The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

_เครื่องปั้นดินเผา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Sername., 2024-01-01 08:40:10

_เครื่องปั้นดินเผา

_เครื่องปั้นดินเผา

จัดทำ โดย นางสาวกุลสินี ดีแก่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/6 เลขที่ 1 เสนอโดย นางสุภัทรกุล มั่นหมาย เเรื่รื่ รื่อรื่องง ผผลิลิ ลิ ตลิ ตภัภั ภั ณภั ณฑ์ฑ์ ฑ์ วัฑ์ วั วั ฒวั ฒนนธธรรรรมมสิ่สิ่สิ่งสิ่ง ปปรระะดิดิ ดิ ษดิ ษฐ์ฐ์ ฐ์จฐ์จาากกภูภูภู มิ ภู มิ มิปัมิปัปั ญปั ญญญาาท้ท้ ท้ อท้ องงถิ่ถิ่ ถิ่ นถิ่ น เเมืมื มือมืองงสุสุสุ ริ สุ ริ ริ นริ นททร์ร์ ร์ร์


คำ นำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฉบับนี้ได้กล่าวถึงเรื่องราวการทำ ภาชนะดินเผาใน วัฒนธรรมเขมร ได้สอดแทรกความเป็นและความสำ คัญของเครื่องปั้นดินเผา ประเภทของดินเผา รวมไปถึงขั้นตอนการทำ เครื่องปั้นดินเผาและการลง ลวดลายแบบต่างๆ โดยผู้จัดทำ ได้สรุปเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นสื่อ ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชางานประดิษฐ์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ที่เข้ามาศึกษาต่อไป ผู้จัดทำ ขอขอบพระคุณคุณครูสุภัทรกุล มั่นหมาย เป็นอย่างสูงที่ได้ให้คำ แนะนำ ด้านการทำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฉบับนี้ขึ้นมา หากมีข้อผิดพลาด ประการใด ผู้จัดทำ ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย จัดทำ โดย กุลสินี ดีแก่


สารบัญ เนื้อหา หน้า สารบัญ ความเป็นมาและความสำ คัญของภาชนะดินเผา ประเภทของภาชนะดินเผา ภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมเขมร รูปทรงอันหลากหลาย ประโยชน์ใช้สอยและแหล่งเตาเผา กระบวนการผลิตภาชนะดินเผา ลวดลายตกแต่งบนภาชนะดินเผา บรรณานุกรม ก 1 2 3 6 11 12 19 21


ภาชนะดินเผา (Pottery) เป็นภาชนะสำ หรับบรรจุของเหลวหรือ ของแข็ง สำ หรับใช้บริโภคหรือเก็บสะสมอาหาร เช่น หม้อ ไห จาน ชาม ถ้วย ผลิตขึ้นโดยนำ ดิน หรือ ดิน หิน ทราย แร่ธาตุต่างๆ มาผสมกับน้ำ ปั้น ตามรูปร่างที่ต้องการแล้วเผาให้แข็งตัวคงรูปร่างอยู่ได้ ความเป็นมาของภาชนะดินเผา ความสำ คัญของภาชนะดินเผา ภาชนะดินเผาเป็นหลักฐานที่มีประโยชน์มากสำ หรับการศึกษาทางด้าน โบราณคดี เพราะเราสามารถศึกษารูปร่าง รูปแบบและการตกแต่ง วัสดุที่ใช้ ทำ ทำ ให้ทราบถึงความนิยม วิวัฒนาการของเทคนิคการทำ พิธีกรรมทาง ศาสนา เส้นทางการติดต่อค้าขายของพ่อค้า อาณาเขตการติดต่อในสมัย โบราณ ฯลฯ ๑


๑. วัตถุดินเผา (Terra Cotta) เป็นการเผาที่มีอุณหภูมิต่ำ กว่า ๑,๐๐๐ องศาเซลเซียส ส่วนผสมของดินปั้นที่มีดินเหนียวผสม ๒. ภาชนะดินเผาเนื้อดิน (Earthen Ware) เป็นการเผาที่มีอุณหภูมิ ประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๒๐๐ องศาเซลเซียสเป็นส่วนผสมของดินกับหิน ฟันม้า ควอทซ์ ๓. ภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งหรือเนื้อหิน (Stone Ware) เป็นการเผา ที่มีอุณหภูมิประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ องศาเซลเซียส เป็นส่วนผสมดินที่ มีหินปนอยู่ราว ๕๐% ๔. เครื่องกระเบื้อง (Porcelain) เป็นการเผาที่มีอุณหภูมิประมาณ ๑,๓๐๐ – ๑,๔๕๐ องศาเซลเซียส เป็นส่วนผสมของดินขาว (Koalin) หิน ฟันม้า หินควอทซ์ หากแบ่งตามการเคลือบผิว ภาชนะดินเผาแบ่งได้เป็น ๒ ชนิด คือ ๑. ชนิดเคลือบ (Glaze) ส่วนมากจะทำ กับภาชนะดินเผาชนิดที่ใช้ไฟแรงสูง เช่น Stoneware หรือ Porcelain ๒. ชนิดไม่เคลือบ (Unglaze) มีตั้งแต่ชนิด Terra Cotta, Earthen Ware และ Stone Ware วัตถุดินเผา ภาชนะดินเผาเนื้อดิน ภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง เครื่องกระเบื้อง ประเภทของภาชนะดินเผา 2


ภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมเขมร ผลิตขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๘ นับเป็นภาชนะดินเผาที่มีอายุ การผลิตเก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีความ สัมพันธ์กับเครื่องปั้นดินเผาจีนสมัยห้าราชวงศ์และสมัยราชวงศ์ซ่ง เชื่อกันว่า แหล่งผลิตในระยะแรกอยู่ในบริเวณที่ราบสูงพนมกุเลนในประเทศกัมพูชา ผลิต เครื่องถ้วยประเภทเคลือบสีเขียวใส เรียกว่า เครื่องถ้วยแบบกุเลน ภาชนะดินเผาวัฒนธรรมเขมรสามารถจำ แนกตามลักษณะของการเคลือบ และน้ำ ยาเคลือบออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ ๑. ประเภทเคลือบสีเขียว เป็นเครื่องปั้นดินเผาแบบแรกสุดที่ผลิตขึ้นใน อาณาจักรเขมร มีอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕ อาจผลิตจากแหล่งเตา เผาที่พนมกุเลน ๒. ประเภทเคลือบสีน้ำ ตาล มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ส่วนใหญ่ผลิต จากแหล่งเตาเผาที่อำ เภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ๓. ประเภทเคลือบสองสี เกิดขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ทำ ขึ้นจำ นวนไม่มาก นัก โดยปากภาชนะจะเคลือบสีเขียวอ่อน ส่วนคอและตัวภาชนะเคลือบสีน้ำ ตาล น่า จะได้รับแบบอย่างจากจีน ๔. ประเภทไม่เคลือบ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ ได้เกิดภาชนะเนื้อแกร่งที่ไม่ เคลือบผิว เรียกว่า ลีเดอแวง (Lie de vin) แปลว่า “ตะกอนของไวน์” ภาชนะมี สีน้ำ ตาลคล้ายไวน์เก่าในขวด 3


ภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมเขมร ประเภทเคลือบสีเขียว ประเภทเคลือบสีน้ำ ตาล 4


ภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมเขมร ประเภทเคลือบสองสี 5


ตลับ กระปุกปุ รูปทรงอันหลากหลาย ภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมเขมรมีลักษณะ รูปทรง และลวดลายประดับ ตกแต่งที่มีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ แต่หน้าที่ใช้สอยของภาชนะเหล่า นี้ยังไม่ทราบแน่ชัด จึงอาศัยเทียบเคียงการใช้งานกับภาชนะดินเผาในปัจจุบัน โดยสามารถจำ แนกภาชนะจากรูปทรงได้ดังนี้ 6


ชาม โถ รูปทรงอันหลากหลาย 7


ขวด คนโท รูปทรงอันหลากหลาย 8


ไหเท้าช้าง ไห รูปทรงอันหลากหลาย 9


ภาชนะทรงพาน ภาชนะรูปสัตว์ รูปทรงอันหลากหลาย 10


ประโยชน์ใช้สอย ภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมเขมรผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในชีวิตประจำ วันและเพื่อ ใช้ในพิธีกรรมความเชื่อต่างๆ รวมถึงเป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคม ภาชนะดินเผาที่ใช้ในชีวิตประจำ วัน เช่น หุงต้มอาหาร บรรจุน้ำ ดื่มน้ำ ใช้ มักเป็นภาชนะดินเผาเนื้อหยาบหรือเนื้อแกร่งแบบไม่เคลือบ แต่สำ หรับเก็บกัก อาหารหรือของเหลวบางอย่างจำ เป็นต้องใช้ภาชนะดินเผาแบบเคลือบเพื่อป้องกัน การรั่วซึมของของเหลวและแก็สได้ เช่น ไหสีน้ำ ตาลใช้บรรจุปลาร้า เกลือ น้ำ ผึ้ง น้ำ ตาล น้ำ มัน ข้าว พริกไทย ฯลฯ ขวดดินเผาเคลือบอาจใส่น้ำ ดื่มไว้พกพาหรือใส่ สุรา กระปุกขนาดเล็กและตลับ อาจใช้บรรจุเครื่องหอมหรือเครื่องสำ อาง ภาชนะ รูปสัตว์ต่างๆ เช่น นก ช้าง กระต่าย พบว่าภายในบรรจุปูน อาจใช้เป็นเต้าปูนกิน หมาก ภาชนะที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ภาชนะทรงพานอาจใช้ใส่ดอกไม้ หรือเครื่องหอม คนโทใช้ในการหลั่งน้ำ ทำ พิธีกรรม โถใช้ใส่เถ้าอัฐิ แหล่งเตาเผา ภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมเขมรส่วนใหญ่คงผลิตจากแหล่งเตาในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เนื่องจากมีการค้นพบแหล่งเตาเผาขนาดใหญ่ เช่น แหล่งเตาโคกลิ้นฟ้า อำ เภอละหานทราย แหล่งเตานายเจียน แหล่งเตาสวาย อำ เภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ แหล่งเตาบ้านสวาย อำ เภอเมือง แหล่งเตาบ้าน ปราสาท บ้านพลวง อำ เภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ส่วนแหล่งเตาผลิตภาชนะดิน เผาในประเทศกัมพูชาพบอยู่หลายแห่ง เช่น บริเวณที่ราบสูงพนมกุเลนและที่พระ ขรรค์แห่งกำ ปงสวาย เป็นต้น 11


ดินเกาลิน หินเขี้ยวหนุมาน หินฟันฟัม้า ดินขาว ทราย แร่เหล็ก ศิลาแลง ๑. วัตถุดิบ ในส่วนผสมของเนื้อดินปั้นจะประกอบไปด้วย ดิน (Clay) หิน เขี้ยวหนุมาน(Quartz) และหินฟันม้า (Feldspar) นอกจากวัตถุดิบหลักทั้ง ๓ อย่างแล้ว ยังมีส่วนผสมอื่นๆ อีก เช่น ทราย แร่เหล็ก ศิลาแลง และดินขาว กระบวนการผลิตภาชนะดินเผา 12


๒. การปั้น เทคนิคการปั้นแบบดั้งเดิมมี ๕ วิธี ได้แก่ การปั้นด้วยมือแบบอิสระ การขึ้นรูปทรงแบบขด การขึ้นรูปทรงแบบแผ่น การกดหรืออัดบนพิมพ์ และการ ขึ้นรูปทรงโดยใช้แป้นหมุนโดยสังเกตได้จากผิวด้านในของภาชนะดินเผาจะเป็น รอยที่มีลักษณะหมุนเวียนขวาซึ่งเกิดจากการใช้แป้นหมุนนั้นเอง กระบวนการผลิตภาชนะดินเผา 13 การปั้นปั้ด้วยมือแบบอิสระ การขึ้นรูปทรงแบบขด


๒. การปั้น เทคนิคการปั้นแบบดั้งเดิมมี ๕ วิธี ได้แก่ การปั้นด้วยมือแบบอิสระ การขึ้นรูปทรงแบบขด การขึ้นรูปทรงแบบแผ่น การกดหรืออัดบนพิมพ์ และการ ขึ้นรูปทรงโดยใช้แป้นหมุนโดยสังเกตได้จากผิวด้านในของภาชนะดินเผาจะเป็น รอยที่มีลักษณะหมุนเวียนขวาซึ่งเกิดจากการใช้แป้นหมุนนั้นเอง กระบวนการผลิตภาชนะดินเผา 14 การขึ้นรูปทรงแบบแผ่น การกดหรืออัดบนพิมพ์


๒. การปั้น เทคนิคการปั้นแบบดั้งเดิมมี ๕ วิธี ได้แก่ การปั้นด้วยมือแบบอิสระ การขึ้นรูปทรงแบบขด การขึ้นรูปทรงแบบแผ่น การกดหรืออัดบนพิมพ์ และการ ขึ้นรูปทรงโดยใช้แป้นหมุนโดยสังเกตได้จากผิวด้านในของภาชนะดินเผาจะเป็น รอยที่มีลักษณะหมุนเวียนขวาซึ่งเกิดจากการใช้แป้นหมุนนั้นเอง กระบวนการผลิตภาชนะดินเผา 15 การขึ้นรูปทรงโดยใช้แป้นป้หมุน


๓. การตกแต่งผิวภาชนะดินเผา - การทำ ลวดลายบนผิวภาชนะ เช่น การตีประทับหรือกดลาย การขูดขีด การ แต่งเติมดิน - การตกแต่งภาชนะผิวเรียบ เช่น การขัดผิว เช็ดหรือลูบผิว ทาผิวด้วยน้ำ ดิน ข้น การรมควัน - การตกแต่งด้วยการเคลือบ เช่น เคลือบสีเขียวใส เคลือบสีน้ำ ตาลจนถึงสีดำ และการเคลือบสองสีในภาชนะใบเดียวกัน กระบวนการผลิตภาชนะดินเผา 16 การทำ ลวดลายบนผิวภาชนะ ตกแต่งภาชนะผิวเรียบ ตกแต่งด้วยการเคลือบ


๔. การเคลือบ - ภาชนะดินเผาที่เคลือบสีเหลืองนวล น้ำ ตาลอ่อนจนไปถึงน้ำ ตาลแก่ เกิดจาก ส่วนผสมของเหล็กที่มีอยู่ในขี้เถ้า และเหล็กจากวัตถุดิบอื่นที่ผสมในสูตรเคลือบ โดยผ่านการเผาแบบออกซิเดชั่น (Oxidation)คือการเผาไหม้แบบสมบูรณ์ - ภาชนะดินเผาที่เคลือบสีเทา เทาอมเขียว เขียวมะกอก หรือเทาอมฟ้า เกิดจาก การเผาแบบ รีดักชั่น (Reduction) คือการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะเกิดก๊าซ คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) กระบวนการผลิตภาชนะดินเผา 17 ภาชนะดินเผาที่เคลือบสีเหลืองนวล ภาชนะดินเผาที่เคลือบสีเทา เทาอมเขียว


๕. การเผา เตาเผามีลักษณะโค้งเป็นรูปไข่ ขนาดความกว้างประมาณ ๑.๕ เมตร ยาวประมาณ ๑๕ เมตร พื้นที่ภายในเตาเผาจะแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ช่อง ใส่ไฟ ห้องวางภาชนะ และปล่องไฟ กระบวนการผลิตภาชนะดินเผา 18


ลวดลายตกแต่งบนภาชนะดินเผา ลายขูดขีดเป็นป็ร่องตื้นๆ เช่น ขีดเป็นป็เส้นตรงหรือเส้นขนานในแนวนอน ลายกากบาทชั้นเดียว ลายกากบาทสองชั้น ลายซิกแซ็ก ลายเส้นคดโค้ง ลายคลื่น ลายโค้งแบบระย้า ลายรูปสัตว์ เป็นป็ต้น 19


ลวดลายตกแต่งบนภาชนะดินเผา ลายขูดขีดเป็นป็ร่องตื้นๆ เช่น ขีดเป็นป็เส้นตรงหรือเส้นขนานในแนวนอน ลายกากบาทชั้นเดียว ลายกากบาทสองชั้น ลายซิกแซ็ก ลายเส้นคดโค้ง ลายคลื่น ลายโค้งแบบระย้า ลายรูปสัตว์ เป็นป็ต้น 20


บรรณนานุกรม 21 แหล่งที่มาข้อมูลทั้งหมด : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ (ภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมเขมร) https://www.finearts.go.th/surinmuseum/view/10541- %E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0 %E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9C% E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E 0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0 %B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%A3 อ้างอิงภาพจาก : https://www.oknation.net/post/detail/634f4f7988e11c41830d4e34


" ภาชนะดินเผา "


Click to View FlipBook Version