The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บทที่ 2 ละเมิด ข้อความทั่วไป

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Ploy Nuntapotidech, 2022-07-05 05:32:06

กฎหมายลักษณะละเมิด บทที่ 2

บทที่ 2 ละเมิด ข้อความทั่วไป

บ ท ท่ี 2 ล ะ เ มิ ด : ข้ อ ค ว า ม ทั่ ว ไ ป | 12

แผนบรหิ ารการสอนประจาบทท่ี 2

ชอ่ื วิชา LA 210 กฎหมายวา่ ด้วยความรับผดิ ทางละเมดิ

บทท่ี 2 ละเมิด : ข้อความทั่วไป

หัวข้อเนอื้ หาประจาบท
1. ความหมายของละเมดิ
2. ละเมิดเปน็ บ่อเกดิ แห่งหนี้
3. ความแตกต่างระหว่างความรับผดิ ทางละเมดิ กับความรับผดิ ทางอาญา
4. ความแตกตา่ งระหว่างละเมิดกบั สญั ญา
5. กรณีที่เป็นทงั้ ละเมิดและผิดสัญญา

วตั ถปุ ระสงค์การสอน
เมอื่ สอนบทท่ี 2 จบแลว้ นกั ศึกษาสามารถ
1. อธบิ ายความหมายของละเมิดได้
2. อธบิ ายถึงบ่อเกดิ แห่งหนี้ได้
3. อธบิ ายถึงความแตกต่างระหวา่ งความรบั ผดิ ทางละเมดิ กับความรบั ผดิ ทางอาญาได้
4. อธบิ ายถึงความแตกต่างระหวา่ งละเมดิ กับสัญญาได้
5. อธบิ ายถงึ แนวทางการฟ้องคดีทเ่ี ปน็ ท้ังละเมิดและผิดสญั ญาได้

วิธีการสอนและกิจกรรม
1. ศึกษาเอกสารประกอบการสอน
2. บรรยายตามเน้ือหาแต่ละหัวข้อ
3. สอบถามเพอื่ ทบทวนเม่ือจบแต่ละหัวข้อทส่ี อน
4. ร่วมอภปิ รายเนื้อหาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และทาแบบฝึกหัดในช้นั เรยี น
5. มอบหมายงานใหไ้ ปทบทวนบทเรียน และเตรยี มการเรียนสาหรบั บทต่อไป

บ ท ที่ 2 ล ะ เ มิ ด : ข้ อ ค ว า ม ทั่ ว ไ ป | 13

สื่อการสอน
1. กรณีศึกษาจริงจากขา่ วสาร และการบริการใหค้ าปรึกษากฎหมาย
2. ตารา หนงั สือ บทความ ประมวลกฎหมาย คาพิพากษาฎกี า
3. เคร่ืองขยายเสียง คอมพิวเตอร์ และอุปกรณเ์ คร่ืองฉายโปรเจคเตอร์
4. กระดานไวท์บอร์ด และปากกาสาหรบั ไวท์บอรด์

การวดั ผลและประเมินผล
1. ถาม – ตอบในชั้นเรียน
2. ประเมนิ จากแบบฝกึ หดั ทา้ ยบท
3. อภปิ รายระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
4. การสอบระหว่างภาคการศึกษา และการสอบปลายภาคการศกึ ษา

บ ท ที่ 2 ล ะ เ มิ ด : ข้ อ ค ว า ม ท่ั ว ไ ป | 14

บทท่ี 2
ละเมิด : ข้อความทวั่ ไป

ความนา

กฎหมายลักษณะละเมิดเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรับผิด ซึ่งหากจะทาการศึกษาจะพบว่าละเมิดเป็น
บอ่ เกดิ แหง่ หน้ี ซึ่งมคี วามรับผิดทางกฎหมาย 2 ประเภท ไดแ้ ก่ ความรบั ผดิ ทางสัญญา และความรับผิดทาง
ละเมดิ ซ่งึ ในบางคร้ังคสู่ ัญญาอาจมีการกระทาท่ีเปน็ การผดิ สัญญาและเปน็ ละเมดิ ในเวลาเดยี วกัน

เนอื้ หา

1. ความหมายของ “ละเมิด”

ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช “ละเมิดคือการกระทาหรือละเว้นอันเป็นผิดต่อหน้าที่ตาม
กฎหมายซง่ึ มิได้เกดิ จากสัญญาหรือจากความรับผิดชอบตามหลัก Equity โดยเฉพาะ และการกระทาหรือละ
เว้นนั้นล่วงละเมดิ สทิ ธิของผู้ใดผูห้ นึ่ง โดยปราศจากข้อยกเว้นเป็นเหตใุ หเ้ ขาได้รับความเสียหายซึง่ กฎหมาย
ยอมใหฟ้ อ้ งรอ้ งกนั ไดใ้ นทางแพง่ ”

ศาสตราจารย์ ดร.จิ๊ด เศรษฐบุตร “ละเมิดเป็นกรณีที่มีการกระทาอันทาให้เกิดความเสียหายแก่
เอกชน เป็นเหตุให้ผู้กระทาถูกบังคับให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้นอกขอบเขตการ
กระทาทีเ่ นือ่ งมาจากการไม่ปฏิบตั ิตามหนใ้ี นสัญญา”1

จากคานิยามต่าง ๆ ซึ่งนักกฎหมายได้ให้ไว้ อาจสรุปได้ว่า “ละเมิด” คือ พันธะหน้าที่ที่กฎหมาย
กาหนดให้บุคคลมีหนีอ้ ันเป็นการกอ่ ให้เกิดหนี้ทางกฎหมาย (Obligation legal) โดยมีความเสียหายอนั เกิด
จากการกระทาโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อซึ่งเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ตามที่บัญญั ติไว้ใน
ประมวลกฎหมายแพง่ พาณิชย์ มาตรา 420

1 จิ๊ด เศรษฐบุตร, หลักกฎหมายแพ่งลักษณะละเมิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : โครงการตาราและเอกสารประกอบการสอน
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์. 2549. หน้า 19

บ ท ท่ี 2 ล ะ เ มิ ด : ข้ อ ค ว า ม ทั่ ว ไ ป | 15

2. ละเมดิ เป็นบ่อเกิดแหง่ หนี้

ละเมิดเป็น “บ่อเกิดแห่งหนี้” (Obligation) โดยละเมิดเป็นนิติเหตุซึ่งมีผลให้เกิดสิทธิและหน้าที่
ผูกพันกันตามกฎหมาย อันเป็นความรับผิดทางแพ่งประเภทหนึ่ง ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า “การประทุษร้ายทาง
แพ่ง” จนกระทั่งมีการใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเรียกว่า “ละเมิด” ซึ่งความรับผิดทางแพ่ง
หรือ หน้ี (Obligation) มบี ่อเกิดอยู่ 2 ประการ คือ หนีโ้ ดยนิติกรรม และหนีโ้ ดยนิตเิ หตุ2

2.1 หนี้โดยนิตกิ รรม เกิดได้โดย “นิติกรรม” และ “นติ ิเหตุ” ซึ่งหนี้ในทางนิตกิ รรมเกิดจากการกระทา
อันชอบด้วยกฎหมาย ด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธข์ ึ้นระหวา่ งบุคคล เพื่อก่อ เปลี่ยนแปลง
โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ ซึ่งได้แก่นิติกรรมฝ่ายเดียวและนิติกรรมสองฝ่าย ได้แก่ สัญญาซื้อขาย
แลกเปลย่ี น ให้ สญั ญากู้ยมื เงนิ ยืมทรัพย์ ฝากทรัพย์ สญั ญาจา้ งแรงงาน สญั ญาจา้ งทาของ ฯลฯ

เช่น กรณีเจ้าหนี้ กับลูกหนี้ ลูกหนี้จะสามารถหลุดพ้นจากการเป็นลูกหนี้ โดยการชาระหนี้ ซึ่งจะ
ชาระหนอ้ี ย่างไรนน้ั จะตอ้ งเป็นไปตามท่ีได้ทาสัญญาไว้3 ตวั อยา่ ง นายณเดชไดย้ ืมเงนิ นางสาวญาญ่าจานวน
3,000 บาท และทาสัญญาการกู้ยืมไว้เป็นหลักฐานไว้อย่างถูกต้องและการที่นายณเดชจะหลุดจากการเป็น
ลูกหน้ีของนางสาวญาญา่ ได้จะต้องปฏิบัติตามที่ได้ตกลงไว้ในสัญญา

2.2 หนี้โดยนิติเหตุ เป็นหนี้ซึ่งเกิดจากผลของกฎหมายที่บังคับไว้ผู้กระทาไม่ได้สมัครใจก่อให้เกิด
นิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เมื่อมีการกระทาละเมิดเกิดขึ้นผู้เสียหายเกิดสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
และกฎหมายสามารถเอาผดิ ได้ในเร่ืองของการกระทาดงั กล่าว โดยตอ้ งชดใช้เปน็ ค่าตอบแทนหรือค่าสินไหม
ทดแทนเพื่อการกระทาละเมิดของตน4 ได้แก่ ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ ครอบครัว ดังน้ัน
ละเมดิ จงึ เป็นบ่อเกิดแห่งหน้ี 1 ใน 4 ประการ ดังทีบ่ ญั ญตั ิไว้ใน ประมวลกฎหมายแพง่ และพาณิชย์ บรรพ 2
วา่ ด้วยหนี้ ซ่งึ มี สญั ญา จัดการงานนอกสัง่ ลาภมิควรได้ และละเมิด โดยทั่วไปเมือ่ จะกล่าวถึงบ่อเกิดแห่งหน้ี
มกั เรียกกนั ว่า มูลแหง่ หน้ี หรือมูลหนี้ เชน่ มลู หนลี้ ะเมิด มูลหน้สี ัญญา เปน็ ต้น5

2 สุมาลี วงษ์วิทิต, กฎหมายแพ่งพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย
รามคาแหง. 2554. หน้า 4.
3 พิรยิ ะ จันทรค์ ง. 2559. หน้ี และบ่อเกดิ ของหน้ี. (ออนไลน)์ . แหล่งทม่ี า http://killerlaw.blogspot.com. 30 มิถุนายน 2559.
4 เพ็ง เพ็งนิติ, คาอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวเนื่อง
(แกไ้ ขเพม่ิ เตมิ ). พมิ พ์คร้ัง 2. กรุงเทพมหานคร : สานกั พิมพน์ ติ บิ รรณาการ. 2545. หนา้ 1.
5 ศกั ดิ์ สนองชาติ, คาอธิบายโดยยอ่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชยว์ า่ ด้วยละเมิดและความรับผดิ ทางละเมิดตามพระราชบัญญัติความรับผิด
ทางละเมดิ ของเจ้าหนา้ ที่ พ.ศ. 2539. พิมพค์ รัง้ 5. กรุงเทพมหานคร : หจก.ศริ ิบรรจุภัณฑ์ สเตชั่นนาร่ี. 2544. หนา้ 2.

บ ท ท่ี 2 ล ะ เ มิ ด : ข้ อ ค ว า ม ท่ั ว ไ ป | 16

2.2.1 หนีต้ ามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์

1) ละเมิด คือ การที่บุคคลหนึ่งกระทาโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความ

เสียหายแก่สิทธิเด็ดขาด เช่น นายเอเอาก้อนหินขว้างศีรษะนายบี การกระทาของนายเอถือเป็น “การ

ละเมดิ ”

2) การจัดการงานนอกสั่ง คือ การที่บุคคลได้กระทาการเหนือจากงานที่ได้รับ

มอบหมาย เป็นการกระทาฝ่ายเดียวซึ่งกฎหมายกาหนดกรอบให้มีผลผูกพันประดุจดังมีการตกลงกันของ

คู่กรณีทั้งสองฝ่าย6 เช่น นายมายเห็นรถของนายโม จะถูกน้าท่วมเพราะมีน้าป่าไหลหลากมาจากภาคเหนือ

อย่างรวดเร็วจงึ จัดการจ้างรถยกมายกรถของนายโมไปไวใ้ นสถานทท่ี ่ีปลอดภัยได้ทันเวลาทาใหร้ ถของนายโม

ไมไ่ ด้รับความเสียหาย หากนายมายไม่จดั การ รถจะถกู น้าทว่ มเสยี หายทั้งคนั ดงั น้ันการกระทาของนายมาย

เป็น “การจัดการงานนอกสัง่ ”

3) ลาภมิควรได้ คือ การที่ได้รับทรัพย์สินของคนอื่น เพราะการที่เขากระทาเพื่อชาระ

หน้ี หรือได้มาเพราะเหตุอยา่ งใดอยา่ งหนึง่ โดยไมม่ ีกฎหมายรองรบั และเปน็ ทางใหค้ นอน่ื เสียเปรียบ จะต้อง

นาทรัพย์สินนั้นคืนหรือจ่ายคา่ ตอบแทน เช่น การท่ีนายคิมได้ซอ่ มหลังคาบ้านให้นายตะวันตอนท่ีนายตะวัน

เดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ นายตะวันต้องจ่ายเงินให้นายคิมเป็นค่าตอบแทนแม้ว่านายตะวันจะไม่ได้เป็น

ผู้ออกคาส่ังให้นายคิมซอ่ มหลังคาก็ตาม

4) ครอบครัว คือ หนี้อันเกี่ยวกับสถานะของบุคคล เช่น การเป็นสามีภริยา การเป็น

บดิ ามารดาและบตุ ร

2.2.2 หนี้ตามกฎหมายอื่น เช่น หนี้ค่าภาษีอากรตามประมวลกฎหมายรัษฎากร หนี้ตาม

กฎหมายแรงงาน เป็นต้น7

บ่อเกิดแหง่ หน้ี

นติ กิ รรม นิตเิ หตุ

สัญญาซอ้ื ขาย แลกเปลยี่ น ให้ สัญญาเช่า ละเมดิ

สัญญากยู้ ืมเงิน ยืมทรพั ย์ ฝากทรพั ย์ รับขน จดั การงานนอกสงั่

สญั ญาจา้ งแรงงาน สัญญาจา้ งทาของ ลาภมคิ วรได้

สญั ญาค้าประกัน จานา จานอง ครอบครัว

สัญญาอนุญาตให้ใช้สทิ ธิ ภาษีอากร ศุลกากร

6 สุษม ศุภนติ ย์. 2555. คาอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณชิ ย์ลกั ษณะจัดการงานนอกสงั่ และลาภมิควรได.้ กรงุ เทมหานคร : จฬุ าลงกรณ์
มหาวทิ ยาลัย. 2555. หน้า 15.
7 สุมาลี วงษว์ ทิ ิต, กฎหมายแพง่ พาณิชยว์ า่ ด้วยละเมิด จัดการงานนอกสง่ั ลาภมคิ วรได.้ หนา้ 14.

บ ท ท่ี 2 ล ะ เ มิ ด : ข้ อ ค ว า ม ท่ั ว ไ ป | 17

3. ความแตกตา่ งระหว่างความรับผดิ ทางละเมดิ กับความรับผดิ ทางอาญา

ความรับผิดทางละเมิดนั้นเป็นความรับผิดทางแพ่งอันเป็นความรับผิดตามกฎหมายเอกชน
มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ของเอกชนที่ได้รับความเสียหายเพื่อให้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
ส่วนความรับผิดทางอาญาเป็นความรับผิดตามกฎหมายอาญาซึ่งบัญญัติขึ้นโดยมีเจตนารมณ์ที่จะคุ้มครอง
ป้องกันความปลอดภัยในสังคมมนุษย์และการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ส่วนการกระทาอันเป็นความรับผิด
ทางอาญาส่วนหนึ่งจึงมักจะเป็นความรับผิดทางละเมิดด้วย เพราะการทาผิดอาญานั้นนอกจากจะ
กระทบกระเทือนต่อชุมชนแล้ว ยังอาจก่อความเสียหายต่อเอกชนเป็นการส่วนตัวด้วยได้8 แต่เนื่องจาก
ประเภทของความรับผิดเป็นคนละเรื่องกัน ความรับผิดทางละเมิดและความรับผิดทางอาญา จึงมีข้อ
แตกต่างทสี่ าคญั ดังนี้

3.1 กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายมหาชน มีวัตถุประสงค์คุ้มครองป้องกันความปลอดภัย
ของมวลมนษุ ย์ สว่ นละเมดิ เป็นกฎหมายเอกชน ป้องกนั สิทธิของเอกชนท่ีมีต่อกัน

3.2 ความรับผดิ ทางอาญาต้องมีกฎหมายบญั ญัติไว้โดยชัดแจง้ แต่ละเมิดไม่จาต้องมีกฎหมายกาหนดไว้
โดยเฉพาะเจาะจง เพราะผลของความรบั ผิดแตกตา่ งกัน เนอ่ื งจากความผิดทางอาญาเปน็ เรอ่ื งท่ีรัฐมุ่งลงโทษ
ผู้กระทาผิดซึ่งถือวา่ รุนแรงกว่าความผิดทางแพ่งบางครั้งถงึ กับประหารชีวิต จึงมีหลักการออกกฎหมายทาง
อาญาว่า รัฐเป็นผู้กาหนดไว้โดยชัดเจนว่าการกระทาใดบ้างที่ต้องห้าม ถ้าฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษ หากมิได้
กาหนดว่าอะไรเป็นความผิดจะลงโทษไม่ได้ ดังสุภาษิตกฎหมายทั่วไปที่ว่า “ไม่มีกฎหมายย่อมไม่มีโทษ”
(Nulla poena sine lege) ดังที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคแรก บัญญัติว่า “บุคคลจักต้องรับ
โทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทาการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทานั้นบัญญัติเป็นความผิดและกาหนด
โทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทาความผดิ น้ันต้องเป็นโทษที่บัญญัติไวใ้ นกฎหมาย” สว่ นละเมิดไม่จาต้องมี
กฎหมายกาหนดไว้โดยชัดแจ้งว่าอะไรเป็นละเมิด เพียงแต่มีการล่วงสิทธิผิดหน้าที่ทาให้เขาเสียหายก็เป็น
ละเมิดแลว้

3.3 โทษในทางอาญามุง่ ในทางปอ้ งกันและปราบปราม ส่วนละเมดิ มุ่งในทางเยียวยาให้ผเู้ สียหายกลับคืน
สภาพเดิม

3.4 ความผิดทางอาญาถือว่าเสียหายต่อรัฐ โดยหลักจึงให้พนักงานอัยการเป็นผู้ฟ้องร้องแทนรัฐ
แตล่ ะเมดิ ผู้ไดร้ ับความเสียหายเปน็ ผูฟ้ ้องเองโดยตรง

3.5 การตีความกฎหมายทางอาญาเคร่งครัดกว่าทางแพ่งมาก เนื่องจากในทางแพ่งศาลสามารถตีความ
โดยใช้มาตรา 4 ในเร่ืองนาจารีตประเพณี กฎหมายใกล้เคยี ง หรือหลักกฎหมายท่ัวไป มาใชบ้ ังคับได้

8 สมุ าลี วงษว์ ทิ ติ , กฎหมายแพ่งพาณิชยว์ า่ ด้วยละเมิด จดั การงานนอกส่ัง ลาภมคิ วรได.้ หน้า 23.

บ ท ท่ี 2 ล ะ เ มิ ด : ข้ อ ค ว า ม ทั่ ว ไ ป | 18

3.6 ความผิดทางอาญาหลักใหญ่คานึงถึงเจตนา แต่ละเมิดไม่ได้ถึงกับมีเจตนาแบบทางอาญา เพียงแต่
กระทาโดยจงใจหรอื ประมาทเลินเล่อเท่านนั้

3.7 ความผิดทางอาญามุ่งลงโทษผู้กระทาผิด หากผู้กระทาผิดตายลงสิทธินาคดีอาญามาฟ้องก็ระงับ
แตล่ ะเมดิ ทายาทยงั ต้องรับผิดอยู่

การกระทาในครั้งเดียวกันอาจเป็นความผิดทั้งทางอาญาและละเมิดได้ เช่น การกระทาความผิด
เกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เป็นต้น กล่าวคือการกระทาที่เป็นการทา
ร้ายร่างกาย นอกจากจะถูกลงโทษทางอาญาฐานทาร้ายร่างกายแล้ว ผู้กระทายังต้องรับผิดทางแพ่งฐาน
ละเมดิ ต้องชดใชค้ ่าสนิ ไหมทดแทนด้วย เช่น นาย ก. ใชป้ ืนยิง นาย ข. ตาย เป็นความผิดอาญาฐานฆ่าผู้อื่น
โดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ขณะเดียวกันก็เป็นความผิดทางแพ่งฐานละเมิด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ด้วย

แตบ่ างครัง้ การกระทาผิดอาจผิดทางอาญาแต่ไม่เปน็ ละเมิด เช่น ยิงปืนเพื่อฆา่ ผู้อื่นแต่กระสุนปืนไม่
ถูกผู้เสยี หายเปน็ ความผดิ ฐานพยายามฆ่า แต่ไม่เป็นละเมิด เพราะยังไมเ่ กิดความเสยี หาย หรอื กรณที ี่นาย ก.
ขับรถด้วยความเร็วสูงฝ่าสัญญาณไฟแดง แต่ไม่ทาให้ผู้ใดไดร้ ับความเสียหาย เป็นการกระทาความผดิ อาญา
ตามพระราชบัญญตั ิจราจรทางบก พ.ศ. 2522 แตไ่ มเ่ ปน็ ละเมดิ เพราะไมม่ ีความเสยี หายแก่ผู้อ่ืน

ในบางครั้งต้องรับผิดฐานละเมิดแต่ไม่ผิดทางอาญา เช่น นาย ก. ประมาทเลินเล่อทาให้แจกันของ
นาย ข. แตก เป็นการกระทาละเมิดตามมาตรา 420 แต่ไม่เป็นความผิดอาญา เพราะความผิดตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 358 ฐานทาให้เสียทรัพย์ของผู้อื่นนั้นต้องมีเจตนากระทาผิดด้วย ตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 59

4. ความแตกตา่ งระหวา่ งละเมดิ กบั สัญญา

4.1 ละเมิดเกดิ หน้โี ดยผลของกฎหมายแตส่ ัญญาเกดิ หนจ้ี ากข้อตกลง
กล่าวคือ สัญญาเป็น “นิติกรรม” ที่เป็นข้อตกลงระหว่างบุคคลที่จะกระทา หรืองดเว้นการกระทา

ซงึ่ ชอบด้วยกฎหมายโดยท้งั สองฝา่ ยมสี ทิ ธิและหนา้ ท่ตี ่อกันและกนั ทจี่ ะบังคบั ให้ชาระหนีต้ ามขอ้ ตกลง
ส่วนละเมดิ แม้จะเปน็ บ่อเกิดแหง่ หน้ี แตเ่ ป็นเร่ืองทก่ี ฎหมายบังคบั ใหผ้ ทู้ าละเมิดต้องชดใชค้ า่ สินไหม

ทดแทนแก่ผเู้ สียหายไม่ได้เกิดจากขอ้ ตกลงระหว่างบุคคล จึงเรียกวา่ “นิตเิ หต”ุ

บ ท ที่ 2 ล ะ เ มิ ด : ข้ อ ค ว า ม ทั่ ว ไ ป | 19

4.2 ละเมิดเป็นหน้าที่ที่ต้องไม่ล่วงสิทธิต่อบุคคลทั่วไปส่วนสัญญาโดยหลักแล้วเป็นหน้าที่ที่ทั้งสอง
ฝา่ ยจะต้องปฏบิ ัตติ อ่ กนั โดยเฉพาะ

กล่าวคือ คู่สัญญามีหน้าที่ปฏิบัติต่อกัน เมื่อปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนแล้ว สิทธิและหน้าที่ตาม
สัญญาก็สิ้นสุดลง แต่หากมีการผิดสัญญา นอกจากคู่สัญญาจะถูกบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาแล้ว อาจถูก
เรียกค่าเสียหายได้ด้วย เป็นการบังคับใช้ในระหว่างคู่สัญญาเท่านั้น แต่ก็มีข้อยกเว้นในเรื่องสัญญาเพื่อ
ประโยชนบ์ ุคคลภายนอกตามมาตรา 374 ซง่ึ บคุ คลภายนอกตามท่ีระบุไว้ในสัญญาอาจเข้ารับเอาประโยชน์
ตามสัญญาน้นั ได้ และการโฆษณาให้คามั่นว่าจะใหร้ างวัลแก่บุคคลทัว่ ไปตามมาตรา 362

ส่วนละเมิดเป็นเรื่องที่กฎหมายบังคับว่าบุคคลจะต้องไม่ล่วงสิทธิผิดหน้าที่ต่อบุคคลทั่วไป
จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่เขา มิฉะนั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ผู้ทาละเมิดจึงมีหน้าที่ต้องชดใช้
ค่าสินไหมทดแทนอยา่ งเดียว เวน้ แตจ่ ะมกี ารทานติ กิ รรมสญั ญาเป็นอย่างอื่นในภายหลงั

4.3 ละเมิดเป็นบ่อเกิดแห่งหน้ี ส่วนความรบั ผิดตามสัญญาเป็นผลแห่งหน้ี
กล่าวคือ ก่อนมีการละเมิดยังไม่มีหนี้เกิดขึ้นในระหว่างผู้ทาละเมดิ กับผู้เสียหาย ไม่มีนิติสัมพันธ์ตอ่

กัน ต่อเมื่อมีการทาละเมิดจึงเกิดมีหนี้ที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เรียกได้ว่าความรับผิดทางละเมิดเป็นบ่อ
เกิดแห่งหนี้

ส่วนสัญญาจะต้องมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน คือหนี้ซึ่งผูกมัดผู้หนึ่งเรียกว่า “ลูกหนี้” ให้ชาระหนี้แก่อีกผู้
หนง่ึ เรียกว่า “เจ้าหน”้ี หากลูกหนไี้ ม่ยอมชาระหน้กี ็ตอ้ งรบั ผิดตามสญั ญาเรียกวา่ “เป็นผลแห่งหน”ี้

4.4 แตกต่างในเรื่องความสามารถของบุคคล
กล่าวคือ การทาสัญญาคู่สัญญาจะต้องมีความสามารถในการทานิติกรรม ดังนั้นผู้เยาว์

ผู้ไรค้ วามสามารถ ผู้เสมือนไร้ความสามารถ หรือผ้ถู ูกพทิ ักษท์ รพั ย์ในคดลี ม้ ละลาย ทานติ กิ รรมบางอยา่ งอาจ
ทาให้สัญญาตกเปน็ โมฆียะ โมฆะ หรอื ไมม่ ีผลผกู พันได้แตบ่ ุคคลเหล่าน้ยี งั มีความรบั ผิดในเร่ืองละเมิดอยู่

4.5 ตา่ งกนั ในเรือ่ งหน้าท่นี าสืบ
กล่าวคือ ในคดีละเมิดถือหลัก “ผู้ใดกล่าวอ้างผู้นั้นนาสืบ” แปลว่า ผู้เสียหายต้องพิสูจน์ว่าผู้ทา

ละเมิดได้กระทาโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อให้เขาเสียหายโดยผิดกฎหมายจึงบังคับให้เขาใช้ค่าสินไหม
ทดแทนได้ ดงั นนั้ โจทกจ์ ึงมหี นา้ ทนี่ าสบื

ส่วนสัญญาเม่ือฟังไดว้ า่ ลูกหน้ีมีพันธะต่อเจ้าหน้ีตามสัญญาแลว้ ลกู หนีต้ อ้ งพิสูจน์ว่าได้ชาระหน้ีหรือ
ปฏิบัตติ ามสญั ญาครบถ้วนแลว้ แปลวา่ เม่ือมกี ารผดิ สญั ญาเกดิ ขนึ้ เปน็ หนา้ ที่ของลูกหน้ี หรือ ผู้ที่ถูกฟ้อง ที่
ต้องนาสบื ว่าตนไม่ไดเ้ ป็นฝา่ ยผดิ สญั ญา

บ ท ที่ 2 ล ะ เ มิ ด : ข้ อ ค ว า ม ทั่ ว ไ ป | 20

4.6 ข้อจากัดในเรื่องค่าเสียหาย
กล่าวคือ สัญญาบางประเภท เช่น สัญญารับขนของตามมาตรา 610 ผู้ขนส่งมีข้อจากดั ความรับผดิ

ในค่าเสียหายของเงนิ ตราหรือของมคี า่ อนื่ ๆ ท่ีรบั ขน ตามมาตรา 620
แต่ถ้าผู้ส่งฟ้องให้รับผิดฐานละเมิดแล้ว ผู้ขนส่งต้องรับผิดเต็มจานวนความเสยี หาย เช่น ผู้ขนส่งรบั

ขนของมีค่าแต่ทาประมาทเลินเล่อให้ของมีค่านั้นแตกเสียหาย หากผู้ส่งฟ้องฐานละเมิดผู้ขนส่งต้องรับผิด
เต็มราคาแม้ผสู้ ง่ จะไม่ไดบ้ อกราคาหรือสภาพแห่งของนน้ั ไว้กต็ าม

4.7 การผดิ นดั
กลา่ วคอื ในเรื่องสัญญาหากไม่ได้กาหนดเวลาชาระหนี้ตามวันแห่งปฏทิ ินเม่ือหนี้นนั้ ถงึ กาหนดชาระ

แล้ว เจ้าหนตี้ ้องทวงถามกอ่ น หากไมช่ าระลกู หน้จี งึ จะได้ชือ่ ว่าผดิ นัดตามมาตรา 204
แต่เรื่องละเมิด ลูกหนี้ไดช้ ่ือว่าผิดนัดมาแต่เวลาทาละเมดิ ตามมาตรา 206

4.8 อายคุ วาม
กลา่ วคอื มาตรา 193/30 มาตรา 193/33 และมาตรา 193./34 ซึ่งมีตั้งแต่ 10 ปี 5 ปี 2 ปี ซ่งึ เรอ่ื ง

อายคุ วามนี้ เม่ือเปน็ คุณกับฝา่ ยหนึ่งย่อมเป็นโทษกบั อกี ฝา่ ยหน่งึ อายุความยาวเป็นคุณกับฝ่ายผู้เสียหาย แต่
เปน็ โทษแกผ่ ทู้ ่ีกอ่ ความเสยี หายกรณสี ญั ญา 10 ปี

แต่เร่อื งละเมดิ อายคุ วาม 1 ปี และ 10 ปี สาหรบั กรณีที่หาตัวผู้กระทาละเมิดไมไ่ ด้จริง ๆ ซ่ึงเปน็
ส่วนนอ้ ย

5. กรณที เี่ ป็นทงั้ ละเมิดและผิดสญั ญา

ทั้ง “ละเมิด” และ “สัญญา” บัญญัติอยู่ในแระมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 เรื่องหนี้
เช่นเดียวกัน โดยจุดที่เหมือนกันคือความเสียหาย การผิดสัญญาและการกระทาละเมิดนั้นก่อให้เกิดความ
เสียหายเช่นเดียวกัน โดยความเสียหายในเรื่องละเมิดนั้นถือว่าเป็นความเสียหายต่อสิทธิตามกฎหมาย ซ่ึง
ได้แก่สิทธิในชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ อนามัย ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งเป็นสิทธิขาด
(Absolute Right) มีบางกรณีที่คู่สัญญาอาจมีการกระทาที่เป็นการผิดสัญญาและเปน็ ละเมิดในขณะเป็นทงั้
ละเมิดและผิดสัญญา กรณีดังกล่าวข้างต้นเป็นข้อแตกต่างในระหว่างละเมิดกับสัญญา แต่มีบางกรณีท่ี
คสู่ ัญญาอาจมกี ารกระทาท่ีเป็นการผิดสญั ญาและเป็นละเมิดในขณะเดียวกนั 9

9 เพ็ง เพ็งนิติ, คาอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวเนื่อง
(แกไ้ ขเพ่มิ เตมิ ). หน้า 2-4.

บ ท ท่ี 2 ล ะ เ มิ ด : ข้ อ ค ว า ม ทั่ ว ไ ป | 21

คาพิพากษาศาลฎีกาที่ 3814/2525 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจาเลยที่ 1 รับขนส่งโจทก์ผู้โดยสาร
จาเลยที่ 2 ซง่ึ เป็นลกู จา้ งจาเลยที่ 1 ยกสิง่ ของของโจทก์ให้แก่ผู้โดยสารอน่ื ไปโดยปราศจากความระมัดระวัง
ทาให้โจทก์เสียหาย เมื่อการกระทาของจาเลยเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ด้วย จาเลยจึงอาจต้องรบั ผิดท้ัง
ในด้านสัญญาและละเมิดพร้อม ๆ กัน ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะฟ้องอย่างไรก็ได้ดังน้ัน การที่โจทก์ฟ้องให้จาเลยรบั
ผดิ ในมลู ละเมิดจึงไมข่ ัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย

กล่าวโดยสรุปคือกรณีที่เป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญาการฟ้องคดีศาลให้เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้อง
คดีโดยที่โจทก์ไม่ต้องระบุว่าเป็นความรับผดิ ในทางละเมดิ หรือสัญญา เพียงแต่บรรยายข้อเทจ็ จริงมาให้ศาล
เปน็ ผู้ปรับใช้กฎหมายโดยคานึงถึงความยุติธรรม

บ ท ที่ 2 ล ะ เ มิ ด : ข้ อ ค ว า ม ท่ั ว ไ ป | 22

กิจกรรมประเมินตนเองหลังเรยี น คร้งั ท่ี 2
วัตถปุ ระสงค์ เพื่อประเมนิ ความก้าวหน้าในการเรียนรขู้ องนกั ศกึ ษาเร่อื ง “ละเมิด : ขอ้ ความท่ัวไป”
คาแนะนา อ่านคาถามต่อไปน้ี แล้วเขียนคาตอบลงในช่องว่างที่กาหนดให้ นกั ศกึ ษามเี วลาทากิจกรรม

ประเมนิ ตนเองหลงั เรยี น 30 นาที
1. จงอธิบายความหมายของ “ละเมิด” ในมมุ มองของนักศกึ ษา

2. จงอธบิ ายถึงบ่อเกดิ แห่งหนใี้ นภาพรวม

บ ท ท่ี 2 ล ะ เ มิ ด : ข้ อ ค ว า ม ท่ั ว ไ ป | 23
3. จงสรปุ ความแตกตา่ งระหว่างความรบั ผิดทางละเมิดกับความรับผดิ ทางอาญา

4. จงสรปุ ความแตกต่างระหว่างละเมิดกบั สญั ญา

บ ท ท่ี 2 ล ะ เ มิ ด : ข้ อ ค ว า ม ท่ั ว ไ ป | 24
5. กรณที ี่เปน็ ทั้งละเมิดและผดิ สญั ญาการฟอ้ งคดตี ่อศาลต้องระบอุ ย่างไร

บ ท ที่ 2 ล ะ เ มิ ด : ข้ อ ค ว า ม ทั่ ว ไ ป | 25

เอกสารอ้างองิ

จิ๊ด เศรษฐบุตร, หลักกฎหมายแพ่งลักษณะละเมิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : โครงการตาราและ
เอกสารประกอบการสอน คณะนติ ิศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร.์ 2549.

ดิเรก บวรสกุลเจริญ, กฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ จัดการงานนอกคาสั่ง และ ลาภมิควรได้.
พิมพค์ รั้งที่ 1. กรงุ เทพมหานคร วิญญูชน. 2560.

ภัทรศักด์ิ วรรณแสง, คาอธบิ ายกฎหมายละเมดิ . พมิ พ์ครง้ั ท่ี 11. กรงุ เทพมหานคร : วิญญชู น. 2564

พิริยะ จันทร์คง. หนี้ และบ่อเกิดของหนี้. (ออนไลน์). 2559. แหล่งที่มา http://killerlaw.blogspot.com.
30 มิถนุ ายน 2559

เพ็ง เพ็งนิติ, คาอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด ความรับผิดทางละเมิดของ
เจา้ หน้าที่และกฎหมายอืน่ ทเี่ ก่ียวเนื่อง (แก้ไขเพมิ่ เตมิ ). พมิ พค์ รงั้ 2. กรงุ เทพมหานคร : สานักพิมพ์
นิตบิ รรณาการ. 2545.

ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธ์ุ, คาอธิบายกฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรงุ เทพมหานคร : วิญญชู น. 2552.

ศักดิ์ สนองชาติ, คาอธิบายโดยย่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิดและความรับผิดทาง
ละเมิดตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539. พิมพ์ครั้ง 5.
กรุงเทพมหานคร : หจก.ศิริบรรจุภณั ฑ์ สเตช่ันนารี.่ 2544.

สุมาลี วงษ์วิทิต, กฎหมายแพ่งพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้. พิมพ์ครั้งที่ 8.
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคาแหง. 2554.

สุษม ศุภนิตย์. 2555. คาอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะจัดการงานนอกสั่งและ
ลาภมคิ วรได้. กรงุ เทมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2555.


Click to View FlipBook Version