The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การประมาณราคาระบบไฟ้า

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Weerachart Khoudkaew, 2022-04-26 02:23:40

การประมาณราคาระบบไฟ้า

การประมาณราคาระบบไฟ้า

สารบัญ 1
1
การประมาณราคา 1
ประโยชน์ของการประมาณราคา 2
ข้อมลู ที่มผี ลกบั การประมาณราคา 2
คณุ สมบตั ขิ องผู้ประมาณราคา
องค์ประกอบของงานโครงการก่อสรา้ ง 3
3
การประมาณราคาระบบไฟฟา้ -ส่อื สาร 6
องคป์ ระกอบของราคา 9
ขัน้ ตอนของการประมาณราคา
ตัวอยา่ งแบบฟอรม์ บญั ชีแสดงปริมาณวัสดแุ ละราคา (Bill of quantity)

การประมาณราคา

การประมาณราคา หมายถึง การคํานวณหาปริมาณวัสดุ ค่า แรงและค่าดําเนินการที่ราคาใกล้เคียงกับ
ค่าใช้จ่ายจริงมากที่สุด ในการแยกรายการวัสดุ ค่าแรง ค่าใช้จ่ายเครื่องมือเคร่ืองจักร และค่าใช้จ่ายอื่น
ทเ่ี กยี่ วข้องกบั งานโดยมผี ลกับตวั แปรตามในด้านระยะเวลาของการทํางาน ดังนั้นการประมาณราคาจึงไม่ใช่ราคา
ทีแ่ ทจ้ รงิ แตอ่ าจใกลเ้ คยี งกบั ราคาจริง

ประโยชนข์ องการประมาณราคา

ผูล้ งทุน (Owner)
ในการพิจารณาตดั สินใจทจ่ี ะลงทุนในโครงการต่างๆ ข้อมูลท่ีสําคญั ทส่ี ุดอยา่ งหนง่ึ ที่ใช้ในการศกึ ษาความ

เป็นไปได้ของโครงการก็คอื ราคาต้นทนุ ซ่งึ ตน้ ทนุ ท่ีแท้จริงยงั ไม่สามารถรู้ได้ในขณะเริ่มต้นของโครงการ เนื่องจาก
ยังมิได้เร่ิมโครงการ จึงต้องอาศัยผู้ชํานาญการมาช่วยประมาณราคาของต้นทุน เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ
ท่จี ะลงทุนหรือไม่

ผูอ้ อกแบบ (Designer)
หลังจากมีการตัดสินใจท่ีจะทําโครงการ ผู้ออกแบบนอกจากจะจัดทําแบบ (Drawing) และรายละเอียด

ประกอบ (Specification) เพ่ือใช้การประกวดราคาก่อสร้างแล้วยังต้องมีการประมาณราคากลางส่งให้กับ
ผู้บรหิ ารโครงการตวั แทนผลู้ งทนุ เพื่อใชใ้ นการเจรจาต่อรองผรู้ ับจ้างกอ่ สรา้ ง

ผูร้ ับจา้ งก่อสร้าง (Contractor)
ผู้รับจ้างก่อสร้างจะต้องประมาณราคาเพื่อใช้ในการยื่นประกวดราคาก่อสร้าง

ผู้บรหิ ารโครงการ (Project manager)
ในระหว่างการดําเนินงานก่อสร้างโครงการ ปกติจะมีการปรับ เปล่ียน แก้ไข เพ่ือให้โครงการ

มีความสมบูรณ์มากข้ึน จึงต้องมีการประมาณราคาเพื่อใช้ในการพิจารณารายละเอียดงานเพ่ิม-ลด ในระหว่าง
การก่อสรา้ ง

ขอ้ มูลที่มผี ลกบั การประมาณราคา

1. ตําแหน่งสถานท่โี ครงการก่อสรา้ ง การคมนาคมเขา้ ออก
2. ลกั ษณะสภาพภมู อิ ากาศ ฤดกู าล เวลา
3. ข้อกาํ หนดของค่าจา้ งแรงงาน ขอ้ บังคับแรงงานท้องถน่ิ การหาแรงงานในท้องถิ่น
4. วนั หยดุ งานในช่วงกอ่ สร้างตามเทศกาลต่างๆ
5. การจดั หาแหลง่ เงินทุน พรอ้ มกับดา้ นเงนิ ทุนหมนุ เวียน
6. สถานการณท์ างดา้ นเศรษฐกิจและการเมอื ง

-1-

 

คณุ สมบตั ขิ องผูป้ ระมาณราคา

ผู้ประมาณราคา ต้องมีความรู้ความสามารถในหลายด้านซึ่งต้องใช้ความรู้ความชํานาญและ
ประสบการณ์ รวมทง้ั มีเทคนิคเฉพาะตัวอยา่ งสูง ซง่ึ จะไดม้ าซึ่งราคาที่ใกลเ้ คยี งในการกอ่ สร้างจริงมากท่สี ดุ ดังน้ัน
คณุ สมบตั ขิ องผู้ประมาณราคาควรมดี งั น้ี
1. มคี วามรเู้ รื่องวสั ดุ อุปกรณท์ ่จี ะต้องใช้งานเปน็ อยา่ งดี
2. ต้องมีความรทู้ างด้านคณิตศาสตร์ มคี วามชาํ นาญในเร่ืองการคาํ นวนและใชเ้ คร่ืองคํานวน
3. มคี วามรู้ความชํานาญในงานทีป่ ระมาณราคาเปน็ อย่างดี
4. มีความรู้ในเร่ืองแบบรูปแบบรายการท่ีประมาณราคาที่สามารถแยกรายละเอียดของงานใหญ่ออกเป็นงาน

ย่อยๆ ได้ละเอียดมากข้ึน
5. มีความละเอียดรอบคอบในการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างมีระบบ ติดตามความก้าวหน้าของการเปลี่ยนแปลง

ของวัสดอุ ปุ กรณ์ที่ทันสมัย
6. มีปฏิภาณไหวพริบในการประยุกต์โดยการนําข้อมูลท่ีเก็บรวบรวมข้อมูลมาใช้ประมาณราคาได้รวดเร็วและ

ถูกต้อง
7. มีหลักการในการวนิ จิ ฉัย ชา่ งสังเกตทดี่ เี กี่ยวกบั สภาพแวดลอ้ มในสถานท่กี อ่ สร้าง
8. มีความรู้และความเข้าใจที่สามารถศึกษาเอกสาร สัญญา รายการละเอียดประกอบ ที่จะมีผลกับรายการ

ก่อสร้างในด้านงานท่ีจะต้องเสร็จตามกําหนดเวลา ถ้างานไม่สร็จตามกําหนดเวลาจะต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ
เพมิ่ ข้นึ เช่น คา่ ปรบั เปน็ ตน้

องคป์ ระกอบของงานโครงการก่อสรา้ ง

งานโครงการก่อสรา้ งโดยทวั่ ไปจะประกอบด้วยงานหลกั ๆ อยู่ 5 ชนิด คอื
1. งานโครงสร้าง

เปน็ งานระบบหลกั โดยทวั่ ไปมีมลู คา่ ประมาณ 40 - 50 % ของมูลค่างานกอ่ สร้างท้งั หมด
2. งานสถาปตั ยห์ รอื งานตกแตง่ ท้ังภายในและภายนอก

มมี ูลคา่ ประมาณ 20-30 %ของมลู ค่างานก่อสรา้ งทั้งหมด
3. งานระบบไฟฟา้

มีมลู คา่ ประมาณ 10-15% ทง้ั นี้ข้นึ อยู่กับปริมาณพลงั งานไฟฟา้ และระดบั แรงดันไฟฟ้าทีใ่ ช้
4. งานระบบสุขาภิบาล

ปกติมีมูลค่างานน้อยมากเม่ือเทียบกับระบบอื่น ยกเว้นงานท่ีก่อสร้างที่มีจํานวนห้องน้ําหรือปริมาณการใช้
นํ้ามาก เช่น โครงการก่อสร้างอาคารชุด จะมีมลู ค่างานประมาณ 5 % ของมูลคา่ งานทก่ี อ่ สรา้ งทง้ั หมด
5. งานระบบปรบั อากาศ
มีมลู คา่ ประมาณ 10-15% ของมลู ค่างานกอ่ สร้างท้งั หมด

-2-

 

การประมาณราคาระบบไฟฟา้ -สื่อสาร

ระบบไฟฟ้า-ส่ือสารโดยท่ัวไปผู้ออกแบบจะมีการจัดแบ่งหมวด หมู่ของแบบแต่ละส่วน เพ่ือให้การออกแบบ
ถอดแบบและนําไปใชง้ านตดิ ต้งั ใชง้ านได้อย่างสะดวก โดยทัว่ ไปจะมีการจดั หมวด หมดู่ ังตอ่ ไปนี้
1. ระบบไฟฟา้ แรงดนั ปานกลาง (Medium voltage system)
2. หมอ้ แปลงไฟฟา้ (Transformer)
3. แผงเมนสวทิ ชแ์ รงตํา่ (Main distribution board)
4. แผงยอ่ ยสวิทช์แรงตํ่า (Distribution board, Panel board)
5. เครอ่ื งกําเนดิ ไฟฟ้า (Generator)
6. ระบบสายปอ้ นแรงต่ํา (Low voltage feeder system)
7. ระบบวงจรยอ่ ยแสงสว่างและเตา้ รับ (Lighting &receptacle system)
8. ระบบต่อลงดนิ และปอ้ งกันฟา้ ผา่ (Grounding & lightning system)
9. ระบบโทรศพั ท์ (Telephone system)
10. ระบบเครอื ขา่ ยคอมพิวเตอร์ (Computer network system)
11. ระบบแจง้ เหตเุ พลงิ ไหม้ (Fire alarm system)
12. ระบบรับสญั ญาณโทรทัศน์ (MATV system)
13. ระบบโทรทศั นว์ งจรปดิ (CCTV system)
14. ระบบกระจายเสยี ง (Sound system)
15. ระบบนาฬกิ ารวม (Master clock system)
16. ระบบสญั ญาณเรยี กพยาบาล (Nurse call system)
17. ระบบควบคมุ อาคารอัตโนมตั ิ (Building automation system)

องคป์ ระกอบของราคา

องค์ประกอบของราคา ประกอบด้วย
1. คา่ วสั ดอุ ปุ กรณ์ (Material cost)
1.1 อุปกรณ์ท่ีนับได้ ปกติจะแสดงในแบบอย่างชัดเจน ในบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา (Bill of quantity)

จะเป็นราคาต่อหน่วยสําหรับอปุ กรณท์ ่ีนับหรือวดั ได้ ซึง่ ราคาดังกล่าวจะรวม ค่าขนสง่ ค่าแรงงานในการผลิต
ในกรณีท่ีเป็นสินค้านําเข้าจากต่างประเทศจะต้องรวมค่า ภาษี ค่าใช้จ่ายด้านศุลกากร และอาจจะต้อง
รวมถึงค่าใช้จา่ ยในการทดสอบตามท่รี ะบุในรายละเอียดประกอบ (Specification)
1.2 อุปกรณ์ท่ีนับไม่ได้ ปกติจะไม่แสดงในแบบ ทําให้ไม่สามารถนับหรือวัดปริมาณได้ในช่วงเวลาของ
การประมาณราคา เช่น Fitting, Hanger support, Accessories จะแสดงในบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและ
ราคา (Bill of quantity) เป็นราคาเหมารวม (Lot) การประมาณราคาในส่วนน้ีปกติจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์
จากอุปกรณ์หลักแต่ละชนิด เช่น Fitting ท่อร้อยสายไฟฟ้าคิดเป็น 25% Accessories ของสายไฟฟ้า
คดิ เป็น 5%

2. ค่าแรง (Labour cost)
คํานวณจากค่าแรงงานคน ค่าเคร่ืองมือ เคร่ืองจักรท่ีใช้ในการติดติดต้ังอุปกรณ์แต่ละชนิด เน่ืองจาก

การคํานวณจะมีตัวแปรคือทักษะ ฝีมือการทํางานที่แตกต่างกัน ทําให้ราคาค่าแรงของแต่ละหน่วยงานจะมี

-3-

 

ความแตกต่างกัน ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะต้องมีการรวบรวมและเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลท่ีจะนําไปใช้ต่อไป โดยปกติ
จะกาํ หนดเปน็ ราคาต่อหน่วยของอปุ กรณ์ทต่ี ิดตง้ั

ในกรณีที่เป็นโครงการก่อสร้างของภาครัฐ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังได้ออกข้อกําหนดราคา
กลางให้ทุกหนว่ ยงานของราชการนาํ ไปใชอ้ า้ งองิ ฉบับล่าสุดคือ บัญชีค่าแรงงาน/ดําเนินการ สําหรับการถอดแบบ
คํานวณราคากลางงานก่อสร้าง ฉบับปรับปรุง เดือนมีนาคม 2556 โดยค่าแรงท่ีอยู่นอกเหนือจากรายการ
ทีก่ ําหนด ให้ใชค้ ํานวณ 30-37% ของยอดคา่ วัสดุอปุ กรณ์

3. คา่ ใชจ้ ่ายเบือ้ งต้น (Preliminary cost)
คา่ ใช้จา่ ยเบ้ืองต้น เปน็ คา่ ใช้จ่ายทีน่ อกเหนอื จากคา่ วัสดอุ ปุ กรณ์และคา่ แรงงาน แตเ่ ปน็ องค์ประกอบท่ี

สาํ คัญในการดาํ เนินงานให้แล้วเสรจ็ สมบูรณ์ แบง่ ออกเปน็ ค่าใช้จา่ ยหลกั ดังต่อไปนี้
3.1 ค่าใช้จ่ายพนักงานประจําหน่วยงาน คํานวณจากค่าใช้จ่ายของบุคลากรทุกคนในหน่วยงาน ได้แก่ เงินเดือน

เบ้ียเลี้ยง ค่าเดินทาง ค่าล่วงเวลา รวมถึงค่าใช้จ่ายสวัสดิการอ่ืน เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าประกันสังคม
เปน็ ต้น
3.2 ค่าใชจ้ า่ ยสาธารณปู โภค ได้แก่ ค่านา้ํ ค่าไฟฟา้ ทงั้ สําหรบั ในหนว่ ยงานและสํานักงาน คา่ โทรศัพท์
3.3 ค่าใช้จ่ายในการจัดทําหนังสือคํ้าประกัน (Bank guarantee) ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการจัดทําหนังสือค้ําประกัน
การยื่นประมูล (Bid bond) หนังสือคํ้าประกันเงินล่วงหน้า (Advance bond) หนังสือคํ้าประกัน
การดําเนินงาน (Performance bond) หนังสือคํ้าประกันผลงานภายหลังเสร็จสิ้นงาน (Maintenance
bond)
3.4 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้แก่ ค่าเบี้ยประกัน ค่าอากรแสตมป์ ค่าใช้จ่ายในการทําแบบ Shop drawing, Asbuit
drawing ค่าใช้จ่ายในการทําคู่มอื การใชง้ าน (Operation manual) คา่ ขนสง่ คา่ ดําเนินการประสานงานกับ
หน่วยราชการ ค่าร้ือถอน ค่าอุปกรณ์และพนักงานรักษาความปลอดภัย ค่าล่วงเวลาผู้ควบคุมงาน ค่าทํา
ความสะอาด ค่าเล้ียงรบั รอง เปน็ ตน้

4. ค่าใช้จ่ายจากสาํ นกั งานใหญ่ (Overhead cost)
เปน็ คา่ ใช้จ่ายในการดําเนินงานสนบั สนนุ จากสํานักงานใหญ่ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายการด้านการบริหาร บัญชี จัดซื้อ
ทรพั ยากรมนษุ ย์ เปน็ ตน้ ปกติจะคํานวนเปน็ เปอรเ์ ซนตข์ องงานท้งั โครงการ

5. กําไร (Profit)
เป็นผลตอบแทนจากการดาํ เนนิ โครงการ ปกตจิ ะคาํ นวนเปน็ เปอร์เซนต์ของงานทง้ั โครงการ

-4-

 

ตวั อย่างแบบฟอรม์ การประมาณค่าใชจ้ ่ายเบื้องตน้ (Preliminary)

PROJECT VALUE 100 MBaht CONSTRUCTION PERIOD 12 MONTH

BID BOND 1 MBaht (90 days) ADVANCE BOND 10%

PERFORMANCE BOND 10% MAINTENANCE BOND 5%

ITEM DESCRIPTION PERIOD UNIT RATE AMOUNT TOTAL

1 Staff salary 2,832,000

Senior eng. 1 ps. 12 50,000 600,000

Electrical eng. 1 ps. 12 25,000 300,000

Supervisor 1 ps. 12 25,000 300,000

Foreman & draftman 3 ps. 12 72,000 864,000

Safety eng 1 ps. 12 25,000 300,000

Store 1 ps. 12 15,000 180,000

Admin 1 ps. 12 15,000 180,000

Maid 1 ps. 12 9,000 108,000

2 Temporary office & 1,120,000

store

Temporary office 400,000

Temporary store 200,000

Work shop 80,000

Labour camp 400,000

Temporary toilet 40,000

3 Site utilities 396,000

Temporary electrical 12 20,000 240,000

Temporary water 12 3,000 36,000

communication charge 12 10,000 120,000

4 Bank guarantee 505,000

Bid bond 2%....1....MBaht 0.25 20,000 5,000

Advance bond 2% 1 200,000 200,000

Performance bond 2% 1 200,000 200,000

Maintenance bond 2% 1 100,000 100,000

5 Other 1,274,000

Stamp duty 0.1% 100,000

Insurance 0.2% 200,000

Drawing 100,000

Operation manual 50,000

Transportation 200,000

Lift & crane 300,000

Site security 9 12,000 108,000

Site cleaning 12 18,000 216,000

TOTAL 6,127,000

-5-

 

ข้นั ตอนของการประมาณราคา

การประมาณราคามีขนั้ ตอน ดงั ตอ่ ไปนี้
1. การตรวจสอบเอกสาร
2. การศึกษาเงอ่ื นไขการประมลู
3. การศกึ ษาและวิเคราะห์แบบและรายละเอียดประกอบ
4. การถอดแบบหรือการถอดปริมาณของวสั ดุอุปกรณ์ทใี่ ช้
5. การสบื ราคาของวสั ดุอปุ กรณ์
6. การกรอกขอ้ มลู ลงในบญั ชแี สดงปริมาณวสั ดุและราคา (Bill of quantity)

1. การตรวจสอบเอกสาร
โครงการก่อสร้างส่วนใหญ่ ผู้บริหารโครงการหรือผู้ทําหน้าที่ตัวแทนเจ้าของโครงการจะทําการคัดเลือก

ผู้รับจ้างเข้าประมูลงาน เพ่ือหาผู้เข้าดําเนินงานก่อสร้างโครงการในแต่ละส่วน ซึ่งทางโครงการจะจัดเตรียม
เอกสารท่ใี ชใ้ นการประมลู ดงั ตอ่ ไปนี้

1.1 แบบสําหรับประมูล (For bidding drawing) เป็นแบบท่ีทางโครงการจัดทําขึ้นเพื่อใช้ใน
การประกวดราคาประมูล ส่วนใหญ่จะเป็น Design drawing ท่ีผู้ออกแบบเป็นผู้จัดทํา จะระบุ ขอบเขต
ของงาน แสดง ตาํ แหนง่ ขนาด และจาํ นวนวัสดุ อุปกรณท์ ี่ใช้ในโครงการ

1.2 รายละเอียดประกอบ (Specification) จะแสดงข้อมูล รายละะเอียดทางเทคนิคของวัสดุอุปกรณ์
รวมถงึ รายละเอยี ด ขอ้ กําหนดและขอบเขตการติดตงั้ ท่ไี ม่สามารถระบุในแบบได้

1.3 เง่ือนไขการประมูล เป็นเอกสารท่ีแสดงรายละเอียดข้อกําหนด เงื่อนไขต่างๆ ของโครงการ เช่น
ระยะเวลาเริ่มต้น สิ้นสุดของโครงการ ข้อกําหนดของบุคคลากรในโครงการ เง่ือนไขทางการเงิน การเบิกจ่าย
งวดงาน การค้าํ ประกนั งาน เป็นต้น

2. การศึกษาเง่อื นไขการประมูล
ตรวจสอบและพจิ ารณารายละเอียดเง่อื นไขการประมูลดังตอ่ ไปน้ี
2.1 หมายกําหนดการย่ืนซองประมูล เพื่อใช้วางแผนการ ถอดแบบ การสืบราคาของวัสดุอุปกรณ์ และ

กรอกข้อมลู ลงในบัญชีแสดงปรมิ าณวสั ดแุ ละราคา ใหท้ ันกับหมายกําหนดการย่ืนซองประมลู
2.2 ข้อกําหนดในการจัดทําหนังสือคํ้าประกัน เพ่ือเป็นข้อมูลในการจัดทําหนังสือค้ําประกันการย่ืน

ประมูล (Bid bond) ให้ทันกับหมายกําหนดการยื่นซองประมูล นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลในการกรอกราคา
ค่าใช้จ่ายในการจัดทําหนังสือค้ําประกัน (Bid bond, Advance bond, Performance bond, Maintenance
bond)

3. การศึกษาและวเิ คราะหแ์ บบและรายละเอยี ดประกอบ
หลงั จากที่ผูป้ ระมาณราคาได้รบั แบบและรายละเอียดประกอบมาแลว้ กต็ อ้ งมีการพิจารณาให้ละเอยี ด

ชดั เจนดังต่อไปนี้
3.1 ตรวจสอบจาํ นวนแบบ มคี รบตามทีร่ ะบุใน Drawing List หรอื ไม่
3.2 ศกึ ษาทาํ ความเข้าใจสญั ญลกั ษณ์ (Sysmbols) ต่างๆ
3.3 ตรวจสอบจาํ นวนหน้ารายละเอียดประกอบมีครบตามสารบญั หรอื ไม่

-6-

 

3.4 พิจารณา ตรวจสอบข้อกําหนดหรือรายละเอียดของอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์หลัก
(Main equipment) หม้อแปลง เคร่ืองกําเนิดไฟฟ้า ตู้สวิทช์บอร์ด ระบบโทรศัพท์ ระบบสัญญาณเตือนเพลิง
ไหม้ (Fire alarm) ระบบเสยี ง (sound) ระบบทีวีรวม (MATV) เปน็ ตน้

ในกรณีท่ีเอกสารไม่ครบ ขาดความสมบูรณ์ หรือมีข้อขัดแย้งกันระหว่างแบบและรายละเอียดประกอบ
จะต้องทําเอกสารคาํ ถาม (Questionaire) สอบถามกบั ทางโครงการ

3.5 พิจารณาบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา (Bill of quantity) ว่ามีการแบ่งหมวดหมู่ของเน้ืองาน
อย่างไร ซ่ึงโดยปกติจะแบ่งออกเป็นระบบ และอุปกรณ์หลัก (Main equipment) ดังตัวอย่างท่ีแนบข้างท้าย
แต่มีบางโครงการ เชน่ โครงการอาคารชุดท่ีพักอาศัย (Condominium) แบง่ หมวดหมขู่ องเนื้องานเป็นชั้นๆ หรือ
เป็นตามรูปแบบอาคารชุด ดังนั้นการถอดแบบจะต้องสอดคล้องกับบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา (Bill of
quantity) ในกรณีทีท่ างโครงการไมไ่ ดท้ ําบัญชแี สดงปรมิ าณวัสดุและราคา (Bill of quantity) มาให้ผู้เขา้ ประมูล
จะตอ้ งทาํ บญั ชแี สดงปรมิ าณวัสดแุ ละราคา (Bill of quantity) ขน้ึ เอง

4. การถอดแบบหรอื การถอดปรมิ าณของวัสดุอุปกรณ์ทใ่ี ช้
การถอดแบบเป็นการคดิ ปริมาณงานท่ใี ชใ้ นโครงการทัง้ หมด แบง่ ออกได้ 3 ส่วนดังต่อไปน้ี
4.1 การถอดวสั ดุอปุ กรณ์ทน่ี บั ได้
4.2 การถอดวสั ดอุ ปุ กรณ์ที่ตอ้ งวัดความยาว
4.3 การถอดวสั ดุอปุ กรณท์ ่ีนบั เปน็ เหมา (Lot)

4.1 การถอดวัสดุอุปกรณ์ที่นับได้ จะถอดเป็นชุด (Set) โดยเน้นที่อุปกรณ์ท่ีมีปรากฏในแบบ ได้แก่
ดวงโคม สวิทช์ไฟฟ้า เต้ารับไฟฟ้า เต้ารับโทรศัพท์ อุปกรณ์ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ อุปกรณ์ระบบรับสัญญาณ
โทรทัศน์อุปกรณ์ระบบกระจายเสียง เป็นต้น ในการนับอุปกรณ์ควรจะนับและแบ่งหมวดหมู่ตามบัญชีแสดง
ปริมาณวสั ดุและราคา (Bill of quantity)

4.2 การถอดวัสดุอุปกรณ์ท่ีต้องวัดความยาว เป็นการถอดทางเดินสายไฟฟ้าและสายไฟฟ้า (Raceway
and Cable) จะถอดเป็นเมตรโดยจะเริ่มไล่ถอดตาม Singler line diagram หรือ Riser diagram จาก
Incoming ที่รบั เข้ามาส่โู ครงการจนถึงโหลดอปุ กรณ์ตวั สดุ ทา้ ย (วงจรย่อย) เช่น ดวงโคมไฟฟ้า หรือ เต้ารับไฟฟ้า
เป็นต้น

4.3 การถอดวัสดุอุปกรณ์ที่นับเป็นเหมา (Lot) เป็นการถอดอุปกรณ์ที่ไม่แสดงในแบบแต่เป็นอุปกรณ์
ประกอบท่ีทําให้เกิดความสมบูรณ์ของงานติดตั้ง ปกติไม่สามารถนับหรือวัดปริมาณได้ในช่วงเวลาของ
การประมาณราคา เช่น Fitting, Hanger support, Accessories จะแสดงในบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา
(Bill of quantity) เป็นราคาเหมารวม (Lot) การประมาณราคาในส่วนน้ีจําเป็นต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์ใน
งานติดต้ังมาก่อน ปกติจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากอุปกรณ์หลักแต่ละชนิด เช่น Fitting ท่อร้อยสายไฟฟ้าคิดเป็น
25% Accessories ของสายไฟฟ้าคดิ เป็น 5%

ในการถอดแบบจําเป็นอย่างยิ่งท่ีจะต้องพิจารณารูปแบบของบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา ( Bill of
quantity) อยา่ งไร ซ่ึงโดยปกตจิ ะแบง่ ออกเปน็ ระบบ และอุปกรณห์ ลกั (Main equipment)

-7-

 

5. การสบื ราคาของวสั ดอุ ุปกรณ์
ในการสืบราคาเพื่อใช้กรอกบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา (Bill of quantity) ควรจะสืบราคาจาก

ตัวแทนผู้ขายวัสดุ อุปกรณ์หรือผู้ผลิตวัสดุ อุปกรณ์ ตามรายช่ือท่ีมีอยู่ในตารางรายชื่อวัสดุ อุปกรณ์ (Vendor
list) การสบื ราคาในจํานวนมากรายย่อมมโี อกาสไดข้ ้อมลู ทด่ี กี วา่ การสืบราคาในจํานวนนอ้ ยราย

ในการสืบราคาเราจําเป็นต้องเผื่อเวลาให้กับผู้ขาย (Supplier) มีเวลาในการนําเสนอราคา โดยเฉพาะ
อย่างย่ิงในอุปกรณ์สําคัญบางชนิดท่ีต้องนําเข้าจากต่างประเทศผู้ขายต้องขอราคาจากผู้ผลิตในต่างประเทศ
การนาํ เสนอราคาจะใชเ้ วลาที่นานกวา่ อุปกรณ์ท่ผี ลิตหรอื มสี ินค้าคงคลงั อยู่ภายในประเทศ

ในการเสนอราคาจากผู้ขาย ผสู้ ืบราคาจะต้องสง่ รายละเอยี ดทค่ี รบถว้ นดงั ตอ่ ไปน้ี
5.1 ปรมิ าณวัสดุ อุปกรณท์ ้งั หมด
5.2 รายละเอยี ดประกอบ (Specification)
5.3 รปู แบบตา่ งๆ Single line diagram Riser diagram Schematic diagram เป็นต้น
5.4 หมายกาํ หนดการส่ง วสั ดุ อปุ กรณ์

6. การกรอกขอ้ มูลลงในบญั ชีแสดงปริมาณวัสดแุ ละราคา (Bill of quantity)
บัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา (Bill of quantity) จะแบ่งช่องตารางออกเป็น 2 ส่วน คือ ช่องแสดง

ปรมิ าณวัสดแุ ละช่องแสดงราคา ในการกรอกขอ้ มลู สามารถปฏบิ ตั ิได้ดงั ตอ่ ไปนี้
6.1 กรอกปรมิ าณวสั ดุทไ่ี ดจ้ ากการถอดแบบลงในช่องแสดงปรมิ าณวสั ดขุ องวสั ดุ อปุ กรณ์แตล่ ะรายการ
6.2 กรอกราคาที่ได้จากการการสืบราคาของวัสดุอุปกรณ์ลงในช่องแสดงราคาต่อหน่วยวัสดุอุปกรณ์

ซงึ่ กอ่ นกรอกราคา มขี ้อทจ่ี ะต้องพิจารณาดังตอ่ ไปน้ี
6.2.1 ตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ท่ีถูกเสนอมาว่าตรงกับรายละเอียดประกอบ (Specification) ของ

โครงการ
6.2.2 เปรียบเทียบราคาของผ้ขู ายแต่ละราย เลอื กราคาผขู้ ายที่เสนอราคาถูก เง่ือนไขการชําระ

เงินดีทสี่ ดุ และสามารถสง่ สนิ คา้ ได้ภายในหมายกาํ หนดการของโครงการ
6.2.3 กรอกราคาทีไ่ ดจ้ ากขอ้ 6.2.2 ลงในชอ่ งแสดงราคาต่อหนว่ ย ซ่ึงเม่อื คณู กบั ปรมิ าณงานใน

ขอ้ 6.1 จะได้ขอ้ มูลทจี่ ะกรอกลงในชอ่ งแสดงราคาวัสดอุ ปุ กรณ์ทั้งหมดในแต่ละรายการ
6.3 กรอกราคาคา่ แรงซง่ึ ปกตแิ ตล่ ะองค์กรจะมีฐานขอ้ มลู ที่ถูกจดั ทําโดยผู้ชํานาญการลงในช่องแสดง

ราคาต่อหน่วยแรงงาน ซึ่งเมอ่ื คณู กบั ปริมาณงานในข้อ 6.1 จะไดข้ อ้ มลู ทจ่ี ะกรอกลงในช่องแสดงราคาค่าแรง
ทงั้ หมดในแตล่ ะรายการ

6.4 กรอกค่าใชจ้ ่ายเบ้อื งต้น (Preliminary cost) โดยมขี ้อมูลจากผชู้ ํานาญการ
6.5 กรอกค่าใชจ้ ่ายจากสาํ นกั งานใหญ่ (Overhead cost) จากฐานขอ้ มลู ของแต่ละองค์กร
6.7 กรอกกําไร (Profit) ปกติจะคํานวณเป็นเปอร์เซ็นต์ของงานทั้งโครงการท่ีเป็นค่าตอบแทนของ
การดาํ เนนิ งานในแต่ละองคก์ ร
6.8 ราคาประมาณการของโครงการท้ังหมด เท่ากับ ราคาผลรวมของค่าวัสดุอุปกรณ์ทั้งหมด ค่าแรงงาน
ทั้งหมด ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น (Preliminary cost) ค่าใช้จ่ายจากสํานักงานใหญ่ (Overhead cost) และกําไร
(Profit)

-8-

 

ตัวอยา่ งแบบฟอร์มบญั ชีแสดงปรมิ าณวัสดุและราคา (Bill of quantity)

-9-

 

- 10 -

 

- 11 -

 

- 12 -

 

- 13 -

 

- 14 -

 

- 15 -

 

- 16 -

 

- 17 -

 

- 18 -

 


Click to View FlipBook Version