THE CHINESE CIVIL WAR
สงครามกลางเมืองจนี
กรกจิ ดิษฐาน: เขยี น
ราคา 260 บาท
ขอ มูลทางบรรณานกุ รมของสำนักหอสมดุ แหง ชาติ
National Library of Thailand Cataloging in Publication Data
กรกจิ ดิษฐาน.
The Chinese Civil War สงครามกลางเมอื งจีน.-- กรุงเทพฯ : ยิปซี กรปุ , 2562.
304 หนา .
1. สงครามกลางเมือง. 2. จนี --ประวัติศาสตร. I. ชือ่ เรอ่ื ง.
951.042
ISBN 978-616-301-676-8
c ขอ ความในหนงั สอื เลม น้ี สงวนลขิ สิทธ์ิตามพระราชบัญญัติลิขสทิ ธ์ิ (ฉบบั เพมิ่ เตมิ ) พ.ศ. 2558
การคดั ลอกสว นใดๆ ในหนังสอื เลมนี้ไปเผยแพรไ มวา ในรปู แบบใดตอ งไดรบั อนญุ าตจากเจา ของลิขสิทธกิ์ อน
ยกเวน เพื่อการอา งองิ การวจิ ารณ และประชาสมั พนั ธ
บรรณาธิการอำนวยการ : คธาวุฒิ เกนุย
บรรณาธกิ ารบริหาร : สุรชัย พิงชยั ภูมิ
ผชู วยบรรณาธิการบริหาร : วาสนา ชูรัตน
กองบรรณาธิการ : คณติ า สุตราม พรรณิกา ครโสภา ดารยี า ครโสภา
เลขากองบรรณาธกิ าร : อรทยั ดีสวสั ด์ิ
พิสจู นอ กั ษร : รีดเดอรป ารตี
ศิลปกรรม : คยี รชิ เนสส
ผูอำนวยการฝา ยการตลาด : นุชนันท ทกั ษิณาบัณฑติ
ผูจดั การฝา ยการตลาด : ชติ พล จันสด
ผูจดั การท่วั ไป : เวชพงษ รัตนมาลี
จัดพมิ พโดย : บรษิ ัท ยิปซี กรุป จำกดั เลขท่ี 37/145 รามคำแหง 98
แขวง/เขตสะพานสงู กรุงเทพฯ 10240
พิมพที่ โทร. 0 2728 0939 โทรสาร. 0 2728 0939 ตอ 108
จัดจำหนา ย www.gypsygroup.net
: บริษทั วิช่นั พรเี พรส จำกัด โทร. 0 2882 9981-2
: บรษิ ัท ยปิ ซี กรุป จำกดั โทร. 0 2728 0939
www.facebook.com/gypsygroup.co.ltd
LINE ID : @gypzy
สนใจสัง่ ซอ้ื หนังสือจำนวนมากเพ่อื สนับสนนุ ทางการศึกษา สำนักพิมพลดราคาพิเศษ ติดตอ โทร. 0 2728 0939
สงครามกลางเมอื งจนี
THE CHINESE
CIVIL WAR
กรกิจ ดิษฐาน
คำ� น�ำส�ำนักพมิ พ์
THE CHINESE
CIVIL WAR
ประเทศจนี มปี ระวตั ศิ าสตรย์ าวนานกวา่ 5,000 ปี มที งั้ ยคุ สมยั ทเ่ี ปน็
ปึกแผ่นและยุคสมัยที่แผ่นดินแตกแยก เหมือนในบทแรกของนิยาย
สามกก๊ กลา่ ววา่ “เดมิ แผน่ ดนิ เมอื งจนี ทง้ั ปวงนน้ั เปนสขุ มาชา้ นานแลว้
กเ็ ปนศกึ ครัน้ ศกึ สงบแล้วกเ็ ปนสุข” ความแตกแยกในจนี มักเกิดขน้ึ
ในช่วงหัวเลี้ยวหวั ต่อทางประวตั ิศาสตร์ เช่น ยุคสามก๊กเกิดข้นึ ในช่วง
ท่ีราชวงศ์ฮั่นก�ำลังล่มสลาย ยุคห้าชนเผ่าสิบหกแคว้นเกิดขึ้นในช่วง
ราชวงศ์จ้ินก�ำลังพินาศ ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักรเกิดข้ึนในยุค
ราชวงศ์ถงั ถงึ กาลอวสาน
ยุคสมัยท่ีเกิดความแตกแยกคร้ังล่าสุดในแผ่นดินจีนคือช่วง
หลังการโค่นล้มราชวงศ์ชิง ความแตกแยกครานี้ไม่เพียงเป็นการ
แก่งแย่งกันของผู้กระหายอ�ำนาจกลุ่มต่างๆ แต่ยังเป็นการต่อสู้กันใน
เชิงอุดมการณ์ และยังเป็นจุดส้ินสุดของระบอบศักดินาราชาธิปไตย
เขา้ สรู่ ะบอบประชาชนเปน็ ใหญ่ จงึ มคี วามแตกตา่ งจากยคุ แตกแยกใน
อดีต สถานการณ์มีความซับซ้อน เก่ียวพันกับมหาอ�ำนาจภายนอก
ระดบั ความเสยี หายรนุ แรงเพราะเทคโนโลยดี า้ นสงครามทก่ี า้ วหนา้ ขน้ึ
หากวา่ กนั ดว้ ยชนั้ เชงิ ในทางยทุ ธศาสตรแ์ ลว้ ความแตกแยกชว่ ง
สงครามกลางเมืองจีนอาจเทียบไม่ได้กับยุคสามก๊ก แต่ยุคสามก๊กก็
ไมอ่ าจเทยี บได้กับยุคสงครามกลางเมือง ในแงก่ ารประชนั อุดมการณ์
และแสวงหาแนวร่วมในหมู่มวลชน เป็นคร้ังแรกท่ีขั้วอ�ำนาจต่างๆ
พยายามดึงมหาชนเขา้ มาเปน็ พวก เพราะในยคุ นีผ้ ทู้ ไ่ี ดร้ บั การยอมรับ
จากมหาชนต่างหากที่จะครองแผ่นดินได้ หาใช่ผู้ที่แก่งแย่งตราหยก
และอาณัตสิ วรรค์เพอ่ื แสวงหาความชอบธรรมเหมือนเมื่อเกือบ 2,000
ปีกอ่ น
นี่คือเสน่หข์ องยุคสงครามกลางเมืองจีน
หนงั สือ “สงครามกลางเมืองจนี ” เลม่ นจี้ ะพาทา่ นผอู้ า่ นสาวไป
ถึงท่ีมาของความขัดแย้งตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงจุดจบของสงคราม ซึ่งมี
ความซับซ้อน ยากที่จะสรุปได้ง่ายๆ ว่า ใครคือผู้ร้าย หรือใครคือ
พระเอก
เพราะประวัติศาสตร์ท่ีแท้จริงนั้นจะไม่พยายามช้ีชัดว่าผู้ใดคือ
ตัวร้าย ผู้ใดคือคนดี เพราะในโลกเทาๆ ที่เราอยู่น้ี ทุกคนล้วนแต่ท�ำ
ผดิ พลาดไปพร้อมกบั ท�ำในสงิ่ ที่ดีงาม
บุคคลในอดีตกเ็ ชน่ เดียวกัน…
สำ� นักพิมพย์ ปิ ซี
คำ� นำ� ผู้เขยี น
THE CHINESE
CIVIL WAR
ประวัติศาสตร์ยุคสงครามกลางเมืองมีความซับซ้อนทั้งในแง่ล�ำดับ
เหตุการณ์ แนวคิดเบื้องหลัง หรือแม้แต่บุคลิกของบุคคลส�ำคัญใน
เหตุการณ์ ที่ส�ำคัญก็คือสงครามคร้ังน้ียังไม่จบส้ินลงในทางนิตินัย
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับจีนไต้หวันยังเป็นความ
สัมพันธ์ของคู่ตรงข้าม พร้อมท่ีจะประจันหน้าได้ทุกเมื่อ หากเง่ือนไข
และปัจจยั บบี บังคบั ใหส้ งครามเกดิ ข้ึนอีกครงั้ เพยี งแตก่ ารเผชญิ หน้า
ระหว่าง “จีนท้ังสอง” ไม่ได้คุกรุ่นเหมือนกรณีเกาหลีทั้งสอง อีกท้ัง
รฐั บาลท่วั โลกต่างก็ยอมรับอยา่ งเปน็ ทางการแล้วว่า รฐั บาลจนี มีเพียง
หน่งึ เดียว นัน่ คือรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนทีแ่ ผน่ ดนิ ใหญ่
แต่อย่างท่ีกล่าวไว้ข้างต้น แม้ชาวโลกจะยอมรับจีนเดียว แต่
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของสงครามกลางเมืองมีมุมมองที่ต่างกันถึง
3 มุมมอง คือประวัติศาสตรน์ พิ นธข์ องสาธารณรฐั ประชาชน ประวัติ
ศาสตร์นิพนธ์ของสาธารณรัฐจีน และประวัติศาสตร์นิพนธ์ของบุคคล
ท่ีอยู่นอกเหตุการณ์นี้ แต่ละฝ่ายมีความโน้มเอียงที่จะมองเหตุการณ์
ผา่ น “แว่นขยาย” ของตัวเอง ดงั น้ัน การเขียนประวัติศาสตรช์ ว่ งน้ี
จึงต้องถ่วงดุลข้อมูลอย่างละเอียดที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ เพื่อให้ความ
เป็นธรรมกับทกุ ฝ่าย
หนังสือเล่มนี้ เส้นเวลาที่ยาวนานตั้งแต่ก่อนส้ินราชวงศ์ชิง
และไปจบลงตอนที่เจียงไคเช็กหนีไปตั้งหลักที่ไต้หวัน อันที่จริงแล้ว
หลังจากนั้นสงครามยังไม่จบเรียบร้อย แต่การอพยพไปไต้หวันของ
ก๊กมินต๋ังเป็นประหนึ่งสัญลักษณ์ของความพ่ายแพ้ และคือชัยชนะ
อันเดด็ ขาดของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ที่ผู้เขียนเลือกที่จะน�ำเสนอเหตุการณ์ตั้งแต่ปลายยุคชิงลงมาก็
เพอื่ จะใหผ้ อู้ า่ นมองเหน็ เงอื่ นไขและปจั จยั ทที่ ำ� ใหจ้ นี เผชญิ ความขดั แยง้
ยาวนานกว่า 4 ทศวรรษ ทั้งการแย่งชิงอ�ำนาจภายใน และเหตุท่ที �ำให้
อ�ำนาจภายนอก (เชน่ ญป่ี ุ่น) เขา้ มาแทรกแซงจนกระท่ังลกุ ลามกลาย
เปน็ สงครามใหญ่
เพยี งแต่ “สงครามกลางเมอื งจนี ” หรอื “การปฏวิ ตั จิ นี ” มขี อ้ มลู
และเร่ืองราวมากมายมหาศาล เป็นเร่ืองยากท่ีจะลงรายละเอียดได้
ทั้งหมด บทตอนต่างๆ ในหนังสือทั้ง 7 บทสามารถเขียนเป็นเล่ม
ตา่ งหากไดใ้ นขนาดใหญโ่ ต ผเู้ ขยี นจงึ เนน้ เอย่ ถงึ เหตกุ ารณโ์ ดยสงั เขป
และเรียบเรียงเนื้อหาเป็นล�ำดับเวลาเพื่อความสะดวกในการย่อย
ประวัตศิ าสตร์ชว่ งน้ี และเปน็ พ้นื ฐานในการศึกษาอย่างละเอียดต่อไป
ส�ำหรบั ผู้สนใจ
ผเู้ ขยี นพยายามทจ่ี ะลดทอนตวั ละครทางประวตั ศิ าสตรอ์ อกให้
เหลือเพียงบุคคลที่ส�ำคัญจริงๆ เพ่ือป้องกันความสับสนของผู้อ่านท่ี
อาจหงดุ หงดิ กบั การจดจำ� ชอื่ ภาษาจนี ดงั นน้ั ในหลายกรณจี งึ เลอื กใช้
ค�ำแทนชื่อของบุคคลในเหตุการณ์เป็นสรรพนามบุคคลท่ีสาม เหลือ
เพยี งเสาหลกั ของเหตุการณน์ ั้นๆ
ยุคสงครามกลางเมอื งจีนนน้ั มขี นุ ศึก พลเรอื น ผู้น�ำ กนุ ซอื ที่
มากมายหลายคน เชน่ เดียวกบั ยคุ สามกก๊ หรือเลียดก๊ก การจะเอย่ ถึง
ทกุ คนอยา่ งละเลก็ อยา่ งละนอ้ ยจะเปน็ เรอ่ื งทนี่ า่ เหนด็ เหนอื่ ยใจสำ� หรบั
การเขียนและอ่านจนเกนิ ไป ขอเพยี งติดตามเรอ่ื งราวหลกั ในประวตั ิ-
ศาสตร์ ก็สามารถเข้าด่มื ดำ่� กบั ฉากหน้าในอดีตช่วงนีไ้ ด้โดยไม่รสู้ กึ วา่
มนั ซับซ้อนจนเกินความเขา้ ใจ
ดว้ ยจิตคารวะ
กรกจิ ดิษฐาน
สารบัญ
THE CHINESE
CIVIL WAR
บทท่ี 1
ปฐมบทแห่งหายนะ
-11-
บทท่ี 2
แผ่นดินแตกเป็นเสีย่ ง
-55-
บทท่ี 3
ยุคสมัยแห่งขนุ ศกึ
-101-
บทที่ 4
สมรภูมแิ ห่งจงหยวน
-147-
บทที่ 5
สงครามต่อตา้ นญปี่ ุน่
-193-
บทที่ 6
ก๋ัวหมนิ ตา่ ง VS ก้งฉานตา่ ง
-241-
บทที่ 7
จุดจบของประวัตศิ าสตร์
-287-
บทท่ ี 1
ปฐมบทแห่งหายนะ
THE CHINESE
CIVIL WAR
คนป่วยแห่งเอเชีย
ส�ำหรับนักอุดมคติ การปฏิวัติซินไฮ่ในปี 1911 เปรียบเสมือน
ชัยชนะของประชาชนจีนต่อระบบศักดินา เป็นการสลัดโซ่ตรวนของ
ระบอบเก่า เป็นคบเพลิงแห่งยุคสมัยใหม่ท่ีจะพาจีนพ้นจากความ
ล้าหลัง และนับแต่น้ีปวงประชาจะไม่ถูกระบอบท่ีคนไม่เท่ากันกดข่ี
อีกตอ่ ไป
แต่ในความเป็นจริงการปฏิวัติไม่ได้สวยหรูเหมือนในทฤษฎี
ตรงกันข้ามมันคือจุดเริ่มของความแตกแยกยาวนานของแผ่นดินจีน
เป็นมูลเหตุของภัยพิบัตินานา ทั้งการแก่งแย่งชิงดีของเหล่านักปฏิวัติ
นักฉวยโอกาส ขุนศึกผู้ละโมบ ผู้รุกรานต่างชาติที่แสนจะเห้ียมโหด
คนทรยศขายชาติ และนักเซ็งลี้สงคราม มันคือมูลเหตุที่ท�ำให้ผู้คน
ล้มตายหลายสิบล้านคน ในเวลากว่า 30 ปี หลังการปฏิวัติโค่นล้ม
ราชวงศ์ชิง คนจนี แทบไมเ่ คยไดอ้ ยูอ่ ย่างผาสกุ
ต้นสายของความหายนะเหล่าน้ีต้องย้อนกลับไปช่วงปลาย
ราชวงศช์ งิ ก่อนการปฏวิ ตั ซิ ินไฮ่
THE CHINESE CIVIL WAR
12
ช่วงปลายราชวงศ์ชิง ขณะที่โลกตะวันตกปฏิวัติอุตสาหกรรม
ก่อร่างสร้างระบบทุนนิยม และปฏิรูป (และปฏิวัติ) การปกครองให้
เปน็ ไปตามเสยี งประชาชน จนี กลบั ยงั มะงมุ มะงาหรากบั โลกทศั นแ์ บบ
เก่า เย่อหย่ิงว่าตนเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล มองฝร่ังเป็นเพียง
พวกปา่ เถื่อน และจนี คือแดนศิวิไลซท์ ีส่ ดุ ในโลกหล้า
ทศั นะแบบจนี โบราณทมี่ องตวั เองเปน็ ศนู ยก์ ลางของโลก เรยี ก
ว่า ระบบอารยชนคนเถื่อน หรือ หัวอ๋ี จ้ือซวี่ (華夷秩序) ค�ำว่า หัว
มาจากคำ� วา่ หวั เซย่ี (華夏) ทหี่ มายถงึ คนจนี และอารยธรรมจนี สว่ น
คำ� วา่ อ ๋ี มาจากคำ� วา่ หมนั อ ี๋ (蠻夷) ทแี่ ปลวา่ คนตา่ งชาตทิ ม่ี ใิ ชค่ นจนี
หรอื คนทร่ี บั วฒั นธรรมจนี ถกู ดแู คลนวา่ เปน็ คนเถอ่ื น คนทถ่ี กู มองวา่
เปน็ คนเถอื่ นนอกวงวฒั นธรรมจนี กเ็ ชน่ คนในเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี ง
ใต้ ชาวเผ่าเร่ร่อนทางตอนเหนือ คนเผ่าทางภาคตะวันตก เป็นต้น
ต่อมาเม่ือจีนคบค้ากับชาวตะวันตก ก็ยังไม่วายเหมารวมฝรั่งว่าเป็น
พวกคนเถอื่ นไปด้วย ท้งั ๆ ท่อี ารยธรรมของชาวตะวันตกไม่ย่ิงหยอ่ น
ไปกวา่ จนี และนับวนั ยิง่ จะเหนอื กว่า “หัวเซย่ี ” ในทกุ ๆ ดา้ น
ตัวอย่างการดูหม่ินฝร่ังที่เห็นได้ชัดคือ กรณีคณะทูตอังกฤษที่
นำ� โดยจอรจ์ แมคารท์ นยี ์ ผแู้ ทนของราชสำ� นกั พระเจา้ จอรจ์ ท ี่ 3 หรอื
Macartney Embassy เดนิ ทางมายงั ราชสำ� นกั ของพระเจา้ เฉยี นหลง
แห่งราชวงศช์ งิ หมายจะขอใหจ้ ีนเปิดประเทศค้าขาย แตก่ ารเจรจายัง
ไมท่ นั เรม่ิ กเ็ กดิ ปญั หาขน้ึ เพราะฝา่ ยจนี เรยี กรอ้ งใหค้ ณะทตู ตอ้ งหมอบ
กราบถวายบงั คมจกั รพรรด ิ 9 ครง้ั ตามธรรมเนยี ม และเปน็ สญั ลกั ษณ์
ของการยอมศิโรราบของพวก “หมันอ๋ี” จากแดนตะวันตกต่อโอรส
สวรรค์ ผู้ปกครองแผ่นดินใจกลางโลก (จงก๋ัว) แต่คณะราชทูตไม่
ยนิ ยอม แมจ้ ะมกี ารเจรจาใหห้ มอบกราบแคค่ รงั้ เดยี วกต็ าม จนเจรจา
สงครามกลางเมอื งจนี
13
ป้อมต้ากู ระหว่างทางจากเทียนจินไปปักกิ่ง หลังถูกกองทัพอังกฤษ-ฝรั่งเศสโจมตี ใน
สมรภมู ทิ ่ปี ้อมต้ากู จะเหน็ ศพทหารตา้ ชงิ ทน่ี อนกลาดเกลื่อน, ภาพโดย Felice Beato
ช่างภาพชาวองั กฤษ เมอ่ื ปี 1860
(ภาพ public domain)
กันใหถ้ วายบังคมแบบฝร่ังด้วยการคกุ เข่าขา้ งหนง่ึ แลว้ ค้อมศีรษะลง
การกระท�ำต่อคณะทูตแมคาร์ทนีย์ เป็นตัวอย่างท่ีดีที่แสดงให้
เหน็ ถงึ ทศั นะทจี่ นี มองตวั เองเปน็ ศนู ยก์ ลางโลก และประเทศอนื่ ๆ จาก
แดนไกลเปน็ เพียงพวกชายขอบไร้อารยธรรม
ไมเ่ พยี งเทา่ นนั้ ในเอกสารทางการของจนี ยงั มกั เรยี กผแู้ ทนหรอื
คกู่ รณตี า่ งชาตจิ ากโลกตะวนั ตกวา่ “พวกอ”ี๋ เชน่ การเรยี กพวกรสั เซยี
วา่ “อ”ี๋ ในชว่ งทม่ี กี ารตกลงแบง่ พรมแดนกนั สมยั พระเจา้ เฉยี นหลง หรอื
แมแ้ ตใ่ นเอกสารทางการทตู และเอกสารอนื่ ๆ ทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั ชาวองั กฤษ
THE CHINESE CIVIL WAR
14
กเ็ รยี กพวกเขาวา่ “อ”ี๋ ซงึ่ เรอ่ื งนอ้ี งั กฤษทราบในกาลตอ่ มาและเปน็ เหตุ
ใหม้ กี ารกดดนั ใหจ้ นี ผา่ นสนธสิ ญั ญาใหห้ ยดุ เรยี กพวกเขาเปน็ คนเถอื่ น
ทัศนคติน้ีเริ่มถูกบดจนป่นปี้ทีละน้อย หลังจากจีนพ่ายแพ้
อังกฤษในสงครามฝ่ิน 2 คร้ัง
สงครามฝน่ิ ครงั้ แรกในป ี 1842 พระเจา้ ตา้ วกวงทรงวติ กกบั การ
ระบาดของฝิ่นที่พวกอังกฤษน�ำมาขายให้คนจีนเสพติด ท้ังยังดูดเงิน
ทองออกไปจากระบบเศรษฐกจิ ของประเทศ จงึ ทรงสง่ั ใหป้ ราบการคา้ ฝน่ิ
ใหส้ ิน้ แลว้ ทำ� ลายสนิ ค้าอนั ตรายเสยี โดยไมไ่ ดช้ ดใช้ค่าเสยี หายให้กับ
อังกฤษ โดยหาได้แยแสว่าฝิ่นเป็นสินค้าอันล�้ำค่าของอังกฤษ หาไม่
แล้วคงไม่มีฉายาว่า “ทองค�ำสีด�ำ” และหาได้ส�ำเหนียกว่าอังกฤษท่ี
กำ� ลงั ดมื่ ดำ่� กบั ความสำ� เรจ็ ของระบอบทนุ นยิ ม มกี องกำ� ลงั อนั แขง็ แกรง่
ที่พร้อมจะปกปอ้ งระบอบทนุ นิยมท่ไี รห้ วั ใจได้ทกุ เมอ่ื
เมอื่ สงครามระเบดิ ขนึ้ สำ� เภาไมเ้ กา่ ๆ ของจนี จงึ พา่ ยยบั เยนิ ให้
กับกองเรืออันเกรียงไกรของอังกฤษ จนจีนต้องยอมลงนามในสนธิ
สญั ญาหนานจงิ สญู เสยี อธปิ ไตยบางสว่ นใหต้ า่ งชาต ิ ตอ้ งเปดิ เมอื งทา่
กว่างโจว, เซ่ียเหมิน, ฝูโจว, หนิงป่อ และเซี่ยงไฮ้ให้กับชาวตะวันตก
เท่ากับเสียการควบคุมจุดยุทธศาสตร์ทางทะเลไปโดยปริยาย และยัง
ตอ้ งยกเกาะฮอ่ งกงใหก้ บั องั กฤษ ถอื เปน็ การสญู เสยี ดนิ แดนใหก้ บั ฝรงั่
คร้ังแรกของจีน ที่ส�ำคัญจีนต้องอนุญาตให้ค้าขายฝิ่นได้อย่างเสรี
นี่คือมูลเหตุท่ีท�ำให้ระบบเศรษฐกิจของจีนย่ิงตกเป็นทาสทุนนิยม
ตะวันตก ประชาชนตดิ ฝิน่ จนไร้สมรรถภาพ
แต่พวกฝรั่งยังไม่ยอมพอและจีนยังไม่ยอมแพ้ จนท้ังสอง
กระทบกระทง่ั กนั อกี สงครามฝน่ิ ครง้ั ทสี่ องในป ี 1856 คราวนอี้ งั กฤษ
ไม่ได้เล่นคนเดียว แต่ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และรัสเซียพากันอ้าง
สงครามกลางเมอื งจีน
15
เหตุเพื่อรวมหัวกันรุมทึ้งจีน เพราะสบโอกาสที่จะขยี้จีนให้ลงนามใน
สนธิสัญญาท่ีเป็นคุณกับพวกเขา (บนความเสียหายของอีกฝ่าย)
สงครามครั้งนี้กินเวลา 2 ปี ไปส้ินสุดในปี 1858 ด้วยความพ่ายแพ้
ของราชวงศ์ชิง ต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาเทียนจิน อนุญาตให้
ชาตติ ะวนั ตกตงั้ สถานทตู ในกรงุ ปกั กงิ่ อนญุ าตใหค้ นตา่ งชาตเิ ดนิ ทาง
ในจีนได้อย่างเสรีจากเดิมท่ีเคยห้ามกระท�ำเช่นน้ัน บีบให้เปิดเมืองท่า
เพิ่มเตมิ และเสยี ดนิ แดนเหนือแม่น้ำ� เฮยหลงเจยี งให้กบั รสั เซยี
แตอ่ กี 1 ปตี อ่ มา กองทพั ตา้ ชงิ เกดิ ความขดั แยง้ กบั กองทพั ฝรง่ั
อกี ทปี่ อ้ มตา้ กใู กลก้ บั เมอื งเทยี นจนิ เนอื่ งจากผบู้ ญั ชาการปอ้ มไมย่ อม
ให้กองทัพติดตามขบวนทูตอังกฤษมุ่งหน้าเข้าไปยังปักกิ่ง ท�ำให้ท้ัง
2 ฝา่ ยปะทะกัน ยกแรกทพั ต้าชิงสกดั ทัพองั กฤษเอาไวไ้ ด้ สร้างความ
ยินดีปรีดาให้กับราชส�ำนักยิ่งนักเพราะถือเป็นชัยชนะแรกๆ ต่อฝรั่ง
หลงั จากพา่ ยรวดมาเกอื บทกุ ครงั้ แตพ่ วกชงิ ดใี จไดไ้ มน่ าน ในปถี ดั มา
อังกฤษกลับมาอีกพร้อมด้วยกองก�ำลังผสมฝร่ังเศส พยายามตีป้อม
ต้ากูให้ได้ แล้วก็ท�ำได้ส�ำเร็จ ขณะน้ันเองราชส�ำนักชิงพยายามเจรจา
กบั ทตู องั กฤษ แตท่ ตู องั กฤษหยามหมนิ่ ฝา่ ยจนี จงึ ถกู จบั กมุ ตวั ไว ้ แต่
ระหว่างนั้นมีข่าวลือว่าทูตถูกลงโทษประหารด้วยการ “เฉือนพันคร้ัง”
คอื การประหารดว้ ยการตดั ชนิ้ เนอ้ื ทลี ะชนิ้ ๆ จนกวา่ นกั โทษจะตาย เปน็
โทษท่ีทรมานและโหดเห้ียมย่ิง ข่าวลือน้ีย่ิงท�ำให้อังกฤษโกรธแค้น
ฝ่ายจีนเป็นอนั มาก
ในท่ีสุดกองทัพอังกฤษ-ฝร่ังเศสก็รุกคืบถึงกรุงปักกิ่ง พระเจ้า
เสยี นเฟงิ ทรงตกพระทยั รบี หนไี ปลภ้ี ยั ทมี่ ณฑลเรอ่ เหอ กองทพั ฝรงั่ จงึ
จัดการควบคุมปักก่ิง ท�ำการปล้นชิงและเผาพระราชวังฤดูร้อนอัน
งดงามตระการตา 2 แห่ง คือพระราชวังอ้ีเหอหยวน และพระราชวัง
THE CHINESE CIVIL WAR
16
หยวนหมงิ หยวน และเกอื บทจี่ ะเผาพระราชวงั ตอ้ งหา้ มแลว้ แตเ่ จรจา
กันได้ท่ีเทียนจิน พระเจ้าเสียนเฟิงจึงทรงกลับมาประทับท่ีปักกิ่ง แต่
ต้องยอมเซ็นอนุสัญญาปักก่ิง โดยเสียเกาลูนให้อังกฤษและเสีย
แมนจูเรยี นอกให้รัสเซยี (ดินแดนฮาบารอฟสคใ์ นปัจจบุ ัน)
อนุสัญญาปักก่ิงเป็นข้อตกลงทางการของสนธิสัญญาเทียนจิน
(Treaty of Tientsin) เมื่อเดือนมิถุนายน 1858 หนึ่งในข้อตกลง
ทา้ ยสุดก็คือใหจ้ ีนยตุ ิการเรียกคนองั กฤษวา่ เปน็ พวกคนเถื่อน เนือ้ หา
มใี จความวา่ “เปน็ ทต่ี กลงกนั วา่ หลงั จากน ี้ อกั ษร อ๋ี 夷 ‘คนเถอื่ น’ จะ
ไม่น�ำมาใช้กับข้าราชบริพารของสมเด็จพระราชินีอังกฤษ ในเอกสาร
ฝา่ ยจนี ไมว่ า่ จะฉบบั ใดๆ”
การเสยี ดนิ แดนและการถกู สงั่ หา้ มเรยี กฝรง่ั วา่ คนเถอื่ น ถอื เปน็
จุดเร่ิมที่ท�ำให้จีนต้องทบทวนตัวเอง และมองเห็นสภาพที่แท้จริงของ
ตนวา่ การเอาแตเ่ รยี กคนตา่ งชาตวิ า่ “อ”ี๋ ขณะทตี่ นเองไมไ่ ดพ้ ฒั นาให้
เทียบเท่ากับคนเหล่านั้น เป็นเพียงความเพ้อฝันว่าตัวเองย่ิงใหญ่แต่
เพยี งฝา่ ยเดยี ว
ความพา่ ยแพใ้ นสงครามฝน่ิ 2 ครง้ั ตามดว้ ยการเผาพระราชวงั
ฤดูร้อน 2 แห่ง รวมถึงการกบฏภายในหลายครั้ง เช่น กบฏไท่ผิง
และกบฏมสุ ลมิ ในภาคตะวนั ตกและภาคตะวนั ตกเฉยี งใต ้ (ซงึ่ ราชวงศ์
ชิงปราบเองไม่ได้ ต้องขอยืมแรงฝร่ังช่วยปราบ นับว่ายอกย้อนนัก
เพราะก่อนหน้าน้ีจีนเพ่ิงจะรบกับฝร่ังมาหมาดๆ) ความพ่ายแพ้และ
ความอ่อนแอที่ปรากฏให้เห็น ท�ำให้ชาวจีนท่ีมีสติปัญญาเร่ิมตระหนัก
ว่าตนเองอยู่ในสถานะที่น่าอดสูเพียงใด และตระหนักว่าบัดนี้ระบอบ
การปกครองเดมิ ไมเ่ ขา้ ทา่ เสยี แลว้ ชาวจนี เหลา่ นมี้ ที ง้ั สามญั ชน รวมถงึ
ขนุ นางและองคจ์ ักรพรรดิดว้ ย
สงครามกลางเมืองจีน
17
การปฏิรปู ท่ีไม่ถึงฝัง่ ฝนั
ความพยายามทจี่ ะปฏริ ปู และปฏวิ ตั จิ งึ เรม่ิ ตน้ ขนึ้ หนง่ึ ในความ
พยายามทจี่ ะปฏริ ปู ตวั เองครง้ั สำ� คญั คอื การปฏริ ปู อซู้ ว ี ในรชั สมยั ของ
พระเจ้ากวงซว่ี จักรพรรดิหนุ่มที่ปราศจากอ�ำนาจ ต้องอยู่ภายใต้การ
กดขขี่ องพระพนั ปหี ลวง คอื พระนางซสู ไี ทเฮา แตอ่ งคจ์ กั รพรรดหิ นมุ่
มีความกล้าหาญและวิสัยทัศน์ กอปรกับมีขุนนางและปัญญาชน น�ำ
โดย คงั โหยว่ เหวยกบั เหลยี งฉเ่ี ชา พยายามกระตนุ้ ใหพ้ ระองคป์ รบั ปรงุ
ประเทศโดยดว่ น
เหลียงฉ่ีเชาเป็นปัญญาชนท่ีมีวิสัยทัศน์กว้างไกล เขาเขียน
บทความหลายชิ้นกระตุ้นเตือนให้คนจีนตระหนักว่าตัวเองก�ำลัง
หมิ่นเหม่อยู่บนปากเหว และเปรียบเทียบกับญ่ีปุ่นท่ีก�ำลังกระโจนเข้า
สู่โลกสมัยใหม่อย่างคึกคะนอง ในบทความเรื่อง “ความศิวิไลซ์ของ
ญ่ีปุน่ ” เขากลา่ ววา่
“การรับเอาความรู้ของต่างชาติเข้ามาระหว่างจีนกับญ่ีปุ่นนั้น
แตกต่างกัน ญี่ปุ่นเป็นประเทศเล็กและยังไม่มีองค์ความรู้เป็นของ
ตวั เอง ดงั นน้ั เมอ่ื มอี งคค์ วามรจู้ ากภายนอกหลงั่ ไหลเขา้ มา ญป่ี นุ่ กต็ ะบงึ
เขา้ ไปหาราวกบั มา้ คะนอง สรา้ งความเปลย่ี นแปลงอยา่ งรวดเรว็ ราวกบั
เสยี งตะบงึ ควบ และในชวั่ เวลาเพยี งพรบิ ตา ทงั้ ประเทศกเ็ ปลย่ี นแปลง
ไปโดยสนิ้ เชงิ ...อา้ อนจิ จาตวั ขา้ น!้ี ภสู งู หนองนำ�้ กวา้ ง เปน็ ถนิ่ กำ� เนดิ
มังกรก็จริง (หมายถึงแผ่นดินจีน) แต่รอยเท้าของผู้แทนของเราไม่มี
วันเทียบได้กับรอยเท้าอันเล็กจิ๋วของสุภาพบุรุษจากประเทศแห่ง
คนแคระ (หมายถึงญี่ป่นุ )”
THE CHINESE CIVIL WAR
18
คงั โหย่วเหวย ผู้ขบั เคลือ่ นการปฏริ ปู 100 วนั , ถา่ ยเมื่อปี 1905
(ภาพ Library of Congress)
สงครามกลางเมอื งจนี
19
ในเวลาน้ันจีนเริ่มตระหนักได้ว่าญี่ปุ่นก�ำลังเปลี่ยนแปลง แต่
ยงั ไมต่ ระหนกั วา่ ความเปลยี่ นแปลงนจี้ ะสง่ ผลสะเทอื นไปทว่ั โลก โดย
เฉพาะจีนที่จะตกเป็นเหย่ืออันโอชะของญ่ีปุ่นในอีกไม่กี่ปี ข้อสังเกต
ของเหลยี งฉ่ีเชาในบทความดังกล่าวสะท้อนใหเ้ ห็นถึงความกงั วลลกึ ๆ
แม้ว่ายังพยายามแสดงความม่ันใจในประเทศจีนว่าจะปรับตัวได้ใน
แบบของตวั เอง โดยไมต่ อ้ ง “ลอกมาท้งั ดุ้น” แบบญ่ีปุน่
หลังจากพิจารณาแล้วว่าแผ่นดินต้าชิงต้องการการปฏิรูปโดย
ไม่มีข้อแม้ กวงซว่ีจึงทรงขับเคลื่อนการปฏิรูปด้วยพระองค์เองใน
ปี 1898 โดยปราศจากความเห็นชอบจากซูสีไทเฮา หน่ึงในแนวทาง
ปฏิรูปคือการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิ-
ราชยม์ าเปน็ ระบบราชาธปิ ไตยภายใตร้ ฐั ธรรมนญู จดั ตง้ั สถาบนั อดุ ม-
ศกึ ษา โรงเรยี นนายรอ้ ยทหารเรอื ปฏริ ปู กองทพั แบบตะวนั ตก ปฏริ ปู
การเกษตร ปฏิรูปท่ีดิน ปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปการคมนาคมขนส่ง
ปฏิรปู การค้าขายใหท้ ันสมัย
สาระส�ำคัญของการปฏิรูปคร้ังนี้มีนโยบายท่ีหลากหลายครอบ
คลุมพื้นฐานการสร้างชาติให้มีความเป็นสมัยใหม่ นโยบายต่างๆ น�ำ
มาจากฎีกาของคังโหย่วเหวย เร่ือง “การพิจารณาการเปล่ียนแปลง
ระบบการปกครองของญ่ีปุ่น” (日本變政考) และ “การเปลี่ยนแปลง
ระบอบการปกครองของรัสเซียในรัชสมัยพระเจ้าปีเตอร์มหาราช”
(俄羅斯大彼得變政記) รวมถงึ ขอ้ เสนอแนะของทโิ มธ ี รชิ ารด์ (Timo-
thy Richard) มิชชันนารีจากอังกฤษที่มีอิทธิพลต่อคังโหย่วเหวย
เร่ืองระบอบสาธารณรัฐและกิจการระหว่างประเทศ แต่โดยรวมแล้ว
พระเจ้ากวงซว่ีทรงมุ่งหมายท่ีจะด�ำเนินรอยตามการปฏิรูปในรัชสมัย
เมจขิ องญ่ปี ุ่น เช่น
THE CHINESE CIVIL WAR
20
ในด้านการศกึ ษา มีข้อเสนอการปฏริ ูปโดยย่อ ดงั น้ี
1. เปล่ียนแปลงโรงเรียนแบบโบราณทุกรูปแบบให้มีการสอน
ทงั้ วิชาแบบจีนและแบบตะวันตก
2. จดั ระดบั การเรยี นขน้ั พนื้ ฐาน 3 ระดบั ตงั้ สถาบนั ตามลำ� ดบั
ในเมอื งระดับช้ันตา่ งๆ
3. สง่ เสรมิ โรงเรยี นเอกชน
4. จดั ตง้ั สำ� นกั แปลตำ� ราดา้ นการแพทย ์ เกษตรศาสตร ์ เศรษฐ-
ศาสตร ์ การรถไฟ การท�ำเหมอื ง เป็นตน้
5. ส่งพระบรมวงศ์เดินทางดูงานต่างประเทศ ส่งนักศึกษาไป
เรียนที่ญป่ี ุน่
6. ยกเลิกเขียนเรียงความแบบโบราณ ให้สอนวิชาต�ำราแบบ
ขงจ้ือผสมความรรู้ ่วมสมัย
7. ตั้งรางวัลให้กับผู้เขียนหนังสือและสร้างส่ิงประดิษฐ์ท่ีดีเด่น
เพ่อื สง่ เสรมิ คนมีความสามารถ
ในด้านการเศรษฐกิจ มขี อ้ เสนอการปฏริ ูปโดยย่อ ดงั น ้ี
1. จดั ตงั้ กระทรวงการรถไฟ การทำ� เหมอื ง ตงั้ สำ� นกั งานเกษตร
และพาณิชยท์ กุ มณฑล
2. สง่ เสรมิ การมสี ว่ นรว่ มของเกษตรกร สนบั สนนุ อปุ กรณแ์ ละ
องคค์ วามรูแ้ บบตะวนั ตก
3. จัดต้ังโรงงานอุตสาหกรรมให้แพร่หลาย และกระตุ้น
การผลิต
4. ยกเลกิ อตุ สาหกรรมผกู ขาดของกองทพั แปดธง (กองทพั ของ
ราชวงศช์ งิ ) ใหป้ ระชาชนเขา้ ถงึ ได้
สงครามกลางเมอื งจนี
21
ในด้านการทหาร มขี อ้ เสนอการปฏิรปู โดยย่อ ดังนี้
1. ฝกึ ทหารแบบตะวันตก
2. ใชอ้ าวธุ ทท่ี นั สมยั ยกเลกิ การใชธ้ นแู ละทวน หนั มาใชอ้ าวธุ ปนื
3. กอ่ ตัง้ โรงเรยี นการทหารระดับสงู
4. อนญุ าตใหโ้ รงงานของเอกชนผลติ อาวธุ ปนื แบบตะวนั ตกได ้
ในด้านการปกครอง มขี ้อเสนอการปฏิรปู โดยยอ่ ดงั นี้
1. ยบุ หน่วยงานทที่ �ำงานซำ้� ซอ้ นกนั
2. จัดตัง้ หนว่ ยงานทป่ี รึกษาบรหิ ารแผ่นดิน
3. อนุญาตให้ขนุ นางท้องถน่ิ และปญั ญาชนเขยี นหนงั สือ
4. ยกเลกิ ค�ำสั่งหา้ มการเผยแพร่หนงั สือพมิ พข์ องเอกชน
5. ปฏริ ปู ระบบการคลังและงบประมาณของประเทศ
หากแนวทางปฏิรูปน้ีส�ำเร็จลงได้ จีนคงจะพ้นจากชะตากรรม
อนั เลวรา้ ยทตี่ อ้ งประสบอกี หลายสบิ ปหี ลงั จากนน้ั เพยี งแตอ่ งคก์ วงซวี่
ทรงไรอ้ ำ� นาจ และซสู ไี ทเฮามดื บอดในอำ� นาจ ทำ� ใหก้ ารปฏริ ปู นดี้ ำ� เนนิ
ไปได้เพียง 104 วันก็จบส้ินลง เมื่อซูสีไทเฮาพร้อมด้วยกลุ่มอ�ำนาจ
อนุรักษนิยมท�ำการยึดอ�ำนาจ จับจักรพรรดิกวงซว่ีคุมขังในพระ
ต�ำหนัก และว่ากันว่ายังมีการวางยาพิษปลงพระชนม์อีกด้วย ส่วน
คังโหย่วเหวยกับเหลียงฉี่เชาต้องพากันหนีตาย เหลียงต้องหนีไปยัง
ญปี่ นุ่ แตต่ อ่ มาไดร้ ว่ มกบั ขบวนปฏวิ ตั ิ และใชค้ วามรคู้ วามสามารถดา้ น
อกั ษรศาสตร ์ เขยี นบทความปลกุ เรา้ ใหช้ าวจนี กา้ วไปขา้ งหนา้ ในบรรดา
มันสมองของการปฏิวตั ิ เหลียงฉ่เี ชาอาจถือเปน็ แกนสมองสว่ นหลกั
THE CHINESE CIVIL WAR
22
การไล่ล่ากลุ่มปัญญาชนและการกักขังพระเจ้ากวงซว่ี ท�ำให้
“การปฏิรูป 100 วัน” ต้องจบส้ินลงอย่างน่าเสียดายพร้อมกับความ
หวังสดุ ทา้ ยของราชวงศ์ชิงทจ่ี ะอยูร่ อดในโลกสมยั ใหม่
ซสู ไี ทเฮาไมเ่ พยี งขดั ขวางการปฏริ ปู ทจ่ี ะนำ� พาประเทศใหพ้ น้ จาก
ปลักตมแห่งความหลัง พระนางยังหน่วงเหน่ียวให้ประเทศถดถอยไป
สคู่ วามหายนะเข้าไปอีก
ขณะท่ีกวงซว่ีคิดจะใช้การปฏิรูปสร้างความแข็งแกร่งเพื่อท่ีจะ
ตอ่ กรกบั ชาวตา่ งชาต ิ ซสู ไี ทเฮาคดิ แตท่ จ่ี ะใชก้ ำ� ลงั (อนั ออ่ นปวกเปยี ก)
ขับไล่พวกต่างชาติ ถึงกับทรงยืมมือพวกกบฏนักมวยหรืออี้เหอถวน
เพ่ือบรรลุเป้าหมาย กบฏอี้เหอถวนมีเป้าหมายที่จะขับไล่ชาวต่างชาติ
เชิดชูราชวงศ์ชิง ถึงกับเข่นฆ่าพลเรือนและมิชชันนารีชาวต่างชาติเป็น
วา่ เลน่ ฝา่ ยราชสำ� นกั เหน็ โอกาสทองจงึ ประกาศสงครามกบั ตา่ งชาตไิ ป
พรอ้ มๆ กนั นบั เปน็ การกระทำ� ทไี่ รเ้ ดยี งสายงิ่ เพราะพวกนกั มวยมแี ต่
เจตจ�ำนงอันแรงกล้า แต่ไร้สรรพก�ำลังท่ีจะต่อกรฝรั่งได้ ไม่นานนัก
ชาวต่างชาติก็รวมตัวกันเป็นกองกำ� ลังพันธมิตรแปดชาต ิ คือ อังกฤษ
รัสเซีย ฝร่ังเศส สหรัฐฯ เยอรมนี อิตาลี ออสเตรีย-ฮังการี และ
ญี่ปุ่น เคล่ือนทัพบุกกรุงปักก่ิงจนพระนางซูสีไทเฮาต้องหนีออกจาก
ราชธานไี ปยงั นครซอี าน แตพ่ ระนางยงั มวี าสนารกั ษาชวี ติ เอาไวไ้ ด ้ ทงั้
ยงั กลบั มามอี ำ� นาจอกี หลงั จากตอ่ รองกบั กองทพั พนั ธมติ รแปดชาตไิ ด้
โดยเสียเงินค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจ�ำนวนมหาศาล และยังต้อง
หกั หลงั พวกกบฏนกั มวยและขนุ นางทเ่ี กยี่ วขอ้ ง ดว้ ยการประหารชวี ติ
และลงทณั ฑต์ ามโทษานโุ ทษตามคำ� เรียกรอ้ งของตา่ งชาติ
เงนิ คา่ ปฏกิ รรมสงครามทเ่ี สยี ไปเพราะแพส้ งครามทวี่ างแผนได้
อย่างย่�ำแย่ ท�ำให้จีนหมดศักยภาพท่ีจะพัฒนาตัวเองยิ่งขึ้นไปอีก
สงครามกลางเมอื งจีน
23
มิหน�ำซ้�ำจีนยังต้องพบกับความอัปยศอีกครา เม่ือพ่ายให้กับญ่ีปุ่นใน
ความขดั แยง้ เรอ่ื งอทิ ธพิ ลเหนอื เกาหล ี กองทพั ญปี่ นุ่ ทท่ี นั สมยั เอาชนะ
กองทพั จนี ทแ่ี สนจะขดั สนและไรเ้ อกภาพอยา่ งไมย่ ากเยน็ นกั สงคราม
คร้ังน้ีน�ำไปสู่สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ จีนต้องเสียอิทธิพลเหนือเกาหลี
เสียเกาะไต้หวัน และเสียค่าปฏิกรรมสงครามให้ญ่ีปุ่นถึง 17 ล้าน
ปอนด ์ หลงั จากเยอรมนแี พส้ งครามโลกครงั้ ท ี่ 1 แลว้ ญปี่ นุ่ ยงั ไดส้ ทิ ธิ
ครอบครองเขตอิทธิพลในเหลียวตง กลายเป็นมูลให้ญ่ีปุ่นรุกราน
แผ่นดินใหญ่ในกาลต่อมา
สงครามนี้เรียกว่า สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 (First Sino-
Japanese War) เกดิ ขนึ้ ระหวา่ งวนั ท ี่ 25 กรกฎาคม 1894 ถงึ เมษายน
1895 เป็นสงครามที่บ่ันทอนราชวงศ์ชิงให้อ่อนแอถึงขีดสุด บั่นทอน
ขวัญก�ำลังใจของปัญญาชนชาวจีนอย่างหนักหน่วง แต่ขณะเดียวกัน
กระตุ้นใหเ้ กิดการลุกฮอื และปรบั ปรุงตัวเองครง้ั ใหญเ่ ช่นกัน
ว่ากันว่าเพราะพระนางซูสีไทเฮาน�ำงบประมาณที่จะพัฒนา
กองทัพเรือไปสร้างพระราชวังฤดูร้อนข้ึนมาใหม่หลังจากถูกกองทัพ
องั กฤษ-ฝรงั่ เศสเผาทำ� ลายในระหวา่ งสงครามฝน่ิ ครงั้ ท ่ี 2 แตใ่ นความ
เป็นจริง พระนางมิได้ท�ำเช่นน้ันโดยตรง หากแต่พระเจ้ากวงซวี่ท่ีมิได้
ใสใ่ จกบั การพฒั นากองทพั แบบตะวนั ตกอยา่ งจรงิ จงั มากกวา่ แตเ่ รอื่ ง
เล่าขานท�ำนองน้ีเป็นที่นิยมในหมู่นักประวัติศาสตร์สมัครเล่นสาย
ชาตินิยม เพราะย่ิงท�ำให้ภาพลักษณ์ของพระนางซูสีไทเฮาย่ิงชั่วร้าย
เตม็ ไปดว้ ยสสี นั มากขึ้นอีก
เดิมทีพระนางซูสีไทเฮาทรงส่ังให้ปฏิรูปกองทัพเรือให้เป็นแบบ
ตะวันตกต้ังแต่ปี 1888 แต่ทุกอย่างยังล่าช้าและล้าสมัย คราวน้ี
พระนางซสู ไี ทเฮาทรงเรม่ิ คดิ ไดจ้ งึ เรมิ่ ประกาศการปฏริ ปู อยา่ งหนกั หนว่ ง
THE CHINESE CIVIL WAR
24
ผู้แทนจีนยอมแพ้ต่อกองทัพญ่ีปุ่นในยุทธการเว่ยไห่เว่ย สงครามจีน-ญี่ปุ่นคร้ังที่ 1,
ภาพพมิ พ์ไม้สอดสแี บบญีป่ ุ่น โดยโทชิฮิเดะ มงิ ติ ะ
(ภาพ public domain)
ในป ี 1901 เชน่ การยกเลกิ การสอบจอหงวนแลว้ เรม่ิ สถาบนั การศกึ ษา
แบบตะวนั ตก และประกาศธรรมนญู เพอ่ื จดั การเลอื กตง้ั ผแู้ ทนราษฎร
มณฑล เรยี กวา่ “ระบอบใหม”่ หรอื ซนิ เจงิ้ เปน็ ความพยายามดๆี ไม่
กค่ี ร้ังของพระนางซูสีไทเฮาตอ่ บา้ นเมอื ง
สงครามกลางเมอื งจีน
25
แต่ทุกอย่างสายเกินการณ์ไปแล้ว ไม่เพียงเงินในท้องพระคลัง
ร่อยหรอ ประชาชนยังหมดความเชื่อมั่นในราชส�ำนัก ปัญญาชน
หันหลังให้และเริ่มก่อต้ังขบวนการโค่นล้มราชวงศ์ชิงท่ัวทุกหย่อม
หญา้ นำ� ไปสกู่ ารลกุ ฮอื หลายตอ่ หลายครง้ั ตง้ั แตช่ ว่ งปลายทศวรรษท ่ี 1890
จนถึงทศวรรษท ี่ 1910
THE CHINESE CIVIL WAR
26
ขบวนการโค่นชงิ สรา้ งชาติ
ในปี 1894 ระหว่างท่ีจีนก�ำลังวุ่นวายกับสงครามจีน-ญี่ปุ่น
ครงั้ แรก นกั ศกึ ษาแพทยช์ าวกวา่ งตงวยั 29 ป ี นามวา่ ซนุ ยตั เซน็ ซง่ึ
ขณะนั้นอยู่ที่โฮโนลูลู จัดตั้งกลุ่ม “ซินจงฮุ่ย” หรือสมาคมฟื้นจีน
ชูอุดมการณ์ “ขับไล่พวกต๋าหลู่ ฟื้นฟูแผ่นดินจีน สถาปนารัฐบาล
เอกภาพ” (驅除韃虜, 恢復中華, 創立合眾政府) พวกต๋าหลู่ ในที่นี้
หมายถึงพวกแมนจูแห่งราชวงศ์ชิงและพวกมองโกลที่ช่วยชาวแมนจู
ปกครองจีนมานานกว่า 2 ศตวรรษ จะเห็นได้ว่าอุดมการณ์แรกเร่ิม
ของขบวนการโคน่ ลม้ ราชวงศช์ งิ ยงั ชธู งตอ่ ตา้ นเชอื้ ชาตมิ ากกวา่ จะโคน่
รัฐบาลเก่า อันเป็นแนวคิดที่สืบทอดมาตั้งแต่ยุคต้นราชวงศ์ชิง หรือ
อุดมการณ์ “โค่นชิง กู้หมิง” (反淸復明) แต่ในเวลาต่อมาแนวคิด
การปฏิวัติจะก้าวข้ามเชื้อชาติ มุ่งไปสู่เอกภาพของจีนท่ีมีความหลาก
หลายทางเชอื้ ชาติอย่างแท้จรงิ
ซินจงฮุ่ยของซุนยัตเซ็น จับมือกับสมาคมฝู่เหรินของหยางฉวี
หยนุ ชาวฮอ่ งกง คดิ จะใชส้ ถานการณช์ ว่ งทร่ี าชวงศช์ งิ กำ� ลงั เพลยี่ งพลำ้�
ในสงครามกบั ญป่ี นุ่ กอ่ การลกุ ฮอื ทกี่ วา่ งโจวโดยใชฮ้ อ่ งกง (อาณานคิ ม
ของอังกฤษ) เป็นฐานก�ำลัง แต่รัฐบาลชิงกดดันไปทางรัฐบาลอังกฤษ
ท�ำให้ซินจงฮุ่ยถูกตัดท่อน้�ำเล้ียง และแกนน�ำถูกรัฐบาลฮ่องกงบีบให้
ออกจากประเทศไป ซุนยัตเซ็นและหยางฉวีหยุนจึงหนีไปยังประเทศ
ตา่ งๆ จนกระทง่ั ไปปกั หลกั ทญ่ี ี่ป่นุ
ด้านนักศึกษาชาวหูหนาน ร่วมกันจัดตั้งสมาคมหัวซิงฮุ่ยหรือ
สมาคมจีนฟื้นฟู ที่เมืองฉางซา ในปี 1904 แนวคิดของกลุ่มน้ีคือ
“ขับไล่พวกต๋าหลู่ ฟื้นฟูแผ่นดินจีน” เช่นเดียวกับกลุ่มของซุนยัตเซ็น
สงครามกลางเมอื งจนี
27
ซุนยตั เซ็น ผกู้ อ่ ตงั้ กลมุ่ ซนิ จงฮยุ่ และถงเหมิงฮยุ่ กบั สหายชาวญ่ีปุ่น เม่ือปี 1898
(ภาพ public domain)
แตม่ ยี ทุ ธศาสตรอ์ ยทู่ กี่ าร “ปฏวิ ตั มิ ณฑลเดยี ว แลว้ ขยายไปทกุ มณฑล”
(雄踞一省, 與各省紛起) พร้อมกับลอบสังหารขุนนางชั้นผู้ใหญ่เพ่ือ
บั่นทอนก�ำลังของราชวงศ์ชิง เพียงแต่ก่อการล้มเหลวถึง 2 ครั้ง
แกนนำ� จงึ หนไี ปที่ญป่ี ุ่นในป ี 1905
ที่เซี่ยงไฮ้ปี 1904 ไช่หยวนเผย ปัญญาชนชาวเจ้อเจียงเป็น
แกนน�ำชาวเจ้อเจียงก่อตั้งสมาคมกวงฟู่ฮุ่ย หรือ สมาคมร้ือฟื้น เป้า
หมายกค็ อื “ฟน้ื คนื อำ� นาจใหช้ าวฮนั่ หวนคนื บา้ นเกดิ เมอื งนอน อทุ ศิ
กายให้ประเทศชาติ บรรลุผลแล้วปลีกตัว” (光復漢族,還我河山,以身
許國,功成身退) หมายความวา่ กลมุ่ นม้ี งุ่ ทจ่ี ะปฏริ ปู ประเทศ คนื อำ� นาจ
THE CHINESE CIVIL WAR
28
ให้คนฮั่น แสดงให้เห็นถึงแนวคิดต่อต้านเช้ือชาติเป็นหลัก และยังมี
บุคลิกแบบปัญญาชน คือท�ำงานไม่หวังผล ส�ำเร็จแล้วไม่รับความดี
ความชอบ สมาชิกคนส�ำคัญของกลุ่มนี้คือ ชิวจ่ิน วีรสตรีหญิงที่
ต่อต้านรัฐบาลอย่างห้าวหาญ แม้กระท่ังถูกจับกุมตัวและประหารชีวิต
ก็ยังไม่พร่นั พรึง
อกี กลมุ่ ทส่ี ำ� คญั คอื เผาเกอฮยุ่ บางครงั้ เรยี กวา่ เกอเหลา่ ฮยุ่ หรอื
สมาคมพใี่ หญ ่ มฐี านกำ� ลงั ทเี่ สฉวนและกยุ้ โจว เปน็ สมาคมลบั เนน้ การ
ใชก้ ำ� ลงั สมาชกิ ออกสายบมู๊ กั พกดาบไวก้ บั ตวั กลมุ่ นหี้ วงั โคน่ รฐั บาลชงิ
แต่ก็ชิงชังคนต่างชาติ จึงมักลงมือท�ำร้ายชาวต่างชาติและมิชชันนารี
และด้วยความเป็นองค์กรใต้ดิน จึงมักเรียกค่าคุ้มครองจากพวก
พ่อค้า หากไม่มีเป้าหมายโค่นชิงและลงมือลุกฮือจริงๆ จังๆ กลุ่มนี้
ก็ไม่ต่างอะไรกับพวกอ้ังย่ีดีๆ น่ีเอง อย่างไรก็ตาม เกอเหล่าฮุ่ยสร้าง
ขนุ ศกึ ทเ่ี กง่ กาจในประวตั ศิ าสตรจ์ นี ยคุ ใหมห่ ลายคน เชน่ ขนุ ศกึ จเู ตอ๋
ทต่ี อ่ มาจะเปน็ จอมทพั ผยู้ งิ่ ใหญข่ องฝา่ ยคอมมวิ นสิ ต ์ จอมพลเฮอ่ หลง
แห่งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ และบรรดาขุนศึกมุสลิมแซ่หม่าท่ีสร้างความ
ลือลั่นในยุคขุนศึก ดังนั้น แม้จะเป็นกลุ่มสายบู๊ที่ไร้อุดมการณ์อัน
สงู สง่ แต่เกอเหล่าฮ่ยุ ถอื วา่ มคี ณุ ปู การอยู่ไม่นอ้ ยเช่นกนั
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มปัญญาชนและคนใต้ดินอีกจ�ำนวนไม่น้อย
ในมณฑลตา่ งๆ ทร่ี วมตวั ดว้ ยเปา้ หมายเดยี วกนั แตม่ เี พยี งกลมุ่ เดยี ว
ที่จะเป็นหัวหอกหลักของการเคล่ือนไหวนั่นคือ ถงเหมิงฮุ่ย หรือ
สมาคมสหพันธมิตร อันเป็นการรวมตัวของกลุ่มซินจงฮุ่ยของ
ซุนยัตเซ็น กลุ่มหัวซิงฮุ่ย และกลุ่มกวงฟู่ฮุ่ย หลังการพบปะกันของ
แกนน�ำที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 1905 โดยมีซุนยัตเซ็นเป็นหัวหน้ากลุ่ม
สมาชกิ ลว้ นแตเ่ ปน็ คนหนมุ่ กลดั มนั อายไุ มต่ ำ่� กวา่ 17 และไมเ่ กนิ 30 ปี
สงครามกลางเมืองจีน
29
แต่บรรดาแกนน�ำล้วนแต่เป็นระดับมันสมองของการปฏิวัติและการ
สรา้ งชาติในกาลต่อมา
เปา้ หมายของถงเหมิงฮุ่ย คือ “ขับไล่พวกต๋าหลู ่ ฟ้ืนฟแู ผน่ ดนิ
จีน สถาปนาสาธารณรัฐ แบ่งปันท่ีดินอย่างเท่าเทียม” (驅除韃虜,
恢復中華, 創立民國, 平均地權)
แม้จะยังมีอุดมการณ์ก�ำจัดเชื้อชาติที่แตกต่าง และสร้างรัฐจีน
ท่ีชาวฮ่ันเป็นใหญ่อีกครั้ง (เหมือนสมัยราชวงศ์หมิง) แต่ถงเหมิงฮุ่ย
พฒั นากา้ วหนา้ ขน้ึ ไปอกี คอื การสถาปนาสาธารณรฐั และกระจายความ
เทา่ เทยี มกนั ทางเศรษฐกจิ ตอ่ มาซนุ ยตั เซน็ ยงั เสนอ “ลทั ธไิ ตรราษฎร”์
หรือ ซานหมิน จู่อ้ี (三民主義) ถือเป็นแนวคิดทางการเมืองท่ีเป็น
ระบบครั้งแรกของกลุ่มปฏิวัติ มีเป้าหมายสร้างประชาชาติ คือการ
ปกครองของประชาชาติ ประชาสิทธ์ิ คือการปกครองโดยระบอบ
ประชาธปิ ไตย และประชาชีพ คอื ความกินดอี ยดู่ ีของประชาชน
ประชาชาติ หรือ หมินจู๋ จู่อ้ี (民族主義) คือการปกครองโดย
ประชาชน มิใช่การปกครองโดยกลุ่มคน เป็นอิสระจากการครอบง�ำ
ของจักรวรรดินิยม และสร้างชาติจีนที่มีความหลากหลายทางชนชาติ
มิใช่แค่ชาวฮ่ัน แต่ยังรวมถึงชนกลุ่มน้อยทางเช้ือชาติและศาสนา ซึ่ง
เปน็ หลกั ทธี่ ำ� รงอยดู่ ง้ั เดมิ ตงั้ แตส่ มยั ราชวงศช์ งิ ทต่ี ระหนกั วา่ อาณาจกั ร
ชงิ สรา้ งขนึ้ บนความหลากหลายทางเชอื้ ชาตเิ ชน่ กนั เพยี งแตป่ ระชาชน
ต้าชิงไม่มีอ�ำนาจปกครองตนเอง เพราะอ�ำนาจอยู่ในมือของคน
กลุ่มเดียว
ประชาสิทธ์ิ หรือ เหมินเฉวียน จู่อ้ี (民權主義) คือระบอบ
ประชาธปิ ไตยตามระบบรฐั สภา มกี ารตรวจสอบการทำ� งานขององคก์ ร
ทไ่ี ดร้ บั การมอบอำ� นาจจากประชาชน คอื ฝา่ ยนติ บิ ญั ญตั ิ ฝา่ ยบรหิ าร
THE CHINESE CIVIL WAR
30
และฝา่ ยตลุ าการ อำ� นาจ 3 ฝา่ ยนเี้ ปน็ การแบง่ แยกตามระบอบประชา-
ธปิ ไตยตะวนั ตกตามแนวคดิ ของมองเตสกเิ ออ ผสมกบั การจดั รปู แบบ
การบริหารแบบจีน หรือ หยวน (院) ที่หมายถึงทบวง ต่อมาเม่ือมี
การเปลยี่ นแปลงการปกครองแลว้ จะมกี ารแบง่ ออกเปน็ 5 ฝา่ ย หรอื
อู่หยวน
ประชาชีพ หรือ หมินเซิง จู่อี้ (民生主義) คือการเอาใจใส่
สวัสดิภาพของประชาชน สร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันในทางเศรษฐกิจ
การเป็นอยู่ของประชาชนได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากรัฐ มีการจัดเก็บ
ภาษที เี่ ปน็ ธรรม ถว่ งดลุ ระหวา่ งระบอบทนุ นยิ มและระบอบสงั คมนยิ ม
แนวคดิ นจ้ี ะเปน็ รากฐานใหก้ บั สาธารณรฐั จนี ตราบจนถงึ ปจั จบุ นั
และยังเผยแพร่ไปยังประเทศในเอเชียตะวนั ออก
เมื่อมีกลุ่มที่เหนียวแน่นแล้ว เป้าหมายต่อไปคือการกระจาย
แนวคิดให้กว้างไกลไปถึงมวลชน เพื่อวางรากฐานให้แกร่ง ก�ำจัด
จดุ อ่อนท่ีเปน็ เหตแุ หง่ ความลม้ เหลวในการลุกฮือคร้ังแรก
ก่อนที่จะมาเป็นถงเหมิงฮุ่ยนั้น มีการลุกฮือหลายครั้ง แต่ละ
คร้ังล้มเหลวเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่เพียงบั่นทอนก�ำลังทรัพย์และขวัญ
ก�ำลังใจ แต่ยังท�ำให้คนหนุ่มอนาคตไกลต้องตายไปก่อนเวลาอันควร
หลายคน เน่ืองจากขาดการประสานงานท่ีดี ขาดการสนับสนุนจาก
มวลชน และทส่ี ำ� คัญคือขาดกองทพั ท่มี ีประสิทธิภาพ
กว่าที่จะมาเป็นถงเหมิงฮุ่ย ขบวนการโค่นราชวงศ์ชิงหลาย
ขบวนการคดิ ทจ่ี ะลกุ ฮอื กนั เอง แมจ้ ะมเี ปา้ หมายเดยี วกนั คอื ขบั ไลพ่ วก
แมนจ ู ฟน้ื ฟกู ารปกครองของชาวฮน่ั แตก่ ช็ ธู งตอ่ ตา้ นอยา่ งไรเ้ อกภาพ
ไมต่ อ้ งเอย่ ถงึ แนวทางดา้ นยทุ ธศาสตรแ์ ละแผนการรบทอี่ อ่ นดอ้ ย เชน่
การลุกฮือที่กว่างโจวคร้ังท่ี 1 โดยกลุ่มซินจงฮุ่ย เม่ือปี 1895 โดยมี
สงครามกลางเมอื งจีน
31
เป้าหมายที่จะยึดอ�ำนาจในกว่างโจว ถานซอ่ื ถง ผ้นู �ำกลมุ่ จือ้ ลจี่ วนิ ฉ่อี ,ี้
ให้อยู่ในมือของฝ่ายปฏิวัติภายใน ถ่ายเมอ่ื ปี 1896
คราวเดียว ก�ำหนดก่อการในวันท่ี (ภาพ public domain)
26 ตุลาคม แต่แผนการร่ัวไหล
เสยี กอ่ น ทำ� ใหท้ างการตา้ ชงิ กวาดจบั
พวกตอ่ ตา้ นครง้ั ใหญ ่ สว่ นซนุ ยตั เซน็
กบั หยางฉวีหยุนทีอ่ ยู่ในฮอ่ งกง แม้
จะรอดจากเง้ือมมือรัฐบาลชิง แต่
รัฐบาลชิงกดดันรัฐบาลอังกฤษท่ี
ฮอ่ งกงจนทง้ั 2 ไมอ่ าจกบดานไดอ้ กี
ตอ้ งลภ้ี ยั จากฮอ่ งกงไปประเทศตา่ งๆ
ในปี 1899-1900 ถานซื่อถง
หนง่ึ ในผผู้ ลกั ดนั การปฏริ ปู 100 วนั
ในรชั สมยั ของพระเจา้ กวงซว ี่ คดิ จะใช้
กำ� ลงั เขา้ หำ้� หนั่ แทน โดยเปน็ แกนนำ�
กอ่ ตง้ั กลมุ่ จอื้ ลจ่ี วนิ ฉอี่ ี้ (自立軍起義)
หรอื กองกำ� ลงั เอกราช ปฏวิ ตั ริ ว่ มกบั
สหายร่วมอุดมการณ์คือ ถังไฉฉาง
แห่งสมาคมปลดปล่อยเท้าสตรี
(ตั้งขึ้นเพ่ือปลดปล่อยสตรีจาก
ธรรมเนยี มการรดั เทา้ อนั ลา้ หลงั และ
สง่ เสรมิ สทิ ธสิ ตร)ี กลมุ่ นม้ี กี ารจดั ตง้ั
ทางการเมืองที่เป็นระบบถึงกับต้ัง
สภาผู้แทนราษฎรขึ้นอย่างลับๆ
THE CHINESE CIVIL WAR