The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by GYPSY GROUP, 2019-03-20 23:56:13

เปิดตำนานบาบิโลน

ตำนานบาบิโลน

Keywords: บาบิโลน

BABYLON Mesopotamia: Cradle of Civilization

เปดตำนานบาบิโลน
ณัฐพล เดชขจร: เขยี น
ราคา 280 บาท

ขอ มลู ทางบรรณานกุ รมของสำนกั หอสมดุ แหงชาติ
National Library of Thailand Cataloging in Publication Data
ณัฐพล เดชขจร.

Babylon Mesopotamia: Cradle of Civilization เปด ตำนานบาบิโลน.-- กรุงเทพฯ : ยิปซี กรุป , 2562.
328 หนา.
1. เมโสโปเตเมยี --ประวัตศิ าสตร. I. ช่อื เรอ่ื ง.
935
ISBN 978-616-301-675-1

c ขอ ความในหนงั สอื เลมน้ี สงวนลขิ สทิ ธ์ติ ามพระราชบญั ญตั ิลขิ สิทธิ์ (ฉบับเพิ่มเติม) พ.ศ. 2558
การคดั ลอกสวนใดๆ ในหนังสอื เลม น้ไี ปเผยแพรไ มว าในรูปแบบใดตองไดรบั อนุญาตจากเจา ของลขิ สิทธก์ิ อน
ยกเวน เพื่อการอา งอิง การวิจารณ และประชาสมั พนั ธ

บรรณาธกิ ารอำนวยการ : คธาวฒุ ิ เกนุย
บรรณาธิการบรหิ าร : สุรชยั พงิ ชยั ภมู ิ
ผชู วยบรรณาธกิ ารบรหิ าร : วาสนา ชรู ัตน
กองบรรณาธิการ : คณติ า สุตราม พรรณิกา ครโสภา ดารียา ครโสภา
เลขากองบรรณาธิการ : อรทยั ดสี วสั ดิ์
นกั ศกึ ษาฝกงานกองบรรณาธิการ : สพุ ัฒศจี เพช็ รภักดี พมิ พิศา ขนั ธบ ญุ
พสิ ูจนอ กั ษร : วนชั พร เขียวชอุม สวภทั ร เพช็ รรัตน
รูปเลม : Evolution Art
ออกแบบปก : Rabbithood Studio
ผอู ำนวยการฝา ยการตลาด : นุชนันท ทักษิณาบณั ฑติ
ผูจัดการฝา ยการตลาด : ชติ พล จนั สด
ผูจ ดั การทัว่ ไป : เวชพงษ รตั นมาลี
จดั พิมพโ ดย : บรษิ ทั ยปิ ซี กรุป จำกัด เลขท่ี 37/145 รามคำแหง 98
แขวง/เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10240
พมิ พท ี่ โทร. 0 2728 0939 โทรสาร. 0 2728 0939 ตอ 108
จดั จำหนา ย www.gypsygroup.net
: บรษิ ทั วชิ ัน่ พรีเพรส จำกดั โทร. 0 2882 9981-2
: บรษิ ัท ยิปซี กรปุ จำกดั โทร. 0 2728 0939
www.facebook.com/gypsygroup.co.ltd
LINE ID : @gypzy

สนใจส่งั ซอื้ หนงั สือจำนวนมากเพอื่ สนับสนนุ ทางการศึกษา สำนักพมิ พล ดราคาพิเศษ ติดตอ โทร. 0 2728 0939

เปดิ ตำ� นานบาบโิ ลน
BABYLON
Mesopotamia: Cradle of Civilization

ณฐั พล เดชขจร

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์
BABYLON
Mesopotamia: Cradle of Civilization

“นครบาบโิ ลน” คอื เมอื งทต่ี ง้ั อยรู่ มิ ฝง่ั แมน่ ำ�้ ยเู ฟรตสิ ราวสองพนั ปี
ท่ีนครแห่งนี้ถือก�ำเนิดข้ึนมา มีชนเผ่ามากหน้าหลายตาสลับสับ
เปลย่ี นกนั เขา้ มาปกครองนครบาบิโลน ท้ังชาว “บาบิโลเนียน” ที่
ครองความเป็นใหญ่เหนือนครบาบิโลนอยู่สองยุคหลักๆ คือยุค
จกั รวรรดบิ าบโิ ลเนยี เกา่ ในยคุ ของพระเจา้ ฮมั มรู าบี อกี ยคุ หนงึ่ คอื
จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ ปกครองโดยกษัตริย์ชาวคาลเดียน
สำ� หรบั ในยคุ อน่ื ทไี่ มไ่ ดอ้ ยใู่ นจกั รวรรดบิ าบโิ ลเนยี เกา่ และใหม่ นคร
บาบโิ ลนกย็ ังคงมีบทบาทอยใู่ นดนิ แดนเมโสโปเตเมีย เพียงแค่ถูก
ปกครองโดยจักรวรรดิอ่ืน เช่น จักรวรรดิอัสซีเรีย ก่อนที่จะถูก
เปลย่ี นมอื ตอ่ ไปยงั ชาวบาบโิ ลเนยี น เปอรเ์ ซยี น และแมแ้ ตช่ าวกรกี
ทน่ี ำ� โดยพระเจา้ อเลก็ ซานเดอรม์ หาราช โดยพระองคไ์ ดส้ นิ้ พระชนม์
ลงทีเ่ มืองบาบโิ ลนแห่งนน้ี ีเ่ อง

ณัฐพล เดชขจร ผู้เขียน จะพาท่านผู้อ่าน “เปิดต�ำนาน
บาบโิ ลน” อนั เตม็ ไปดว้ ยเรอ่ื งราวทางประวตั ศิ าสตรท์ น่ี า่ สนใจ รวม
ถงึ เหตกุ ารณท์ เี่ กดิ ขนึ้ ในแตล่ ะยคุ สมยั ไปจนถงึ ตำ� นานเรอื่ งเลา่ อนั
แสนมหัศจรรย์ต่างๆ เร่ิมจากปฐมบทแห่งเมโสโปเตเมีย, ก�ำเนิด
บาบโิ ลเนยี เกา่ และมหานครบาบโิ ลน, ฮมั มรู าบกี บั ประมวลกฎหมาย
ยคุ แรกเรมิ่ ของโลก, ตำ� นานหอคอยบาเบล, สวนลอยแหง่ บาบโิ ลน,
อักษรลิ่ม, ศิลปะ, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, เทพเจ้า และ

พิธีกรรมดึกด�ำบรรพ์ ฯลฯ จนกระทั่งการมาถึงของพระเจ้าไซรัส
มหาราชแหง่ เปอรเ์ ซยี อนั เปน็ ปจั ฉิมบทของจกั รวรรดิบาบิโลเนีย

และต่อไปน้ี ขอเชิญท่านผู้อ่านเดินทางเข้าสู่ดินแดนเส้ียว
จันทรอ์ ันไพบูลย์ “เปดิ ต�ำนานบาบโิ ลน” อารยธรรมอันเกรียงไกร
และมหานครอันยงิ่ ใหญแ่ ห่งโลกโบราณ

ส�ำนกั พิมพย์ ปิ ซี

ค�ำน�ำผู้เขียน
BABYLON
Mesopotamia: Cradle of Civilization

ถา้ ถามวา่ อารยธรรมใดคอื “ออู่ ารยธรรมแรกเรม่ิ ของโลก” คำ� ตอบ
คงเป็น “เมโสโปเตเมีย” หรือดินแดน “ระหว่างแม่น�้ำสองสาย”
บรเิ วณประเทศอริ กั และอหิ รา่ นอยา่ งไมต่ อ้ งสงสยั ถงึ แมว้ า่ ชาวเมโส
โปเตเมยี จะรุ่งเรืองร่วมสมัยกับชาวอียิปต์โบราณมาตั้งแต่เม่ือราว
5,000 ปกี อ่ น แตป่ ระวัตศิ าสตรข์ องพวกเขากลบั ไมส่ ามารถเรียบ
เรยี งใหเ้ ปน็ เสน้ ตรงเสน้ เดยี วเฉกเชน่ ประวตั ศิ าสตรอ์ นั ยาวนานของ
ชาวอยี ิปตโ์ บราณได้ ชนเผ่าที่เข้ามาปกครองดินแดนเมโสโปเตเมยี
มมี ากหนา้ หลายตาทีล่ ว้ นผลดั กันเข้ามาครองความเปน็ ใหญ่ก่อนท่ี
จะตอ้ งลา่ ถอยใหก้ ับชนเผา่ ใหม่ทีแ่ ข็งแกร่งกว่า วนเป็นวัฏจกั รเช่น
นี้ยาวนานหลายพันปี ในท่ีสุดหนึ่งในชนเผ่าที่ย่ิงใหญ่ของโลก
โบราณกไ็ ดเ้ ขา้ มาครอบครองดนิ แดนเมโสโปเตเมยี พวกเขาคอื ชาว
“บาบโิ ลเนียน” ทีผ่ ลักดันให้ “บาบโิ ลน” ก้าวขน้ึ มาเปน็ นครหลวง
ทสี่ ำ� คญั ทสี่ ดุ ของจกั รวรรดทิ แี่ ผข่ ยายอำ� นาจออกไปกวา้ งใหญไ่ พศาล

หนงั สอื “เปดิ ตำ� นานบาบโิ ลน” เลม่ นจ้ี ะพาทกุ ทา่ นไปทำ� ความ
รู้จักกับชาวบาบิโลเนียนผู้เกรียงไกร ต้ังแต่สมัยของพระเจ้าฮัมมู
ราบี ผโู้ ดง่ ดงั จากประมวลกฎหมายตาตอ่ ตาฟนั ตอ่ ฟนั ไปจนถงึ ยคุ
รงุ่ เรอื งทเ่ี รยี กวา่ “จกั รวรรดบิ าบโิ ลเนยี ใหม”่ ทป่ี กครองโดยกษตั รยิ ์
ผทู้ รงอำ� นาจหลากหลายพระองคร์ วมถงึ กษตั รยิ น์ กั สรา้ งอยา่ ง “พระ
เจ้าเนบคู ัดเนสซารท์ ี่ 2” ด้วยเชน่ กัน แตด่ ้วยว่าประวัตศิ าสตรข์ อง
เมโสโปเตเมียเป็นพงศาวดารของชนเผ่าท่ีหลากหลาย ผู้เขียนจึง
แบ่งเนื้อหาออกเป็นสี่ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกกล่าวถึงประวัติศาสตร์
ของเมโสโปเตเมียตั้งแต่ยุคสมัยของชาวสุเมเรียน, อัคคาเดียน,

บาบิโลเนียน และอัสซีเรียน ซ่ึงเป็นยุคก่อนหน้าความรุ่งโรจน์
ของ “จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่” ส่วนท่ีสองเน้นไปท่ีเร่ืองราว
ประวัติศาสตรข์ องจกั รวรรดบิ าบิโลเนียใหม่โดยเฉพาะ รวมถึงผล
งานทางสถาปตั ยกรรมอนั นา่ ทงึ่ ทเ่ี กดิ ขนึ้ ในยคุ น้ี สว่ นทสี่ ามนำ� เสนอ
เร่ืองของศาสตร์และศิลป์ของชาวเมโสโปเตเมีย ต้ังแต่เร่ืองของ
อกั ษรลมิ่ , ภาษา, ศลิ ปะ, คณติ ศาสตร,์ วทิ ยาศาสตร์ ไปจนถงึ เรอื่ ง
ของพธิ กี รรมทางศาสนาและตำ� นานความเชอ่ื เกยี่ วกบั เทพเจา้ ทพี่ วก
เขาใหค้ วามเคารพนบั ถอื กอ่ นทจ่ี ะปดิ ทา้ ยในสว่ นทสี่ ด่ี ว้ ยปจั ฉมิ บท
ของบาบโิ ลนและอารยธรรมอนั เกรียงไกรแหง่ น้ี

ผู้เขียนอ้างอิงข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์มาจากต�ำราและ
เอกสารเกี่ยวกับเมโสโปเตเมียท่ีเขียนโดยนักวิชาการท่ีน่าเช่ือถือ
หลายท่านดังท่ีได้แสดงรายชื่อของหนังสือที่ใช้อ้างอิงเอาไว้ใน
บรรณานกุ รมทา้ ยเลม่ ดว้ ยแลว้ เพอื่ ใหผ้ อู้ า่ นทส่ี นใจสามารถคน้ ควา้
มาอา่ นเพิ่มเติมกนั ไดต้ ่อไป

นอกจากบาบิโลนจะได้ก้าวขึ้นมาเป็นหน่ึงในนครหลวงแห่ง
ส�ำคญั ของจักรวรรดิบาบโิ ลเนียใหมแ่ ล้ว นครแห่งนยี้ งั เชือ่ มโยงไป
ถึงเรื่องราวของหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณอย่าง
“สวนลอยแห่งบาบโิ ลน” และเรือ่ งราวในพระคมั ภีร์ไบเบิลบทปฐม
กาลอยา่ ง “หอคอยบาเบล” อีกด้วย ในอดตี นกั โบราณคดที วั่ โลก
ตา่ งกพ็ ยายามออกตามหากนั วา่ แทท้ จ่ี รงิ แลว้ โบราณสถานสองแหง่ น้ี
จะตง้ั อยู่ ณ สถานทแ่ี หง่ ใดบนโลกใบนก้ี นั แน่ สำ� หรบั ผอู้ า่ นทา่ นใด
ที่ต้องการทราบข้อเท็จจริง ไม่ต้องไปหาจากที่ไหนไกล เพราะ
หนงั สอื เลม่ นไ้ี ดเ้ ตรยี มคำ� ตอบเอาไวใ้ หก้ บั ทกุ ๆ ทา่ นเรยี บรอ้ ยแลว้ !

ณฐั พล เดชขจร
20 กันยายน พ.ศ. 2561

สารบัญ
BABYLON
Mesopotamia: Cradle of Civilization

Part 1: ปฐมบทแหง่ เมโสโปเตเมีย 10

บทที่ 1 ประวัติศาสตรฉ์ บบั ย่อของเมโสโปเตเมีย 11

บทท่ี 2 วัฒนธรรมสเุ มเรียนจากยคุ อูรุคถึงยุคตน้ ราชวงศ ์ 31

บทท่ี 3 อัคคาเดียน จักรวรรดนิ านาชาติยคุ แรกของโลก 49

บทท่ี 4 ราชวงศท์ ่ี 3 แหง่ อรู ์ ยคุ เฟอ่ื งฟแู หง่ วฒั นธรรมสเุ มเรยี น 67

บทที่ 5 ก�ำเนดิ อัสซเี รยี จอมโหดแหง่ เมโสโปเตเมยี 83

Part 2: ปฐมบทแห่งบาบิโลเนียและยุคทองของบาบิโลน 102
บทท่ี 6 กำ� เนดิ บาบิโลเนยี เก่าและมหานครบาบโิ ลน 103
บทที่ 7 ฮัมมรู าบกี บั ประมวลกฎหมายยคุ แรกเรมิ่ ของโลก 121
บทท่ี 8 ชาวคาลเดียนและยุคทองของบาบโิ ลเนยี 139
บทที่ 9 เปิดต�ำนานซิกกูแรตตน้ ก�ำเนดิ ต�ำนานหอคอยบาเบล 161
บทที่ 10 สวนลอยแห่งบาบโิ ลนอย่ใู นเมอื งบาบโิ ลนจรงิ หรอื ? 179

Part 3: ศาสตร์และศิลปแ์ ห่งเมโสโปเตเมยี 192

บทที่ 11 ตวั เขยี นและภาษาของชาวเมโสโปเตเมยี 193

บทที่ 12 เปิดโลกศิลปะเมโสโปเตเมีย 209

บทท่ี 13 วทิ ยาศาสตร์และคณติ ศาสตร์ล้ำ� ๆ ของ

ชาวเมโสโปเตเมยี 229

บทท่ี 14 พิธกี รรมดึกดำ� บรรพ์ของชาวเมโสโปเตเมยี 245

บทที่ 15 เปิดโลกเทพเจา้ ของชาวเมโสโปเตเมยี 259

Part 4: ปัจฉมิ บทแห่งบาบโิ ลเนยี 282

บทที่ 16 การลม่ สลายของจกั รวรรดิบาบโิ ลเนียใหม่ 283

บทท่ี 17 ชาวเปอรเ์ ซียนและประวัตศิ าสตร์หนา้ สดุ ท้าย

ของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย 301

บทสง่ ท้าย นักโบราณคดผี ู้เปิดเผยอดตี แห่งเมโสโปเตเมีย 315

Part 1

ปฐมบทแหง่ เมโสโปเตเมยี

บทที่ 1

ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของเมโสโปเตเมีย
BABYLON
Mesopotamia: Cradle of Civilization

อารยธรรมดกึ ดำ� บรรพท์ สี่ ำ� คญั ของโลกแบง่ ออกไดเ้ ปน็ 4 อารยธรรม
หลกั ๆ ตามช่อื ของ “แมน่ ้ำ� ” ซ่ึงเปรยี บเสมอื นเส้นเลือดสายหลักท่ี
คอยหล่อเล้ยี งวฒั นธรรมตา่ งๆ ใหเ้ จรญิ รุ่งเรอื งข้ึนมา อารยธรรม
โบราณทางตะวันออกใกล้บ้านเรามีอยู่ด้วยกันสองอารยธรรมคือ
อารยธรรมแมน่ ้�ำฮวงโหหรอื อารยธรรมจนี โบราณ และอารยธรรม
ลุ่มแม่น�้ำสินธุซึ่งเป็นต้นก�ำเนิดของความรุ่งเรืองในแถบประเทศ
ปากีสถานและอินเดีย เม่ือหันมาดูอารยธรรมโบราณฝั่งตะวันตก
บา้ งกจ็ ะพบวา่ มอี กี สองลมุ่ แมน่ ำ�้ ทม่ี คี วามนา่ สนใจไมแ่ พก้ นั นนั่ คอื
อารยธรรมลุม่ แมน่ ำ้� ไนลข์ องชาวอยี ปิ ตโ์ บราณ และอารยธรรมลุ่ม
แมน่ ำ้� ไทกรสิ และยเู ฟรตสิ หรอื อารยธรรมทเี่ รยี กวา่ “เมโสโปเตเมยี ”
(Mesopotamia) อนั เปน็ อารยธรรมพระเอกทเี่ ราจะมาพูดถงึ กัน
แบบเนน้ ๆ ในหนังสอื เลม่ นี้

เมโสโปเตเมยี เปน็ คำ� ในภาษากรกี ทม่ี คี วามหมายวา่ “ระหวา่ ง
แมน่ ำ�้ สองสาย” ซง่ึ กห็ มายความถงึ แมน่ ำ้� ไทกรสิ และยเู ฟรตสิ นน่ั เอง
ดนิ แดนของอารยธรรมนต้ี ง้ั อยบู่ รเิ วณประเทศอริ กั อหิ รา่ น รวมถงึ
บางสว่ นของประเทศซีเรยี และตุรกใี นปัจจบุ ัน ถ้าลองดูจากแผนที่
โลกก็จะพบว่าแม่น�้ำไทกริสและยูเฟรติสน้ันไหลขนานกันจากทิศ

BABYLON Mesopotamia: Cradle of Civilization

12

ตะวนั ตกเฉยี งเหนอื ออกไปยงั อา่ วเปอรเ์ ซยี ทางทศิ ตะวนั ออกเฉยี งใต้
ดนิ แดนระหวา่ งแมน่ ำ้� สองสายนจ้ี งึ เปรยี บเสมอื น “เกาะ” ขนาดใหญ่
ทำ� ใหช้ าวอาหรบั ในยคุ หลงั เรยี กขานดนิ แดนบรเิ วณนว้ี า่ “อลั -จาซรี าห”์
(Al-Jazirah) ตามความหมายในภาษาอาหรับวา่ “เกาะ” ตามไป
ด้วย ซ่ึงหลังจากนั้นเมื่อนักโบราณคดีพบว่าอารยธรรมนี้มีความ
เจรญิ รงุ่ เรอื งกนิ พน้ื ทใี่ นดนิ แดนแถบนเี้ ปน็ แนวโคง้ จากดนิ แดนแถบ
ลแิ วนต์ (Levant) หรอื คานาอนั (Canaan) ทางฝง่ั ตะวนั ออก
ของทะเลเมดิเตอรเ์ รเนียน ข้นึ เหนอื ไปถงึ ประเทศตรุ กแี ละวกกลบั
ลงมาตามแนวการไหลของแมน่ ำ้� ไทกรสิ และยเู ฟรตสิ ดคู ลา้ ย “จนั ทร์
เสยี้ ว” ดงั นนั้ อารยธรรมเมโสโปเตเมยี จงึ ถกู เรยี กขานในอกี ชอื่ หนง่ึ
ว่า “เสี้ยวจนั ทร์อนั ไพบูลย์” (Fertile Crescent) ด้วยเชน่ กัน

แผนทแ่ี สดงพน้ื ทีข่ องดินแดนเส้ยี วจันทร์อันไพบูลย์หรืออารยธรรมเมโสโปเตเมยี
ภาพจาก: https://i.pinimg.com

เปิดตำ� นานบาบิโลน

13

แต่อารยธรรมเมโสโปเตเมียนั้นไม่เหมือนอียิปต์หรือกรีก
โบราณ พวกเขาไม่ได้อยู่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวตลอดระยะเวลา
หลายพันปีทอี่ ารยธรรมแถบนรี้ ่งุ เรอื ง วัฒนธรรมและชนเผา่ ต่างๆ
มากมายผลดั กนั เขา้ มาครองความเปน็ ใหญก่ อ่ นทจ่ี ะถกู ชนเผา่ ใหม่
เข้ามาโจมตจี นชนเผ่าเดมิ ตอ้ งร่นถอย หรือบ้างกถ็ ูกทำ� ลายลา้ ง สบื
เนอ่ื งเชน่ นยี้ าวนานกนิ เวลาหลายพนั ปี ดงั นน้ั การศกึ ษาอารยธรรม
เมโสโปเตเมียจึงแตกต่างจากการศึกษาอารยธรรมอียิปต์โบราณ
หรอื กรกี โบราณ ทส่ี ายประวัติศาสตร์เปน็ เส้นตรงเสน้ เดียวไลต่ าม
ยคุ ไดอ้ ยา่ งไมย่ ากเยน็ เทา่ ใดนกั แตส่ ำ� หรบั อารยธรรมเมโสโปเตเมยี
แล้ว ด้วยว่าดินแดนแถบนี้ไม่มีปราการธรรมชาติที่จะช่วยในการ
ปอ้ งกันเหลา่ อริราชศัตรู ดงั นน้ั จงึ มกั จะถกู เข้าโจมตแี ละเปลีย่ นมือ
ผปู้ กครองไดง้ ่าย แต่ถึงอย่างนน้ั สิง่ ท่ียังคงเชอื่ มชนเผา่ ตา่ งๆ ของ
เมโสโปเตเมยี เอาไวด้ ว้ ยกนั กค็ อื ระบบความเชอื่ เรอื่ งของเทพเจา้ (ที่
เรียกขานแตกต่างกนั ออกไปบ้าง) และตัวเขยี นของพวกเขาทีเ่ รยี ก
ว่าอักษรลิ่มหรอื คนู ิฟอร์ม (Cuneiform) นน่ั เอง

ดว้ ยวา่ เมโสโปเตเมยี เปน็ หนง่ึ ในอารยธรรมแรกเรมิ่ ของโลก
ท่ีตีคู่มากับอียิปต์โบราณอย่างสูสี นักโบราณคดีพบหลักฐานของ
การอยู่อาศัยในดินแดนแถบลุ่มแม่น�้ำไทกริสและยูเฟรติสมา
ยาวนานกวา่ หน่ึงหมืน่ ปี ซ่ึงใกล้เคียงกับหลักฐานเก่ียวกบั ขวานหนิ
ต่างๆ ท่ีค้นพบจากอารยธรรมอียิปต์โบราณ แต่ถึงอย่างน้ัน
นักโบราณคดีและนักวิชาการก็เห็นพ้องต้องกันว่าอารยธรรมเมโส
โปเตเมียเป็น “ตน้ ก�ำเนิด” ขององคค์ วามรู้ดกึ ด�ำบรรพม์ ากมายที่
ถกู สง่ ผา่ นไปยงั อารยธรรมโบราณอน่ื ๆ พวกเขารเิ รมิ่ การสรา้ งเมอื ง
เปน็ อารยธรรมแรกๆ ของโลก นอกจากนนั้ ยงั รจู้ กั ประดษิ ฐต์ วั เขยี น

BABYLON Mesopotamia: Cradle of Civilization

14

อักษรลิม่ ของชาวสเุ มเรยี นคือหนง่ึ ในตัวเขียนยคุ แรกเริ่มของโลก
ภาพจาก: https://www.metmuseum.org

ขน้ึ มาเพอื่ ใชใ้ นการจดบนั ทกึ เปน็ อารยธรรมแรกๆ ของโลกดว้ ยเชน่
กนั แตถ่ ึงอย่างน้ันในประเด็นเรอื่ งของตัวเขียนกย็ งั ไม่มกี ารฟันธง
ท่ีแน่ชัดแต่อย่างใดว่าใครจะคิดค้นองค์ความรู้น้ีขึ้นมาได้ก่อนกัน
ระหวา่ งอยี ปิ ตห์ รอื เมโสโปเตเมยี เพราะจากหลกั ฐานทางโบราณคดี
ระบุว่าท้ังคู่คิดค้นตัวเขียนขึ้นมาได้ในระยะเวลาท่ีใกล้เคียงกันคือ
ราวๆ 3,000 ปกี อ่ นครสิ ตกาล ชาวไอยคุปตค์ ดิ ค้นตวั เขยี นข้นึ มา
เพื่อตอบสนองในเร่ืองของเทพเจ้าและต�ำนานความเชื่อ ส่วนชาว
เมโสโปเตเมยี คดิ คน้ ระบบการเขยี นขนึ้ มาเพอ่ื จดบนั ทกึ รายการสง่ิ ของ
จ�ำนวนปศุสัตว์รวมถึงบันทึกเกี่ยวกับรายการค้าขาย ดังนั้นจึงมี
การเสนอกนั วา่ ทง้ั สองอารยธรรมอาจจะคดิ คน้ ตวั เขยี นขน้ึ มาไดใ้ น
ระยะเวลาไลเ่ ลย่ี กนั เพยี งแคว่ า่ ดว้ ยคนละวตั ถปุ ระสงคก์ เ็ ทา่ นน้ั เอง

เปิดตำ� นานบาบโิ ลน

15

นอกจากตัวเขียนแล้ว ชาวเมโสโปเตเมียยังคิดค้นและ
ประดิษฐ์นวัตกรรมทนี่ า่ ทงึ่ อ่นื ๆ อกี มากมาย เช่น การใช้ “ล้อ” ซง่ึ
เป็นหนง่ึ ในสง่ิ ประดิษฐ์เปล่ยี นโลก เม่อื มีลอ้ การคมนาคมขนสง่ ก็
ทำ� ไดง้ า่ ยดายมากขน้ึ นกั โบราณคดคี น้ พบโมเดลจำ� ลองของเกวยี น
สล่ี อ้ จากนครโบราณชอื่ วา่ “อรู ”์ (Ur) ในประเทศอริ กั นอกจากนนั้
ยงั พบหลกั ฐานวา่ เดมิ ทมี นั อาจจะเคยมยี างลอ้ ทท่ี ำ� จากหนงั สตั วอ์ กี
ด้วย ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการฟันธงว่าโมเดลนี้จะเคยท�ำหน้าที่อะไร
(บ้างก็เสนอว่าอาจจะเป็นเพียงของเล่นส�ำหรับเด็ก) แต่มันก็เป็น
หลกั ฐานสว่ นหนง่ึ ทแ่ี สดงใหเ้ หน็ วา่ ชาวเมโสโปเตเมยี โบราณทเี่ รมิ่ ตน้
สังคมของพวกเขาต้ังแต่เม่ือราวหนึ่งหมื่นปีก่อนด้วยการหาของป่า
-ลา่ สตั ว์ กไ็ ดเ้ รม่ิ พฒั นามาเปน็ สงั คมเกษตรกรรมทอ่ี ยตู่ ดิ ทม่ี ากขน้ึ
และเร่ิมที่จะมีการค้าขาย สร้างเมืองและระบบสังคมที่ซับซ้อน
ข้ึนมา บางทีพวกเขาอาจจะเคยใช้เกวียนเช่นน้ีในการขนส่งสินค้า
ระหว่างเมืองและท�ำการจดบันทึกรายการส่ิงของต่างๆ ด้วยอักษร
ล่ิม หลงั จากนน้ั สงั คมของพวกเขาก็พฒั นาขึน้ มาเรอื่ ยๆ ตามล�ำดับ

ภาพสลกั ของชาวสเุ มเรยี นแสดงใหเ้ หน็ วา่ พวกเขารจู้ กั ใชล้ อ้ มาตง้ั แตเ่ มอื่ หลายพนั ปกี อ่ น
ภาพจาก: http://sumerianshakespeare.com

BABYLON Mesopotamia: Cradle of Civilization

16

มีการสร้างองคค์ วามร้ทู างด้านต่างๆ มากมาย ทงั้ ศาสนา ความเชื่อ
ต�ำนาน กฎหมาย การแพทย์ ดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ท่ี
ซับซ้อน นักโบราณคดีทราบว่าชาวเมโสโปเตเมียนับถือเทพเจ้า
นับพันๆ พระองค์ มีต�ำนานองค์ความรู้และเรื่องราวบอกกล่าว
ผา่ นอกั ษรลม่ิ มากมายทร่ี จู้ กั กนั ดกี เ็ ชน่ มหากาพยก์ ลิ กาเมช (Epic
of Gilgamesh) ที่มีเน้ือหาสอดคล้องกับต�ำนานน�้ำท่วมโลกใน
พระคัมภีร์ไบเบิลอย่างน่าประหลาดใจ และต�ำนานเกี่ยวกับการ

สร้างโลกที่รู้จักกันในช่ือ “อีนูมา อิลิช” (Enûma Eliš) ของ

ชาวบาบโิ ลเนยี น (Babylonians) ซ่ึงท�ำให้นกั โบราณคดเี ข้าใจวา่
ชาวบาบิโลเนียนมองโลกจากมุมมองของพวกเขาอย่างไรและ
เช่อื มโยงกับเทพเจ้าเชน่ ไร

สำ� หรบั ชาวเมโสโปเตเมยี แลว้ พวกเขาเชอ่ื วา่ เทพเจา้ รงั สรรค์
โลกขน้ึ มาไดด้ ว้ ยการเอาชนะความอลหมา่ น ทวา่ ความอลหมา่ นนนั้
กไ็ มไ่ ดถ้ กู ทำ� ลายลงไปอยา่ งสนิ้ เชงิ มนั พรอ้ มทจี่ ะกลบั มาไดท้ กุ เมอื่
ดงั นน้ั ชาวเมโสโปเตเมยี ทกุ คนจงึ ตอ้ งประกอบพธิ กี รรมทางศาสนา
เพื่อบูชาเทพเจ้าอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ก็เพื่อท่ีจะท�ำให้โลกเกิดความ
สมดุลและเป็นการหยุดย้ังความอลหม่านอันไม่พึงประสงค์เอาไว้
น่ันจึงทำ� ให้ “นักบวช” ก้าวข้ึนมาเป็นหน่ึงในอาชีพส�ำคัญของชาว
เมโสโปเตเมียร่วมกับอาชีพอ่ืนๆ อีกมากมายท่ีช่วยขับเคล่ือน
อารยธรรมเสยี้ วจนั ทรอ์ นั ไพบลู ย์ นกั โบราณคดที ราบจากหลกั ฐาน
ทางประวตั ิศาสตร์ เช่น งานเขียนและหลักฐานทางโบราณคดตี ่างๆ
ระบวุ า่ ชาวเมโสโปเตเมยี มที ง้ั อาลกั ษณท์ เ่ี กง่ กาจ ชา่ งฝมี อื มากความ
สามารถ นกั บวช ชา่ งปัน้ ฯลฯ นอกจากนัน้ ยงั มี “นกั บวชหญิง”
ด้วยเช่นกัน เราทราบดีว่าสตรีในเมโสโปเตเมียน้ันไม่ได้ต่�ำต้อย

เปดิ ตำ� นานบาบิโลน

17

พวกเธอมสี ทิ ธใิ นการเปน็ เจา้ ของทด่ี นิ และมสี ทิ ธใิ นการฟอ้ งหยา่ ได้
ไมต่ า่ งจากสตรชี าวไอยคปุ ต์ นอกจากนน้ั ยงั ทำ� สญั ญาในการคา้ ขาย
เฉกเชน่ บุรษุ ได้ด้วยเชน่ กัน

เมอ่ื พดู ถงึ เทพเจา้ แลว้ วหิ ารแหง่ เทพเจา้ ของชาวเมโสโปเตเมยี
ก็เป็นอีกส่ิงหนึ่งที่สมควรกล่าวถึง ในขณะท่ีชาวไอยคุปต์สร้าง
“พีระมิด” เพื่อเป็นสุสานส�ำหรับฝังศพ ชาวเมโสโปเตเมียก็มีการ
สร้างอาคารท่ีดูคล้ายพีระมิดในอารยธรรมของพวกเขาเช่นกัน
อาคารที่ว่านั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “ซิกกูแรต” (Ziggurat) มี
ลกั ษณะคล้ายพีระมดิ ทรงขั้นบันได สรา้ งจากอฐิ ตากแหง้ ไม่เผาไฟ
ดา้ นบนเปน็ หอ้ งทใี่ ชส้ ำ� หรบั ทำ� พธิ บี ชู าเทพเจา้ ถา้ อา้ งองิ ตามเอกสาร
ของเฮโรโดตัส (Herodotus) บิดาแห่งประวัติศาสตร์แล้ว เขา
บันทกึ ไวว้ า่ ด้านบนสุดของซกิ กแู รตในเมืองบาบโิ ลน (Babylon)

ภาพจำ� ลองของซิกกูแรตในเมโสโปเตเมยี
ภาพจาก: https://www.ancient-origins.net

BABYLON Mesopotamia: Cradle of Civilization

18

เปน็ หอ้ งบชู าทดี่ า้ นในประดบั ดว้ ยเกา้ อย้ี าว (Couch) ทำ� จากทองคำ�
โดยท่ีจะมีสตรีผู้หนึ่งท่ีถูกเลือกโดยเทพเจ้ามาร์ดุค (Marduk)
ขึ้นไปอยู่บนน้ันเพียงล�ำพังโดยท่ีเทพเจ้ามาร์ดุคจะเข้ามาประทับ
และหลับนอนในห้องบูชานั้นด้วย นี่คือพิธีกรรมท่ีเรียกว่า
“การแต่งงานอันศักด์ิสิทธ์ิ” แต่น่าเสียดายที่จนถึงปัจจุบัน นัก
โบราณคดีก็ยังไม่ค้นพบหลักฐานเพิ่มเติมที่จะสนับสนุนสิ่งที่เฮโร
โดตสั ไดเ้ ขียนเอาไวใ้ นเอกสารของเขาเลยแม้แตน่ ้อย

นครบาบโิ ลนและวฒั นธรรมบาบโิ ลเนยี เปน็ เพยี งแคส่ ว่ นหนงึ่
ของอารยธรรมเมโสโปเตเมยี เทา่ นน้ั อยา่ งทไ่ี ดเ้ กรนิ่ ไปดา้ นบนแลว้
ว่าอารยธรรมเสี้ยวจันทร์อันไพบูลย์น้ีประกอบไปด้วยชนเผ่าและ
วฒั นธรรมตา่ งๆ มากมาย ตลอดระยะเวลาทรี่ งุ่ เรอื งอยรู่ าวๆ 3,000
ปี มชี นเผา่ ตา่ งๆ บกุ เขา้ มายดึ ครองดนิ แดนแถบนมี้ ากมายในหลาย
หว้ งเวลาจนชวนใหส้ ับสน ท้ังชาวสเุ มเรยี น อัคคาเดียน อัสซเี รยี น
ทัง้ เก่าและใหม่ บาบโิ ลเนียนทง้ั เก่าและใหม่ ฮิตไทต์ ไมตานนีและ
เปอรเ์ ซยี น แถมยังมกี รกี และโรมันเขา้ มาเกีย่ วข้องดว้ ยอกี ไมน่ อ้ ย
ดงั นนั้ กอ่ นทจี่ ะไปลงลกึ เพอ่ื ทำ� ความรจู้ กั กบั ชาวเมโสโปเตเมยี โดย
เฉพาะชาวบาบิโลเนียนนั้น จึงควรที่จะต้องมาท�ำความเข้าใจกับ
“ประวัตศิ าสตรฉ์ บับย่อ” ของเมโสโปเตเมียกนั เสียก่อน จะไดพ้ อ
เหน็ ภาพและจนิ ตนาการตามไดว้ า่ ใครบกุ เขา้ มาในชว่ งไหน และไทม์
ไลน์ของหน่ึงในอารยธรรมแรกเร่ิมของโลกโบราณน้ันด�ำเนินไป
เชน่ ไรบ้าง

เปิดต�ำนานบาบโิ ลน

19

ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของเมโสโปเตเมีย

ถา้ เทยี บกบั อารยธรรมอยี ปิ ตโ์ บราณ นกั อยี ปิ ตว์ ทิ ยาแยกยคุ
ต่างๆ ของชาวไอยคุปต์ด้วย “อาณาจักร” (Kingdom) และ
“ราชวงศ์” (Dynasty) ด้วยว่าชาวไอยคุปต์มีประวัติศาสตร์สาย
เดยี วทป่ี กครองโดยฟาโรห์ชาวอยี ปิ ต์ ถึงแมว้ ่าจะมชี นเผ่าต่างชาติ
เขา้ มาปกครองดนิ แดนบา้ งในชว่ งทา้ ยๆ ของประวตั ศิ าสตร์ แตช่ าว
ต่างถิ่นเหล่าน้ันก็ได้รับเอาวัฒนธรรมของชาวไอยคุปต์มาประยุกต์
และแต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นฟาโรห์ บูชาเทพเจ้าอียิปต์โบราณตาม
ความเช่ือด้ังเดิมของเจ้าถ่ิน ดังน้ัน ในทางประวัติศาสตร์การแบ่ง
แยกด้วยระบบอาณาจักรและราชวงศ์จึงสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่า
ผดิ กบั อารยธรรมเมโสโปเตเมยี ทม่ี หี ลากหลายชนเผา่ ผลดั กนั เขา้ มา
ครองความเปน็ ใหญ่ในพื้นทีท่ ี่แตกต่างกนั ออกไป ดังน้นั การแบ่ง
แยกยุคด้วยการดัดแปลงจากระบบ “สามยุค” (Three-age
System) จึงน่าจะเป็นท่ีเข้าใจได้ง่ายกว่า นั่นคือการแบ่งเมโส
โปเตเมียออกเป็นยุคหิน ยุคส�ำริด และยุคเหล็ก โดยมีการเพ่ิม
“ยุคทองแดง” เขา้ มาคนั่ กลางระหว่างยุคหนิ และยคุ สำ� รดิ ด้วย

ยุคแรกเร่ิมท่ีสุดของอารยธรรมเมโสโปเตเมียคือ “ยุคหิน
ใหม่” ซ่ึงเป็นยุคหินท่ีชนเผ่าในสมัยน้ันยังไม่รู้จักการประดิษฐ์
เคร่อื งป้นั ดนิ เผา และแน่นอนว่ายังไม่รู้จักตัวเขียนดว้ ยเชน่ กนั ใน
ยคุ นคี้ าดวา่ อาจจะเรมิ่ ตน้ ขน้ึ เมอ่ื ประมาณ 10,000 ปกี อ่ นครสิ ตกาล
แต่ก็เป็นไปได้ว่ามนุษย์น่าจะอาศัยอยู่ในดินแดนเส้ียวจันทร์อัน
ไพบลู ยม์ าตง้ั แตก่ อ่ นหนา้ นนั้ นานแลว้ หลกั ฐานทางโบราณคดที คี่ น้
พบแสดงใหเ้ หน็ วา่ เหลา่ บรรพชนแหง่ ลุ่มแมน่ ำ้� ไทกรสิ และยูเฟรติส

BABYLON Mesopotamia: Cradle of Civilization

20

ในช่วงยุคหินนี้เป็นกลุ่มชนหาของป่า-ล่าสัตว์ แต่ก็เร่ิมมีหลักฐาน
ของการท�ำปศุสัตว์เกิดขึ้นให้เห็นแล้วด้วยเช่นกัน นักโบราณคดี
เสนอว่ากระบวนการเปล่ียนผ่านจากสังคมของการหาของป่า-ล่า
สัตว์ไปเป็นสังคมเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์น้ันไม่ได้เกิดขึ้น
อยา่ งฉบั พลัน แตเ่ ป็นแบบคอ่ ยเปน็ ค่อยไป และยงั มกี ารตัง้ ค�ำถาม
เกิดข้ึนในหมู่นักวิชาการมากมายว่าจริงๆ แล้วชนโบราณเร่ิมตั้ง
ถน่ิ ฐานก่อนแลว้ คอ่ ยทำ� การเพาะปลูก หรอื ทจ่ี รงิ แลว้ การเพาะปลกู
ทำ� ใหพ้ วกเขาตอ้ งตงั้ ถน่ิ ฐานเพอื่ ดแู ลผลผลติ กนั แน่ ไมว่ า่ ความจรงิ
จะเป็นอย่างไร ชาวเมโสโปเตเมียก็เร่ิมท่ีจะเรียนรู้ถึงเกษตรกรรม
และปศุสัตว์ จนในท่ีสุดก็เริ่มท่ีจะคิดค้นเทคโนโลยีของการผลิต
เคร่ืองปน้ั ดนิ เผา ท�ำให้พวกเขาก้าวข้ามผ่านไปสู่อีกยคุ หนงึ่

ยุคหินใหม่ท่ีชาวเมโสโปเตเมียโบราณเริ่มประดิษฐ์เคร่ือง
ปั้นดินเผาอยู่ที่ราวๆ 7,000 ปีก่อนคริสตกาล นักโบราณคดียัง
คน้ พบวา่ พวกเขามกี ารประดษิ ฐเ์ ครอ่ื งไมเ้ ครอ่ื งมอื ตา่ งๆ ชว่ ยในการ
ท�ำงานด้วยเช่นกัน ซ่ึงอุปกรณ์เคร่ืองใช้บางอย่างถือได้ว่าทันสมัย
มากๆ ในยุคของพวกเขา และเคร่ืองไม้เครื่องมือเหล่าน้ีก็ได้ช่วย
ในการเกษตรและการเล้ียงสัตว์ ซ่ึงเป็นเสมือนจุดเร่ิมต้นส�ำคัญ
ของระบบเศรษฐกจิ ยคุ โบราณ ทำ� ใหเ้ กดิ การแลกเปลยี่ นอาหารและ
ผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูกซ่ึงมากเกินกว่าท่ีจะบริโภคได้ในชน
เผ่า และนน่ั อาจทำ� ใหเ้ กิดการคา้ ขายตามมาในยคุ หลังด้วยเช่นกนั
แตถ่ งึ อยา่ งนนั้ ในชว่ งนพ้ี วกเขากย็ งั คงใชอ้ ปุ กรณท์ ที่ ำ� จากหนิ เทา่ นนั้
หลังจากนั้นเมือ่ ราว 5,900 ปีก่อนครสิ ตกาล เครื่องไมเ้ ครอ่ื งมอื ที่
ท�ำจากโลหะกเ็ รมิ่ ปรากฏออกมาให้เห็นเป็นคร้งั แรก

ยุคถัดไปเรียกว่ายุคทองแดงซ่ึงถือเป็นสมัยสุดท้ายของยุค

เปดิ ต�ำนานบาบิโลน

21

กอ่ นประวตั ศิ าสตรใ์ นดนิ แดนเมโสโปเตเมยี และมคี วามคาบเกย่ี ว
กับยุคประวัติศาสตร์เล็กน้อย ในทางโบราณคดีแล้วน้ัน นัก
โบราณคดจี ะแยกยคุ สมยั หลกั ๆ ออกเปน็ “ยคุ กอ่ นประวตั ศิ าสตร”์
และ “ยคุ ประวัตศิ าสตร”์ ซึง่ แบ่งแยกออกจากกันด้วย “ตัวเขยี น”
ท่ีสามารถอดความได้ส�ำเร็จแล้ว ยุคหินและยุคทองแดงของ
อารยธรรมเมโสโปเตเมยี ยงั เปน็ ชว่ งทมี่ นษุ ยซ์ งึ่ อาศยั อยใู่ นดนิ แดน
เส้ียวจันทร์อันไพบูลย์รู้จักเพียงแค่การท�ำเครื่องมือจากหินและ
โลหะทองแดง ทวา่ ยงั ไมม่ ภี าษาเขยี นเกดิ ขน้ึ ยคุ ทองแดงซง่ึ กนิ ชว่ ง
เวลาตั้งแต่ 5,900 ปีกอ่ นครสิ ตกาลมาจนถงึ ประมาณ 3,000 ปีกอ่ น
คริสตกาลจึงเป็นช่วงรอยต่อของยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุค
ประวัติศาสตร์ เน่อื งดว้ ยในชว่ งประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล
น้ัน ชาวสุเมเรียนท่ีรุ่งเรืองอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอิรักได้เริ่ม
ประดษิ ฐป์ ฐมบทของอกั ษรล่มิ ขน้ึ มาใชแ้ ล้วนั่นเอง

ทองแดงถือเป็นโลหะชนิดแรกๆ ท่ีชนโบราณน�ำมาใช้เป็น
เครื่องมือเคร่ืองใช้ และชนเผ่าแรกสุดของเมโสโปเตเมียท่ีมีหลัก
ฐานว่าเจริญร่งุ เรอื งอยู่ในยุคทองแดงกค็ ือชาวสุเมเรยี น (ซงึ่ เราจะ
ไปเจาะลึกชนเผ่าน้ีกันในบทท่ี 2) พวกเขาสรา้ งนครทสี่ ำ� คัญเอาไว้
หลายแหง่ เชน่ อรู คุ (Uruk) อรู ์ อรี ดี ู (Eridu) ลากาช (Lagash)
และนปิ เปอร์ (Nippur) นครเหลา่ นส้ี รา้ งตดิ รมิ สองฝง่ั แมน่ ำ้� ไทกรสิ
และยเู ฟรตสิ ซงึ่ ลว้ นแลว้ แตเ่ ปน็ จดุ กำ� เนดิ ของตำ� นานในโลกโบราณ
มากมายหลายต�ำนาน เช่น มหากาพย์กิลกาเมช ซึ่งบอกเล่าถึง
เร่ืองราวการเดินทางของกษัตริย์ในต�ำนานจากนครอูรุคท่ีมีช่ือว่า
“กิลกาเมช” นอกจากนัน้ พระคมั ภรี ์บทปฐมกาล 11:28 (Genesis
11:28) ยงั ไดพ้ ดู ถงึ ถนิ่ กำ� เนดิ ของอบั ราฮมั (Abraham) วา่ มาจาก

BABYLON Mesopotamia: Cradle of Civilization

22

เมอื งอรู ใ์ นเมโสโปเตเมยี ดว้ ยเชน่ กนั นอกจากชาวสเุ มเรยี นแลว้ ใน
ดินแดนที่มชี อ่ื วา่ “อแี ลม” (Elam) ซ่งึ ตงั้ อยู่ทางทิศตะวนั ออกของ
อ่าวเปอร์เซียบริเวณประเทศอิหร่าน ก็มีนครดึกด�ำบรรพ์ในยุคน้ี
ปรากฏใหเ้ หน็ เช่นกนั หนึ่งในนครส�ำคัญมีชื่อว่า “ซซู า” (Susa)
นกั โบราณคดคี น้ พบหลกั ฐานของสงครามระหวา่ งชาวอแี ลมและชาว
สุเมเรียนในยุคทองแดงน้ีด้วย และผู้ท่ีก�ำชัยชนะในครั้งน้ันเอาไว้
ได้กค็ ือชาวสเุ มเรียนน่นั เอง

นอกจากการประดิษฐ์ตัวเขียนอย่างอักษรลิ่มแล้ว อีกหนึ่ง
นวัตกรรมส�ำคัญจากยคุ ทองแดงก็คือการประดษิ ฐ์ “ลอ้ ” ขึ้นเมอ่ื
ประมาณ 3,500 ปีก่อนครสิ ตกาล เพราะถ้าเทยี บกบั ชาวไอยคปุ ต์
แล้ว พวกเขาไม่ร้จู กั เทคโนโลยขี องการใช้ล้อ ตรงนีน้ ักโบราณคดี
และนกั อยี ปิ ตว์ ทิ ยายงั คงตงั้ คำ� ถามเกยี่ วกบั ประเดน็ นวี้ า่ จรงิ ๆ แลว้
ชาวอียิปต์โบราณไม่รู้จักล้อ หรือแท้ท่ีจริงแล้วเขารู้จักล้อเพียงแค่
วา่ ภมู ปิ ระเทศทเี่ ปน็ ทะเลทรายไมค่ อ่ ยอำ� นวยความสะดวกใหก้ บั ลอ้
จงึ ไมถ่ กู นำ� มาใชอ้ ยา่ งแพรห่ ลายกนั แน่ เพราะถา้ ดจู ากพาหนะหลกั
ในการขนยา้ ยกอ้ นหินหรอื รูปสลกั ของชาวอียิปต์โบราณแลว้ พวก
เขามักจะใชแ้ คร่เลือ่ นลากไปกบั พนื้ มากกว่า ไม่วา่ ความจริงจะเปน็
อยา่ งไร การประดษิ ฐล์ อ้ ของอารยธรรมเมโสโปเตเมยี แสดงใหเ้ หน็
ถึงการค้าขายท่ีกว้างไกล พวกเขาเดินทางด้วยพาหนะท่ีมีล้อและ
ขนสง่ สนิ คา้ ตา่ งๆ ดว้ ยเกวยี นดงั เชน่ โมเดลขนาดเลก็ ทน่ี กั โบราณคดี
ค้นพบ

และดว้ ยวา่ ในยคุ นชี้ าวเมโสโปเตเมยี เรมิ่ เขา้ สยู่ คุ ประวตั ศิ าสตร์
เร่ิมมีการแกะสลักตัวเขียนหรืออักษรลิ่มลงบนแผ่นดินเหนียว
อีกหน่ึงสิ่งประดิษฐ์ส�ำคัญก็ได้ปรากฏข้ึน มันคือ “ตราประทับ

เปิดตำ� นานบาบิโลน

23

ทรงกระบอก” (Cylinder Seal) ซ่ึงท�ำหน้าที่ประหนึ่ง “บัตร
ประชาชน” ทใี่ ชแ้ สดงตัวตนของบุคคลใดบคุ คลหน่งึ ตราประทบั
ทว่ี า่ นจี้ ะแกะสลกั ภาพและอกั ษรลมิ่ เอาไวบ้ นพนื้ ผวิ ของมนั วธิ ใี ชก้ ็
ไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงแค่ “กล้ิง” ทรงกระบอกน้ีลงไปบนแผ่น
ดินเหนยี วหรือพืน้ ผวิ ใดๆ มนั กจ็ ะฝากรอยประทับเอาไว้บนพนื้ ผิว
นนั้ ๆ บง่ บอกถงึ ลายเซน็ เจา้ ของตราประทบั ทรงกระบอกชนิ้ นน้ี น่ั เอง

หนึ่งในตราประทับทรงกระบอกจากอารยธรรมเมโสโปเตเมีย เมื่อกล้ิงบนแผ่นดิน
เหนียวจะถา่ ยทอดรปู ทรงตา่ งๆ บนทรงกระบอกออกมา
ภาพจาก: https://www.pinterest.co.uk

BABYLON Mesopotamia: Cradle of Civilization

24

แตถ่ งึ แมว้ า่ โลหะทองแดงจะมคี วามเหนยี วและขนึ้ รปู ไดโ้ ดย
ไม่ต้องกลัวแตกหัก แต่ก็มีข้อเสียเรื่องความแข็งแรงท่ีต�่ำเช่นกัน
การเขา้ มาของดบี กุ ทำ� ใหเ้ กดิ โลหะผสมทเี่ รยี กวา่ “สำ� รดิ ” (Bronze)
ขึ้นในท่ีสุด ยุคส�ำริดตอนต้นของอารยธรรมเมโสโปเตเมียเริ่มต้น
ขน้ึ เมอ่ื ประมาณ 3,000 ปีกอ่ นคริสตกาลและดำ� เนนิ อยรู่ าว 800 ปี
ในช่วงน้ีชาวเมโสโปเตเมียเริ่มผลิตอาวุธและอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย
โลหะส�ำริดท่ีมีความทนทานกว่าทองแดง นอกจากน้ันชาวเมโส
โปเตเมยี เรม่ิ อยกู่ นั เปน็ นครรฐั อกี หนง่ึ วฒั นธรรมถอื กำ� เนดิ ขนึ้ เมอ่ื
ประมาณ 2,350 ปกี อ่ นคริสตกาล เรารู้จกั พวกเขาในชอ่ื “อัคคา
เดยี น” (ซึ่งเราจะไปเนน้ วัฒนธรรมน้ีกนั ในบทท่ี 3) กษัตรยิ อ์ งค์
สำ� คญั ในยคุ นคี้ อื พระเจา้ ซารก์ อนมหาราช (Sargon the Great)
หรอื ในอกี ชอื่ หนง่ึ คอื “ซารก์ อนแหง่ อคั คดั ” (Sargon of Akkad)
ผู้ก่อต้ังราชวงศ์ “อัคคาเดียนเก่า” (Old Akkadian) ข้ึนมา ธิดา
ของพระองค์มีนามวา่ “เอนฮดี ูอนั นา” (Enheduanna) นางเปน็
กวีหญิงคนแรกๆ ของเมโสโปเตเมียท่ีมีหลักฐานบันทึกเอาไว้
นอกจากน้ันนางยังเป็นนักบวชแห่งเทพีอินันนา (Inanna) และ
เทพนันนา (Nanna) ซงึ่ เปน็ จันทรเทพของชาวเมโสโปเตเมียด้วย
นครสำ� คญั ในยคุ นมี้ อี ยสู่ องแหง่ ดว้ ยกนั แหง่ แรกคอื นครอคั คดั ซง่ึ
เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรอัคคาเดียน แห่งท่ีสองคือนครมารี
(Mari) ซ่งึ ตัง้ อยทู่ างตะวันออกของประเทศซีเรยี ในปจั จุบนั นคร
มารีเป็นท่ีตั้งของห้องสมุดยุคแรกเริ่มของโลกท่ีเก็บรักษาแผ่นดิน
เหนียวของอารยธรรมเมโสโปเตเมียเอาไว้มากมายถึงราว 22,000
แผน่ สว่ นใหญจ่ ารกึ ในภาษาอคั คาเดยี น ถอื เปน็ หนงึ่ ในแหลง่ ขอ้ มลู
ดา้ นประวัตศิ าสตร์ที่ส�ำคัญของนักโบราณคดเี ลยก็วา่ ได้

เปดิ ตำ� นานบาบโิ ลน

25

ยุคส�ำริดตอนต้นสิ้นสุดลงเม่ือประมาณ 2,100 ปีก่อน
คริสตกาล ตามมาด้วยยคุ สำ� รดิ ตอนกลาง ในยุคน้เี ริ่มเหน็ การเข้า
มาของชนเผา่ ใหมท่ ม่ี ชี อื่ วา่ ชาวอสั ซเี รยี น นครสำ� คญั ของพวกเขาคอื
นครอสั ซรู ์ (Assur) นิมรดุ (Nimrud) เดอร์-ชาร์รคู ิน (Dur-
Sharrukin) และนเิ นเวห์ (Nineveh) ซ่ึงล้วนแล้วแต่มบี ทบาท
สำ� คญั ในสงั คมของชาวอสั ซเี รยี นทง้ั สน้ิ อกี หนง่ึ วฒั นธรรมทรี่ งุ่ เรอื ง
ขนึ้ มาในยคุ สำ� รดิ ตอนกลางกค็ อื วฒั นธรรมบาบโิ ลเนยี ทห่ี นงั สอื เลม่
น้ตี ้องการเน้นเปน็ พิเศษ นครส�ำคัญของชาวบาบโิ ลเนียนคอื “บาบิ
โลน” ซ่งึ มีความหมายวา่ “ประตูแห่งเหลา่ เทพเจา้ ” (Gate of the
Gods) นครแหง่ นเ้ี ปน็ จดุ ตงั้ ตน้ ของตำ� นานทนี่ า่ สนใจมากมาย เชน่
หอคอยบาเบลในพระคัมภีร์ไบเบิล ซ่ึงอาจจะเช่ือมโยงไปถึงซิกกู
แรตในเมอื งบาบโิ ลน นอกจากนน้ั ยงั มตี ำ� นานเกยี่ วกบั สวนลอยแหง่
บาบิโลน (Hanging Garden of Babylon) หน่ึงในเจ็ดส่ิง
มหัศจรรย์ของโลกยคุ โบราณด้วย

อกี หนง่ึ ความโดดเดน่ ของวฒั นธรรมบาบโิ ลเนยี เกา่ กค็ อื ชว่ ง
การปกครองของกษัตริย์ที่มีพระนามว่า “ฮัมมูราบี” (Hammu-
rabi) เมอื่ ประมาณ 1,800 ปีกอ่ นครสิ ตกาล พระองค์เปน็ ผตู้ รา
กฎหมายฉบับแรกๆ ของโลกขึ้นมา (จริงๆ แล้วกอ่ นหน้าน้ันเคยมี
ตรากฎหมายเชน่ นป้ี รากฏมากอ่ นแลว้ ในสมยั ของกษตั รยิ อ์ รู -์ นมั มู
(Ur-Nammu) เมอื่ ประมาณ 2,050 ปีก่อนครสิ ตกาล) โดยใช้
หลัก “ตาตอ่ ตา ฟนั ตอ่ ฟนั ” (Lex Talionis) ใครท�ำผดิ อะไรก็จะ
ได้รับบทลงโทษเชน่ น้นั กฎหมายฉบบั น้ตี ราเอาไวบ้ นแผ่นหินสดี �ำ
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ (Louvre Museum)
ประเทศฝรงั่ เศส ฮัมมูราบีครองราชยร์ าว 43 ปี แตส่ ดุ ท้ายแลว้ ก็

BABYLON Mesopotamia: Cradle of Civilization

26

ถูกชาวฮิตไทต์ท่ีรงุ่ เรอื งอยูใ่ นประเทศตุรกีเข้าปล้นโจมตี ก่อนทีจ่ ะ
ถกู ชาวแคสไซท์ (Kassite) จากภเู ขาซากรอส (Zagros Moun-
tain) เขา้ ยดึ ครองในทสี่ ดุ ถอื เปน็ จดุ สน้ิ สดุ ของยคุ สำ� รดิ ตอนกลาง
และกา้ วเขา้ สยู่ ุคสำ� รดิ ตอนปลายด้วย

ชาวแคสไซทเ์ ขา้ ปกครองดนิ แดนของชาวบาบโิ ลเนยี นตงั้ แต่
เมอื่ ประมาณ 1,600 ปกี ่อนครสิ ตกาลไปจนถึงประมาณ 1,150 ปี
ก่อนคริสตกาล และในช่วงศตวรรษที่ 12 กอ่ นครสิ ตกาล ดนิ แดน
เสยี้ วจนั ทรอ์ นั ไพบลู ยน์ ก้ี ต็ อ้ งเปลย่ี นมอื อกี ครงั้ ดว้ ยวา่ ชาวอลี าไมท์
(Elamite) ได้เข้ามายึดบาบิโลเนียเอาไว้ได้ แต่ไม่นานนักก็ต้อง
เป็นฝา่ ยพา่ ยแพต้ ่อชาวอสั ซเี รยี น น�ำโดยกษตั รยิ ท์ กิ ลัธ-พเิ ลเซอร์
ที่ 1 (Tiglath-Pileser I) ซงึ่ นำ� พาอารยธรรมเมโสโปเตเมียเข้าสู่
“ยคุ เหลก็ ” ตามมาดว้ ยการถอื กำ� เนดิ ของจกั รวรรดอิ สั ซเี รยี ใหม่ ใน
ยคุ นกี้ ษตั รยิ ท์ ม่ี บี ทบาทสำ� คญั กเ็ ชน่ พระเจา้ ซารก์ อนท่ี 2 (Sargon
II) และอีซาฮัดดอน (Esarhaddon) รวมท้ังอัสซูร์บานิปาล
(Ashurbanipal) ที่บุกเข้าโจมตีชาวอียิปต์โบราณในช่วงปลาย
ของราชวงศ์ที่ 25 เมอ่ื ประมาณ 667 ปีก่อนคริสตกาล ในชว่ งน้นั
อยี ปิ ตย์ งั คงโดนชาวนเู บยี น (Nubian) จากประเทศซดู านปจั จบุ นั
เข้าปกครอง อัสซูร์บานิปาลเอาชนะกษัตริย์นูเบียนและยึดครอง
อียปิ ตเ์ อาไวไ้ ด้ สดุ ทา้ ยเนโคที่ 1 (Necho I) ชาวอยี ิปต์ทรี่ บั ใช้
กษตั รยิ แ์ หง่ อสั ซเี รยี ในขณะนน้ั กไ็ ดข้ น้ึ เปน็ ฟาโรหป์ กครองไอยคปุ ต์
ราชวงศท์ ี่ 26 ตอ่ มา

ยคุ เหลก็ ของเมโสโปเตเมยี ไมไ่ ดม้ เี พยี งแคค่ วามรงุ่ เรอื งของ
จักรวรรดิอัสซีเรยี ใหม่ เพราะในช่วงนี้ราว 626 ปกี ่อนครสิ ตกาล
จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ก็เรืองอ�ำนาจข้ึนมาเช่นกัน กษัตริย์ที่

เปดิ ตำ� นานบาบโิ ลน

27

โด่งดังท่ีสุดของจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ก็คือเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2
(Nebuchadnezzar II) แห่งบาบโิ ลน พระองค์บกุ เขา้ โจมตีกรุง
เยรูซาเลม็ ในช่วงประมาณ 589 ปกี อ่ นคริสตกาล นอกจากนน้ั ยงั
เปน็ ผบู้ ญั ชาใหส้ รา้ งสวนลอยแหง่ บาบโิ ลนเอาไวใ้ นนครของพระองค์
ดว้ ย เพยี งแคใ่ นปจั จบุ นั นกั โบราณคดยี งั คงตงั้ คำ� ถามกนั วา่ สวนลอย
แห่งนี้จะเคยถูกสร้างเอาไว้ในเมืองบาบิโลนจริงแท้แค่ไหน อีก
หน่งึ ผลงานทีน่ ่าทงึ่ ของเนบคู ัดเนสซารท์ ี่ 2 ก็คอื “ซ้มุ ประตูอิชทาร์”
(Ishtar Gate) ที่พระองค์บัญชาให้สร้างข้ึนเม่ือ 575 ปีก่อน
คริสตกาล ซุ้มประตูที่ว่านี้ประดับไปด้วยอิฐเคลือบมันเงา
สีน้�ำเงินเข้ม ตกแต่งด้วยภาพของวัวและมังกรตามความเชื่อของ

ซ้มุ ประตูอิชทารภ์ ายในพพิ ิธภณั ฑเ์ พอรก์ ามอน
ภาพจาก: https://www.flickr.com

BABYLON Mesopotamia: Cradle of Civilization

28

ชาวเมโสโปเตเมีย ซุ้มประตูอิชทาร์คือทางเข้าหลักไปยังเมืองบาบิ
โลน ในปัจจบุ ันซมุ้ ประตูนีไ้ ด้รับการบูรณะจนงดงามและไดร้ บั การ
จดั แสดงเอาไวท้ พ่ี พิ ธิ ภณั ฑเ์ พอรก์ ามอน (Pergamon Museum)
ในเมอื งเบอร์ลนิ ประเทศเยอรมนี

บาบิโลเนียใหม่และยุคเหล็กถึงกาลล่มสลายเม่ือพระเจ้า
ไซรสั มหาราช (Cyrus the Great) แหง่ จกั รวรรดิเปอร์เซยี บุก
เข้ามาเมื่อประมาณ 530 ปีก่อนคริสตกาล ราชวงศ์อาเคเมนิด
(Achaemenid Dynasty) แผ่ขยายอ�ำนาจไปทั่วดินแดน
เมโสโปเตเมีย แต่ถึงอย่างน้ันความเป็นเมโสโปเตเมียแท้ๆ ก็เร่ิม
เสื่อมสลายลงไปเร่ือยๆ ตามกาลเวลา ถงึ แมว้ ่าชาวเปอร์เซียนที่บุก
เข้ามาจะยังคงใช้อักษรลม่ิ แตไ่ วยากรณแ์ ละตัวภาษาของพวกเขา
นน้ั แตกตา่ งจากภาษาดง้ั เดมิ ของจกั รวรรดบิ าบโิ ลเนยี ใหมอ่ ยา่ งเหน็
ไดช้ ดั ชาวเปอรเ์ ซยี นสามารถเขา้ ปกครองอยี ปิ ตโ์ บราณได้ ทำ� ใหใ้ น
ชว่ งนน้ั ชาวเปอร์เซยี นแผ่อ�ำนาจออกไปกว้างใหญ่ไพศาล กนิ พ้นื ที่
ทง้ั ประเทศอหิ รา่ น อริ กั และอยี ปิ ต์ แตส่ ดุ ทา้ ยแลว้ กต็ อ้ งปราชยั ให้
กบั พระเจา้ อเลก็ ซานเดอรม์ หาราช (Alexander the Great) แหง่
มาซโิ ดเนยี (Macedonia) ท่บี ุกเข้ามาเมอื่ ประมาณ 331 ปกี ่อน
คริสตกาล พระองค์แผ่ขยายความเป็นกรีกออกไปยังดินแดนท่ี
ยดึ ได้ สดุ ท้ายนกั ประวตั ิศาสตรเ์ สนอกันวา่ อเลก็ ซานเดอร์มหาราช
ได้ส้ินพระชนม์ในเมืองบาบิโลน เมื่อเดือนมิถุนายน 323 ปีก่อน
คริสตกาล ณ พระราชวังของพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 โดยมี
พระชนมายเุ พยี งแค่ 32 พรรษาเท่านน้ั

หลังจากการเข้ามาของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ จักรวรรดิ
ปาเธียน (Parthian Empire) จากอิหร่านโบราณเร่ิมเรอื งอ�ำนาจ

เปิดต�ำนานบาบิโลน

29

ขน้ึ มาตงั้ แตเ่ มอื่ ประมาณ 234 ปกี อ่ นครสิ ตกาล พวกเขาเขา้ ปกครอง
ดนิ แดนในประเทศอหิ รา่ นปจั จบุ นั รวมถงึ ดนิ แดนของเมโสโปเตเมยี
อันเป็นท่ีตั้งของนครส�ำคัญอย่างบาบิโลนและนครอื่นๆ ริมชายฝั่ง
ลมุ่ แมน่ ำ้� ไทกรสิ และยเู ฟรตสิ ซงึ่ เปน็ ชว่ งเดยี วกบั ทจี่ กั รวรรดโิ รมนั
ก�ำลังเรืองอ�ำนาจอยู่ทางทิศตะวันตก ในช่วงน้ีความเช่ือเก่ียวกับ
เทพเจา้ และขนบธรรมเนียมเกา่ ๆ ของเมโสโปเตเมียแทๆ้ ในอดีต
ค่อยๆ เลือนหายไปเร่ือยๆ สุดท้ายเม่ือเวลาด�ำเนินมาถึงช่วง
ประมาณปี ค.ศ. 651 ชาวมุสลิมพรอ้ มความเชื่อของศาสนาแบบ
พระเจา้ องคเ์ ดยี วเขา้ มาปกครองเหนอื ดนิ แดนเสยี้ วจนั ทรอ์ นั ไพบลู ย์
ท�ำให้ความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้า ตัวเขียน และวัฒนธรรมของชาว
เมโสโปเตเมียโบราณแทๆ้ ต้องถงึ กาลอวสานลงไปอย่างสมบูรณ์

BABYLON Mesopotamia: Cradle of Civilization

บทท่ี 2

วัฒนธรรมสุเมเรียนจากยุคอูรุคถึงยุคต้นราชวงศ์
BABYLON
Mesopotamia: Cradle of Civilization

ในบทกอ่ นหนา้ เราไดท้ ราบกนั ไปแลว้ วา่ วฒั นธรรมแรกเรมิ่ ทสี่ ดุ
ของอารยธรรมเมโสโปเตเมียหรืออารยธรรมลุ่มแม่น้�ำไทกริสและ
ยเู ฟรตสิ กค็ อื วฒั นธรรมทร่ี จู้ กั กนั ในชอื่ “สเุ มเรยี น” ซงึ่ ดนิ แดนของ
พวกเขารงุ่ เรอื งอยทู่ างตอนใตข้ องเมโสโปเตเมยี บรเิ วณประเทศอริ กั
และบางสว่ นของประเทศคเู วต นักโบราณคดีเสนอว่าชาวสเุ มเรียน
อาจจะเขา้ มาอยู่ในดนิ แดนแถบนต้ี ้งั แตเ่ มื่อประมาณ 4,000 ปกี อ่ น
คริสตกาล แต่ถึงอย่างน้ันก็มีความเป็นไปได้ที่ต้นก�ำเนิดของชาว
สเุ มเรยี นอาจจะเขา้ มาตงั้ ถน่ิ ฐานกอ่ นหนา้ นน้ั นานแลว้ สงิ่ ทนี่ า่ สนใจ
กค็ อื กอ่ นทชี่ าวสเุ มเรยี นจะเขา้ มาครองความเปน็ ใหญอ่ ยใู่ นประเทศ
อิรักและรงั สรรค์วัฒนธรรม ตัวเขียน และองคค์ วามร้ตู า่ งๆ ขน้ึ มา
นั้น เคยมีอีกหน่ึงวัฒนธรรมรุ่งเรืองในพื้นที่นี้มาก่อนแล้ว นัก
โบราณคดีเรียกขานวัฒนธรรมในยุคแรกเร่ิมน้ีว่าชาว “อูเบด”
(Ubaid)

สาเหตุที่นักโบราณคดีเรียกวัฒนธรรมกลุ่มแรกเร่ิมท่ีเข้ามา
ตั้งถ่ินฐานทางตอนใต้ของประเทศอิรักว่า “อูเบด” น้ันก็เพราะว่า
หลักฐานสว่ นใหญข่ องพวกเขาคน้ พบ ณ เนนิ เขาอนั มชี ื่อว่า “อลั -
อูเบด” (Al-Ubaid) นนั่ เอง ชนกลุม่ นีถ้ อื เปน็ กลมุ่ วฒั นธรรมแรก

BABYLON Mesopotamia: Cradle of Civilization


Click to View FlipBook Version