The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เรื่องเล่า 3 คน 1 สำนักงานดีเด่น

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by , 2022-04-19 23:25:45

เรื่องเล่า 3 คน 1 สำนักงานดีเด่น

เรื่องเล่า 3 คน 1 สำนักงานดีเด่น

Keywords: เรื่องเล่า เรื่องเล่า 3 คน 1 สำนักงานดีเด่น

1. ชื่อองค์ความรู้
เทคนิคการใช้ผู้นำแห่งความศรัทธาในการส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัว ตามแผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร

ของวัดทุ่งตะลุมพุก

2. ชื่อเจ้าของความรู้
นางสาวกาญจนา ยี่โต๊ะ ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองปราจีนบุรี (โทรศั พท์ 097 - 2055559,ID Line: eve_smile)

3. องค์ความรู้ที่บ่งชี้
หมวดหมู่องค์วามรู้ ภารกิจนโยบายสำคัญ ประเด็นองค์ความรู้ย่อย งานนโยบายสำคัญ ตามแผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร

4. ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย มุ่งหวังพัฒนาให้ทุกครัวเรือน อยู่เย็น เป็นสุข ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ

พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความมั่นคงทางอาหาร สู่ปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร รอบ 2 และบูรณาการ
โครงการวัด ประชารัฐ สร้างสุข ด้วยพลังของหลักบวร ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน เป็นแนวทางในการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชผักสวนครัว
สร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างภูมิคุ้มกัน สร้างอาหาร นำพาครอบครับและชุมชนให้รอดพ้นจากวิกฤตได้ โดยวัดหรือผู้นำทางศาสนา ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา
ชุมชน เป็นต้นแบบแห่งความดีงาม จากวัดสู่ชุมชน ในฐานะที่พระสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ วัดที่เป็นศูนย์กลาง เป็นสถานที่อันเป็นที่พึ่งของชุมชน เพื่อให้งานพัฒนา
ชุมชนประสบผลสำเร็จเป็นรู ปธรรม

วัดทุ่งตะลุมพุก ตำบลโนนห้อม อำเภอเมืองปราจีนบุรี โดยการนำของพระอาจารย์
พระอธิการบุญมี ฐานวุฑโฒ เจ้าอาวาสวัดทุ่งตะลุมพุก เป็นผู้นำการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน ตามหลัก “บวร” เป็นกลไกในการพัฒนาและสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง
บูรณาการทำงานร่วมกันเพื่อเป็นเสาหลัก เป็นแกนกลางในการพัฒนาชุมชน ประสานพลังด้วยการร่วมมือกันสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชน ผสานส่วนราชการ
ภาครัฐร่วมด้วยช่วยกัน โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองปราจีนบุรี ได้เข้ามาขับเคลื่อนนโยบายของกรมการพัฒนาชุมชนประสานความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่าย
ในชุมชน ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน จากการขับเคลื่อนการปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคง
ทางอาหาร โดยยึดหลัก “บวร” จนเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดยปัจจุบัน วัดทุ่งตะลุมพุก เป็นวัดต้นแบบให้แก่ประชาชนในการปลูกผักสวนครัว เป็นคลังอาหาร
คลังองค์ความรู้ คลังเมล็ดพันธุ์ผักแก่ชุมชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ งในการสร้างวัฒนธรรมการปลูกผักสวนครัว สร้างเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

5. รูปแบบ กระบวนการ หรือลำดับขั้นตอน
(1) สร้างความรู้ความเข้าใจ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอรับทราบนโยบาย โดยการศึ กษาหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของโครงการตามแผนปฏิบัติการ

90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร
(2) สร้าง Big Dataพัฒนากรสำรวจข้อมูล และรวบรวมรายชื่อวัด โรงเรียน และเครือข่ายต่างๆ ในตำบลที่รับผิดชอบของตนเอง
(3) สร้าง Road map ประชุมวางแผนการดำเนินงาน กำหนดวิธี และขั้นตอนการดำเนินการ
(4) สร้างการสื่อสาร โดยการประชาสัมพันธ์ นโยบายการส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวตามแผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร

แก่ผู้นำต่างๆ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำ อช. ผู้นำสตรี ในหมู่บ้าน เป็นต้น
(5) สร้างการจดจำ กำหนดจุด Kick off การปลูกผักสวนครัวในวัด ตำบลละ 1 จุด เพื่อสร้างการรับรู้ ไปสู่ไปวัดอื่นๆ ในทุกตำบล โดยวัดทุ่งตะลุมพุกเป็นวัดหนึ่ งที่

เข้าร่วมกิจกรรม ที่ใช้บริเวณรอบเมรุวัดในการสร้างแปลงผัก สร้างความแปลกตา และเป็นที่จดจำแก่ผู้พบเห็น
(6) สร้างการรับรู้ โดยการถ่ายภาพ คลิปวีดีโอ กิจกรรมปลูกผัก เพื่อประชาสัมพันธ์ในช่องทางต่างๆ เช่น สร้างหน้าเพจวัด ที่แชร์เรื่องราวเกี่ยวกับกิจกรรม และ

เทคนิควิธีการเพาะปลูก เพื่อเป็นการเชิญชวนให้ประชาชนเกิดความสนใจ
(7) สร้างเครือข่าย สนับสนุนในรูปแบบ บวร
บ้าน - สนับสนุนปัจจัย และแรงงาน
วัด - ผู้นำทางจิตใจ เป็นแหล่งเรียนรู้
โรงเรียนหรือราชการ - สนับสนุนองค์ความรู้
(8) สร้างการมีส่วนร่วม โดยวัดทุ่งตะลุมพุกมีเทคนิควิธีที่น่าสนใจ ในการสร้างแรงจูงใจให้แก่ประชาชน ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดพันธุ์ กิ่งพันธุ์พืชผักแจกจ่ายให้กับ

ชาวบ้าน ที่มาทำบุญที่วัด แทนการแจกวัตถุมงคลทั้งประชาชนใกล้เคียง และต่างจังหวัด ส่งผลให้เกิดการส่งต่อวัฒนธรรมการปลูกพืชผัก และการแบ่งปันให้เกิดขึ้นได้
อย่างรวดเร็ว

(9) สร้างความต่อเนื่อง พัฒนากร ลงพื้นที่ติดตามสนับสนุน ให้กำลังใจ มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายของวัดอย่างต่อเนื่อง

6. เทคนิคในการปฏิบัติงาน
ความสำเร็จของวัดทุ่งตะลุมพุก เกิดจากวัดมีผู้นำทางธรรมชาติในการพัฒนา พระภิกษุสุสามเณร ถือเป็นผู้นำที่เกิดจากความศรัทธา มิใช่เป็นเพียงผู้นำโดยตำแหน่ง

จึงไม่ใช่การบังคับหรือสั่งให้ทำ การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่นั้น พบว่า หัวใจหลักของความสำเร็จ คือ “ความศรัทธา” หรือความเชื่อ จึงเป็นการง่ายที่จะสร้างการ
พัฒนาให้เกิดขึ้นในชุมชน “วัดคือศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน พระคือผู้นำทางธรรมชาติที่มีความมั่นคงสูง” เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในวงกว้างได้ง่าย โดยกุญแจ
สำคัญคือ “ผู้นำต้องเป็นผู้ลงมือทำก่อน เสียสละก่อน” สะท้อนให้เห็นว่า การพัฒนาชุมชนนั้น ไม่ใช่หน้าที่ของผู้นำคนใดคนหนึ่ งเท่านั้น แต่เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน
ที่สามารถลุกขึ้นมาเป็นผู้นำในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเองได้ นั่นก็คือผู้นำทางธรรมชาติซึ่งเป็นบุคคลที่ชาวบ้านให้การยอมรับนับถือ ผ่านการลงมือทำจริงด้วย
ความมุ่งมั่นตั้งใจ โดยการจะเป็นผู้นำที่สร้างความศรัทธา ให้เกิดขึ้นได้นั้น จำเป็นต้องเกิดจากความเชื่อ 4 ประการ ดังนี้

(1) เชื่อมั่น คือ การสร้างความมั่นใจให้เกิดแก่ผู้ตาม ให้เกิดความมั่นใจได้ว่า เราสามารถจะเป็นผู้นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ โดยเจ้าอาวาสวัดทุ่งตะลุมพุก ท่าน
เป็นผู้นำที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับทีมงาน มีเกียรติ ภูมิ ภูมิรู้ ภูมิปัญญา รู้แจ้ง รู้จริง และมีความมั่นคงในฐานะ มีความมั่นคงในอารมณ์หรือที่เรียกว่าวุฒิภาวะทางอารมณ์
และการควบคุมอารมณ์ของผู้นำ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ร่วมงานหรือบุคคลทั่วไปได้

(2) เชื่อมือ หมายถึง นอกจากภูมิรู้ ภูมิปัญญาแล้ว ผู้นำยังแสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยประสบการณ์และความสำเร็จจากที่อื่นของผู้นำยังไม่มีค่าเทียบเท่าพอกับสิ่ งที่ได้
ทำลงมือทำให้ผู้ร่วมงาน หรือประชาชนได้ประจักษ์ชัดด้วยสายตาว่า ท่านเจ้าอาวาสวัดทุ่งตะลุมพุกเป็นผู้ที่มีฝีมือจริง สามารถให้กับแนะนำแก่ประชาชนได้ สมดังคำเล่าลือ
สร้างความเชื่อมือได้เป็นอย่างดี

(3) เชื่อถือ หมายถึง การสร้างความเชื่อถือแก่บุคคลทั่วไป โดยได้รับความเคารพนับถือในคุณสมบัติความเป็นผู้นำ ไม่ใช่ด้วยวัยวุฒิหรือชาติวุฒิหรือวุฒิทางการ
ศึ กษา แต่เป็นความเชื่อถือที่เกิดจากการรักษาคำพูด พูดแล้วต้องปฏิบัติได้ตามนั้น พฤติกรรมและคำพูดต้องสอดคล้องเป็นไปในทางเดียวกัน สัญญาแล้วต้องทำได้จริง
ซึ่งวัดทุ่งตะลุมพุก มีกิจกรรมเพาะเมล็ดพันธุ์กิ่งพันธุ์ผัก แจกจ่ายให้กับประชาชนในวันสำคัญ งานบุญ แทนวัตถุมงคล ซึ่งวัดได้แจกให้ประชาชนจริง เป็นการสร้าง
ความเชื่อถือได้เป็นอย่างดีบทพิสูจน์ ของความเชื่อถือ

(4) เชื่อใจ หมายถึง การไว้วางใจต่อผู้นำ โดยบุคลิกของท่านเจ้าอาวาสวัดทุ่งตะลุมพุก ท่านเป็นผู้ที่มีความเมตตากรุณา มีใจรัก และมีอุดมการณ์แน่วแน่ในสิ่ งที่ทำ
มีความเปิดเผยสุจริตใจเป็นที่พึ่งพาอาศั ยของประชาชนและลูกศิ ษย์ได้

กล่าวโดยสรุปได้ว่า ความสำเร็จของวัดทุ่งตะลุมพุก ในการเป็นผู้นำต้นแบบในการปลูกพืชผักสวนครัวสร้างความมั่นคงทางอาหารนั้น เกิดจากตัวผู้นำ ซึ่งวัดเป็นศูนย์
รวมแห่งจิตใจ พระเป็นผู้นำแห่งความศรัทธา ที่ประกอบด้วย ความเชื่อมั่น เชื่อมือ เชื่อถือ เชื่อใจ ซึ่งความศรัทธานั้น เป็นพลังอำนาจ ที่ไม่ใช่การบังคับ หรือการสั่งการ
แต่สามารถนำพาความสำเร็จให้แก่องค์กร เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนได้ในวงกว้างและรวดเร็ว เป็นการใช้พลังชุมชน ในการพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริง

7. ปัญหาที่พบและแนวทางการแก้ไขปัญหา
(1) ปัญหาที่พบ
- การขาดความตระหนัก เนื่องจากประชาชนขาดความตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกพืชผักสวนครัว โดยส่วนใหญ่มีทัศนคติว่าไม่มีพื้นที่ใน

การเพาะปลูก ซื้อรับประทานสะดวกกว่าปลูกเอง
- การยึดติดกับสิ่ งอำนวยความสะดวก ปัจจุบันความเจริญทางวัตถุมีมากขึ้น ประชาชนสามารถเป็นเจ้าของสิ่ งอำนวยความสะดวกเหล่านั้น เช่น

ซุปเปอร์มาเก็ต บริการส่งอาหาร เป็นต้น
- การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดูแลรักษาพืชผักสวนครัว เมื่อภาครัฐสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ กิ่งพันธุ์ไป ประชาชนที่ขาดความรู้ อาจประสบ

ความสำเร็จตามที่คาดหวัง ส่งผลให้ขาดกำลังใจในการดำเนินการต่อ
(2) แนวทางแก้ไข
- การสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของการสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยการตระหนักว่าการปลูกพืชผักสวนครัว ไว้ในทุกครัวเรือนนั้น มีประโยชน์

อย่างไร อาจชี้ให้เห็นถึงความเดือดร้อนในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำท่ามกลางสงครามการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส–19 ในปัจจุบัน
- การสร้างความรู้เท่าทันตนเอง ที่จะไม่ยึดติดกับสิ่ งอำนวยความสะดวกจนเกินความพอเพียงโดยการรู้เท่าทันตนเอง ไม่หลงใหลไปกับสิ่ งยั่วยุ

จากภายนอก โดยการชี้ให้เห็นถึงผลเสียของเทคโนโลยี สารเคมีตกค้างในพืชผักผลไม้ ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของอาหารปลอดภัย
- การมีความรู้ความเข้าใจ และมีองค์ความรู้ที่เข้าถึงง่าย โดยผู้ที่มีหน้าที่ส่งเสริมควรติดตามสนับสนุนต้องทราบปัญหาความต้องการของประชาชน และ

คอยให้กำลังใจ ให้มีความพร้อมที่จะเปิดใจศึ กษา ซึ่งช่วงแรกอาจจะยาก แต่หากเริ่มต้นทำจากนำไปใช้ทีละน้อยๆ จนเป็นนิสัย
- การเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อเกี่ยวกับกิจกรรม โดยแทรกเนื้อหาของเทคนิควิธีการเพาะปลูก เกร็ดความรู้ในการดูแลรักษา กลุ่มและบุคคลต้นแบบ จะช่วย

ให้บุคคลมีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดแรงบันดาลใจในการเริ่มต้นปลูกผักมากขึ้น

8. ประโยชน์ขององค์ความรู้
องค์ความรู้ เรื่องเทคนิคการใช้ผู้นำแห่งความศรัทธาในการส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัวตามแผน ปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทาง

อาหารของวัดทุ่งตะลุมพุก ที่ข้าพเจ้าเขียนนี้ เกิดจากการถอดบทเรียนในกิจกรรมการส่งเสริมการปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ตามหลัก “บวร”
พบแก่นความรู้ว่า การจะเข้าไปส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนนั้น ต้องเกิดจากปัจจัยสำคัญคือ “การสร้างความศรัทธา ให้เกิดขึ้นก่อน” ฉะนั้นหน่วย
งาน หรือเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่น เชื่อมือ เชื่อถือ เชื่อใจ แก่ประชาชน ไม่ใช่เพียงใช้การออกคำสั่ง หรือแนวทางที่คลาดเคลื่อนเลื่อนลอยไร้แก่นสาร
ยกตัวอย่างเช่น วัดทุ่งตะลุมพุกได้สร้างการมีส่วนร่วมในการปลูกผักสวนครัว โดยเริ่มจากการลงมือทำจริง มีการศึ กษาให้รู้แจ้งเห็นจริง ตลอดจนวัดสามารถสนับสนุน
ปัจจัยที่จำเป็นในการปลูกผัก ให้แก่ประชาชนได้จริง เกิดวัฒนธรรมการปลูกผักภายในตำบล และนอกตำบลอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การดำเนินนโยบายบรรลุผลสำเร็จ
ได้อย่างยั่งยืน

9. ข้อมูลประกอบอื่นๆ
ภาพประกอบกิจกรรมการขับเคลื่อนการปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ตามหลัก “บวร” ของพระอธิการบุญมี ฐานวุฑโฒ

เจ้าอาวาสวัดทุ่งตะลุมพุก ผ่านหน้าเพจ Facebook “วัดทุ่งตะลุมพุก”

ภาพประชาชนมารับการแจกจ่ายต้นพันธุ์ผักภายในวัดทุ่งตะลุมพุก

1. ชื่อความรู้
ศูนย์เรียนรู้ โคก หนอง นา สร้างอาชีพ แบ่งปันความรู้ หมู่ที่ 5 ตำบลหนองกี่ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

2. เจ้าขององค์ความรู้
นางสาวพัชรพร จิรแพศยสุข ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกบินทร์บุรี

3. องค์ความรู้ที่บ่งชี้
หมวดที่ 1 สร้างสรรชุมชนพึ่งตนเองได้

4. ที่มาและความสำคัญในการจัดการองค์ความรู้
กรมการพัฒนาชุมชนได้น้ อมนำแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ชนบท ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การมีส่ วนร่วม การพึ่งพาตนเอง เพื่อให้สามารถบริหารจัดการตนเองและชุมชนให้มีความสุขได้อย่าง

ยั่งยืน ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” นายอุทาน

มะลิวัลย์ บ้านทด หมู่ที่ 5 ตำบลหนองกี่ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ได้เข้าร่วม โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประจำ

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้เข้าร่วมโครงการพื้นที่จำนวน 1 ไร่ ตลอดระยะเวลาการดำเนิ นการเจ้าของแปลงให้ความร่วมมือเป็นอย่าง

ดี และดูแลพื้นที่อยู่เสมอ สามารถพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ของหมู่บ้าน อันเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการทำเกษตร การเลี้ยงสั ตว์ การทำ

นา และ เป็นสถานที่ที่คนในชุมชนมาฝึกอาชีพร่วมกัน
5. รูปแบบ กระบวนการ หรือลำดับขั้นตอน

1) มีการปลูกพืชพันธุ์มากขึ้น ได้แก่ มะนาว เสาวรส กล้วย สะเดา และ ต้นแค เป็นต้น

2) พื้นที่นาในแปลงมีการลงแขกร่วมกันโดยคนในชุมชนมาร่วมกันทำนาในแปลงพื้นที่ต้นแบบโคกหนองนา ตามฤดูกาลทำนา

3) เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ อันได้แก่ ปลา ไก่ และ หนู
4) มีการทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง และจำหน่ายในชุมชน
5) บริเวณหน้าทางเข้าแปลงโคก หนอง นา เจ้าของแปลงจัดเป็นพื้นที่ตลาดสำหรับให้คนในชุมชนนำสินค้ามาขายในช่วง

เช้า เป็นตลาดขนาดเล็กภายในหมู่บ้าน 3
6) จัดกิจกรรมฝึกอาชีพยังแปลงพื้นที่ต้นแบบ เพื่อให้ชุมชนมาร่วมกัน ฝึกอาชีพ สร้างรายได้และนำผลิตภัณฑ์กลับบ้าน

6. เทคนิคในการปฏิบัติงาน
1) สำนักงานพัฒนาชุมชน ติดตามและเยี่ยมเยียนยังแปลงพื้นที่ต้นแบบโคกหนองนาอยู่เสมอ
2) นำโครงการหรือกิจกรรมมาในพื้นที่ โดยจัดกิจกรรม ณ แปลงพื้นที่ต้นแบบ เพื่อให้แปลงพื้นที่ต้นแบบเป็นที่คุ้นเคยในการ

ทำกิจกรรมของชุมชน และให้เป็นพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้ของหมู่บ้าน
3) ร่วมกิจกรรมหรือโครงการกับชุมชนทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างความใกล้ชิดระหว่าง ศูนย์การเรียนรู้เจ้าหน้าที่ใน

สังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชน เจ้าของแปลง และคนในชุมชน
7. ปัญหาที่พบและแนวทางการแก้ไขปัญหา

1) ช่วงที่ฝนตกบ่อย เป็นอุปสรรคในการทำกิจกรรม จึงแก้ปัญหาในการทำกิจกรรมในพื้นที่ที่เป็นที่ร่มในแปลงต้นแบบ หรือ
เตรียมอุปกรณ์ ที่สามารถทำกิจกรรมในที่ร่มได้

2) ในช่วงแรกศูนย์การเรียนรู้โคกหนองนาอาจเป็นสถานที่ใหม่สำหรับชุมชน จำเป็นต้องมีโครงการและกิจกรรมในพื้นที่แปลง
ต่อเนื่อง เพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างศูนย์การเรียนรู้กับชุมชน
8. ประโยชน์ขององค์ความรู้

1) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้
2) เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์การเรียนรู้ โคก หนอง นา กับชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนคุ้นเคย
กับศูนย์การเรียนรู้และเข้ามาใช้งานในพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้
9. ข้อมูลประกอบอื่น

รูปพื้นที่แปลงพื้นที่ต้นแบบ โคก หนอง นา
นายอุทาน มะลิวัลย์ บ้านทด หมู่ที่ 5 ตำบลหนองกี่ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

1. ชื่อองค์ความรู้
สั มมาชีพชุมชนสร้างสรรค์ชุมชนพึ่งตนเอง

2. ชื่อเจ้าของความรู้
นางสาวสนอง แพนลา ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกบินทร์บุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

3. องค์ความรู้ที่บ่งชี้
หมวดที่ 1 สร้างสรรค์ชุมชนพึ่งตนเองได้

4. ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้
ประชาชนส่วนใหญ่ของอำเภอกบินทร์บุรี ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน ปัจจุบันเกษตรกร
มีสภาวะความเสี่ ยงในการลงทุนสูงมาก ปัญหาเกิดจากโรคระบาดจากไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้มีผลกระทบทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ราคา

ผลผลิตตกต่ำ รายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ มีการรวมตัวตั้งกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาให้มีรายได้เพียงพอ
ต่อการใช้จ่ายในครัวเรือน และเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในชุมชน ตามนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจ
ฐานราก เพื่อให้คนในชุมชนมีการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ภายในชุมชน จึงเป็นที่มาของการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพ
ในชุมชน ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตไปได้อย่างมีคุณภาพ เป็นการส่งเสริม
สัมมาชีพชุมชน ด้วยหลักการพึ่งตนเอง ในการแก้ไขปัญหาของชุมชน ดังนั้นบทบาทของ นักพัฒนาชุมชน ในพื้นที่ ที่ต้องคอยเป็น
ที่ปรึกษาและกำกับดูแลหมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน มีการดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานให้เป็นไปตาม
แนวทางที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด โดยมีเป้าหมายให้ครัวเรือนสัมมาชีพได้มีโอกาส เรียนรู้ และพัฒนาอาชีพ ส่งเสริม สนับสนุน
กระบวนการ “ชาวบ้าน สอนชาวบ้าน” มีการฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้” รวมทั้งทำให้วิทยากรสัมมาชีพชุมชน
เป็นกลไกหลัก ในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนและสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการสร้างสัมมาชีพ ภายใต้หลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง ในการส่งเสริมสนับสนุนในระดับหมู่บ้าน

5. รูปแบบ กระบวนการ และขั้นตอน มีกระบวนการและขั้นตอน ดำเนินการ ดังนี้

1) เตรียมความพร้อมข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านในการฝึกอบรมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน จัดทำทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน โดยแยก
ความเชี่ยวชาญปราชญ์ออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเกษตร ด้านการแปรรูป และด้านการท่องเที่ยว

2) ร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้าน คัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือมีความเชี่ยวชาญในอาชีพ ที่พร้อมเข้ารับการอบรม
เป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดสัมมาชีพ จำนวน 1 คน จากเวทีประชาคม เข้าอบรมการพัฒนา ทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน

3) ประสานและสนับสนุนวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ให้กลับไปสร้างทีมในหมู่บ้าน โดยการคัดเลือกปราชญ์ชุมชนหมู่บ้านละ 4 คน รวมเป็น
5 คน เพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

4) ศึ กษาแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนจากเอกสารแนวทางสร้างสัมมาชีพชุมชน ของกรมการพัฒนาชุมชน ทั้งจากเอกสารคู่มือ
และสื่อการเรียนรู้เรื่องสัมมาชีพชุมชน เพื่อเตรียมสนับสนุนข้อมูล และร่วมกับทีม วิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน เพื่อให้การ
ดำเนินงานสร้างสัมมาชีพ จำนวน 20 คน เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเตรียมประสานพื้นที่ดำเนินการ ประสานผู้นำ
ชุมชนเตรียมพื้นที่ในการ ดำเนินการสร้างสัมมาชีพชุมชน

5) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน โดยในส่วนพัฒนากร ทำหน้าที่
ในการส่งเสริม สนับสนุนข้อมูล อุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้ การส่งเสริมการสร้าง สัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน

6) ถอดองค์ความรู้ปราชญ์ชุมชน โดยใช้เทคนิคประชุมกลุ่มย่อยทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน กระตุ้นให้แต่ละคนเล่าเรื่องราว
ในการประกอบอาชีพ ความภาคภูมิใจในการประกอบอาชีพ และผลที่ได้ จากการประกอบอาชีพ โดยถอดองค์ความรู้เป็นเอกสาร เพื่อเผยแพร่
ประชาสัมพันธ์ผ่านทาง สื่อต่างๆ และเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์อำเภอ จังหวัด กรมฯ

7) ติดตาม และสรุปประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยเข้าเยี่ยมเยียน และให้กำลังใจครัวเรือนเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง

6. เทคนิคในการปฏิบัติงาน
(1) นักวิชาการพัฒนาชุมชน (พัฒนากร) ต้องศึ กษาข้อมูลการดำเนินงานแนวทางสัมมาชีพชุมชนตามคู่มือแนวทางการสร้าง สัมมาชีพ

ชุมชน ให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน เพื่อจะได้นดำเนินการในระดับพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม/
โครงการให้ชัดเจน

(2) คัดเลือกปราชญ์ชุมชน ต้องเป็นปราชญ์ที่มีองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน และคนใน ชุมชนสนใจ สามารถต่อยอด
ให้เกิดการพัฒนาเป็นอาชีพได้

(3) คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 20 คน ต้องสมัครใจและตั้งใจฝึกอาชีพ เพื่อประกอบอาชีพ ให้เกิดรายได้อย่างแท้จริง
(4) ใช้กระบวนการ “ชาวบ้าน สอนชาวบ้าน” ยึดหลักการทรงงาน “ระเบิดจากข้างใน” และ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือให้ชาวบ้าน
สอนชาวบ้านกันเองในสิ่ งที่เขาอยากรู้ ในสิ่ งที่เขาต้องการและ อยากจะทำ ลงมือปฏิบัติเอง

7. ปัญหาที่พบและแนวทางการแก้ไขปัญหา
ปราชญ์ชุมชน ในพื้นที่ส่วนใหญ่จะมีองค์ความรู้ ภูมิรู้ ภูมิปัญญา คล้ายๆกันเป็นส่วนใหญ่ จะมีแตกต่างกันบ้างในบางอาชีพแต่ไม่ถึง

กับชำนาญการ แต่เพื่อให้เกิดความหลากหลายในอาชีพ บางอาชีพก็มาฝึกเรียนรู้ร่วมกัน มาแชร์กัน เกิดเป็นองค์ความรู้ที่สมบูรณ์แบบขึ้น

8. ประโยชน์ขององค์ความรู้
(1) หมู่บ้านเป้าหมาย มีผู้นำวิทยากรสัมมาชีพ และ ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนที่สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีพ ให้กับครัวเรือน

สั มมาชีพชุมชน
(2) เกิดกลุ่มอาชีพในหมู่บ้าน สามารถทำเป็นอาชีพเสริม และสร้าง รายได้ให้กับครัวเรือน
(3) หมู่บ้านมีการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางสัมมาชีพ ซึ่งเป็นการประกอบอาชีพที่ไม่เบียดเบียน

ตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และไม่เบียดเบียนสิ่ งแวดล้อม

1. การมอบนโยบายของนายอำเภอ

ในวันที่ 12 มกราคม 2565 นางสาวจิรภา ทองศิริ นายอำเภอศรีมโหสถ ได้เป็ นประธานในการประชุมคณะ
กรรมการศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงอำเภอศรีมโหสถ (คจพ.อ.) ณ หอประชุมอำเภอศรีมโหสถ

มอบนโยบาย 3 ท. "ลงพื้นที่เป็ นทีม ครบทุกครัวเรือน ช่วยเหลือทันที"
ลงพื้นที่เป็ นทีม = ในการลงพื้นที่ตรวจสอบข้อมูล เพื่อจัดประเภทการให้ความช่วยเหลือ จะต้องลงพื้นที่เป็ นทีม
ตามคำสั่งทีมปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในระดับพื้นที่ โดยมีปลัดอำเภอผู้ประสานงานประจำตำบลเป็ นหัวหน้าทีมและมีพัฒนากรผู้ประสานงาน
ประจำตำบลเป็ นเลขานุการ

ครบทุกครัวเรือน = มอบหมายให้ทีมปฏิบัติการฯ ลงพื้นที่ครัวเรือนเป้ าหมายจากข้อมูลครัวเรือนตกเกณฑ์
TPMAP ข้อมูลผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสเป็ นกลุ่มเปราะบางทางสังคม และข้อมูลครัวเรือนที่ต้องการความช่วยเหลือ
จากผู้นำชุมชน ให้ครบทุกครัวเรือน เพื่อรับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน อย่างแท้จริง
ช่วยเหลือทันที = หลังจากที่ทีมปฏิบัติการฯ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อมูล วิเคราะห์การแก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้ว
ให้นำข้อมูลเข้าที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกเดือน และส่งต่อข้อมูลให้กับหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะได้ให้ความช่วยเหลือในทันที

2. การลงพื้นที่ไปตรวจสอบข้อมูลของทีมปฏิบัติการฯ ตำบล

หลังจากที่ได้รับมอบนโยบายจากท่านนายอำเภอศรีมโหสถแล้ว ทีมปฏิบัติการตำบลฯ ทุกทีมได้ลงพื้นที่เพื่อไป

ตรวจสอบข้อมูลอย่างเร่งด่วน โดยใช้แบบ ศจพ. 2 \เป็ นแบบสำรวจข้อมูล และให้ทีมปฏิบัติการฯ บันทึก เพิ่ม ลบ

ครัวเรือนในระบบ TPMAP ตรวจสอบโดยพัฒนาการอำเภอศรีมโหสถ และอนุมัติโดยนายอำเภอศรีมโหสถ

มีการบรรเทาทุกข์ในเบื้องต้นด้วยการมอบถุงยังชีพ ซึ่ งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเหล่ากาชาด

จังหวัดปราจีนบุรี

3. การมอบข้อมูลที่ตรวจสอบแล้วให้ทีมพี่เลี้ยง


ในวันที่ 7 มีนาคม 2565 ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อซักซ้อมแนวทางการขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการขจัด
ความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในระดับพื้นที่
ประจำปีงบประมาณ 2565 ผ่านระบบ Video Conference ณ ห้องประชุมอำเภอศรีมโหสถ และสถานที่อื่นๆ
ตามความเหมาะสม

หลังจากนั้น อำเภอศรีมโหสถได้ดำเนินการจัดทำคำสั่งทีมพี่เลี้ยงจำนวน 25 ทีมๆ ละ 3 - 5 คน ดูแลครัวเรือน
ที่ตกเกณฑ์ จำนวน 10 - 15 ครัวเรือนต่อ 1 ทีมพี่เลี้ยง

*แบ่งตามพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่เทศบาลตำบลโคกปีบ พื้นที่ตำบลโคกปีบ พื้นที่ตำบลโคกไทย พื้นที่ตำบลไผ่ชะเลือด
พื้นที่ตำบลคู้ลำพัน

*แบ่งตามมิติของการตกเกณฑ์ ได้แก่
1. มิติด้านสุขภาพ มีผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ เป็ นประธาน
2. มิติด้านความเป็ นอยู่ มีปลัดเทศบาลตำบล/ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เป็ นประธาน
3. มิติด้านการศึกษา มีครู กศน.ประจำตำบล เป็ นประธาน
4. มิติด้านรายได้ มีนักวิชาการเกษตรหรือพัฒนากรผู้ประสานงานประจำตำบล เป็ นประธาน
5. มิติด้านการเข้าถึงบริการรัฐ มีปลัดอำเภอผู้ประสานงานประจำตำบล เป็ นประธาน
ในวันที่ 15 มีนาคม 2565 ได้มีการประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดทำแผนพัฒนาครัวเรือนให้แก่
ทีมพี่เลี้ยง ณ โดมอเนกประสงค์สวนสุขภาพเทศบาลตำบลโคกปีบ

4. การลงพื้นที่ของทีมพี่เลี้ยง

หลังจากการประชุ มสร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนพัฒนาครัวเรือนให้แก่ทีมพี่เลี้ยงแล้ว
ทีมพี่เลี้ยงทุกทีม ได้ลงพื้นที่จัดทำแผนพัฒนาครัวเรือน ด้วยแบบ ศจพ.3 วิเคราะห์สภาพปัญหาโดยใช้ปฏิบัติการ
4 ท. ได้แก่
ทัศนคติ = ความเห็นหรือความรู้สึกของครัวเรือนยากจนที่มีต่อชีวิตความเป็ นอยู่ที่เกิดขึ้นในครอบครัวของตนเอง
ชุมชน และสังคม "ทัศนะเป็ นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ใช่เป็ นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ถ้าได้รับโอกาส"
ทักษะ = ความชำนาญที่เกิดจากการฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมนั้นบ่อยๆ จนสามารถปฏิบัติได้ด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง
"ทุกคนมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาทักษะให้เกิดความเชี่ยวชาญได้ ถ้าได้รับโอกาส"
ทรัพยากร = ทรัพยากรสำหรับประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ หมายถึง ปัจจัยการผลิต ซึ่ งประกอบด้วย ที่ดิน แหล่งน้ำ
เงินทุน วัตถุดิบ ฯลฯ "คนจนสามารถหลุดพ้นความยากจนได้ ถ้าได้รับโอกาสเข้าถึงทรัพยากรชุมชน"
ทางออก = หนทางที่ครัวเรือนยากจนคิดและตัดสินใจว่าจะแก้ไขความยากจนของตนเองได้ "ทุกข์ของครัวเรือนยากจน
มีทางออก"

*ทีมพี่เลี้ยง ประชุมวิเคราะห์จำแนกครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ แบ่งตามประเภทการให้ความช่วยเหลือเป็ น 3 ประเภทได้แก่
สงเคราะห์ พัฒนาได้ และไม่ขอรับความช่วยเหลือ พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมโครงการ/กิจกรรมที่จะให้ความช่วยเหลือ หรือส่งต่อ
หน่ วยงานที่เกี่ยวข้อง

*ทีมพี่เลี้ยง สรุ ปข้อมูลผลการวิเคราะห์จำแนกประเภทครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ ลงในแบบ ศจพ.4 แล้วส่งมอบให้ทีมปฏิบัติ
การฯ ตำบล เพื่อบันทึกผลการวิเคราะห์ข้อมูลของทีมพี่เลี้ยง เพิ่ม ลด ครัวเรือน ปัญหาความต้องการ และการส่งต่อหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง ในระบบฐานข้อมูล TPMAP

*ทีมปฏิบัติการฯ ตำบลนำข้อมูลสรุ ปผลการวิเคราะห์จำแนกครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จากแบบ ศจพ. 4 เข้าที่ประชุมศูนย์ขจัด
ความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอศรีมโหสถ (ศจพ.อ.) พร้อมทั้งส่ง
ข้อมูลให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความช่วยเหลือครัวเรือนเป้ าหมายตามภารกิจหลักส่วนราชการนั้นๆ ต่อไป


Click to View FlipBook Version