບາຊີ຋ຫຼ ວງພະບາງ ภาวะการขาดแคลนผู้เรียน ต่อเนื่องติดต่อกันมาเป็นระยะเวลา 2-3 ปี นับตั้งแต่มีโควิด 19 อุบัติขึ้นมาบนโลกานี้ ส่งผลให้บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของผู้บริหารชุดใหม่ไฟแรง คณะ สังคมฯ ร้อนรนทนอยู่ได้โดยยากยิ่ง จึ่งมอบหมาย ได้แก่ สั่งการให้หลักสูตรใดที่ใกล้สูญพันธุ์ จงขยันแสวงหาผู้ มาเรียน ก่อนที่เทียน (ผู้บริหารระดับสูง) จะยุบพวกเราเข้าด้วยกัน อย่ากระนั้นเลย สองภาควิชาฯ เรา ชาวเศรษฐ์-สังคมฯ จงระดมไอเดียเลิศโรดโชว์กัน จุดมุ่งหมายที่ วางไว้ก็ไม่ไกล สปป.ลาว นี้ไซร้ เราไปกัน เป็นเอกฉันท์ ด้วยศิษย์เก่าของเรามากมายคน คงได้ผลกลับคืนมา หน้าชื่นบาน จึ่งวางแผนแบ่งทัพออกเป็นสองฝ่าย สายที่ 1 ทัพฝ่ายเหนือ เกื้อหนุนก่อน ไม่ตัดรอนพร้อมสรรพ ขยับเคลื่อน น าพลโดยแม่ทัพหนุ่มนามระบือทั่วเมียนมา นามว่า หม่องดุง มิงคลาบา พร้อมขุนพลคู่กายา มี นามว่า ท่านชาติชาย และดาวเหนือ ไม่คลุมเครือเปิดเผยพร้อมเดินทาง พาหนะที่ใช้มี 2 อย่าง คือ เฮือยนต์ และม้าเร็ว ออกเดินทาง วันจันทร์ ที่ 27 ขึ้น 6 ค่ า เดือน 5 ปีขาล จุลศักราช 1384 (พ.ศ. 2566) ตามเส้นทาง ที่วางไว้ สยาม เวียงจันทน์ วังเวียง แลหลวงพระบาง ชั่งลงตัว ครั้นเมื่อทัพฝ่ายเหนือ เดินทางถึงซึ่งเมืองล้านช้าง ได้เพียงวันเดียว สายที่ 2 ทัพฝ่ายใต้ จึ่งขับเคลื่อน ขบวนพล ตามติดประชิดกัน ในวันอังคาร ที่ 28 ขึ้น 7 ค่ า เดือน 5 ปีขาล สุขสราญหทัย โดยการน าของแม่ทัพ ใหญ่ นามระบือไกลว่า คมสัน พร้อมขุนพล อีก 11 นาย มีจุดมุ่งหมายปลายทางทัพแห่งเดียวกัน


3 การยาตราทัพครั้งนี้ มีผู้หวังดีแต่ประสงค์ร้าย กล่าวเปรยปรายว่าเจ้านาย ส่งสองแม่ทัพคู่อริไปกล้ า กลายชายแดนแห่งล้านช้างร่มขาว...อ้าวยาวไปๆ แล้วใครๆ จะได้เห็นว่าพวกเราสามัคคีธรรม เสมือนดั่งปั้นข้าว เหนียวกลมเกลียวกัน พร้อมพัวพัน วัดโสกป่าหลวง วัดภูควาย วัดผาโอ และที่โก้ๆ คือ ท า MOU กับ มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ ดงนักปราชญ์ราชบัณฑิต เพื่อพิชิตเป้าหมายได้คนมาเรียน แล้วเหล่าเทียนจะไม่ยุบ หลักสูตรเรา ฟื้นฝอยหาอดีต เพื่อขีดปัจจุบัน หลวงพระบาง ด้านภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่สืบเนื่องกันมา มี ความสัมพันธ์ทางด้านมิติความเชื่อ และวัฒนธรรมสังคมในพื้นที่นี้มาอย่างช้านาน โดยผ่านมิติทางความเชื่อ ความเป็นมาของเมือง หรืออาณาจักรลาวล้านช้าง รูปแบบของเก่าและเมืองแบบใหม่ในสมัยอาณานิคมฝรั่งเศส จนถึงปัจจุบันและข้อมูลเหล่านี้มีความส าคัญยิ่งต่อการศึกษาภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์หลวงพระบาง (MR.Nittha Bounpany, 2561) ซึ่งหลวงพระบางได้มีพัฒนาการในการเจริญเติบโตของเมืองที่ส าคัญตาม ช่วงเวลา ดังนี้สมัยก่อนการสถาปนาอาณาจักรลาวล้านช้าง โดยความเป็นมาจากพงศาวดารนิทานพื้นบ้านของ ชาวหลวงพระบางกล่าวว่า ในอดีตหลวงพระบางเป็นพื้นที่ที่แฝงไปด้วยอ านาจแห่งอิทธิฤทธิ์อันได้ก็ให้เกิดความ เชื่อต่อๆ กันมาเป็นเวลานานทั้งเป็นการเล่าปากต่อปากจากคนเก่าแก่ในท้องถิ่น และบางส่วนก็ถูกท าเป็น หนังสือเอาไว้ หลวงพระบางนอนอยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม ภูเขา และโบราณสถานมากมายที่มีความเกี่ยวเนื่องกับ วัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในอดีตผู้คนที่ได้อาศัยอยู่พื้นที่นี้ซึ่งเป็นชนเผ่าแรกคือชนเผ่า “ขมุ” กาลเวลาผ่านไปก็ท าให้ชนเผ่านี้ได้ มีการเติบใหญ่ขยายตัวมากขึ้นจนเกิดมีชุมชน โดยเริ่มแรกในการสร้างเมืองของเมื่อก่อนที่ชื่อว่า “เมืองเชียงดง เชียงทอง”นั้น โดยฤษีสองพี่น้องได้มาส ารวจเห็นว่าพื้นที่ตรงเมืองเก่าหลวงพระบางในปัจจุบันนี้มีความอุดม สมบูรณ์ มั่งคั่ง มีทรัพยากรมากมาย มีลักษณะทางภูมิทัศน์ที่สวยงาม มีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการเลือกเป็น ภาพที่ 1: บรรยากาศการเดินทัพของทัพฝ่ายเหนือ ภาพที่ 2: บรรยากาศการประชาสัมพันธ์หลักสูตร ที่วัดผาโอ, ท า MOU กับมหาวิทยาลัย สุภานุวงศ์, วัดจอมทองวนาราม,โรงเรียน มัธยมสงฆ์วัดภูควาย


4 ถิ่นฐานเพื่ออาศัยอยู่จึงได้ตัดสินใจเอาเป็นที่ตั้งเมืองในเมื่อก่อน ในการหมายเขตเมืองในเมื่อก่อนได้มีความเชื่อ ว่าจะยึดเอาตามภูมิประเทศนั้นก็คือสายน้ า ภูเขา และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ โดยการมีการตั้งเสาหลักเมืองซึ่ง หลวงพระบางเองได้มีเสาหลักเมืองตั้งอยู่ด้านบนของภูสี ที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางเมือง และมีหลักหมั้นก้อนกาย ฟ้า และท้ายขัน ส่วนที่ตั้งอยู่นอกเมืองคือมีภูเขาธรรมชาติที่อยู่ล้อมรอบ อันเป็นเครื่องหมายเขตเมือง และยัง เป็นก าแพงใหญ่ให้แก่เมืองที่มีชื่อว่าภูล้านภูช้างอันเป็นนิมิตหมายจนกลายเป็นชื่อของ “อาณาจักรแห่งล้าน ช้าง” ในเวลาต่อมาจนกระทั่งได้รับอิทธิพลจากภาษาบาลี และสันสกฤต จึงถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น “นครศรีสัต นาคนหุต” ที่แปลว่า “ล้านช้าง” นั้นเอง (MR.Nittha Bounpany, 2561) นอกจากนั้นยังมีเรื่องขุนบรมราชาธิราชที่เป็นเทวดาฟ้าแถนที่ถูกส่งมายังเมืองมนุษย์โดยให้เป็นกษัตริย์ ปกครองครองเมืองแถน การก าหนดเขตแดนของเมืองโดยมีนิยามพื้นที่ให้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฏให้พบเห็น อันมีบทบาทส าคัญต่อรูปแบบการปกครอง ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมของผู้คนในพื้นที่ อยู่ใน พงศาวดารล้านช้างที่มีการกล่าวถึงต านานการสร้างเมืองหลวงพระบางที่มีนัยที่ส าคัญในการให้ความหมายแก่ พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ว่าเป็นพื้นที่ของผีบรรพบุรุษ หรือผีอารักษ์ในต านานของขุนบรมที่ถือได้ว่าเป็นต้นก าเนิดของ ต านานผีบรรพบุรุษ ผีอารักษ์ และยังแสดงเห็นถึงระบบความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษผีอารักษ์แฝงอยู่ในเนื้อเรื่อง ของขุนบรมที่ลงมาสร้างบ้านแปลงเมืองโดยเป็นผู้บุกเบิกพื้นที่นี้ และต่อมาเป็นเรื่องของผู้ที่คอยรับใช้ใกล้ชิดขุน บรมคือผู้ใหญ่ หรือ “ปูเยอย่าเยอ” คอยให้ความช่วยเหลือท าให้ได้รับความเคารพนับถือหรือเป็นผีบรรพบุรุษ ผีอารักษ์ของผู้ปกครองเมือง และชุมชนในยุคขุนบรม หรือยุคประวัติศาสตร์ของชนชาติลาวซึ่งในปัจจุบันก็ยัง ถูกยกมาเป็นอัตลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นความเชื่อที่ยังเคารพนับถือ โดย “ขุนลอ” โอรสที่ส าคัญได้ถูกขุนบรมส่ง มาสถาปนาเมืองศรีสัตนาคนหุตอุตมราชธานีเมืองชวา หรือเชียงดงเชียงทอง ซึ่งก็คือเมืองหลวงพระบางใน ปัจจุบันขึ้นเป็นปฐมอาณาจักรลาว และทรงครองราชย์มาตั้งแต่ พ.ศ.1241 หรือ ปีค.ศ. 698 ส่วนโอรสคนอื่น ๆ ทั้ง 6 นั้นขุนบรมโปรดให้ไปสร้างบ้านแปลงเมืองจนเกิดเป็นอาณาจักรต่างๆ ที่ในภาคพื้นสุวรรณภูมิ (วรัฐ ลาชโรจน์ & เบญจวรรณ กองสาสนะ, 2005) หลวงพระบางนับว่าเป็นราชธานีที่เก่าแก่ตั้งอยู่ท่ามกลางสรรพสิ่งทั้งหลายน่าตื่นเต้นร้อยอันพันอย่าง มีปูชนียสถานยุคก่อนประวัติศาสตร์บ้านเชียงเหล็ก 3,500 ปีก่อน ค.ศ. และทิวทัศน์ธรรมชาติอันสวยงามของ น้ าโขงที่เต็มไปด้วยปริศนา และเรื่องราวกล่าวขานที่ไม่อาจลืมเลือนได้ ทุกสิ่งเหล่านี้ ได้ประดับ และเพิ่มความ งามความมีเสน่ห์ให้แก่สีสันแห่งวัฒนธรรมด้านต่างๆ ของลาว ยังมีความเชื่อในเรื่องของพระยานาคในหลวง พระบางซึ่งเป็นเรื่องที่ส าคัญ และสัมพันธ์กับเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของในหลวงพระบางซึ่งมักจะเห็นทั้งใน ภาพวาด และรูปปั้นพระยานาคปรากฏอยู่ในวัดจ านวนมาก หลวงพระบางเองก็ได้รับการขนานนามว่าเป็น “นครแห่งพระยานาค” โดยพระยานาคถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยคุ้มครองปกปักรักษาบ้านเมือง และชาวลาว โดยเฉพาะเมืองหลวงพระบางที่เชื่อว่า ศรีสัตนาคนหุต หรือแปลว่า เมืองนาคเจ็ดหัว


5 ที่ตั้งชื่อตามต านานการสร้างเมืองที่มีฤษีมาสอนให้ผู้คนในท้องถิ่นรู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และ ในนั้นมีทั้งยักษ์ พญานาคเจ็ดหัว มนุษย์และได้น าลักษณะมงคลของพญานาคนั้นมาตั้งเป็นชื่อเมืองต่อไป ใน วัฒนธรรมของชาวหลวงพระบาง การนับถือนาคเป็นสัญลักษณ์แห่งต้นก าเนิดของชนชาติที่มาของความเชื่อ เรื่องนาค อาจมาจากต านานในความเชื่อของบรรพบุรุษชนชาติลาว จากต านานกล่าวว่านาคที่อยู่อาศัยอยู่ตาม สถานที่ต่างๆ เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์แทนหัวหน้ากลุ่มชนหรือผู้ปกครองชุมชนในพื้นที่ต่างๆ สมัยอาณาจักรลาว ล้านช้าง หรือยุคก่อนอาณานิคมฝรั่งเศสสมัยอาณาจักรลาวล้านช้าง ได้เริ่มปรากฏความเป็นเมือง และชุมชนได้ อย่างเป็นรูปร่างในช่วงรัชสมัยของเจ้าฟ้างุ่ม ที่ทรงรวบรวมอาณาจักรลาวให้เป็นปีกแผ่น และ ก่อตั้งเมืองเชียง ดงเชียงทองขึ้นให้เป็นราชธานี ซึ่งกล่าวว่าเป็นอาณาจักรลาวล้านช้าง ส่วนค าว่า “หลวงพระบาง” นั้นได้มีที่มา จากกษัตริย์ของขอมได้พระราชทานองค์พระบางให้แก่เจ้าฟ้างุ่ม ในปี ค.ศ. 1358 (พ.ศ.1901) และได้น าไป ประดิษฐานไว้ที่เมืองเชียงดงเชียงทอง อันเป็นพระพุทธรูปศิลปะสิงหลคู่บ้านคู่เมืองที่มีความศักดิ์สิทธิ์อันเป็น ที่มาของค าว่า “หลวงพระบาง” หลวงพระบางนั้นมีประวัติศาสตร์ ความเป็นมาอย่างต่อเนื่องมายาวนาน เป็นเมืองศูนย์กลางที่ยังคง รากเหจ้าของอาณาจักรล้านข้างที่รุ่งเรื่องในอดีต มีความโดดเด่นทางด้านศิลปะวัฒนธรรม ประเพณีอันเป็น เอกลักษณ์เฉพาะที่โดดเด่น จากบันทึกประวัติศาสตร์ลาวได้เขียนไว้ว่าในสมัยของเจ้าฟ้างุ่มปกครองนั้นได้ ปรากฏมีพุทธศาสนาในขณะเดียวกับการน าเอาองค์พระนางจากอาณาจักรขอมสู่ล้านช้างและปฏิบัติกันมา อย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองแห่งอารยธรรมล้านช้างที่ถูกโอบอ้อมด้วย ธรรมชาติ ป่าไม้และขุนเขา มีความสวยงามด้วยภูมิทัศน์ทุ่งนา ผู้คน บ้านเรือน วัดว่าอาราม และพระราชวัง เดิมจนได้กลายเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในระดับสากลที่มีฐานะพร้อมถูกยกย่องให้เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว ภาพที่ 3: ภาพถ่ายเศียรพญานาค ณ โรงเมี้ยนโกศ หรือโรงราชรถ วัดเชียงทอง ที่มา: วิกิพีเดีย


6 ทางต้านวัฒนธรรมประเพณี และธรรมชาติ รวมทั้งสถาปัตยกรรมอันสวยงามในปัจจุบัน (MR.Nittha Bounpany, 2561) ความเป็นสังคมเมืองขยายตัวมากขึ้น มีภาษาท้องถิ่นท าให้พื้นที่มีความหนาแน่น และมีศูนย์กลางของ ชุมชน ในสมัยพระเจ้าวิชุนราช (พ.ศ. 2044) โดยพระองค์ได้ทรงเริ่มวางรากฐานของเมืองเชียงทอง ให้เป็น พื้นที่ที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา โดยมีการสร้างวัดวิซุนราชบนพื้นที่หลังพูสี และอัญเชิญ “พระบาง” มาประดิษฐานในอารามวัด ในปีค.ศ. 1504 (พ.ศ. 2046) ซึ่งวัดดังกล่าวคือ พุทธศาสนสถานแห่ง แรกภายในก าแพงเมืองเชียงทอง หรือหลวงพระบาง โดยวัดเชียงทองสร้างในปีค.ศ. 1560 (พ.ศ. 2103) ก่อน ย้ายราชธานีมาเวียงจันทน์ ตั้งอยู่ในพื้นที่แหลมบริเวณจุดบรรจบกันของแม่น้ าโขง และแม่น้ าคาน ซึ่งกลายมา เป็นศูนย์กลางของต าแหน่ง “หัวเมือง” และเป็นสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาจึงถูกสร้างขึ้นโดยชื่อว่า “วัด เชียงทอง” และช่วงเวลาต่อมาในสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ราชธานีของอาณาจักรลาวล้านช้างถูกย้าย ไปนครเวียงจันทน์ และเมืองเชียงทองถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นหลวงพระบางเพื่อสถาปนาเป็น “ราชธานีของ พระพุทธศาสนา” ช่วงเวลานั้นมีการสร้างวัด และอุโบสถมากมาย โดยมีด าเนินการจากหลายภาคส่วนทั้ง ราษฎร ข้าราชการ และคหบดีทั้งนี้เพื่อเป็นไปตามพระราชด าริของเจ้ามหาชีวิตที่ต้องการท าลายคติความเชื่อ เรื่องผีโดยยึดถือพุทธศาสนาเป็นหลักศูนย์รวมทางด้านความคิดความเชื่อของหลวงพระบางตลอดมา (ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์, 2553a) เมื่อสิ้นแผ่นดินในสมัยของสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชอาณาจักรล้านช้าง ก็ได้มีกษัตริย์ ปกครองสืบต่อกันมาหลายรัชกาล ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในช่วงรัชกาลของพระเจ้าสุริยวงสาธรรมิก ราช ในปีค.ศ. 1638-1695 (พ.ศ. 2181-2238) ถือว่าเป็นยุคทองแห่งอาณาจักรล้านช้าง พระองค์ทรงเป็น ภาพที่ 4: ภาพถ่ายทางอากาศของเมืองหลวงพระบาง เมื่อปี พ.ศ. 2559 ที่มา: ภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์เมืองมรดกโลกหลวงพระบาง สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว: 2561


7 กษัตริย์ที่มีความตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม พร้อมยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่น ชมยินดี และเป็นที่นับถือของประชาชน ปัจจุบัน หลวงพระบางเป็นเมืองที่มีมรดกทางสถาปัตยกรรมพิเศษเฉพาะที่สะท้อนการผสมผสานกันได้ อย่างลงตัวของสถาปัตยกรรมเมืองของลาวดั้งเดิมกับสถาปัตยกรรมยุโรปในยุค ( Colonial era) ในศตวรรษที่ 18-20 แบบและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารต่างๆ บ้านแบบลาวดั้งเดิมที่ยังคงมีอยู่นั้นส่วนมากเป็นบ้านไม้ มี เพียงวัดเท่านั้นที่เป็นหิน และปูนซึ่งประดับประดาอย่างสวยงามด้วยรูปปั้นภาพ แกะสลัก ภาพวาด การปิด ทอง และเครื่องเรือนต่างๆ และวัสดุที่น าเข้ามาในลาวในช่วงอาณานิคม ซึ่งสิ่งปลูกสร้างแบบอาณานิคมที่เป็น อิฐและมักมีระเบี ยง และใช้ไม้เป็นลวดล ายตกแต่งนั้น มีให้เห็นต ามถนนส ายหลัก และริมแม่น้ าโขง โบราณสถานในเมืองหลวงพระบางที่ประกอบไปด้วยสิ่งปลูกสร้างหลักๆ อย่างเช่น ศาสนสถาน อาคาร สาธารณะ และบานเรือนแบบเก่าที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมเฉพาะแบบอันเกิดจากการผสมผสานกันได้อย่างลง ตัวระหว่างศิลปะการก่อสร้างแบบลาวดั้งเดิมกับแบบตะวันตก ภูมิทัศน์ของเมืองหลวงพระบางที่ได้รับการ รักษาไว้อย่างดียิ่ง อีกทั้งประชาชนลาวในหลวงพระบางยังคงมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติและปฏิบัติรักษา จารีตประเพณีดั้งเดิมของตนไว้ได้เป็นอย่างดี อาทิ การท าบุญ ตักบาตร ประเพณีสงกรานต์ อีกทั้งยังมีไมตรีต่อ ผู้มาเยือนเป็นนิจ ความส าคัญของหลวงพระบาง ในฐานะมรดกอันล้ าค่าของประเทศนั้นได้ปรากฏอยู่อย่างเด่นชัด โดยอัตลักษณ์ที่โดดเด่น มีต านานเรื่องเล่ากล่าวขานถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และส าคัญทางศาสนาตามต านานการ ภาพที่ 5: ลักษณะองค์ประกอบโครงสร้างผังเมืองของชุมชนในเขตหลวงพระบาง ที่มา: ภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์เมืองมรดกโลกหลวงพระบาง สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว: 2561


8 เกิดชนชาติ การเกิดเมือง ในการปกครองเขตเมืองในเมื่อก่อนผู้ปกครองของทุกสมัยต่างก็ให้ความส าคัญต่อการ สร้างถาวรวัตถุเป็นวัฒนธรรมหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์ก่อให้เกิดการปลูกจิตส านึก และการรับรู้ของวัฒนธรรมที่ สร้างโดยผู้ปกครองเมืองในเวลาต่อมาแสดงออกผ่านความศักดิ์สิทธิ์ของสถาปัตยกรรม และปูชนียสถานทาง ศาสนาอันเป็นเครื่องมือส าคัญ ก่อให้เกิดมีโบราณสถานโบราณวัตถุที่ส าคัญต่างๆ มากมายนับว่าเป็นหลักฐาน ยืนยันถึงรากฐานความเชื่อต่อกับการน าเอาพระพุทธศาสนาเข้ามาในสังคมแล้วมีการสร้างสัญลักษณ์ และภาพ แทนเพื่อเป็นความหมายแก่ทางสังคมได้รับรู้ และเข้าใจ เช่น พระธาตุ รอยพระบาท และวัดต่างๆ โดยผู้ที่ ปกครองได้ใช้ในการสร้างความชอบธรรมส าหรับสถานภาพที่สูงกว่าการใช้ศาสนาเพื่ออธิบายสถานะของคน ต่างๆ ในสังคม ลักษณะนี้พบเห็นอดีต และเกิดมีประเพณีงานบุญ และพิธีกรรมต่างๆ ที่จะต้องจัดขึ้นในทุกๆ ปี เพื่อตอกย้ าความส าคัญ และปฏิบัติอย่างเป็นประเพณีของพื้นที่ต่างๆ และได้รับการปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึง ปัจจุบันวัด วัดในพุทธศาสนานั้นเป็นสถานที่ส าคัญ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เป็นศูนย์กลางของชุมชน และ เป็นศูนย์รวมของชาวหลวงพระบางนับตั้งแต่การน ามาซึ่งพุทธศาสนาด้วยสมเด็จเจ้าฟ้างุ่มเข้ามาอาณาจักรล้าน ช้าง การสร้างวัดได้บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ ความเป็นเชื้อชาติและความเป็นมาของชาวหลวงพระบาง ด้วยการยึด มั่นในความเชื่อและเคารพในหลักทางพุทธศาสนาจึงท าให้มีการปกปักรักษาศาสนาสถานมาอย่างต่อเนื่องจนถึง ปัจจุบัน ในอดีตเมื่อศตวรรษที่ 18 ในหลวงพระบางมีวัดถึง 65 แห่ง จนมีนามว่า “นครแห่ง 65 วิหาร” หรือ “อัญณีแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ในปัจจุบันเหลือเพียง 29 วัด ในนั้นมีจ านวน 3 วัดที่ยังคงรักษารูปแบบ โครงสร้าง และลวดลายแบบดั้งเดิมเอาไว้เช่น วัดเชียงทอง วัดปากคาน และวัดคีลีซึ่งมีหลายมูลเหตุที่ท าให้สูญ หายของศาสนาสถานในหลวงพระบางเช่น สภาพภูมิอากาศและพายุฝนที่ท าลายโครงสร้างเหล่านี้ อีกสาเหตุ หนึ่งคือถูกอัคคีไฟเผาตัวเมืองหลายครั้งโดยเฉพาะในปี ค.ศ. 1774 การก่อสร้าง และการบูรณะฟื้นฟูตัวเมือง คืนในช่วงสมัยเป็นหัวเมืองขึ้นของเจ้าอาณานิคมได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง และท าลายวัดวาอาราม เป็นจ านวนมาก (MR.Nittha Bounpany, 2561) ในอดีตกลุ่มคนแรกที่อาศัยอยู่ในบริเวณหลวงพระบางนี้คือ ชนเผ่าขมุ ผู้ที่ปฏิบัติ และนับถือ ในศาสนา ผีก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยชนเผ่าลาวลุ่มผู้ซึ่งนับถือผีฟ้าผีแถน ภายหลังได้มีการน าเอา พระพุทธศาสนาเข้ามา เผยแพร่ด้วยเจ้าฟ้างุ่ม กษัตริย์องค์แรกของอาณาจักรลาวล้านช้าง ต่อมาก็ได้มีการลบ ล้างการนับถือศาสนาผี โดยเจ้าเพชรราช ทั้งนี้ ในปัจจุบันชาวลาวนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 70 ของประชากรในประเทศ โดยเฉพาะ ชนเผ่าลาว ลุ่ม และชนเผ่าลาวลุ่มถือเป็นประชากรพื้นฐาน หรือเป็นคนดั้งเดิมของเมืองหลวงพระบาง โดยมีอาชีพรับ ราชการ ค้าขาย และเกษตรกรรม โดยอาศัยอยู่ตามพื้นต่างๆ ของเมืองเช่น เขตหัวเมือง เขตท้องเมือง เขตท้าย เมือง และเขตฟากภูด้วยในอดีตหลวงพระบางเป็นราชธานีแห่งกษัตริย์ จึงส่งผลให้มีพื้นที่ทางสังคมที่แยก ระดับชนชั้น เช่น กษัตริย์ ข้าราชการขุนนาง ชั้นต่างๆ และชาวบ้าน (ชาวบ้านยังถูกแยกเป็นคนกลุ่มฐานะดี และยากจน) ในครอบครัว หรือวัฒนธรรมลาวแล้วผู้ชายจะเป็นหัวหน้า เป็นเสาหลักของครอบครัว ด้วยการมี อาชีพหลักของตนไม่ว่าจะเป็นขุนนาง หรือประชาชน พ่อค้าชาวขายต่างๆ ส่วนแม่หญิงมีหน้าที่ดูแลบ้านเรือน ขณะที่ผู้เป็นพ่อ หรือสามีไปท างาน โดยมีอาชีพ คือ การต่ าหูก ทอไหม จักสาน ท าอาหารต่างๆ ซึ่งในปัจจุบัน


9 อาชีพเหล่านี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นมรดก ภูมิปัญญาที่ยังคงสืบทอดกันต่อๆ มา (MR.Nittha Bounpany, 2561) ตามรอยจมื่นไวยวรนาถ ไปอุปถัมภ์พระศาสนาที่ล้านช้างหลวงพระบาง จมื่นไวยวรนาถ หรือ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ครั้นเมื่อได้รับพระบัญชาจากพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 5) ให้ขึ้นมาเป็นแม่ทัพใหญ่ ทัพฝ่ายเหนือ (เมืองพิชัย น่าน หลวงพระบาง) เพื่อมา ปราบพวกจีนฮ่อ (กบฏไท่ผิง) มาปล้นชิงทรัพย์ชาวประชา และเผาวัดวาอารามในเมืองหลวงพระบาง จนได้รับ ชัยชนะ พวกจีนฮ่อพ่ายแพ้แตกกระเจิงไป จึ่งยับยั้งอยู่ในฝั่งเมืองหลวงพระบาง เพื่อรอค าสั่งบัญชาการจาก หน่วยเหนือ คือ สยาม (กรุเทพมหานคร) ว่าจะให้ท่านและพลทัพด าเนินการอย่างไรต่อไปดี จึ่งได้มีเวลาใน ฐานะพุทธศาสนิกชน ปฏิญาณตนบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดวาอาราม สีมา วิหาร ลานพระเจดีย์ บรรดามี อาทิเช่น วัดป่าฮวก (ວັ຋ປ່ າອວກ) วัดป่าฮวก หรือ วัดป่าไผ่รวก ก่อสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2404 โดยพญาศรีมหาธาตุ (ไทยรัฐ, 2566) ชื่อของ วัดได้มาจากการด ารงอยู่ของป่าไผ่ในสถานที่แห่งนี้ สิมตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของภูเขาภูสีและตรง ข้ามกับทางเข้าหลักไปยังพิพิธภัณฑ์พระราชวัง ตัวสิมที่ค่อนข้างเล็กอยู่ในสไตล์เวียงจันทน์หรือแบบไทย วัดป่า ฮวกแสดงให้เห็นถึงการละเลยมานานนับปี สะท้อนให้เห็นถึงทรัพยากรที่จ ากัดส าหรับงานดังกล่าวและ โครงการจ านวนมากที่ต้องการความช่วยเหลือในพื้นที่ที่ค่อนข้างน้อยของเขตมรดกหลวงพระบาง ด้านนอก จ าเป็นต้องได้รับการซ่อมแซม ไม้แกะสลักที่เปลือยเปล่ามีสภาพอากาศที่รุนแรงเช่นเดียวกับประตูที่มีการล็อค บ่อยที่สุด แต่มีหน้าผาไม้แกะสลักที่ประณีตงดงาม ตรงกลางหน้าผามีภาพพระอินทร์ขี่ไอยราวาตะ (เอราวัณ, ในไทย) ช้างสามเศียรในต านานฮินดู ภาพที่ 6: ป้ายวัด, อุโบสถ, พระประธาน, จิตกรรมฝาผนัง, เจ้าพระยาสุรศักด์มนตรี ที่มา: ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีในเอเชียอาคเนย์ V จิตรกรรมผนังเล่าเรื่อง: มยุรินทร์ กุลวงศ์, วิกิพีเดีย


10 ศิลปะหลวงพระบาง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24-25 เป็นระยะที่ได้รับอิทธิพลรัตนโกสินทร์อย่างมาก แต่ต้องไม่ลืมว่า การที่เจ้านายบางพระองค์ในราชวงศ์หลวงพระบางได้เคยเสด็จมาประทับ ณ กรุงเทพฯ อาจ ท าให้อิทธิพลรัตนโกสินทร์ปรากฏบทบาทอย่างมากในแถบนี้ก็ได้ ด้านหลังพระพุทธรูปประธานของวัดป่า ฮวก เขียนเป็นภาพธรรมชาติ เช่น ภูเขา โขดหินและสัตว์ป่า ประหนึ่งว่าพระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ภายในป่า หิมพานต์ ด้านบนปรากฏอาคารซึ่งพระพุทธเจ้าแวดล้อมด้วยพระสาวกก าลังนั่งฟังธรรมอยู่ ภาพเล่าเรื่องนี้เป็น ภาพตอนพระเจ้าชมพูบดีก าลังเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ที่ แปลงตนเองเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ โปรดสังเกตว่าพระ เจ้าชมพูบดีก าลังตกตะลึงกับความงดงามของเมืองและปราสาทราช วังของพระพุทธเจ้า การเขียนภาพชมพูบดี ที่วัดป่าฮวกใกล้กับพระราชวังหลวงพระบาง อาจเกี่ยวข้องกับการยกสถานะเจ้ามหาชีวิตแห่งหลงพระบางให้ เทียบเท่ากับพระจักรพรรดิก็ได้ แม้ว่ารูปแบบของจิตรกรรมที่นี่แสดงความพยายามในการเลียนแบบศิลปะ รัตนโกสินทร์อย่างมาก เช่น การวาดภาพปราสาทและเครื่องแต่งกายบุคคลเป็นต้น แต่การใช้สีของจิตรกรรม ที่นี่กลับแปลกออกไปกว่าศิลปะรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะการเน้นสีส้ม จิตรกรรมที่นี่มีความพิเศษอย่างมาก เนื่องจากมีการวาดภาพ “คนจีน” แทรกลงไปในจิตรกรรมไทยประเพณี ซึ่งลักษณะเช่นนี้แตกต่างไปจาก จิตรกรรมที่กรุงเทพ คนจีนเหล่านี้มีทั้งบุรุษและสตรี โดยการแต่งตัวแสดงให้เห็นเอกลักษณ์ชนชาติอย่างชัดเจน อนึ่ง ต้องไม่ลืมว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการติดต่ออย่างมากระหว่างจีนกับรัตนโกสินทร์ ซึงอิทธิพลดังกล่าวอาจ เลยมาถึงหลวงพระบางเช่นกันอิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่น การวาดภาพปราสาทราชวัง และตัวละคร รวมถึงการวาดท้องฟ้าสีฟ้าและทัศนียวิทยาตามแบบความเป็นจริงซึ่งแสดงให้เห็นการเข้ามาของ อิทธิพลตะวันตก จิตรกรรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัย รัชกาลที่ 4-5 (มยุรินทร์ กุลวงศ์, 2566) เมื่อเดินเข้าไปเยี่ยมชมวัด ผู้เขียนสังเกตเห็นป้ายภายในสิมที่เขียนบอกว่า “วัดป่าฮวก สร้างโดยรัชกาล ที่ 5 ของไทย เชิญร่วมบริจาคเพื่อซ่อมแซมวัด ขอบคุณ” วัดป่าฮวกแห่งนี้ปัจจุบันไม่มีพระจ าพรรษา และถูก ปล่อยให้รกร้าง มีเพียงร่องรอยการสร้างกุฏิที่ปัจจุบันดูจะรางเลือนเต็มที แต่ใครจะรู้บ้างว่า วัดแห่งนี้ ได้ถูก กล่าวอ้างว่า เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้ทรงสร้างเอาไว้ แต่จริงเท็จจะเป็น อย่างไรนั้น ไม่มีใครรู้ในเรื่องนี้แต่ที่แน่ๆ ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า เมื่อจมื่นไวยวรนาถ จากสยาม ได้ยึดและขับไล่พวก จีนฮ่อพ้นเมืองหลวงพระบางแล้ว ท่านได้ปฏิบัติตนเป็นพุทธมามกะ บูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม โดยการเผา อิฐน ามาสร้างสิมและก าแพงวัดในฝั่งเมืองหลวงพระบาง 1 ในนั้น คือวัดป่าฮวกนี้ด้วย เปิด-ปิด: เวลา 08:00 - 17:00 น. วัดจอมเพชร (ວັ຋ຈຬມເພັ ຋) วัดนี้ตั้งอยู่บนยอดภูเพชร ทางทิศเหนือของบ้านเชียงแมน ห่างจากเมืองหลวงพระบางประมาณ 3 กิโลเมตร สร้างเมื่อ ค.ศ. 1888 (พ.ศ. 2431) สร้างและบูรณะโดยช่างฝีมือชาวลาวและช่างฝีมือชาวไทย ในสมัย รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ครั้งที่หลวงพระบางยังอยู่ใต้การปกครองของประเทศ สยาม โดยกองทัพสยามครั้งที่ยกพลมาปราบจีนฮ่อ วัดนี้เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์และพุทธศาสนิกชนชาวไทย


11 สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2431 มีสถูป 2 องค์ เป็นที่เก็บกระดูกของภรรยาของกษัตริย์องค์ก่อนๆ แห่งลาว (Luang Prabang provincial Department of Information, Culture and Tourism, 2566) ไฮไลส าคัญ: 1. วัดนี้ ตั้งอยู่ที่บ้านจอมเพชร มีเป็นจุดชมวิวเมืองหลวงพระบางที่สวยที่สุด (ในสายตาผู้เขียน) เพราะสามารถเห็นทิวทัศน์อันน่าตื่นตาตื่นใจของหลวงพระบางเมืองเก่าที่อยู่เหนือแม่น้ าโขงและแม่น้ าคาน ได้ อย่างถนัดตา การเดินทางไปวัดแห่งนี้ ออกจากฝั่งเมืองเก่าลวงพระบาง ได้ 2 วิธี คือ 1) นั่งเรือจากท่าเรือวัด เชียงทอง ข้ามแม่น้ าโขง ขึ้นฝั่งท่าบ้านจอมเพชร แล้วปีนขึ้นเขา 123 ขั้น 2) นั่งรถยนต์ถึงเชิงเขาแล้วปีนขึ้นไป บนวัดนี้ 2. วัดนี้ครั้นเมื่อ จมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) ยกทัพมาปราบฮ่อ ได้ตั้งทัพสยามในวัดแห่งนี้ เนื่องจากตั้งอยู่บนภูเขาสูง เหมาะแก่การตั้งฐานทัพและเป็นชัยภูมิที่ได้เปรียบคู่ต่อสู้เป็นอย่างยิ่ง อุโบสถที่ตั้งอยู่ หน้าพระธาตุสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมอยุธยาตอนปลาย ฐานอุโบสถแอ่นโค้งแบบท้องเรือส าเภาอันเป็น รูปแบบที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนปลาย ผนังด้านมีภาพจิตรกรรมแบบจีนและไทย ผู้เฒ่าผู้แก่ เรียกวัดนี้ว่า “วัด สยามสร้าง” และเล่าว่า มีคนเคยเห็น และถ่ายรูปอิฐที่ใช้บูรณะอุโบสถ ที่มีลายเซ็นชื่อตราประทับ จมื่นไวยวร นาถ ปัจจุบันไม่เหลือให้เห็นเป็นหลักฐานแล้ว 3. วัดนี้ มีเจดีย์ที่ส าคัญ 2 องค์ ตั้งอยู่หลังอุโบสถ เป็นเจดีย์ทรงระฆังในผังกลม เหลือเพียงโกลนอิฐ ปูนที่ฉาบไว้ช ารุดเป็นส่วนใหญ่ ส่วนฐานสูง ซ้อนชั้นลดหลั่นกัน 5 ชั้น ฐานเขียนมี 2–3 ชั้น จากนั้นเป็นบัว หงายซึ่งประกบกับบัวคว่ า ต่อด้วยท้องไม้ซึ่งซ้อนกัน 5 ชั้น องค์เจดีย์มีขนาดเล็กและยืดสูง ส่วนยอดไม่ปรากฏ ที่มา: Wat Chomphet". Luang Prabang provincial Department of Information, Culture and Tourism, วิกิพีเดีย ภาพที่ 7: วัดจอมเพชร มุมสูง, เจ้าอุ่นค า, ผู้เขียนถ่ายภาพกับป้ายวัด, เจดีย์บรรจุอัฐิ, พระประธานในอุโบสถ/ผู้เขียนถ่ายภาพกับเจดีย์, หน้าอุโบสถ


12 การท าบัลลังก์ มียอดเป็นลักษณะคล้ายบัวคลุ่มเถาและต่อด้วยปลียอด ใกล้กับทางขึ้นเขา จากข้อมูลที่ทางการ ได้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรแก่นักท่องเที่ยวว่า เป็นเจดีย์ที่บรรจุอัฐิเจ้ามหาชีวิตของลาว คือเจ้าอุ่นค า และพระ มารดา (ค ามูน) ประวัติโดยย่อของเจ้าอุ่นค า พระบิดาของเจ้าพระเจ้าสักรินทรฤทธิ์พระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร มีพระนามเดิมว่า “เจ้าอุ่นค า“ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 11 แห่งราชอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง และ เป็นพระองค์สุดท้ายภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรสยาม ทรงพระราชสมภพ ณ นครหลวงพระบาง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2354 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ามันธาตุราช กษัตริย์ล้านช้างหลวงพระบาง พระองค์ที่ 8 และ พระนางค ามูน ทรงครองราชย์ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2415-2430 โดยได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ เป็นเจ้าผู้ครองนครหลวงพระบาง มีพระนามว่า “เจ้ามหินทรเทพนิภาธร วรวิสุทธธรรมสัตยา มหาปเทศาธิบดี ศรีสัตนาคนหุต วุฒิเกษตราธิฐาน ประชานุบาลมลาวพงษ์ ด ารงนครหลวงพระบางราชธานี เจ้านครหลวงพระ บาง” ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ยกเป็นที่จางวาง มีพระนามว่า “พระเจ้ามหิ นทรเทพนิภาธร ขจรสัจธรรมวิสุทธ วรวุฒิกูลวงษ์ มลาวพงษาธิบดีศรีสัตนาคนหุต อุตมเขตรวิเศษศักดิ์ อรรค มหาปธานาธิการ ภูบาลบพิตร จางวางเมืองนครหลวงพระบาง” และครองราชย์ครั้งที่สอง เมื่อ พ.ศ. 2432- 2438 การครองราชย์ของพระองค์สิ้นสุดลงด้วยการที่ลาวตกเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส... ครั้นเมื่อ จ มื่นไวยว รน าถ ได้ ยึดแล ะขับไล่พวกจีน ฮ่อพ้น เมืองหลวงพระบางแ ล้ว ท่ านได้ บูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม โดยการเผาอิฐน ามาสร้างสิมและก าแพงวัดในฝั่งเมืองเชียงแมน 1 ในนั้น คือวัด จอมเพชรนี้ด้วย เปิด-ปิด: เวลา 08:00 - 17:00 น. วัดเชียงแมนไชยเชษฐาราม (ວັ຋ຉຽງແມນ ໄຉເສ຋ຖາ) วัดนี้ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ าโขงตรงข้ามกับหลวงพระบาง วัดเชียงแมน หมายถึง เมืองสวรรค์ ดังค า เปรียบเทียบว่า สวรรค์เมืองแมน สิม หรือ อุโบสถของวัดเชียงแมน หลังปัจจุบัน ตามประวัติเชื่อว่า สร้างขึ้น ใหม่ราวพุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งน่าจะมีการบูรณะหลายครั้งราวสมัยเจ้าอนุรุทธะ เจ้ามันธาตุราช เจ้าจันทิราช โดยสร้างทับพระอุโบสถองค์เดิม ซึ่งสร้างก่อนหน้านั้นราว 200 ปี ตรงกับสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่ง รัชกาลพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช นับได้ว่าเป็นสมัยหนึ่งของประวัติศาสตร์ลาวที่มีความรุ่งเรืองมากท่ามกลาง วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นรอบด้าน ชาวลาวล้วนนับถือพระองค์ว่าทรงเป็นมหาราชและเป็นวีรกษัตริย์พระองค์ ส าคัญในประวัติศาสตร์ลาว ลวดลายที่ซุ้มประตูและบานประตูในสิมหลังปัจจุบัน เป็นศิลปะแบบหลวงพระบาง ผสมพม่า อาจได้รับอิทธิพลจากพม่าในช่วงสมัยเจ้ามันธาตุราชและเจ้าอนุรุทธะ ซึ่งพม่าในสมัยนั้นได้เข้าไปมี บทบาทในการเมืองของล้านช้างค่อนข้างมาก เดิมวัดนี้ชื่อ วัดเชียงยืน ภายหลังแต่มาเปลี่ยนชื่อเป็น วัดเชียงแมนไชยเชษฐาราม สิมวัดเชียงแมนมี รูปแบบผนังยกสูง ซุ้มประตูมีการซ้อนชั้นและประดับแนวหงส์ที่กรอบซุ้มประตู ลักษณะโดยรวมเหมือนสิมห ลวงพระบางทั่วไป แต่หลังคาไม่อ่อนโค้งและเตี้ยอย่างวัดเชียงทอง จึงสันนิษฐานค าว่า เชียงแมน เป็นไปได้สอง ความหมาย คือ 1) แปลว่า เมืองสวรรค์ ค าว่า แมน หมายถึง สวรรค์2) มาจาก เมืองม่าน ค าว่า ม่าน หมายถึง


13 พม่า หน้าบันของสิมวัดเชียงแมน แถวบนเป็นรูปเทพพนมบนช้างสามเศียร และแถวล่างเป็นรูปครึ่งเทพครึ่ง สัตว์ งานปูนปั้นที่กรอบซุ้มประตูของวัดเชียงแมน ได้รับการยกย่องว่า สวยงามมาก เป็นลวดลายพญานาคและ หงส์(Wat Xiang Men, Luang Prabang, Laos, 2566) ตามบันทึกศิลาจารึกที่ฝังไว้ด้านล่างของฐานชุกชีของพระองค์หลวง วัดเชียงแมน เดิมมีชื่อว่า “วัด เชียงยืนไชยเชษฐาราม” เป็นวัดที่สวยงามมาก และ มีสีสันหลายในย่านเมืองจอมเพชร และยังเป็นหนึ่งใน ภูมิภาคที่ส าคัญทางประวัติศาสตร์สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช เพื่อเป็นการอุปการะพระ รัตนตรัย และได้รับการอุปถัมภ์ต่อมาจนถึงสมัยของพระหน่อเมือง พระราชโอรสของพระไชยเชษฐาธิราช ซึ่ง เป็นแม่แบบของพระวิหารวัดที่มีชื่อเสียง ก็คือวัดเชียงทอง เปิด-ปิด: เวลา 8:00 - 17:00 น. ภาพที่ 8: บริเวณวัดเชียงแมน, ผู้เขียนกับป้ายวัด, ผู้เขียนกับหน้าอุโบสถ, พระประธานในอุโบสถ, เจดีย์บรรจุอัฐิ/ป้ายเจ้าภาพบูรณะเจดีย์, เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ ที่มา: วิกิพีเดีย, สาธุสมบัติ สมฺปนฺโน วัดศรีพุทธบาท ฝั่งเมืองหลวงบาง


14 ไฮไลส าคัญ: 1. วัดนี้ มีความเชื่อมโยงกับเมืองแพร่ในอดีตนั่นคือ จะมีกู่ (เจดีย์) บรรจุอัฐิของเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของนครแพร่ สยามประเทศ ภายหลังเหตุการณ์จลาจลของเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ เมื่อปี พุทธศักราช 2445 สยามได้ปลดเจ้าพิริยเทพวงษ์ออกจากการเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ และถอดราชศักดิ์ลงเป็น ไพร่ให้เรียกว่า “น้อยเทพวงษ์” ท่านได้เสด็จลี้ภัยทางการเมืองไปประทับยังหลวงพระบาง ประเทศลาว โดย ได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าชีวิตวังหน้าแห่งหลวงพระบาง โดยมอบต าแหน่งก านันบ้านเชียงแมน ซึ่งอยู่ฝั่ง ตะวันตกตรงข้ามกับเมืองหลวงพระบางให้ท่าน และยกหลานสาวชื่อ นางจันหอมให้เป็นชายาเพื่อปรนนิบัติ พร้อมกับบ่าวไพร่ชาวลาว จนกระทั่งถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2455 สิริชนมายุ 76 ปี เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ “กบฏ” หรือ “วีรบุรุษ” ? ท่านมีสร้อยนามว่า “...สุจริตภักดี...” กลับถูกตราหน้าว่า “ทุจริตไม่ภักดี” ต่อราชส านักสยาม สมัย ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) ประวัติ เจ้าพิริยเทพวงษ์ ประสูติเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2379 เป็นราชโอรสพระยาพิมพิสาร ราชา และแม่เจ้าธิดาเทวี(อ าเภอเมืองแพร่, เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์, 2566) มีเจ้าพี่น้องร่วมมารดา 3 องค์ คือ แม่เจ้าไข แม่เจ้าเบาะ แม่เจ้าอินทร์ลงเหลา ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยาอุปราช เมื่อปี พ.ศ. 2421 เมื่อ บิดาป่วย ท่านก็ได้ว่าราชการแทน จนได้รับสถาปนาเป็นเจ้าเมืองแพร่เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2433 มีราช ทินนามว่า “พระยาพิริยวิไชย อุดรพิไสยวิผารเดช บรมนฤเบศร์สยามมิศร์ สุจริตภักดีเจ้าเมืองแพร่” (ราช กิจจานุเบกษา, 2566) และเลื่อนเป็นเจ้านครเมืองแพร่ ในปี พ.ศ. 2443 มีราชทินนามว่า “เจ้าพิริยเทพวงษ์ ด ารงอุดรสถาน ประชานุบาลยุติธรรมสถิตย ผริตบุราธิบดี เจ้านครเมืองแพร่” (ราชกิจจานุเบกษา, 2566) “โจรเงี้ยวปล้นจังหวัดแพร่” หรือ ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค ให้ภาพการหนีของเจ้าหลวงเมืองแพร่ ว่า เกิดจากการ “หนีราชการ” ด้วยทางราชการได้พิจารณาเห็นว่า เจ้าพิริยะเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ ได้ ละทิ้งหน้าที่ราชการ ประกอบทั้งเป็นเวลาที่บ้านเมืองก าลังอยู่ในระหว่างเกิดการจราจลด้วย จึงได้ให้พวกญาติ ติดต่อให้เจ้าพิริยะเทพวงศ์กลับมาเสีย เป็นเวลาหลายวันก็ไม่กลับมา จึงได้ประกาศถอดเจ้า พิริยะเทพวงษ์ จาก ต าแหน่งเจ้าผู้ครองนครแพร่ลงเป็นไพร่ คือ ให้เป็น “น้อยเทพวงษ์” ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน ร.ศ. 121…” (จังหวัดแพร่, 2501) ประวัติศาสตร์มักมีพลวัต คลี่คลาย สืบเนื่องและแพร่ขยายอย่างมิสิ้นสุด อาทิ กระแสประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นชาตินิยม ที่มีกลิ่นอายความเป็นท้องถิ่น “ผสม” (Hybridize) กับประวัติศาสตร์ชาตินิยม โดยการตอก ย้ ากับเรื่อง “ความจงรักภักดี” ต่อพระมหากษัตริย์ ความเป็นไทย (สายชล สัตยานุรักษ์, 2545) จนน าสู่การ สร้างการอธิบายใหม่ของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่สัมพันธ์กับชาติอย่างแนบชิด และขยายตัวตั้งแต่ทศวรรษที่ 2540 เป็นจุดหนึ่งของการก่อตัวของส านึกท้องถิ่นนิยมชาตินิยม รวมถึงปัจจัยด้านการท่องเที่ยว ที่เน้นการ สร้างจุดขายของเมือง เพื่อตอบสนองต่อเศรษฐกิจภายใต้ระบบทุนนิยม ที่น าอัตลักษณ์ของแต่ละเมืองมาเป็น จุดขาย มาสู่การสร้าง “ความต่าง” เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งกระแสของการตอบสนองด้านการท่องเที่ยวน าสู่ การสร้างอัตลักษณ์ต่างๆ ของท้องถิ่นที่หลากหลายทั้งจากรากฐานเดิม และการสร้างใหม่ “วีรบุรุษมิได้มี ความหมายเฉพาะสิ่งที่ผ่านมาในอดีต แต่วีรบุรุษสะท้อนตัวตน ของคนในปัจจุบัน”


15 ดังนั้น ทางท้องถิ่นจึงได้สร้างการรับรู้ใหม่อย่างกว้างขวาง และค าอธิบายคลาสสิคที่อธิบายเหตุการณ์ ในครั้งนั้น เช่น สาวความเรื่องเมืองแพร่, ศึกษาเมืองแพร่, อนุสรณ์เจ้าพิริยเทพวงศ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายผู้ ครองเมืองแพร่, เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์บิดาแห่งพิริยาลัย, และ ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าไข่มุก วงค์ บุรีประชาศรัยสรเดช ณ ฌาปนสถานประตูมาร เป็นต้น ว่าเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์กับรัชกาลที่ 5 ร่วมมือกันใน การท าให้เกิดกบฏเงี้ยว เพื่อให้เจ้าหลวงเป็นสายสืบไปอยู่ที่หลวงพระบาง และเพื่อป้องกันการแทรกแซงจาก ชาติมหาอ านาจ คือ ฝรั่งเศส และอังกฤษ โดยให้เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ เป็นแพะรับบาป และตัวเจ้าหลวง ยินยอมตามแผนการมิได้มีข้อขัดแย้งอะไร โครงเรื่องเช่นนี้กลายเป็นค าอธิบายการเกิดกบฏเงี้ยวกระแสหลักอยู่ ในเมืองแพร่ โดย “…เงี้ยวมาเกลี้ยกล่อมเจ้าหลวงให้ก่อกบฏ ท่านก็น าความนี้รายงาน รัชกาลที่ 5 ได้ทรงรับรู้… ทางกรุงเทพฯ ก็ได้เรียกเจ้าหลวงไปร่วมปรึกษาหารือ…ตกลงให้รับปากพวกเงี้ยวและให้ผัดเวลาออกไปอีก 2-3 เดือน…ให้ทางกรุงเทพฯ จัดก าลัง…” และ “…ตามที่รัชกาลที่ 5 และเจ้าหลวงฯ ได้วางแผนร่วมกันไว้…” น ามาสู่การอธิบายและตีความเหตุการณ์ครั้งนั้นใหม่ว่าเจ้าหลวงไม่ได้เป็นกบฏ แต่เป็นผู้จงรักภักดี และเสียสละ ท้ายสุดทิ้งทั้งทรัพย์สิน ลูกเมีย บ้านเมือง (เพื่อเป็นสายสืบและให้รัชกาลที่ 5 รวมหัวเมืองเหนือได้ ส าเร็จ) ดังนั้นท่านจึงมิใช่กบฏแต่เป็น “วีรบุรุษ” ฉะนั้นหากกล่าวว่าเมืองแพร่เป็น “เมืองกบฏ” จึงหาใช่ไม่ แต่ เป็นเมืองของผู้จงรักภักดี และเมืองของ “วีรบุรุษ” ต่างหาก นอกจากนี้ยังอธิบายว่าเป็นคราวเคราะห์ของเจ้า หลวง การอธิบายในลักษณะนี้เพื่อให้รับรู้ว่าการเกิดกบฏเงี้ยวครั้งนั้นล้วนเกิดจากการท าของเงี้ยวฝ่ายเดียว เจ้า หลวงพิริยเทพวงศ์มิได้มีส่วนรู้เห็นหรือมีส่วนเพราะถูกบังคับให้ท าจึงเป็นคราวเคราะห์ของเจ้าหลวงที่ต้องถูก กล่าวหาเป็นกบฏ แล้วต้องพลัดบ้านพลัดเมือง ดังความว่า “…เจ้าหลวงพิริยาเทพวงศ์ มิได้ทรยศต่อบ้านเมืองขององค์ท่านแต่ประการใด แต่ต้องพลัดพรากจาก ถิ่นฐานบ้านเดิมจนไปทิวงคตในถิ่นอื่นนั้น เป็นคราวเคราะห์กรรมขององค์ท่านเอง ที่ต้องถูกป้ายสีจน ประวัติศาสตร์ต้องจารึกว่า องค์ท่านทรยศต่อบ้านเมืองและประชาชนของท่านเอง…” (ชัยพงษ์ส าเนียง, 2551) ทัศนะของผู้เขียน หากข้อมูลที่ได้รับและกล่าวมาในเบื้องต้น มีความเป็นไปได้อย่างยิ่ง หรือมีความเป็นจริง มิใช่อิงนิยาย เช่น หากวัดป่าฮวก เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้าง เป็นความจริง ? หากอัฐิของ พระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร (เจ้าอุ่นค า) และพระมารดา (แม่เจ้าหญิงค ามูน) บรรจุในเจดีย์วัดจอมเพชร เป็น ความจริง ? หากอัฐิเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของนครแพร่ บรรจุในเจดีย์ (กู่) วัดเชียงแมน ไชยเชษฐาราม เป็นความจริง ? สมควรต้องได้รับการเอาใจใส่ดูแลและรักษาเป็นอย่างดีให้สมพระเกียรติ ใน ฐานะที่เป็นผู้มีคุณูปการต่อชาติและพระศาสนาอย่างล้นหลาม และหรือนี่คือ กฎแห่งสามัญญลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) สูงสุดคืนสู่สามัญ ฉันใด ผู้ชนะย่อมเรืองแสง ผู้ปราชัยย่อมอับแสง ฉันนั้น


16 ข้อเสนอแนะของผู้เขียน จากการได้เข้าไปทัศนศึกษาในวัดทั้งสามแห่ง (วัดป่าฮวก วัดจอมเพชร วัดเชียงแมนไชยเชษฐาราม) ด้วยระยะเวลาที่จ ากัด และมีข้อมูลที่เตรียมมาน้อยมากถ ึงน้อยที่สุด ท าให้ผู้เขียนขออนุญาตตั้งข้อสังเกตและ ข้อเสนอแนะ ดังนี้ ข้อจ ากัด การอนุรักษ์ โบราณสถานและโบราณวัตถุของเมืองหลวงพระบาง ค่อนข้างมีข้อจ ากัดหลายๆ ด้าน เช่น ด้านเทคโนโลยีที่ยังไม่ทันสมัย ด้านงบประมาณในการด าเนินการอนุรักษ์ที่ยังไม่เพียงพอ ด้านบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี ที่มีจ านวนน้อยไม่เพียงพอต่อโบราณสถานที่มีมาก และด้านบุคลากรทางศาสนา (พระภิกษุ-สามเณร) ผู้นอนเฝ้าศาสนสถานที่ยังขาดข้อมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ และยังไม่สามารถ ถ่ายทอดให้แก่นักท่องเที่ยวได้เท่าที่ควร เป็นต้น ข้อควรพัฒนา 1. ควรจัดสรร หรือเพิ่มงบประมาณในการดูแลและอนุรักษ์โบราณสถานโบราณวัตถุ จากหน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน และผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป ทั้งในและต่างประเทศ 2. ควรพัฒนาบุคลากรด้านโบราณสถานโบราณวัตถุให้เพียงพอต่อโบราณสถานที่มีมาก 3. ส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีและน าเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ใน การด าเนินการอนุรักษ์ 4. ควรจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรทั้งระยะสั้นและระยะยาว เกี่ยวกับการอนุรักษ์ โบราณสถานโบราณวัตถุและการท่องเที่ยว แก่บุคลากรทางศาสนาในฐานะผู้ดูแลศาสนสถานเป็นหลัก เพื่อ สร้างการรับรู้ การมีส่วนร่วม การหวงแหน การอนุรักษ์มรดกของชาติ และมรดกของโลก ในฐานะเมืองมรดก โลก สืบไป อวสานกถา การตามรอยนิราศหนองคายสู่เมืองอัญมณีแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในครั้งนี้ ภายใต้ภารกิจ คือ การไปประชาสัมพันธ์หลักสูตร ที่วัดโสกป่าหลวง วัดภูควาย วัดผาโอ เพื่อหาคนไปเรียน และประชุมหารือเรื่อง การท าข้อตกลงความร่วมมือกันทางวิชาการ (MOU) กับมหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ บรรลุวัตถุประสงค์หลักทุก ประการ พร้อมทั้งได้ตามรอย จมื่นไวยวรนาถ (เจิม แสง-ชูโต) ด้านท านุบ ารุงพระพุทธศาสนาในอาณาจักรล้าน ช้างหลวงพระบางด้วย อนึ่ง สิ่งที่จะต้องจารึกไว้ในบทความนี้ เพื่อไม่ให้เลือนหายเมื่อกาลเวลาผ่านไป นั่นคือ บรรดาศิษย์เก่า ที่เราภูมิใจทั้งที่อาศัยอยู่ในเวียงจันทน์และหลวงพระบาง ได้น าองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากครูบา อาจารย์ไปพัฒนามาตุภูมิ ได้อย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ เอกภาพ และภราดรภาพ สาธุใหญ่บุญทวี สาธุ สมบัติ สาธุค าหวัน สาธุอรุณตชาติ ท้าวสมชาย ท้าวศรีธร ท้าวดาราเพชร ท้าวศรีสวรรค์ เป็นต้น จึ่งจารึกไว้ใน บันทึกนี้ งานเลี้ยงใดๆ ต้องมีวันเลิกรา ผู้เขียนขอสรุปว่า การเดินทัพมาครั้งนี้ ไม่เจอฝนตกหนัก เจอแต่หมอก


17 ควัน PM 2.5 ไม่เจอลูกเห็บขนาดเท่าบาตร เจอแต่พระบิณฑบาต และไม่มีใครได้รับเชื้อไข้มาราเรีย อาจจะ เพลียๆ บ้างจากการเดินทาง แต่พวกเราก็ไม่อ้างว้าง เพราะทุกอย่างมันคือ มายา .....ສະບາຊີ຋....!!!!!! อ้างอิง จังหวัดแพร่. (2501).“ประวัติโจรเงี้ยวปล้นเมืองแพร่”, ในที่ระลึกในคราวเสด็จพระราชด าเนินเยี่ยมราษฎร จังหวัดแพร่ พุทธศักราช 2501. ชัยพงษ์ ส าเนียง. (2564). พิริยวงศ์อวตาร: ‘วีรบุรุษ’ ‘กบฏ’ การประดิษฐ์สร้างตัวตนใหม่ทางประวัติศาสตร์, สืบค้น 3 เมษายน 2566, จาก https://sac.or.th/portal/th/article/detail/225. ไทยรัฐ. (2561). “ศรัทธาไกล...ฝั่งลาว วัดป่ารวก หลวงพระบาง”. สืบค้น 3 เมษายน 2566, จาก, https://www.thairath.co.th/news/society/1451805. มยุรินทร์ กุลวงศ์. (2560). ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีในเอเชียอาคเนย์ V จิตรกรรมผนังเล่าเรื่อง สืบค้น 2 เมษายน 2566, จาก http://arthistoryinsea.blogspot.com/2017/10/blogpost_85.html. ราชกิจจานุเบกษา. (2433). พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง, เล่ม 7, ตอน 2, 13 เมษายน ร.ศ. 109, หน้า 21, สืบค้น 3 เมษายน 2566, จาก https://ratchakitcha.soc.go.th. ______________. (2443). พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง, เล่ม 17, ตอน 42, 13 มกราคม ร.ศ. 119, หน้า 604, สืบค้น 3 เมษายน 2566, จาก https://ratchakitcha.soc.go.th. วรัฐ ลาชโรจน์, & เบญจวรรณ กองสาสนะ. (2005). “แบบแผนของวัดในเมืองหลวงพระบาง”, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2565). เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต), สืบค้น 2 เมษายน 2566, จาก https://th.wikipedia.org/wiki. ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2553a). หลวงพระบางในจักรวาลวิทยาแบบรัฐจารีต: พื้นที่พิธีกรรม และกระบวนการ กลายเป็นราชธานีของราชอาณาจักรลาวล้านช้าง. อารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน. สายชล สัตยานุรักษ์. (2546). สมเด็จฯกรมด ารงราชานุภาพ การสร้างอัตลักษณ์ “เมืองไทย” และ “ชั้น” ของชาวสยาม, กรุงเทพฯ: มติชน. _______________. (2545). ความเปลี่ยนแปลงในการสร้าง “ชาติไทย” “ความเป็นไทย” โดย หลวงวิจิตร วาทการ. กรุงเทพฯ: มติชน. อ าเภอเมืองแพร่. (2011). เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์, สืบค้น 3 เมษายน 2566, จากhttp://wungfon.com/index.php?option=com_content&view=article&id=474:2011- 05-05-01-55-31&catid=142:2010-11-06-02-33-05&Itemid=184.


18 Luang Prabang provincial Department of Information, Culture and Tourism. (2020). "Wat Chomphet". สืบค้น 3 เมษายน 2566,จาก, https://www.tourismluangprabang.org/things-to-do/buddhism/wat-chomphet. MR. Nittha Bounpany. (2561). ภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์เมืองมรดกโลกหลวงพระบาง สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร. Wat Xiang Men, Luang Prabang, Laos. สืบค้น 3 เมษายน 2566, จาก https://www.orientalarchitecture.com/sid/1196/laos/luang-prabang/wat-xiang-men. S. Phormma's Colorizations. (2018). ภาพเก่าลงสี: พระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร เจ้าผู้ครองนคร หลวงพระบาง องค์ที่ 11, สืบค้น 2 เมษายน 2566,จาก https://www.facebook.com/sphormmacolorization/posts/1304177186379770/?paipv= 0&eav=AfbVM9MHHTPR_ZPui0rgk0Vz3mYHaCOvdNQpXSop6N9GHJz_jW3kcooOyCI3imr kHgA&_rdr.


19


Click to View FlipBook Version