ระเบียบวาระการประชุม คณะทำงานบริหารจัดการความรู้ และนวัตกรรม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๖ วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ เดือน กุมภาพันธ์พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมสำนักงบประมาณของรัฐสภา ชั้น ๕ ----------------------------------------- ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ แผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) สำนักงบประมาณของรัฐสภา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ที่ได้รับความเห็นชอบจากรองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ สำนักงบประมาณของรัฐสภา ตามบันทึกข้อความลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันพุธที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง - ไม่มี - ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องพิจารณา การดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้ (KM ACTION PLAN) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยจัดกิจกรรม KM ตามแผนการจัดการความรู้ (KM ACTION PLAN)ครั้งที่ ๒ นำเสนอโดย ส.ต.ต. ธาม มาฉิม นักวิเคราะห์งบประมาณชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิเคราะห์งบประมาณ ๔ หัวข้อเรื่อง “ความรู้เกี่ยวกับสิทธิ ประโยชน์ในการรับราชการ และการเกษียณอายุราชการ” ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) ___________________________
บันทึกการประชุมคณะทำงานบริหารจัดการความรู้ และนวัตกรรม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ วันพุธที่ ๑ เดือน กุมภาพันธ์พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมสำนักงบประมาณของรัฐสภา ชั้น ๕ ----------------------------------------- คณะทำงานผู้มาประชุม 1. ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานวิเคราะห์งบประมาณ ๕ ประธานคณะทำงาน (นางณิชา รักจ้อย) 2. ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานวิเคราะห์งบประมาณ 2 รองประธานคณะทำงาน (นางสาวปิยรัตน์ เต็มญารศิลป์) 3. ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานวิเคราะห์งบประมาณ 1 คณะทำงาน (นายฐากูร จุลินทร) 4. ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานวิเคราะห์งบประมาณ 3 คณะทำงาน (นายชูเกียรติ รักบำเหน็จ) 5. ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานบริหารทั่วไป คณะทำงาน (นางชาลินี มณีรัตน์) 6. นางสาวอุมาพร บึงมุม คณะทำงาน 7. นางสาวนิยดา ชูชาย คณะทำงาน 8. นางสาวศิริขวัญ วิเชียรเพลิศ คณะทำงาน 9. นายวีรวัฒน์ พิลากุล คณะทำงาน 10. นางสาวสาวิตรี วาระคำ คณะทำงานและเลขานุการ 11. นายภูเบต เส็นบัตร คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ 12. นายเดชาวัตน์ เหรียญทอง คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ 13. นางสาวสุทธิดา สรวงนอก คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ คณะทำงานผู้ไม่มาประชุม ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณของรัฐสภา ที่ปรึกษาคณะทำงาน ผู้มาประชุม 1. สิบตำรวจตรี ธาม มาฉิม นักวิเคราะห์งบประมาณชำนาญการพิเศษ 2. นางสาวจุไรลักษณ์ เอี้ยวพันธ์ นักวิเคราะห์งบประมาณชำนาญการพิเศษ 3. นายณรงค์ชัย ฐิตินันท์พงศ์ นักวิเคราะห์งบประมาณชำนาญการพิเศษ 4. นางสาวนันทิยา แสนโกศิก นักวิเคราะห์งบประมาณชำนาญการ 5. นางสาวนฤมล แก้วสุก นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ 6. นายอนิวัตร ชูไว นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ 7. นางสาวกุลธิดา สมศรี นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ 8. นายเจนณรงค์ เชิงเร็ว นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ 9. นายวาทิต ม้ามงคล เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส 10. นางสาวปริยานุช มงคลศิริ เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
- ๒ - เริ่มประชุมเวลา 09.10 นาฬิกา เมื่อคณะทำงานฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานวิเคราะห์งบประมาณ 5 ในฐานะประธานคณะทำงานฯ ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้ ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ๑.๑ คำสั่งสำนักงบประมาณของรัฐสภา ที่ ๓/๒๕๖๖ เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานบริหาร จัดการความรู้ และนวัตกรรม ลงวันที่ 19 มกราคม 2566 มติที่ประชุม รับทราบ ๑.๒ ผลการดำเนินงานของคณะทำงานฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประธานแจ้งให้ที่ประชุม ทราบว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงบประมาณของ รัฐสภาได้รับรางวัลจากการประกวดในกิจกรรมของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรดังนี้ (1) รางวัลดีมากจากการเข้าร่วมประกวดข้อเสนอนวัตกรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในหัวข้อ นวัตกรรมการบริการ (Service Innovation) เรื่อง การเผยแพรผลงานวิชาการของ สำนักงบประมาณของรัฐสภาในรูปแบบหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์(E-Book) (2) รางวัลดีเด่นจากการเข้าร่วมประกวดแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 นำเสนอผลงานโดย นายภูเบต เส็นบัตร นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ ในหัวข้อเรื่อง การประยุกต์ใช้เทรลโล่ (Trello) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร มติที่ประชุม รับทราบ 1.3 การส่งใบสมัครขอรับรางวัลบริการภาครัฐ และรางวัลบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี พ.ศ. 2566 ตามบันทึกสำนักนโยบายและแผน ที่ สผ 0021.02/ว254 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2565 ประธานฯ แจ้งให้ที่ประชุมว่า ตามบันทึกสำนักนโยบายและแผน ที่กำหนดให้ทุก สำนัก/กลุ่ม/กลุ่มงาน ที่มีผลงานได้รับรางวัลแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)และรางวัลนวัตกรรมดีเด่น ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2565 ส่งผลงานเข้าร่วมสมัคร ของรับรางวัลเลิศรัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ผ่านระบบออนไลน์ ในสาขารางวัลบริการภาครัฐ และ รางวัลบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมนั้น สำนักงบประมาณของรัฐสภาได้ส่งใบสมัครส่วนที่ 1 สรุปผลการ ดำเนินงานภาพรวม เพื่อขอรับรางวัลฯ ประเภทพัฒนาการบริการ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565 ส่งประกวดด้วย หัวข้อเรื่อง การประยุกต์ใช้เทรลโล่ (Trello) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร นำเสนอผลงานโดย นายภูเบต เส็นบัตร นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ สำหรับส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานการ ต้องจัดส่งข้อมูลให้ สำนักนโยบายและแผนภายในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อกรอกข้อมูลผ่านทางระบบรับสมัครรางวัลต่อไป นางสาวปิยรัตน์ เต็มญารศิลป์ ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานวิเคราะห์งบประมาณ 2 แจ้งประธานและที่ประชุมว่า ได้รับการประสานจากนางพุทธชาติ ทองเอม ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานนโยบายและ พัฒนาระบบการบริหาร โดยเสนอให้สำนักงบประมาณของรัฐสภาส่งใบสมัครขอรับรางวัลฯ เพิ่มอีก 1 เรื่อง ซึ่งได้รับรางวัลนวัตกรรมดีเด่นเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คือ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ผลิต infographics เพื่อบริการข้อมูลสารสนเทศผ่าน Facebook fanpage ของสำนักงบประมาณของรัฐสภา (PBO)
- ๓ - มติที่ประชุม รับทราบ และประธานฯ มอบหมายให้นางสาวอุมาพร บึงมุม นักวิเคราะห์ งบประมาณชำนาญการพิเศษ และนายภูเบต เสนบัตร เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำข้อมูล เรื่อง การประยุกต์ใช้ ซอฟต์แวร์ผลิต infographics เพื่อบริการข้อมูลสารสนเทศผ่าน Facebook fanpage ของสำนักงบประมาณของ รัฐสภา (PBO) ส่งให้สำนักนโยบายและแผน สำหรับกรอกข้อมูลในใบสมัครตามระยะเวลาที่กำหนด ๑.4 แผนดำเนินการจัดการความรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566 และผลการคัดเลือกองค์ความรู้ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประธานฯ แจ้งให้ที่ประชุมว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2566 ที่ผ่านมาได้มีการประชุม คณะกรรมการบริหารจัดการความรู้ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อแจ้งคำสั่งสำนักงานฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการความรู้ของสำนักงานฯ และรายงานผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานการจัดการ ความรู้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และคัดเลือกองค์ความรู้ของสำนักงานฯ ตามประเด็นการพัฒนา (ประเด็น ยุทธศาสตร์) ของสำนักงานฯ พ.ศ. 2566-2567 จำนวน 4 หน่วยงาน ดังนี้ ประเด็นการพัฒนาที่ 1 พัฒนาองค์กรก้าวสู่ Digital Parliament หน่วยงานเจ้าภาพ คือ สำนักสารสนเทศ ประเด็นการพัฒนาที่ 2 ส่งเสริมรัฐสภาไทยด้านความร่วมมือในเวทีรัฐสภาระหว่างประเทศ หน่วยงานเจ้าภาพ คือ สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประเด็นการพัฒนาที่ 3 ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคพลเมืองใน กระบวนการนิติบัญญัติหน่วยงานเจ้าภาพ คือ สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา ประเด็นการพัฒนาที่ 4 สร้างระบบนิเวศในการทำงาน (Ecosystem) ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพบุคคลากรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง หน่วยงานเจ้าภาพ คือ สำนักนโยบายและแผน ๑.5 การจัดส่งข้อเสนอนวัตกรรม ตามบันทึกคณะกรรมการขับเคลื่อนนวัตกรรมของ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่สผ 0012.05/27 ลงวันที่ 5 มกราคม 2566 ประธานฯ แจ้งที่ประชุมว่า ตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนนวัตกรรมของสำนักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เชิญชวนให้บุคลากรและหน่วยงานในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ส่งข้อเสนอนวันกรรมเข้าร่วมการคัดเลือกนวัตกรรมดีเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ นวัตกรรมเชิงนโยบาย นวัตกรรมการบริการ และนวัตกรรมการบริหารองค์การ ซึ่งสามารถส่งข้อเสนอได้ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 17 เมษายน 2566 นั้น หากข้าราชการสำนักงบประมาณของรัฐสภามีข้อเสนอที่เกี่ยวข้อง สามารถแจ้งที่ฝ่ายเลขาฯ คณะทำงานฯ เพื่อจัดส่งข้อเสนอนวัตกรรมให้แก่กลุ่มงานบริการวิชาการ 2 สำนักวิชาการ ต่อไป นายภูเบ็ต เส็นบัตร นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ ได้เสนอหัวข้อนวัตกรรมการบริการ ต่อที่ประชุม เรื่อง ระบบฐานข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์งบประมาณจำแนกรายกระทรวง เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่อง ที่จะสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงบประมาณให้รวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ฯ อีกทั้งช่วย ประหยัดเวลาการดำเนินงาน และสามารถสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านงบประมาณ ให้แก่หน่วยงานภายใน สำนักงานฯ ได้เช่น สำนักกรรมธิการ 1 2 และ 3 สำนักวิชาการ เป็นต้น นางสาวปิยรัตน์ เต็มญารศิลป์ ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานวิเคราะห์งบประมาณ 2 ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเสนอหัวข้อนวัตกรรมเข้าร่วมการคัดเลือกนวัตกรรมดีเด่นของสำนักงานฯ จำเป็นต้อง พิจารณาถึงเงื่อนไขและหลักเกณ์การประเมินคุณภาพ ซึ่งนวัตกรรมการบริการต้องเป็นนวัตกรรมที่นำมาใช้พัฒนา และสร้างคุณค่าในงานบริการภาครัฐ การปรับปรุงบริการหรือสร้างบริการใหม่ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการ ให้บริการประชาชน ซึ่งกำหนดเกณฑ์การตัดสินไว้ 3 ด้าน คือ
- ๔ - ๑. ข้อเสนอนวัตกรรม เป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ที่ช่วยพัฒนาหรือสร้างหรือยกระดับงาน บริการให้มีประสิทธิภาพ (50 คะแนน) ๒. ประโยชน์ต่อสำนักงานฯ นวัตกรรมที่เสนอต้องมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานโดย สามารถลดระยะเวลาหรือขั้นตอนการทำงาน และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการบริการ เช่น สร้างบริการใหม่ เพิ่มความรวดเร็ว (30 คะแนน) ๓. การบูรณาการ นวัตกรรมที่เสนอต้องสามารถเชื่อมโยงเพื่อสนับสนุนการบริการตาม ยุทธศาสตร์สำนักงานฯ และหน่วยงานภายในสำนักงานฯ มากกว่า 1 หน่วยงาน (20 คะแนน) มติที่ประชุม รับทราบ และเห็นชอบข้อเสนอนวัตกรรม เรื่อง ระบบฐานข้อมูลสำหรับการ วิเคราะห์งบประมาณจำแนกรายกระทรวง ตามที่ นายภูเบต เส็นบัตร นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการเสนอ เนื่องจากยังไม่ถึงกำหนดระยะเวลาในการจัดส่งข้อเสนอนวัตกรรม ประธานฯ จึงให้โอกาส นักวิเคราะห์งบประมาณทุกคนในการนำเสนอส่งข้อเสนอนวัตกรรมอื่น ๆ ได้ โดยหากใครมีข้อเสนอเพิ่มเติม สามารถประสานที่ฝ่ายเลขาคณะทำงานฯ (นางสาวสาวิตรี วาระคำ นักวิเคราะห์งบประมาณชำนาญพิเศษ) ระเบียบวาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม - ไม่มี - ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง - ไม่มี - ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องพิจารณา ๔.๑ แผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) สำนักงบประมาณของรัฐสภา ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ มติที่ประชุม ๑. รับทราบ และเห็นชอบแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) สำนักงบประมาณของ รัฐสภา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ๒. ประธานฯ มอบหมายให้ฝ่ายเลขาฯ เพิ่มหัวข้อการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ไว้ใน แผนการจัดการความรู้ฯ จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ การเขียนบทความลงรัฐสภาสาร ระบบตรวจสอบการลอกเลียน วรรณกรรมทางวิชาการ : อักขราวิสุทธิ์ เครื่องมือแสดงผลข้อมูลในรูปแบบของรูปภาพ : Google Data Studio และ การงบประมาณ OECD Asian Senior Budget Officials Meeting ส่งผลให้มีหัวข้อการจัดกิจกรรมการจัดการ ความรู้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวมจำนวน 11 เรื่อง เมื่อปรับแก้ไขเรียบร้อยแล้วให้ฝ่ายเลขาฯ นำเสนอ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณของรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป ทั้งนี้หากนักวิเคราะห์งบประมาณท่านใด มีความประสงค์จะถ่ายทอดองค์ความรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในแผนฯ สามารถแจ้งความประสงค์ ได้ที่ฝ่ายเลขาคณะทำงานฯ ๔.๒ การดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้ (KM ACTION PLAN) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2๕๖๖ โดยจัดกิจกรรม KM ตามแผนการจัดการความรู้ (KM ACTION PLAN) ครั้งที่ ๑ นำเสนอโดย กลุ่มงานวิเคราะห์งบประมาณ ๕ เรื่อง “หลักเกณฑ์และแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 256๗” มติที่ประชุม รับทราบ
- ๕ – ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) การดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้ (KM ACTION PLAN) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยจัดกิจกรรม KM ตามแผนการจัดการความรู้ (KM ACTION PLAN)ครั้งที่ 2 นำเสนอโดยนายภูเบต เส็นบัตร นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ และนายอนิวัตร ชูไว นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ เรื่อง “ระบบตรวจสอบ การลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการ : อักขราวิสุทธิ์” มติที่ประชุม รับทราบ และเห็นชอบให้นักวิเคราะห์งบประมาณนำระบบอักขราวิสุทธิ์ ไปใช้ในการประเมินผลงานวิชาการด้วยตนเอง ทั้งนี้เพื่อให้การจัดทำเอกสารวิชาการของสำนักงบประมาณของรัฐสภา มีมาตรฐานตามหลักวิชาการ เลิกประชุมเวลา 11.45 นาฬิกา ___________________________ นางสาวสาวิตรี วาระคำ นักวิเคราะห์งบประมาณชำนาญการพิเศษ คณะทำงานและเลขานุการ ผู้จดรายงานประชุม นางณิชา รักจ้อย ผู้อำนวยการกลุ่มงานวิเคราะห์งบประมาณ 5 ประธานคณะทำงานบริหารจัดการความรู้ และนวัตกรรม ผู้ตรวจสอบรายงานการประชุม