Nakarin Kemthong Download PDF
  • 54
  • 0
การขับเคลื่อนพื้นที่บูรณาการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
การขับเคลื่อนพื้นที่บูรณาการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็งในระดับตำบล เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่มุ่งพัฒนาให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งนำไปสู่ความมั่นคงของมนุษย์ โดยได้กำหนดตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการบูรณาการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง ปีงบประมาณ 2564 ขึ้นมา โดยมีกระบวนการตั้งแต่การคัดเลือกพื้นที่ดำเนินการ การเชื่อมแผนงานของหน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับพื้นที่ การบูรณาการสร้างความรู้ความเข้าใจกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งอาศัยข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า หรือ TPMAP (Thai People Map and Analytic Platform) เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน โดยอาศัยกลไกคณะทำงานในระดับตำบล รวมถึงอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และเครือข่ายทางสังคมร่วมกันขับเคลื่อน จัดเก็บและวิเคราะห์สภาพปัญหาของพื้นที่ รวมถึงการกำหนดแนวทางการแก้ไข พัฒนากลุ่มเป้าหมายรายครัวเรือนจัดทำเป็นแผน 3 ปี (พ.ศ.2564 – 2566) โดยมีเครื่องมือสำคัญคือสมุดพกครอบครัวเป็นเครื่องมือในการค้นหาปัญหาความต้องการรายครัวเรือน เพื่อวิเคราะห์และนำไปสู่การจัดทำแนวทางการแก้ไขและพัฒนาที่ตรงจุด
สำหรับตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นหนึ่งในพื้นที่ดำเนินการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ถูกคัดเลือกจากคณะทำงานหน่วยงานสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอุตรดิตถ์ และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความเห็นชอบในการดำเนินการในพื้นที่ โดยได้เริ่มดำเนินการ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่บูรณาการงานทางสังคมที่มีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญมีเครือข่ายท้องถิ่นที่ให้ความสำคัญกับงานด้านสังคม ที่มองเป้าหมายในการพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์อย่างเป็นองค์รวม
งานศึกษาการขับเคลื่อนการขับเคลื่อนพื้นที่บูรณาการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็งในระดับตำบล: กรณีศึกษาตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ครั้งนี้จะมุ่งนำเสนอผลการดำเนินงานที่เป็นการขับเคลื่อนจากกลไกเครือข่ายทั้งในระดับจังหวัด และในระดับพื้น ที่นำไปสู่การกำหนดแผนการดำเนินงานสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็งระยะ 3 ปี (พ.ศ.2564 – 2566) ที่มีการร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัญหาของพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการคัดกรองจากพื้นที่เป็นหลัก เพื่อให้กลไกในพื้นที่นำไปจัดทำแผนที่ตรงต่อสภาพปัญหา ต่อไป
View Text Version Category : 0
  • Follow
  • 0
  • Embed
  • Share
  • Upload
Related publications