The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

OK นวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ครูนุชมาศ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by nutchamas.sa, 2023-09-25 09:24:50

OK นวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ครูนุชมาศ

OK นวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ครูนุชมาศ

นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๑


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๒ การนำเสนอผลงานนวัตกรรม “นวัตกรรมสร้างคนดี” โครงการโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม สพฐ. ชื่อผลงานนวัตกรรม รูปแบบการสร้างสรรค์คนดี KACHINO MODEL ชื่อเจ้าของผลงาน นางสาวนุชมาศ สวัสดิ์พาณิชย์ โรงเรียน/หน่วยงาน โรงเรียนปอพานพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก สังกัด สพป./สพม. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม โทรศัพท์ ๐๔๓ ๙๘๙ ๐๖๖ โทรสาร โทรศัพท์มือถือ ๐๘๓ ๓๖๑ ๓๘๐๑ E – Mail Nutchamas.sa@gmail.com ประเภทผลงาน ด้านการบริหาร ด้านการเรียนการสอน สอดคล้องกับคุณลักษณะโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ความพอเพียง ความกตัญญู ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบ อุดมการณ์คุณธรรม คุณธรรมอัตลักษณ์ (โปรดระบุ) ........................................................................... รายละเอียดเอกสารการนำเสนอผลงานนวัตกรรม ๑. ความสำคัญของนวัตกรรม นวัตกรรมรูปแบบการสร้างสรรค์คนดี KACHINO MODEL เป็นนวัตกรรมด้านจัดการเรียนการสอน ที่ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อใช้ในการสร้างสรรค์คนดีอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้บริบทของสถานศึกษาและ กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกๆฝ่าย โดยมีกระบวนการเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน Peer-Assisted Learning เป็น การจัดการความรู้ก่อนลงมือทำกิจกรรม (Learning Before Doing) เป็นฟันเฟืองสำคัญของโมเดลสู่ ความสำเร็จ สำหรับจุดเด่นของนวัตกรรม รูปแบบการสร้างสรรค์คนดี KACHINO MODEL เป็นความร่วมมือ กันในการพัฒนาคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยนำกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม อัตลักษณ์ของโรงเรียนทั้ง 8 กิจกรรม มาใช้ในการดำเนินเรื่องวางแผนการพัฒนาผู้เรียนผ่านกระบวนการ PLC ซึ่งอยู่ ภายใต้KACHINO MODEL ที่ขับเคลื่อน ส่งผลให้เกิด ความรัก ความสามัคคีในโรงเรียน รุ่นพี่ให้คำแนะนำแก่รุ่นน้อง พร้อมทั้ง การทำให้ดูเป็นตัวอย่าง การเป็นแบบอย่างที่ดี นักเรียนทุกคนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง จนก่อเกิด ความประพฤติที่ดีงาม เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม ส่งผลให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และประสบผลสำเร็จทุกกิจกรรม การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน ให้ตระหนักในบทบาทหน้าที่ความ


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๓ รับผิดชอบของนักเรียน ในการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียน และเป็นต้นแบบที่ดีงามของนักเรียน และพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนแบบองค์รวม เน้นพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบและเชิงบวก และ ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนที่สมบูรณ์แบบ ด้วยการเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข มีทักษะในการใช้ชีวิตใน ศตวรรษที่ ๒๑ ได้ดี และถือเป็นการดำเนินงานเพื่อสืบสานพระราชปณิธานเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตามพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ซึ่งมีพระราชกระแสรับสั่งให้ “ช่วยสร้าง คนดีให้บ้านเมือง” สภาพปัญหาที่พบในโรงเรียนคือ นักเรียนมีความก้าวร้าวเกิดขึ้นบ่อยครั้งตามที่ปรากฏเป็นข่าวลง ในโทรทัศน์และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ สาเหตุที่เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ได้แก่ นิสัยส่วนตัวของเด็ก เช่น มีอารมณ์ ร้อน ไม่ฟังใคร เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบรวมถึงฟุ่มเฟือยกับสิ่งที่ไม่จำเป็น และการเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหา ยังไม่ถูกต้อง อีกประเด็นคือ มาจากผู้ปกครองไม่มีเวลาให้ลูก ทำให้ต้องหาสิ่งอื่นมาทดแทนให้เพื่อลูกไม่เหงา เกินไป ส่งผลให้บุคคลในสถาบันครอบครัวเกิดความห่างเหินซึ่งกันและกัน จากสภาพปัญหาดังกล่าวทำให้ครูควรปลูกฝังเรื่องของกิริยามารยาท รวมถึงการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น จึงมีแนวคิดในการพัฒนาคุณธรรมผู้เรียนโดยจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังคุณธรรมให้กับนักเรียน ซึ่งการจัดการเรียน การสอนในรูปแบบการสร้างสรรค์คนดี KACHINO MODEL เป็นกิจกรรมที่ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรมนำชีวิต รวมถึงการกตัญญูต่อบุพการี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ๒. จุดประสงค์และเป้าหมายของผลงานนวัตกรรม จุดประสงค์ ๒.๑. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน มีคุณธรรมตามอัตลักษณ์คุณธรรมของโรงเรียน ๒.๒. เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมในโรงเรียนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เป้าหมาย เป้าหมายเชิงปริมาณ : จัดกิจกรรมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๑ ในคาบโฮมรูม โดย ใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน Peer-Assisted Learning เป้าหมายเชิงคุณภาพ : นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑/๑ โรงเรียนปอพานพิทยาคม รัชมัง คลาภิเษก ปีการศึกษา ๒๕๖๕ จำนวน ๔๒ คน เกิดความตระหนักในความพอเพียง มีคุณธรรมตามอัตลักษณ์ คุณธรรมของโรงเรียน บนพื้นฐานของเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน Peer-Assisted Learning ๓. กระบวนการผลิตนวัตกรรม นวัตกรรมรูปแบบการสร้างสรรค์คนดี KACHINO MODEL เป็นนวัตกรรมการด้านการจัดการเรียน การสอน พัฒนากิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม ด้านความรับผิดชอบ และพอเพียง ตามคุณธรรมอัตลักษณ์ของ โรงเรียน มีกระบวนการดำเนินงานภายใต้กรอบแนวคิด ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม ดังนี้


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๔ การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม (Activity-based Learning) ในการยึดหลักการให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ ด้วยตนเอง “Child Centered” การเรียนโดยการปฏิบัติจริง Learning by Doing และปฏิบัติเพื่อให้เกิดการ เรียนรู้และแก้ปัญหาได้ Doing by Learning เน้น“สอนแต่น้อย ให้เรียนมากๆ Teach less…Learn More” โดยครูได้จัดการเรียนแบบ Learning by Doing ใช้ “กิจกรรม Activity” เป็นหลักในการเรียนการ สอน โดยการ “ปฏิบัติจริง Doing” ในเนื้อหาทุกขั้นตอนของการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทุกคนใน กลุ่มเป็นผู้ปฏิบัติ คุณครูเป็นพี่เลี้ยงและเทรนเนอร์ กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้แก่ การพูดคุยแสดงความคิดเห็น และการลงมือ ปฏิบัติ และการประยุกต์ใช้ ซึ่งกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning นั้น จะเน้นให้ผู้เรียน เรียนรู้และ สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง จากการประสานงานร่วมกันระหว่างผู้เรียน โดยมีผู้สอนคอยชี้แนะและให้ คำแนะนำ ซึ่งวิธีการเหล่านี้ นับเป็นขั้นที่สูงกว่าการเรียนรู้ที่เกิดจากการฟัง การท่องจำ การเห็น การรับชม หรือที่เรียกว่า Passive Learning ทำให้สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ถึง 90% การออกแบบนวัตกรรม KACHINO Guidance Model โดยใช้กระบวนการวงจรคุณภาพ P-D-CA มี 5 ขั้นตอน ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายมีรายละเอียดการพัฒนา ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สำรวจและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการเกี่ยวกับการจัดกระบวนการ เรียนการสอนของนักเรียนในโรงเรียน ขั้นตอนที่ 2 ขั้นวางแผน (Plan) เป็นการออกแบบนวัตกรรมกระบวนการเรียนการสอนที่สอดคล้อง กับบริบทของโรงเรียน ขั้นตอนที่ 3 ขั้นปฏิบัติตามแผน (Do) เป็นสร้างความเข้าใจกับทุกฝ่าย เพื่อพัฒนานวัตกรรมไปใช้ใน การดำเนินการ มีการกำหนดแนวทาง วิธีการดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ เน้นการพัฒนาศักยภาพ ของผู้เรียน ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตรวจสอบ (Check) เป็นการประเมินผลและตรวจสอบการใช้นวัตกรรม ขั้นตอนที่ 5 ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Action) เป็นการสะท้อนผลการดำเนินงานตามสภาพจริง (Reflection) ผู้เรียนจะต้องมีคุณภาพ องค์ประกอบของการประเมินการเรียนการสอนตามแนวคิดเชิงระบบ ภาพที่ 1 แสดงการประเมินการเรียนการสอนตามแนวคิดเชิงระบบ ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๕ ภาพที่ 2 แสดงขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ รูปแบบและวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน KACHINO Model K = Knowledge มีความรู้ทางวิชาการ A = Awareness มีความตระหนักรู้ นำความรู้ไปใช้อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม C = Can สามารถเรียนรู้ได้ สามารถทำได้ สามารถคิดเชื่อมโยงได้ H = Head พัฒนาสมอง = Heart พัฒนาจิตใจ = Hand พัฒนาทักษะการปฏิบัติ = Health พัฒนาสุขภาพ = Happy เรียนอย่างมีความสุข I = Inquiry Method การเรียนรู้แบบสืบเสาะ N = Nonstop ไม่หยุดนิ่งในการเรียนรู้ O = Open mind เปิดใจที่จะเรียนรู้ ---------------------------------------------------------------------------------- Five Step to development Q = Learning to Question = ตั้งประเด็นคำถาม S = Learning to Search = สืบค้นความรู้ C = Learning to Construct = สรุปองค์ความรู้ C = Learning to Communicate = สื่อสารนำเสนอ S = Learning to Serve = บริการสังคม ---------------------------------------------------------------------------------- L = Literacy = ทักษะการรู้หนังสือ อ่านออก เขียนได้ N = Numeracy = ทักษะพื้นฐานด้านการคิดคำนวณ R = Reasoning = ทักษะการใช้เหตุผล ----------------------------------------------------------------------------------


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๖ ภาพที่ 3 แสดงรูปแบบและวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน KACHINO Model การสอนแบบ KACHINO Model มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ขั้นสร้างความรู้(K= Knowledge + A= Awareness)


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๗ นักเรียนได้รับหน้าที่ของตนเองในกลุ่มในการช่วยกันทำงานตามกลุ่มที่ตนเองได้รับมอบหมาย ช่วยกัน สืบค้นข้อมูล และการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนนักเรียนในกลุ่มเกิดทักษะในการเรียนรู้ต่างๆ การใช้ เทคโนโลยีการคิดวิเคราะห์หรือการตัดสินใจ 2.ขั้นสร้างศักยภาพ (C= Can+ 5H= Head/ Heart/ Hand/ Health/ Happy) นักเรียนในกลุ่มการเรียนรู้ทุกคนจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบ สามารถเรียนรู้ได้ สามารถทำได้ สามารถ คิดเชื่อมโยงได้และพยายามทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ โดยครูจะมอบหมายงานให้ใน กลุ่ม โดยในกลุ่มจะต้องแบ่งหน้าที่กันเองโดยครูมีหน้าที่เป็นแค่ Coaching ให้นักเรียนเท่านั้น ในขั้นนี้นักเรียน จะได้พัฒนาในด้านต่างๆ เช่น พัฒนาสมอง พัฒนาจิตใจ พัฒนาทักษะการปฏิบัติพัฒนาสุขภาพ มีความสุข 3.ขั้นสร้างนวัตกรรม (I= Inquiry Method+ N= Nonstop) นักเรียนจะได้เรียนรู้แบบสืบเสาะ มีการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี มีทักษะในการคิดวิเคราะห์การ แก้ปัญหา Problem Solving มีความคิดสร้างสรรค์สามารถนำไปใช้ในการทำงานได้ สามารถพัฒนาวิธีการ ใหม่ๆ ที่ช่วยให้การทำงานดีขึ้น สามารถใช้ทักษะทางความคิด เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาให้ ดีกว่าขึ้น 4. ขั้นการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ (O= Open mind) นักเรียนจะนำผลงานของกลุ่มตนเองร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงผลงานของกลุ่มตนเอง มีการ แลกเปลี่ยนแนวความคิด พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะอย่างใจกว้าง มีการตอบคำถามเพื่อทดสอบความเข้าใจของ เพื่อนในห้องเรียน KACHINO Model สามารถนำมาใช้ผ่านรูปแบบกิจกรรม 3 กิจกรรม ดังนี้ 1. กิจกรรมมหิงสาสายสืบ ความเป็นมาของโครงการมหิงสาสายสืบ โครงการมหิงสาสายสืบ พัฒนามาจากโครงการรางวัล จอห์น มัวร์ อวอร์ด (The John Muir Award) ซึ่งเป็น โครงการที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศสก็อตแลนด์และประสบผลสำเร็จในการดำเนินโครงการเป็นอย่างมาก โดยมี แนวคิดสำคัญคือการเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้สำรวจ เรียนรู้และใกล้ชิดกับธรรมชาติซึ่งจะช่วยพัฒนาให้เกิด จิตสำนึกรักและหวงแหนในธรรมชาติ โครงการมหิงสาสายสืบ คืออะไร ? โครงการมหิงสาสายสืบ เป็นโครงการที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548 โดยมุ่งเน้นให้เยาวชนพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ทักษะ การทำงานร่วมกันเป็นทีมและส่งเสริมให้เยาวชน ได้มีโอกาสค้นหาและพัฒนาศักยภาพขอตน โดยการรวมกลุ่มทำกิจกรรมที่ท้าทายความสามารถในการสำรวจ ดูแลรักษาพื้นที่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนผ่านกิจกรรมการ “ค้นหา” พื้นที่ธรรมชาติที่กลุ่มมี ความสนใจแล้วจึงลงมือ “สำรวจ” พื้นที่นั้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ตลอดจนดำเนินการ “อนุรักษ์” พื้นที่ ดังกล่าวด้วยวิธีการต่างๆ ที่กลุ่มสามารถทำได้จากนั้นจึงนำประสบการณ์ความสำเร็จที่กลุ่มได้รับไป “แบ่งปัน” หรือเผยแพร่ ให้บุคคลอื่นได้รับรู้รับทราบและเห็นถึงประโยชน์ความสำคัญของพื้นที่นั้นต่อไป แนวคิดของโครงการคือ การเปิดโอกาสให้เด็กที่สนใจในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ใกล้ชิดกับ ธรรมชาติ ผ่านกิจกรรม 4 ระดับความท้าทาย จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งในด้าน (มิติ) วิทยาศาสตร์ และสังคม อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กและเยาวชนทำแล้วรู้สึกมีความสุข สนุกสนาน และไม่ใช่ “การ


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๘ แข่งขัน” เพื่อชิงรางวัล แต่เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้เยาวชนได้แข่งขันกับตัวเอง ท้าทายศักยภาพในตัวเองใน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น แนวทางการดำเนินกิจกรรม 4 ระดับความท้าทาย ขั้นค้นหา ➢ พื้นที่ตอบโจทย์กับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินโครงการ ➢ กำหนดขอบเขตพื้นที่ให้ชัดเจน ➢ ที่มา/ประวัติของพื้นที่/ความสำคัญ/ระยะทาง/การเดินทาง/ความปลอดภัย ➢ การขออนุญาตเข้าใช้พื้นที่ ขั้นสำรวจ ➢ ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ - ดิน น้ำ อากาศ/ภูมิประเทศ ➢ ลักษณะทางชีวภาพ - สิ่งมีชีวิตที่พบจริงในพื้นที่ทั้งพืชและสัตว์ รวมถึงสิ่งมีชีวิตในน้ำและบนบก ➢ ข้อมูลเจาะลึกของสิ่งที่สนใจ - รูปร่าง/ลักษณะ/วงจรชีวิต - ปัจจัยการดำรงชีวิต/การเจริญเติบโต - ความสำคัญ(ต่อพื้นที่/ต่อระบบนิเวศ)/ประโยชน์/สรรพคุณ ➢ การเชื่อมโยงข้อมูลเป็น “ระบบนิเวศ” ขั้นอนุรักษ์ ➢ ใช้ข้อมูลจากขั้นสำรวจและบริบทพื้นที่เป็นตัววางแนวทางของการใช้กิจกรรม ➢ กิจกรรมเป็นรูปธรรม/จับต้องได้/มีผลการดำเนินงาน/เกิดประโยชน์ยั่งยืน ➢ ขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมาย ขั้นแบ่งปัน ➢ วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย (ทำกับใคร/จำนวนกี่คน) แล้วจึงคิดกิจกรรม ➢ กิจกรรมที่เป็นประโยชน์/น่าสนใจ (เกิดประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมาย) ➢ เผยแพร่สิ่งที่ได้จาก 4 ระดับความท้าทาย


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๙ ภาพที่ 4 กิจกรรมการเรียนการสอนผ่านรูปแบบ KACHINO MODEL 2. การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) ครูได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการลงมือทำ ครูเป็นผู้กระตุ้นเพื่อนำความ สนใจที่เกิดจากตัวนักเรียนมาใช้ในการทำกิจกรรมค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวนักเรียนเอง นำไปสู่การเพิ่มความรู้ที่ ได้จากการลงมือปฏิบัติการฟังและการสังเกต โดยนักเรียนมีการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม ที่จะ นำมาสู่การสรุปความรู้ใหม่ มีการเขียนกระบวนการจัดทำโครงงาน ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานโดยมีทั้งหมด 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นให้ความรู้พื้นฐาน ครูให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำโครงงานก่อนการเรียนรู้เนื่องจากการ ทำโครงงานมีรูปแบบและขั้นตอนที่ชัดเจนและรัดกุม ดังนั้นนักเรียนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ เกี่ยวกับโครงงานไว้เป็นพื้นฐาน เพื่อใช้ในการปฏิบัติขณะทำงานโครงงานจริง ในขั้นแสวงหาความรู้ 2. ขั้นกระตุ้นความสนใจ ครูเตรียมกิจกรรมที่จะกระตุ้นความสนใจของนักเรียน โดยต้องคิดหรือ เตรียมกิจกรรมที่ดึงดูดให้นักเรียนสนใจ ใคร่รู้ถึงความสนุกสนานในการทำโครงงานหรือกิจกรรมร่วมกัน โดย กิจกรรมนั้นอาจเป็นกิจกรรมที่ครูกำหนดขึ้น หรืออาจเป็นกิจกรรมที่นักเรียนมีความสนใจต้องการจะทำอยู่แล้ว ทั้งนี้ในการกระตุ้นของครูจะต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนเสนอจากกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ผ่านการจัดการเรียนรู้ของ


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๑๐ ครูที่เกี่ยวข้องกับชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่หรือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง 3. ขั้นจัดกลุ่มร่วมมือ ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกันแสวงหาความรู้ใช้กระบวนการกลุ่มในการวางแผน ดำเนินกิจกรรม โดยนักเรียนเป็นผู้ร่วมกันวางแผนกิจกรรมการเรียนของตนเอง โดยระดมความคิดและหารือ แบ่งหน้าที่เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน หลังจากที่ได้ทราบหัวข้อสิ่งที่ตนเองต้องเรียนรู้ในภาคเรียนนั้นๆ เรียบร้อยแล้ว 4. ขั้นแสวงหาความรู้ ในขั้นแสวงหาความรู้มีแนวทางปฏิบัติสำหรับนักเรียนในการทำกิจกรรม ดังนี้ นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมโครงงาน ตามหัวข้อที่กลุ่มสนใจ นักเรียนปฏิบัติหน้าที่ของตนตามข้อตกลงของ กลุ่ม พร้อมทั้งร่วมมือกันปฏิบัติกิจกรรม โดยขอคำปรึกษาจากครูเป็นระยะเมื่อมีข้อสงสัยหรือปัญหาเกิดขึ้น นักเรียนร่วมกันเขียนรูปเล่ม สรุปรายงานจากโครงงานที่ตนปฏิบัติ 5. ขั้นสรุปสิ่งที่เรียนรู้ ครูให้นักเรียนสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากการทำกิจกรรม โดยครูใช้คำถาม ถาม นักเรียนนำไปสู่การสรุปสิ่งที่เรียนรู้ 6. ขั้นนำเสนอผลงาน ครูให้นักเรียนนำเสนอผลการเรียนรู้โดยครูออกแบบกิจกรรมหรือจัดเวลาให้ นักเรียนได้เสนอสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้เพื่อให้เพื่อนร่วมชั้น และนักเรียนอื่นๆในโรงเรียนได้ชมผลงานและเรียนรู้ กิจกรรมที่นักเรียนปฏิบัติในการทำโครงงาน ภาพที่ 5 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๑๑ ภาพที่ 6 การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน โครงงานสบู่จากใยไหม โครงงานลูกประคบสมุนไพร โครงงานกระถางจากกากชา โครงงานลิปสติกจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ โครงงานเตาเผารักษ์โลก นำเสนอโครงงาน การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning)


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๑๒ 3. กิจกรรมแนะแนว ได้ดำเนินการช่วยเหลือนักเรียนโดยการให้คำปรึกษาเบื้องต้น มีการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา เช่น กิจกรรมคู่บัดดี้ กิจกรรมสายรหัส กิจกรรมซ่อมเสริม กิจกรรมสื่อสารกับผู้ปกครอง กิจกรรมในห้องเรียน จากการดำเนินการดังที่กล่าวมาส่งผลให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่อย่าง พอเพียง และปฏิบัติตนอยู่ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้นักเรียนยังมีผลงาน มี ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ และก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก การนำนวัตกรรม KACHINO Guidance Model เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยกระบวนการ Active learning เน้นผู้เรียนได้คิดได้ลงมือทำ เพื่อให้นักเรียนเป็นคนมีความสุข เข้าใจตนเองและผู้อื่น เป็นมนุษย์ที่มี ความสมบูรณ์ เป็นคนดี มีความรู้ ความสามารถ มุ่งสู่ตลาดแรงงาน ผลที่เกิดจากการนำนวัตกรรมไปใช้ 1. นักเรียนรู้จักตนเอง รักและเห็นคุณค่าในตนเอง รู้จักผู้อื่น ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข 2. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพจิตที่ดี ร่าเริง แจ่มใจ รู้ทันความเปลี่ยนแปลงของ สังคม 3. นักเรียนเป็นคนดีมีจิตใจอ่อนโยน รู้จักแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่น มีจิตสาธารณะ 4. นักเรียนเป็นคนเก่ง กล้าแสดงออก 5. นักเรียนมีกระบวนคิดเป็นระบบ คิดเป็น แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ นักเรียนเป็นคนเก่ง กล้าแสดงออก นักเรียนมีจิตสาธารณะ


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๑๓ ภาพที่ 7 การดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบ KACHINO MODEL 4. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ 4. 1 ผลที่เกิดตามจุดประสงค์ ผลการปฏิบัติตามกิจกรรมที่ออกแบบครอบคลุมและเป็นไป ตามจุดประสงค์ทุกจุดประสงค์โดยมี หลักฐานหรือข้อมูลประกอบ ดังนี้ 1. ผลการศึกษาพฤติกรรมทางการเรียนด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) พฤติกรรมทางการเรียน หลังการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) ดีขึ้นทั้งในด้านการทำงานเป็นกลุ่ม ของผู้เรียน การแสดงความคิดเห็น และการแสดงออกเพื่อสะท้อนความคิดเห็นร่วมกัน จากการสังเกตและ ประเมินของผู้สอน ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ผลการศึกษาพฤติกรรมทางการเรียน ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) นำเสนอผลงานอยู่เสมอ นักเรียนมีกระบวนคิดเป็นระบบ คิดเป็น แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๑๔ หัวข้อกิจกรรม กิจกรรม สื่อ การวัดและการประเมินผล 1. จำลองการ ทำงานของปอด 2. บิงโกระบบ ร่างกาย 3. รถพลังลูกโป่ง 4. ดินน้ำมันลอยน้ำ 5. มหิงสาสายสืบ 1. บรรยาย 2. อภิปราย 3. ค้นคว้าและ นำเสนอผลงาน 4. ฝึกปฏิบัติ สร้างชิ้นงาน 1. Power point 2. ใบความรู้ 3. เอกสาร ประกอบการสอน 4. แบบฝึกปฏิบัติ 5. กิจกรรม แก้ปัญหา สังเกตการทำงานเป็นกลุ่มของผู้เรียน/ การแสดงความคิดเห็น/การมีส่วนร่วม ในการวิเคราะห์การสร้างชิ้นงาน พบว่า ผู้เรียนมีการทำงานเป็นกลุ่ม แสดงความคิดเห็นร่วมกัน มีแสดงออก มากขึ้น รวมถึงมีวางแผนร่วมกันในการ นำเสนอสะท้อนคิดแก้ปัญหาและสร้าง แผนผังความคิดเชื่อมโยงประเด็น บูรณาการเข้าด้วยกันได้ร่วมถึงมีการ นำเสนอได้ 2. ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ร้อยละ 44.4 ดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน n คะแนนเต็ม ̅ S.D. อัตราผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ร้อยละ) ก่อนเรียน 15 20 6.06 0.88 44.4 หลังเรียน 15 20 16.40 2.92 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) ความพึงพอใจของนักเรียนด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) โดยรวมอยู่ระดับมาก ( ̅= 4.297, S.D.= 0.6501) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า นักเรียน มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ การเรียนการสอน แบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) ช่วยฝึกให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก (̅=4.47, S.D.= 0.805 ) รองลงมาคือ การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) มีความน่าสนใจ และรู้สึกสนุกกับการเรียน อยู่ในระดับมาก (̅=4.40,S.D.= 0.879) และน้อยที่สุดคือ การ เรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) ทำให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน อยู่ใน ระดับมาก ( ̅=4.20, S.D.=0.748) และการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) ช่วยให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง อยู่ในระดับมาก ( ̅=4.20, S.D.=0.748) ตามลำดับ ดังตารางที่ 3 ตารางที่ 3 ความพึงพอใจของนักเรียน ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) รายการประเมิน ̅ S.D. ระดับ 1. การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ 4.07 0.442 มาก 2. การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) มีความน่าสนใจ และรู้สึกสนุกกับการเรียน 4.40 0.879 มาก


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๑๕ รายการประเมิน ̅ S.D. ระดับ 3. การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) ช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาในบทเรียนได้มากยิ่งขึ้น 4.40 0.489 มาก 4. การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สามารถทำงานร่วมผู้อื่นได้ 4.07 0.679 มาก 5. การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) ส่งเสริมกระบวนการคิด วิเคราะห์และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง 4.33 0.471 มาก 6. การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) ช่วยฝึกให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ 4.47 0.805 มาก 7. การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) สร้างบรรยากาศที่ดีในการศึกษา 4.33 0.596 มาก 8. การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) ช่วยให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง 4.20 0.748 มาก 9. นักเรียนมีความกล้าแสดงออกมากขึ้นโดยการเรียนการสอนแบบการ เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) 4.40 0.489 มาก 10. การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) ทำให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน 4.20 0.748 มาก 11. นักเรียนอยากให้มีการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) ในรายวิชาอื่นๆ อีก 4.30 0.800 มาก โดยรวม 4.297 0.6501 มาก 4.2 ผลสัมฤทธิ์ของงาน แก้ปัญหาและส่งเสริมวิชาการหรือพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ตรงตามจุดประสงค์และ เป้าหมายอย่างครบถ้วนโดยมีข้อมูลทุกส่วนแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นักเรียนมีความ กระตือรือร้นในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น มีความกล้าคิดกล้าแสดงความคิดเห็น สามารถสืบค้นข้อมูลได้ ผลการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2565 ผลการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2564 ภาพที่ 8 เปรียบเทียบผลการเรียนการสอนปี 2564 และ 2565


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๑๖ ภาพที่ 9 กิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active learning 4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ จากความรู้ที่ข้าพเจ้าได้รับการพัฒนา ข้าพเจ้าได้นำความรู้ไปสร้างเพจบน facebook ซึ่งภายในจะมี เนื้อหาความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในแต่ละกิจกรรมการเรียน รู้ มีการมอบหมายให้นักเรียนทำกิจกรรมต่างๆ มีการเชื่อมโยงเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่างๆที่มีอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์ในด้านการจัดการ เรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนรู้จักใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์สามารถใช้ในการเรียนออนไลน์ได้


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๑๗ ภาพที่ 10 แสดงการเผยแพร่การเรียนการสอนออนไลน์ จากความรู้ที่ข้าพเจ้าได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้นั่นเอง ทำให้มีเพื่อนครูให้ความ สนใจ และต้องการได้รับความรู้ จึงได้เผยแพร่ให้ความรู้กับเพื่อนครูทั้งในโรงเรียน 1. ข้าพเจ้าได้นำความรู้ไปใช้พัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม กล่าวคือ พัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการและเจตคติโดยมีขั้นตอนดังนี้ 1.1) ศึกษาหลักสูตรของโรงเรียน ศึกษาเอกสารประกอบหลักสูตรและวิเคราะห์หลักสูตร 1.2) ออกแบบหน่วยการเรียนรู้และจัดทำแผนการเรียนรู้อย่างชัดเจน ซึ่งในแผนการจัดการเรียนรู้ นอกจากจะกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดแล้ว จะกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัยและด้านทักษะพิสัย 1.3) ระบุเทคนิควิธีการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ระบุใช้สื่อ/นวัตกรรมที่ใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและผู้เรียน 1.4) กำหนดวิธีการวัดและประเมินผลพร้อมเครื่องมือการวัดและประเมินผลไว้อย่างชัดเจน 1.5) จากนั้นนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ ใช้สื่อ/ นวัตกรรมอย่างหลากหลายประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รวมทั้งออกแบบและสร้างเครื่องมือวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ให้ครอบคลุมตามตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้ ทั้งนี้ข้าพเจ้ามีการวัดและประเมินผลในรายวิชาวิทยาศาสตร์คือ การประเมินการปฏิบัติ(Authentic Assessment) และการประเมินสภาพจริง (Performance Assessment) โดยผ่านการปฏิบัติของผู้เรียน โดย การวัดและประเมินผลด้วยวิธีการดังกล่าวต้องวัดและประเมินได้ครอบคลุม ครบถ้วนพฤติกรรมของผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน ดังนี้ ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) การประเมินความรู้ในรายวิชาวิทยาศาสตร์เป็นการให้ผู้เรียน ได้รับความรู้ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้ทั้งเนื้อหาด้านทฤษฎีและปฏิบัติซึ่งความรู้ในเนื้อหาสาระนี้ สามารถประเมินโดยการใช้แบบทดสอบ ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นการประเมินการแสดงออกของผู้เรียนทั้งหมดตลอดจน การ ทำงานร่วมกันและคุณลักษณะต่างๆ ซึ่งสามารถประเมินด้วยวิธีการสังเกตได้อย่างชัดเจน ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) การประเมินทักษะในรายวิชาวิทยาศาสตร์ตามทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะที่สำคัญของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 2) นำไปบูรณาการกับหน่วย/เรื่องอื่นๆ ได้ ข้าพเจ้าสามารถนำความรู้จากการพัฒนาตนเองไปบูรณาการกับหน่วย/เรื่องอื่นๆ ได้กล่าวคือ ระหว่างที่ข้าพเจ้าวิเคราะห์หลักสูตรและออกแบบหน่วยการเรียนรู้ข้าพเจ้าจะประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่มีในการ เลือกตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในการกำหนดหน่วยการเรียนรู้และกำหนด


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๑๘ สาระสำคัญหรือความคิดรวบยอดได้อย่างลงตัวในโครงสร้างรายวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีความเชื่อมโยงสอดคล้อง กันตั้งแต่มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ความคิดรวบยอด การกำหนดเวลา (ชั่วโมง) และ การกำหนดน้ำหนักคะแนน รวมทั้งการตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ซึ่งในแต่ละประเด็นมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน อย่างกลมกลืน 3) นำไปใช้บูรณาการกับรายวิชาอื่นๆ ได้ ข้าพเจ้าได้ใช้องค์ความรู้จากการพัฒนาตนเอง นำไปพัฒนาผู้เรียนให้เกิดองค์ความรู้ที่มีการเชื่อมโยงกันใน ทุกรายวิชา โดยการบูรณาการกับรายวิชาอื่นๆ ได้แก่ ภาษาไทย การสอนให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของการนำความรู้ด้านภาษาไทยมาใช้กับ รายวิชาวิทยาศาสตร์ได้แก่การสื่อสาร การใช้ถ้อยคำ การออกเสียงคำ อักขระ คำควบ กล้ำ ฯลฯ ให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย การเรียบเรียงบทความและรายงานผลเกี่ยวกับ ชิ้นงาน คณิตศาสตร์ การสอนให้ผู้เรียนรู้จักนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ประยุกต์ใช้ในการคำนวณ การวัด การ กำหนดค่าใช้จ่าย ฯลฯ สังคมศึกษา การสอนให้ผู้เรียนการนาความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับสังคมศึกษา ประวัติศาสตร์มาใช้ศึกษา ประวัติการดำเนินการด้านความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของเรื่องต่างๆ และความรู้เกี่ยวกับ ท้องถิ่นแต่ละแห่ง ความเชื่อและวัฒนธรรมของการศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ การงานอาชีพ และเทคโนโลยี การสอนให้ผู้เรียนใช้ความรู้เรื่องงานประดิษฐ์ และสร้างอุปกรณ์ หรือชิ้นงาน ตลอดจน การสร้างสื่อสามมิติในการนำเสนอผลงานทางวิทยาศาสตร์ การใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสืบค้นหาความรู้ และสามารถนำมาใช้ ประการการนำเสนอข้อมูลของนักเรียนเองได้อย่างเหมาะสม ฯลฯ ภาษาต่างประเทศ การสอนให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์เฉพาะทางวิทยาศาสตร์ทั้งภาษาไทยและใช้ ภาษาอังกฤษในการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ฯลฯ จะเห็นว่าจากข้อมูลข้างต้น ข้าพเจ้าสามารถใช้องค์ความรู้มาวิเคราะห์เป็นหลักในการบูรณาการกับ รายวิชาอื่นๆ ได้เหมาะสมตามสภาพจริงและยังสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมได้อย่างลงตัว ภาพที่ 11 แสดงการบูรณาการกิจกรรมกับรายวิชาอื่นๆ ได้ 4) นำไปใช้เป็นต้นแบบเผยแพร่ขยายผลได้ จากผลการพัฒนาตนเองทำให้ข้าพเจ้าเกิดองค์ความรู้ที่เป็นกระบวนการ สามารออกแบบการพัฒนา ผู้เรียนอย่างมีระบบและขั้นตอนตามหลักวิชาการ กล่าวคือ เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์หลักสูตร ออกแบบหน่วย การเรียนรู้จัดทำแผนการเรียนรู้การใช้สื่อ/นวัตกรรม ตลอดจนการวัดและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ ตามสภาพจริงและจัดทำวิจัยชั้นเรียนซึ่งได้เผยแพร่ดังนี้


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๑๙ 4.1) เผยแพร่เป็นเอกสารให้กับครูในโรงเรียน โรงเรียนในศูนย์เครือข่าย และโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 4.2) เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์Facebook 4.3) เผยแพร่ในการประชุม สัมมนาครูกลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์ภายในโรงเรียน 4.4) เผยแพร่ผ่านการศึกษาดูงานของคณะครูโรงเรียนต่างๆ ภาพที่ 12 แสดงการเผยแพร่ขยายผล 5) เชื่อมโยง/นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ความรู้ที่ได้จากการพัฒนาตนเองสามารถนำไปเชื่อมโยง/นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ประกอบด้วย 1) การให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อฝึกให้อยู่ร่วมกัน ให้ช่วยคิด ร่วมแสดงความคิดเห็น รับฟัง เพื่อน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เป็นการพัฒนาคุณภาพให้เกิดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ จะมีกฎกติการ่วมกันเพื่อ เรียนรู้การทำงานเป็นทีม เน้นการสร้างอาชีพ 2) ในการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะสังเกต เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้นักเรียนได้พัฒนาเรียนรู้ เพราะเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน แม้เรื่องใกล้ตัว การสร้างพื้นฐานการเป็นนักวิทยาศาสตร์โดยศึกษาสังเกต อย่างเป็นระบบเพื่อให้นักเรียนหาคำตอบด้วยตนเอง นับเป็นเป็นรากฐานสำคัญของการแสวงหาความรู้รวมทั้ง เป็นทักษะสำคัญของการดูแลตัวเองให้อยู่รอดปลอดภัย 3)การทดลองวิทยาศาสตร์คือ สุดยอดปรารถนาของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา เพราะนักเรียน ได้ลง มือกระทำด้วยตนเอง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมงานกับเพื่อน ใช้พลังความคิดสร้างสรรค์และ จินตนาการ ฝึก ทักษะการสังเกต ทำงานเป็นขั้นตอน มีระบบคิด มีเหตุมีผล ได้ค้นพบความรู้ด้วยตัวเอง มีความภาคภูมิใจ ได้ ลองทำ ลองแก้ไข ปรับปรุงพัฒนางาน ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นคนที่มีหลักในการคิด การหาคำตอบอย่างมีเหตุผล ไม่หลงเชื่องมงาย ตลอดจนเป็นการฝึกใช้สมอง ตา มือ ให้สอดคล้องสัมพันธ์กันและฝึกการใช้อุปกรณ์ทาง วิทยาศาสตร์ การทดลองวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่สนุก ท้าทายและตอบสนองการเรียนรู้ของครูและเด็ก 4) เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อรู้จักและรู้รักษาโลก การให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจในปรากฏการณ์ ธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของโลก เหตุและผลกระทบต่างๆ จะช่วยให้นักเรียนในปัจจุบัน ซึ่งจะเติบโตเป็น ผู้ใหญ่ในอนาคต เรียนรู้ที่จะรักษาโลก ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มนุษย์มีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข ได้ยาวนาน 5) การใช้เทคโนโลยีนักเรียนสามารถเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ และมีทักษะกระบวนการทาง เทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม นำเทคโนโลยีมาใช้ประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานสร้างอาชีพ


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๒๐ ชื่อผลงาน Kachino Guidance Model “รู้ตน รู้คน รู้โลก รู้พัฒนา” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การแนะแนวเตรียมนักเรียนสู่อาชีพและการมีงานทำ ชื่อผู้ส่งผลงาน นางสาวนุชมาศ สวัสดิ์พาณิชย์ ตำแหน่ง ครูชำนาญการ โรงเรียน ปอพานพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก กลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (งานแนะแนว) ส่วนที่ 1 ส่วนเนื้อหา 1. บทสรุปหรือบทคัดย่อ การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการแนะแนวสำหรับโรงเรียนปอพานพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก (Kachino Guidance Model) เพื่อเตรียมนักเรียนสู่อาชีพและการมีงานทำตามหลักปรัชญา ของ เศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อให้ครูแนะแนวมีทิศทางในการออกแบบเครื่องมือและกิจกรรมแนะแนวทั้งใน และ นอกชั้นเรียน สอดคล้องตามรูปแบบการแนะแนว Kachino Guidance Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้รายงาน เป็น นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนปอพานพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ปีการศึกษา 2563 จำนวน นักเรียนทั้งสิ้น 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรายงาน คือ โมเดลการแนะแนว ““รู้ตน รู้คน รู้โลก รู้ พัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ภายใต้การมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ ซึ่งเรียกได้ว่า “Kachino Guidance Model” ผลการดำเนินงาน พบว่า 1) โรงเรียนมีหลักสูตรและแผนการจัดกิจกรรมแนะแนวอาชีพ เตรียมความ พร้อมนักเรียนสู่โลกของงานและการมีงานทำ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 2) โรงเรียนมี แผนการจัดกิจกรรม แนะแนวนอกชั้นเรียนที่สนองและสอดคล้องกับ Kachino Guidance Model เช่น กิจกรรมวันอาชีพ (A-chive Day) กิจกรรมนิทรรศการศึกษาต่อและอาชีพ กิจกรรมฝึกอาชีพระยะสั้น และ กิจกรรมฝึกประสบการณ์ด้าน อาชีพ 3) นักเรียนระดับชั้น ม.4-6 มีแฟ้มรายงานการวางแผนการศึกษาต่อและ อาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Portfolio) จัดทำเป็นรายบุคคล 4) นักเรียนระดับชั้น ม.4-6 ได้ เข้าเรียนในหลักสูตรทวิศึกษา 2. ชื่อเรื่องวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เอกสารผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของครูผู้สอน Kachino Guidance Model “รู้ตน รู้คน รู้โลก รู้พัฒนา” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การแนะแนวเตรียมนักเรียนสู่อาชีพและการมีงานทำ


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๒๑ 3. ความเป็นมาและความสำคัญของผลงาน ราชกิจจานุเบกษา (2561 : 8) ข้อ 4 กล่าวว่า ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติเพื่อให้ประเทศไทยสามารถ ยกระดับการพัฒนาให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”และเป้าหมายการพัฒนาประเทศข้างต้น จึงจำเป็นต้อง กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศระยะยาว ที่จะทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงในเอกราชและ อธิปไตย และ กระทรวงศึกษาธิการ (2560 : 152) ระบุไว้ใน แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2575 เรื่อง บทบาท ของหน่วยงานระดับต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 2 สู่การปฏิบัติ ว่าสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ต้องรับผิดชอบ 1). พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานด้านอาชีพ และ วางรากฐานทักษะอาชีพและค่านิยมการเรียนเพื่อการมีงานทำ 2). สร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนสายอาชีพ และ วางแผนการเรียนเพื่อการประกอบอาชีพ โดยใช้กระบวนการแนะแนวที่มีประสิทธิภาพ ด้วยข้อมูลงานแนะ แนวมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนปอพานพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก (2560) รายงานการติดตามผลนักเรียนที่ จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนปอพานพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ตลอดระยะเวลา 10 กว่าปี พบว่า นักเรียนมีการศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีการศึกษาต่อสาย อาชีพลดน้อยลงเรื่อยๆเช่นกัน ซึ่งส่วนทางกับนโยบายที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้น ผนวกกับการที่ผู้รายงานได้ สัมภาษณ์นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนใหญ่เมื่อใกล้จะจบการศึกษา ก็ยังไม่สามารถเลือกสายการ เรียนที่เหมาะสมกับตนเองได้ ซึ่งนักเรียนก็จะเลือกตามเพื่อน และผู้ปกครอง โรงเรียนจึงได้ดำเนินกิจกรรม ต่างๆ เพื่อพัฒนานักเรียนให้ รู้จักและเข้าใจตนเอง เพื่อนักเรียนสามารถตัดสินใจในการเลือกเรียนต่อได้อย่าง เหมาะสมกับความถนัด ความสนใจ และบุคลิกภาพของตนเอง เป็นแนวทางในการวางแผนการเรียนเพื่อการ ประกอบอาชีพได้อย่างมี ความสุข นอกจากนี้โรงเรียนได้จัดทำหลักสูตรทวิศึกษาร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่าง มหาสารคามและเพื่อขยายผลวงกว้างให้ตอบโจทย์แผนการศึกษาแห่งชาติ ข้าพเจ้าจึงสร้างนวัตกรรมในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมสู่โลกของการมีงานทำ โดยยึดหลักเศรษฐกิจ พอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข กล่าวคือ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บูรณาการแบบองค์รวมกับเงื่อนไข ความรู้และคุณธรรม พัฒนาสู่การเป็น Kachino Guidance Model “รู้ตน รู้คน รู้โลก รู้พัฒนา” ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การแนะแนวเตรียมนักเรียนสู่อาชีพและการมีงานทำ 4. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของผลงาน วัตถุประสงค์ 1). เพื่อพัฒนารูปแบบการแนะแนวสำหรับโรงเรียนปอพานพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก (Kachino Guidance Model) 2). เพื่อเตรียมนักเรียนสู่อาชีพและการมีงานทำตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อให้ครูแนะแนว มีทิศทางในการออกแบบเครื่องมือและกิจกรรมแนะแนวทั้งในและนอกชั้นเรียน สอดคล้อง ตามรูปแบบการ แนะแนว Kachino Guidance Model


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๒๒ เป้าหมาย 1). นักเรียน “รู้ตน” ตระหนักรู้คุณลักษณะตามจริงของตนเองที่จำเป็นในการวางแผนการศึกษาต่อและอาชีพ เช่น ความสามารถ ความถนัดทางการเรียน ความสนใจในอาชีพ จุดเด่น จุดด้อย บุคลิกภาพทางอาชีพ ค่านิยม ในอาชีพ ความพร้อมทางอาชีพ 2). นักเรียน “รู้คน” ตระหนักรู้คุณลักษณะตามจริงของคน เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น ให้คุณค่าแก่ผู้อื่น ผูกพัน กับคนที่มีศักยภาพให้เราเติบโต 3). นักเรียน “รู้โลก” รู้รอบทั้งโลกของงานอาชีพ และโลกการศึกษาเพื่อเข้าสู่อาชีพ เช่น ข้อมูลอาชีพต่างๆ เส้นทางการเติบโตในงานอาชีพ ตลอดจนสถานการณ์ตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ โอกาส ความก้าวหน้าในงานอาชีพ และการมีงานทำในเส้นทางการศึกษาทั้งสายสามัญและสายอาชีพ ตลอดจน สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆได้ อีกทั้งเท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการด้านต่างๆในศตวรรษ ที่ 21 ที่มีผลเกี่ยวข้องกับอาชีพ 4). นักเรียน “รู้พัฒนา” รู้แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะตน กระหายที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ สามารถปรับปรุง แก้ไขพัฒนา ตนเองให้เจริญงอกงามสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและปฏิบัติตนได้อย่างมี คุณภาพและมี ความสามารถที่เหมาะสมสอดคล้องกับโลกของการทำงานในศตวรรษที่ 21 ตลอดจนรู้จักคิด ตัดสินใจและวางแผนการศึกษาต่อเพื่อประกอบอาชีพ 5). นักเรียน “มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ” มุ่งเน้นการสร้างแรงบันดาลใจ ให้มีมุมมองที่ดีต่ออาชีพสุจริตทุกอาชีพ ตระหนักในความจริงของชีวิตว่างานคือชีวิต ชีวิตคืองาน เห็นคุณค่าและรักในงานอาชีพของตน และมองเห็น ความสัมพันธ์เกื้อกูลกันระหว่างอาชีพต่าง ๆ มุ่งประกอบอาชีพที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และต่อผู้อื่น 5. กระบวนการพัฒนาผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน 5.1 ประชุมกำหนดผังขั้นตอนการดำเนินงาน (Flowchart) ในการเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่ โลก ของงานและการมีงานทำร่วมกับคณะกรรมการฝ่ายวิชาการของโรงเรียน เพื่อความชัดเจนของกรอบการ ทำงานของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะบทบาทหน้าที่ของครูแนะแนว


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๒๓ Flowchart ขั้นตอนการดำเนินงาน Kachino Guidance Model “รู้ตน รู้คน รู้โลก รู้พัฒนา” ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การแนะแนวเตรียมนักเรียนสู่อาชีพและการมีงานทำ


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๒๔ 5.2 ศึกษาและทำความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็น และเหมาะสมกับฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และต้องไม่เบียดเบียน ตนเองและผู้อื่น ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดำเนินการเรื่องต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลัก กฎหมาย หลักศีลธรรมจริยธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน คำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบรู้และรอบคอบ ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงใน ด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถปรับตัวและรับมือได้ อย่างทันท่วงที เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้การตัดสินใจ และการกระทำเป็นไปพอเพียง จะต้องอาศัยทั้งคุณธรรมและ ความรู้ดังนี้ เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องสร้างเสริมให้เป็นพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ ประกอบด้วย ด้านจิตใจ คือ การตระหนักในคุณธรรม รู้ผิดชอบชั่วดี ซื่อสัตย์สุจริต ใช้สติปัญญาอย่างถูกต้องและเหมาะสมในการดำเนิน ชีวิต และด้านการกระทำ คือมีความขยันหมั่นเพียร อดทน ไม่โลภ ไม่ตระหนี้ รู้จักแบ่งปัน และรับผิดชอบใน การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยการฝึกตนให้มีความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบ ด้าน มีความรอบคอบ และความระมัดระวังที่จะนำความรู้ต่าง ๆ เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อ ประกอบการวางแผน และในขั้นปฏิบัติ


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๒๕ 5.3 วิเคราะห์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับการวางแผนการศึกษาต่อและอาชีพ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน พอประมาณ คือ ต้องวางแผนให้เหมาะสมกับตนเองสอดคล้องกับ ความสามารถ ความสนใจ ตลอดจนจุดเด่นจุดด้อยต่างๆ ไม่ เบียดเบียนผู้อื่น มีเหตุผล คือ การตัดสินใจ กระทำสิ่งต่างๆอย่างมี เหตุผล โดยพิจารณาจาก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ตลอดจนคาดคะเนผลที่ เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันที่ดีคือ ต้อง เตรียมตัวให้พร้อมรับ ผลกระทบและการ เปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่ จะเกิดขึ้น เงื่อนไขความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตย์ ขยันอดทน ใช้ปัญญานำทาง รู้จักแบ่งปัน นำไปสู่ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สมดุล พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๒๖ 5.4 กำหนดสิ่งควรรู้ ตามเงื่อนไขความรู้ของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และกำหนดเป็น รูปแบบการแนะแนว Kachino Guidance Model


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๒๗ 5.5 นำ Kachino Guidance Model เป็นกรอบในการออกแบบหน่วยและแผนการจัดกิจกรรม แนะแนวการศึกษาและแนะแนวอาชีพในชั้นเรียน ในระดับชั้น ม.1 – ม.6 5.6 วางแผนการจัดกิจกรรมนอกชั้นเรียน เพื่อเติมเสริมการรู้ตน รู้คน รู้โลก และรู้พัฒนา ให้กับ นักเรียน 5.7 สร้างและสรรหาเครื่องมือทางการแนะแนวต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการให้นักเรียนค้นหาตัวเอง 5.8 ให้นักเรียนจัดทำรายงานการวางแผนการศึกษาและอาชีพ เพื่อเตรียมตัวสู่โลกของงานและ การมี งานทำ 6. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ 6.1 โรงเรียนมีการพัฒนารูปแบบการแนะแนวสำหรับโรงเรียนปอพานพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก (Kachino Guidance Model) เช่น โรงเรียนมีหลักสูตรและแผนการจัดกิจกรรมแนะแนวอาชีพเตรียมความพร้อม นักเรียนสู่โลกของงานและการมีงานทำ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 6.2 โรงเรียนมีการเตรียมนักเรียนสู่อาชีพและการมีงานทำตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อให้ ครูแนะแนวมีทิศทางในการออกแบบเครื่องมือและกิจกรรมแนะแนวทั้งในและนอกชั้นเรียน สอดคล้องตาม รูปแบบการแนะแนว Kachino Guidance Model เช่น กิจกรรมแนะแนวในห้องเรียน นักเรียนระดับชั้น ม. 4-6 มีแฟ้ม Portfolio การวางแผนการศึกษาต่อและอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จัดทำเป็น รายบุคคล และกิจกรรมแนะแนวนอกห้องเรียน เช่น กิจกรรมวันอาชีพ(A-chive day) กิจกรรมนิทรรศการ ศึกษาต่อและอาชีพ กิจกรรมฝึกอาชีพระยะสั้น และกิจกรรมฝึกประสบการณ์ด้านอาชีพ 7. ปัจจัยความสำเร็จ 7.1 การสนับสนุนและให้ความสำคัญกับงานแนะแนวของ ฝ่ายบริหารสถานศึกษา 7.2 ความร่วมแรงร่วมใจของครูแนะแนวทุกคน 7.3 การได้รับความความร่วมมือจากครูที่ปรึกษา 7.4 การได้รับความร่วมมือและความอนุเคราะห์จากสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนและสถาน ประกอบการต่าง ๆ 7.5 ความร่วมมือจากเครือข่ายผู้ปกครอง 8. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned) 8.1 ควรให้คำปรึกษารายบุคคล สำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถวางแผนการศึกษาต่อและอาชีพตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงได้ 8.2 สรรหาวิทยากรในกิจกรรมวันอาชีพ (A-chive day) ให้ตรงกับความต้องการของนักเรียนให้มากขึ้น 8.3 ต้องพัฒนารูปแบบและกิจกรรมแนะแนวต่าง ๆ ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงและทันยุคสมัยให้มากขึ้น 9. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง การประกวด Best Practice (ภาคอีสานตอนบน) กลุ่มโรงเรียนเฉลิม พระเกียรติรัชมังคลาภิเษก ระหว่างวันที่ 12-14 กุมภาพันธ์ 2563


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๒๘ เยาวชนคนต้นแบบ เพิ่มพื้นที่สีเขียวในโรงเรียน จากการดำเนินการข้างต้นจึงทำให้เกิด KACHINO ในขั้นตอนต่างๆแทรกอยู่ในแต่ละกิจกรรมการ เรียนรู้ จึงหลอมรวมเกิดเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ดังแผนภาพดังนี้ ภาพที่ 21 แสดงขั้นตอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ KACHINO Model จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ KACHINO Model ส่งผลให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้าน เนื้อหา ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์เพื่อเตรียมพร้อมต่อการเป็นนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ต่อไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ลำดับที่ รายการ ๑ รางวัลระดับเหรียญทอง กิจกรรมการประกวดแกะสลักผลไม้ ระดับชั้น ม.๑-ม.๓ ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๗๐ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ๒ โครงการมหิงสาสายสืบและผ่านเกณฑ์การประเมิน ๓ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ระดับเหรียญทอง กิจกรรมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภททดลอง ระดับชั้น ม.๑-ม.๓ ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๗๐ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๒๙ ลำดับที่ รายการ ๔ รางวัลระดับเหรียญทอง กิจกรรมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภททดลอง ระดับชั้น ม.๔-ม.๖ ในงาน ศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๗๐ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ๕ รางวัลระดับเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขันการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) ระดับชั้น ม.๑-ม.๓ ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๗๐ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ๖ รางวัลระดับเหรียญทอง กิจกรรมการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ม.๔-ม.๖ ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๗๐ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ๗ รางวัลชนะเลิศ ระดับเหรียญทอง กิจกรรมการประกวดแกะสลักผลไม้ระดับชั้น ม.๑-ม.๓ ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๗๐ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (ตัวแทนไปแข่ง ระดับชาติ) ๘ รางวัลระดับเหรียญทองกิจกรรมการแข่งขันโครงงานคุณธรรม ระดับชั้น ม.๑-ม.๓ ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ ๗๐ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๕ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๓๐


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๓๑ ตารางแสดงรายการอบรม ประชุม สัมมนา และศึกษาดูงาน ที่ วัน เดือน ปี เรื่อง สถานที่ หน่วยงานที่จัด จำนวน ชั่วโมง 1 19 พ.ค.2564 อบรมออนไลน์ OBEC 2021 Webinar “การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ยุค ปกติใหม่ : มุมมองของผู้บริหาร นักวิชาการ และครู” ในหัวข้อ เทคนิค และวิธีการสอนออนไลน์แบบมี ปฏิสัมพันธ์และห้องเรียนออนไลน์โดยใช้ โครงงานเป็นฐาน - สำนักงาน คณะกรรมการ การศึกษาขั้น พื้นฐาน - 2 20 พ.ค.2564 อบรมออนไลน์ OBEC 2021 Webinar “การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ยุค ปกติใหม่ : มุมมองของผู้บริหาร นักวิชาการ และครู” ในหัวข้อ การจัด กิจกรรมการเรียนออนไลน์ตามแนวคิดเก มิฟิเคชันและการวัดและประเมินสำหรับ การเรียนออนไลน์ - สำนักงาน คณะกรรมการ การศึกษาขั้น พื้นฐาน - 3 10-11 ก.ค.2564 อบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาและ ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาและ หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ - โรงเรียนปอพาน พิทยาคม รัชมัง คลาภิเษก - 4 28 ก.ค.2564 อบรมครูผู้สอน เรื่อง สมอง จิตใจและ การเรียนรู้ : บูรณาการสู่ห้องเรียน ธรรมชาติ - มหาวิทยาลัย มหาสารคาม - 5 7-8 สิงหาคม 2564 อบรมหลักสูตร นวัตกรรมการเรียนรู้ สู่ ทักษะอาชีพ - สพม.มค - 6 14-15 สิงหาคม 2564 อบรมหลักสูตร การพัฒนาสื่อการสอน ออนไลน์ให้ปัง สพม.มค - 7 14-15 สิงหาคม 2564 อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการ จัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์สำหรับครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน - สำนักงาน คณะกรรมการ การศึกษาขั้น พื้นฐาน 15 8 31 สิงหาคม 2564 หลักสูตรอบรมครูด้วยระบบออนไลน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น เรื่อง ยืดเส้นยืดสาย ร่างกาย แข็งแรง Online Training for Middle School Science Teachers: Workout for Better Life - สสวท. 20


นวัตกรรม สร้างสรรค์คนดี ๓๒


Click to View FlipBook Version