เมืองโบราณ
บ้านทุ่งตึก
ตำบลเกาะคอเขา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
รู้ หรือไม่?
เมืองโบราณคดีบ้านทุ่งตึก เป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญบนเกาะคอเขา
ตั้งอยู่ในบริเวณ ที่ชาวบ้าน เรียกกันว่า "ทุ่งตึก" หรือ "เหมืองทอง" เหตุที่
เรียกเช่นนี้คงจะเป็นเพราะว่าในบริเวณนี้มีซาก อาคารโบราณสถานอยู่ 3 แห่ง
นอกจากนี้ในบริเวณนี้ยังได้ พบฐานเทวรูป เหรียญเงินอินเดีย เศษทองคำ
และผงทรายทอง ปัจจุบันโบราณสถานดังกล่าวถูกทำลายไป คงเหลือแต่
เพียงซากของฐานก่ออิฐเพียงบางส่วนเท่านั้น แหล่งโบราณคดีเกาะคอเขา
หรือเหมืองทอง ได้มีการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2478 โดยพบซากโบราณสถานก่อ
ด้วยอิฐขนาดยาว 60 หลา กว้าง 30 หลาสูงจากระดับพื้นดินประมาณ 6 ฟุ ต
และพบเศษภาชนะดินเผาที่ผลิตในสมัยราชวงศ์ถังของจีน (ราวพุ ทธศตวรรษที่
12-13) และเครื่องแก้วของ ชาวเปอร์เซีย โดยที่ไม่ได้ดำเนินการขุดค้นในชั้นดิน
ธรรมชาติ โบราณวัตถุเหล่านี้จัดได้ว่า มีอายุอยู่ในราวพุ ทธศตวรรษที่ 13-15
จากโบราณวัตถุที่พบเป็นจำนวนมาก แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ทำให้นัก
โบราณคดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
ดร.เอช.จี ควอริทซ์ เวลส์ นักโบราณคดีชาวอังกฤษก็เคยมาขุดตรวจดูชั้นดิน
ครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2477 และนักปราชญ์ทางโบราณคดีส่วนใหญ่ลงความ
เห็นว่า ทุ่งตึกเป็นที่ตั้งเมืองท่าโบราณซึ่งชาวอินเดีย ชาวจีน ชาวอาหรับ และ
ชาวมลายู มาทำมาค้าขาย เพราะตั้งอยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมทาง
ธรรมชาติที่เหมาะสมในการเป็นที่จอดเรือหลบคลื่นลม มีทรัพยากรธรรมชาติ
อุดมสมบูรณ์ อยู่ใกล้ทะเลหลวงขนาดใหญ่สามารถเข้าออกสะดวก อีกทั้งตั้ง
อยู่ตรงปากแม่น้ำตะกั่วป่าซึ่งการคมนาคมทางเรือทั้งขึ้นและล่องตามลำแม่น้ำ
จะต้องผ่านเสมอ
ลักษณะทั่วไป
แหล่งโบราณคดีเกาะคอเขามีซากอาคารโบราณสถานอยู่ 3 แห่ง
และพบฐานเทวรูป เหรียญ เงินอินเดีย เศษทองคำ และผงทรายทอง
และโบราณสถาน ก่อด้วยอิฐขนาดยาว 60 หลา กว้าง 30 หลา สูงจาก
ระดับพื้นดินประมาณ 6 ฟุต และได้พบเศษภาชนะดินเผา ที่ผลิตในสมัย
ราชวงศ์ถังของจีน เครื่องแก้วของชาวเปอร์เซีย และลูกปัด
หลักฐานที่พบ
1.ประติมากรรมเทพีและโอรส ประติมากรรมชิ้นนี้ทำจากหินปูน แต่ลวดลาย
ต่าง ๆ ลบเลือนมาก เทวรูปนี้มีฐานกว้าง 60 เซนติเมตร ส่วนสูง 65
เซนติเมตร ประติมากรรม เทพี ประทับนั่งชันพระชงฆ์ซ้ายวางพระบาทซ้าย
ทับบนพระบาทขวา พระหัตถ์ซ้าย โอบโอรส พระหัตถ์ขวาถือลูกกลมหรือก้อน
ดิน หรือธรณี โอรส ประทับนั่งบนพระชงฆ์ซ้าย เทพีโดยพระบาทลงเบื้อง
ล่าง พระหัตถ์ขวาชูเหนือ เศียร ทั้งเทพีและโอรสมุ่นมวยผมสูง ทรงสวม
กรองคอพาหุรัด ส่วนกุณฑล ทรงกลม นุ่งผ้าเว้าลงใต้พระนาภี ปรากฏ ชาย
ผ้านุ่ง ของพระบาททั้งสองข้าง
2.ฐานเทวรูป เป็นฐานเทวรูปที่ทำจากหินปูน ตรงกลางจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ขนาดกว้างด้านละ 12 เซนติเมตร
3.แท่งหินปูน เป็นแท่งหินปูนที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีขนาดกว้าง 31
เซนติเมตร สูง 55 เซนติเมตร แท่นนี้อาจจะเป็นที่สำหรับวางรูปเคารพก็ได้
4.เครื่องประดับทำด้วยหิน แร่ประกอบหิน เช่น กำไล หิน จักรหิน ลูกปัดหิน
5.เศษภาชนะดินเผา ก็จะมีภาชนะประเภทพื้นเมือง เช่น พวยการูปแบบตรง
กลางป่องเป็นรูปวงแหวน เนื้อละเอียดและพวยกาสั้นและยาวแต่โค้งลง เนื้อ
มัก หยาบ และภาชนะดินเผาประเภทที่มาจากต่างประเทศ เป็นภาชนะดินเผา
เคลือบสีน้ำตาล แบบฉาง-ชา (Shang - Sha) ในมณฑลโฮนาน (Honan)
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และเครื่องมือเครื่องใช้โลหะ (สำริด - เหล็ก)
หลักฐานที่พบ
หลักฐานที่พบ