The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประวัติศาสตร์ สงครามโลก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by GYPSY GROUP, 2019-08-01 06:02:42

Infantry Attacks บันทึกจากแนวรบ

ประวัติศาสตร์ สงครามโลก

Keywords: สงคราม,ประวัติศาสตร์

gypzy

INFANTRY ATTACKS / ERWIN ROMMEL

บนั ทกึ จากแนวรบ
แอร์วิน รอมเมิล

Infantry Attacks บันทึกจากแนวรบ

แอรวิน รอมเมิล: เขียน
สรศกั ดิ์ สุบงกช: แปล
ราคา 365 บาท

All rights reserved.
Infantry Attacks English edition c Greenhill Books, 1990
Infantry Attacks, Manfred Rommel foreword c Greenhill Books, 1990
Thai edition first published in Thailand in 2019 by Gypsy Group Co.,Ltd.
Thai Translation c Gypsy Publishing Co.,Ltd. 2019
This book is published through an arrangement with Bridge Communications Co.,Ltd.
Tel. 66 2645 4424 Email: [email protected]
c ขอความและรูปภาพในหนงั สอื เลม น้ี สงวนลขิ สิทธต์ิ ามพระราชบญั ญตั ิลิขสทิ ธ์ิ (ฉบับเพิม่ เตมิ ) พ.ศ. 2558

การคดั ลอกสวนใดๆ ในหนงั สือเลมนไ้ี ปเผยแพรไ มว า ในรูปแบบใดตองไดร บั อนุญาตจากเจาของลิขสิทธิ์กอ น
ยกเวน เพอื่ การอางอิง การวจิ ารณ และประชาสัมพันธ

ขอมลู ทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแหงชาติ
National Library of Thailand Cataloging in Publication Data
รอมเมลิ , แอรวนิ .

Infantry Attacks บันทึกจากแนวรบ.--กรุงเทพฯ : ยปิ ซี กรปุ , 2562.
384 หนา .
1. สงครามโลก, ค.ศ. 1914-1918. 2. การรบ. I. สรศกั ด์ิ สุบงกช, ผูแ ปล. ll. ช่อื เรอื่ ง.
940.3

ISBN 978-616-301-669-0

บรรณาธิการอำนวยการ : คธาวฒุ ิ เกนุย
บรรณาธิการบรหิ าร : สุรชยั พงิ ชยั ภมู ิ
ผชู ว ยบรรณาธกิ ารบรหิ าร : วาสนา ชูรตั น
บรรณาธิการเลม : ธรรธร วีระสุรีย
กองบรรณาธกิ าร : คณิตา สตุ ราม พรรณกิ า ครโสภา ดารียา ครโสภา
เลขากองบรรณาธกิ าร : อรทัย ดสี วัสด์ิ
พิสจู นอักษร : ชมพร ไชยลอม
รูปเลม : GypsyGraphic
ออกแบบปก : คีย รชิ เนสส
ผูอำนวยการฝา ยการตลาด : นุชนนั ท ทักษณิ าบณั ฑติ
ผูจ ดั การฝา ยการตลาด : ชิตพล จันสด
ผูจดั การทวั่ ไป : เวชพงษ รตั นมาลี
จดั พิมพโ ดย : บริษัท ยิปซี กรุป จำกดั เลขท่ี 37/145 รามคำแหง 98
แขวง/เขตสะพานสงู กรุงเทพฯ 10240
พิมพท ่ี โทร. 0 2728 0939 โทรสาร. 0 2728 0939 ตอ 108
จัดจำหนาย www.gypsygroup.net
: บริษทั วิชัน่ พรเี พรส จำกัด โทร. 0 2882 9981-2
: บริษัท ยิปซี กรปุ จำกดั โทร. 0 2728 0939
www.facebook.com/gypsygroup.co.ltd
LINE ID : @gypzy

ค�ำ น�ำ สำ�นกั พมิ พ์

เมือ่ กลา่ วถงึ สงครามโลกทัง้ สองครัง้ แลว้ มหี ลายเหตกุ ารณท์ างประวตั ศิ าสตร์
ที่เกิดขึ้นมากมายครอบคลุมไปทั้งโลก ขณะเดียวกันแต่ละเหตุการณ์ก็มี
ลักษณะเฉพาะของสถานที่และช่วงเวลาแตกตา่ งกนั ไป กระนั้นทกุ เหตกุ ารณก์ ็
เชือ่ มโยงเป็นเรื่องราวเดียวกัน ดว้ ยสำ�นกั พิมพ์เล็งเห็นความส�ำ คัญของการนำ�
เสนอประวัติศาสตร์ที่รอบด้าน หนังสือเล่มนี้จึงได้มาปรากฏแด่ท่านผู้อ่าน
เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อเราอ่านหนังสือทางประวัติศาสตร์โดยเฉพาะใน
เรื่องสงครามโลกแล้ว เราย่อมพบเห็นชื่อของจอมพลแอร์วิน รอมเมิล หรือ
“จิ้งจอกทะเลทราย” กันมาบ้างไม่มากก็น้อย รวมทั้งชีวประวัติของบุคคลผู้
นี้ก็สามารถค้นหาได้ไม่ยากในยุคสังคมสื่อสารเช่นปัจจุบัน แต่หนังสือเล่มนี้
แตกต่างออกไป เนื่องจากเป็น “บทบันทึกในระหว่างทำ�การรบ” ของแอร์วิน
รอมเมิล ตั้งแต่เมื่อครั้งยังมียศร้อยตรีอยู่ในแนวหน้าของสนามรบ กระทั่ง
บทบันทึกนี้ได้กลายเป็นต้นแบบหรือตำ�ราทางการรบของทหารราบในที่สุด
ด้วยคุณค่าทางการศึกษาและเติมเต็มความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ที่รอบ
ด้านอย่างที่กล่าวมา ประกอบกับได้รับการแปลโดยผู้แปลที่มีผลงานและ
ความใฝ่รู้ในประวัติศาสตร์สงครามโดยเฉพาะ หนังสือเล่มนี้จึงคู่ควรอยู่ใน
คลังปัญญาของท่านผู้อ่านทุกท่านเป็นที่ยิ่ง

ด้วยความปรารถนาดี
สำ�นักพิมพ์ยิปซี

6

คำ�นยิ ม

เมือ่ ยอ้ นร�ำ ลกึ ถงึ สงครามโลกครัง้ ที่ 2 โดยเฉพาะในสมรภมู ยิ โุ รปและแอฟรกิ า
หากกล่าวเจาะจงเฉพาะนายพลระดับผู้บัญชาการในสนามรบที่มีชื่อเสียง
สูงสุดแล้ว
สหรัฐอเมริกา สปอตไลท์ย่อมฉายจับไปที่ - นายพลแพตตัน
สหราชอาณาจักร สปอตไลท์ย่อมฉายจับไปที่ - นายพลมอนต์โกเมอรี
รัสเซีย สปอตไลท์ย่อมฉายจับไปที่ - นายพลชูคอฟ
และท้ายสุด เยอรมัน สปอตไลท์ย่อมฉายจับไปที่ - นายพลรอมเมิล
ลองจินตนาการดูว่า หากนายพลทั้งสี่ท่าน - สี่มหาอำ�นาจนี้ได้มีโอกาส
มานั่งร่วมโต๊ะสังสรรค์หลังผ่านการโรมรันในสนามรบมาแล้ว และไม่ว่าผล
การรบนั้นจะออกมาอย่างไรก็ตาม ท่านคิดว่า เป็นนายพลท่านใดที่จะได้รับ
การยอมรับถึงอาจน้อมศีรษะคารวะจากเพื่อนร่วมโต๊ะสังสรรค์นี้มากที่สุด?
ในความเป็นผู้บัญชาการ ความเก่งกาจฉลาดเฉลียวในการวางแผน
และบัญชาการรบ ทั้งสี่ท่านล้วนยากแก่การตัดสินว่าใครเหนือกว่าใคร
ในความผูกพันกับผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งสี่ท่าน ใครที่ร่วมทุกข์ร่วมสุข
กับทหารในแนวหน้ามากที่สดุ จนนำ�ไปสู่คำ�ถามว่า มีความจำ�เป็นและถกู ต้อง
คุม้ คา่ ความเสีย่ งตอ่ ความส�ำ เรจ็ ในภารกจิ ของหนว่ ยแลว้ หรอื ทีผ่ ูบ้ ญั ชาการจะ
ต้องไปอยู่ในแนวหน้าแถวแรกอันสมควรเป็นที่อยู่ของพลทหารเยี่ยงนั้น
กบั ศตั รคู ูศ่ กึ ทัง้ สีท่ า่ นนี้ ใครไดร้ บั การยอมรบั สงู สดุ วา่ เปน็ “an officer
and a gentleman” เป็น “สุภาพบุรุษ” ที่ให้เกียรติเสมอกับศัตรูแม้เมื่อตก
เป็นเชลยในการดูแล
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า นายพลรอมเมิลย่อมเป็นผู้ที่จะได้รับการยกย่อง
คารวะจากเพื่อนผู้บัญชาการในสมรภูมิแม้จะอยู่ต่างฝ่ายก็ตาม... อย่าง
แน่นอน

INFANTRY ATTACKS

7

เป็นผู้บัญชาการที่เก่งกาจในการรบ เป็นผู้บัญชาการที่ข้าศึกเกรงกลัว
เป็นผู้บัญชาการที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเคารพเชื่อมั่น ทั้งหมดนี้ถือเป็นเรื่องปกติ
ที่ “ผู้บัญชาการคนไหนก็ทำ�ได้” - ใครว่ายาก?
แต่เป็นผู้บัญชาการที่ได้รับการเคารพนับถือจากผู้บัญชาการของกอง
ทัพศัตรูต่างหากที่สมควรได้รับการยกย่องเป็นพิเศษ ในประวัติศาสตร์มีไม่
มากนักที่จะมีผู้บัญชาการประเภทนี้
ไม่วา่ กาลเวลาจะผา่ นเลยไปนานเทา่ ใด เรื่องราวของนายพลรอมเมิลจงึ
ยังคงถูกหยิบยกมาศึกษาโดยตลอดแม้กระทั่งปัจจุบันและคงเป็นเช่นนี้ไปอีก
นานแสนนาน ตราบใดที่สงครามยังเป็นเครื่องมือสุดท้ายในการตัดสินปัญหา
ระหว่างประเทศ
บันทึกส่วนตัวของนายพลรอมเมิล ที่ถูกนำ�มาถ่ายทอดเป็นภาษาไทย
โดยนักแปลมืออาชีพที่แม้กระทั่งทหารอาชีพยังต้องน้อมกายคารวะอย่าง
“สรศักดิ์ สุบงกช” จึงนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทั้งต่อทหาร และบุคคล
พลเรือนที่สนใจศึกษา
เพื่อที่เราจักได้กระจ่างชัดยิ่งขึ้นว่า เพราะเหตุใด นายพลรอมเมิลจึง
สมควรได้รับการคารวะเช่นนั้น

พลเอก บัญชร ชวาลศิลป์
18 ธันวาคม 2561

แอร์วิน รอมเมิล

8

ค�ำ นำ�ผ้แู ปล

ไม่มีนักประวัติศาสตร์และผู้สนใจประวัติศาสตร์สงครามผู้ใดไม่รู้จักจอมพล
แอร์วิน รอมเมิล แม่ทัพแห่งกองทัพน้อยแอฟริกาผู้มีฉายา “จิ้งจอกทะเล
ทราย” ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นหนึ่งในจอมพลผู้มีชื่อเสียงเป็นที่นับถือ
ทั้งฝ่ายเดียวกันและฝ่ายตรงข้าม แม้แต่วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรี
อังกฤษในขณะนั้นยังต้องติดภาพท่านจอมพลไว้ในห้องทำ�งาน เพื่อย้ำ�เตือน
ตนว่าต้องเอาชนะ “จิ้งจอกทะเลทราย” ให้ได้ ทัพสัมพันธมิตรจึงจะครอง
แอฟริกาเหนือได้สำ�เร็จ
หากจะกล่าวถึงพื้นฐานของรอมเมิลแล้ว คงบอกได้ว่าเขาไม่ใช่ทหาร
เลือดปรัสเซียเหมือนมันชไตน์หรือรุนชเต็ดท์ รอมเมิลเป็นลูกชายของครู
มัธยมธรรมดาคนหนึ่งในเมืองวือร์ตเต็มแบร์ก รัฐทางตอนใต้ของเยอรมนี
ที่ไม่ได้มีวัฒนธรรมทางทหารที่เข้มแข็งเหมือนปรัสเซียก่อนรวมชาติเมื่อปี
1870 และเพราะความไม่ใช่ชาวปรัสเซียนี้เอง ที่ทำ�ให้เด็กหนุ่มลูกครูมัธยม
ร่างสันทัดนี้ต้องต่อสู้มากกว่าผู้มาจากตระกูลทหาร เขาทำ�ได้ดีทีเดียวหลัง
จบจากโรงเรียนนายร้อยที่เมืองดานซิก แล้วสังกัดเหล่าราบในกรมทหารราบ
ที่ 124 ก่อนย้ายไปสังกัดเหล่าปืนใหญ่กับกรมทหารปืนใหญ่ที่ 46 แล้วย้าย
กลับมากรมที่ 124 อีกครั้งเมื่อเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 1 และในการนำ�หน่วย
จากสงครามครั้งนี้เองที่ความเป็นผู้นำ�ของรอมเมิลได้เปล่งประกาย ด้วยยศ
เพียงร้อยโท แต่รอมเมิลได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาให้คุมกำ�ลัง
ทหารเทียบเท่าระดับกรม! คำ�แนะนำ�ของเขานั้นนายทหารระดับผู้บังคับการ
กรมต้องฟัง เพราะรอมเมิลเป็นทหารที่อยู่ในแนวหน้าตลอด เขาเห็นความ
เคลื่อนไหวของข้าศึกก่อนใคร วิ่งเข้าปะทะข้าศึก นำ�หน้าลูกน้องจนบาดเจ็บ
หลายครั้ง
หากจะศึกษาประวัติของรอมเมิลให้ทะลุปรุโปร่ง ให้เข้าใจในวิธีคิด

INFANTRY ATTACKS

9

และอัจฉริยภาพด้านการทหารของจิ้งจอกทะเลทราย หนังสือเล่มนี้คือกุญแจ
มันเป็นหนังสือที่รอมเมิลเขียนขึ้นในปี 1937 จากความทรงจำ� ขณะมียศเป็น
พันโท เป็นหนังสือขายดีในยุคนั้น มุมมองทางยุทธวิธีของรอมเมิลได้กลาย
เป็นตำ�รา ให้กับทั้งฝ่ายเยอรมันและฝ่ายตรงข้ามในภายหลังได้เรียนรู้การ
ดำ�เนินกลยุทธในหน่วยรบย่อยระดับหมวด, กองร้อยจนถึงระดับกรม เป็น
ข้อมลู จากทหารในแนวหน้าแท้ๆ ที่ผ่านการรบมาแล้วอย่างโชกโชน แสดงราย
ละเอียดทางยุทธวิธีอย่างหมดเปลือก รวมทั้งวิธีตัดสินใจของผู้นำ�หน่วยเมื่อ
ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าซึ่งรอมเมิลทำ�ได้ดี และมีหลายครั้งที่เขาพลาด
โดยขอ้ คดิ เหน็ หลงั การสูร้ บคอื การวเิ คราะหท์ ีร่ อมเมลิ ไดส้ อดแทรกไวใ้ หเ้ ขา้ ใจ
ถึงข้อผดิ พลาดและทางแกไ้ ข ท�ำ ใหร้ ูไ้ ด้วา่ การเป็นผูน้ �ำ หน่วยทีด่ ีนัน้ ทหารต้อง
ขยัน ต้องตัดสินใจเฉียบขาดในเวลาอันรวดเร็วและบางครั้งอาจถึงกับต้องขัด
คำ�สั่งผู้บังคับบัญชา ต้องเต็มใจเสี่ยงเพื่อหวังผลลัพธ์คือชัยชนะ และด้วยจิต
วิญญาณของรอมเมิล เขาตัดสินใจถูกมากกว่าผิด
รอมเมิลเป็นทหารอาชีพ เขาไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคนาซี และดำ�รงตน
เยี่ยงทหารอาชีพมาโดยตลอด ประสบการณ์จากสงครามโลกครั้งที่ 1 ใน
หนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจถึงวิธีคิดที่ไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างเป็น
นายพล แต่เป็นลักษณะเด่นติดตัวเขามาตั้งแต่เป็นผู้หมวดในกองพันภูเขา
วือร์ตเต็มแบร์กแล้ว เป็นหนังสือที่เรียกได้ว่า “ฮาร์ดคอร์” สำ�หรับผู้ติดตาม
ศึกษาประวัติศาสตร์สงครามโลกทั้งสองครั้งจริงๆ ที่ไม่ควรพลาด ถ้าทหาร
เยอรมันในกองทัพน้อยแอฟริกาจะเห็นแม่ทัพของเขาลงไปเข็นรถติดหล่ม
ปรับการยิงปืนใหญ่จากแนวหน้า ไปรู้ไปเห็นสถานการณ์การรบด้วยตัวเอง
ในทุกจุดอันตราย เรื่องทำ�นองนี้เป็นสิ่งที่รอมเมิลทำ�มาตั้งแต่เป็นร้อยตรีจบ
ใหม่แล้ว และในหนังสือเล่มนี้คือรายละเอียดที่น้อยคนนักจะได้รู้ เป็นเรื่อง
ราวที่แฟนพันธุ์แท้ของรอมเมิลและสงครามโลกทั้งสองครั้งไม่ควรพลาด
เพราะเป็นหนังสือที่รอมเมิลเขียนเองจากประสบการณ์ตรง เป็นมุมมองของ

แอรว์ ิน รอมเมลิ

10

ทหารราบธรรมดาในแนวรบที่ไม่เคยรู้อนาคตเลยว่าตนจะกลายเป็นบุคคล
ประวัติศาสตร์ที่โลกต้องจารึก เป็นสุดยอดของทหารหาญนามกระเดื่องใน
เวลาต่อมา และเป็นนายพลเยอรมันหนึง่ ในไมก่ ี่คนที่ไดร้ ับความนับถือทั้งจาก
ฝา่ ยเดยี วกนั และฝา่ ยตรงขา้ ม จะพดู อกี อยา่ งกไ็ ดว้ า่ เปน็ ทหารทีด่ ใี นกองทพั ที่
ดี แต่ต้องอยู่ภายใต้การนำ�ของผู้นำ�ชั้นเลว นำ�พาประเทศชาติไปสู่ความพ่าย
แพ้ย่อยยับในที่สุด
อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วคุณจะเข้าใจในจิตวิญญาณของ “จิ้งจอกทะเล
ทราย” มากยิ่งขึ้นครับ

สรศักดิ์ สุบงกช
ผู้แปล

INFANTRY ATTACKS

11

ค�ำ น�ำ เสนอโดยมนั เฟรด รอมเมลิ

พ่อเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นในครึ่งแรกของทศวรรษที่ 1930 ด้วยความตั้งใจให้
เป็นคู่มือสำ�หรับทหารราบ และในนี้ท่านได้พรรณนาไว้ถึงประสบการณ์ต่างๆ
ตั้งแต่ยังเป็นนายทหารเหล่าราบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้ที่ได้อ่านจะเข้าใจ
ว่าบุคคลผู้ที่ต่อมาจะเป็นพ่อของผมนี้ ต้องเผชิญอันตรายครั้งแล้วครั้งเล่า
สำ�หรับท่านแล้วการมีชีวิตรอดมาได้นั้นคือโชคแท้ๆ ถ้าท่านไม่รอดผมคงไม่
ได้เกิดมาในปี 1928 พ่อเคยพูดอยู่ครั้งหนึ่งว่า การจะเป็นวีรบุรุษนั้นคนต้อง
รอดด้วย แล้วต่อมาผมจึงพบว่าความคิดแบบเดียวกันนี้ปรากฏในงานเขียน
ของเอเลียส คาเน็ตตี
ตั้งแต่เด็กเมื่อครั้งเริ่มจำ�ความได้ ผมรู้ว่าพ่อเป็นวีรบุรุษ ใครๆ ก็พูด
อย่างนั้น ไม่มีข้อกังขา ในหลายๆ กรณี ในเมื่อพ่อได้รับเหรียญกล้าหาญชั้น
สูงสุด และได้มาอย่างยากมากจากกองทัพปรัสเซียที่มอบให้ผู้กล้า คือ “ปูร์
เลอ เมรติ ” (Pour le Mérite) เหรียญรปู กางเขนมอลตาสนี ้�ำ เงนิ ทีจ่ กั รพรรดิ
ฟรีดริคมหาราชทรงสถาปนาขึ้น ชื่อของเหรียญทำ�ให้เพื่อนร่วมชาติค่อนข้าง
อึดอัดในขณะนั้น เมื่อชาวเยอรมันต้องเป็นปฏิปักษ์กับชาวฝรั่งเศสเพื่อนบ้าน
ผมยงั จ�ำ ชา่ งกอ่ สรา้ งทีม่ องวา่ ผมขณะมอี ายสุ ีข่ วบกย็ งั รูค้ วามหมายอนั ถกู ตอ้ ง
ในเหรยี ญกลา้ หาญของพอ่ ทีม่ ชี ือ่ เปน็ ฝรัง่ เศสแปลกๆ ยิง่ กวา่ นัน้ เหรยี ญตรา
นี้ยังถูกคนในยุคนั้นยกย่องให้อยู่ในระดับเดียวกับรางวัลโนเบล เมื่อพ่อกับ
แม่ไปข้างนอก ผมยังเคยเอาเหรียญของท่านจากลิ้นชักมาคล้องคอแล้วส่อง
กระจก แน่นอนล่ะว่ามันเป็นภาพสะท้อนที่น่าภาคภูมิใจเหลือเกิน
ในเวลานั้นพ่อผมอาศัยอยู่ในเมืองกอสลาร์ บริเวณเทือกเขาฮาร์ทซ์
มตี �ำ แหนง่ เปน็ ผูบ้ งั คบั กองพนั “เยเกอร”์ (กองพนั ทหารราบเบา) ซึง่ ในสงคราม
นโปเลียนได้เคยรับใช้กษัตริย์แห่งอังกฤษในการพิชิตยิบรอลตาร์มาแล้ว
กองพันนี้ประกอบด้วยลูกหลานของชาวบ้านป่าเป็นส่วนใหญ่ คนพวกนี้จะ

แอรว์ ิน รอมเมิล

12

ให้ความเคารพต่อใครสักคนที่ต้องเป็นพรานมือฉมัง พ่อจึงไม่มีทางเลือกอื่น
นอกจากทำ�ตัวเป็นนายพรานที่ประดับประดาบ้านด้วยเขาสัตว์ต่างๆ และเขา
กวางที่ท่านยิงได้ ท่านเอาภาพของบรรพบุรุษทั้งหมดออกแล้วประดับผนัง
บ้านด้วยเขาและหนังสัตว์ที่ล่าได้ แม้กระทั่งถอดภาพแม่และภาพของผม
ออกแล้วติดของพวกนี้แทนด้วยซ้ำ� โดยที่พวกเราก็ไม่ได้ต่อต้านอะไรมากนัก
ผมชื่นชมยกย่องพ่อมาตลอด เพราะท่านเป็นคนใจดี ให้เวลากับผม
มาก ท่านฟังผมแล้วชมว่าผมฉลาด และเพราะว่าท่านเป็นนักเล่าเรื่องที่เล่า
ได้สนุกทั้งเรื่องจริงและนิยาย
ในหนังสือเล่มนี้ แม้ว่าจะไม่มีอะไรที่เป็นนิยายเลยก็ตาม ก็ยังเป็น
หนังสือที่อ่านง่าย ที่เขียนขึ้นจากใจ พ่อเป็นนักคณิตศาสตร์ที่เก่ง และด้วย
ความเป็นนักคณิตศาสตร์นี้เอง ที่ท่านใช้มันบรรยายภาพอดีตและมุมมอง
ต่างๆ ไดด้ ี ท่านมองการกระท�ำ ของตวั เองดว้ ยความยตุ ธิ รรม พจิ ารณาวา่ การ
ยอมรับความจริง และการแก้ไขอย่างต่อเนื่องจากประสบการณ์ที่ผ่านมา
เท่านัน้ ทีท่ �ำ ใหท้ ่านเปน็ นกั ยทุ ธวธิ ีทีเ่ กง่ และเปน็ ยอดผูน้ ำ�ทางการทหาร ดังนั้น
หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จบลง พ่อจึงอุทิศเวลาให้กับการศึกษาอย่างจริงจัง
กับปฏิบัติการทางทหารต่างๆ ที่ท่านเคยมีส่วนร่วม และการสู้รบที่ท่านเคยนำ�
หน่วยเอง ท่านเจาะลึกถึงเรื่องราวของนายทหารและทหารทั่วไปแล้วประเมิน
ข้อมูลที่ได้รับมาอย่างระมัดระวัง กับแม่ผมเช่นกันที่ท่านแบ่งเวลาให้ด้วยการ
ขี่มอเตอร์ไซค์ไปหา ในเมืองของอิตาลีที่ท่านพักอยู่ระหว่างสงคราม ไปถ่าย
รูปและวาดภาพสเกตช์นับร้อยๆ ภาพ เรื่องที่ไม่มีใครรู้คือพ่อไม่เคยระบุใน
พาสปอร์ตเลยว่าเป็น “ผู้บังคับหน่วย” แต่เขียนว่าเป็น “วิศวกร” แทน เพื่อ
หลีกเลี่ยงความทรงจำ�อันเลวร้ายที่ชาวอิตาลีเคยประสบ
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พ่อพยายามบันทึกการปฏิบัติหน้าที่และ
ประสบการณใ์ นหนา้ กระดาษใหเ้ รว็ ทีส่ ดุ เพือ่ เปรยี บเทยี บวา่ จะดกี วา่ ครัง้ กอ่ น
หรือไม่ และข้อเขียนของท่านได้ถูกตีพิมพ์แล้วในช่วงหลังสงคราม

INFANTRY ATTACKS

13

พ่อผมเป็นทหารอาชีพ ในจักรวรรดิเยอรมันก่อนปี 1933 นั้นทหาร
อาชีพไม่ได้รับอนุญาตให้เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือแม้แต่ลงคะแนน ดังนั้น
ทหารจึงพิจารณาตัวเองว่าไม่ยุ่งเกี่ยวและไม่มีส่วนรับผิดชอบทางการเมือง
หลักการนี้ถือว่าดีและรับได้ตราบเท่าที่ยังมีประชาธิปไตยอยู่ในเยอรมนี แต่
หลังจากฮิตเลอร์ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 1933 และได้รับคะแนน
เสียงถึงสองในสามจากรัฐสภา หลักการนี้ก็ถูกสงสัย จำ�เป็นต้องกล่าวไว้ใน
ที่นี้ว่าหลักปฏิบัติตนที่รองจากศีลธรรมอย่างเช่นความกล้าหาญ, ความมี
วินัย, ความจงรักภักดีและความอุตสาหะนี้ จะดีจริงหากนำ�ไปใช้ในทางที่ถูก
เมื่อความถูกต้องนั้นกลายเป็นความผิด หลักการเหล่านี้จึงสั่นคลอน
กองทัพเยอรมันต้องเผชิญกับความจริงอันขมขื่นนี้ ระหว่างยุคสมัยของ
ฮิตเลอร์ เขาเริ่มสนใจพ่อเมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้ของท่าน จึงให้พ่อเข้าพบใน
ปี 1938 แล้วแต่งตั้งท่านระหว่างการสร้างสมกำ�ลังรบ ให้เป็นผู้บังคับการกอง
บัญชาการท่านผู้นำ� เป็นตำ�แหน่งด้านบริหารที่แทบไม่เหมาะสมกับท่านเลย
แต่ฮิตเลอร์ก็เคารพท่านในฐานะทหารคนหนึ่ง แล้วในปี 1940 จึงมอบหมาย
ใหบ้ ญั ชาการกองพลยานเกราะทีเ่ ปน็ ตวั จกั รส�ำ คญั ระหวา่ งการรกุ ไลก่ องก�ำ ลงั
ผสมอังกฤษ-ฝรั่งศสในปีนั้น ในปี 1941 พ่อถูกแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการฝ่าย
เยอรมันในแอฟริกาเหนือ ท่านอยู่กับอุปสรรคหลายอย่าง จนกระทั่งในเดือน
มีนาคม 1943 เมื่อฮิตเลอร์ถอดถอนท่านออกจากตำ�แหน่ง เพราะพ่อมอง
ไม่เห็นอนาคตของสงครามตรงนั้นเลยตราบเท่าที่เยอรมนีเข้าไปพัวพันด้วย
ฤดูใบไม้ผลิปี 1944 พ่อขึ้นเป็นผู้บัญชาการหมู่กองทัพบี ของเยอรมัน
ในภาคเหนือของฝรั่งเศส, เบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ หลังจากการยกพลขึ้น
บกที่นอร์มังดี มันก็ชัดว่ากองทัพเยอรมันกำ�ลังเผชิญกับความพ่ายแพ้อย่าง
หมดรูป ในสถานการณ์นี้ท่านจึงตัดสินใจว่าหากจำ�เป็นต้องทำ� ด้วยตำ�แหน่ง
หน้าที่ของท่าน ก็จะยอมแพ้เสียในฝรั่งเศสเลยเมื่อกองทัพสัมพันธมิตรบุก
ทะลวงเข้ามา พ่อตัดสินใจเช่นนี้เพราะเห็นแก่ลูกน้อง ท่านอยากจะหลีกเลี่ยง

แอร์วนิ รอมเมิล

14

ความย่อยยับซึ่งในที่สุดแล้วคนเยอรมันต้องมาฆ่ากันเองในเขตรับผิดชอบ
ของท่าน พ่อยังมีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ก่อกบฏในเบอร์ลิน แต่ไม่คิดว่าคน
กลุ่มนี้จะบรรลุซึ่งการรัฐประหาร หรือว่าการมุ่งเอาชีวิตของฮิตเลอร์
ในวันที่ 17 กรกฎาคม 1944 พ่อต้องเจ็บหนักในนอร์มังดี หลังจากถกู
เครื่องบินอังกฤษโฉบลงยิงกราด เมื่อท่านกราฟฟ์ชเตาเฟินแบร์กลอบสังหาร
ฮิตเลอร์เมื่อ 20 กรกฎาคม นั้นพ่อยังไม่ได้สติ อย่างที่รู้กันทั่วไปว่าชเตาเฟิน
แบร์กล้มเหลว ฮิตเลอร์ให้สอบสวนกลุ่มผู้ก่อการอย่างละเอียด และระหว่าง
นั้นเองที่ทราบว่าพ่อเองก็มีส่วนร่วมทรยศด้วย ดังนั้นฮิตเลอร์จึงตัดสินใจ
กำ�จัดพ่อเสีย และการตัดสินใจนั้นเป็นผลเมื่อ 14 ตุลาคม เมื่อนายพลสอง
คนนำ�ข้อเสนอของฮิตเลอร์มาส่งให้ที่บ้านในตำ�บลแฮร์ลิงเกน ที่เมืองอูล์ม ซึ่ง
พ่อต้องยอมให้วางยาพิษ ท่านตกลงโดยแลกกับการสัญญาจะไม่ทำ�อันตราย
ต่อครอบครัว ไม่ส่งพวกเราไปค่ายกักกัน และจะไม่สืบสวนลึกลงไปยังฝ่าย
อำ�นวยการของท่านด้วย พ่อซึ่งเชื่อว่าฮิตเลอร์จะไม่ตัดสินท่านต่อสาธารณะ
จึงตัดสินใจยอมตาย ท่านขอเวลาส่วนตัวเพียงสิบนาทีเพื่ออำ�ลาแม่ ลาผม
และนายทหารหัวหน้าฝ่ายอำ�นวยการของท่าน คำ�ขอนี้ได้รับอนุญาต และ
เราทราบในเวลาต่อมาว่าท่านตายอย่างไร ฮิตเลอร์จัดงานศพให้พ่ออย่างสม
เกียรติ และที่กองบัญชาการของเขา สื่อด้านโฆษณาชวนเชื่อได้เชิดชูท่านอีก
ครั้งในฐานะวีรบุรุษสงคราม เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ทหารที่ฮิตเลอร์ส่งไป
รบในช่วงปลายสงครามอันไร้สาระนี้
ผมดีใจที่หนังสือของพ่อได้ถูกตีพิมพ์อีกครั้งหลังจากที่เคยตีพิมพ์มา
แล้วหลายปี เพื่อให้ชนรุ่นใหม่ได้ใช้เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์สงคราม

มันเฟรด รอมเมิล
Oberbürgmeister
Stuttgart, 1990

INFANTRY ATTACKS

15

สารบัญ

ภาคหนึ่ง: สงครามชิงพื้นที่
เบลเยียมและภาคเหนือของฝรั่งเศส ค.ศ. 1914

บทที่ 1 การสู้รบในป่าไบลด์และดูลค็อง
1: เริ่มสงคราม 1914 - เมืองอูล์ม 31 กรกฎาคม 1914 ............... . 25
2: ในแนวหน้า ............................................................................ 27
3: ลาดตระเวนสู่ลองวี เตรียมพร้อมรับศึกแรก ............................. 28
4: ศึกยึดหมู่บ้านเบลด ................................................................ 33
5: บนฝั่งแม่น้ำ�เมิส การยุทธที่หมู่บ้านม็องต์และในป่าดูลค็อง ........ 43
บทที่ 2 การยุทธในหมู่บ้านเฌส์เนส์และป่าเดอฟูอีกับร็องแบร์คูร์
1: การยุทธที่เฌส์เนส์ ................................................................. . 53
2: การไล่ล่าในป่าอาร์กอนน์ และการสู้รบในตำ�บลเปรทซ์ ............... 57
3: การโจมตีที่ป่าเดอฟูอี .............................................................. 59
4: การยุทธในป่าเดอฟูอี .............................................................. 65
5: การโจมตีกลางคืน ในวันที่ 9-10 กันยายน 1914 ..................... 72
บทที่ 3 การยุทธในบริเวณม็องต์แบล็งวิลล์
1: การล่าถอยในป่าอาร์กอนน์ ...................................................... 78
2: ศึกม็องต์แบล็งวิลล์ การรุกเข้าสู่ป่าบูซ็อง ................................. 81
3: การสู้รบในป่า เลียบแนวถนนโรมันโบราณ ............................... 88

ภาคสอง: สงครามสนามเพลาะ
การยุทธในแนวอาร์กอนน์และเทือกเขาโฟจ

บทที่ 4 การสู้รบในหุบเขาชาร์ล็อตต์ ....................................................... 94
บทที่ 5 สงครามสนามเพลาะที่ “ซ็องตรัล” และในหุบเขาชาร์ล็อตต์
1: สงครามสนามเพลาะในอาร์กอนน์ ........................................... 1 08

แอรว์ ิน รอมเมิล

2: การโจมตีที่ซ็องตรัล ............................................................... 1 12
3: การโจมตีในวันที่ 8 กันยายน 1915 ........................................ 1 20
บทที่ 6 ภารกิจจับเชลยในพื้นที่รหัส “ลูกบิดประตู” เทือกเขาโฟจ
1: หน่วยรบใหม่ ........................................................................ 1 26
2: การจู่โจมบริเวณ “ลูกบิดประตู” .............................................. 1 27

ภาคสาม: การยุทธในที่โล่ง
รูมาเนีย และเทือกเขาคาร์ปาเธียน 1917

บทที่ 7 จากช่องเขาสกูร์ดุค มุ่งสู่วิดรา
1: ศึกยึดเนิน 1794 ................................................................... 1 34
2: เข้าตีเลซูลูอิ ........................................................................... 1 39
3: ศึกคูร์เพนุล-วาลารี ................................................................ 1 42
4: เนิน 1001 มากูรา โอโดเบสตี ................................................. 1 51
5: กาเกสตี ................................................................................ 1 59
6: วิดรา .................................................................................... 1 71
บทที่ 8 การยุทธครั้งแรกต่อภูเขาคอสนา
1: เดินทัพสู่แนวคาร์ปาเธียน ...................................................... 1 74
2: การโจมตีแนวถนนสันเขา 9 สิงหาคม 1917 ............................ 1 77
3: การโจมตีในวันที่ 10 สิงหาคม 1917 ...................................... 1 87
4: ยึดภูเขาคอสนา 11 สิงหาคม 1917 ....................................... 196
5: การยุทธในวันที่ 12 สิงหาคม 1917 ....................................... 2 11
บทที่ 9 การยุทธช่วงต่อมาบนภูเขาคอสนา
1: การตั้งรับเมื่อ 14-18 สิงหาคม 1917 ..................................... 217
2: การยุทธครั้งที่ 2 บนภูเขาคอสนา 19 สิงหาคม 1917 ............. 233
3: กลับมาเป็นฝ่ายตั้งรับ ........................................................... 244
บทที่ 10 การตั้งรับวันแรกในโทลไมน์
1: เดินทัพเข้าตี และเตรียมกำ�ลังรบสำ�หรับการยุทธครั้งที่ 12
ในอิซอนโซ .......................................................................... 248

2: การโจมตีครั้งแรก: เฮฟนิคกับเนิน 1114 ................................ 255
บทที่ 11 การรุกเข้าโทลไมน์ในวันที่สอง
1: การบุกทะลวงเฉียบพลันสู่ที่มั่นในโคลอฟรัต .......................... 271
2: การเข้าตีภูเขาคุค หุบเขาบาร์ริง ลุยโค-ซาวอนญา
การเปิดทางของช่องเขาลุยโค ................................................ 284
บทที่ 12 วันที่สามของการตั้งรับในโทลไมน์
1: เข้าตีภูเขาครากอนซา ............................................................ 303
2: การเข้ายึดเนิน 1192, ยอดมรัสลี (1356)
และการเข้าตีภูเขามาตายูร์ .................................................... 316
บทที่ 13 การไล่บดขยี้ข้ามแม่น้ำ�ตากลิอาเมนโต และปิอาเว
วันที่ 26 ตุลาคม 1917 - 1 มกราคม 1918
1: มัสเซริส-คัมเปกลิโอ-แม่น้ำ�ตอร์เร-แม่น้ำ�ตากลิอาเมนโต
-ช่องเขาคลาอูตานา ............................................................... 3 30
2: การรุกไล่สู่ชิโมลาอิส ............................................................. 338
3: การเข้าตีที่มั่นฝ่ายอิตาลีทางตะวันตกของชิโมลาอิส ................. 340
4: การรุกไล่ผ่านแอร์โตและคูช่องเขาวาจอนต์ ............................. 347
5: การยุทธที่ลองกาโรเน ........................................................... 351
6: การยุทธในบริเวณภูเขากรัปปา .............................................. 374

18

ทีมจู่โจมเยอรมันในสนามเพลาะฝรั่งเศส ปี 1916

INFANTRY ATTACKS

19

คำ�นำ�

หนังสือเล่มนี้คือเรื่องราวของการยุทธครั้งต่างๆ ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่
ผมเคยประสบมาแต่ครั้งยังเป็นทหารราบในแนวรบ ข้อสังเกตต่างๆ ได้มี
ผนวกไว้แล้วในเนื้อเรื่องเพื่อให้เป็นบทเรียนอันมีคุณค่าจากปฏิบัติการทาง
ทหารครั้งนั้นๆ
ข้อสังเกตต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากการสู้รบจะแสดงให้เห็นว่าคนหนุ่ม
เยอรมนั นัน้ ใชอ้ าวธุ เปน็ มจี ติ วญิ ญาณแหง่ ความเสยี สละอยา่ งไรข้ ดี จ�ำ กดั และ
กลา้ หาญ ซึง่ ทหารเยอรมนั โดยเฉพาะเหลา่ ราบนัน้ ไดต้ อ่ สูเ้ พือ่ ประเทศเยอรมนี
มาตลอดสีป่ คี รึง่ ของสงครามครัง้ นัน้ ตวั อยา่ งทีแ่ สดงใหเ้ หน็ ตอ่ จากนีไ้ ปคอื ขอ้
พิสูจน์อันชัดเจนในพลานุภาพของเหล่าทหารราบเยอรมัน แม้เมื่อต้องเผชิญ
กับข้าศึกที่เหนือกว่าทั้งกำ�ลังพลและยุทโธปกรณ์ และเรื่องราวต่อไปนี้คืออีก
บทพิสูจน์หนึ่งในด้านความเหนือกว่าของผู้บังคับหน่วยรบเยอรมัน เมื่อเทียบ
กับ ผบ.หน่วยรบของข้าศึก
สุดท้ายนี้ หนังสือเล่มนี้คือการถ่ายทอดอันเป็นการจารึกไว้ซึ่ง
ประสบการณ์จากช่วงเวลาแห่งสงครามอันน่าเศร้า เป็นประสบการณ์อันได้
มาด้วยราคาอันแพงของความอดทนทุ่มเท และความเสียสละอันขมขื่น

พันโทแอร์วิน รอมเมิล
1937

แอรว์ ิน รอมเมิล



25

ภาคหนึ่ง: สงครามชิงพื้นที่
เบลเยียมและภาคเหนือของฝรั่งเศส ค.ศ. 1914

บทที่ 1

การสู้รบในป่าไบลด์และดูลค็อง

1: เริ่มสงคราม 1914 - เมืองอูล์ม 31 กรกฎาคม 1914
บรรยากาศแห่งสงครามแผ่ซ่านไปทั่วเยอรมนี ทุกหนแห่งมีแต่คนผู้มี
สีหน้าทุกข์ทน! บรรยากาศของข่าวลืออันเหลือเชื่อแพร่กระจายไปอย่างรวด
เร็ว กระดานข่าวสาธารณะมีคนรุมล้อมอยู่แต่เช้าตรู่ หนังสือพิมพ์เสนอข่าว
พิเศษออกมาฉบับแล้วฉบับเล่า
ในช่วงเช้า กองร้อยปืนใหญ่ที่ 4 สังกัดกรมทหารปืนใหญ่ที่ 49 ได้
เคลื่อนกำ�ลังผ่านเขตเมืองเก่าไปพร้อมเปล่งเสียงเพลง ดี วัคท์ อัม ไรน์ (Die
Wacht am Rhein) ก้องถนนสายเล็ก ขณะนั้นผมเป็นนายร้อยตรีเหล่าราบ
และเป็นผู้บังคับกองร้อยปืนใหญ่ฟุคส์ (Fuchs Battery) ที่สังกัดมาตั้งแต่
เดือนมีนาคม เราเดินแถวอยู่ท่ามกลางแสงแดดยามเช้า ออกกำ�ลังกายตาม
ปกติ แล้วกลับเข้าโรงนอนท่ามกลางฝูงชนนับหมื่นที่ไชโยโห่ร้อง ในช่วงบ่าย
ระหว่างที่มีการจัดหาม้าอยู่ในสนามของโรงทหารนั้นผมได้พักจากภารกิจ
บ้าง ตั้งแต่สถานการณ์พัฒนาไปในทางตึงเครียดผมก็หวังอย่างยิ่งว่าจะได้
กลับมาหน่วยที่สังกัดเดิมคือกรมคิง วิลเฮล์มที่ 1 พร้อมกับทหารที่เคยฝึก
มากับมือในช่วงสองปีก่อน จากกองร้อยที่ 7 กองพันที่ 124 (กรมวือร์ตเต็ม
แบร์กที่ 66 - Württemberg)
ผมรีบเก็บสัมภาระไปพร้อมกับพลทหารเฮนเลอ (Hänle) และในช่วง

แอร์วนิ รอมเมลิ

26

เย็นเราก็มาถึงที่มั่นคือเมืองไวน์การ์เท็น (Weingarten)
ในวันที่ 1 สิงหาคม 1914 มีกิจกรรมอันโกลาหลในโรงนอนของ
กรมทหาร ซึ่งเป็นอาคารมีระเบียงที่เก่าแก่และใหญ่ ก็คือการทดลองสวม
เครื่องสนาม! ผมได้รายงานกลับไปยังหน่วยเหนือแล้วได้พบกับทหารใน
กองร้อยที่ 7 ซึ่งต้องออกรบด้วยกัน จะมีอะไรดีไปกว่าการเดินนำ�หน้าทหาร
เข้าประจัญบานกับข้าศึกอีกเล่า?
การตรวจสอบของกรมทหาร เมื่อเวลา 18.00 น. พันเอกฮาส (Haas)
ตรวจสอบความเรยี บรอ้ ยของทหารในเครือ่ งแบบสเี ทาอยา่ งละเอยี ด ดว้ ยการ
พดู จาซกั ถามอยา่ งกระตอื รอื รน้ ค�ำ สัง่ เคลือ่ นพลมมี าจรงิ ตามคาด การตดั สนิ
ใจได้เกิดขึ้นแล้ว เสียงกู่สงครามของคนหนุ่มเยอรมันผู้มีจิตใจรุกรบดังก้อง
ไปทั่วอาคารสีเทาอันเก่าแก่นี้
ในวันที่ 2 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันสวดภาวนาอันสำ�คัญของคาธอลิก พิธี
สวดถูกจัดขึ้นท่ามกลางแสงแดดจ้า และในช่วงเย็นทหารจากกรมวือร์ตเต็ม
แบร์กที่ 6 ผู้ฮึกเหิมได้เดินแถวออกไปท่ามกลางเสียงวงโยธวาทิต เพื่อขึ้นรถ
ไฟสู่เมืองราเวนสบวร์ก (Ravensburg) ขบวนรถไฟทหารอันยาวเหยียดมุ่ง
ตะวันตกสู่แนวหน้าที่รบหนัก กรมทหารเคลื่อนออกไปในช่วงเช้าท่ามกลาง
เสียงโห่ร้อง ผมรู้สึกผิดหวังเหลือเกินที่จำ�ต้องอยู่รั้งท้ายต่ออีก 2-3 วัน เพื่อ
รวบรวมกองหนุน กลัวเหลือเกินว่าจะไม่ได้รบในช่วงแรกนี้
การเดินทางสู่แนวหน้าในวันที่ 5 สิงหาคม นั้นผ่านหุบเขาอันสวยงาม
และผืนดินอันกว้างใหญ่ของปิตุภูมิ เสียงกึกก้องให้กำ�ลังใจจากผู้คนนั้น
มันช่างงดงามสุดบรรยาย ทหารร้องเพลงไป และทุกจุดหยุดพักก็ได้รับทั้ง
ผลไม้ ชอ็ คโกแลตและขนมปงั จ�ำ นวนมาก ขณะผา่ นไปในแถบคอรน์ เวสตไ์ ฮม์
(Kornwestheim) นั้นผมได้พบกับครอบครัวตัวเองอยู่ช่วงสั้นๆ
เราเคลือ่ นขา้ มแมน่ ้�ำ ไรนช์ ว่ งค่�ำ ล�ำ แสงไฟฉายพาดไปมาเตม็ ทอ้ งฟา้ เพือ่
ค้นเครื่องบินหรือเรือเหาะของข้าศึก เสียงร้องเพลงนั้นเงียบไปแล้วเมื่อทหาร

INFANTRY ATTACKS

27

ต่างหลับไหลอยู่ทั่ว ผมอยู่ที่หัวรถจักรกำ�ลังเพ่งมองไปที่ช่องเผาฟืน ก่อนหัน
ไปยังความมืดมิดยามค่ำ�ของฤดูร้อนที่ลมพัดหวีดหวิว ครุ่นคิดถึงเหตุการณ์
ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
ในช่วงเย็นวันที่ 6 เราได้มาถึงเคอนิกส์มาแคร์น (Königsmachern)
ในเมืองดีเด็นโฮเฟน (Diedenhofen) ดีใจเหลือเกินที่ได้ออกจากรถไฟขน
ทหารอันอุดอู้ มาเดินแถวผ่านดีเด็นโฮเฟนไปยังรุกซ์ไวเลอร์ (Ruxweiler)
ดีเด็นโฮเฟนไม่ใช่เมืองที่สวย ด้วยถนนหนทางและบ้านช่องที่สกปรกกับ
ประชาชนสีหน้าหมองคล้ำ� ดูจะต่างจากชวาเบีย (Swabia) บ้านของผมมาก
เรายังเดินต่อไปจนกระทั่งค่ำ�จึงมีฝนตกหนัก ไม่นานทหารทุกนายก็
เปียกโชกและน้ำ�ฝนทำ�เอาเครื่องหลังหนักอึ้ง เริ่มต้นได้ดีจริง! มีเสียงปืนดัง
มาแต่ไกลนานๆ ครั้ง ราวเที่ยงคืนกองร้อยของเราก็มาถึงรุกซ์ไวเลอร์โดยไม่
สูญเสียเลยตลอดการเดินทัพนานหกชั่วโมง ร้อยโทบัมแมร์ท (Bammert) ผู้
บังคับกองร้อยได้คอยเราอยู่แล้ว และโรงนอนอันคับแคบกับที่นอนยัดฟาง
คือที่พัก

2: ในแนวหน้า
ในอีกไม่กี่วันต่อมานั้นการฝึกหนักได้ทำ�ให้ทั้งกองร้อยประสานเป็น
หนึ่งเดียว นอกจากการฝึกในระดับหมวดและกองร้อยแล้วเรายังต้องฝึกรบ
อกี มากมายทีเ่ นน้ การใชพ้ ลัว่ ขดุ ยิง่ กวา่ นัน้ คอื ผมไดใ้ ชเ้ วลาอนั นา่ เบือ่ อกี หลาย
วันท่ามกลางสายฝน หมดไปกับการเข้าเวรรักษาการณ์หมวด และที่บริเวณ
โบลลิงเก็น (Bollingen) ทหารในหมวดและตวั ผมเองต้องทอ้ งเสียจากอาหาร
มันๆ และขนมปังที่รีบอบ
เราเริ่มเคลื่อนพลสู่ตอนเหนือเมื่อ 18 สิงหาคม ผมอยู่ในรถคันที่สอง
ตามผู้บังคับกองร้อย ร้องเพลงไปอย่างร่าเริงขณะข้ามพรมแดนเยอรมนี
-ลุกเซ็มบูร์ก (Luxembourg) คนที่นี่เป็นมิตรและให้ทั้งผลไม้กับเครื่องดื่ม

แอรว์ ิน รอมเมลิ

28

แก่ทหารที่กำ�ลังเดินทัพจนมาถึงบูแดร์สแบร์ก (Budersberg) เคลื่อนกำ�ลัง
ต่อไปทางตะวันตกเฉียงใต้
ในช่วงเช้าของวันที่ 19 สิงหาคม ผ่านไปใต้ลำ�ปืนใหญ่ของป้อมค่าย
ฝรั่งเศสที่เมืองลองวี (Longwy) ไปพักที่เมืองดาฮ์เล็ม (Dahlem) ศึกครั้ง
แรกใกล้เข้ามาแล้ว ส่วนท้องไส้ของผมก็ปั่นป่วนหนัก แม้จะกินช็อคโกแลต
กับสวีแบ็คก็ไม่ช่วยบรรเทา ผมไม่รายงานอาการไปเพราะไม่อยากให้ใครมอง
ว่าใจเสาะกับเรื่องแค่นี้
วันที่ 20 สิงหาคม หลังจากเดินทัพด้วยความเร่งรีบเราก็มาถึงเมือง
มีซ์-ลา-ตีจ (Meix-la-Tige) ของเบลเยียม กองพันที่ 1 ตั้งมั่นที่แนวหน้าสุด
ตามด้วยกองพันที่ 2 คอยระวังหลัง ผู้คนที่นี่เงียบขรึมเดาทางได้ยาก และมี
เครื่องบินข้าศึกไม่กี่ลำ�บินมาแล้วยิงกราดอยู่ประปราย

3: ลาดตระเวนสู่ลองวี เตรียมพร้อมรับศึกแรก
วันต่อมาคือวันพักผ่อน ในช่วงเช้าตรู่นั้นเพื่อนนายทหารหลายนาย
และตัวผมได้เข้ารายงานตัวต่อพันเอกฮาส ผู้สั่งให้พวกเราแต่ละคนนำ�ทีม
ลาดตระเวน 5 นาย มุ่งผ่านเมืองกอร์ซี (Gorcy) ไปยังคอสเนซ์ (Cosnes)
ใกล้เมืองลองวี เพื่อประเมินการวางกำ�ลังและความแข็งแกร่งของข้าศึก ระยะ
ทางคือแปดไมล์ เพื่อย่นเวลาเราจึงขึ้นเกวียนเทียมม้าไปถึงฐานปฏิบัติการ
ส่วนหน้า ม้าเบลเยียมวิ่งห้อตะบึงขณะเรายังอยู่ที่มีซ์-ลา-ตีจ และผลคือล้อ
เกวียนหัก เมื่อเกวียนที่มีอยู่คันเดียวต้องมาพังลงจากความพยายามทำ�เวลา
ให้ทัน เราจึงต้องเดินเท้ากันต่อ
เพราะต้องสงวนกำ�ลังพลไว้เราจึงเคลื่อนกำ�ลังด้วยความระมัดระวัง
กว่าปกติ เราเคลื่อนออกจากเมืองไปตามร่องน้ำ�ข้างถนนซึ่งคดเคี้ยวไปตาม
ทุ่งนาระหว่างทางสู่เมืองบาร็องซี (Barancy) ซึ่งมีรายงานมาในวันก่อนว่าเคย
ถูกกองกำ�ลังของข้าศึกที่ไม่เข้มแข็งนักยึดอยู่ เรามาถึงตรงนั้นแล้วพบว่ามัน

INFANTRY ATTACKS

29

ว่าง จึงออกจากทางหลวงผ่านทุ่งข้าวข้ามพรมแดนฝรั่งเศส-เบลเยียม จนมา
ถึงพื้นที่ทางใต้ของบัวส์ เดอ มูสซ็อง (Bois de Mousson) แล้วลงสู่กอร์ซี
ทีมของร้อยโทคีร์น (Kirn) ตามเรามาระวังหลังให้ขณะเคลื่อนจากยอดเนิน
เข้ากอร์ซี
ที่ทางหลวงเส้นกอร์ซี-คอสเนซ์ เราก็พบสิ่งบอกเหตุหลายอย่างว่า
กำ�ลังทหารราบและทหารม้าของข้าศึกกำ�ลังเคลื่อนไปที่คอสเนซ์ จึงยิ่งต้อง
ระมัดระวังเดินอยู่นอกถนนต่อไปจนถึงแนวพงหญ้าสูงริมทาง สังเกตการณ์
ตามแนวถนนอย่างรอบคอบ ในที่สุดจึงมาถึงบริเวณพงไม้ ห่างแนวเขตแดน
ตะวันตกของคอสเนซ์ 500 หลา ผมส่องกล้องสำ�รวจพื้นที่แล้วไม่พบกำ�ลัง
ทหารฝรั่งเศส ระหว่างข้ามทุ่งโล่งไปยังคอสเนซ์เราได้พบหญิงชราคนหนึ่ง
ทำ�งานง่วนอยู่ เธอบอกเป็นภาษาเยอรมันว่าทหารฝรั่งเศสออกจากคอสเนซ์
ไปลองวีแล้วเมื่อชั่วโมงก่อน ในเมืองนี้จึงไม่มีทหารเหลืออยู่เลย จะเชื่อใจ
หญิงชราคนนี้ได้แค่ไหน?
เราเดินผ่านทุ่งข้าวกับสวนผลไม้เข้าคอสเนซ์พร้อมติดดาบปลายปืน
นิ้วอยู่ในโกร่งไก ทุกคนมองประตูและหน้าต่างระวังการซุ่มโจมตี แต่คนที่
นี่ก็มีท่าทีเป็นมิตรให้มั่นใจได้ในคำ�พูดของหญิงชรา พวกเขาให้อาหารและ
เครื่องดื่ม แต่เรายังไม่ไว้ใจนักจนต้องให้ชาวบ้านลองชิมอาหารก่อนเราจะกิน
เพื่อการรายงานที่ฉับไวผมจึงยึดจักรยานมาหกคันแล้วให้ใบเสร็จจาก
ฝ่ายพลาธิการไป ด้วยพาหนะที่ได้มาใหม่นี้เราปั่นมันไกลเป็นไมล์ในเส้นทาง
สู่ลองวีที่กำ�ลังถูกถล่มชานเมืองด้วยปืนใหญ่หนักอยู่ มองทางไหนก็ไม่เห็น
ทหารข้าศึก ภารกิจของทีมลาดตระเวนจึงเสร็จสิ้นลง เราเดินผ่านกอร์ซีตาม
เส้นทางลงเขาไปยังบาร็องซีโดยเว้นระยะระหว่างบุคคลพอประมาณ กระชับ
ปืนพร้อม จากบาร็องซีไปนั้นผมเดินอยู่หน้าสุดของทีมเพื่อรายงานกลับมาให้
เร็ว
ผมพบกับผู้บังคับการกรมในถนนของมีซ์-ลา-ตีจแล้วก็รายงาน ทั้ง

แอร์วิน รอมเมลิ

30

เหนื่อยและหิวผมจึงมุ่งไปยังที่พัก พยายามจะพักผ่อนสัก 2-3 ชั่วโมง แต่
แย่หน่อยที่ทหารในกองพันได้นำ�เกวียนมาเทียมม้าพร้อมเคลื่อนกำ�ลังแล้ว
เฮนเลอผู้ทำ�งานได้ดีเป็นปกติได้จัดสัมภาระลงเป้ให้ผมพร้อมทั้งสวมอานกับ
ม้าเรียบร้อย ก่อนจะรีบออกไปนั้นเราไม่มีเวลาแม้แต่จะกิน
เราเดินทัพไปยังเนินเขาลูกหนึ่งห่างจากแซงต์เลอแจร์ (Saint Léger)
มาทางตะวันออกเฉียงใต้เป็นไมล์ ท้องฟ้ามืดหม่น มีเสียงปืนเล็กยาวสลับ
เสียงปืนใหญ่ดังมาให้ได้ยินจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ เรารู้ว่าทหารในกองพัน
ที่ 1 ซึ่งยงั อยู่ในทีม่ ั่นบรเิ วณวิลญอ็ งครู ์ (Villancourt) ไดป้ ะทะกบั ขา้ ศกึ แล้ว
ระหว่างบ่ายนั้น
เมื่อพลบค่ำ� ทหารบางส่วนของกองพันที่ 1 กรมของเราได้เข้าสู่จุดพัก
ห่างแซงต์เลอแจร์ไปทางใต้สองไมล์ โดยให้กองก�ำ ลังระวังป้องกันล่วงหน้าไป
ก่อนในระยะสามในสี่ของไมล์ ผมกำ�ลังจะนอนแต่มีคำ�สั่งให้ไปรายงานที่กอง
บังคับการกรมห่างที่ตั้งของหมวดไป 50 หลา พันเอกฮาสสั่งให้ผมนำ�ทหาร
เข้าป่าไปยังกองพันที่ 1 ในวิลญ็องคูร์ ภารกิจคือต้องนำ�คำ�สั่งจากกรมไปแจ้ง
กองพันที่ 1 ให้ถอนออกไปยังเนิน 312 ด้วยเส้นทางที่สั้นที่สุดโดยให้ผมเป็น
ผู้นำ�ทาง (ดูสเกตช์ 1)
ผมออกเดินทางพร้อมสิบเอกเกิลซ์ (Gölz) กับทหารอีกสองนายจาก
กองร้อยที่ 7 ท่ามกลางความมืด นำ�ทางด้วยเข็มทิศผ่านไปในทุ่งทางตะวัน
ออกเฉียงใต้ของเนิน 312 ได้ยินเสียงยามร้องตะโกนโหวกเหวกจากทางขวา
มือตามด้วยเสียงปืนเล็กยิงประปราย ไม่นานก็เคลื่อนขึ้นเนินเขาอันสูงชัน
และไม้ขึ้นรก ต้องหยุดบ่อยครั้งเพื่อฟังเสียงต่างๆ ในช่วงค่ำ�นั้น หลังจาก
ตะเกียกตะกายคลำ�ทางขึน้ เนินมาได้กม็ าถึงยอดเนนิ ลกู หนึง่ ในบริเวณนัน้ ทาง
ตะวันตกของวิลญ็องคูร์
มีแสงสว่างจากทางตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณป้อมค่ายในลองวีที่อยู่
ท่ามกลางกองเพลิงจากการถูกปืนใหญ่ระดมยิง เราเดินลงเนินฝ่าพงหญ้าทึบ

INFANTRY ATTACKS

31

เข้าสู่วิลญ็องคูร์ ทันใดนั้นทหารยามนายหนึ่งก็ร้องบอก
”หยุดนะ ใครอยู่ตรงนั้น?”
เขาเปน็ เยอรมันหรอื ฝรัง่ เศส? เรารูม้ าวา่ พวกฝรั่งเศสมกั จะตะโกนถาม
เป็นภาษาเยอรมันอยู่บ่อยๆ จึงทิ้งตัวลงหมอบ
“บอกรหัสผ่านมา!”
เมื่อไม่มีใครในกลุ่มเรารู้ ผมจึงตะโกนบอกชื่อและยศไปซึ่งเขาจำ�ได้
ตรงชายป่านั้นเองคือที่ตั้งส่วนหนึ่งของทหารในกองพันที่ 1
ผมจึงได้แจ้งคำ�สั่งจากกรมกับผู้บังคับกองพันคือพันตรีเคาฟ์มันน์
(Kaufmann) การปฏบิ ตั นิ ัน้ ไมย่ ากในเมือ่ กองพนั ที่ 1 ยงั สมทบอยูก่ บั กองพล
น้อยของพลจัตวาลังเกอร์ (Langer) ผมจึงถูกนำ�ไปพบท่านที่กองบังคับการ
บนเนินที่ห่างวิลญ็องคูร์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้หนึ่งไมล์ครึ่งเพื่อแจ้งคำ�สั่ง
ลังเกอร์สั่งให้ผมกลับไปแจ้งกับกรมว่าท่านยังให้กองพันที่ 1 ถอนกำ�ลังออก
ไปไม่ได้จนกว่าส่วนที่เหลือของกองพลน้อยจะมาถึงวิลญ็องคูร์เสียก่อน ผม
กับทหารอีกสามนายจึงต้องกลับมายังเนิน 312 พร้อมกับความผิดหวังและ
เหนื่อยอ่อน
ผมกลับมายังกองบังคับการกรมเวลาเที่ยงคืนกว่า แล้วตรงเข้าปลุก
ร้อยเอกโวลเตอร์ (Volter) นายทหารฝ่ายอำ�นวยการของกรมแล้วรายงาน
พันเอกฮาสรู้ข่าวและไม่ปลื้มจึงสั่งให้ผมเดินทางอ้อมไปยังกองพลน้อยที่ 53
ที่แซงต์เลอแจร์ จะด้วยเท้าหรือขี่ม้าไปก็ได้เพื่อรายงานตรงต่อผู้บังคับการ
กองพลน้อยคือพลจัตวาฟอน โมเซอร์ (von Moser) ว่าพลจัตวาลังเกอร์ไม่
ยอมปล่อยกองพันที่ 1 สังกัดกรมทหารราบที่ 124 มา แล้วผมบอกผู้การว่า
นีม่ นั เปน็ งานทีเ่ หลอื ก�ำ ลงั หรอื เปลา่ ? บอกวา่ ท�ำ ภารกจิ ตอ่ เนือ่ งมาแลว้ สบิ แปด
ชั่วโมงจนเหนื่อยแทบสลบแล้วด้วยหรือเปล่า? เปล่าเลย ถึงจะยากแสนยาก
ก็ต้องทำ�ภารกิจให้เสร็จ
ผมเดินอย่างเหนื่อยอ่อนไปยังม้าของผู้บังคับกองร้อย ติดอานแล้ว

แอร์วิน รอมเมิล

32

ควบมันขึ้นเหนือจนพบพลจัตวาโมเซอร์ ในเตนท์บนเนินห่างตัวเมืองแซงต์
เลอแจร์มาไม่มากนักทางตะวันออกเฉียงใต้ ท่านไม่พอใจกับรายงานของผม
แล้วสั่งให้ผมกลับไปวิลญ็องคูร์ผ่านทางกองบังคับการกรม แล้วแจ้งกับพล
จัตวาลังเกอร์ว่ากองพันที่ 1 ประจำ�กรม 124 จะต้องกลับมาสมทบกับกรม
ให้ได้ก่อนเช้า
ผมเดินทางไกลหกไมล์ทั้งที่ใช้ม้าและเดินเท้าเพื่อนำ�คำ�สั่งส่งแล้วกลับ
มาเนิน 312 ใกล้สว่าง ทุกหน่วยพร้อม อาหารได้ถูกแจกจ่ายและรับประทาน
กันเรียบร้อย หมวดสูทกรรม (ครัวสนาม) ได้เคลื่อนออกไปแล้ว ท่ามกลาง
หมอกลงหนักนั้นเฮนเลอทหารคู่ใจช่วยผมทำ�ได้แค่ให้ดื่มน้ำ�จากกระติกของ
เขาเท่านั้น และที่กองบังคับการกรมนั้นคำ�สั่งได้ถูกส่งออกไปแล้ว
ข้อสังเกต: เมื่อพบเห็นข้าศึก ผู้บังคับหน่วยลาดตระเวนต้องส�ำ นึก
ในความรับผิดชอบอันใหญ่หลวง ทุกความผิดพลาดหมายถึงความสูญเสีย
ซึ่งอาจจะหมายถึงหลายชีวิตของผู้ใต้บังคับบัญชา ดังนั้นการเคลื่อนที่ใดๆ
จึงต้องกระทำ�อย่างระมัดระวังและตั้งใจที่สุด ให้แสวงหาความได้เปรียบ
จากที่กำ�บัง ส่วนลาดตระเวนต้องอยู่ห่างจากเส้นทางหลักและตรวจการณ์
ภูมิประเทศด้วยกล้องเสมอ ให้จัดรูปขบวนเป็นแถวตอน ต้องวางแนวยิงคุ้ม
กันไว้ก่อนข้ามที่โล่ง ในการเข้าสู่หมู่บ้านให้ส่วนระวังหน้าอยู่ทางซ้ายแล้วส่วน
ที่เหลืออยู่ทางขวาของบ้าน พร้อมยิง รายงานสถานการณ์อย่างรวดเร็ว การ
รายงานช้าจะทำ�ให้ข่าวนั้นด้อยคุณค่า
ให้ซ้อมในที่ตั้งในด้านการรักษาทิศทางการเคลื่อนที่ช่วงกลางคืนโดย
ใช้ไฟฉายและเข็มทิศ ให้ฝึกในพื้นที่ป่าอันยากลำ�บากไม่รู้ทิศทาง สงครามนี้
ต้องใช้ทหารที่แข็งแกร่งอย่างมากทั้งกายและใจ ด้วยเหตุผลนี้ทหารในบังคับ
บัญชาของท่านจึงต้องฝึกให้หนักเข้าไว้ในที่ตั้ง

INFANTRY ATTACKS

33

4: ศึกยึดหมู่บ้านเบลด
ประมาณตีห้า กองพันที่ 2 ก็เริ่มเคลื่อนตัวไปยังเนิน 325 ห่างออกไป
ทางตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้านเบลด (Bleid) ประมาณไมล์ครึ่ง มี
หมอกหนาลอยปกคลุมอยู่เต็มทุ่งจนมองเห็นได้แค่ 50 หลา พันตรีบาเดอร์
(Bader) ผู้บังคับกองพัน
ส่งผมล่วงหน้าไปก่อน
เพื่อสังเกตการณ์ถนนที่
สู่เนิน 325 การปฏิบัติ
หน้าที่ต่อเนื่องเกือบยี่สิบ
สี่ชั่วโมงทำ�เอาผมแทบ
ตกอานม้า พื้นที่สองข้าง
ทางที่ขี่ไปมีแต่พุ่มไม้เตี้ย
และทุ่งมีรั้วกั้น ผมใช้
แผนที่กับเข็มทิศจนพบ
เนิน 325 กองพันได้มา
ถงึ และเริม่ ด�ำ เนนิ กลยทุ ธ์ สเกตช์ 1: การสู้รบในหมู่บ้านเบลด

แล้วที่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเนิน
ไมน่ านหลงั จากนัน้ สว่ นระวงั หนา้ ทางดา้ นใตแ้ ละตะวนั ตกของเนนิ 325
ก็ปะทะกับข้าศึกท่ามกลางหมอก ได้ยินเสียงปืนดังมาจากหลายทิศทาง มี
กระสนุ พุ่งหวีดหวิวมาเหนือหัวเราเป็นครั้งคราว เป็นเสียงที่แปลก! นายทหาร
ผูห้ นึง่ ทีข่ ีม่ า้ อยูห่ า่ งจากแนวขา้ ศกึ ไมก่ ีร่ อ้ ยหลาถกู ยงิ เขา้ ในระยะประชดิ ทหาร
จึงวิ่งสวนเข้าไปแล้วจับชาวฝรั่งเศสสวมกางเกงแดงเป็นเชลยได้หนึ่งคน
มเี สยี งฝา่ ยเยอรมนั ออกค�ำ สัง่ อยูท่ างปกี ซา้ ยไปจนถงึ ดา้ นหลงั “หนั ซา้ ย
ครึ่ง หน้าเดิน! เร่งความเร็ว!” ไม่นานก็ปรากฏแนวปะทะท่ามกลางสายหมอก
ที่ปีกขวาของกองพันที่ 1 ผู้บังคับกองร้อยสั่งผมให้นำ�หมวดไปสมทบทางปีก

แอรว์ ิน รอมเมิล

34

ซ้ายของกองพันแล้วรุกเข้าทางตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่บ้านเบลด ผมจึงส่ง
ม้าให้เฮนเลอ แลกปืนพกอัตโนมัติกับดาบปลายปืนแล้วนำ�หมวด ในรูปแบบ
ของการปะทะย่อยนี้เราสามารถรุกเข้าสู่เบลดได้ทางทุ่งมันฝรั่งและสวนผัก
ด้านตะวันออกเฉียงใต้เชิงเนิน 325 ในทุ่งมีแต่หมอกขาวโพลนและมองเห็น
ได้ไม่ไกลเกิน 50-80 หลา เท่านั้น
ทันใดนั้นก็มีกระสุนปืนใหญ่หนึ่งนัดยิงมาในระยะใกล้มาก จนเราต้อง
พุ่งหมอบแล้วนอนซ่อนตัวอยู่กลางทุ่งมันฝรั่ง อีกนัดยิงมาเหนือหัวแล้วผม
จึงส่องกล้องตรวจการณ์แต่ไม่พบศัตรู เห็นได้ชัดว่าต้องอยู่ใกล้ๆ ผมจึงนำ�
หมวดพุ่งเข้าหา แต่พวกฝรั่งเศสก็หนีไปได้ก่อนเราจะทันเห็น เหลือไว้แต่รอย
ลากล้อไปบนทุ่งมันฝรั่ง เราบุกตะลุยเข้าสู่เบลดอย่างชุลมุนจนขาดการติดต่อ
กับปีกขวาของกองพันที่ 1
มีกระสุนปืนใหญ่ยิงถล่มหมวดมาอีกหลายนัดจากม่านหมอก แต่เมื่อ
เราโถมกำ�ลังโจมตีข้าศึกก็รีบถอยหนีจนรกุ ต่อมาได้อีกครึ่งไมล์อย่างไร้ปัญหา
แล้วจู่ๆ ก็พบว่ามีรั้วพุ่มไม้สูงอยู่ในหมอก มองทางขวาจึงเห็นขอบเขตของไร่
จากทางขวาค่อนไปทางหลัง รอยเท้าของข้าศึกที่เราไล่ตามมาหันเหไปทางขวา
แล้วขึ้นเนินไป หรือตรงหน้าเรานั้นคือหมู่บ้านเบลด? ผมจึงให้หมวดเข้าที่มั่น
แถบแนวพุ่มไม้แล้วส่งทีมสอดแนมไปพบกับหน่วยทหารข้างเคียงทางซ้ายมือ
จากที่ผ่านมานั้นหมวดของผมยังไม่สูญเสียทหารเลย
ผมออกหนา้ ไปพรอ้ มสบิ เอกโอสเตอรท์ าก (Ostertag) กับพลกะระยะ
สองนาย เพื่อตรวจการณ์ในไร่ตรงหน้าซึ่งยังไม่ปรากฏร่องรอยของข้าศึก เรา
มาถึงด้านตะวันออกของโรงนาแล้วพบทางดินแคบๆ สู่ทางหลวงอยู่ทางซ้าย
ไกลออกไปในสายหมอกมีหมู่โรงนาตั้งอยู่ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าเราอยู่ใน
ด้านมุสซี-ลา-วิลล์ (Mussy-la-Ville) ของเบลด ผมหลบมุมอาคารแล้วมอง
นั่น! ห่างไปทางขวายี่สิบก้าวคือทหารฝรั่งเศสประมาณ 15-20 นาย
ยืนดื่มกาแฟคุยกันอยู่กลางถนนเส้นหลัก ถือปืนไว้สบายๆ โดยไม่เห็นผม

INFANTRY ATTACKS

35

(ทหารเหล่านี้สังกัดกองร้อยที่ 5 ของกรมทหารราบที่ 101 ของฝรั่งเศส ที่มา
วางกำ�ลังป้องกันถนนแนวตะวันออกเฉียงใต้ของเบลด)
ผมรีบผลุบหัวกลับหลบมุมอาคาร จะเรียกกองร้อยมา? ไม่! เราทั้ง
สี่จัดการเรื่องนี้ได้ ผมจึงรีบบอกทหารว่าจะเริ่มยิงแล้วปลดเซฟปืนเงียบๆ
กระโดดออกจากเหลี่ยมอาคารมายืนยิง ข้าศึกมีทั้งที่เจ็บและตายคาที่ แต่
ส่วนใหญ่เข้าไปหลบหลังบันได, กำ�แพงสวนและกองไม้ แล้วยิงโต้มาใน
ระยะประชิดอย่างดุเดือด ผมยืนยิงอยู่ข้างกองไม้ไปยังเป้าหมายห่างออกไป
20 หลา ในที่กำ�บังอย่างปลอดภัยหลังบันไดบ้านหลังหนึ่ง ศัตรูโผล่หัวมาให้
เห็นได้ไม่มาก เราเล็งแล้วยิงเกือบจะพร้อมกันและพลาด โดยกระสุนที่ฝ่าย
เรายิงไปนั้นเกือบถูกใบหูของผม ต้องบรรจุกระสุนให้เร็ว เล็งให้นิ่งและเร็ว
ให้เสถียร ซึ่งไม่ง่ายเลยในการยิง 20 หลา กับศูนย์ปืนที่ปรับไว้ยิงระยะ 440
หลา โดยเฉพาะเมื่อไม่เคยฝึกยิงแบบนี้ในที่ตั้งเลย ผมยิงซ้ำ�ไปจึงเห็นร่างคู่
ต่อสู้ล้มหัวฟาดบันได ตรงนั้นมีทหารฝรั่งเศสประมาณ 10 นาย โดยมีไม่กี่
นายเท่านั้นที่มีที่กำ�บัง ผมให้สัญญาณลูกน้องให้พุ่งเข้าจู่โจมแล้วเราก็ออกวิ่ง
โห่ร้องไปตามถนนเส้นนั้น จู่ๆ พวกฝรั่งเศสก็เปิดหน้าต่างประตูทุกบานออก
มายิง ด้วยกำ�ลังเหนือกว่าอย่างมากเราจึงต้องรีบถอยเร็วเท่ากับตอนรกุ เข้ามา
กลบั ไปยังแนวพุม่ ไม้โดยไมส่ ญู เสยี ถึงตรงที่หมวดกำ�ลังเตรียมพรอ้ มจะออก
มาหนุนเราซึ่งในเวลานี้คงไม่จำ�เป็นแล้ว
ผมสั่งให้ทหารทุกนายเข้าที่กำ�บังเมื่อเรายังถูกยิงกดจากตัวอาคารใน
อีกด้านหนึ่งของถนนฝ่าหมอกมา แต่แนวยิงยังสูงเกิน ผมส่องกล้องค้นหา
จนพบเป้าห่างออกไป 70 หลา พบว่าข้าศึกยิงออกมาจากหลังคาและจากชั้น
ล่างสุดของโรงนา เห็นลำ�กล้องปืนเล็กยาวหลายกระบอกยื่นออกจากช่อง
กระเบื้องหลังคาด้วย เป็นไปไม่ได้เลยที่ข้าศึกจะเล็งด้วยศูนย์หน้าและหลัง
ได้ด้วยการยื่นปืนอย่างนั้น นี่เองจึงเป็นเหตุผลให้แนวกระสุนอยู่สูงจากหัว
พวกเรามาก

แอรว์ ิน รอมเมลิ


Click to View FlipBook Version