The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by mo_mie42, 2022-04-22 08:51:21

Guide book - Sugaryherb-4

Guide book - Sugaryherb-4

GUIDEBOOK

การสร้างแบรนด์หญ้าหวาน ( Stevia ) และพัฒนาแนวทางการ
สื่อสารในรูปแบบบูรณาการ ( IMC )



การสร้างแบรนด์หญ้าหวาน เริ่มต้นจากการที่ปัจจุบันมีอัตราการเจ็บป่วยมากขึ้น จึงส่งผลให้เกิดกระแส
การดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ผู้บริโภคจึงหันมาสนใจผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมากขึ้น
สารทดแทนความหวานจึงถูกสกัดขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกในการบริโภค โดยสารทดแทนความหวานในท้องตลาดล้วน
สกัดจากทางเคมี มีเพียงหญ้าหวานที่เป็นสารทดแทนความหวานที่สกัดจากธรรมชาติ ซึ่งมีความปลอดภัย ไร้แคลอ
รี่ และมีคุณประโยชน์อีกมากมาย เราจึงเริ่มทำการศึกษาข้อมูลของหญ้าหวานและสารทดแทนความหวานสกัดจาก
หญ้าหวานว่ารูปแบบใดจะสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายได้มากที่สุด เพื่อมาต่อยอด
พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และนำไปสู่การสร้างแบรนด์หญ้าหวานต่อไป

01

SUGARYHERB 01ระยะที่

ขั้นตอนการผลิต

การผลิต

สำหรับผู้บริโภคที่รับประทานหญ้าหวาน พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21 - 30 ปี และ
ประกอบอาชีพนักศึกษา โดยผู้บริโภครู้จักหญ้าหวานด้วยการถูกแนะนำต่อๆกันจากผู้อื่น รวมถึง
บริโภคหญ้าหวานอยู่ก่อนแล้ว เพราะต้องการดูแลใส่ใจเพื่อสุขภาพที่ดี เฉลี่ยการบริโภคอยู่ที่ 1 - 2 ครั้ง/
สัปดาห์ ส่วนมากนิยมบริโภคในรูปแบบหญ้าหวานสกัดแบบผงและหญ้าหวานสกัดแบบน้ำเชื่อม เพราะ
สะดวกต่อการใช้งาน และสามารถนำไปเป็นส่วนผสมกับเครื่องดื่มหรืออาหารได้ดีกว่าน้ำตาลทั่วไป

สำหรับรูปแบบที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด คือ รูปแบบผง ซึ่งมีความ
สอดคล้องกับความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญว่ารูปแบบนี้เป็นที่นิยมในปัจจุบัน แบรนด์ Sugaryherb
(ชูการี่เฮิร์บ) จึงเลือกผลิตสารทดแทนความหวานสกัดจากหญ้าหวานในรูปแบบผงเพื่อตอบสนอง
ความต้องของผู้บริโภค

03

ขั้นตอนการสกัดเป็นผง

การสกัดสารให้ความหวานจากใบหญ้าหวานสามารถสกัดด้วยน้ำหรือการใช้ตัวทำ
ละลาย คือ เมทานอลและเอทานอล ซึ่งอาจใช้น้ำอย่างเดียวหรือใช้ตัวทำละลายร่วม
กัน ซึ่งวิธีเหล่านี้จะมีความสะดวก ง่ายต่อการทำ และไม่มีสารตกค้างในผลิตภัณฑ์
โดยมีกระบวนการผลิต ดังนี้

04

นำใบหญ้าหวานที่แห้งความชื้นไม่เกิน 10% มาหั่นให้ละเอียด (ไม่ต้องบดเป็นผง) พร้อมกับผสมน้ำลงไปด้วย
อัตราส่วน 1 : 10 คือ หญ้าหวานแห้ง 1 กิโลกรัม ต้องใช้น้ำประมาณ 10 กิโลกรัมนำไปต้มโดยใช้ไฟปานกลางที่
อุณหภูมิประมาณ 65 °C ใช้เวลาในการต้มประมาณ 10 ชั่วโมง หลังจากนั้นหยุดต้มให้ปล่อยทิ้งไว้อีก 10 ชั่วโมง
ซึ่งหลังทิ้งไว้น้ำต้มจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ทั้งนี้การต้มใบหญ้าหวานแห้งในน้ำร้อน (Heating) จะทำให้สารให้ความหวาน
หรือสติวิโอไซด์ละลายออกมาเป็นสารละลาย

นำน้ำที่ต้มใบหญ้าหวานไปกำจัดสีดำออกด้วยระบบ Electrolysis (แยกสารอินทรีย์) จนได้น้ำต้มที่มีลักษณะใส จาก
นั้นเติมสารเบต้าไซโคเดกติ (β-Cyclodextrin) เพื่อช่วยในตกตะกอนของกากใบหญ้าหวาน ทำให้ได้น้ำต้มหญ้าหวาน
ที่ใสมากยิ่งขึ้น

นำน้ำหญ้าหวานที่ต้มจนใสเข้าสู่กระบวนการทำให้เข้มข้น (Concentrate) และทำบริสุทธิ์ (Pre-Purify) โดยนำน้ำต้ม
ไปให้ความร้อนเพื่อระเหยน้ำหรือตัวทำละลายออก ที่อุณหภูมิประมาณ 45 °C ความดัน 70 mbar จนได้สารให้ความ
หวานที่อยู่ในรูปไซรัป (สารให้ความหวานที่เข้มข้นและหนืด) จากนั้นนำไปวิเคราะห์ค่าความหวานด้วยเครื่อง
Colorimeter อ่านค่าเป็นองศาบริกซ์ (°Brix) ของรสหวานจากไซรัป ซึ่งควรมีค่าประมาณ 30 °Brix

ขั้นตอนสุดท้าย คือ นำไซรัปไปทำให้แห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบพ่นฝอยทำผง (Powder) ซึ่งจะได้ผงสีขาวละเอียด
ออกมา โดยจะมีความบริสุทธิ์ของสารให้ความหวานประมาณ 93 % และมีความชื้นเล็กน้อย 2 - 5% จากนั้นนำผง
สารให้ความหวานไปทดสอบคุณภาพ

05

Product

ความคิดเห็นจากผู้บริโภคด้านบรรจุภัณฑ์และปริมาณผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความต้องการ
ผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณเหมาะสมต่อการใช้งานครั้งต่อครั้ง รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต้องมีขนาดที่พกพา
ง่าย สะดวกต่อการใช้งานในแต่ละครั้ง และตัวบรรจุภัณฑ์ต้องมีการบอกรายละเอียดอย่าง
ชัดเจน แบรนด์ Sugaryherb (ชูการี่เฮิร์บ) จึงได้ทำการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบกล่อง
ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 7 x 10.5 x 9 เซนติเมตร

06

บรรจุภัณฑ์ ด้านหน้า

บริเวณด้านหน้ากล่องจะประกอบไปด้วย โลโก้และ
สโลแกนของแบรนด์ Sugaryherb (ชูการี่เฮิร์บ) ได้แก่
“ No sugar No worries and say yes to 0
calories ” ที่จะช่วยบ่งบอกถึงความเป็นแบรนด์เพื่อ
สุขภาพ รวมถึงมีการบอกข้อมูลของกลิ่น รูปแบบหญ้า
หวาน ปริมาณ และลักษณะซองภายในกล่องบรรจุภัณฑ์
อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทราบถึงรายละเอียด
เบื้องต้น

07

บรรจุภัณฑ์ ด้านข้าง

สำหรับด้านข้างกล่องบรรจุภััณฑ์ ได้มีการใส่ข้อมูลโภชนาการ
(Nutrition Information) ซึ่งเป็นรายละเอียดสำคัญและเป็น
ข้อบังคับที่จากทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(อย.) กำหนดให้บรรจุภัณฑ์ทุกชนิดต้องมีการให้ข้อมูล โดย
ผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ Sugaryherb (ชูการี่เฮิร์บ) จะเป็นรูป
แบบฉลากโภชนาการแบบย่อ ประเภทผลิตภัณฑ์ที่มีการกล่า
วอ้างทางโภชนาการ เช่น การระบุถึงปริมาณของพลังงาน
โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ตลอดจนวิตามินหรือเกลือแร่

08

บรรจุภัณฑ์ ด้านหลัง

สำหรับด้านหลังของบรรจุภัณฑ์ ได้ระบุถึงกลุ่มผู้บริโภคที่
เหมาะสมต่อผลิตภัณฑ์ ได้แก่ คนรักสุขภาพ (ผู้ที่ต้องการ
ควบคุมน้ำหนัก) และกลุ่มผู้ป่วยหรือผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
(ผู้ที่ต้องคำนึงถึงสุขภาพเป็นหลัก) เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือก
และง่ายต่อการเลือกรับประทานของผู้บริโภคทั้ง 2 กลุ่ม

09

บรรจุภัณฑ์ แบบซอง

เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณเหมาะสม
ต่อการใช้งานครั้งต่อครั้ง รวมถึงต้องมีขนาดที่พกพาง่าย จึงได้ดำเนิน
การออกแบบผลิตภัณฑ์ในรูปแบบซอง มีขนาด 2 x 8.5 เซนติเมตร
มีปริมาณ 1 ซอง ต่อ 1 กรัม และบรรจุจำนวน 50 ซอง ต่อ 1 กล่อง

10

อีกหนึ่งความต้องการของผู้บริโภค ที่อยากให้สารทดแทนความหวาน
สกัดจากหญ้าหวานมีกลิ่นที่หลากหลายเพิ่มขึ้น แต่ยังคงดีต่อสุขภาพ
สำหรับกลิ่นยอดนิยมที่ยังคงดีต่อสุขภาพ คือ กลิ่นวานิลลา ซึ่งเหมาะ
สำหรับคนรักสุขภาพ ที่รักษารูปร่างและดูแลร่างกาย เนื่องจากกลิ่น
วานิลลาช่วยควบคุมความอยากของอาหาร การทานผลิตภัณฑ์ที่มี
กลิ่นวานิลลาจะทำให้รู้สึกดีขึ้นและลดอาการหิวระหว่างวัน รวมถึงช่วย
กระตุ้นการเผาผลาญและการย่อยอาหารของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
โดยตรงตามข้อเสนอแนะจากผู้บริโภค

แบรนด์ Sugaryherb (ชูการี่เฮิร์บ) จึงทำการผลิตสารทดแทน
ความหวานสกัดจากหญ้าหวาน ชนิดผง กลิ่นวานิลลา ออกมาอีก
หนึ่งรูปแบบ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่มีความ
กังวลในเรื่องของกลิ่นหญ้าหวาน ให้สามารถรับประทานได้ง่ายขึ้น

11

SUGARYHERB 02ระยะที่

ขั้นตอนการขออนุญาต

การขออนุญาตหน่วยงาน

ในประเทศไทยมีหน่วยงานที่เกี่ยวกับการขออนุญาตผลิตผลิตภัณฑ์ด้านการบริโภค ได้แก่
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร
แห่งชาติ (มกอช.) และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่ควรได้รับการรับรองหน่วย
งาน เพื่อที่จะได้รับเครื่องหมายยืนยันว่าทางผลิตภัณฑ์ของ Sugaryherb (ชูการี่เฮิร์บ) ผ่าน
มาตรฐานตามเกณฑ์ และมีความน่าเชื่อถือ

13

การดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์สารทดแทนความหวานสกัดจากหญ้าหวานชนิดผง

มีข้อปฏิบัติที่จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อทำการขออนุญาต ดังนี้

จำเป็นต้องได้รับการอนุญาตและขอใบอนุญาตจัดตั้งโรงงานตามที่
กฎหมายกำหนดจากกระทรวงอุตสาหกรรมก่อนเริ่มผลิตผลิตภัณฑ์

ควรมีมาตราฐานรองรับจาก Good Manufacturing Practice
(GMP) และ Hazards Analysis and Critical Control Points
(HACCP) เนื่องจากทั้ง 2 หน่วยงานรองรับในเรื่องของคุณภาพ และ
ความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้บริโภคมีต่อ
ผลิตภัณฑ์

14

สำหรับผลิตภัณฑ์ด้านการบริโภคไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือยา หน่วย
งานที่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการรองรับมากที่สุด คือ
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ถ้าหากผลิตภัณฑ์มีความเกี่ยวกับสมุนไพรโดยตรงหรือเป็นสารทดแทนเช่นเดียวกับแบรนด์ Sugaryherb
(ชูการี่เฮิร์บ) ต้องได้รับการรองรับจากกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กระทรวงสาธารณสุข อีกหนึ่งหน่วยงาน

15

SUGARYHERB 03ระยะที่

ขั้นตอนการสร้างเเบรนด์
หญ้าหวานด้วยผู้วิจัยเอง

ขั้นตอนการนำข้อมูลที่ได้มาสร้าง
เเบรนด์หญ้าหวาน

การพัฒนาแนวทางในการสร้างแบรนด์ เเละกำหนดแนวทางในการดำเนินงานทางการตลาดให้
เหมาะสม เพื่อสร้างภาพลักษณ์ ผ่านการสร้างชื่อ สัญลักษณ์ และสื่อต่างๆ ตามคำเเนะนำของผู้เขี่ย
วชาญ เเละความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อเเบรนด์หญ้าหวานผง นำไปสู่การสร้างแบรนด์หญ้า
หวานที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการบริโภคและตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้
จริง ซึ่งสามารถสรุปผลการสร้างแบรนด์ได้ ดังนี้

17

Brand Purpose

เบรนด์หญ้าหวานผง ตรา SUGARYHERB (ชูการี่เฮิร์บ)

เกิดขึ้นมาจากการมองเห็นถึงปัญหาของผู้บริโภคในการเลือกบริโภคสารให้ความหวาน เนื่องจาก
ปัจจุบันมีผู้บริโภคบางส่วนที่ต้องการน้ำตาลทางเลือกใหม่ ที่จะทำให้การรับประทานรสชาติหวานไม่
เกิดผลเสียต่อสุขภาพอีกต่อไป ในขณะเดียวกัน ตัวเลือกเหล่านั้นกลับยังมีจำนวนไม่มากในตลาด
จึงเป็นสาเหตุให้ผู้จัดทำตัดสินใจเลือกที่จะสร้างเเบรนด์หญ้าหวาน ตรา Sugaryherb (ชูการี่เฮิร์บ)
ขึ้นมา เนื่องจากหญ้าหวานเป็นสารที่มีคุณสมบัติให้ความหวานแต่ไม่ให้พลังงาน

18

วิสัยทัศน์ของแบรนด์ พันธกิจของแบรนด์
(Vision) (Mission)

การช่วยเเก้ปัญหาสำหรับกลุ่มคนรักสุขภาพ ที่ การสร้างเเบรนด์ที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย
ยังคงมีความต้องการในการรับประทานรสชาติ ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และเป็นที่
หวาน แบบไม่รู้สึกผิด รวมถึงผู้ป่วยโรคเบาหวาน จดจำ โดยมีการวิจัยผลิตภัณฑ์ พัฒนาสูตรให้
ที่ต้องการรับประทานหวานแต่ไม่ต้องการให้ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอยู่เสมอ
กระทบต่ออาการป่วย และกลุ่มผู้ที่เสี่ยงต่อการ ทั้งยังวางแผนด้านการสื่อสารการตลาด เพื่อ
เป็นโรคอ้วน เป็นต้น สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และเกิดการยอมรับ

19

กลุ่มเป้าหมายหลักของเเบรนด์

กลุ่มคนรักสุขภาพ หรือกลุ่มคนที่มีความจำเป็นต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ

เช่น ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน อายุระหว่าง 21- 40 ปี ไม่จำกัดเพศ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
20,000 บาท ขึ้นไป ทั้งยังมีความสนใจในผลิตภัณฑ์ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย มีความปลอดภัย
สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างเเท้จริง รวมถึงมีความสนใจในประโยชน์ของหญ้าหวาน
เช่น ไม่มีเเคลอรี่ และยังเป็นกลุ่มที่ไม่ยึดติดกับสิ่งเดิมๆ ชอบสิ่งแปลกใหม่

20

Brand Positioning

เเบรนด์หญ้าหวานผง ตรา SUGARYHERB (ชูการี่เฮิร์บ)

มีจุดยืนด้านความแตกต่าง (Differentiation) และด้านการใช้งาน (Functional) โดยเน้นการ
สร้างความแตกต่างที่ตัวผลิตภัณฑ์ วางแผนผลิตสินค้าออกมาในรูปแบบ หญ้าหวานผง 1 ซอง ต่อ
การบริโภค 1 ครั้ง เพื่อสร้างความสะดวกสบายและง่ายต่อการใช้งาน สามารถเก็บรักษาได้นาน และ
ละลายได้ดีกว่ารูปแบบเกล็ดน้ำตาล ทั้งยังสามารถเลือกบริโภคได้ทั้งกลิ่นดั้งเดิม สำหรับผู้ที่ชอบ
ความเป็นธรรมชาติ และผงหญ้าหวานกลิ่นวานิลลา ในกรณีที่ต้องการการแต่งกลิ่น เพื่อให้ง่ายต่อ
การรับประทาน

21

Brand Differentiation

ด้านการบริการและบุคลากร

เเบรนด์หญ้าหวานผง ตรา Sugaryherb (ชูการี่เฮิร์บ) มีช่องทางในการจัดส่งสินค้าที่สะดวก
รวดเร็ว เช่น บริการส่งสินค้าถึงมือลูกค้าภายใน 1 วัน ในกรณีที่ผู้บริโภคต้องการได้รับสินค้าภายใน
วันที่กำหนด นอกจากนี้ ยังมีบริการให้คำปรึกษาเรื่องผลิตภัณฑ์แก่ผู้บริโภคผ่านทาง Line
Official อีกด้วย ในกรณีที่ผู้บริโภคเกิดข้อสงสัย ในขณะเดียวกัน เเบรนด์หญ้าหวานผง ตรา
Sugaryherb (ชูการี่เฮิร์บ) จะมีการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร โดยมุ่งเน้นให้พนักงานพัฒนา
ด้านความสามารถ ความสุภาพนอบน้อม แสดงความเป็นมิตรเเละความน่าเชื่อถือต่อลูกค้า รวมถึง
สามารถตอบคำร้องขอและแก้ปัญหาข้อร้องเรียนของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม

22

ช่องทางการจัดจำหน่าย

เเบรนด์หญ้าหวานผง ตรา Sugaryherb (ชูการี่เฮิร์บ) สร้างความแตกต่างด้านเวลาที่ใช้ในการ
สั่งซื้อ โดยมีการจัดส่งสินค้าถึงบ้าน ไม่ว่าจะสั่งซื้อสินค้าจากช่องทางใดก็ตาม และยังมีบริการส่ง
สินค้าถึงมือลูกค้าภายใน 1 วันอีกด้วย รวมถึงมีโปรโมชั่นจัดส่งฟรี เพื่อเป็นการดึงดูดเเละสนอง
ความต้องการด้านความสะดวกสบายแก่ผู้บริโภค

เเบรนด์หญ้าหวานผง ตรา SUGARYHERB (ชูการี่เฮิร์บ)

เน้นสร้างภาพลักษณ์ที่แสดงถึงความใส่ใจในความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก และสื่อถึง
ความเป็นธรรมชาติอย่างลงตัว สะท้อนให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของหญ้าหวานอย่างชัดเจน เพื่อ
ให้ผู้บริโภครู้สึกถึงการมีส่วนร่วมหรือเป็นส่วนหนึ่งกับเเบรนด์ รวมถึงมีมุมมองที่ดีต่อแบรนด์ใน
แง่ของความปลอดภัย และมองเห็นถึงความเป็นผลิตภัณฑ์ที่ออร์แกนิคอีกด้วย

23

Brand Identity ภายใต้กรอบของ Brand Canvas

24

Brand Trust

เเบรนด์หญ้าหวานผง ตรา SUGARYHERB (ชูการี่เฮิร์บ)

สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้บริโภคผ่านการแสดงตัวตน ด้วยการมี ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อ รวม
ถึงสถานที่ผลิตอย่างชัดเจน ตามช่องทางการสั่งซื้อ ในขณะเดียวกัน บรรจุภัณฑ์ยังมีฉลากระบุ วัน
เดือน ปี ที่ผลิตและหมดอายุ รวมถึงข้อมูลผู้ผลิต หรือผู้จัดจําหน่าย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือด้วย
เช่นกัน นอกจากนี้ ทางเเบรนด์ยังมีความตั้งใจในการบอกเล่าเรื่องราวของเเบรนด์ผ่านการนำ
เสนอบนแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Facebook โดยเฉพาะการนำเสนอข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น วิธีการใช้
งาน การเก็บรักษา และสรรพคุณของผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นใน
แบรนด์

25

SUGARYHERB 04ระยะที่

ขั้นตอนการประเมินความ

เป็นไปได้ของธุรกิจ

* การกำหนดข้อมูล 4ps โดยใช้กรอบ Business Model Canvas เพื่อการกําหนด
ทิศทางที่ชัดเจนให้กับธุรกิจ รวมถึงภาพรวมเป้าหมายการตลาด

27

ข้อมูลส่วนประสมทางการตลาด (4ps)

ผลิตภัณฑ์ (PRODUCT)

หญ้าหวานผง 1 ซอง ต่อการบริโภค 1 ครั้ง มีความสะดวกสบายและง่ายต่อการใช้งานกว่ารูปแบบอื่นที่มีในตลาด
สามารถเก็บรักษาได้นาน และละลายได้ดีกว่ารูปแบบเกล็ดคล้ายน้ำตาล สามารถเลือกบริโภคได้ทั้งกลิ่นดั้งเดิม
สำหรับผู้ที่ชอบความเป็นธรรมชาติ ไม่มีการแต่งกลิ่น และกลิ่นวานิลลา ในกรณีที่ต้องการการแต่งกลิ่น เพื่อให้ง่าย
ต่อการรับประทาน โดยไม่มีกลิ่นของหญ้าหวานติดอยู่ ทั้งยังไม่มีสารตกค้างในผลิตภัณฑ์ เนื่องจากผลิตจากสาร
สกัดหญ้าหวานจากการสกัดด้วยน้ำ หรือใช้ตัวทำละลาย ส่วนด้านบรรจุภัณฑ์มีฉลากระบุวัน เดือน ปี ที่ผลิตและ
หมดอายุ รวมถึงข้อมูลผู้ผลิต หรือผู้จัดจําหน่าย

ราคา (PRICE)

ราคาผลิตภัณฑ์อยู่ที่กล่องละ 115 บาท ทั้งเเบบดั้งเดิมเเละเเบบเเต่งกลิ่นวานิลลา โดยใน 1 กล่อง
ประกอบไปด้วย 50 ซอง น้ำหนักสุทธิ 50 กรัม

28

การจัดจำหน่าย (PLACE)

มีรูปแบบการขายสินค้าที่หลากหลาย ทั้งช่องทางออนไลน์ และตามร้านค้าทั่วไป รวมถึงมีการจัดส่งสินค้าถึงบ้าน
ไม่ว่าจะสั่งซื้อสินค้าจากช่องทางใดก็ตาม ทั้งยังมีบริการส่งสินค้าถึงมือลูกค้าภายใน 1 วันอีกด้วย สำหรับช่องทาง
ออนไลน์ ช่องทางการจัดจำหน่าย ได้แก่ Shopee, Lazada, Facebook, และ Line official หรือ Line
shopping ส่วนการฝากขายตามร้านค้าทั่วไป ช่องทางการจัดจำหน่าย ได้แก่ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของออร์
แกนิก และร้านขายสินค้าเพื่อสุขภาพ

การส่งเสริมการตลาด (PROMOTION)

ทำการสื่อสารให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการรับรู้ (Awareness) และให้ความรู้ (Knowledge) เกี่ยวกับคุณประโยชน์
ของผลิตภัณฑ์หญ้าหวานผง ด้วยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม พร้อมข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน โดยบอก
เล่าเรื่องราวของเเบรนด์ผ่านการนำเสนอรายละเอียดต่างๆ บน Facebook โดยเฉพาะการนำเสนอข้อมูล ไม่ว่าจะ
เป็น วิธีการใช้งาน การเก็บรักษา และสรรพคุณของผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีการจัดโปรโมชั่น “ส่ง
สินค้าฟรี” อย่างบ่อยครั้ง เพื่อสร้างความสะดวกสบายแก่ผู้บริโภค ทั้งยังมีบริการให้คำปรึกษาด้านผลิตภัณฑ์แก่ผู้
บริโภคผ่านทาง Line Official ในกรณีที่ผู้บริโภคเกิดข้อสงสัยอีกด้วย สำหรับการลงสื่อสังคมออนไลน์ จะเน้น
การโปรโมทและให้ข้อมูลสินค้าผ่านทาง Facebook ส่วนด้านสื่อโฆษณา จะเน้นการทำสื่อหรือป้ายโฆษณาบนชั้น
วางสินค้าตามร้านค้าทั่วไป เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ต เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ เป็นต้น

29


Click to View FlipBook Version