The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คำศัพท์ที่สำคัญเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีพหุวัฒนธรรมการศึกษา (2)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ta_nit2002, 2022-07-08 10:46:32

คำศัพท์ที่สำคัญเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีพหุวัฒนธรรมการศึกษา (2)

คำศัพท์ที่สำคัญเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีพหุวัฒนธรรมการศึกษา (2)

คำศัพท์

สำคัญเกี่ยวกับแนวคิดและ
ทฤษฎีพหุวัฒนธรรมการศึกษา

โดย ฐนิต กระบวนสง่า

MULTICULTURAL
EDUCATION

วัฒนธรรม (Culture) ทุกสิ่งทุกอย่างที่ มนุษย์ได้ผลิตสร้างขึ้น และเป็นที่ยอมรับร่วม
กันในสังคมในการที่จะนํามาใช้เป็นแบบแผนของการดําเนินชีวิต หรือเป็นแบบแผน

พฤติกรรม เพื่อความสะดวกสบาย ความเป็นระเบียบ เรียบร้อยในการอยู่ร่วมกัน เพื่อ
ความเจริญรุ่งเรืองและ เพื่อความมั่นคงของสังคม

ที่มา: http://www.udru.ac.th/oldsite/attachments/elearning/02/10.pdf



พหุวัฒนธรรมนิยม (Multiculturalism) การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสังคม การเมือง
เศรษฐกิจ การศึกษา และประวัติศาสตร์ โดยใช้โครงสร้างของกลุ่มชน (Ethnicity) เชื้อ
ชาติ(Race) สถานะของครอบครัว (Socioeconomic status) เพศ (Gender) ความสามารถ
พิเศษ (Exceptionalities) 2 ภาษา (Language) ศาสนา (Religion) บทบาททางเพศ (Sexual

orientation) และพื้นที่ทาง ภูมิศาสตร์(Geographical area)



ที่มา: http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/20130403161459.pdf



ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Cultural diversity) บริบทของสังคมแต่ละแห่งมีความ
แตกต่างกัน ทำให้เกิดวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม ดังนั้น บุคคล
ภายนอกต้องเรียนรู้และเข้าใจบริบทของสังคม รวมถึงการชื่นชมความแตกต่างทางวัฒนธรรม

อื่นๆด้วย



ที่มา: https://open.lib.umn.edu/sociology/chapter/3-3-cultural-diversity/

อนุรักษนิยม (Conservatism) ปรัชญาทางการเมืองที่ส่งเสริมสถาบันทางสังคม ที่มี
มาแต่เดิมในบริบทวัฒนธรรมและอารยธรรม แก่นศูนย์กลางของอนุรักษนิยมประกอบ
ด้วยประเพณี สังคมสิ่งมีชีวิต (organic society) ลำดับชั้น อำนาจและกรรมสิทธิ์ใน

ทรัพย์สิน

ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/อนุรักษ์นิยม

เสรีนิยม (Liberalism) ปรัชญา ทางการเมืองและศีลธรรม ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิทธิส่วน
บุคคลเสรีภาพ ความยินยอมของผู้ถูกปกครองและความเท่าเทียมกันต่อหน้ากฎหมาย

ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Liberalism

หลังสมัยใหม่นิยม (Postmodernism) เป็นกระแสที่แสดงถึงปฏิกิริยาที่ตอบรับกับการ
เปลี่ยนแปลงของการเติบโต ของเศรษฐกิจและสังคม การถูกครอบงำด้วยสื่อและเทคโนโลยี ที่

ทำให้การถ่ายเทข่าวสารข้อมูล อิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรม กลายเป็นเรื่องล้าสมัย



ที่มา: https://open.lib.umn.edu/sociology/chapter/3-3-cultural-diversity/





อุดมการณ์ (Ideology) เป็นศาสตร์แห่งความคิด มีความหมายถึง ความสำคัญของการอ้าง
ถึงความจริงที่ว่า อุดมการณ์เกิดขึ้นหลังจากโครงสร้างของรัฐใหม่ อุดมการณ์ เป็นทัศนะที่
เป็นทางเลือกเพื่อจัดตั้งคุณค่าตามจารีตประเพณี เช่นเดียวกับเรื่องศาสนา ซึ่งตั้งอยู่บน พื้น
ฐานทางความคิดที่มีเหตุผล ค่อนไปทางความคิดเชิงจิตวิญญาณของความดีและความชั่ว

ที่มา: พชรวัฒน์ เส้นทอง (2562). อุดมการณ์ทางการเมือง : อุดมการณ์ทางการเมืองไทย.วารสารบัณฑิตศึกษา มหา
วิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์,13(3),57. สืบค้นจาก https://so02.tci-
thaijo.org/index.php/JournalGradVRU/article/view/161357

การกลืนกลาย (Assimilation) ปรากฏการณ์ที่วัฒนธรรมที่ แตกต่างกันสอง วัฒนธรรม
มาพบและสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอในระยะเวลาอันยาวนานและต่อเนื่องและได้มีการหยิบ
ยืมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันใช้ในที่สุดต่างฝ่ายต่างรับเอาวัฒนธรรมของอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็น
ของตนอย่างแยกไม่ออก จนเกิดเป็นวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมาซึ่งไม่มีร่องรอยของวัฒนธรรมเดิม

หลงเหลืออยู่เลย

ที่มา: https://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2553/regio1053wc_ch2.pdf

วาทกรรม (Discourse) เป็นเรื่องที่มากกว่าการเขียน และการพูด ยังรวมถึงระบบและ
กระบวนการในการสร้าง การผลิต(Constitute) เอกลักษณ์(Identity) และความ

หมาย(Significant) ให้กับสรรพสิ่งในสังคมที่อยู่รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นอำนาจ ความรู้ ความ
จริง หรือแม้กระทั่งตัวตนของเรา และนอกจากวาทกรรมจะทำหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ยังทำหน้าที่

ในการยึดตรึง สิ่งที่สร้างขึ้นให้ดำรงอยู่และเป็นที่ยอมรับของสังคมต่อไป

ที่มา: ธนชาติ แสงประดับ ธรรมโชติ(2010). วาทกรรมการเมือง (Discourse)
.สืบค้น 7 กรกฎาคม 2565, จาก https://prachatai.com/journal/2010/12/32341




กระบวนทัศน์ (Paradigm) มุมมองเฉพาะที่มองไปยังปัญหาหรือประเด็นที่สนใจประเด็นใด
ประเด็นหนึ่ง ซึ่งเป็นมุมมองที่เกิดจากชุดข้อมูลเดียวกัน แต่ผู้มองอาจมองเห็นภาพหรือให้คำ

อธิบายกับชุดข้อมูลนั้นแตกต่างกัน ด้วยการใช้เหตุผลสนับสนุนที่แตกต่างกัน

ที่มา: เรวัต ตันตยานนท์ (2559). กระบวนทัศน์เทคโนโลยี
.สืบค้น 7 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/112185

ความเท่าเทียม (Equality) เป็นมุมมองที่ถือว่าบุคคลทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
กัน โดยไม่ได้พิจารณาหรือคำนึงถึงข้อแตกต่างของแต่ละบุคคลเลย

ที่มา: ธนาชัย สุนทรอนันตชัย (2560). ความเท่าเทียม ความเสมอภาคและความเป็นธรรมทางสังคม กับการจัด
สวัสดิการทางสังคมของประเทศไทย.วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เฉลิมพระเกียรติ,

7(2),57. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/lawhcu/article/view/157551







ความเสมอภาค (Equity) มิได้มีความหมายว่าบุคคลทุกคนจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
กัน โดยมิได้คำนึงถึงข้อแตกต่างใดๆเลย แต่กรณีสองสิ่งที่มีสาระสำคัญเหมือนกันจึงควรจะ
ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันและกรณีสิ่งสองสิ่งที่มีสาระต่างก้น จะต้องได้รับการปฏิบัติ

ที่แตกต่างกัน

ที่มา: ธนาชัย สุนทรอนันตชัย (2560). ความเท่าเทียม ความเสมอภาคและความเป็นธรรมทางสังคม กับการจัด
สวัสดิการทางสังคมของประเทศไทย.วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เฉลิมพระเกียรติ,

7(2),57. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/lawhcu/article/view/157551







ความเป็นธรรมทางสังคม (Social justice) แนวคิดที่ว่าด้วยความเป็นธรรมในทุกมิติ
ของสังคม มิใช่เพียงแค่มิติทางด้านกฎหมายเท่านั้น ซึ่งความเป็นธรรมทางสังคมในตัว
ของมันเอง ก็ตีความได้หลายความหมาย อาจหมายถึงการปฏิบัติต่อกันอย่างเป็นธรรม
หรือการแบ่งปันกันอย่างเป็นธรรมก็ได้ ประเด็นเรื่องความเป็นธรรมทางสังคมนั้น เป็นทั้ง

ปัญหาทางปรัชญาและมีความสำคัญในมิติต่าง ๆ เช่น การเมือง ศาสนา และสังคม
ปัจเจกบุคคลอาจต้องการอยู่ในสังคมที่มีความเป็นธรรมทั้งนั้น อย่างไรก็ดีแต่ละคนอาจมี

อุดมการณ์เกี่ยวกับ “ความเป็นธรรมในสังคม” ที่แตกต่างกัน

ที่มา: Salforest (2013). Social Justice
.สืบค้น 7 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.salforest.com/glossary/social-justice

อำนาจนำ (Hegemony) การครองความเป็นใหญ่

ที่มา: เกษียร เตชะพีระ (2550). อำนาจนำ (hegemony)
.สืบค้น 7 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?

id=inthedark&month=10-2007&date=12&group=16&gblog=86



คนชายขอบ (Marginal people) กลุ่มคนที่มีชีวิตอยู่ห่างไกล จากศูนย์กลาง ทั้งในทาง
ภูมิศาสตร์และสังคม วัฒนธรรม “คนชายขอบ” มักจะเป็นกลุ่มคนที่ถูก กีดกันและเอารัด
เอาเปรียบจากคนกลุ่มใหญ่ในทาง สังคมและกลายเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคม วัฒนธรรม
ประจำกลุ่มจึงเป็นวัฒนธรรมย่อยที่ไม่ได้ รับการยอมรับ หรือได้รับการเลือกปฏิบัติจาก

ชนก ลุ่มใหญ่ในกระแสวัฒนธรรมหลัก

ที่มา: พัชรี กล่อมเมือง (2562).คนชายขอบ: ชาวไทยเชื้อสายมลายูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้.วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี,8(2),61. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bkkthon/article/view/209511

การเหมารวม (Stereotype) คตินิยมหรือทัศนคติของสังคมทั่วไปที่มีต่อกลุ่มคนอื่น
ชาติอื่น หรือลักษณะของบุคคลบางประเภทจนกลายเป็นมาตรฐาน มีพื้นฐานมาจาก

การสรุปเอาจากข้อสมมุติพื้นฐานที่มีแนวโน้มที่เป็นอัตวิสัย



ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/การเหมารวม

การสร้างภาพตัวแทน (Representation) เป็นการประกอบสร้างความหมายผ่านภาษา
โดยใช้สัญญะ เพื่อสื่อสารอย่างมีความหมายกับผู้อื่น และสามารถใช้สัญญะ เพื่อการ
อ้างอิงถึงโลก ความจริง รวมถึงสิ่งที่เป็นจินตนาการ และความคิดนามธรรมที่ไม่ปรากฏ

ในโลกวัตถุ

ที่มา: ปรีดา นัคเร (2559).การประกอบสร้างความหมายภาพตัวแทนแรงงานข้ามชาติ โรฮิงญา (Rohingya) ผ่าน
เว็บไซต์ข่าวนานาประเทศ.วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า,3( 1),61. สืบค้นจาก https://so02.tci-
thaijo.org/index.php/jcin/article/view/69732

ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ (Power relations) ความสัมพันธ์เชิงอำนาจเป็นหนึ่งในความ
สัมพันธ์พื้นฐานที่สุดของการอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิต สำหรับสิ่งชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ อำนาจ
มักจะแสดงออกมาในรูปธรรมง่าย เช่น หากสัตว์ตัวใดมีความแข็งแรงมากที่สุด สัตว์ตัวนั้น
ก็มักจะมีอำนาจและกลายเป็นจ่าฝูงของกลุ่มไป ทว่า สำหรับสังคมมนุษย์แล้ว อำนาจมักจะ
แสดงออกมาในรูปแบบที่หลากหลาย ยิ่งสังคมมนุษย์พัฒนาและมีความซับซ้อนมากขึ้น

เท่าไร รูปแบบของอำนาจก็จะยิ่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

ที่มา: สมคิด พุทธศรี (2014). อำนาจ ความชอบธรรมและความฉ้อฉล
.สืบค้น 7 กรกฎาคม 2565, จาก https://thaipublica.org/2014/06/absolute-power-corrupts-absolutely




ความเป็นอื่น (Otherness) เป็นแนวคิดนามธรรมขึ้นจากการเป็นแค่ ‘คนอื่น’ หรือ ‘คน
แปลกหน้า’ เพราะมันไม่ได้หมายถึงใครคนใดคนหนึ่ง แต่มักหมายถึงกลุ่มคนที่เราไม่ได้มอง
ว่าเป็น ‘พวกเดียวกับเรา’ ถ้าในกระแสปัจจุบันก็มักหมายถึงผู้อพยพหรือคนกลุ่มน้อยของ

สังคมทั้งหลาย

ที่มา: vanat putnark (2017). ทำไมเราถึงกลัวคนที่ไม่เหมือนเรา? Xenophobia
เกิดจากอารมณ์หรือเหตุผลกันแน่?.สืบค้น 7 กรกฎาคม 2565,

จาก https://thematter.co/social/how-fear-of-other-unreasonable

อคติ (Bias/prejudice) ทัศนคติที่เป็นผลมาจากความรู้ความเชื่อ ความรู้สึก ความคิดเห็นที่
ไม่เป็นธรรม ไม่ยุติธรรมต่อคนหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งนำไปสู่การกระทำในเชิงการยอมรับหรือไม่

ยอมรับ การเลือกปฏิบัติ การตีตรา

ที่มา: อนันต์สมมูล (2564). อคติทางวัฒนธรรม
.สืบค้น 7 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.sac.or.th/library/subject_guide

/category/58?per_page=3





การเลือกปฏิบัติ (Discrimination) การปฏิบัติที่แตกต่าง การกีดกัน การจำกัด หรือความ
พึงพอใจที่ไม่เท่ากัน ต่อคน/กลุ่มคนที่เหมือนกันและที่ไม่เหมือนกัน รวมไปถึงการปฏิบัติที่

เหมือนกันแต่ส่งผลให้เกิดความเสียเปรียบต่อบางกลุ่มด้วย ซึ่งการปฏิบัติเหล่านี้เป็น
พฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อหลักการความเท่าเทียมของมนุษย์

ที่มา: Natetida Bunnag (2022). SDG Vocab | 33 – Discrimination – การเลือกปฏิบัติ
.สืบค้น 7 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.sdgmove.com/2021/07/15/sdg-vocab-33-discrimination/






Gender (เพศสภาวะ หรือเพศสภาพ) ลักษณะของผู้หญิง ผู้ชาย เด็กผู้หญิง และเด็กผู้ชายที่
สร้างสังคม ซึ่งรวมถึงบรรทัดฐาน พฤติกรรม และบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้หญิง ผู้ชาย
เด็กผู้หญิงหรือเด็กผู้ชาย ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในฐานะที่เป็นโครงสร้างทางสังคม

เพศแตกต่างกันไปในแต่ละสังคมและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

ที่มา: https://www.who.int/health-topics/gender#tab=tab_1

เพศหลากหลาย (LGBTQ- Lesbian, Gay, Bisexual, Transgender and Queer)
กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือเพศทางเลือก LGBTQ เป็นกลุ่มคนที่มีอัตลักษณ์ทาง
เพศ หรือรสนิยมทางเพศที่แตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่ในสังคม โดยคำว่า LGBTQ ย่อมาจาก
·L - Lesbian กลุ่มผู้หญิงรักผู้หญิง
·G - Gay กลุ่มชายรักชาย หรือกลุ่มบุคคลที่รักเพศเดียวกัน
·B - Bisexual หรือกลุ่มที่รักได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
·T - Transgender คือกลุ่มคนข้ามเพศ
·Q - Queer คือ กลุ่มคนที่พึงพอใจต่อเพศใดเพศหนึ่ง โดยไม่ได้จำกัดในเรื่องเพศและความรัก




·ที่มา: โรงพยาบาลเพชรเวช(2563). LGBTQ ความหลากหลายที่ต้องเข้าใจ.สืบค้น 7 กรกฎาคม 2565, จาก
https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/LGBTQ

ความสามารถที่แตกต่าง (Differently abled) การเจ็บป่วยการบาดเจ็บหรืออาการที่ทำให้คน
ทำบางสิ่งที่คนอื่นทำได้ยาก

ที่มา:https://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/differently-abled

ทวิ/พหุภาษา (Bi/Multilingual education) กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้
ภาษาแม่และวัฒนธรรมของนักเรียนเป็นพื้นฐานและสื่อการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด

และเชื่อมโยงสู่ภาษาและวัฒนธรรมไทยอย่างเป็นระบบ เป็นการเตรียมความพร้อมให้
นักเรียนชั้นอนุบาลและประถมศึกษา พร้อมกับการรักษาอัตลักษณ์ของตนให้อยู่ร่วมกันได้

อย่างสันติสุขท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=6f3l7aaB78Q

หลักสูตรแฝง (Hidden curriculum) เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้กำหนดแผนการเรียนรู้เอาไว้
ล่วงหน้าและเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่โรงเรียนไม่ได้ตั้งใจจะจัด

ที่มา: ชัยฤทธิ์ บุญชื่น(2019).การพัฒนาหลักสูตร.สืบค้น 7 กรกฎาคม 2565, สืบค้นจาก
http://sack1997.blogspot.com/

หลักสูตรทางการ (Official curriculum) เป็นหลักสูตรการศึกษา เนื้อหาของหลักสูตร
หรือโปรแกรมการฝึกอบรมในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย

ที่มา: https://sk.sagepub.com/reference/curriculumstudies/n332.xml

การสอนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้เรียน (Culturally responsive teaching)
การสอนที่ตอบสนองต่อวัฒนธรรม หมายถึงการใช้ธรรมเนียมปฏิบัติ คุณลักษณะ
ประสบการณ์ และมุมมองของนักเรียนเป็นเครื่องมือในการสอนในห้องเรียนที่ดีขึ้น

ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=6f3l7aaB78Q

ทฤษฎีเชิงวิพากษ์ (Critical Theory) แนวทางใดๆ ของปรัชญาสังคม ที่เน้นการ
ประเมินโดยไตร่ตรองและวิพากษ์วิจารณ์สังคมและวัฒนธรรม เพื่อเปิดเผยและท้าทาย

โครงสร้างอำนาจ

ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Critical_theory

การศึกษาเชิงวิพากษ์ (Critical pedagogy) เป็นทั้ง ทฤษฎีและแนวปฏิบัติการ
ทางการศึกษาที่มีความผูกพันกับ แนวคิดของสํานักมารก์ซิสม์ (Marxism) ที่เห็นว่า
กระบวน การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการก่อรูปทางสังคมของ มนุษย์ รวมทั้ง
ก่อรูปให์แก่ปัจเจกบุคคลและสถาบันทางสังคมที่ มนุษย์สังกัดอยู่ ชนชั้นกรรมาชีพจะต้อง
แสวงหาหนทางให้หลุดพ้น จากพันธนาการแห่งการกดขี่ โดยเฉพาะอุดมการณ์ทุนนิยม

ที่ พันธนาการมนุษย์ให้มืดบอด

ที่มา: ออมสิน จตุพรช.(2019).บทวิจารณ์หนังสือ Giroux, H.A. (2013). On Critical Pedagogy. New York and
London: Bloomsbury Academic.วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,19( 1),196. สืบค้นจาก
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/121988

We read and write poetry because we are
members of the human race. And the human race
is filled with passion. And medicine, law, business,

engineering, these are noble pursuits and
necessary to sustain life. But poetry, beauty,
romance, love, these are what we stay alive for.

- Dead Poets Society (1989)


Click to View FlipBook Version