อารยธรรมอินเดีย
หรืออารยธรรม
ลุ่มแม่น้ำสินธุ
น า ง ส า ว ฐิ ติ ว ร ด า โ ต แ ก้ ว
ม . 6 / 5 เ ล ข ที่ 2 1
1
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
เป็นแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกของอินเดีย อยู่บริเวณดินแดนภาคตะวันตกของ
อินเดีย (ปากีสถานในปัจจุบัน) ที่แม่น้ำสินธุไหลผ่าน อาณาเขตลุ่มแม่น้ำสินธุ
ครอบคลุมบริเวณกว้างกว่าลุ่มแม่น้ำไนล์แห่งอิยิปต์ โดยทุกๆ ปี กระแสน้ำได้
ไหลท่วมท้นฝั่ งท้าให้ดินแดนลุ่มน้ำสินธุอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำกสิกรรม
นั กประวัติศาสตร์ บางคนเรียกอารยธรรมในดินแดนนี้ ว่า วัฒนธรรมฮารัปปา
(Harappa Culture) ซึ่งเป็นชื่อเมืองโบราณที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำสินธุเมื่อ
ประมาณ 3,500 – 1,000 ปี ก่อนพุทธศักราช
จากภูมิประเทศของอินเดียที่มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม
ขนาดใหญ่ ผู้ที่เดินทางบกเข้ามายังบริเวณนี้ ในสมัยโบราณ
ต้องผ่านช่องเขาทางด้านตะวันตกที่เรียกว่า ช่องเขาไคเบอร์
ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะเข้าสู่อินเดียในสมัยโบราณ ช่องเขานี้
เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์อินเดียตลอดมา เพราะเส้นทางนี้
เป็นทางผ่านของกองทัพของ ผู้รุกรานและพ่อค้าจากเอเชีย
กลาง อัฟกานิ สถานเข้าสู่อินเดียเพราะเดินทางได้สะดวก
2
การตั้งถิ่นฐานและเผ่าพันธุ์
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่งในบริเวณลุ่ม
แม่น้ำสินธุ คือ
1.1 เมืองโมเฮนโจ – ดาโร ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน
1.2 เมืองฮารับปา ในแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน
2. สมัยประวัติศาสตร์เริ่มเมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ โดยชนเผ่าอินโด-
อารยัน ซึ่งตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำคงคา แบ่งได้ 3 ยุค
2.1 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่กำเนิ ดตัวอักษรพรามิ ลิปิ สิ้นสุดสมัย
ราชวงศ์คุปตะ เป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธศาสนา ได้ถือกำเนิ ดแล้ว
2.2 ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์คุปตะสิ้นสุดลง จนถึงราชวงศ์โม
กุลเข้าปกครองอินเดีย
2.3 ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์โมกุลจนถึงการได้รับเอกราชจาก
อังกฤษ
3
ลักษณะซากเมืองโบราณฮารัปปา
หลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีเมืองใหญ่ 2 เมือง คือ เมืองฮารัปปา
(Harappa) และเมืองโมเฮนโจ – ดาโร (Mohenjo – Daro) หลักฐานดังกล่าว
ทำให้ทราบว่าบริเวณลุ่มน้ำสิ นธุ มีผู้คนตั้งถิ่นฐานและสร้างสรรค์อารยธรรม
มายาวนาน คือ พวกดราวิเดียน สิ่งที่เด่นที่สุดของอารยธรรมแม่น้ำสินธุคือ
ตัวเมืองที่มีการวางผังเมืองอย่าง เป็นระเบียบ แยกพื้นที่ใช้กันงานออกจาก
กันอย่างชัดเจน มีการตัดถนนเป็นมุมฉากและแบ่งเมืองออกเป็น ตาราง
แสดงความรู้ด้านเรขาคณิตขั้นสูงสิ่งที่โดดเด่นกว่าอารยธรรมอื่นๆ คือ มีการ
จัดระบบสุขาภิบาลที่ดี เป็นระบบ จากรูปแบบการก่อสร้างแสดงให้เห็นว่ามี
การปกครองแบบรวมอำนาจ ซึ่งผู้ปกครองอาจเป็นนั กบวช หรือกษัตริย์ที่
เป็นผู้นำศาสนาด้วย
4
ชนเผ่าสำคัญที่สร้างสรรค์อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ แบ่งได้เป็น 2 พวกคือ
1. พวกดราวิเดียน คือชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มน้ำสินธุ
ราว 4,000 ปีมาแล้ว พวกนี้ มีรูปร่างเตี้ย ผิวคล้ำและจมูกแบน คล้ายกับคน
ทางตอนใต้ในอินเดียบางพวกปัจจุบัน
2. พวกอารยัน เป็นพวกที่อพยพเคลื่อนย้ายจากดินแดนเอเชียกลาง ลง
มายังตอนใต้กระจายไปตั้งถิ่นฐานใน พื้นที่ต่างๆซึ่งอุดมสมบูรณ์และมีภูมิ
อากาศที่อบอุ่นกว่า พวกอารยันส่วนหนึ่ งได้เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่
ในลุ่มน้ำสิ นธุ และขับไล่พวกดราวิเดียนให้ถอยร่นไปหรือจับตัวเป็นทาส
พวกอารยันมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว จมูกโด่ง คล้ายกับชาวอินเดียที่อยู่ทาง
ตอนเหนื อ พวกอารยันเหล่านี้ รับวัฒนธรรมชนพื้นเมือง แล้วนำมาผสม
ผสานเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะ
5
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองและมีอายุเก่าแก่ไม่แพ้อารยธรรมใด สรุป
สาระสำคัญได้ดังนี้
1. สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (ประมาณ 2,500-1,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช)
ถือว่าเป็นสมัยอารยธรรม “กึ่งก่อนประวัติศาสตร์” เพราะมีการค้นพบหลักฐาน
จารึกเป็นตัวอักษรโบราณแล้วแต่ยังไม่มีผู้ใดอ่านออก และไม่แน่ ใจว่าเป็นตัวอักษร
หรือภาษาเขียนจริงหรือไม่ ศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองโมเฮนโจ – ดาโร และ
เมืองฮารัปปา ริมฝั่ งแม่น้ำสินธุประเทศปากีสถานใน ปัจจุบัน สันนิ ษฐานว่าเป็น
อารยธรรมของชนพื้นเมืองเดิม ที่เรียกว่า “ทราวิฑ” หรือพวกดราวิเดียน
(Dravidian)
2. สมัยพระเวท ( ประมาณ 1,500-600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เป็นอารยธรรมของ
ชนเผ่าอินโด-อารยัน (Indo-Aryan ) ซึ่งอพยพมาจากเอเชียกลาง เข้ามาตั้งถิ่นฐาน
ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสิ นธุ และคงคาโดยขับไล่ชนพื้นเมืองทราวิฑให้ถอยร่นลง
ไปทางตอนใต้ของอินเดีย สมัยพระเวทแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนา
พราหมณ์ หลักฐานที่ทำให้ทราบเรื่องราวของยุคสมัยนี้ คือ “คัมภีร์พระเวท” ซึ่ง
เป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ นอกจากนี้ ยังมีบทประพันธ์มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่อีก
2 เรื่อง คือ มหากาพย์รามายณะและมหาภารตะ บางทีจึงเรียกว่าเป็นยุคมหากาพย์
6
3. สมัยพุทธกาลหรือสมัยก่อนราชวงศ์เมารยะ (Maurya) ประมาณ 600-300 ปี
ก่อนคริสต์ศักราช) เป็นช่วงที่อินเดียถือกำเนิ ดศาสนาที่สำคัญ 2 ศาสนา คือ
ศาสนาพุทธและศาสนาเชน
4. สมัยจักรวรรดิเมารยะ (Maurya) ประมาณ 321-184 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
พระเจ้าจันทรคุปต์ปฐมกษัตริย์ ราชวงศ์เมารยะได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดน
ชมพูทวีปให้เป็นปึกแผ่นภายใต้จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกของอินเดีย
5. สมัยราชวงศ์เมารยะ พระพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์ให้เจริญรุ่งเรือง โดย
เฉพาะในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (Asoka) ได้ เผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยัง
ดินแดนทั้งใกล้และไกล รวมทั้งดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง
เผยแพร่เข้าสู่ แผ่นดินไทยในยุคสมัยที่ยังเป็นอาณาจักรทวารวดี
6. สมัยราชวงศ์กุษาณะ (ประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ.320) พวก
กุษาณะ (Kushana) เป็นชนต่างชาติที่เข้ามารุกรานและตั้งอาณาจักรปกครอง
อินเดียทางตอนเหนื อ กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้ากนิ ษกะ รัชสมัยของพระองค์
อินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะด้าน
การแพทย์ นอกจากนั้ น ยังทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา (นิ กายมหายาน) ให้
เจริญรุ่งเรือง โดยจัดส่งสมณทูตไปเผยแพร่พระศาสนายังจีนและทิเบต มีการ
สร้างพระพุทธรูปที่มีศิลปะงดงาม และสร้างเจดีย์ใหญ่ที่เมืองเปชะวาร์
7
7. สมัยจักรวรรดิคุปตะ (Gupta) ประมาณ ค.ศ.320-550 พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1
ต้นราชวงศ์คุปตะได้ทรงรวบรวมอินเดียให้เป็นจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่ ง ได้ชื่อว่า
เป็นยุคทองของอินเดีย มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านศิลปะ
วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง ปรัชญาและศาสนา ตลอดจนการค้าขายกับ
ต่างประเทศ
8. สมัยหลังราชวงศ์คุปตะ หรือยุคกลางของอินเดีย (ค.ศ.550 – 1206) เป็นยุคที่
จักรวรรดิแตกแยกเป็นแคว้นหรืออาณาจักรจ้านวนมาก ต่างมีราชวงศ์แยก
ปกครองกันเอง
9. สมัยสุลต่านแห่งเดลฮีหรืออาณาจักรเดลฮี ( ค.ศ. 1206-1526 ) เป็นยุคที่พวก
มุสลิมเข้ามาปกครองอินเดีย มีสุลต่านเป็นผู้ปกครองที่เมืองเดลฮี
10. สมัยจักรวรรดิโมกุล (Mughul) ประมาณ ค.ศ. 1526 – 1858 พระเจ้าบาบูร์ ผู้
ก่อตั้งราชวงศ์โมกุลได้ รวบรวมอินเดียให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ ง ได้ชื่อว่าเป็น
จักรวรรดิอิสลามและเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย โดยอินเดียตกเป็น
อาณานิ คมของอังกฤษในปี ค.ศ. 1858 กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลที่ยิ่งใหญ่ คือ
พระเจ้าอักบาร์ มหาราช (Akbar) ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรือง
ในทุก ๆ ด้าน และในสมัยของชาห์ เจฮัน ( Shah Jahan ) ทรงสร้าง “ทัชมาฮัล”
(Taj Mahal) ซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรัก เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสาน
ศิลปะอินเดีย
8
11. สมัยอาณานิ คมอังกฤษ ปลายสมัยอาณาจักรโมกุล กษัตริย์ทรงใช้จ่าย
ฟุ่มเฟือย ต้องเพิ่มภาษีและเพิ่มการ เกณฑ์แรงงานทำให้ราษฎรอดอยาก และ
ยังกดขี่ท้าลายล้างศาสนาฮินดูและชาวฮินดูอย่างรุนแรง เกิดความ แตกแยก
ภายในชาติ เป็นเหตุให้อังกฤษค่อยๆเข้าแทรกแซงและครอบครองอินเดียทีละ
เล็กละน้ อยในที่สุด อังกฤษล้มราชวงศ์โมกุลและครอบครองอินเดียในฐานะ
อาณานิ คมอังกฤษ สิ่งที่อังกฤษวางไว้ให้กับอินเดียคือ
-รากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา
-การศาล การศึกษา
-ยกเลิกประเพณีบางอย่าง เช่น พิธีสตี (การเผาตัวตายของหญิงฮินดูที่สามี
ตาย)
12. สมัยเอกราช หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการชาตินิ ยมอินเดียนำโดย
มหาตมะ คานธี และ เยาวราลห์ เนห์รู เป็นผู้นำเรียกร้องเอกราช มหาตมะ
คานธี ใช้หลักอหิงสา (ความไม่เบียดเบียน ความสงบ) ในการเรียกร้อง
เอกราชจากอังกฤษจนประสบความสำเร็จ หลังจากได้รับเอกราชอินเดีย
ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
9
การปกครองและกฎหมาย
บ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำสินธุ มีร่องรอยของการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่
ศูนย์กลาง ทั้งนี้ เห็นได้จาก รูปแบบการสร้างเมืองฮารัปปาและเมืองเฮนโจ-
ดาโร ต่อมาเมื่อพวกอารยันเข้ามาปกครองดินแดนลุ่มน้ำสินธุ แทนพวกดราวิ
เดียนจึงได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบกระจายอำนาจโดยแต่ละเผ่ามี
หัวหน้ าที่เรียกว่า ราชา ปกครองกันเอง มีหน่ วยการปกครองลดหลั่นลงไปตาม
อันดับจากครอบครัวที่มีบิดาเป็นหัวหน้ าครอบครัว หลายครอบครัวรวมกันเป็น
ระดับหมู่บ้าน และหลายหมู่บ้านมีราชาเป็นหัวหน้ า ต่อมาแต่ละเผ่ามีการพุ่งรบ
กันเอง ท้าให้ราชาได้ขึ้นมามีอำนาจสูงสุดในการปกครองด้วยวิธีต่างๆ คือ
1. พิธีราชาภิเษก เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อยกฐานะผู้นำให้เป็นเทวราชโดยมีพราหมณ์
ผู้ประกอบพิธีประกาศว่า ราชาคือพระอินทร์ พระประชาธิบดี และพระวิษณุ ราชา
จึงกลายเป็นเทพเจ้า พิธีนี้ ทำให้ราชาเป็นผู้ที่น่ าเคารพยำเกรงและมีอำนาจสูงสุด
2. ความเชื่อในเรื่องอวตาร ศาสนาพราหมณ์เชื่อว่าพระราชาคือเทพเจ้าอวตารลง
มาเพื่อปราบยุคเข็ญ นอกจากนี้ ศาสนาฮินดูยังนั บถือพระศิวะและถือว่าพระราชา
คือพระศิวะอวตารลงมา ความเชื่อในเรื่องของอวตารทำให้ราชาเป็นเทพเจ้า
สูงสุด มีความยิ่งใหญ่ดังเช่นพระศิวะและพระวิษณุ
3. พิธีอัศวเมธ เป็นพิธีขยายอำนาจโดยส่งม้าวิ่งไปยังดินแดนต่างๆ จากนั้ นส่ง
กองทัพติดตามไปรบ เพื่อยึดครองดินแดนที่ม้าวิ่งผ่านไป พิธีนี้ เป็นการแสดง
ความยิ่งใหญ่ของพระราชา เพราะเมื่อทำพิธีอัศวเมธได้สำเร็จก็จะเป็นที่ยอมรับ
นั บถือของราชาอื่นๆ
4.การตั้งชื่อเพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ เปอร์เซียเป็นชาติแรกที่แสดงสถานการณ์
เป็นราชาเหนื อราชาอื่นๆ เช่นพระเจ้าดาริอุสเรียกพระองค์เองว่าเป็นราชาแห่ง
ราชา ราชาที่ยิ่งใหญ่ในอินเดียมักถูกเรียกว่ามหาราชาหรือราชาธิราช เป็นต้น
5. คำสอนในคัมภีร์ศาสนาและตำราสนั บสนุนความยิ่งใหญ่ของราชา คัมภีร์
พระเวทเน้ นบทบาทความสำคัญของราชาต่อสังคม คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา
คือ พระไตรปิฎก ได้กล่าวถึงผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นราชาคือผู้ที่ลงโทษผู้ที่กระทำ
ผิดเช่นเดียวกับในคัมภีร์อื่นๆ เช่นคัมภีร์อรรถศาสตร์ ได้กล่าวถึงราชาและ
ยกย่องราชาเป็นผู้ยิ่งใหญ่และเป็นผู้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้สั งคมโดยมีข้อแม้
ว่า พระราชาจะต้องปกครองให้เป็นไปตามหลักธรรมศาสตร์และราชธรรมราชา
10
สังคมและวัฒนธรรม
วัฒนธรรมอินเดีย
1. ระบบวรรณะ ตั้งแต่สมัยโบราณวรรณะที่สำคัญมี 4 วรรณะ คือ
2. ปรัชญาและลัทธิศาสนาของสังคมอินเดีย ซึ่งในปรัชญาอินเดียมีวิธีการเป็น
แบบฉบับของตนเอง คือ ก่อนที่จะเสนอแนวความคิดของตนเองขึ้นมานั ก
ปรัชญาหรือนั กคิดอินเดียจะเสนอแนวความคิดของนั กปรัชญาคนอื่นหรือระบบ
อื่นเสียก่อน ซึ่งแนวความคิดของนั กปรัชญาคนอื่นหรือระบบอื่นที่เสนอก่อนนี้
เรียกว่า ปูรวปักษ์ ทรรศนะของตนเองที่เสนอขึ้นมาทีหลังนี เรียกว่า
อุตตรปักษ์
3. เทพเจ้าของอินเดีย มีการนั บถือเทพเจ้าและมีคัมภีร์พระเวทเกิดขึ้น พวก
อริยกะหรืออารยันนั้ นแต่เดิมก็นั บถือธรรมชาติ โดยตั้งชื่อตามสิ่งที่เป็น
ธรรมชาตินั้ นๆ แล้วก็เกิดมีหัวหน้ าเทพเจ้าขึ้น ดังที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวท
ซึ่งก็คือพระอินทร์ จากหลักฐานโบราณที่เป็นจารึกบนแผ่นดินเหนี ยวอายุราว
1,400 ปี ก่อนคริสตกาล เรียกว่าแผ่นจารึก โบกาซ คุย หรือจารึกเทเรีย จารึกนี้
ได้ออกนามเทพเจ้าเป็นพยานถึง 4 องค์ นั่ นก็คือ พระอินทร์ มิทระ พระวรุณ
และนาสั ตย์
11
ด้านศาสนา
อินเดียเป็นแหล่งกำเนิ ดศาสนาสำคัญของโลกตะวันออก ได้แก่
1. ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มีเทพเจ้าที่สำคัญ เช่น พระศิวะเป็นเทพผู้ทำลาย
ความชั่วร้าย พระพรหมเป็นเทพเจ้าผู้สร้างสรรพสิ่งบนโลก พระวิษณุเป็น
เทพเจ้าแห่งสันติสุขและปราบปรามความยุ่งยาก เป็นต้น
2. พระพุทธศาสนา มีหลักค้าสอนที่สำคัญ เช่น อริยสัจ 4 มีจุดหมายเพื่อมุ่งสู่
นิ พพาน
3. ศาสนาเชน มีศาสดา คือ มหาวีระ มีนิ กายที่สำคัญอยู่ 2 นิ กาย คือ นิ กาย
เศวตัมพร เป็นนิ กายนุ่ งผ้าขาว ถือว่าสีขาวเป็นสีบริสุทธิ์ และนิ กายทิฆัมพร
เป็นนิ กายนุ่ งลมห่มฟ้า (เปลือยกาย)
4. ศาสนาซิกข์ เป็นศาสนาที่ก่อตั้งขึ้นมาโดยพระศาสดา ศรี คุรุ นานั ก เดว ยิ
ในปี พ.ศ. 2012 (ค.ศ. 1469) โดยหลักธรรมและค้าสอนพื้นฐานของศาสนา
ซิกข์ขึ้นมา เป็นศาสนาที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความจริงและเน้ นความเรียบ
ง่าย สอนให้ทุกคนยึดมั่นและศรัทธาในพระเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียว
12
ด้านเศรษฐกิจ
คนในดินแดนลุ่มน้ำสิ นธุ มีการทำอาชีพเกษตรเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและมี
การทำการค้าภายในแต่ละอาณาจักร ทำให้การค้าภายในเมืองต่างๆขยายตัวขึ้น
ซึ่งมีสินค้าสำคัญ เช่น ดีบุก ทองแดง หินมีค่าชนิ ดต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีสินค้า
อุตสาหกรรม เช่น การทอผ้า ฝ้าย ไหม เป็นสินค้าไปขายในดินแดนต่างๆ เช่น
อาระเบีย เปอร์เซีย และอียิปต์ เป็นต้น เมื่อชาวอารยันมีอำนาจมั่นคง จึงได้
สร้างบ้านอยู่เป็นหมู่บ้าน มีการปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์พันธุ์ต่างๆ มากขึ้น เพื่อ
ใช้ประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ชาวอารยันยังมีอาชีพเป็นช่างต่างๆ เช่น
ช่างทองแดง ช่างเหล็ก ช่างปั้ นหม้อ เป็นต้น การที่ชาวอารยันดำเนิ นการค้าขาย
ทั้งทางบกและทางทะเลอย่างต่อเนื่ อง ทำให้มีเศรษฐกิจดีพอที่จะสนั บสนุนให้
เกิดการสร้างสรรค์อารยธรรมในด้านอื่นๆ
ด้านภาษาและวรรณกรรม
ในดินแดนลุ่มน้ำสินธุยังพบวัฒนธรรมด้านภาษา คือ ตัวอักษรโบราณของ
อินเดีย ซึ่งเป็นอักษรดั้งเดิมที่ยังไม่มีนั กวิชาการอ่านออก อักษรโบราณนี้
ปรากฏในดวงตราต่างๆมากกว่า 1,200 ชิ้น โดยในดวงตราจะมีภาพ วัว ควาย
เสือ จระเข้ และช้าง ปรากฏอยู่ด้วย พวกอารยันใช้ภาษาสันสกฤตซึ่งเป็นภาษา
ที่ใช้เขียนคัมภีร์ศาสนา เช่น คัมภีร์พระเวท เมื่อประมาณ 1,000 ปี มาแล้ว วรรณ
กรรมทื่สำคัญได้แก่ มหากาพย์มหาภารตยุทธ ซึ่งเป็นเรื่องการสู้รบในหมู่พวก
อารยันและมหากาพย์รามายณะ เป็นเรื่องการสู้รบระหว่างพวกดราวิเดียนกับ
พวกอารยัน
มรดกของอารยธรรมอินเดีย 13
1. ด้านสถาปัตยกรรม
ซากเมืองฮารับปาและโมเฮนโจ – ดาโร ทำให้เห็นว่ามีการวางผังเมืองอย่างดี มี
สาธารณูปโภคอำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น ถนน บ่อน้ำประปา ซึ่งเน้ น
ประโยชน์ ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม
ซากพระราชวังที่เมืองปาฏลีบุตรและตักศิลา สถูปและเสาแปดเหลี่ยมที่สำคัญคือ
สถูปเมืองสาญจี (สมัยราชวงศ์เมารยะ)
สุสานทัชมาฮาล สร้างด้วยหินอ่อน เป็นการผสมระหว่างศิลปะ
อินเดียและเปอร์เซีย
2. ด้านประติมากรรม เช่น 14
พระพุทธรูปแบบคันธาระ พระพุทธรูปแบบมถุรา
3. จิตรกรรม สมัยคุปตะและหลังสมัยคุปตะ เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอินเดีย
พบงานจิตรกรรมที่ผนั งถ้ำอชันตะ เป็นภาพเขียนในพระพุทธศาสนาแสดงถึง
ชาดกต่างๆ ที่งดงามมาก ความสามารถในการวาดเส้นและการ อาศัยเงามืด
บริเวณขอบภาพ ทำให้ภาพแลดูเคลื่อนไหว ให้ความรู้สึกสมจริง
4. นาฏศิ ลป์ เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เป็นส่วนหนึ่ งของพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้า
ตามคัมภีร์พระเวท
การแพร่ขยายและการถ่ายทอด 15
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียแพร่ขยายออกไปสู่ ภูมิภาคต่างๆทั่วทวีปเอเชียโดยผ่าน
ทางการค้า ศาสนา การเมือง การทหารและได้ผสมผสานเข้ากับอารยธรรมของ
แต่ละประเทศจนกลายเป็นส่วนหนึ่ งของอารยธรรมสังคมนั้ นๆ
ในเอเชียตะวันออก พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียมีอิทธิพลต่อชาวจีนทั้ง
ในฐานะศาสนาสำคัญและ ในฐานะที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะของจีน
ภูมิภาคเอเชียกลางอารยธรรมอินเดียที่ถ่ายทอดให้เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7
เมื่อพวกมุสลิมอาหรับ ซึ่งมีอำนาจในตะวันออกกลาง นำวิทยาการหลายอย่าง
ของอินเดียไปใช้ ได้แก่ การแพทย์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นต้น ขณะ
เดียวกันอินเดียก็รับอารยธรรมบางอย่างทั้งของเปอร์เซียและกรีก โดยเฉพาะ
ด้านศิลปกรรม ประติมากรรม เช่น พระพุทธรูปศิลปะคันธาระซึ่งเป็นอิทธิพล
จากกรีก ส่วนอิทธิพลของเปอร์เซียปรากฏในรูปการปกครอง สถาปัตยกรรม
เช่น พระราชวัง การเจาะภูเขาเป็นเพื่อสร้างศาสนสถาน
ภูมิภาคที่ปรากฏอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียมากที่สุดคือเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ พ่อค้า พราหมณ์ และภิกษุสงฆ์ชาวอินเดียเดินทางมาและนำอารยธรรม
มาเผยแพร่ ซึ่งอารยธรรมที่ปรากฏอยู่มีแทบทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านศาสนา
ความเชื่อ การปกครอง ศาสนาพราหมณ์ฮินดูและพุทธ ได้หล่อหลอมจนกลาย
เป็นรากฐานสำคัญที่สุดของประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้
E-Book
Scan me!