The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

โครงงานคุณธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 301

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by suparphit.p, 2023-09-20 00:35:11

โครงงานคุณธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 301

โครงงานคุณธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 301

โครงงานคุณธรรม “ออมเงิน ออมใจ ออมไว้เพื่ออนาคต” โดย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ครูที่ปรึกษา นางสาวศุภาพิชญ์ แปงแสง โรงเรียนบ้านธาตุพิทยาคม ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


โครงงานคุณธรรม เรื่อง “ออมเงิน ออมใจ ออมไว้เพื่ออนาคต” ที่มาและความส าคัญของโครงงาน จากการส ารวจการใช้จ่ายเงินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ในแต่ละวัน ปัญหาที่พบมากที่สุด ในห้องเรียนคือ นักเรียนไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงิน มีการใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย ไม่ ประหยัด และไม่มีวินัยในการออม ชอบซื้อของเล่น ขนมที่ไม่มีประโยชน์ ดังนั้น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 จึงจัดท าโครงงานคุณธรรมเรื่อง “ออมเงิน ออมใจ ออมไว้ เพื่ออนาคต” เพื่อให้นักเรียนเกิดความตระหนัก และมีความพอเพียง รู้จักออมเงินไว้ใช้เมื่อจ าเป็น และปลูกฝัง นิสัยความพอเพียง รู้จักด าเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับความพอเพียงและการน าไปใช้ในชีวิตประจ าวัน 2. เพื่อให้นักเรียนมีความพอเพียง รู้จักคิดก่อนใช้จ่าย และฝึกวินัยตนเองในการใช้จ่ายเงิน 3.เพื่อปลูกฝังความพอเพียง สร้างความตระหนักและสร้างจิตส านึกความรับผิดชอบ และความมี ระเบียบวินัยให้กับนักเรียน ปัญหา - นักเรียนใช้จ่ายฟุ่มเฟือย - นักเรียนไม่รู้จักออมเงิน สาเหตุของปัญหา 1. นักเรียนขาดจิตส านึกในการออมเงินเป็นประจ าทุกวัน 2. นักเรียนขาดทักษะในการใช้จ่ายเงินอย่างถูกวิธี เป้าหมาย เชิงปริมาณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 จ านวน 17 คน เชิงคุณภาพ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 จ านวน 17 คน ใช้จ่ายเงินเป็น รู้คุณค่าของเงิน วิธีการแก้ไขปัญหา (ตามวงจรคุณภาพ P-D-C-A) 1. อบรมปลูกจิตส านึกให้แก่นักเรียนเห็นความส าคัญของการออมเงินและสอนให้นักเรียนรู้จักการ แบ่งเงินส่วนหนึ่งส าหรับออมและอีกส่วนส าหรับการใช้จ่าย (Plan) 2. สร้างข้อตกลงในการออมเงิน ดังต่อไปนี้ (Plan) 2.1 ทุกวันนักเรียนจะแบ่งเงินส าหรับออมอย่างน้อยวันละ 1 บาท


2.2 นักเรียนสามารถถอนเงินได้เมื่อจบภาคเรียน ยกเว้นมีกรณีจ าเป็น 2.3 ครูจัดท าแบบบันทึกการฝากเงินของนักเรียน 3. นักเรียนทุกคนฝากเงินประจ า (Do) 4. สังเกตพฤติกรรมการออมเงินฝากเงินของนักเรียน และสรุปผลการฝากเงินทุกเดือน (Check) 5. สรุปและประเมินผลโดยใช้เครื่องมือคือแบบบันทึกการฝากเงินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 น าผลการประเมินมาเป็นข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ให้ทุกคนรับทราบเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง (Act) งบประมาณ (งบที่ใช้ในการด าเนินงานโครงงาน / ที่มาของเงินงบประมาณ) - หลักธรรม / พระราชด ารัส / พระราชด าริ / ค าสอน ที่น ามาใช้ หลักธรรม อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ - ทุกข์คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ เป็นสภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพบีบคั้น - สมุทัย คือ สาเหตุที่ท าให้เกิดทุกข์ - นิโรธ คือ ความดับทุกข์ - มรรค คือ แนวปฏิบัติที่น าไปสู่ หรือน าไปถึงความดับทุกข์ มีองค์ประกอบอยู่ 8 ประการ คือ 1. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความด าริชอบ 3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ คือ คือ กระท าชอบ 5. สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ 6. สัมมาวายามะ คือ พยายามชอบ 7.สัมมาสติ คือ ระลึกชอบ 8. สัมมาสมาธิ คือ ตั้งใจชอบ ซึ่งเรียกรวมอีกชื่อหนึ่งได้ว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” หรือ “ทางสายกลาง” พระราชด ารัส/พระราชด าริ/ค าสอน/พระบรมราโชวาท แนวคิดเรื่องการออมของในหลวง ในหลวง รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นต้นแบบของ “พระมหากษัตริย์นัก ออม” ทรงแสดงให้เห็นถึงความประหยัด เรียบง่าย และพอเพียง ซึ่งเป็นสิ่งที่พสกนิกรชาวไทยสามารถน้อมน า แนวคิด มาปฏิบัติตาม พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ทรงเป็นแรง บันดาลใจของพสกนิกรชาวไทยในหลาย ๆ เรื่อง และหนึ่งในสิ่งที่ทุกคนให้การยกย่องพระองค์เป็นต้นแบบก็คือ การเป็น "พระมหากษัตริย์นักออม" ซึ่งเป็นพระราชจริยวัตรที่พระองค์ทรงปฏิบัติให้เห็นเป็นแบบอย่างเป็น ประจ าเสมอมา โดยเป็นแนวคิดง่ายๆ ที่ทุกคนน าไปประยุกต์ใช้ได้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและ ครอบครัว ดังพระราชด ารัสที่ว่า


“การประหยัดอดออม เป็นรากฐานในการสร้างตัว สร้างฐานะบุคคล ตลอดจนความเจริญมั่นคงของ สังคมและชาติบ้านเมือง” ....พระราชด ารัส เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559 และ “การใช้จ่ายโดยประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเองและครอบครัว ช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้จะมีผลดีไม่เฉพาะแก่ผู้ประหยัดเท่านั้น ยังจะ เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย” พระราชด ารัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 31 มกราคม 2502 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 3 ห่วง คือ ทางสายกลาง ประกอบไปด้วย ดังนี้ ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อย จนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้อง เป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนค านึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการ กระท านั้นๆ อย่างรอบคอบ ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการ เปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยค านึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน อนาคตทั้งใกล้และไกล 2 เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะน าความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความ ระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมี ความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการด าเนินชีวิต เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมี ความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการด าเนินชีวิต ความเชื่อมโยงสู่คุณธรรมอัตลักษณ์ อัตลักษณ์โรงเรียนบ้านธาตุพิทยาคม : มารยาทดี มีความกตัญญู รู้ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง จากโครงงานคุณธรรมมีความสอดคล้องกบคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียนบ้านบ้านธาตุพิทยาคม คือ รับผิดชอบ พอเพียง มีวินัย พฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก : นักเรียนทุกคนมีการออมเงินประจ า


ตัวชี้วัด นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 มีการฝากเงินเป็นประจ า เครื่องมือที่ใช้ในการวัด / ประเมิน แบบบันทึกการออมทรัพย์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 วิธีการประเมิน - สังเกตพฤติกรรมการออมเงินฝาก - บันทึกการฝากเงินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ลงในแบบบันทึกการออมทรัพย์ - วัดประเมินผล และสรุปผลเป็นประจ าทุกเดือน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. เพื่อให้นักเรียนรู้จักวางแผนในการใช้จ่ายเงิน และมีวินัยในการใช้จ่ายเงิน 2. นักเรียนได้ตระหนักถึงการออม และใช้เงินอย่างถูกวิธี 3. นักเรียนมีความตระหนักว่าการออมเป็นการด าเนินชีวิตอย่างพอเพียง ตามแนวทางเศรษฐกิจ พอเพียง สรุปผลการท าโครงงาน นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการใช้จ่ายตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รู้ค่าของเงิน ประหยัด มีวินัย ในการใช้จ่าย และมีวินัยในการออมเงิน นักเรียนรู้จักวางแผนการใช้จ่ายเงินของตนเอง และมีเงินเหลือเก็บ ปัญหาในการท าโครงงาน - ข้อเสนอแนะ - ผู้รับผิดชอบโครงการ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ที่ปรึกษาโครงการ นางสาวศุภาพิชญ์ แปงแสง ครูประจ าชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1


ภาคผนวก


แบบบันทึกการออมทรัพย์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1


กระปุกออมเงินของห้องเรียนประถมศึกษาปีที่ 3/1 กิจกรรมการออมเงิน


Click to View FlipBook Version