The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เรื่อง ปิโตเลียม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by aruwankam2004, 2022-01-13 04:12:38

เรื่อง ปิโตเลียม

เรื่อง ปิโตเลียม

เรื่อง ปิโตรเลียม

E-book นี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ2 (ว30103)

โดย

นางสาว นิพาดา ตะไชยา เลขที่11 มัธยมศึกษาปีที่ 5/11
นางสาว อรุวรรณ ลูนโดวิสท์ เลขที่39 มัธยมศึกษาปีที่ 5/11

เสนอ

ครูรัตนา หมู่โยธา

โรงเรียนสตรีราชินูทิศ
สำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี

ปิโตรเลียมเกิดจากการทับถมและแปรสภาพของซาก
สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์นับ
หลายล้านปี ที่ตกตะกอนหรือถูกกระแสน้ําพัดพามา
จมลง ณ บริเวณที่เป็นทะเลหรือทะเลสาบในขณะนั้น
ถูกทับถมด้วยชั้นกรวด ทราย และโคลนสลับกันเป็น
ชั้นๆ จนในที่สุดซากสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ถูกย่อยสลายเกิด
เป็นธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจน ผนวกกับความร้อน
ใต้พิภพและการสลายตัวของอินทรีย์สารตาม
ธรรมชาติ ทําให้ซากพืชและซากสัตว์ กลายเป็นน้ํามัน
ดิบและก๊าซธรรมชาติ

ปิโตรเลียม ส่วนใหญ่อยู่ใต้พื้นดิน จึงต้องมีการสํารวจและขุดเจาะเพื่อนํามาใช้
ประโยชน์ การสํารวจต้องใช้หลายวิธีประกอบกัน เริ่มจากการสํารวจทาง
ธรณีวิทยาด้วยการทําแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ แล้วจึงสํารวจธรณีวิทยาพื้นผิว
โดยการเก็บตัวอย่างหิน ศึกษาลักษณะของหินวิเคราะห์ซากพืชซากสัตว์ที่อยู่ใน
หิน การสํารวจทางธรณีฟิสิกส์ด้วยการวัดค่าความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กโลก
บอกให้ทราบถึงขอบเขต ความหนา ความกว้างใหญ่ของแอ่งและความลึกของชั้น
หินและการตรวจวัดค่าความโน้มถ่วงของโลกเพื่อทราบชนิดของชั้นหินใต้ผิวโลก
ในระดับต่างๆ การสํารวจด้วยการวัดคลื่นไหวสะเทือน จะช่วยบอกให้ทราบตํา
แหน่ง รูปร่างลักษณะและโครงสร้างของชั้นหินใต้ดิน ขั้นสุดท้ายจึงเป็นการเจาะ
สํารวจ ข้อมูลจากการสํารวจจะนํามาใช้ในการตัดสินถึงความเป็นไปได้ในเชิง
เศรษฐกิจ

การกลั่นน้ำมันดิบ หรือ การกลั่นลำดับส่วน คือ การนำน้ำมัน
ดิบไปกลั่นเพื่อแยกผลิตภัณฑ์ออกเป็นส่วนๆ โดยส่งน้ำมัน
ดิบเข้าไปในท่อเหล็กที่เรียงเป็นแถวในเตาเผา ที่มีอุณหภูมิ
350- 400 องศาเซลเซียส น้ำมันดิบจะเดือดกลายเป็นไอ
ผ่านเข้าไปในหอกลั่นที่มีถาดเป็นชั้นๆ หลายสิบชั้น ไอร้อนที่
ลอยขึ้นไป เมื่อเย็นลงก็ควบแน่นเป็นของเหลวบนถาดตามชั้น
ต่างๆ จะอยู่ชั้นใดก็ขึ้นอยู่กับจุดเดือดของไฮโดรคาร์บอนนั้น
ไฮโดรคาร์บอนที่มีจุดเดือดสูง จะควบแน่นออกมาที่ส่วนล่าง
ของหอกลั่น ส่วนไฮโดรคาร์บอนที่มีจุดเดือดต่ำ จะควบแน่น
ออกมาที่ส่วนบนของหอกลั่น การกลั่นน้ำมันดิบจะได้สาร
ต่างๆ แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนในโรงกลั่นน้ำมันดิบ ซึ่งเรียกว่า ผลิตภัณฑ์กลั่นตรงเป็น
สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบตั้งแต่ 1 อะตอมขึ้นไปจนถึงมากกว่า 50

อะตอมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนคาร์บอนมาก เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มี
จำนวนคาร์บอน 1-4 อะตอม จะมีสถานะเป็นก๊าซและมีจุดเดือดต่ำ และเมื่อจำนวนอะตอมของ
คาร์บอนเพิ่มขึ้นจะมีสถานะเป็นของเหลว ซึ่งลักษณะตั้งแต่เป็นของเหลวใสจนถึงของเหลวข้นหนืด

กระบวนการแยกแก๊สธรรมชาติก่อนนำไปใช้ประโยชน์ แก๊สธรรมชาติส่วนใหญ่ประกอบด้วย
แก๊สไฮโดรคาร์บอน นอกจากนั้นเป็น ไอปรอท แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์
ไนโตรเจน และไอน้ำ การนำแก๊สธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ต้องขุดเจาะ และนำขึ้นมาจากใต้พื้นดิน
ซึ่งมีทั้งสารที่เป็นของเหลวและแก๊สผสมกัน จากนั้นจึงแยกสารทั้งสองส่วนนี้ออกจากกัน โดยการ
แยกสารที่ไม่ใช่สารประกอบไฮโดรคาร์บอนออกก่อน ด้วยการส่งแก๊สผสมไปกำจัดสารเจือปนที่
ไม่ต้องการ เช่น สารประกอบปรอท คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ แล้วจึงผ่านแก๊สผสมเข้าสู่หอ
กลั่น เพื่อแยกสารประกอบ ไฮโดรคาร์บอนจามจุดเดือดของแก๊ส แต่ละชนิด ได้แก่ มีเทน อีเทน
โพรเพน และแก๊สอื่นๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามสมบัติของแก๊สนั้น



1. แก๊สมีเทน ใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า บางส่วนนำ
ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ ในชื่อ NGV (natural gas for
vehicles) แก๊สธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หรือ CNG
(compressed natural gas) แก๊สธรรมชาติอัด เพื่อลด
มลพิษที่เกิดจากไอเสียรถยนต์

2. แก๊สหุงต้ม เป็นแก๊สผสมระหว่างแก๊สโพรเพน และแก๊ส
บิวเทน แก๊สผสม ดังกล่าวถูกอัดลงในถังเหล็กภายใต้ความ
ดันสูง ทำให้แก๊สนี้เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว เรียกว่า LPG
(liquefied petroleum gas)

3. น้ำมันเบนซีน เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้ในรถยนต์เครื่องยนต์
แก๊สโซลีน มีการกำหนดคุณภาพของ น้ำมันด้วยเลขออก
เทน (octane) สามารถผสมกับเอทานอล (ethanol) ใน
อัตราส่วนต่าง ๆ กลายเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ (gasohol)
เป็นพลังงานทดแทน เพื่อประหยัดน้ำมัน

4. น้ำมันดีเซล ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล โดยมีการ
กำหนดคุณภาพของน้ำมันด้วยเลขซีเทน (cetane)

การนําพลังงานทดแทนมาใช้เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดการใช้พลังงานจาก
เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งพลังงานทดแทน คือ พลังงานที่ใช้แทนพลังงานจากเชื้อ
เพลิงฟอสซิล เช่น พลังงาน แสงอาทิตย์ ลม น้ํา พลังงานชีวมวล เซลล์เชื้อ
เพลิง และพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น ในการหาพลังงานทดแทนมา
ใช้ มีสิ่งที่ต้องคํานึงถึง 2 ประการ ประการแรกเป็นพลังงานที่ สะอาด ไม่ทํา
ลายสิ่งแวดล้อมหรือถ้าจําเป็นก็ควรมีผลกระทบน้อยที่สุด ประการที่สอง
เป็นพลังงานที่ใช้ได้อย่างยั่งยืนหรือสามารถนํากลับมาใช้ใหม่ได้

ผลกระทบของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่สำคัญคือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสาเหตุที่ทำให้
เกิด ภาวะโลกร้อน และแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นอันตรายต่อระบบหายใจ หากได้รับใน
ปริมาณมากอาจเสียชีวิต เพราะแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ ไปจับกับฮีโมโกลบินอย่างเหนียว
แน่นแทนที่ออกซิเจน ส่งผลให้ร่างกายขาดออกซิเจนจนเสียชีวิตได้ ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันดิบ
และแก๊สธรรมชาติบางชนิดเป็นตัวทำละลาย มีสมบัติละลายสารอื่น ได้ดี ระเหยง่าย ติดไฟ
ง่าย เช่น ทินเนอร์ น้ำมันเบนซีน โทลูอีน เป็นต้น ตัวทำละลายที่ใช้กัน ทั่วไปในชีวิตประจำวัน
ได้แก่ ทินเนอร์ผสมสีทาบ้าน น้ำยาทำความสะอาดชิ้นงานและ เครื่องจักร น้ำยาย้อมผม
น้ำยาลบคำผิด สารเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ ทางการหายใจ การรับประทาน และ
การสัมผัส โดยจะก่อให้เกิดอันตรายได้

แนวทางการป้องกันสําหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง การจัดเก็บสารตัวทําละลาย ให้
กับตัวทําละลายคือ ศึกษาความเป็น เก็บเป็นสัดส่วนไม่รวมกับสารอื่น
อันตรายของสารตามเอกสารที่มากับ เก็บไว้ในภาชนะปิดในห้องที่
ผลิตภัณฑ์ ใช้สารตามคําแนะนํา ใส่ อากาศถ่ายเทได้ดี ห่างจากความ
อุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ตัวทําละลายเข้าสู่ ร้อนและประกายไฟ สําหรับกา
ร่างกาย ใช้สารในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี รกําจัดตัวทําละลายต้องกําจัดให้
ทําความสะอาดมือและร่างกายหลังจาก ถูกวิธี ไม่ทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อม
การสัมผัสตัวทําละลาย และควรหลีกเลี่ยง
การสูดดมกลิ่นไอของสารเหล่านี้

1.https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/34057?fbcli
d=IwAR2fyn-AFNOkRkGRcu7zmtCjhekJX0RGkCsNsDW2Jy-
NtxihUukQokex8LA
2.https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/34057?fbcli
d=IwAR2fyn-AFNOkRkGRcu7zmtCjhekJX0RGkCsNsDW2Jy-
NtxihUukQokex8LA
3.https://pisittom.blogspot.com/2015/06/blog- post.html?
fbclid=IwAR2brIHe90J4GPiM8GAzH9zEc3lnpbYT2A
X308ofAUum6BCD0kD3Ctlfzxk


Click to View FlipBook Version