เทคนิคการสอน
แบบ CLT
(Communicative Language Teaching)
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
คำนำ
เอกสารเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา
เทคนิคการเรียนการสอนตามแนวการศึกษาเทคนิคการสอนแบบ
CLT (Communicative Language Teaching) ของหลักสูตรการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในการจัดทำครั้งนี้ได้วิเคราะห์
หลักสูตรนำเสนอ หลักการ จุดหมาย สาระและมาตรฐาน
การเรียนรู้ เพื่อให้เป็นรูปธรรม ในการจัดการเรียนการสอน
เอกสารเล่มนี้ได้อาศัยแนวทางการจัดกิจกรรมที่ออกแบบการ
จัดการเรียนรู้ขึ้นเอง ซึ่งใช้สาระการเรียนรู้เป็นฐานในการสร้าง
หน่วยการเรียนรู้ตามหลักตามหลักสูตรแกนกลาง
หากการจัดทำครั้งนี้มีประเด็นที่ยังไม่สมบูรณ์ในด้านเนื้อหา
หลักสูตรผู้จัดทำยินดีที่จะแก้ไขให้เหมาะสมกับการนำไปใช้สอนให้
สอดคล้องตามเป้าหมายของหลักสูตรต่อไป
คณะผู้จัดทำ
สารบัญ หน้า
1
เรื่อง 2
ความหมาย 3
ลักษณะกิจกรรมการสอนใช้เทคนิคการสอนแบบ CLT 4
ขั้นตอนการสอนโดยใช้เทคนิคแบบ CLT 5
บทบาทครู และบทบาทนักเรียน 6
ข้อดี และข้อด้อย ของการจัดการสอนแบบ CLT
ตัวอย่างแผนการสอนโดยการจัดการสอนแบบ CLT
ภาคผนวก
ความหมาย
การสอนภาษาแบบสื่อสาร (Communicative Language Teaching - CLT)
คือ แนวคิดซึ่ง เชื่อมระหว่างความรู้ทางภาษา (linguistic knowledge) ทักษะทาง
ภาษา (language skill) และภาษาเพื่อสื่อสาร (Canale & Swain, 1980 ;
Widdowson, 1978). คเนล และสเวน (1980) และเซวิกนอน (Savignon, 1982)
ได้แยกองค์ประกอบของความสามารถในการสื่อสารไว้ 4 องค์ประกอบ ดังนี้
1. ความสามารถทางด้านไวยากรณ์หรือโครงสร้าง (grammatical
competence) หมายถึงความรู้ทางด้านภาษา ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์
โครงสร้างของคำ ประโยค ตลอดจนการสะกดและการออกเสียง
2. ความสามารถด้านสังคม (sociolinguistic competence) หมายถึงการใช้คำ
และโครงสร้างประโยคได้เหมาะสมตามบริบทของสังคม เช่น การขอโทษ
การขอบคุณ การถามทิศทางและข้อมูลต่าง ๆ และการใช้ประโยคคำสั่ง เป็นต้น
3. ความสามารถในการใช้โครงสร้างภาษาเพื่อสื่อความหมายด้านการพูด และ
เขียน (discourse competence) หมายถึง ความสามารถในการเชื่อมระหว่าง
โครงสร้างภาษา (grammatical form) กับความหมาย (meaning) ในการพูดและ
เขียนตามรูปแบบ และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
4. ความสามารถในการใช้กลวิธีในการสื่อความหมาย (strategic competence)
หมายถึง การใช้เทคนิคเพื่อให้การติดต่อสื่อสารประสบความสำเร็จโดยเฉพาะการ
สื่อสารด้านการพูด ถ้าผู้พูดมีกลวิธีในการที่จะไม่ทำให้การสนทนานั้นนั้นหยุดลงกลาง
คัน เช่นการใช้ภาษาท่าทาง (body language) การขยายความโดยใช้คำศัพท์อื่นแทน
คำที่ผู้พูดนึกไม่ออก เป็นต้น
1
ลักษณะกิจกรรมการสอนใช้
เทคนิคการสอนแบบ CLT
นูนัน และแลมป์ (Nunan & Lamb, 1996) และนูนัน (Nunan, 1991) อธิบายลักษณะ
กิจกรรม การสอนตามแนว CLT ดังนี้ "กิจกรรมการสอน CLT คือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ
การใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารในสถานการณ์จริง หรือการใช้ภาษาอย่างมีความหมาย
กิจกรรมการสอนตาม แนว CLT เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล
(information sharing) การปฏิสัมพันธ์ (interaction)"
CLT มักจะถูกเรียกว่า เป็นแนวคิด (approach) มากกว่าวิธีสอน (method) เพราะ
CLTส่วนมากแล้วจะกล่าวถึงแนวคิดที่กว้างๆ ยืดหยุ่นตามความต้องการของผู้เรียนและสิ่ง
แวดล้อม ของผู้เรียน ลักษณะพื้นฐานของ CLT เป็นดังนี้
- เน้นทักษะการฟังและการพูด
- เน้นการสอนที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (student-centered) ในบรรยากาศการเรียนที่
สนุกสนาน
- นักเรียนได้เคลื่อนไหวระหว่างเรียนมากกว่าที่จะนั่งอยู่บนเก้าอี้เพียงอย่างเดียว ในการทำ
กิจกรรมที่ผู้สอนเป็นผู้เตรียมบทเรียนและกำกับให้เป็นไปตามแผนการสอน
- เน้นให้นักเรียนใช้ภาษาอังกฤษกันเองในกลุ่มมากกว่าการพูดกับครูผู้สอน
- ส่วนใหญ่ไม่มีการใช้หนังสือเรียน
- ไม่เน้นสอนไวยากรณ์ และผู้สอนอาจไม่ได้แก้ไขไวยากรณ์ที่ผิดของนักเรียนในทันทีทันใด
2
ขั้นตอนการสอนโดยใช้เทคนิคแบบ CLT
1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมและอยากรู้อยากเรียนในบทใหม่ เนื้อหาจะเชื่อมโยงไปสู่สาระ
สำคัญของบทนั้น ๆ เมื่อครูผู้สอนเห็นว่าผู้เรียนมีความพร้อม เกิดความสนุก และสนใจอยาก
เรียนแล้ว ก็เริ่มเรียนเนื้อหาต่อไป กิจกรรมที่กำหนดไว้ในขั้นนี้มีหลากหลาย เช่น เล่นบทบาท
สมมุติ ปริศนาคำทาย เพื่อทบทวนความรู้ที่เรียนมาแล้ว
2.ขั้นการใช้ภาษา
มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนนำคำหรือประโยคที่ฝึกมาแล้วมาใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ในรูป
แบบกิจกรรมหลากหลาย เพื่อให้เกิดความคล่องแคล่ว (Fluency) และเกิดความสนุกสนาน
เป็นขั้นที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้ทำกิจกรรม ครูคอยให้ความช่วยเหลือ ถ้านักเรียนผิดพลาด อย่า
ขัดจังหวะ ให้ปล่อยไปก่อน เพื่อให้นักเรียนรู้สึกสบายใจ กิจกรรมที่กำหนดไว้มีหลากหลาย
เช่น การเล่นเกม การทำชิ้นงาน การทำแบบฝึก การนำเสนอผลงาน
3.ขั้นฝึก
ในขั้นนี้ผู้เรียนจะได้ฝึกใช้ภาษาที่เรียนมาแล้วในขั้นให้ความรู้ ให้ผู้เรียนใช้ภาษาได้ถูกต้อง
ขณะเดียวกันก็เน้นเรื่องการใช้ภาษาให้คล่องแคล่ว (Fluency) การฝึกอาจจะฝึกทั้งชั้น
เป็นกลุ่ม เป็นคู่ หรือรายบุคคล ขั้นนี้ครูจะแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียนในการใช้ภาษา ซึ่ง
การแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นควรทำหลังการฝึก หากทำระหว่างที่ผู้เรียนกำลังลองผิดลองถูกอยู่
ความมั่นใจที่จะใช้ภาษาให้คล่องแคล่วอาจลดลงได้ กิจกรรมที่กำหนดไว้ในคู่มือครูและ
แผนการจัดการเรียนรู้ มีทั้งในลักษณะที่กล่าวมานี้ และในลักษณะที่เปิดโอกาสให้นักเรียน
ได้ฝึกอย่างอิสระ Learning by Doing
4.ขั้นให้ความรู้/การนำเสนอให้กับผู้เรียน
ในขั้นนี้ครูจะให้ข้อมูลทางภาษาแก่ผู้เรียน มีการนำเสนอศัพท์ใหม่เนื้อหาใหม่ให้เข้าใจทั้งรูป
แบบและความหมาย ในขั้นนี้ครูเป็นผู้ให้ความรู้ทางภาษาที่ถูกต้อง และเป็นแบบอย่างที่ถูก
ต้องในการออกเสียง คือ ผู้ให้ความรู้ (Informant) รูปแบบของภาษาจึงเน้นที่ความถูกต้อง
(Accuracy) เป็นหลัก
5.ขั้นสรุป
เป็นขั้นสุดท้ายของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในแต่ละชั่วโมง เพื่อสรุปสิ่งที่ได้เรียน
แล้ว กิจกรรมที่เสนอแนะไว้อาจจะเป็นการนำเสนอรายงานของกลุ่ม ทำแบบฝึกหัดเพื่อสรุป
ความรู้ หรือเล่นเกมเพื่อทดสอบสิ่งที่เรียนมาแล้ว
3
บทบาทครู และบทบาทนักเรียน
บทบาทครู
ครูมีบทบาทที่สำคัญ 3 บทบาท คือผู้ดำเนินการ (organizer, facilitator)เตรียมและดำเนิน
การจัดกิจกรรม ผู้แนะนำหรือแนะแนว (guide) ขั้นตอนและกิจกรรมต่าง ๆ และเป็นผู้วิจัย
และผู้เรียน (researcher, learner) เรียนรู้พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนแต่ละคน
นอกจากนั้นครูอาจมีบทบาทอื่น ๆ เช่น ผู้ให้คำปรึกษา(counselor) ผู้จัดการกระบวนการ
กลุ่ม (group processmanager) ครูตามแนวการสอนแบบCLT เป็นครูที่เป็นศูนย์กลาง
น้อยที่สุด (less teacher centered) นั่นคือครูมีหน้าที่ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อการ
สื่อสารและในช่วงที่นักเรียนทำกิจกรรมครูจะกระตุ้นให้กำลังใจช่วยเหลือให้ผู้เรียนสามารถ
ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้ได้ความหมายและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ อันเป็นการเชื่อม
ช่องว่างระหว่างความสามารถทางไวยากรณ์ (grammar competence) และความ
สามารถทางด้านสื่อสาร (communicativecompetence) ของผู้เรียน
บทบาทนักเรียน
บรีนและแคนดริน (อ้างใน Richards & Rodgers, 1995) อธิบายบทบาทของผู้เรียนตาม
แนว CLT ผู้เรียนคือผู้ปรึกษา (negotiator) การเรียนรู้เกิดจากการปรึกษาหารือในกลุ่มผู้
เรียน โดยผู้ สอนจัดกิจกรรม ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ จุดมุ่งหมาย
หลักในการทำ กิจกรรมกลุ่มคือมุ่งให้ผู้เรียนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รู้จักการให้พอ ๆ กับการ
รับ
4
ข้อดี และข้อด้อย
ของการจัดการสอนแบบ CLT
ข้อดี
1. ผู้เรียนมีโอกาสฝึกปฏิบัติทางภาษาได้สมจริงตามสถานการณ์ต่างๆ
2. ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนเพราะได้เรียนสิ่งที่มีความหมายต่อตน และสามารถนำ
ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
3. ผู้เรียนมีโอกาสทำงานร่วมกับผู้อื่น ทั้งบทบาทผู้นำและผู้ตามของกลุ่ม
4. ผู้เรียนได้ฝึกใช้ความคิดในการเรียนมากขึ้น เพราะลักษณะกิจกรรมส่วนใหญ่เป็น
กิจกรรมแก้ปั ญหา
ข้อด้อย
1. การสอนภาษาตามแนวสื่อสารนี้ ผู้สอนต้องมีความสามารถในการจัดสื่อ กิจกรรมที่หลาก
หลาย เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกกิจกรรมทางภาษาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้มาก
2. วิธีการสอนนี้จำเป็นที่ผู้สอนต้องมีความอดทนเป็นอย่างมาก เพราะในขณะทำกิจกรรมผู้
เรียนอาจขาดวินัย และไม่พยายามใช้ภาษาต่างประเทศในการสื่อสาร ซึ่งผู้สอนต้องคอยให้
ความดูแลและคอยกระตุ้นการใช้ภาษาของผู้เรียนตลอดเวลา
3. ผู้สอนต้องมีความรู้ภาษาเป้าหมายเป็นอย่างดี
5
ตัวอย่าง
แผนการสอนโดยการจัดการสอนแบบ CLT
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
ภาคผนวก
24
ตัวอย่าง การจัดการสอนโดยใช้เทคนิคแบบ CLT
25
จัดทำโดย
นางสาวชลปรียาพร หาญรบ 611505107
นางสาวธนัญกรณ์ บุญแจ้ง 611505208
นางสาวพลอยมณี คำหงษา 611505214
นางสาวประภาพร บัวสิม 611505229
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
เสนอ
อาจารย์รัชกร ประสีระเตสัง
รายวิชา ทักษะและเทคนิคการสอน
รหัสวิชา 5002614