The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานหมู่บ้านศีล 5 บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6 ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by รัตติยา เหนืออำนาจ, 2023-12-12 05:42:24

รายงานหมู่บ้านศีล 5 ปี พ.ศ.2565

รายงานหมู่บ้านศีล 5 บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6 ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์

Keywords: รายงานหมู่บ้านศีล 5,บ้านหัวถนนกลาง,ตำบลหัวถนน,จังหวัดนครสวรรค์

สรุปผลการด าเนินงาน โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ บ ้ านหัวถนนกลาง หม ู ่ ท ี ่ 6 ต าบลหัวถนน อ าเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ รายงานผลการด าเนินงาน ปี ๒๕๖๕


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6” | ก


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6” | ข


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6” | ค คำนำ จากสถานการณ์บ้านเมืองในห้วงเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหามากมาย ประกอบ ด้วยการกระทำผิดกฎหมาย ปัญหาอาชญากรรม การทำลายทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม การระบาดของสิ่งเสพติด และอบายมุข การแตกแยกทางความคิด การเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่า ประโยชน์ส่วนรวม รวมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ล้วน เกิดจากการขาดสติ จิตสำนึก ศีลธรรมและคุณธรรมจริยธรรมอันจะส่งผลให้สังคมเกิดความขัดแย้ง และความเห็นต่างทางสังคม จึงเกิดความพยายามนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ก้าวผ่านวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างบ้าน วัด โรงเรียนและราชการในการสร้างสังคมความ ปรองดอง คือ ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน ซึ่งเป็นกระบวนการที่เปลี่ยนผ่านจากสังคมที่มีความ ขัดแย้งไปสู่สันติภาพและความเป็นประชาธิปไตย โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ มีดำริที่จะเสริมสร้างและสมานฉันท์ของคนในชาติ ให้เกิด ความสงบ สันติสุข มีความสามัคคีกลมเกลียวกัน สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการสร้างความ ปรองดองสมานฉันท์โดยให้พุทธศาสนิกชนได้น้อมนำหลักศีล ๕ มาประพฤติปฏิบัติในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน ตามแนวทางของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล จำนวน ๕,๙๑๔ หน่วยทั่ว ประเทศ ที่ได้ดำเนินการตามหัวข้ออบรม ๘ หัวข้อ คือ ศีลธรรมและวัฒนธรรม สุขภาพอนามัย สัมมาชีพ สันติสุข ศึกษาสงเคราะห์ สาธารณสงเคราะห์ กตัญญูกตเวทิตาธรรม และสามัคคีธรรม โดย ยังประโยชน์ให้ประชาชนมีจิตสำนึกและได้แสดงออกถึงความรับผิดชอบ มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ หมูบ้าน ชุมชน ด้วยการสร้างความรักความสามัคคี ความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมี ความสุข มีความรักความเข้าใจ เคารพในความคิดเห็นของกันและกัน มีความเอื้อเฟื้อ เป็นสังคมเครือ ญาติและมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงเห็นคุณค่าและประโยชน์ในการนำหลักธรรม ทางพระพุทธศาสนา มาดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ความตระหนัก รักปกป้อง เชิดชูสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศชาติมีความมั่นคงยั่งยืน (นายทัพ จำปีเพชร) ผู้ใหญ่บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6 1 กรกฎาคม 2565


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6” | ง บทสรุปผู้บริหาร รายงานผลการดำเนินงาน โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” บ้านหัวถนนกลาง ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก จังหวัด นครสวรรค์ประจำปี พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นการรายงานผลการเสริมสร้างและสมานฉันท์ของคนในชาติ ให้เกิดความสงบ สันติสุข มีความสามัคคีกลมเกลียวกัน สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการสร้างความ ปรองดองสมานฉันท์ โดยให้พุทธศาสนิกชนได้น้อมนำหลักศีล ๕ มาประพฤติปฏิบัติในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน เพื่อให้ชุมชน หมู่บ้านเกิดความร่มเย็นและมีสันติสุข ขณะเดียวกันก็จะทำให้ใน ประชาชนการควบคุมรักษากาย วาจา ของตนไว้ให้บริสุทธิ์ ควบคุมโทสะ ความโหดร้าย หยาบคาย ทางกายวาจา รักษาตนไว้ไม่ให้เสียหาย โดยอาศัยหลักการทางพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นเครื่องมือ และกระบวนการในการขัดเกลาทางสังคม เพื่อควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกให้อยู่ภายใต้กติกาสังคม อย่างมีเหตุและผลในการยอมรับและถือปฏิบัติดังรายละเอียดต่อไปนี้ หมวดที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน เกณฑ์ข้อ 1.1 ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน บ้านหัวถนนกลาง ตำบลหัวถนน อำเภอท่า ตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ปัจจุบันมี๔๔๒ ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น จำนวน ๙๙๑ คน แบ่งเป็น ประชากรชาย ๔๗๑ คน ประชากรหญิง ๕๒๐ คน มีนายทัพ จำปีเพชร เป็นผู้ใหญ่บ้าน โทรศัพท์ ๐๘๕-๗๓๐๘๙๓๗ วัดประจำหมู่บ้าน คือ วัดหัวถนนกลาง พระอธิการบุญหลาย ธมฺมปาโล เป็นเจ้า อาวาส โทรศัพท์ ๐๘๗-๗๓๗๙๔๒๕ คำขวัญของหมู่บ้าน คือ “ประชาสามัคคี หลวงปู่ดีศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ศาลปู่เถร งามเด่นวัฒนธรรมลาวครั่ง มาหรือยังตลาด “เอจังวา”” มีวิสัยทัศน์ของหมู่บ้าน คือ “มีศีล มีสุข ปรองดอง สมานฉันท์ สามัคคี สันติสุข ปลอดยาเสพติด” เกณฑ์ข้อ 1.2 โครงการและกิจกรรมที่หมู่บ้านดำเนินการ มีกิจกรรมและโครงการ ดำเนินการ จำนวน 9 โครงการ ประกอบด้วย 1) โครงการหมู่บ้านสีขาว (ลด ละ เลิกยาเสพติด/ อบายมุข) 2) โครงการหมู่บ้านช่อสะอาด (ความสุจริต/โปร่งใส) 3) โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 4) โครงการหมู่บ้านวัฒนธรรม/ชุมชนคุณธรรม 5) กลุ่มออมทรัพย์/กองทุนหมู่บ้าน/กลุ่มสัจจะสะสม ทรัพย์6) กลุ่ม/เครือข่ายจิตอาสาพัฒนาสังคม 7) กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม/ป่าชุมชน 8) กิจกรรมอบ สมุนไพรไอน้ำ ภูมิปัญญาชาวบ้าน และ 9) ธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง เกณฑ์ข้อ 1.3 รางวัลเกียรติคุณที่หมู่บ้านได้รับในรอบ 3 ปีได้แก่ รางวัลเกียรติคุณ ที่หมู่บ้านได้รับในระดับชาติประกอบด้วย 1) รางวัล “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (อยู่เย็น เป็นสุข)” ปี 2562 ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย 2) รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1 “การประกวด ผ้าสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน ประเภทผ้าอื่น ๆ (ผ้าทอมือ) จังหวัดนครสวรรค์” ปี 2563 ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย 3) เกียรติบัตร “สถานประกอบการ ศาสน สถานสะอาดปลอดภัย ป้องกันโรค COVID-19 ประเภทวัด ผ่านมาตฐาน” ปี 2563 ของกรมอนามัย และรางวัลเกียรติคุณที่หมู่บ้านได้รับในระดับจังหวัด ประกอบด้วย 1) เกียรติบัตรรองชนะเลิศอันดับที่ 2 “กลุ่มองค์กรแกนหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน” ปี 2562 ของจังหวัดนครสวรรค์ 2) เกียรติ บัตรชนะเลิศ “กิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด” ปี 2562 ขององค์การบริหารส่วนตำบลหัว


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6” | จ ถนน จังหวัดนครสวรรค์ และ 3) เกียรติบัตรอันดับที่ 3 “สถาบันเกษตรกรดีเด่น สาขากลุ่มแม่บ้าน เกษตรกร” ปี 2564 ของจังหวัดนครสวรรค์ เกณฑ์ข้อ 1.4 ข้อมูลคดีอาชญากรรมของหมู่บ้านในรอบ ๓ ปีพบว่า ไม่มีคดี เกณฑ์ข้อ 1.5 ข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดของหมู่บ้านในรอบ ๓ ปีพบว่า มี 1 คดี ความ เกณฑ์ข้อ 1.6 ข้อมูลการทะเลาะวิวาทและก่อความไม่สงบสุขในรอบ ๓ ปีพบว่า ไม่ มีคดี เกณฑ์ข้อ 1.7 ข้อมูลเกี่ยวกับสาธารณสุขของหมู่บ้านในรอบ ๓ ปีพบว่า 1) ผู้ป่วย ติดเตียง จำนวน 5 คน 2) การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันสมควร จำนวน 1 คน 3) ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว จำนวน 13 คน และ 4) คนพิการในหมู่บ้าน จำนวน 21 คน หมวดที่ 2 กิจกรรมการส่งเสริมการรักษาศีล 5 ของบ้านหัวถนนกลาง ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ เกณฑ์ข้อ 2.1 กิจกรรมการรักษาศีลข้อ 1 ดำเนินการครบทั้ง 5 ตัวชี้วัด กล่าวคือ 1) มีการตั้งคณะกรรมการส่งเสริมความสามัคคีและคุ้มครองสิทธิชุมชน 2) มีการกำหนดเขตอภัยทาน ของหมู่บ้าน 3) มีการจัดกิจกรรมเฝ้าระวังความรุนแรงในหมู่บ้าน 4) มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตต ภาวนาเพื่อเพิ่มพูนความเมตตาตามหลักเบญจธรรม 5) มีกิจกรรมการปล่อยนก ปลา ไถ่ชีวิตโค กระบือและสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ และ 6) มีการจัดกิจกรรมฝึกระเบียบแถว เพิ่มทักษะชีวิต เพื่อปลุก จิตสำนึก ฝึกทักษะ ระเบียบวินัยและแสดงออกถึงความสามัคคีของหมู่คณะ เกณฑ์ข้อ 2.2 กิจกรรมการรักษาศีลข้อ 2 ดำเนินการครบทั้ง 5 ตัวชี้วัด กล่าวคือ 1) การตั้งคณะกรรมการ/ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) เพื่อดูแลทรัพย์สินในหมู่บ้าน 2) การตั้งกฎ ระเบียบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการลักขโมย 3) การจัดกิจกรรมการส่งเสริมความ สุจริต โปร่งใสของหมู่บ้าน 4) การจัดกิจกรรมส่งเสริมสัมมาชีพตามหลักเบญจธรรม 5) การตั้งกองทุน การเงิน/สวัสดิการเพื่อส่งเสริมสัมมาชีพ และ 6) โครงการพัฒนาศักยภาพสตรีด้านการทำผ้าไหม มัดหมี่และการทอผ้าตีนจก เกณฑ์ข้อ 2.3 กิจกรรมการรักษาศีลข้อ 3 ดำเนินการครบทั้ง 5 ตัวชี้วัด กล่าวคือ 1) การตั้งคณะกรรมการส่งเสริมครอบครัวสัมพันธ์ของหมู่บ้าน 2) การจัดกิจกรรมการป้องกันความ รุนแรงครอบครัว 3) การอบรมเยาวชนให้มีความรู้/ความรับผิดชอบพฤติกรรมทางเพศ 4) การจัด กิจกรรมส่งเสริมสุขอนามัยในครอบครัว 5) การจัดกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว และ 6) กิจกรรมครบรอบ 53 ปี โครงการพัฒนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) และอาสาพัฒนาชุมชน (อช.) เกณฑ์ข้อ 2.4 กิจกรรมการรักษาศีลข้อ ๔ ดำเนินการครบทั้ง 5 ตัวชี้วัด กล่าวคือ 1) การตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยความขัดแย้งในหมู่บ้าน 2) การจัดกิจกรรมป้องกันการทะเลาะ วิวาทและความแตกแยก 3) กิจกรรมส่งเสริมการรักษามารยาทการพูดในชุมชนและการใช้สื่อที่ เหมาะสม 4) กิจกรรมปฏิญาณตนเป็นคนดีของสังคม การรักษาสัจจะและมิตรภาพตามหลักเบญจ ธรรม 5) กิจกรรมส่งเสริมความยุติธรรมชุมชน/มีศูนย์ยุติธรรมชุมชน และ 6) กิจกรรมจิตอาสาบริจาค ของน้ำท่วม


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6” | ฉ เกณฑ์ข้อ 2.5 กิจกรรมการรักษาศีลข้อ 5 ดำเนินการครบทั้ง 5 ตัวชี้วัด กล่าวคือ 1) การตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขยาเสพติดในหมู่บ้าน 2) กิจกรรมลดปัจจัยเสี่ยงยาเสพติด เช่น ลานกีฬาชุมชน 3) กิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา งานบุญปลอดเหล้า/ปลอดเศร้า อบายมุข 4) กิจกรรมส่งเสริมและยกย่องบุคคลต้นแบบในการลด ละ เลิกสุรา ยาเสพติดในหมู่บ้าน 5) กิจกรรม ส่งเสริมการมีสติในการครองตน ครองคน ครองงาน และ 6) กิจกรรมชนบทวิถีใหม่ ทางรอดจากภัย โควิด หมวดที่ 3 กิจกรรมการส่งเสริมวิถีวัฒนธรรมชาวพุทธ เกณฑ์ข้อ 3.1 กิจกรรมส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา ดำเนินการ ครบทั้ง 3 ตัวชี้วัด กล่าวคือ 1) การจัดกิจกรรมไหว้พระ สวดมนต์ ทำบุญตักบาตรประจำวันพระ/วัน เสาร์/อาทิตย์และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 2) การจัดกิจกรรมส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมชาว พุทธของหมู่บ้าน 3) การจัดกิจกรรมส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐาน และ 4) กิจกรรมงานบุญสลากภัต เกณฑ์ข้อ 3.2 การอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของหมู่บ้าน ดำเนินการ ครบทั้ง 3 ตัวชี้วัด กล่าวคือ 1) การตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม 2) การ ส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมของหมู่บ้าน 3) วัฒนธรรมและประเพณีที่โด่ดเด่นด้าน สังคม พหุวัฒนธรรม และ 4) โครงการต้นกล้าวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์ รุ่นที่ 3 เกณฑ์ข้อ 3.3 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน/OTOP ดำเนินการครบทั้ง 3 ตัวชี้วัด กล่าวคือ 1) การตั้งกลุ่มวิสาหกิจ/กลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน 2) การพัฒนาและส่งเสริมสินค้าชุมชน/ OTOP 3) สินค้าชุมชน OTOP ที่โดดเด่นของหมู่บ้าน จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์และ 4) โครงการ “สืบ สาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” เกณฑ์ข้อ 3.4 ปราชญ์ท้องถิ่นหรือบุคคลตัวอย่างของหมู่บ้าน ดำเนินการครบทุก ตัวชี้วัด กล่าวคือ 1) ปราชญ์ด้านความพอเพียง 2) ปราชญ์ด้านการทอผ้า 3) ครัวเรือนต้นแบบ เศรษฐกิจพอเพียง และ 4) บุคคลตัวอย่างด้านการส่งเสริมเกี่ยวกับสมุนไพรและเศรษฐกิจพอเพียง หมวดที่ 4 กิจกรรมการบูรณาการกิจการคณะสงฆ์และการพัฒนาเชิงพื้นที่ เกณฑ์ข้อ 4.1 กิจกรรมส่งเสริมโรงเรียนรักษาศีล ๕ การศึกษาและการเรียนรู้ของ หมู่บ้าน ดำเนินการครบทั้ง 3 ตัวชี้วัด กล่าวคือ 1) การส่งเสริมโรงเรียนรักษาศีล 5 2) การให้ทุนและ พัฒนาการศึกษาของเด็กและเยาวชน 3) การตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน/พิพิธภัณฑ์ชุมชน และ 4) กิจกรรม ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมเยาวชน เกณฑ์ข้อ 4.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของหมู่บ้าน/อสม./รพ.สต. ดำเนินการครบ ทั้ง 3 ตัวชี้วัด กล่าวคือ 1) การจัดกิจกรรมการดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุ/ร.ร.ผู้สูงอายุ 2) การเฝ้า ระวัง ป้องกันและแก้ไขโรคโควิด-19 และโรคอื่น ๆ 3) การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของหมู่บ้าน และ 4) กิจกรรมอบรมโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า เกณฑ์ข้อ 4.3 กิจกรรมส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้าน ดำเนินการครบ ทั้ง 3 ตัวชี้วัด กล่าวคือ 1) การตั้งชมรมจิตอาสาพัฒนาหมู่บ้านและดูแลสิ่งแวดล้อม 2) การจัดการ ขยะและสิ่งแวดล้อม 3) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 4) กิจกรรมการสร้าง มูลค่าเพิ่มจากขยะ


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6” | ช เกณฑ์ข้อ 4.4 การบูรณาการกิจการคณะสงฆ์ในการพัฒนาหมู่บ้าน/พื้นที่ ดำเนินการครบทั้ง 3 ตัวชี้วัด กล่าวคือ 1) การบูรณาการกิจการพระพุทธศาสนาในการพัฒนาพื้นที่ 2) การส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม 3) การส่งเสริมให้หน่วยงานในพื้นที่การนำหลัก เบญจศีล-เบญจธรรมไปประยุกต์ในการพัฒนาหน่วยงาน/องค์กร และ 4) กิจกรรมแหล่งเรียนรู้ สมุนไพรเพื่อสุขภาพ เกณฑ์ข้อ 4.5 การมีส่วนร่วมของคณะสงฆ์ ภาครัฐ สมัชชาศีล ๕ ในการส่งเสริม โครงการฯ และการพัฒนาในพื้นที่ ดำเนินการครบทั้ง 3 ตัวชี้วัด กล่าวคือ 1) การมีส่วนร่วมของ พระสงฆ์ ผู้นำชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่ 2) การเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนา หมู่บ้าน/พื้นที่ 3) จำนวนองค์กรที่ร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ จำนวน 39 องค์กร ประกอบด้วย จังหวัดนครสวรรค์, คณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.), มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์, สำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ (สปสช.), ศูนย์อนามัยที่ 3, สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์, สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัด นครสวรรค์, สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครสวรรค์, สำนักงานพัฒนา ชุมชนจังหวัดนครสวรรค์, สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์, สำนักงาน วัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์, สำนักงาน กศน.จังหวัดนครสวรรค์, มณฑลทหารบกที่ 31 (มทบ.31) ค่ายจิรประวัติ, องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์, ตำรวจภูธรจังหวัดนครสวรรค์, สำนักงาน สิ่งแวดล้อมภาคที่ 4 (นครสวรรค์), ศูนย์สุขภาพจิตที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์, สำนักงานเจ้าคณะอำเภอ 15 อำเภอ หมู่บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6 องค์การบริหารส่วนตำบลหัวถนน โรงเรียนบ้านหัวถนน เหนือ (รัฐประชาชนูทิศ) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน วัดหัวถนนกลาง และ 4) กิจกรรม การสร้างพื้นที่สาธารณะประโยชน์


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6” | ซ สารบัญ เรื่อง หน้า คำนิยม ก คำนำ ค บทสรุปผู้บริหาร ง สารบัญ ซ สารบัญแผนภาพ ญ บทที่ 1 ประวัติความเป็นมาและข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน 1.1 ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน 1 1.2 โครงการและกิจกรรมที่หมู่บ้านดำเนินการ 6 1.3 รางวัลเกียรติคุณที่หมู่บ้านได้รับในรอบ 3 ปี 16 1.4 ข้อมูลคดีอาชญากรรมของหมู่บ้านในรอบ ๓ ปี 22 1.5 ข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดของหมู่บ้านในรอบ ๓ ปี 23 1.6 ข้อมูลการทะเลาะวิวาทและก่อความไม่สงบสุขในรอบ ๓ ปี 24 1.7 ข้อมูลเกี่ยวกับสาธารณสุขของหมู่บ้านในรอบ ๓ ปี 25 บทที่ 2 รายงานกิจกรรมการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ 2.1 รายงานกิจกรรมการส่งเสริมการรักษาศีลข้อที่ ๑ 26 2.2 รายงานกิจกรรมการส่งเสริมการรักษาศีลข้อที่ 2 34 2.3 รายงานกิจกรรมการส่งเสริมการรักษาศีลข้อที่ 3 43 2.4 รายงานกิจกรรมการส่งเสริมการรักษาศีลข้อที่ 4 52 2.5 รายงานกิจกรรมการส่งเสริมการรักษาศีลข้อที่ 5 61 บทที่ 3 รายงานกิจกรรมการส่งเสริมวิถีวัฒนธรรมชาวพุทธ 3.1 รายงานกิจกรรมส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา 69 3.2 รายงานกิจกรรมการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีและอัตลักษณ์ของ หมู่บ้าน 74 3.3 รายงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน/OTOP 80 3.4 รายชื่อปราชญ์ท้องถิ่นหรือบุคคลตัวอย่างของหมู่บ้าน 87 บทที่ 4 รายงานกิจกรรมการบูรณาการกิจการคณะสงฆ์ การพัฒนาและสร้างเครือข่ายในพื้นที่ 4.1 รายงานกิจกรรมส่งเสริมโรงเรียนรักษาศีล ๕ การศึกษาและการ เรียนรู้ของหมู่บ้าน 92 4.2 รายงานกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของหมู่บ้าน/อสม./รพ.สต. 97 4.3 รายงานกิจกรรมส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้าน 102


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6” | ฌ สารบัญ (ต่อ) เรื่อง หน้า บทที่ 4 รายงานกิจกรรมการบูรณาการกิจการคณะสงฆ์ การพัฒนาและสร้างเครือข่ายในพื้นที่ 4.4 รายงานการบูรณาการกิจการคณะสงฆ์ในการพัฒนาหมู่บ้าน/พื้นที่ 107 4.5 รายงานการมีส่วนร่วมของคณะสงฆ์ ภาครัฐ สมัชชาศีล ๕ ในการ ส่งเสริมโครงการฯ และการพัฒนาพื้นที่ 112 บทที่ 5 สรุป ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 124 5.2 ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินการ 127 5.3 ข้อเสนอแนะ 129 ภาคผนวก หลักเกณฑ์การตรวจเยี่ยมและประเมินการดำเนินการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ 131


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6” | ญ สารบัญแผนภาพ ภาพที่ หน้า 1.1 แผนที่บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖ 1 1.2 ผู้ใหญ่บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖ 3 1.3 คำขวัญหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖ 4 1.4 วัดหัวถนนกลาง 5 1.5 เจ้าอาวาสวัดหัวถนนกลาง 5 1.6 โครงการกองทุนแม่ของแผ่นดิน 7 1.7 กิจกรรม BIG DAY “ทุกเสียงคือพลัง เลือกตั้งสุจริต ใช้สิทธิโปร่งใส” 8 1.8 หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ 9 1.9 กิจกรรมชุมชนคุณธรรม 10 1.10 กิจกรรมสนับสนุนกลุ่มออมทรัพย์/กองทุนหมู่บ้าน/กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ 11 1.11 กิจกรรมจิตอาสาเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 12 1.12 กิจกรรม Big Cleaning Day โครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุข 13 1.13 กิจกรรมอบสมุนไพรไอน้ำ ภูมิปัญญาชาวบ้าน 14 1.14 กิจกรรมธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง 15 1.15 รางวัล “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (อยู่เย็น เป็นสุข)” 17 1.16 รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1 “การประกวดผ้าสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน ประเภทผ้าอื่น ๆ (ผ้าทอมือ) จังหวัดนครสวรรค์” 18 1.17 เกียรติบัตร “สถานประกอบการ ศาสนสถานสะอาดปลอดภัย ป้องกันโรค COVID-19 ประเภทวัด ผ่านมาตฐาน” 19 1.18 เกียรติบัตรรองชนะเลิศอันดับที่ 2 “กลุ่มองค์กรแกนหลักสำคัญในการพัฒนา หมู่บ้าน” 19 1.19 เกียรติบัตรรองชนะเลิศอันดับที่ 2 “กลุ่มองค์กรแกนหลักสำคัญในการพัฒนา หมู่บ้าน” 20 1.20 เกียรติบัตรอันดับที่ 3 “สถาบันเกษตรกรดีเด่น สาขากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร” 21 1.21 ข้อมูลเกี่ยวกับคดีอาชญากรรมของหมู่บ้านในรอบ ๓ ปี 22 1.22 ข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดของหมู่บ้านในรอบ ๓ ปี 23 1.22 ข้อมูลการทะเลาะวิวาทและก่อความไม่สงบสุขในรอบ ๓ ปี 24 1.24 ข้อมูลสาธารณสุขของหมู่บ้านในรอบ ๓ ปี 25 2.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ 28 2.2 เขตอภัยทานของหมู่บ้าน 29 2.3 การตั้งจุดตรวจด่านชุมชน 30 2.4 กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้วิถีพุทธ 31 2.5 กิจกรรมการปล่อยปลาในสระสี่เหลี่ยม ศาลปู่เถร 32


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6” | ฎ สารบัญแผนภาพ (ต่อ) ภาพที่ หน้า 2.6 กิจกรรมฝึกระเบียบแถว เพิ่มทักษะชีวิต 33 2.7 การตั้งคณะกรรมการ/ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) เพื่อดูแล ทรัพย์สินในหมู่บ้าน 35 2.8 กฎ ระเบียบและข้อตกลงของหมู่บ้าน 38 2.9 โครงการ ๑ วัน ๑ คน ๑ ข่าว ๑ เรื่องเล่าจากชุมชน 39 2.10 การจัดกิจกรรมส่งเสริมสัมมาชีพตามหลักเบญจธรรม 40 2.11 กองทุนออมทรัพย์เพื่อการผลิตนวัตวิถี 41 2.12 โครงการพัฒนาศักยภาพสตรีด้านการทำผ้าไหมมัดหมี่และการทอผ้าตีนจก 42 2.13 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข 44 2.14 กิจกรรมการลงแขกเกี่ยวข้าว 47 2.15 โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 48 2.16 กิจกรรมการจัดทำหน้ากากอนามัย 49 2.17 กิจกรรมการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน 50 2.18 กิจกรรมครบรอบ 53 ปี โครงการพัฒนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) และอาสาพัฒนาชุมชน (อช.) 51 2.19 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการด้านปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย 53 2.20 กิจกรรมการแห่ธงสงกรานต์ 56 2.21 กิจกรรมสนับสนุนการใช้สื่อที่เหมาะสม 57 2.22 กิจกรรมส่งเสริมการรักษาสัจจะและมิตรภาพตามหลักเบญจธรรม 58 2.23 การแต่งตั้งคณะกรรมศูนย์ยุติธรรมชุมชน 59 2.24 กิจกรรมจิตอาสาบริจาคของน้ำท่วม 60 2.25 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ 62 2.26 กิจกรรมกีฬาต้านยาเสพติดและลานกีฬาชุมชน 64 2.27 การประกาศให้วัดเป็นเขตปลอดอบายมุข 65 2.28 กิจกรรมส่งเสริมและยกย่องบุคคลต้นแบบในการลด ละ เลิกสุรา ยาเสพติดใน หมู่บ้าน 66 2.29 กิจกรรมส่งเสริมการมีสติในการครองตน ครองคน ครองงาน 67 2.30 กิจกรรมชนบทวิถีใหม่ ทางรอดจากภัยโควิด 68 3.1 กิจกรรมไหว้พระ สวดมนต์ ทำบุญตักบาตรวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 70 3.2 กิจกรรมพาครอบครัวเข้าวัดทำบุญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 71 3.3 กิจกรรมปฏิบัติธรรมในวันพระ 72 3.4 กิจกรรมงานบุญสลากภัต 73 3.5 การตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม 75


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6” | ฏ สารบัญแผนภาพ (ต่อ) ภาพที่ หน้า 3.6 งานประเพณีสู่ขวัญข้าว ชาวลาวครั่ง 77 3.7 วัฒนธรรมและประเพณีที่โด่ดเด่นด้านวัฒนธรรมลาวครั่ง 78 3.8 โครงการต้นกล้าวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์ 79 3.9 การตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 81 3.10 กิจกรรมตลาดเอจังวาโอทอปนวัตวิถีหมู่ 6 บ้านหัวถนนกลาง 82 3.11 กลุ่มทอผ้าลาวครั่ง 83 3.12 กลุ่มอาชีพภูมิปัญญาบ้านหัวถนนกลาง 83 3.13 กลุ่มข้าวแตน / ดอกจอก / ถั่วทอด 84 3.14 กลุ่มปลาส้ม 84 3.15 กลุ่มตะกร้าเชือกมัดฟาง 85 3.16 กลุ่มไอศกรีมข้าวไรซ์เบอร์รี่ 85 3.17 กิจกรรมการประกวดผ้าพื้นถิ่นสำหรับกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP 86 3.18 ปราชญ์ด้านความพอเพียง 87 3.19 ปราชญ์ด้านการทอผ้า 88 3.20 ครัวเรือนต้นแบบ “นายรุ่ง บุญมา บ้านเลขที่ 106/6” 89 3.21 ครัวเรือนต้นแบบ “นางเพชร จำปีเพชร บ้านเลขที่ 4/2” 89 3.22 ครัวเรือนต้นแบบ “นายบุญเลิศ จำปีเพชร บ้านเลขที่ 31/2” 90 3.23 บุคคลตัวอย่างด้านการส่งเสริมเกี่ยวกับสมุนไพรและเศรษฐกิจพอเพียง 91 4.1 เกียรติบัตรโรงเรียนบ้านหัวถนนเหนือ (รัฐประชาชนูทิศ) 92 4.2 ทุนการศึกษาแก่นักเรียนและสามเณรภาคฤดูร้อน 94 4.3 กิจกรรมศูนย์เรียนรู้ชุมชน 95 4.4 กิจกรรมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมเยาวชน 96 4.5 กิจกรรมเสริมทักษะอาชีพให้กับผู้สูงอายุ 98 4.6 กิจกรรมสนับสนุนการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขโรคโควิด-19 99 4.7 กิจกรรมการพัฒนาดูแลสุขภาพพระสงฆ์-สามเณร 100 4.8 กิจกรรมอบรมโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า 101 4.9 กลุ่มจิตอาสาบูรณะศาสนสถาน 103 4.10 เตาเผาศพไฟฟ้าไร้ควัน 104 4.11 โครงการคลองสวยน้ำใส 105 4.12 กิจกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะ 106 4.13 กิจกรรมอบรมคุณธรรม จริยธรรมในสถานศึกษา 108 4.14 โครงการชุมชนลาวครั่ง สืบสานงานศิลป์การทอผ้าภูมิปัญญาท้องถิ่น 109 4.15 โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม บุคลากร อบต.หัวถนน 110


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6” | ฐ สารบัญแผนภาพ (ต่อ) ภาพที่ หน้า 4.16 กิจกรรมแหล่งเรียนรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพ 111 4.17 กิจกรรมปันสุข 113 4.18 โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 114 4.19 บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU วัด ประชา รัฐ สร้างสุข 115 4.20 บันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือดำเนินการตามแผนการขับเคลื่อนความ ร่วมมือพลังบวร (บ้าน วัด ราชการ) เสริมสร้างสังคมสุขภาวะ โดยกลไกหน่วย อบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) นำร่อง จังหวัดนครสวรรค์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2565-2567 ระหว่างคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ กับพลังบวร จังหวัด นครสวรรค์ 118 4.21 กิจกรรมการสร้างพื้นที่สาธารณะประโยชน์ 123 5.1 การประชาคมหมู่บ้านเพื่อวิเคราะห์ชุมชน 127 5.2 เป้าหมายและคุณค่าร่วมของชุมชน 129


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๑ บทที่ ๑ ประวัติความเป็นมาและข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน ๑.๑ ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน ๑.๑.๑ ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖ มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์โบราณคดี จากการสำรวจของ คณะกรรมการเพื่อพิจารณากำหนดขอบเขตที่ดินกำแพงเมือง-คูเมือง กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ร่วมกับสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ศึกษาวิเคราะห์รูปถ่ายทางอากาศ ระวางแผนที่ หลักฐานทางประวัติศาสตร์และสภาพภูมิประเทศพบว่าบ้านหัวถนนกลางเป็นเมืองโบราณ ซึ่งเป็นที่รู้จัก ของนักวิชาการในชื่อเมืองสระแก้ว เมืองโบราณแห่งนี้เป็นเมืองโบราณที่มีความสัมพันธ์กับเมืองโบราณ บริเวณฝั่งทะเลเดิมที่มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖ และจัดให้มีเมือง โบราณแห่งนี้อยู่ในกลุ่มเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่อยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีเมืองสำคัญอยู่ ที่ละโว้ จังหวัดลพบุรี มีขอบเขตพื้นที่โดยประมาณตรงกับจังหวัดลพบุรี อยุธยา สระบุรี นครสวรรค์และ เพชรบูรณ์ซึ่งตรงกับคำบอกเล่าของพ่อเฒ่าจู๊ด พันธ์กอง เล่าว่าสมัยก่อนพื้นที่บริเวณนี้เป็นป่ารก ยังไม่ ค่อยมีผู้คนอาศัยอยู่ พอเริ่มมีคนมาอยู่มากขึ้น พื้นที่ที่เคยเป็นป่าก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป เมื่อถางป่าก็พบ คู คัน มีลักษณะคล้ายถนน คนที่พบเหล่านั้นต่างกล่าวว่าสถานที่ตรงนี้เคยเป็นเมืองเก่ามาก่อนในสมัยที่ผู้ เล่ายังเป็นเด็กเคยไปเก็บขี้ตะครั้นซึ่งเกิดจากการหล่อหลอมวัตถุโบราณมาเล่นและนอกจากนี้ยังพบอิฐ แดงหรือศิลาแลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง ๑ ศอก ยาว ๑ เมตร อยู่ตามบริเวณนั้น ปัจจุบัน คือ ด้านหลังโรงเรียนบ้านหัวถนนเหนือ (รัฐประชาชนูทิศ) และเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา ได้มีเจ้าหน้าที่จากกรมธนารักษ์ได้ออกมาสำรวจกำหนดขอบเขตที่ดินกำแพงเมือง-คูเมืองพื้นที่ส่วนใหญ่ อยู่ในหมู่ที่ ๖ บ้านหัวถนนกลาง ซึ่งตรงกับคำบอกเล่าของพ่อเฒ่าจู๊ดทุกประการ ภาพที่ ๑.๑ แผนที่บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๒ พื้นที่ของหมู่บ้าน หมู่บ้านหัวถนนกลางมีพื้นที่ทั้งหมด ๓,๘๐๐ ไร่ หรือ ๖.๐๙ ตารางกิโลเมตร ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖ ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ มีระยะทาง ห่างจากอำเภอท่าตะโก ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ ๖ กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดนครสวรรค์ ไปทาง ทิศตะวันตก ๔๑ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อ หมู่ที่ ๓ บ้านหางน้ำ ตำบลท่าตะโก ทิศใต้ ติดต่อ หมูที่ ๗ บ้านหนองสองห้อง ตำบลหัวถนน ทิศตะวันออก ติดต่อ หมู่ที่ ๑ บ้านหัวถนนเหนือ ตำบลหัวถนน ทิศตะวันตก ติดต่อ หมู่ที่ ๒ บ้านหัวถนนใต้ตำบลหัวถนน บ้านหัวถนนกลางมีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร เช่น ทำนา ทำไร่ และบางส่วนประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้าง มีรายได้เฉลี่ยของประชากร ๘๐๐,๐๐๐ บาท/ปี แบ่งการบริหารจัดการออกเป็น ๕ คุ้ม ได้แก่ ๑. คุ้มราชพฤกษ์ มี นางจรรยาพร พิมพ์ศร เป็นหัวหน้าคุ้ม ๒. คุ้มดาวเรือง มี นางน้อย อ่อนศรี เป็นหัวหน้าคุ้ม ๓. คุ้มชวนชม มี นางสายฝน กล้าหาญ เป็นหัวหน้าคุ้ม ๔. คุ้มลีลาวดี มี นางสาวสมใจ เขียวบุดดา เป็นหัวหน้าคุ้ม ๕. คุ้มกล้วยไม้ มี นางจำเนียร โพธิ์ทอง เป็นหัวหน้าคุ้ม มีวัดหัวถนนกลาง เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีการสืบ ทอดประเพณี และวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น มีประเพณีวัฒนธรรมที่ผูกพันกับพระพุทธศาสนา เช่น การ ทำบุญในวันพระ ประเพณีสู่ขวัญข้าว ประเพณียกธงวันสงกรานต์ ชาวบ้านหัวถนนกลางส่วนใหญ่เป็น กลุ่มชาติพันธ์ลาวครั่ง จึงมีศิลปะหลากหลายด้าน เช่น ด้านอาหาร ด้านงานอาชีพ ด้านศิลปะการรำและ ดนตรีการเป่าแคน ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธ์ลาวครั่ง ในด้านงานอาชีพหมู่บ้านหัวถนนกลาง มี การจัดกิจกรรมแบ่งเป็น ๑๑ กลุ่ม ดังนี้ ๑. กลุ่มภูมิปัญญาบ้านหัวถนนกลางด้านสมุนไพร จำนวนสมาชิก ๑๗ คน ๒. กลุ่มขนมข้าวแตน/ดอกจอก จำนวนสมาชิก ๕ คน ๓. กลุ่มทำดอกไม้ประดิษฐ์ จำนวนสมาชิก ๑๕ คน ๔. กลุ่มไม้กวาดดอกหญ้า จำนวนสมาชิก ๗ คน ๕. กลุ่มจักสาน จำนวนสมาชิก ๕ คน ๖. กลุ่มฌาปนกิจ จำนวนสมาชิก ๑๙๗ คน ๗. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตนวัตวิถี จำนวนสมาชิก ๕๗ คน ๘. กลุ่มตะกร้าเชือกมัดฟาง จำนวนสมาชิก ๗ คน ๙. กลุ่มทำปลาส้ม จำนวนสมาชิก ๕ คน ๑๐.กลุ่มทอผ้า จำนวนสมาชิก ๕ คน ๑๑.กลุ่มไอศกรีมข้าวไรซ์เบอร์รี่ จำนวนสมาชิก ๕ คน


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๓ ทั้งหมดที่กล่าวมาสามารถสัมผัสได้ทั้งทางตา ทางจมูก ทางลิ้นและการจับต้องลงมือปฏิบัติ ได้มีปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่นในหมู่บ้านด้านดนตรีแคนประยุกต์ การจักสาน การทำไม้กวาด ดอกหญ้า การทำธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อใช้ในโครงการเศรษฐกิจพอเพียงที่ทำหน้าที่ในการสืบสาน รักษา และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากบรรพบุรุษมายังรุ่นลูกรุ่นหลานและผู้ที่สนใจโดยผ่านกิจกรรมที่ ฝึกอบรมมีหน่วยงาน เช่น สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะโก สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอท่าตะโก กรมแรงงานจังหวัดนครสวรรค์ องค์การบริหารส่วนตำบลหัวถนน จัดงบประมาณมาสนับสนุนและวัดหัวถนนกลางมีส่วนร่วมในการเป็นศูนย์กลางในการฝึกอบรมและจัด กิจกรรม 1.2 ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน ประชากรในบ้าน หัวถนนกลาง จำนวนครัวเรือน ๔๔๒ ครัวเรือน แบ่งเป็น ประชากรชาย จำนวน ๔๗๑ คน ประชากรหญิง จำนวน ๕๒๐ คน รวมประชากรทั้งสิ้น จำนวน ๙๙๑ คน ผู้ใหญ่บ้าน คือ นายทัพ จำปีเพชร โทรศัพท์๐๘๕-๗๓๐๘๙๓๗ ภาพที่ 1.2 ผู้ใหญ่บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖ โดยมีคำขวัญของหมู่บ้าน คือ มีศีล มีสุข ปรองดอง สมานฉันท์ สามัคคี สันติสุข ปลอดยา เสพติด


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๔ ภาพที่ 1.3 คำขวัญหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖ วัดประจำหมู่บ้าน คือ วัดหัวถนนกลาง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๖ ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์จัดตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ มีนามตามชื่อหมู่บ้าน ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมาเมื่อ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๓๗ ไร่ ๒ งาน ๒๔ ตารางวา โฉนดที่ดิน เลขที่ ๓๒๘๒๑ อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๒ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๗ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย หอสวดมนต์ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๔ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์จำนวน ๔ หลัง เป็นอาคาร คอนกรีตเสริมเหล็ก วิหารกว้าง ๓ เมตร ยาว ๗ เมตร เป็นที่ประดิษฐานหลวงปู่ดี ซึ่งเป็นพระประจำวัด หัวถนนกลาง ศาลาบําเพ็ญกุศล จำนวน ๑ หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากนี้มีฌาปน สถาน ๑ หลัง หอระฆัง ๑ หลัง หอกลอง ๑ หลัง โรงครัว ๑ หลัง เรือนเก็บพัสดุ ๑ หลัง อาณาเขต ทิศเหนือ จดหมู่บ้านหัวถนนกลาง ทิศใต้จดถนนสายท่าตะโก-นครสวรรค์ทิศ ตะวันออก จดหมู่บ้านหัวถนนกลาง ทิศตะวันตก จดหมู่บ้านหัวถนนกลาง และมีพระประธานประจำ อุโบสถ ปางสมาธิ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ พระประธาน ประจำศาลาการเปรียญ ปางสมาธิ ขนาดหน้า ตักกว้าง ๒๘ นิ้ว สูง ๔๖ นิ้ว


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๕ ภาพที่ 1.4 วัดหัวถนนกลาง เจ้าอาวาสวัดหัวถนนกลาง คือ พระอธิการบุญหลาย ธมฺมปาโล โทรศัพท์ ๐๘๗- ๗๓๗๙๔๒๕ ภาพที่ 1.5 เจ้าอาวาสวัดหัวถนนกลาง


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๖ 1.2 โครงการและกิจกรรมที่หมู่บ้านดำเนินการ โครงการและกิจกรรมที่หมู่บ้านดำเนินการเกิดจากกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม ของประชาชนในหมู่บ้าน ภายใต้การบูรณาการข้อมูล ความคิด วิเคราะห์ การตัดสินใจ โดยผ่านการ ประชุมหมู่บ้าน เป็นโครงการและกิจกรรมที่เกิดจากความจำเป็นและความต้องการที่แท้จริงของ ประชาชน โดยบ้านหัวถนนกลาง มีการขับเคลื่อนกิจกรรม ดังนี้ โครงการหมู่บ้านสีขาว (ลด ละ เลิกยาเสพติด/อบายมุข) โครงการหมู่บ้านช่อสะอาด (ความสุจริต/โปร่งใส) โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โครงการหมู่บ้านวัฒนธรรม/ชุมชนคุณธรรม กลุ่มออมทรัพย์/กองทุนหมู่บ้าน/กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ กลุ่ม/เครือข่ายจิตอาสาพัฒนาสังคม กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม/ป่าชุมชน อื่น ๆ คือ กิจกรรมอบสมุนไพรไอน้ำ ภูมิปัญญาชาวบ้าน อื่น ๆ คือ ธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๗ 1.2.1 โครงการหมู่บ้านสีขาว (ลด ละ เลิกยาเสพติด/อบายมุข) . ภาพที่ 1.6 โครงการกองทุนแม่ของแผ่นดิน บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6 ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับ พระราชทานเงินขวัญถุงกองทุนแม่ของแผ่นดิน ปี 2563 ภายใต้แนวคิด “กองทุนแม่ของแผ่นดิน สันติ วิธีสู่พื้นที่ปลอดภัย” โดยได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็กพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิรา เทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชรมหาวัชรราชธิดา ทรงรับเชิญเสด็จในวันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม 2563 โดยมีวัตถุประสงค์ในการขับเคลื่อนกองทุนฯ เพื่อกำหนดแนวทางการมีส่วนร่วมต่อการ ขับเคลื่อนนโยบาย และสร้างการรับรู้ตามแนวทางการพัฒนาด้วยศาสตร์พระราชา และการแสดง เจตจำนงร่วมกันในการต่อต้านยาเสพติดของทุกคนในชุมชน


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๘ 1.2.2 โครงการหมู่บ้านช่อสะอาด (ความสุจริต/โปร่งใส) ภาพที่ 1.7 กิจกรรม BIG DAY “ทุกเสียงคือพลัง เลือกตั้งสุจริต ใช้สิทธิโปร่งใส” ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหัวถนน คณะกรรมการการเลือกตั้ง อบต.หัวถนน ผู้ตรวจการ การเลือกตั้งประจำจังหวัดนครสวรรค์ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่า ตะโก พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลหัวถนน ประชาชนในตำบลหัวถนนและนักเรียนใน พื้นที่ ร่วมกันเดินรณรงค์ และร่วมการจัดกิจกรรม โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง อบต. (BIG DAY) ในการเลือกตั้ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล “ทุกเสียงคือพลัง เลือกตั้ง สุจริต ใช้สิทธิโปร่งใส” ในเดือนพฤศจิกายน 2565


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๙ 1.2.3 โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ภาพที่ 1.8 หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ การพัฒนาหมู่บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6 ให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบโดยการ ใช้งบประมาณ จากงบยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน และใช้หลักการมีส่วนร่วม ในการคัดเลือก ครัวเรือนต้นแบบ ขยายผลสู่ครอบครัวอื่น ๆ ด้วยการจัดให้เป็นจุดเรียนรู้ชุมชนได้โดยใช้หลักเกณฑ์ คือ ครอบครัวมีความพอเพียง,บ้านมีความเป็นระเบียบสะอาด, มีกิจกรรมลดรายจ่าย มีการทำบัญชี ครัวเรือนมีการปลูกพืชผักสวนครัว, ครอบครัวปลอดอบายมุข, มีการออมเงิน, เป็นสมาชิกกลุ่มออม ทรัพย์เพื่อการผลิต มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชีวิตประจำวัน จุดประสงค์ในการคัดเลือกครัวเรือน ต้นแบบ คือ ต้องการให้ครัวเรือนมีความเข้าใจเรื่องวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งแนวคิดหลักการและแนวทางการปฏิบัติ เตรียมพร้อมในการเป็นวิทยากรขยายผลสู่ครอบครัวอื่นใน หมู่บ้าน และนอกหมู่บ้าน


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๑๐ 1.2.4 โครงการหมู่บ้านวัฒนธรรม/ชุมชนคุณธรรม ภาพที่ 1.9 กิจกรรมชุมชนคุณธรรม หมู่บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6 ได้ร่วมโครงการชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยพลังบวร ผ่านการประชาคมในชุมชน ดำเนินการตามกระบวนการ 9 ขั้นตอน ไปสู่เป้าหมาย 3 ประการ โดยมีผู้นำ “พลังบวร” บ้าน วัด โรงเรียนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาที่ จะทำให้ทุกคน ทุกครอบครัวเป็นคนดี มีคุณธรรม รู้จักพอเพียง พออยู่พอกิน ภาคภูมิใจ รักษาหวงแหน วัฒนธรรม โดยได้มีครัวเรือนลงนามประกาศเจตนารมณ์ร่วมขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวร ในหมู่บ้านหัวถนนกลาง


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๑๑ 1.2.5 กลุ่มออมทรัพย์/กองทุนหมู่บ้าน/กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ภาพที่ 1.10 กิจกรรมสนับสนุนกลุ่มออมทรัพย์/กองทุนหมู่บ้าน/กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ หมู่บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6 มีกองทุนในหมู่บ้าน จำนวน 4 กองทุน ดังนี้ 1. กองทุนหมู่บ้านหัวถนนกลาง งบประมาณ 2,784,907 บาท (สองล้านเจ็ดแสน แปดหมื่นสี่พันเก้าร้อยเจ็ดบาท) ๒. โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) งบประมาณ 327,877 บาท (สาม แสนสองหมื่นเจ็ดพันแปดร้อยเจ็ดสิบเจ็ดบาท) ๓. กองทุนออมทรัพย์เพื่อการผลิตนวัตวิถีงบประมาณ 532,00บาท (ห้าแสนสาม หมื่นสองพันบาท) ๔. กองทุนฌาปนกิจหมู่บ้านงบประมาณ 17,000 บาท (หนึ่งหมื่นเจ็ดพันบาท) กองทุน กองทุนหมู่บ้าน กองทุนแก้ปัญหาความยากจน (กขคจ) กองทุนออมทรัพย์เพื่อการผลิตนวัตวิถี กองทุนฌาปนกิจหมู่บ้าน


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๑๒ 1.2.6 กลุ่ม/เครือข่ายจิตอาสาพัฒนาสังคม ภาพที่ 1.11 กิจกรรมจิตอาสาเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 กลุ่มจิตอาสารวมกำลัง วัดหัวถนนกลาง ผู้นำชุมชน ประชาชนและภาคส่วนราชการ ได้เข้า ร่วมทำกิจกรรมจิตอาสา บำเพ็ญประโยชน์ พัฒนา ปรับปรุงพื้นที่วัด ทำความสะอาดถนนหนทาง และ ร่วมกันปลูกต้นไม้ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว พระมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวางกูร ณ บริเวณหมู่ที่ 6 บ้านหัวถนนกลาง ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๑๓ 1.2.7 กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม/ป่าชุมชน ภาพที่ 1.12 กิจกรรม Big Cleaning Day โครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุข กิจกรรม Big Cleaning Day โครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุข วัดหัวถนนกลาง นำโดยเจ้า อาวาสวัดหัวถนนกลาง องค์การบริหารส่วนตำบลหัวถนน โรงเรียนบ้านหัวถนนเหนือ(รัฐประชาชนูทิศ) และจิตอาสาในพื้นที่ ร่วมกิจกรรมฯ ได้ร่วมกันพัฒนาวัด เช่น โบสถ์ วิหาร ลานวัด และบริเวณถนน จากนั้นได้ร่วมกันปลูกพืชสมุนไพร ประกอบด้วย ขิง ข่า และฟ้าทะลายโจร รวมทั้งปลูกต้นพะยูง ซึ่งเป็น ไม้มงคล เพื่อเป็นที่ระลึก ทั้งนี้ โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข เป็นการพัฒนารูปแบบและการนำ แนวคิดของ 5 ส คือ สะสาง สะดวก สะอาด สร้างมาตรฐาน และสร้างวินัย มาสู่บริบทของวัดและชุมชน เป็นการส่งเสริมวัดให้เป็นพื้นที่ต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ พื้นที่การเรียนรู้ พื้นที่ทางจิตใจ และปัญญา รวมทั้งการมีจิตอาสาร่วมรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อทำให้เกิดสังคมแห่งสุขภาวะ


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๑๔ 1.2.8 กิจกรรมอบสมุนไพรไอน้ำ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ภาพที่ 1.13 กิจกรรมอบสมุนไพรไอน้ำ ภูมิปัญญาชาวบ้าน วัดหัวถนนกลางได้สนับสนุนด้านสุขภาพแก่ประชาชนให้มีการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ทั้ง ยังเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านสมุนไพร มีกิจกรรมอบสมุนไพรไอน้ำ บริการตรวจสุขภาพและมีกลุ่มนวดแผน ไทยเพื่อสุขภาพ ทั้งยังมีการสืบสานภูมิปัญญาไทยในการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรท้องถิ่น


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๑๕ 1.2.9 ธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง ภาพที่ 1.14 กิจกรรมธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง ปีพ.ศ. 2559 ธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียงได้นำมาทดลองปรับใช้กับพื้นที่บ้านหัวถนน กลาง หมู่ที่ 6 เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง และส่งกลิ่นเหม็น ในระยะเริ่มต้นได้ขุดบ่อแรกที่บ้านนายโกมล มีอาชีพขายก๋วยเตี๋ยวที่หน้าวัดหัวถนนกลาง ต่อมาในปี พ.ศ.2560 องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตะโก อำเภอท่าตะโก ร่วมกับชาวบ้านหมู่ที่ 2,3,4,5,6 และ 7 ทำ “ธนาคารน้ำใต้ดิน” จากขยะที่ไม่ใช้แล้ว เช่น ยางรถยนต์ ขวดต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ ในพื้นที่ โดยไม่ใช้งบประมาณในการ ดำเนินงาน ปัจจุบันดำเนินการไปแล้ว จำนวน 30 บ่อ และจะดำเนินการให้ครบ 89 บ่อ เป็นการ ร่วมกันทำความดี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ปัจจุบันบ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6 มีบ่อปิด จำนวน 13 บ่อ


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๑๖ 1.3 รางวัลเกียรติคุณที่หมู่บ้านได้รับในรอบ 3 ปี รางวัลเกียรติคุณที่หมู่บ้านได้รับในรอบ 3 ปีประกอบด้วย รางวัลเกียรติคุณที่หมู่บ้านได้รับในระดับชาติ รางวัล “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (อยู่เย็น เป็นสุข)” ปี 2562 ของกรมการ พัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1 “การประกวดผ้าสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน ประเภทผ้าอื่น ๆ (ผ้าทอมือ) จังหวัดนครสวรรค์” ปี 2563 ของกรมการพัฒนา ชุมชน กระทรวงมหาดไทย เกียรติบัตร “สถานประกอบการ ศาสนสถานสะอาดปลอดภัย ป้องกันโรค COVID-19 ประเภทวัด ผ่านมาตฐาน” ปี 2563 ของกรมอนามัย รางวัลเกียรติคุณที่หมู่บ้านได้รับในระดับจังหวัด เกียรติบัตรรองชนะเลิศอันดับที่ 2 “กลุ่มองค์กรแกนหลักสำคัญในการพัฒนา หมู่บ้าน” ปี 2562 ของจังหวัดนครสวรรค์ เกียรติบัตรชนะเลิศ “กิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด” ปี 2562 ของ องค์การบริหารส่วนตำบลหัวถนน จังหวัดนครสวรรค์ เกียรติบัตรอันดับที่ 3 “สถาบันเกษตรกรดีเด่น สาขากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร” ปี 2564 ของจังหวัดนครสวรรค์


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๑๗ 1) รางวัล “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (อยู่เย็น เป็นสุข)” ปี 2562 ของกรมการพัฒนา ชุมชน กระทรวงมหาดไทย (ระดับชาติ) ภาพที่ 1.15 รางวัล “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (อยู่เย็น เป็นสุข)”


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๑๘ 2) รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1 “การประกวดผ้าสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรง ไว้ในแผ่นดิน ประเภทผ้าอื่น ๆ (ผ้าทอมือ) จังหวัดนครสวรรค์” ปี 2563 ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย (ระดับชาติ) ภาพที่ 1.16 รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1 “การประกวดผ้าสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ ในแผ่นดิน ประเภทผ้าอื่น ๆ (ผ้าทอมือ) จังหวัดนครสวรรค์”


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๑๙ 3) เกียรติบัตร “สถานประกอบการ ศาสนสถานสะอาดปลอดภัย ป้องกันโรค COVID19 ประเภทวัด ผ่านมาตฐาน” ปี 2563 ของกรมอนามัย (ระดับชาติ) ภาพที่ 1.17 เกียรติบัตร “สถานประกอบการ ศาสนสถานสะอาดปลอดภัย ป้องกันโรค COVID-19 ประเภทวัด ผ่านมาตฐาน” 4) เกียรติบัตรรองชนะเลิศอันดับที่ 2 “กลุ่มองค์กรแกนหลักสำคัญในการพัฒนา หมู่บ้าน” ปี 2562 ของจังหวัดนครสวรรค์(ระดับจังหวัด) ภาพที่ 1.18 เกียรติบัตรรองชนะเลิศอันดับที่ 2 “กลุ่มองค์กรแกนหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน”


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๒๐ 5) เกียรติบัตรชนะเลิศ “กิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด” ปี 2562 ของ องค์การบริหารส่วนตำบลหัวถนน จังหวัดนครสวรรค์(ระดับจังหวัด) ภาพที่ 1.19 เกียรติบัตรรองชนะเลิศอันดับที่ 2 “กลุ่มองค์กรแกนหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน”


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๒๑ 6) เกียรติบัตรอันดับที่ 3 “สถาบันเกษตรกรดีเด่น สาขากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร” ปี 2564 ของจังหวัดนครสวรรค์(ระดับจังหวัด) ภาพที่ 1.20 เกียรติบัตรอันดับที่ 3 “สถาบันเกษตรกรดีเด่น สาขากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร”


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๒๒ 1.4 ข้อมูลคดีอาชญากรรมของหมู่บ้านในรอบ ๓ ปี สถิติข้อมูลเกี่ยวกับคดีอาชญากรรมของหมู่บ้านในรอบ ๓ ปีของบ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖ พบว่า ไม่มี มี จำนวน 1 คดี ภาพที่ 1.21 ข้อมูลเกี่ยวกับคดีอาชญากรรมของหมู่บ้านในรอบ ๓ ปี


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๒๓ 1.5 ข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดของหมู่บ้านในรอบ ๓ ปี สถิติข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดของหมู่บ้านในรอบ ๓ ปีของบ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖ พบว่า ไม่มี มี จำนวน - คดี ภาพที่ 1.22 ข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดของหมู่บ้านในรอบ ๓ ปี


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๒๔ 1.6 ข้อมูลการทะเลาะวิวาทและก่อความไม่สงบสุขในรอบ ๓ ปี สถิติข้อมูลเกี่ยวกับการทะเลาะวิวาทและก่อความไม่สงบสุขในรอบ ๓ ปีของบ้านหัวถนน กลาง หมู่ที่ ๖ พบว่า ไม่มี มี จำนวน - คดี ภาพที่ 1.23 ข้อมูลการทะเลาะวิวาทและก่อความไม่สงบสุขในรอบ ๓ ปี


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๒๕ 1.7 ข้อมูลเกี่ยวกับสาธารณสุขของหมู่บ้านในรอบ ๓ ปี สถิติข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลเกี่ยวกับสาธารณสุขของหมู่บ้านในรอบ ๓ ปีของบ้านหัวถนน กลาง หมู่ที่ ๖ พบว่า ผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 5 คน การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันสมควร จำนวน 1 คน ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว จำนวน 13 คน คนพิการในหมู่บ้าน จำนวน 21 คน ภาพที่ 1.23 ข้อมูลสาธารณสุขของหมู่บ้านในรอบ ๓ ปี


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๒๖ บทที่ 2 รายงานกิจกรรมการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ การจัดกิจกรรมการส่งเสริมการรักษาศีล 5 ตามหลักเบญจศีล-เบญจธรรมจึงเป็นการ ส่งเสริมให้ประชาชนมีจิตสำนึกและได้แสดงออกถึงความรับผิดชอบ มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์หมู บ้าน ชุมชน ด้วยการสร้างความรักความสามัคคี ความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข มีความรักความเข้าใจ เคารพในความคิดเห็นของกันและกัน มีความเอื้อเฟื้อ เป็นสังคมเครือญาติและ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงเห็นคุณค่าและประโยชน์ในการนำหลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา มาดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ความตระหนัก รักปกป้อง เชิดชูสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศชาติมีความมั่นคงยั่งยืน 2.1 รายงานกิจกรรมการส่งเสริมการรักษาศีลข้อที่ ๑ ศีลข้อที่ 1 ปาณาติปาตาเวรมณี เป็นการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ควรมีความเมตตา ช่วยเหลือครอบครัว เพื่อนและสัตว์เมื่อมีโอกาส โดยชาวบ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖ มีการขับเคลื่อน กิจกรรม ดังนี้ การตั้งคณะกรรมการส่งเสริมความสามัคคีและคุ้มครองสิทธิชุมชน การกำหนดเขตอภัยทานของหมู่บ้าน การจัดกิจกรรมเฝ้าระวังความรุนแรงในหมู่บ้าน การจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตตภาวนาเพื่อเพิ่มพูนความเมตตาตามหลักเบญจธรรม กิจกรรมการปล่อยนก ปลา ไถ่ชีวิตโค กระบือและสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ อื่น ๆ คือ กิจกรรมฝึกระเบียบแถว เพิ่มทักษะชีวิต


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๒๗ 2.1.1 การตั้งคณะกรรมการส่งเสริมความสามัคคีและคุ้มครองสิทธิชุมชน


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๒๘ ภาพที่ 2.1 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๒๙ 2.1.2 การกำหนดเขตอภัยทานของหมู่บ้าน ภาพที่ 2.2 เขตอภัยทานของหมู่บ้าน กิจกรรม การกำหนดเขตอภัยทานในชุมชน สอดคล้องกับศีลข้อ 1 เป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนมีความเมตตา กรุณา ลดการ เบียดเบียน การทำร้าย หรือการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตในรอบรั้วของวัดหรือพระพุทธศาสนา วิธีดำเนินงาน มีการประชุมประชาคม บ้าน วัด โรงเรียน กำหนดเขตอภัย ในวัด ในชุมชน ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๙ - จนถึงปัจจุบัน ได้จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละงานบุญหรือกิจกรรมวันสำคัญทาง พระพุทธศาสนาโดยกำหนดเขตอภัยทาน บริเวณวัดหัวถนนกลาง ผลการดำเนินงาน การกำหนดเขตอภัยทานในบริเวณสระน้ำของวัดหัวถนนกลาง ตำบล หัวถนน อำเภอท่าตะโก มีแผ่นป้ายหนังสือถาวรบอกให้ชัดเจนว่า “เขตอภัยทาน”


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๓๐ 2.1.3 การจัดกิจกรรมเฝ้าระวังความรุนแรงในหมู่บ้าน ภาพที่ 2.3 การตั้งจุดตรวจด่านชุมชน กิจกรรม การตั้งจุดตรวจด่านชุมชน สอดคล้องกับศีลข้อ 1 เป็นการป้องปรามให้ประชาชนเคารพในกฎ ระเบียบ ของหมู่บ้าน และมีความเมตตา กรุณา ลดการเบียดเบียน หรือการทำร้ายซึ่งกันและกัน ทั้งภายในครอบครัวและ ภายในหมู่บ้าน วิธีดำเนินงาน มีการจัดเวรยามรักษาความสงบภายในหมู่บ้านผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ทุกวันเพื่อดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน และเฝ้าระวังความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นใน แต่ละวันร่วมกันกับทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง รวมทั้งมีการอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน สถานศึกษาด้านกฎหมาย กฎระเบียบอย่างต่อเนื่อง มีระบบการเตือนภัย การแจ้งข้าวสาร โดยมีการ จัดตั้งอยู่ในพื้นที่ระหว่างหมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 2 ซึ่งเป็นเส้นทางหลักของการเดินทาง โดยมีการตั้งด่าน ชุมชน จำนวน 3 ครั้งต่อปี และการติดตามสอดส่องดูแล และจัดประชุมประชาคมเป็นประจำทุกเดือน เพื่อร่วมกันเสนอข้อมูล และประเมินจุดเสี่ยงที่อาจให้เกิดอันตรายภายในชุมชน ผลการดำเนินงาน มีแผนปฏิบัติการในการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย มีการซักซ้อมอยู่ ประจำ มีเครื่องมือที่เพียงพอ มีการปฏิบัติภารกิจอย่างต่อเนื่อง หมู่บ้านไม่มีสถิติข้อมูลคดี อาชญากรรมของหมู่บ้านในรอบ ๓ ปี


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๓๑ 2.1.4 การจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตตภาวนาเพื่อเพิ่มพูนความเมตตาตามหลักเบญจ ธรรม ภาพที่ 2.4 กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้วิถีพุทธ กิจกรรม ส่งเสริมการเรียนรู้วิถีพุทธ สอดคล้องกับศีลข้อ 1 เป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนและครอบครัว มีความเมตตา กรุณา มีความรัก ความปรารถนาดี มีความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ และลดการเบียดเบียน หรือการทำร้ายซึ่ง กันและกัน วิธีดำเนินงาน ในทุกวันธรรมสวนะ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หรือวันสำคัญของ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้นำชุมชน ประชาชน และพระภิกษุสามเณรจะพร้อมใจกันจัดกิจกรรม ส่งเสริมจิตตภาวนาขึ้นเสมอ ประชาชนหมู่ที่ 6 บ้านหัวถนนกลาง ได้หอบลูก จูงหลานมาร่วมฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรมอย่างพร้อมเพรียงกัน ซึ่งในแต่ละครั้งจะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในลักษณะของการมาเป็น ครอบครัว มากกว่า 50 คน ผลการดำเนินงาน ชุมชนคุณธรรมบ้านหัวถนนกลางมีการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านเครือข่ายบ้าน วัด และโรงเรียนบ้านหัวถนนเหนือ (รัฐประชาชนูทิศ)


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๓๒ 2.1.5 กิจกรรมการปล่อยนก ปลา ไถ่ชีวิตโค กระบือและสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ภาพที่ 2.5 กิจกรรมการปล่อยปลาในสระสี่เหลี่ยม ศาลปู่เถร กิจกรรม การปล่อยปลาในสระสี่เหลี่ยม ศาลปู่เถร สอดคล้องกับศีลข้อ 1 เป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนมีความเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต วิธีดำเนินงาน นายอำเภอท่าตะโก พัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะโก เกษตรอำเภอ ประมง อำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวถนน ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนบ้านหัวถนน กลาง ร่วมกันปล่อยปลาในสระสี่เหลี่ยม ศาลปู่เถร เมืองเก่าทวารวดี และเยี่ยมชนสถานที่ ศูนย์การ เรียนรู้ภายในวัดหัวถนนกลาง ผลการดำเนินงาน เป็นการสร้างความตระหนักรักและภูมิใจในถิ่นฐานบ้านเกิด ทั้งยังเป็น ส่งเสริมการมีเมตตาจิตร่วมกัน และสร้างความเสียสละ


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๓๓ 2.1.6 กิจกรรมฝึกระเบียบแถว เพิ่มทักษะชีวิต ภาพที่ 2.6 กิจกรรมฝึกระเบียบแถว เพิ่มทักษะชีวิต กิจกรรม ฝึกระเบียบแถว เพิ่มทักษะชีวิต สอดคล้องกับศีลข้อ 1 ปลุกจิตสำนึก ฝึกทักษะ ระเบียบวินัยและแสดงออกถึงความ สามัคคีของหมู่คณะ วิธีดำเนินงาน มณฑลทหารบกที่ 31 ค่ายจิระประวัติร่วมกับโรงเรียนบ้านหัวถนนเหนือ (รัฐประชาชนูทิศ) มาจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักเรียนทุกระดับชั้นเพื่อเป็นการฝึกระเบียบ วินัย การจัดแถว เป็นการสร้างความสามัคคีให้แก่หมู่คณะ ผลการดำเนินงาน นักเรียนได้มีกิจกรรมที่แสดงออกถึงความเป็นระเบียบ การปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ และความสามัคคีของหมู่คณะ


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๓๔ 2.2 รายงานกิจกรรมการส่งเสริมการรักษาศีลข้อที่ 2 ศีลข้อที่ 2 อทินนาทานา เวรณีเป็นเจตนางดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ควรมุ่งมั่นในการทำมาหากินโดยสุจริต ซื่อสัตย์และมีวินัยในตนเอง โดยชาวบ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ 6 มีการขับเคลื่อนกิจกรรม ดังนี้ การตั้งคณะกรรมการ/ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) เพื่อดูแลทรัพย์สินใน หมู่บ้าน การตั้งกฎ ระเบียบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการลักขโมย การจัดกิจกรรมการส่งเสริมความสุจริต โปร่งใสของหมู่บ้าน การจัดกิจกรรมส่งเสริมสัมมาชีพตามหลักเบญจธรรม การตั้งกองทุนการเงิน/สวัสดิการเพื่อส่งเสริมสัมมาชีพ อื่น ๆ คือ โครงการพัฒนาศักยภาพสตรีด้านการทำผ้าไหมมัดหมี่และการทอผ้าตีนจก


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๓๕ 2.2.1 การตั้งคณะกรรมการ/ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) เพื่อดูแล ทรัพย์สินในหมู่บ้าน


เอกสารประกอบการรายงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ “บ้านหัวถนนกลาง หมู่ที่ ๖” | ๓๖


Click to View FlipBook Version