The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิเคราะห์คำสอนอิศรญาณภาษิตในประเด็นสำนวนไทยที่เกี่ยวข้องเพื่อ เปรียบเทียบกับสำนวนถิ่นใต้

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by kamonwan8559, 2022-02-17 10:47:57

วิเคราะห์คำสอนอิศรญาณภาษิตในประเด็นสำนวนไทยที่เกี่ยวข้องเพื่อ เปรียบเทียบกับสำนวนถิ่นใต้

วิเคราะห์คำสอนอิศรญาณภาษิตในประเด็นสำนวนไทยที่เกี่ยวข้องเพื่อ เปรียบเทียบกับสำนวนถิ่นใต้

ปี ก า ร ศึ ก ษ า ๒ ๕ ๖ ๔

นำ เ ส น อ โ ด ย

นางสาวกมลวรรณ ครุธจร

การวิเคราะห์คำสอน
จากอิศรญาณภาษิตเพื่อ
เปรียบเทียบความหมาย
ในสำนวนไทยและสำนวน
ภาคใต้ที่เกี่ยวข้อง

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา ๒

คำนำ

สำนวนถิ่นใต้ เป็นการถ่ายทอดความรู้ของภาคใต้รูปแบบหนึ่งที่แสดงออก
ถึงวัฒนธรรมของการใช้ภาษาถิ่นและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตที่คนในภาค
ใต้ได้สั่งสมมาจากรุ่นสู่รุ่นและได้รับการถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของมุขปาฐะ
หรือการพูด ในวรรณกรรมท้องถิ่นก็ปรากฏการใช้สำนวนภาคใต้ อย่างเช่น
สุภาษิตร้อยแปด ภาษิตลุงสอนหลาน ล้วนแสดงให้เห็นวัฒนธรรมของคนภาค
ใต้ผ่านถ้อยคำสำนวนที่ใช้เฉพาะภูมิภาค โดยส่วนใหญ่คนในภาคใต้มักจะใช้
ถ้อยคำสั้น ๆ กะทัดรัด ซึ่งตรงตามอัตลักษณ์ของการใช้ภาษาถิ่นใต้ที่มักจะมี
การลด ตัด ทอนพยางค์ให้สั้น และเพื่อให้นักเรียนได้รู้จักภาษาถิ่นของตนเอง
มากขึ้น ครูผู้สอนจึงนำเอาสำนวนถิ่นใต้ไปบูรณาการกับการจัดการเรียนการ
สอนในรายวิชาภาษาไทย เรื่อง อิศรญาณภาษิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ ๓ โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา 2 ในประเด็นของการวิเคราะห์คำสอนจาก
อิศรญาณภาษิตเพื่อเปรียบเทียบความหมายในสำนวนไทยและสำนวนถิ่นใต้
ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา
การใช้ภาษาถิ่นของตนเอง และเป็นแรงกระตุ้นให้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาเกิดความ

ภาคภูมิใจและช่วยกันอนุรักษ์การใช้ภาษาถิ่นใต้สืบต่อไป

อิศรญาณภาษิต เรียกอีกอย่างว่า เพลงยาวอิศรญาณ

หม่อมเจ้าอิศรญาณนิพนธ์เพลงยาวฉบับนี้ขึ้น เพื่อสะท้อนความ
คิดเห็นที่มีต่อสังคมในยุคนั้น พร้อมเสนอแนวทางการปฏิบัติตน

เนื้ อเรื่ องย่อ อิ ศรญาณภาษิ ตจั ดเป็นวรรณกรรม
คํ าสอนที่ กวีมีวัตถุประสงค์ เพื่ อสั่งสอน
อิ ศรญาณภาษิ ต มีเนื้ อหาเชิง และให้ แนวทาง ข้อคิ ด ต่ างๆ ในการอยู่
สั่งสอนแบบเตื อนสติ และแนะนำ ร่วมกั บผู้ อื่ นในสังคม คุณค่ าด้ านเนื้ อหา
เกี่ ยวกั บการประพฤติ ปฏิ บัติ ตนให้
เป็นที่ พอใจของผู้ อื่ น โดยเฉพาะผู้ ของอิ ศรญาณภาษิ ตเป็นประโยชน์
ที่ มีอำนาจมากกว่า สอนว่าควรจะ สำหรับผู้ อ่ าน เนื่ องด้ วยกวีได้ นําประเด็ น
ในเรื่ องต่ างๆ มาสั่งสอนได้ อย่างชัดเจน
ปฏิ บัติ ตนอย่างไรจึ งจะอยู่ใน
สังคมได้ อย่างสงบสุข ทำอย่างไร และสามารถนําไปประยุ กต์ ใช้ในชีวิต
จึ งจะประสบความสำเร็จผิดหวัง ประจำวันได้ ผู้ อ่ านที่ ดี จึ งควรอ่ านอย่าง
บางตอนเน้ นเรื่ องการเห็ นคุณค่ า พินิจพิเคราะห์ พิจารณาเพื่ อสังเคราะห์
และความสำคั ญของผู้ อื่ นโดยไม่
สบประมาทหรือดูแคลนผู้ อื่ น โดย เนื้ อหาที่ ได้ อ่ าน

ทั้ งนี้การสอนบางครั้งอาจ
เป็นการกล่ าวตรง ๆ หรือใช้
ถ้ อยคำเชิงประชดประชัน

จากการศึกษาเรื่องอิศรญาณภาษิต ผู้เรียนจะได้รับคำสอนหรือข้อคิด
ที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ดังนี้

คคำำญญสสออาานณนณจจภภาาากากษษอิอิิติตศศรร


การมีสติ

ก า ร พึ่ ง พ า อ า ศั ย กั น


การรับราชการ

ก า ร ใ ห้ ค ว า ม เ ค า ร พ ผู้ อ า วุ โ ส




การปรับตัวให้เขใ้หา้เกัหนมสัางะคสมมและการวางตน




การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

การรู้จักใช้จ่าย การคบมิตร

ความสามัคคี การรู้จักตนเอง

สำนวนไทยที่เกี่ยวข้องกับ
เรื่อง อิศรญาณภาษิต

จากการศึกษาคำสอนจากเรื่องอิศรญาณภาษิต ทั้ง ๑๐ ประเด็น
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเชื่อมโยงกับเรื่องสำนวนไทย โดยวิเคราะห์
จากความหมายของสำนวนไทยที่มีความสอดคล้องกันกับคำสอน

ในแต่ละประเด็น ซึ่งสามารถสรุปสำนวนไทยที่เกี่ยวข้องได้ดังนี้

น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า ข้าพึงเจ้า
บ่าวพึ่งนาย

เอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้ยาวรู้สั้น

คนเดียวหัวหาย
สองคนเพื่อนตาย

น้ำขึ้นให้รีบตัก พู ดไปสองไพเบี้ย
นิ่งเสียตำลึงทอง

สำนวนไทยที่เกี่ยวข้องกับ
เรื่อง อิศรญาณภาษิต

อย่าไว้ใจทาง เข้าเมืองตาหลิ่ว เห็นดีเห็นงาม
อย่าวางใจคน ต้องหลิ่วตาตาม

พู ดดีเป็นศรีแก่ตัว คนล้มอย่าข้าม

เดินตามหลังผู้ใหญ่ อย่าหัวล้านนอกครู
หมาไม่กัด
อาบน้ำร้อนมาก่อน

ว่านอนสอนง่าย ฟังหูไว้หู

สำนวนไทยที่เกี่ยวข้องกับ
เรื่อง อิศรญาณภาษิต

แกว่งเท้าหาเสี้ยน อย่าหวังน้ำบ่อหน้า

ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม

คิดก่อนพู ด ซื่อกินไม่หมด
คดกินไม่นาน

ความในอย่านำออก เก็บหอมรอบริบ
ความนอกอย่านำเข้า
ขี่ช้างอย่าวางขอ

มีสลึงพึงบรรจง จงกินเพื่ออยู่
ให้ครบบาท อย่าอยู่เพื่อกิน

สำนวนไทยที่เกี่ยวข้องกับ
เรื่อง อิศรญาณภาษิต

นกน้อยทำรังแต่ กินน้ำเผื่อแล้ง คบคนให้ดูหน้า
พอตัว ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ

คบคนพาล คบบัณฑิต
พาลพาไปหาผิด บัณฑิตพาไปหาผล

คบคนดีมีศรีแก่ตัว คบคนจรนอน รักยาวให้บั้น
คบคนชั่วอัปราชัย หมอนหมิ่น รักสั้นให้ต่อ

คนละไม้คนละมือ นำ้หนึ่งใจเดียวกัน

สำนวนไทยที่เกี่ยวข้องกับ
เรื่อง อิศรญาณภาษิต

หว่านพืชเช่นใด ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
ย่อมได้ผลเช่นนั้น

พึ่งลำแข้งตัวเอง จงเตือนตนด้วย รักดีหามจั่ว
ตนเอง รักชั่วหามเสา

สองหัวดีกว่า ทำดีได้ดี
หัวเดียว ทำชั้วได้ชั่ว

จากการศึกษาคำสอนจากเรื่องอิศรญาณภาษิต โดยวิเคราะห์
ความหมายที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับสำนวนไทย

สามารถสรุปสำนวนไทยได้ทั้งหมดจำนวน ๔๒ สำนวน

สำสำนนววนนภภาาคคใใต้ต้
ที่ทีเ่ เกี่กีย่ ยววข้ข้อองงกักับบ
เ เรื่รือ่ องงอิอิศศรรญญาาณณภภาาษิษิตต

นอกจากจะนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาคำสอนเรื่องอิศรญาณภาษิตไปเชื่อมโยงกับสำนวนไทย
แล้ว ยังสามารถนำมาเชื่อมโยงกับสำนวนภาคใต้ได้อีกด้วย เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาและรู้จัก
ภาษาในท้องถิ่นของตนเอง และยังถือเป็นการสืบทอดภาษาถิ่นใต้ให้คงอยู่สืบไป
โดยวิเคราะห์จากความหมายของสำนวนภาคใต้ที่มีความสอดคล้องกันกับคำสอน
ในแต่ละประเด็น ซึ่งสามารถสรุปสำนวนภาคใต้ได้ดังนี้

น้ำเต้าล่ามา เข้าป่ามีเพื่อน ได้กินนำแกง
ขี้พร้าล่าไป อยู่เรือนมีไฟ

คนล้มอย่าหัว อย่านอนจนหวัน
แยงโมง

อย่าบองหลา เห็นค่าศอก ข้างในไฟคลอก
เวียนแลน บอกค่าวา ข้างนอกวันทอ

สำสำนนววนนภภาาคคใใต้ต้
ที่ทีเ่ เกี่กีย่ ยววข้ข้อองงกักับบ
เ เรื่รือ่ องงอิอิศศรรญญาาณณภภาาษิษิตต

อย่าอยู่หน้า น้ำขึ้นให้แขบตัก อย่าฝากกล้วยไว้กับเด็ก
อย่าล้าหลัง อย่าฝากเหล็กไว้กับช่าง

อย่าเอาปาก หน่อแก่หว่าลำ
ราหนามเตย

น้ำล้างถ้วยอย่าเผ็ด ตามหลังคนใหญ่ อย่าหัวล้านนอกครู
กว่าน้ำแกง หมาไม่ขบ

เดินตามหลังนาย ขวัญข้าวเท่าหัวเรือ
หมาไม่ขบ ขวัญเกลือเท่าหัวช้าง

สำสำนนววนนภภาาคคใใต้ต้
ที่ทีเ่ เกี่กีย่ ยววข้ข้อองงกักับบ
เ เรื่รือ่ องงอิอิศศรรญญาาณณภภาาษิษิตต

คนมาทีหลัง เน่งเขาว่าโม่ เสือนอนอย่าคิดว่า
กินข้าวดัง ครั้งโฉเขาว่าบ้า มันขลาด

ดับคบฟังช้าง ใหญ่เสื้อเพื่อน

ช้างแล่นอย่ายูงหาง อยู่สูงให้นอนคว่ำ ขัดฝาแตะเกิดผล
อยู่ต่ำให้นอนหงาย ขัดคอคนเกิดโทษ

ชักน้ำเข้าเรือ ขี้ไก่ไม่ให้หก
ชักเสือเข้าบ้าน ขี้นกไม่ให้หล่น

สำสำนนววนนภภาาคคใใต้ต้
ที่ทีเ่ เกี่กีย่ ยววข้ข้อองงกักับบ
เ เรื่รือ่ องงอิอิศศรรญญาาณณภภาาษิษิตต

ทำงานเผื่อไข้ อยากมีอย่าขี้คร้าน ลอกอชายไฟ
ตัดไม้เผื่อสีน อยากทำงานอย่าตื่นสาย

หมาหางด้วน เหลี่ยมลอกอลิด
อย่าด้วนตามหมา

เขาหกเราเจ็ด คนไม้คนมือ

ถางเปรวมาพบกัน

ลิงเขน้ำเต้า เขาวัวจะงอน
น้ำเต้าเขลิง ไปข้างหน้า

สำสำนนววนนภภาาคคใใต้ต้
ที่ทีเ่ เกี่กีย่ ยววข้ข้อองงกักับบ
เ เรื่รือ่ องงอิอิศศรรญญาาณณภภาาษิษิตต

ตื่นเที่ยงให้สร้างสวนพร้าว นกน้อยไข่น้อย
ตื่นเช้าให้สร้างสวนยาง

ถ้าเป็นชาติ พร้าวก็ออกลูก อย่าขนดินถมปลวก
พดต้องลอย เป็นพร้าว

ควัดด็องเปล่า ผีในไม่ออก
ผีนอกไม่เข้า

จากการศึกษาคำสอนจากเรื่องอิศรญาณภาษิต โดยวิเคราะห์
ความหมายที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับสำนวนภาคใต้

สามารถสรุปสำนวนไภาคใต้ได้ทั้งหมดจำนวน ๔๕ สำนวน

จากการวิเคราะห์คำสอนในอิศรญาณภาษิต ทั้ง ๑๐ ประเด็น
สามารถนำความรู้ที่ได้มาเปรียบเทียบความหมายในสำนวน

ไทยและสำนวนถิ่นใต้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถรวบรวม
สำนวนไทยและสำนวนภาคใต้ในแต่ละเด็นได้ดังนี้

๑. การพึ่งพาอาศัยกัน มนุษย์เป็นสัตว์สังคมไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ย่อม
ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ถ้าจะอยู่ในสังคมให้ได้ต้องมีการถ้อยทีถ้อยอาศัยให้อภัยซึ่งกัน
ซึ่งมีสำนวนไทยและสำนวนภาคใต้ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับการพึ่งพาอาศัยกัน ดังนี้

สำนวนไทย

น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า - การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ข้าพึ่งเจ้า บ่าวพึ่งนาย - การพึ่งพาอาศัยกัน เอื้อประโยชน์แก่กัน
เอาใจเขามาใส่ใจเรา - รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น คำนึงถึงความรู้สึกของคนอื่น
คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย - คนเดียวทำอะไรก็อาจเป็นอันตรายได้
ถ้ามีเพื่อนร่วมคิดร่วมปรึกษาก็จะดีขึ้น

สำนวนภาคใต้

น้ำเต้าล่ามา ขี้พร้าล่าไป - การช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน
เข้าป่ามีเพื่อน อยู่เรือนมีไฟ - มีเพื่อนช่วยคิดช่วยเตือนต้องรักษาไว้ให้ดี
ได้กินน้ำแกง - พอได้พึ่งพาอาศัยกันบ้าง

2. การปรับตัวให้เข้ากับสังคมและการวางตนให้เหมาะสม ในชีวิตประจำวันของ
มนุษย์ย่อมมีการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
ในสุภาษิตจึงสั่งสอนเรื่องการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นในที่สาธารณะ ซึ่งมีสำนวนไทย

และสำนวนภาคใต้ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับการปรับตัว ดังนี้

สำนวนไทย

รู้ยาวรู้สั้น - รู้จักผ่อนปรน รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว
น้ำขึ้นให้รีบตัก - เมื่อโอกาสมาถึง ควรรีบทำ
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง - พูดไปก็ไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า
อย่างไว้ใจทาง อย่าวางใจคน - อย่าไปเชื่อใจคนง่าย
เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม - ประพฤติให้ถูกต้องตามกาลเทศะ
เห็นดีเห็นงาม - คิดหรือรู้สึกคล้อยตาม
พูดดีเป็นศรีแก่ตัว - พูดจาไพเราะอ่อนหวานก็จะเป็นศิริมงคลกับตัวเอง
คนล้มอย่าข้าม - อย่าดูถูกหรือซ้ำเติมคนที่พลาดพลั้งเผลอ

สำนวนภาคใต้

คนล้มอย่าหัว - คนที่ล้มหรือต่ำลง อย่าไปหัวเราะเยาะซ้ำเติมเขา
อย่านอนจนหวันแยงโมง - อย่านอนตื่นสาย
อย่าบองหลาเวียนแลน - อย่าเฝ้ารอบางสิ่งบางอย่างเพื่อหวังผลประโยชน์
เห็นค่าศอก บอกค่าวา - อย่าพูดเกินจริง
ข้างในไฟคลอก ข้างนอกวันทอ - เก็บความโกรธไว้มิให้ผู้อื่นรู้
อย่าอยู่หน้า อย่าล้าหลัง - ทำตัวเป็นกลาง
น้ำขึ้นให้แขบตัก - โอกาสมีต้องคว้าไว้
อย่าฝากกล้วยไว้กับเด็ก อย่าฝากเหล็กไว้กับช่าง - อย่าไว้ใจคนที่ไม่น่าไว้ใจ
อย่าเอาปากราหนามเตย - อย่าพูดหาเรื่องเดือดร้อนใส่ตัว

3. การให้ความเคารพผู้อาวุโส ประพฤติปฏิบัติตามแนวทางที่ผู้ใหญ่เคยทำมา
ก่อนผู้ที่เกิดก่อนย่อมมีความรู้และมีประสบการณ์มากกว่า จึงควรขอคำ
ปรึกษาจากผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งมีสำนวนไทยและสำนวนภาคใต้ที่มีความหมาย
เกี่ยวข้องกับการให้ความเคารพผู้อาวุโส ดังนี้

สำนวนไทย

เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด - ทำตามแบบอย่างผู้ใหญ่แล้วจะปลอดภัย
อาบน้ำร้อนมาก่อน - เกิดก่อนจึงมีประสบการณ์มากกว่า
อย่าหัวล้านนอกครู - อย่าปฏิบัติผิดแผกไปจากคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์
ว่านอนสอนง่าย - ให้อยู่ในโอวาท เชื่อฟังคำสั่งสอนโดยดี

สำนวนภาคใต้

หน่อแก่หว่าลำ - เด็กอย่ารู้มากกว่าคนใหญ่คนเฒ่า
น้ำล้างถ้วยอย่าเผ็ดกว่าน้ำแกง - อย่ารู้มากกว่าเจ้าของเรื่อง
ตามหลังคนใหญ่ หมาไม่ขบ - ทำตามคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ย่อมไม่เกิดอันตราย
อย่าหัวล้านนอกครู - อย่ารู้ดีไปกว่าคนที่อายุมากกว่า
เดินตามหลังนาย หมาไม่ขบ - ทำตามผู้ใหญ่มักไม่เสียหาย

4. การมีสติ จิตใจหนักแน่นไม่ หลงเชื่อคำพูดยุยงให้รู้จักคิดไตร่ตรองให้
รอบคอบก่อนที่จะมีความเห็นคล้อยตามคำพูดของผู้อื่น ซึ่งมีสำนวนไทยและ

สำนวนภาคใต้ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับการมีสติ ดังนี้

สำนวนไทย

ฟังหูไว้หู - รับฟังไว้ แต่ยังไม่เชื่อทั้งหมด
อย่าแกว่งเท้าหาเสี้ยน - อย่าไปหาเรื่องเดือดร้อนใส่ตัว
ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม - ค่อย ๆ คิดค่อย ๆ ทําแล้วจะสําเร็จผล
อย่าหวังน้ำบ่อหน้า - อย่ามุ่งหวังจะได้สิ่งที่ยังมาไม่ถึง
คิดก่อนพูด - ก่อนจะพูดอะไรต้องคิดให้รอบคอบเสียก่อน

สำนวนภาคใต้

ขวัญข้าวเท่าหัวเรือ ขวัญเกลือเท่าหัวช้าง - การรู้จักบุญคุณของสิ่งที่ให้คุณแก่
ชีวิตเรา
คนมาทีหลังกินข้าวดังเหนียว - คนทำงานล่าช้า ย่อมเสียเปรียบผู้อื่น
เน่งเขาว่าโม่ ครั้งโฉเขาว่าบ้า - ถ้านิ่งเฉยไม่พูด เขาก็หาว่าเป็นคนโง่ แต่ถ้าพูดมาก
และเสียงดัง เขาก็หาว่าเป็นคนบ้า
เสือนอนอย่าคิดว่ามันขลาด - อย่าประมาทผู้มีอำนาจ
ดับคบฟังช้าง - ให้อยู่นิ่งฟังข่าวไม่กระโตกกระตาก

5. การรับราชการ โดยสอนการปฏิบัติตนของผู้ที่ทำงานใกล้ชิดผู้ที่มีอำนาจ
การรู้จักคิดใคร่ครวญไตร่ตรอง ซึ่งมีสำนวนไทยและสำนวนภาคใต้ที่มีความ

หมายเกี่ยวข้องกับการทำงานหรือการรับราชการ ดังนี้

สำนวนไทย

ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน - คนซื่อสัตย์จะอยู่ที่ไหนก็อยู่ได้นาน และมีความ
มั่นคงในชีวิตการงาน ส่วนคนคดโกงอยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ไม่นาน
ความในอย่านำออก ความนอกอย่านำเข้า - ไม่นำเรื่องไม่ดีของพรรคพวกไป
บอกคนอื่นและไม่รับเข้ามาด้วย
ขี่ช้างอย่าวางขอ - การไว้วางใจผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครอง จนกลายเป็นความ
ประมาท ละเลย

สำนวนภาคใต้

ใหญ่เสื้อเพื่อน - ใช้ชื่อเสียงของคนที่มีอำนาจมาข่มคนอื่น
ช้างแล่นอย่ายุงหาง - อย่าขัดขวางผู้มีอำนาจ
อยู่สูงให้นอนคว่ำ อยู่ต่ำให้นอนหงาย - หัวหน้าให้ดูลูกน้อง ลูกน้องให้ดูหัวหน้า
ขัดฝาแตะเกิผล ขัดคอคนเกิดโทษ - ให้ระวังอย่าขัดคอคนเพราะอาจมีผลร้ายต่อ
ตนเอง
ชักน้ำเข้าเรือ ชักเสือเข้าบ้าน - ชักนำภัยมาสู่ตน
ผีในไม่ออก ผีนอกไม่เข้า - ถ้าคนในบ้านไม่เอาเรื่องในบ้านไปเล่าให้ผู้อื่นฟัง
คนนอกบ้านก็จะไม่มีโอกาสนำความเดือดร้อนมาให้

6. การรู้จักใช้จ่าย การสะท้อนให้เห็นว่าเงินตราเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตของมนุษย์
แม้มีไม่มาก แต่ก็ควรเก็บหอมรอมริบไว้ใช้ในยามจำเป็น ซึ่งมีสำนวนไทยและ

สำนวนภาคใต้ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับการใช้จ่าย ดังนี้

สำนวนไทย

เก็บหอมรอมริบ - เก็บรวบรวมไว้ทีละเล็กละน้อย
มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท - ค่อยเก็บสะสมเงินที่ละเล็กทีละน้อย
จงกินเพื่ออยู่ อย่าอยู่เพื่อกิน - ให้รู้จักกินอยู่ให้พอดี พอประมาณกับฐานะของตน
นกน้อยทำรังแต่พอตัว - รู้จักประมาณตน ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งพอสมกับฐานะของตน
กินน้ำเผื่อแล้ง - มีอะไรอย่าใช้หมดทันทีไม่คิดถึงวันข้างหน้า

สำนวนภาคใต้

ขี้ไก่ไม่ให้หก ขี้นกไม่ให้หล่น - แสดงความรอบคอบ รู้จักเก็บเล็กผสมน้อย
ทำงานเผื่อไข้ ตัดไม้เผื่อสีน - ควรทำงานเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้บ้าง
อยากมีอย่าขี้คร้าน อยากทำงานอย่าตื่นสาย - อยากมั่งมีก็อย่าเกียจคร้าน ถ้า
อยากทำงานก็อย่าตื่นสาย

7. การคบมิตร ในสังคมปะปนไปทั้งคนดีและไม่ดี ดังนั้นการมีหลักยึดในการ
คบมิตรจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งมีสำนวนไทยและสำนวนภาคใต้ที่มีความหมาย

เกี่ยวข้องกับการคบมิตร ดังนี้

สำนวนไทย

คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล - การเลือกคบคนต้องดูดีๆ
คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ - จะพิจารณาคนหรือสิ่งใดให้พิจารณาอย่างละเอียด
คบคนดีมีศรีแก่ตัว คบคนชั่วอัปราชัย - คบคนดีก็จะทำให้ตัวเองดี แต่ถ้าคบคนชั่วก็
พาไปให้ทางไม่ดี
คบคนจรนอนหมอนหมิ่น - คบคนหลักลอยอาจเกิดโทษได้

สำนวนภาคใต้

หมาหางด้วนอย่าด้วนตามหมา - คนทำไม่ดีอย่าทำตาม
เหลี่ยมลอกอลิด - ใช้กับคนที่มีเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว
เขาหกเราเจ็ด - เขาโกหก เราก็โกหกด้วย
ถางเปรวมาพบกัน - คนชั่วกับคนชั่วมาเจอกัน

8. ความสามัคคี ความสามัคคียังคงความสำคัญและเป็นธรรมะที่จำเป็นในการ
ทำงานร่วมกันและยังทำให้ประเทศชาติยังธำรงอยู่ได้ ซึ่งมีสำนวนไทยและ
สำนวนภาคใต้ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับความสามัคคี ดังนี้

สำนวนไทย

คนละไม้ คนละมือ - ต่างคนต่างช่วยกันทำ ทำด้วยความสามัคคีกัน
น้ำหนึ่งใจเดียวกัน - มีความคิดเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
สองหัวดีกว่าหัวเดียว - การกระทำสิ่งใดคนเดียวย่อมไม่ดีเท่ากับการช่วยกันคิด
ช่วยกันทำ

สำนวนภาคใต้

คนไม้คนมือ - ช่วยเหลือ สามัคคีกัน

9. ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว สังคมไทยเป็นสังคมที่ผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนา
ซึ่งมีส่วนในการกล่อมเกลาจิตใจและพฤติกรรมของมนุษย์ให้อยู่ในครรลอง
ของความดี ซึ่งมีสำนวนไทยและสำนวนภาคใต้ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับทำดี

ได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดังนี้

สำนวนไทย

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว - คนเราทำอย่างไรก็จะได้อย่างนั้น
รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา - ใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญใฝ่ชั่วจะได้รับความลําบาก
หว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น - ผู้ทำกรรมดีย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้
ผลชั่ว

สำนวนภาคใต้

ลิงเขน้ำเต้า น้ำเต้าเขลิง - คนที่ชอบเอาเปรียบผู้อื่น ย่อมถูกเล่ห์เหลี่ยมผู้อื่นเอา
เปรียบบ้าง
เขาวัวจะงอนไปข้างหน้า - ธรรมชาติเป็นอย่างไรย่อมเป็นอย่างนั้น
ถ้าเป็นชาติพดต้องลอย - ถ้าเป็นสิ่งนั้นแท้ ก็จะแสดงลักษณะตามที่ควรจะเป็น
พร้าวก็ออกลูกเป็นพร้าว - ทำกรรมเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น

10. ให้รู้จักตนเอง การที่มนุษย์จะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุข นอกจาก
การรู้จักบุคคลอื่นแล้วที่สำคัญต้องรู้จักจิตใจของตนเอง ซึ่งมีสำนวนไทยและ

สำนวนภาคใต้ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับการให้รู้จักตนเอง ดังนี้

สำนวนไทย

ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน - ช่วยเหลือตัวเอง ทำอะไรด้วยตนเอง จน สามารถตั้งตัวได้
พึ่งลำแข้งตัวเอง - ช่วยตนเอง อาศัยลําแข้งตัวเอง
จงเตือนตนด้วยตนเอง - การเตือนตนเองนั้นเป็นสิ่งที่ดี และควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง
เพราะจะช่วยให้เรามีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ

สำนวนภาคใต้

อย่าขนดินถมปลวก - อย่าทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้ตนเองเหนื่อยเปล่า
ควัดด็องเปล่า - การกระทำอะไรซึ่งทำแล้วไม่เกิดผลอะไรต่อตนเองเลยแม้แต่
น้อยเป็นการเสียแรงเปล่า ๆ
นกน้อยไข่น้อย - รู้จักประมาณตน
ตื่นเที่ยงให้สร้างสวนพร้าว ตื่นสายให้สร้างสวนยาง - การประกอบอาชีพให้
เหมาะสมกับอุปนิสัยของตนเอง

สรุปองค์ความรู้

การศึกษาวิเคราะห์คำสอนจากวรรณคดี เรื่อง อิศรญาณ
ภาษิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเปรียบเทียบ
ความหมายในสำนวนไทยและสำนวนถิ่นใต้ที่เกี่ยวข้อง จาก
การศึกษาครั้งนี้ทำให้ผู้เรียนได้รับองค์ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ
มากมาย ทั้งในเรื่องของหลักคำสอนหรือข้อคิดที่ได้รับจาก
จากเรื่องอิศรญาณภาษิตที่สามารถให้ผู้เรียนนำไปปรับใช้ใน
ชีวิตประจำวันได้ เรื่องสำนวนไทยที่ผู้เรียนได้เรียนรู้และรู้จัก

กับสำนวนไทยเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งในเรื่องของการศึกษา
สำนวนภาคใต้ก็สามารถยังทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ เข้าใจ
ลักษณะของการใช้คำ การใช้ภาษาถิ่นใต้ และเป็นการให้ผู้
เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในท้องถิ่นใต้ของตนเอง เพื่อเป็น
การสืบทอดภาษาถิ่นใต้ และช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรม

การใช้ภาษาถิ่นใต้ของตนเอาไว้สืบต่อไป


Click to View FlipBook Version